ทำงานต่างแดนเครียดจริงหรือ?


ขอขอบพระคุณกรณีศึกษา ส. ที่ยินดีอนุญาตเผยแพร่ประสบการณ์ความเครียด ความวิตกกังวล และซึมเศร้าที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ

การติดต่ออีเมล์เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 57  

กราบสวัสดีอาจารย์ ศุภลักษณ์ เข็มทอง ครับ

ก่อนอื่น ผมต้องกราบขอประทานโทษอาจารย์ที่รบกวนเวลาอันมีค่าของอาจารย์โดยอีเมลฉบับนี้

ผมได้อ่านบทความต่างๆที่อาจารย์เขียนผ่านทาง GotoKnow รวมถึงบทความที่อาจารย์ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์
ผมรู้สึกชื่นชมและเคารพในความรู้และความสามารถของอาจารย์มาก จึงตัดสินใจเขียนอีเมลฉบับนี้ด้วยวัตถุประสงค์คือ
ใคร่อยากขอความรู้จากอาจารย์เกี่ยวกับการดูแลจิตใจในภาวะที่เครียดมากๆครับ...

การตอบกลับอีเมล์เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 57

เรียนคุณ ส. 

ขอบพระคุณมากครับที่สนใจการดูแลจิตใจด้วยตนเอง

ขอวิเคราะห์ประเด็นที่ซักถามคือ

๑) ความจำเป็นต้องเดินทางมาอยู่ที่ต่างประเทศ ๒ ปีครึ่ง สภาพกดดันจากงานที่ยาก ความเหงา นิสัย

ส่วนตัวที่เห็นแก่ตัว อยากให้คนอื่นมองตัวเราว่าเป็นคนดี คิดมาก ไม่มีความมั่นใจ ทำให้มีความเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ และใน 3 เดือนที่ผ่านมาเริ่มกังวลต่อสภาพความเครียด ค้างความเครียดจากงานติดต่อกันสามถึงสี่อาทิตย์ ฝันเกี่ยวกับปัญหาเรื่องงาน คิดเรื่องเดิมๆซ้ำๆ กังวลงานในอนาคต คิดจนเหนื่อยหลับ และตอนเช้าก็กังวลเหมือนเดิม แต่พบว่าการภาวนาและเจริญสติช่วยในระดับหนึ่ง: ความเครียดลดลงนิดแต่เป็นครั้งเป็นคราว ปกติหรือป่วย?

ตอบ: ผมคิดว่าเป็นภาวะความเครียดที่อาจปรับตัวเข้าสู่ภาวะวิตกกังวล แต่ขอรบกวนประเมินระดับความเครียดในไฟล์ที่ผมแนบมาให้แล้วส่งกลับมาให้ผมได้ไหมครับ

๒) สภาพเครียดที่ทำให้ผมนอนไม่หลับ ไม่เจริญอาหาร และหมดไฟไม่มีแรงทำอะไร แก้ไขด้วยตัวเองได้หรือไม่?

ตอบ: ผมแนะนำให้พบจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก หรือนักกิจกรรมบำบัดสุขภาพจิต เพื่อประเมินและออกแบบโปรแกรมเฉพาะของคุณให้มีประสิทธิผล เช่น จิตบำบัดเพื่อคลายปมปัญหาในจิตใต้สำนึก (อาจใช้ Neuro-Linguistic Programming, NLP หรือ Motivational Interview หรือ Cognitive Behavioral Therapy) จนถึงการบำบัดด้วยกิจกรรมและเทคนิคการจัดการความเครียดด้วยตนเองต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ (Activities Therapy/Occupational Therapy & Stress Management Program) แต่ในช่วงนี้การเจริญสติภาวนาและฝึกสมาธิร่วมกับการหาเวลาออกกำลังกายให้ได้ใช้ออกซิเจนทุกวัน (ทำก่อนนอน 1 ชม. เดินไปมา 6 นาทีและฝึกหายใจลึก เข้านับในใจ 1-8 และออกนับในใจ 1-16 รวม 20 ครั้ง) เน้นทานเนื้อปลาและผักผลไม้บ่อยครั้ง (ทานน้ำหลังอาหารย่อยแล้ว 30 นาที) ต่อเนื่องกัน 21 วัน

๓) พบควรไปพบจิตแพทย์หรือไม่ครับ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผมจะหาเวลากลับประเทศไทยเพื่อไปหาจิตแพทย์ แต่หากมีความจำเป็นจริงๆ ผมก็คงต้องจะพยายามหาเวลากลับไปประเทศไทยให้ได้

ตอบ: ถ้ามีโอกาสพบจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก หรือนักกิจกรรมบำบัดสุขภาพจิตที่นั่นน่าจะเข้าใจการจัดการความเครียดโดยไม่เน้นการรักษาด้วยยา (ถ้าระดับไม่รุนแรง) 

ยังงัยส่งแบบประเมินให้ผมดูก่อนนะครับ ผมจะได้แปรผลให้คุณได้เรียนรู้ตนเองมากขึ้น

โชคดีและขอให้จัดการความเครียดได้ดีขึ้นครับ

ขอบพระคุณมากครับ

ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง

การตอบแบบประเมินกลับมาของคุณ ส. เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 57

กราบสวัสดี ดร.ศุภลักษณ์ ครับ

ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับที่สละเวลาอ่านอีเมลของผมและให้ความอนุเคราะห์ชี้แนะแนวทางรวมถึงให้ความรู้มากมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อคลายความเครียด กระผมได้ทำการตอบคำถามทั้งหมดที่อยู่ในแบบสอบถามที่ท่านอาจารย์แนบมากับอีเมลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้แนบไฟล์ดังกล่าวมากับอีเมลฉบับนี้ครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูงหากท่านอาจารย์จะกรุณาวิเคราะห์และชี้แนะแนวทางเพื่อปฏิบัติเพื่อการบำบัดความเครียดและแนวทางปฏิบัติเพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเฉกเช่นบุคคลปกติทั่วๆไปแก่ผม

กราบขอบพระคุณอย่างสูงสำหรับความกรุณาของอาจารย์ที่มีต่อกระผมครับ

การชี้แจ้งผลการประเมินแก่คุณส.เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 57

เรียน คุณส.

ผมขออนุญาตแปรผลจากแบบประเมินภาวะจิตสังคมเบื้องต้น พบว่า คุณมีแนวโน้ม Extremely Severe Stress, Severe Anxiety, และ Moderate Depression

ผมแนะนำให้พบจิตแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและให้การรักษาทางการแพทย์ และ/หรือส่งต่อนักจิตวิทยาคลิิกนิกจนถึงนักกิจกรรมบำบัดเพื่อเข้า Stress Management Program อย่างต่อเนื่องในกรณีที่ระยะยาวยังคงต้องจัดการความเครียดขณะทำงานตรงนี้อยู่ครับผม...

ปล. คลิกอ่านโปรแกรมต่างๆ เช่น Acknowledgement www.psychologytoday.com  www.healthline.com  www.nlp-techniques.org www.understanding-depression-symptoms.com และ www.youtube.com

การตอบกลับจากคุณส.เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 57

เรียน ดร.ศุภลักษณ์ ครับ

ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับสำหรับการประเมินภาวะจิต และคำแนะนำต่างๆ ผมไตร่ตรองดูแล้วและตัดสินใจว่าจะไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งตั้งใจว่าจะไปที่โรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญทางด้านจิตและประสาทที่มีอยู่ในเมืองที่ผมอาศัยอยู่ในขณะนี้เป็นการเฉพาะหน้าก่อน

กราบขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงอีกครั้งครับสำหรับความช่วยเหลือแนะนำต่างๆ

สำหรับเรื่องที่อาจารย์จะนำเรื่องราวของผมไปเผยแพร่ในบล๊อกโดยปิดบังชื่อและที่อยู่ติดต่อนั้น หากมันจะสามารถเป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่นๆได้ ผมก็ยินดีและไม่มีปัญหาครับผม

หมายเลขบันทึก: 575081เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณบันทึกดีดีมีคุณค่านี้ค่ะ....   Dr.Pop  สบายดี นะคะ  ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.เปิ้น ผมสบายดีครับ ขอให้พี่มีความสุขและสบายดีนะครับผม

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-พี่หมอสบายดีนะครับ

-เก็บ"ผลไม้ป่า"มาฝากครับ

แวะมาเยี่ยม...
แวะเอาพลังชีวิตมาแบ่งปัน ครับ

ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์แผ่นดิน 

ขอบพระคุณมากครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋ คุณยายธี และคุณบุษยมาศ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท