การศึกษาบทบาทของระบบเหมืองฝายกับวิถีชีวิตชาวตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง


บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ระบบเหมืองฝาย เป็นระบบการจัดการน้ำระบบหนึ่ง โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาจัดการ การทำเหมืองฝายแยกออกเป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนที่เป็นตัวฝาย ส่วนนี้ทำไว้เพื่อกั้นน้ำ ให้ระดับน้ำสูงขึ้น ส่วนที่ ๒ คือ ลำเหมือง ส่วนนี้จะมีการขุดดินเพื่อเป็นคอลงส่งน้ำไปตามที่ต่างๆ เหมืองฝายเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม ของพื้นที่ภาคเหนือ หลายๆพื้นที่จะเห็นอย่างได้ชัดว่าระบบเหมืองฝาย มีทุกพื้นที่ เมื่อมีระบบเหมืองฝายแล้ว สิ่งสำคัญคือ การจัดการน้ำ การจัดสรรน้ำให้กับคนที่อยู่ท้ายเหมืองฝายที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘ลูกฝาย’ จะมีสัญญาประชาคมร่วมกันของผู้ใช้น้ำว่า การจัดสรรรับน้ำเข้าที่นา จะต้องมีการจัดการดูแลซ่อมแซมเหมืองฝายร่วมกันทุกๆ ปี รวมไปถึงมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎระเบียบเหมืองฝาย เมื่อมีการละเมิดกฎระเบียบของเหมืองฝายคนที่มีหน้าที่พิจารณาโทษ ชาวบ้านเรียกว่า ‘แก่ฝาย’

ระบบเหมืองฝาย เป็นส่วนสำคัญ แก่ วิถีชีวิต ชาวบ้าน เกษตรกรรวมไปถึงพื้นที่ชุมชนอีกด้วย ในประวิศาสตร์ล้านนา ระบบเหมืองฝายกับบทบาท วิถีชีวิตชาวบ้าน ดังเช่น ใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้กล่าวถึงการจัดการน้ำในระบบเหมืองฝายเอาไว้ว่า การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายในเมืองเชียงใหม่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 1100-1200 ในยุคสมัยของพ่อขุนมังรายในขณะที่รวบรวมอาณาจักรต่างๆ ก็ได้ใช้กุศโลบายให้พญาญีบาซึ่งเป็นผู้ครองเมืองหริภุญชัยให้เกณฑ์แรงไปขุดเหมืองแข็งหรือเหมืองแก้ว โดยการขุดนั้นเป็นการขุดเลียบเชิงเขายาวรวมความยาวทั้งสิ้น 17,000 วา ในสมัยพ่อขุนมังรายที่ได้มีการตรากฎหมายมังรายศาสตร์ขึ้น ตามที่ปรากฎในวันเพ็ญ สุรฤกษ์ได้กล่าวไว้ถึง 7ฉบับด้วยกัน จะเห็นว่าระบบเหมืองฝายเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองที่มีระเบียบวินัยควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีสิ่งยึดเหนี่ยวไว้ให้เป็นระเบียบไว้ป้องกันการเกิดโกลาหล

การสร้างฝาย เป็นผะหญา (ปัญญา) อันชาญฉลาดของคนล้านนา ที่ใช้ความสังเกต ระดับน้ำขึ้นตามฤดูกาลต่างๆ[1] ดังนั้น บทบาทของระบบเหมืองฝายกับวิถีชีวิตชาวบ้านจึงมีความสำคัญและสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตผู้คนกับเหมืองฝาย และสถานการณ์ปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญน้องมาก โดยมีแต่กลุ่มผู้ดำรงชีพเกษตรกร และหากอนาคตวิถีชีวิตกับระบบเหมืองฝายคงหายไป ดังนั้นจึงทำการศึกษาบทบาทของระบบเหมืองฝายกับวิถีชีวิตชาวบ้าน ขึ้นมาดังเช่นในพื้นที่ ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ระบบเหมืองฝาย นั้นยังคงอยู่กับวิถีชีวิตชาวบ้านเพราะอาชีพชาวบ้านยังคงอยู่กับการเกษตรกรรม ปลูกข้าว พืชผล ต่างๆ ระบบเหมืองฝายจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต บริบทวิถีชีวิตของผู้คนตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ชัดต่อวิถีชีวิตกับระบบเหมืองฝายที่ให้ความสำคัญและน่าสนใจคือ มีการจัดทำระบบเหมืองฝายอย่างชัดเจน มีการปรับปรุงบำรุง รวมไปถึง ความเชื่อด้าน ผี ก็มีและคงอยู่ดังเช่น ผีฝาย ก็มีการเลี้ยงผี ถึงปัจจุบันนี้ เช่นกัน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

2.1 เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของระบบเหมืองฝายในสังคมล้านนาและอธิบายถึงบทบาทของระบบเหมืองฝายที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมล้านนาอดีตจนถึงปัจจุบัน

2.2เพื่ออธิบายถึงระบบเหมืองฝาย วิถีชีวิตชาวบ้านและการรักษาระบบเหมืองฝาย ในชุมชนและการจัดการแหล่งน้ำ ของตนเองของชาวบ้านตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ขอบเขตการวิจัย

ขอบเขตด้านด้านเนื้อหา

การวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาถึงพัฒนาการของระบบเหมืองฝายในสังคมล้านนาจากอดีตถึงปัจจุบันและอธิบายระบบเหมืองฝาย วิถีชีวิตชาวบ้านและการรักษาระบบเหมืองฝาย ในชุมชนและการจัดการแหล่งน้ำ ของตนเองของชาวบ้านตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปางและศึกษาบทบาทของระบบเหมืองฝายที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมล้านนาอดีตจนถึงปัจจุบัน

ขอบเขตด้านพื้นที่

พื้นที่ ได้แก่ ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

นิยามศัพท์เฉพาะ

พื้นที่เกษตรกรรม หมายถึง บริเวณที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชต่าง ๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ การประมงและการป่าไม้

การจัดสรรน้ำ หมายถึง การแบ่งแบ่งสันปันส่วนน้ำที่ใช่ในการอุปโภคบริโภคของชาวบ้านตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ระบบเหมืองฝาย หมายถึง ระบบการจัดการน้ำระบบหนึ่ง โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาจัดการ การทำเหมืองฝาย

ผะหญา (ผญา) หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

1 ทำให้ทราบถึงบทบาทของระบบเหมืองฝาย ที่มีความสำคัญต่อ วิถีชีวิตนำไปสู่การบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน

2 ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหมืองฝาย วิถีชีวิตชาวบ้านและนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมในชุมชนและการจัดการแหล่งน้ำ ของตนเองของชาวบ้านตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง


[1] นิคม พรหมมาเทพย์.เรื่องบ่าเก่าเล่าล้านนา .2539 

คำสำคัญ (Tags): #รายงาน
หมายเลขบันทึก: 575088เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีอาจารย์ ดร.อุไรวรรณ ตันกิมหยง แห่งคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านทำปริญญาเอกเรื่องนี้เลยครับ  ลองไปค้นเอกสารดูครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท