ปริญญาเอกหลักสูตรการจัดการนวัตกรรม สวนสุนันทา รุ่นที่ 8


สวัสดีครับลูกศิษย์ ป.เอก สวนสุนันทา และ ผู้ที่ติดตาม Blog ของผม

ขอต้อนรับ ป.เอกสวนสุนันทาซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 8 ผมได้มาสอนที่นี่อย่างต่อเนื่อง รุ่นนี้จะเป็นรุ่นทีส่ำคัญที่จะปรับปรุงการเรียน การสอน การทำวิจัย Ph.D ให้มีคุณค่าต่อทุกคน การทำงานแบบต่อเนื่องมา 7 ปีน่าจะช่วยได้ว่ามูลค่าและคุณค่าจะเป็นอย่างไร

Blog รุ่น 8 น่าจะดีที่สุด แต่ขอให้ดูแลอย่างต่อเนื่องอย่าให้หยุดหลังจากเรียนจบเพื่อเป็นชุมชนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องอยากให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศต่อไป  และต้องมีการจุดประกายเรื่อง 3V คือ

Value Added การสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่

Value Creation การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการสร้างสรรค์ แนวคิดใหม่ๆ

Value Diversity การสร้างมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย

มีการสร้าง Out line หนังสือ มีการจัด Public Seminar เพื่อขยายไปสู่วิทยานิพนธ์ภายหลัง

ผมหวังว่ารุ่นที่ 8 น่าจะต่อเนื่องสิ่งที่ได้ทำมาแล้ว แต่ก็หวังว่าก็หวังว่าจะเกิด Concept ใหม่ๆที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของรุ่น 8

Dream big and execute ให้ได้ ทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ดีกว่าทำไปเรื่อยๆ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 575039เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (116)

โครงการปริญญาเอก วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทารุ่นที่ 8

24 สิงหาคม 2557  (ครั้งที่ 1) 

ศ.ดร.จีระ: ให้นักศึกษาแต่ละท่านแนะนำตัว และให้เหตุผลว่าทำไมถึงมาเรียนปริญญาเอก และรู้จักหลักสูตรนี้ได้อย่างไร

พบนักศึกษาปริญญามหิดล 1 ครั้ง ดร.โชคชัย เป็นผู้ดำเนินการ

ไปที่ธรรมศาสตร์ ไปสถาบันทรัพยากรมนุษย์ 1 ครั้ง

Study tour โครงการปริญญาเอก นำเสนอแนวคิดโดยนักศึกษารุ่นนี้

อนาคตของวิชานี้ต่อไปจะก้าวไกลมาก

หลักสูตรนี้

  • -หาความรู้เพื่อดำรงชีวิต และนำความรู้ที่ได้ไปใช้
  • -วางแผนว่า Final product ของเราคืออะไร Do with end in mind
  • -ต้อง Thinking in research เพราะงานวิจัยมีสมมติฐาน ในสิ่งที่เราอยากรู้ ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ คือ ราคา และปริมาณ เรียกว่า demand theory สิ่งที่สำคัญ คือ เรื่องเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

ทุนมนุษย์ของจีระ จะต้องเน้นเรื่อง Individual Happy workplace กับ Happy at work ต่างกัน

ก่อนที่จะมาเรียนที่นี้ ต้องดูว่าวัตถุประสงค์ของการที่จะมาเรียนคืออะไร

เน้นเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งBlog ใน www.chiraacademy.com ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมทางวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

ควรไปร่วมกับม.เกษตรศาสตร์ เรื่อง Sport medicine ด้วย

ดร. สร้อยสุคนธ์: ในฐานะที่เป็นรุ่นพี่ ทุกท่านต้องไปศึกษางานวิจัยทุกเรื่องจะเห็นว่าเรื่อง HR จะเป็นเรื่องหลักในทุกๆสาขา ขอให้ทุกท่านจับประเด็นทฤษฎีอาจารย์ให้ดี วันนี้ถือว่าอาจารย์มากระตุ้นให้ทุกท่านได้แสดงความคิดเห็น ให้มีการคิดแบบแนวกระเด้ง คือ คิดใหม่ ทำใหม่ กระตุ้นตัวเอง และกระตุ้นเพื่อนรอบข้าง อย่าเรียนแบบแยกส่วน

การที่จะทำให้กระเด้งจะทำให้เกิดพลัง ได้สิ่งใหม่ขึ้นมา และทำให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างได้

ศ.ดร.จีระ: ข้อเสียของราชภัฎ คือ การคิดอยู่ในกรอบ

ทฤษฎี 2R’s Reality การเรียนต้องกระทบความจริง ไม่ใช่เรียนแค่ทฤษฎี สามารถประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และ Relevance ต้องเลือกให้ตรงประเด็น อย่าทำให้เป็นดาวกระจาย อย่าเอาทุกอย่างมารวมกันต้องเลือก

Relevance ที่สำคัญคือเรือง Futuristic เช่น อีก 20 ปีข้างหน้าการศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร

การบ้าน 2R’s สำคัญอย่างไรในการเรียนครั้งนี้

ดร.สร้อยสุคนธ์: ต้องตีโจทย์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า คืออะไรให้ได้ เพราะสมัยนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปเร็วในทุกเรื่อง ทั้งสังคม เทคโนโลยี การมีเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญด้วย

อยากให้คิดเรื่องการทำวิจัยตั้งแต่วันนี้

บทความของอาจารย์จีระ ปี 1981 ก็ควรศึกษาด้วย

อ.จีระ: ขอให้คุณโอ อารีรัตน์ มาสอนที่นี่ด้วย

ดร.สร้อยสุคนธ์: ต้องตกผลึกงานวิจัย ว่าต้องการจะทำเรื่องอะไร

คุณจงกลกร: วิธีการเรียน การสอนของอาจารย์จีระ เรียกว่า การ Learn, share และ Care อีกประเด็นที่อยากจะเน้นคือเรื่อง การไปศึกษาดูงาน คืออยากให้ได้มากกว่าการไปดูงาน

คุณเอราวรรณ: การเรียนแต่ละครั้ง ต้องมีประเด็นโป๊ะเซ๊ะ และต้องมีการเรียนแบบต่อเนื่อง และเรียนรู้ตามทฤษฎีของอาจารย์

ศ.ดร.จีระ: ทุกคนต้องมีความชอบในสิ่งที่เรียน ถึงจะเรียนได้ดี

นวัตกรรม เป็นพฤติกรรม ทำให้ทุกอย่างเกิดพลังขึ้นมา รวมกับความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับความรู้

การบ้าน

1. ให้อ่านหนังสือ 8K’s + 5K’s

กลุ่ม 1 บทที่ 1บทที่ 5

กลุ่ม 2 บทที่ 6- บทที่ 10

ให้เวลา 2 สัปดาห์ นำเสนอในอาทิตย์ที่ 3

2. วิจารณ์ว่า 2R’s คืออะไร

อ.จีระ: เป้าหมายคือวิทยานิพนธ์ ก็ต้องเชื่อมให้ได้ วิทยานิพนธ์ต้องทำในสิ่งที่สนใจ อย่าทำแบบเดิม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน จึงจะเกิดขึ้นเป็นนวัตกรรม

3. สรุปลง Blog ว่าวันนี้ได้อะไร

- ตัวเองเก่งขึ้นอย่างไร

- ในการทำวิทยานิพนธ์ หลังจากการเรียนวันนี้ได้หลักการอะไรบ้าง

มาเป็นครั้งที่ 8 ครั้งที่ 8 ต้องแตกต่างกับครั้งก่อน ทุกคนรวมถึงทีมงานต้องตั้งเป้าหมาย และมีวัตถุประสงค์ร่วมกันว่าจะทำอะไร

เป้าหมาย คือ จบหลักสูตรภายในเวลาที่เหมาะสม

ขอพูดน้อย แต่เป้าหมายสูงขึ้น

หลักสูตรนี้ จะเริ่มด้วย Learning how to learn

นำ Macro ไปสู่ Micro

ซึ่ง Macro อาจจะรวมไปถึง Global ด้วย

อ.จีระ: เวลาพูดถึงHR มักจะอยู่ในระดับองค์กร ในหลักสูตรนี้ไม่อยากให้ทุกคน Focus micro เท่านั้น เช่น การศึกษาไทยอีก 20 ปีข้างหน้าเป็นยังไง เรียน Macro องค์กรเอกชน บริษัทจะจัดการHR อย่างไรเป็น Micro

แนะนำให้อ่านหนังสือ The shift the future of work is already here หลังจาก Present หนังสือ 8K’s+ 5K’s ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกว่างานมันน้อยลงเพราะเทคโนโลยีแทน และต้องจัดการเทคโนโลยีนี้ให้พอเพียง และจัดการให้คนมีงานทำ

อยากให้หลักสูตรนี้มอง Macro และมอง Micro ไปด้วย

HR Architecture

ตั้งแต่เกิด ต้องมีการลงทุน จาก การศึกษาสุขภาพอนามัย โภชนาการครอบครัว

สื่อศาสนา เพราะฉะนั้นระดับประเทศต้องสนใจเรื่อง Macro ให้ได้

สิ่งที่สังคมไทยขาดคือ การคิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity Innovation สังคมการเรียนรู้ จิตสาธารณะ

ทรัพยากรมนุษย์ระดับ Macro คือ ผลิตให้ไปทำงาน ขอให้หลักสูตรนี้ศึกษาเรื่อง Macro ประมาณ 3-4 สัปดาห์

ห้องนี้ต้องอย่าเก่งคนเดียว ต้องเรียนแบบ Teamwork ด้วยการทำให้มีคุณภาพสูงสุด

การบริการ

อุตสาหกรรม

การศึกษา

รัฐบาลท้องถิ่นรัฐบาลกลาง

ผู้ประกอบการ หรือ อาชีพอิสระ สำคัญที่สุด เพราะเน้นจิตวิญญาณผู้ประกอบการ

สรุปคือ ประเทศไทยมีภาคต่างๆที่ต้องพัฒนา คือ

  • -การเกษตร
  • -อุตสาหกรรม
  • -การบริการ
  • -ภาครัฐ
  • -ภาคผู้ประกอบการ เป็นภาคที่อ่อนที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้ ต้องพัฒนาให้มีภาคนี้มากขึ้น
  • ถ้าลงทุนในด้านทุนมนุษย์ จะได้ประโยชน์ด้านประชาธิปไตย แก้ไขปัญหาความยากจน สิ่งแวดล้อม ความสงบสุข โลกาภิวัตน์ คุณธรรมจริยธรรม และ คอรัปชั่น

คำถาม: เรื่อง HR Architecture เกี่ยวอะไรกับโลกาภิวัตน์

กลุ่ม 1: HR Architecture ทำให้คิดถึงคน ออกแบบให้คนเป็นอย่างไร ทุนมนุษย์ต้องลงทุนก่อน อ.จีระต้องการทำให้เห็นว่า ต้องมีการศึกษา สุขภาพอนามัย โภชนาการ ครอบครัว สื่อ ศาสนา

เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ คือ การศึกษา สมัยก่อนและสมัยนี้ทำให้คนต่างกัน

สื่อ ทำให้คนสมัยนี้กว้างขึ้น

ศาสนา สร้างความเชื่อ และมีวิธีการสอน สอดแทรกวัฒนธรรมที่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมไทย

โภชนาการ อาหารฟาสฟู้ด เข้ามาอิทธิพลมาก

กลุ่ม 2 ควรเพิ่มเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ด้วยนอกเหนือจาก คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity Innovation สังคมการเรียนรู้ จิตสาธารณะ

ในเรื่องโลกาภิวัตน์ ต้องเพิ่มเรื่องวัฒนธรรมด้วย

ศาสนาพุทธ มีข้อดี คือถ้ามีวิกฤติแล้ว ก็สามารถดับทุกข์ได้

อยากให้จัดsession ที่พบท่าน ว. วชิรเมธี ในหัวข้อธรรมะ

อ.จีระ: public seminar ควรจะเตรียมเรื่องอนาคตของประเทศไทยใน 20 ปีข้างหน้า

โลกาภิวัตน์ จะกระทบเรื่องการแข่งขัน ต้องทำให้ทรัพยากรมนุษย์มีความสามารถ ประเทศไทยเต็มไปด้วยศักยภาพและความเสี่ยง

หัวข้อปริญญาเอก รุ่นที่ 8

Macro ไปสู่ Micro

Innovation นวัตกรรม ผลที่เกิดขึ้นจากการเอาความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ ไปเป็นAction สร้างโครงการ และทำให้สำเร็จ

Innovative management ต้องคิดอะไรใหม่ๆเสมอ เป็นพฤติกรรม เป็นCulture ของเรา

Human capital

Leadership ภาวะผู้นำ

เหตุผลที่ต้องเรียนภาวะผู้นำ คือ ชีวิตต้องปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ภาวะผู้นำ เป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดที่ทำให้งานสำเร็จ

ในโลกนี้ต้องมีการบูรณาการสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น แพทย์แผนปัจจุบัน และแผนโบราณ

อ.สร้อยสุคนธ์: ความรู้ต้องใหม่และสด มีการตกผลึกเป็นทฤษฎีใหม่ๆ

Innovative leadership เป็นเรื่องสำคัญ ต้องปลูกผลประโยชน์ และขอให้ทุกท่านอ่านงานวิจัยและแลกเปลี่ยนกัน

Sustainability เป็นเรื่องที่เราต้องการได้จากการปลูกมนุษย์พันธ์ใหม่ คือต้องให้เกิดความสุขและความสมดุล

อ.จีระ: ต้องมองคน 3 ประเภท

1. คนระดับล่าง ฐานปีระมิดในประเทศไทยให้ความสนใจคนระดับนี้น้อย

2. คนระดับกลาง

3. คนระดับสูง 

จ่าเอกดิเรก เรียงทอง

      สวัสดีครับท่านอาจารย์จีระ ก่อนอื่นก่อนที่จะตอบการบ้านของอาจรย์ ผมต้องกราบขอบคุณอาจาย์เป็นอย่างสูง ที่ช่วยยกกะลาออกจากศีรษะของผม ด้วยการที่เป็นคนหัวดีอย่างที่ผมเรียนท่านอาจารย์ และการเป็นหัวหน้าสูงสุดในองค์กร มีลูกน้องคอยช่วยเหลือ ทำให้ผมทะนงตัวเองว่าไม่ต้องคิดไม่ต้องแสวงหาความรู้อะไรแล้ว แต่วันนี้เป็นวันแรกที่เจออาจารย์ เจอทีมงานอาจาย์ เจอน้องๆที่เรียนด้วยกัน ทำให้ผมรู้ว่าผมโง่มาก ไม่ได้มีความรู้อะไรเลย ทั้งภาษา ทั้งIT ทำให้ผมกลับมาทบทวนตัวเองว่าต้องทิ้งความคิดและการปฏิบัติตัวแบบเดิมให้หมด แล้วเริ่มนับหนึ่งใหม่ รับรองว่าผมต้องพัฒนาทุกอย่างไปพร้อมกับการเรียน ขอขอบคุณอีกครั้งครับ

สรุปการเรียนวิชา การจัดการทุนมนุษย์ วันที่ 24 สิงหาคม 2557

  1. กิจกรรมการแนะนำตัวสมาชิกทุกคนในชั้นเรียน ทำให้ได้แนวทางในการทำงานร่วมกันในกลุ่มเรียนและการแลกเปลี่ยนข้อมูลการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกัน
  2. กิจกรรมกลุ่มในห้องเรียน การตอบข้อซักถามในชั้นเรียน ทำให้ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นของสมาชิกในห้องและอาจารย์ได้ร่วมสรุปประเด็นทำให้เกิดความรู้ที่หลากหลาย   การทำงานกลุ่มในห้องเรียน ทำให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้    การทำงานเป็นทีม   และรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม นอกจากนี้อาจารย์มีการสร้างกำลังใจในการเรียน โดยการปรบมือ
  3. โมเดล HR  Architecture กับแนวทางการปรับใช้ในการพัฒนา Thesis ด้านการจัดการทุนมนุษย์ซึ่งทำให้คิดต่อในการพัฒนางานวิจัยด้านการจัดการทุนมนุษย์ที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ซึ่งปกติทำงานวิจัยกับชุมชนตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย เช่น  การยกระดับการจัดการธุรกิจสปาเ พื่อสุขภาพ จึงสนใจที่จะต่อยอดงานวิจัยระดับปริญญาเอก ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านธุรกิจสปา ต่อไป
จ่าเอกดิเรก เรียงทอง

2R's  คืออะไร

          เป็นทฤษฎีในการทำงาน การวิเคราะห์ปัญหา การแก้ไขปัญหา รวมถึงการศึกษาด้วย โดยใช้ปัจจัยที่สำคัญ 2 ตัว คือ ความเป็นจริง ( Reality) และตรงจุดตรงปะเด็น (Relevance)ซึ่งไม่ว่าจะเป็นปัญหาหรือการทำงานใดๆก็ตาม เราต้องดูสภำพความเป็นจริงและ focus ไปให้ตรงจุดตรงประเด็น ก็จะสามารถวิเคราะห์หรือแก้ไข หรือศึกษาสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้อง ผลที่ออกมาก็จะดีและมีประโยชน์

จ่าเอกดิเรก เรียงทอง

สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันนี้ 24 สิงหาคม 2557

          1. ในด้านประสบการณ์ชีวิต ทำให้รู้ว่าโลกนี้เรายังตัวเล็กมากเมื่อเทียบกับคนอื่น ทำให้ว่าคนเราต้องไม่หยุดหาความรู้ใส่ตัว โดยเฉพาะ เทคโนโลยี เพราะมันเปลี่ยนเร็วและมีประโชน์มาก ภาษอังกฤษก็มีความสำคัญไม่น้อย ในการเรียนในห้องวีนนี้ เกือบ50% คือภาษาอังกฤษ ทำให้รู้ว่าการเรียนเป็นทีมสำคัญกว่าการเรียนคนเดียว ทุกคนมีทักษะคนละด้านแต่สามารถนำมารวมกันแล้วเกิดเป็นผลงานที่ดีได้ เหมือนการนำผักผลไม้มาทำสลัด ก็จะได้รสชาติที่หลากหลาย ทำให้รู้ว่าการเรียนในระดับปริญญาเอก ไม่ใช่การท่องจำ แต่ต้องใช้สมองทุกส่วน ความรู้ทุกอย่างที่มี มาวิเคราะห์ แลตอบคำถามอาจารย์ให้ได้ การเรียนไม่ได้เรียนเฉพาะในตำรา การติดตามข่าวสารของโลกก็สำคัญ คำถามที่อาจารย์ถามว่าอัตราการว่างงานในสเปนมีเท่าไหร่ นั่นคือการแสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้ศึกษาหาความรู้รอบตัว ถ้าอาจารย์รู้ได้เราก็ต้องรู้ได้ เหล่านี้คือประสบการณ์ชีวิตที่ได้จากห้องสีาเหลี่ยมเล็กๆ ซึ่งข้างนอกอาจจะไม่มี

           2. ในด้านองค์ความรู้ 

                  2.1 ได้รู้จักทฤษฎี 2R's  ว่า การทำอะไรก็แล้วแต่ต้องทำจากข้อเท็จจริงที่มีและต้องชัดเจนตรงประเด็นให้แคบไม่ใช่ทำแบบดาวกระจาย

                  2.2 ต้องศึกษาจากระดับ Macro ไปสู่ระดับ micro คือการนำปัจจัยจากภาพรวมใหญ่ๆภายนอกมาปรับใช้กับการทำงานหรือการเรียนในระดับภายใน

                  2.3 รูปภาพHR Architecture เป็นแผนภูมในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดเป็นทุนมนุษย์ที่มีคณภาพได้อย่างไร โดยมีสิ่งเร้าจากภายนอกในด้านต่างๆ เพื่อจะทำให้ทุนมนุษย์นั้นสามารถวิเคราะปัญหาได้อย่างถูกต้อง เพื่อนำไปสู่ความสุขที่ยั่งยืน

                    2.4   การนำเสนอหัวข้อวิทยนิพนธ์ ควรจะมองไปในอนาคต 20 ปี เพื่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต

2R’s  คืออะไร  (คัดลอกมาจากด้านบน)

    "ทฤษฎี 2R’s   Reality การเรียนต้องกระทบความจริง ไม่ใช่เรียนแค่ทฤษฎี สามารถประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และ Relevance ต้องเลือกให้ตรงประเด็น อย่าทำให้เป็นดาวกระจาย อย่าเอาทุกอย่างมารวมกันต้องเลือก"

2R’s สำคัญอย่างไรในการเรียนครั้งนี้

2R’s มาจากปัจจัยที่สำคัญ 2 ตัว คือ ความเป็นจริง (Reality) และตรงจุดตรงประเด็น (Relevance) สำคัญในการเรียนครั้งนี้และการทำวิจัยคือ การเรียนการสอนของอาจารย์ในรุ่นที่ 8 อาจารย์ระบุว่าอาจารย์จะสอนน้อยลงคือสอนแบบ 20:80 แต่คุณค่าที่ได้รับไม่แตกต่างกันจะดีกว่าด้วยซ้ำเพราะความรู้ที่ได้รับนั้นเป็นองค์ความรู้ที่อาจารย์สะสมมากว่า 30 ปี ซึ่งเป็นโอกาสอันดีสำหรับพวกเราที่ได้รับความรู้ที่เป็น2R’sนั่นคือ คือ ความเป็นจริง (Reality) ที่เกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมมานานของอาจารย์ที่กรุณาถ่ายทอดความรู้ให้กับพวกเรา  และตรงจุดตรงประเด็น (Relevance) สอนในเนื้อหาสาระที่สำคัญที่เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์และเกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวผู้เรียน  “การเรียนแต่ละครั้ง ต้องมีประเด็นโป๊ะเซ๊ะ” นั่นหมายถึงว่า นักศึกษาต้องมีประเด็นที่สนใจในการทำหัวข้อวิจัยของตนเอง เหมือนที่อาจารย์สอนว่า  "อย่าทำให้เป็นดาวกระจาย อย่าเอาทุกอย่างมารวมกันต้องเลือก"  ต้องเลือกที่เหมาะสม เราอาจจะศึกษาแบบ

"Macro ไปสู่ Micro" นั่นคือเรียนรู้กว้างในหลายๆเรื่อง แล้วเลือกประเด็นที่สำคัญและเหมาะสมกับงานของเรามากที่สุด

วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันนี้ 24 สิงหาคม 2557

1.ผู้สอนพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียน กระหายความรู้ เข้าใจความหมาย และมีเป้าหมายในการเรียนแต่ละครั้ง และพยายามสอนให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ เสนอความคิดเห็นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และหาทางออกร่วมกัน ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนตลอดเวลา และยังส่งเสริมให้มีการเรียนเป็นทีมมากกว่าการเรียนคนเดียว

2.การเรียนในระดับปริญญาเอก ไม่ใช่การท่องจำเพียงอย่างเดียว ต้องอาศัยการศึกษา วิเคราะห์ ค้นคว้า วิจารณ์ แลตอบคำถามผู้สอนให้ได้ และไม่ได้เรียนเฉพาะในตำราเท่านั้น ต้องเรียนสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศ และต่างประเทศ ควบคู่กันไป นำไปสู่เป้าหมายสูงสุดต่อไป

3.โมเดล HR  Architecture ทำให้ทราบว่า ประชากรมีความสำคัญเป็นอย่างมากในทุกกิจกรรม ทุนมนุษย์ต้องมีการลงทุนเกิดขึ้นก่อนทั้งด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย โภชนาการ ครอบครัว สื่อ ศาสนา ซึ่งสิ่งที่สังคมไทยขาด คือ การคิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity Innovation สังคมการเรียนรู้ จิตสาธารณะ ดังนั้น ประเทศไทยต้องพัฒนาในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การบริการ ภาครัฐ ภาคผู้ประกอบการ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และถ้ามีการลงทุนในด้านทุนมนุษย์ จะได้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย แก้ไขปัญหาความยากจน สิ่งแวดล้อม ความสงบสุข โลกาภิวัตน์ คุณธรรมจริยธรรม และแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น อย่างยั่งยืน

สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันนี้ 24 สิงหาคม 2557

1.ผู้สอนพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียน กระหายความรู้ เข้าใจความหมาย และมีเป้าหมายในการเรียนแต่ละครั้ง และพยายามสอนให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ เสนอความคิดเห็นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และหาทางออกร่วมกัน ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนตลอดเวลา และยังส่งเสริมให้มีการเรียนเป็นทีมมากกว่าการเรียนคนเดียว

2.การเรียนในระดับปริญญาเอก ไม่ใช่การท่องจำเพียงอย่างเดียว ต้องอาศัยการศึกษา วิเคราะห์ ค้นคว้า วิจารณ์ แลตอบคำถามผู้สอนให้ได้ และไม่ได้เรียนเฉพาะในตำราเท่านั้น ต้องเรียนสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศ และต่างประเทศ ควบคู่กันไป นำไปสู่เป้าหมายสูงสุดต่อไป

3.โมเดล HR  Architecture ทำให้ทราบว่า ประชากรมีความสำคัญเป็นอย่างมากในทุกกิจกรรม ทุนมนุษย์ต้องมีการลงทุนเกิดขึ้นก่อนทั้งด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย โภชนาการ ครอบครัว สื่อ ศาสนา ซึ่งสิ่งที่สังคมไทยขาด คือ การคิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity Innovation สังคมการเรียนรู้ จิตสาธารณะ ดังนั้น ประเทศไทยต้องพัฒนาในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การบริการ ภาครัฐ ภาคผู้ประกอบการ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และถ้ามีการลงทุนในด้านทุนมนุษย์ จะได้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย แก้ไขปัญหาความยากจน สิ่งแวดล้อม ความสงบสุข โลกาภิวัตน์ คุณธรรมจริยธรรม และแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น อย่างยั่งยืน

2R's  คืออะไร

          เป็นทฤษฎีในการศึกษา การวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา โดยใช้ปัจจัยที่สำคัญ 2 ตัว คือ Reality หมายถึง ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง ไม่ใช่เรียนแค่ทฤษฎี สามารถประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และ Relevanceหมายถึง ตรงประเด็น ตรงความต้องการของผู้รับบริการ อย่าทำให้เป็นดาวกระจาย อย่าเอาทุกอย่างมารวมกัน ควรรู้เฉพาะเจาะจงเรื่องที่สำคัญๆ มีความจำเป็นต่อเรา เท่านั้น ซึ่งถือเป็นทุนความรู้ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน อันจะนำไปสู่มูลค่าเพิ่มในด้านต่างๆ ต่อไป

2R’s สำคัญอย่างไรในการเรียนครั้งนี้

2R’s มาจากปัจจัยที่สำคัญ 2 ตัว คือ ความเป็นจริง (Reality) และตรงจุดตรงประเด็น (Relevance) สำคัญในการเรียน และการทำวิจัย คือ ความเป็นจริง (Reality) ในการเรียนครั้งนี้ คือ การเรียนที่ได้รับจากประสบการณ์ของผู้สอนที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะทาง และยังเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้านนี้ ในส่วนตรงจุดตรงประเด็น (Relevance) สอนในเนื้อหาสาระที่สำคัญที่เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์และเกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวผู้เรียนได้ โดยเน้นให้นักศึกษา เรียนรู้ในแบบกว้าง แล้วเลือกประเด็นในแบบเฉพาะเจาะจงที่สนใจ เหมาะสมผู้เรียนเพียงประเด็นเดียว

สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันนี้ 24 สิงหาคม 2557

1.ผู้สอนพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียน กระหายความรู้ เข้าใจความหมาย และมีเป้าหมายในการเรียนแต่ละครั้ง และพยายามสอนให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ เสนอความคิดเห็นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และหาทางออกร่วมกัน ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนตลอดเวลา และยังส่งเสริมให้มีการเรียนเป็นทีมมากกว่าการเรียนคนเดียว

2.การเรียนในระดับปริญญาเอก ไม่ใช่การท่องจำเพียงอย่างเดียว ต้องอาศัยการศึกษา วิเคราะห์ ค้นคว้า วิจารณ์ แลตอบคำถามผู้สอนให้ได้ และไม่ได้เรียนเฉพาะในตำราเท่านั้น ต้องเรียนสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศ และต่างประเทศ ควบคู่กันไป นำไปสู่เป้าหมายสูงสุดต่อไป

3.โมเดล HR  Architecture ทำให้ทราบว่า ประชากรมีความสำคัญเป็นอย่างมากในทุกกิจกรรม ทุนมนุษย์ต้องมีการลงทุนเกิดขึ้นก่อนทั้งด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย โภชนาการ ครอบครัว สื่อ ศาสนา ซึ่งสิ่งที่สังคมไทยขาด คือ การคิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity Innovation สังคมการเรียนรู้ จิตสาธารณะ ดังนั้น ประเทศไทยต้องพัฒนาในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การบริการ ภาครัฐ ภาคผู้ประกอบการ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และถ้ามีการลงทุนในด้านทุนมนุษย์ จะได้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย แก้ไขปัญหาความยากจน สิ่งแวดล้อม ความสงบสุข โลกาภิวัตน์ คุณธรรมจริยธรรม และแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น อย่างยั่งยืน

ทฤษฎี 2R's แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

Reality - การนำทฤษฎีและความเป็นจริงในสถานการณ์ปัจจุบันมาวิเคราะห์รวมกันอย่างตรงไปตรงมา ไม่เอาทฤษฎี หรือ แนวคิดที่ไม่เป็นจริง ไม่ทันยุคสมัย/เหตุการณ์ ไม่เป็นปัจจุบันหรือเป็นไปไม่ได้มาเกี่ยวข้อง

Relevance - การจับประเด็น ใจความสำคัญที่ชัดเจน มุ่งเน้นไปที่สิ่งที่ต้องการรู้/แก้ไข โดยไม่หลงกับสิ่ง/ประเด็นอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง

กล่าวคือ ทฤษฎี 2R's คือทฤษฎีการมอง/วิเคราะห์ปัญหาโดยให้ความสำคัญในการค้นหาความจริงของปัญหาด้วยการนำทฤษฎีและสถานการณ์ปัจจุบันมาผนวกรวมเข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นไปที่ประเด็นที่แท้จริงของปัญหา เพื่อที่จะมองเห็นได้อย่างตรงประเด็น ถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ 

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม 2557

เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พบและขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ท่านเล่าว่า มักมีผู้ไปอ้างเอาหน้าว่าเป็น ลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์หนูก็คงต้องเป็นอีกคนที่ต้องอ้างด้วยความภาคภูมิใจเ ช่นนั้นเช่นกันซึ่งสำหรับตัวเองแล้วคิดว่าท่านเป็นแบบอย่างของคนเป็นครูที่ดีมาก ควรค่าแก่การประพฤติปฏิบัติตาม เนื่องจากท่านเป็นผู้ทรงความรู้ มีประสบการณ์ และที่สำคัญท่านเป็นครูที่มีใจรักและทุ่มเทให้ลูกศิษย์ท่านพยายามเน้นการศึกษาที่ต้องมีการพัฒนามากไปกว่าลูกศิษย์แล้ว ท่านยังให้ความสำคัญกับสถาบันการศึกษา (ขณะที่ท่านบรรยายท่านเน้นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา) รวมทั้งสังคมและประเทศไทยด้วย

ในฐานะที่ตัวเองเป็นครู คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตั้งใจมั่นว่าจะนำสิ่งที่ท่านมอบให้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา แม้เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ก็ตาม

นอกจาก ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์จะเป็นแบบอย่างของครู แล้ว สิ่งที่ได้จากการที่พบท่านในครั้งนี้คือ การทำงานเป็นทีมและการทำงานอย่างมีความสุข ทำให้ได้แง่คิดสำหรับตัวเอง เพื่อนำไปใช้ในการทำงานและในที่นี้คงต้องขอขอบคุณ ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวาณิช, คุณจงกลกร (น้องเอ้), คุณเอราวรรณ (น้องเอ) และ คุณภัทรพร (น้องยานี) ที่ให้ความช่วยเหลือด้วยมิตรไมตรี อยากบอกว่าประทับใจมาก

เนื่องจาก ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน ทำให้กระตุ้นให้ผู้เรียน สนุกสนใจและมีส่วนร่วม รวมทั้งเกิดความคิดสร้างสรรค์

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์บรรยายจากประสบการณ์ตรงของท่าน

  • ให้คิดแบบแนวกระเด้งซึ่งลึกซึ้งกว่า นวัตกรรม เพราะต้องทำได้ไม่ใช่เพียงแค่คิดได้เท่านั้นโลกเราไม่ได้อธิบายทุกเรื่อง แต่เรื่องหนึ่งกระเด้งไปอีกเรื่องหนึ่ง
  • ให้ทำในสิ่งที่เรารู้ แต่ต้องพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆๆ
  • อย่าเก่งคนเดียว ต้องมีแนวร่วม
  • ควรนำสิ่งที่ได้ในการฟังบรรยายแต่ละครั้งไปเป็นแนวคิดในการดำรงชีวิตและการทำดุษฎีนิพนธ์ เพื่อไปสู่ do with end
  • Happy work placeไม่เหมือนกับ Happy at work
  • Happiness Capital
  • Learning : How to learn = learn + share +pair
  • Human Capital อาจไม่ได้ขึ้นกับเงินและเวลา แต่ที่สำคัญคือวิธีการ
  • HR Architecture ทรัพยากรมนุษย์อ่อนแอ Capital ต้องลงทุนด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย โภชนาการ ครอบครัว สื่อ ศาสนา ต้องพัฒนาให้ทรัพยากรมนุษย์คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นสังคมการเรียนรู้ และมีจิตสาธารณะ และที่สำคัญ ควรเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม
  • Maxcro สำคัญ อย่าพิจารณาเพียง Micro เท่านั้น

ขอโทษนะคะ ไม่ใช่ Maxcro (พิมพ์ผิดคะ)  ต้อง Macro คะ

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม 2557

เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พบและขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ท่านเล่าว่า มักมีผู้ไปอ้างเอาหน้าว่าเป็น ลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์หนูก็คงต้องเป็นอีกคนที่ต้องอ้างด้วยความภาคภูมิใจเ ช่นนั้นเช่นกันซึ่งสำหรับตัวเองแล้วคิดว่าท่านเป็นแบบอย่างของคนเป็นครูที่ดีมาก ควรค่าแก่การประพฤติปฏิบัติตาม เนื่องจากท่านเป็นผู้ทรงความรู้ มีประสบการณ์ และที่สำคัญท่านเป็นครูที่มีใจรักและทุ่มเทให้ลูกศิษย์ท่านพยายามเน้นการศึกษาที่ต้องมีการพัฒนามากไปกว่าลูกศิษย์แล้ว ท่านยังให้ความสำคัญกับสถาบันการศึกษา (ขณะที่ท่านบรรยายท่านเน้นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา) รวมทั้งสังคมและประเทศไทยด้วย

ในฐานะที่ตัวเองเป็นครู คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตั้งใจมั่นว่าจะนำสิ่งที่ท่านมอบให้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา แม้เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ก็ตาม

นอกจาก ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์จะเป็นแบบอย่างของครู แล้ว สิ่งที่ได้จากการที่พบท่านในครั้งนี้คือ การทำงานเป็นทีมและการทำงานอย่างมีความสุข ทำให้ได้แง่คิดสำหรับตัวเอง เพื่อนำไปใช้ในการทำงานและในที่นี้คงต้องขอขอบคุณ ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวาณิช, คุณจงกลกร (น้องเอ้), คุณเอราวรรณ (น้องเอ) และ คุณภัทรพร (น้องยานี) ที่ให้ความช่วยเหลือด้วยมิตรไมตรี อยากบอกว่าประทับใจมาก

เนื่องจาก ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน ทำให้กระตุ้นให้ผู้เรียน สนุกสนใจและมีส่วนร่วม รวมทั้งเกิดความคิดสร้างสรรค์

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์บรรยายจากประสบการณ์ตรงของท่าน

  • ให้คิดแบบแนวกระเด้งซึ่งลึกซึ้งกว่า นวัตกรรม เพราะต้องทำได้ไม่ใช่เพียงแค่คิดได้เท่านั้นโลกเราไม่ได้อธิบายทุกเรื่อง แต่เรื่องหนึ่งกระเด้งไปอีกเรื่องหนึ่ง
  • ให้ทำในสิ่งที่เรารู้ แต่ต้องพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆๆ
  • อย่าเก่งคนเดียว ต้องมีแนวร่วม
  • ควรนำสิ่งที่ได้ในการฟังบรรยายแต่ละครั้งไปเป็นแนวคิดในการดำรงชีวิตและการทำดุษฎีนิพนธ์เพื่อไปสู่do with end
  • Happy work placeไม่เหมือนกับ Happy at work
  • Happiness Capital
  • Learning : How to learn = learn + share +pair
  • Human Capital อาจไม่ได้ขึ้นกับเงินและเวลา แต่ที่สำคัญคือวิธีการ
  • HR Architecture ทรัพยากรมนุษย์อ่อนแอ Capital ต้องลงทุนด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย โภชนาการ ครอบครัว สื่อ ศาสนา ต้องพัฒนาให้ทรัพยากรมนุษย์คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นสังคมการเรียนรู้ และมีจิตสาธารณะ และที่สำคัญ ควรเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม
  • Macro สำคัญ อย่าพิจารณาเพียง Micro เท่านั้น

ทฤษฎี 2R’s

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทฤษฎี 2R’s โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  1. Reality ความจริง สภาพความเป็นจริง มองความจริง รู้จริง
  2. Relevance ตรงประเด็น ทันสมัยเข้ากับสถานการณ์

ทฤษฎี 2R’s เป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนรู้ปัญหาเและวิเคราะห์สาระสำคัญของปัญหา รวมทั้งสามารถช่วยแก้ปัญหาได้สำเร็จตรงประเด็นในเวลาอันรวดเร็ว

2R’s สำคัญต่อการทำงานในฐานะครู

หลักในการทำงานในฐานะครูที่มีประสิทธิภาพ ก็คือ การคิดวิเคราะห์จากความจริงที่เกิดขึ้น (Reality) และตรงประเด็น (Relevance) ในสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานในหน้าที่ของครู

ถ้าถามว่า หากการทำงานในฐานะครู ถ้าไม่ใช้ 2R’s จะเป็นอย่างไร คำตอบคือส่วนหนึ่งส่งผลให้ต้นทุนมนุษย์ (ลูกศิษย์ / เด็กและเยาวชน) ลดน้อยถอยลงไป แล้วทำไม? ครูจึงไม่ใช้โอกาสในฐานะที่เป็นครูเพื่อสร้างทุนมนุษย์ให้ลูกศิษย์

หากครูไม่รู้จริง และ/หรือ ไม่ตรงประเด็น ไม่ทันสมัย ไม่เข้ากับสถานการณ์ ก็ไม่อาจสามารถทำให้ผู้เรียนเข้าถึงแก่นแท้ของสิ่งที่ครูจะถ่ายทอดได้

ดังนั้นนโยบายของสถาบันการศึกษาควรเน้นทฤษฎี 2R’s ให้เกิดขึ้นภายในองค์กรและควรปลูกฝังค่านิยมในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาบทบาทของมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง คือ ต้องเข้าใจความจริง (Reality) และต้องทำให้เกิดประโยชน์ (Relevance) คือ สอนเพื่อให้ลูกศิษย์ออกไปทำงาน ไม่ใช่สอนให้ลูกศิษย์รู้แต่เพียงอย่างเดียว

ส่วนในด้านการพัฒนาครูนั้น ต้องพัฒนาให้ครูเป็นผู้ที่มีความสามารถ คือต้องมีความรู้ความสามารถเพื่อไปทำงานในฐานะครูมากกว่ามีความรู้เพื่อสอน และต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำไปใช้ได้ตรงประเด็น

การบ้านข้อที่ 1 2R’s คืออะไร

       เมื่อคืนวันที่ 29 สิงหาคม 2557 ผมมีโอกาสได้ดูแถลงการณ์ของท่านประยุทธ์ (ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 29)  ผ่านรายการเดินหน้าประเทศไทย ทำให้ผมรู้สึกชื่นชมด้วยความเคารพต่อ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ท่านได้เป็นผู้สร้างทฤษฎี 2R's จากแถลงการณ์ที่ท่านประยุทธ์ ได้กล่าวทำให้ผมมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น และสนับสนุนในทฤษฎี 2R's  ดังคำแถุลงการณ์บางส่วนซึ่งขออนุญาตยกตัวอย่าง

         Reality คือ ความจริง ความทันต่อสถานการณ์ หรือความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน การจะแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ต้องมีการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาจากความเป็นจริง มิใช่การใส่ร้ายป้ายสีกัน การจะทำให้ประเทศชาติเดินหน้าได้ทุกท่านต้องทำใจเป็นกลาง ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลาง บนพื้นฐานของสภาวการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน

        Relevance คือ ความตรงประเด็น การขับเคลื่อนประเทศคือการแก้ปัญหาของประเทศในแต่ละด้านโดยแก้ไขไปที่ละประเด็น โดยแยกกระบวนการที่ก่อให้เกิดปัญหาในแต่ละเรื่องตั้งแต่กระบวนการต้นนำ้ มีประเด็นปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขและสรุปไปที่ละประเด็น แล้วจึงพิจารณาแก้ไขในกระบวนการกลางนำ้ และปลายนำ้ในลักษณะเดียวกัน จึงจะทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และไม่สับสน 

         ซึ่งตรงกับทฤษฎี 2R's ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ท่านได้สร้างไว้

การบ้านข้อที่ 2 สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันนี้ 24 สิงหาคม 2557

ความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติมจากการเรียนในวันนี้ ผมขอสรุปประเด็นสำคัญดังนี้

1. การนำเข้าสู่บทเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กรุณาสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษา โดยการสอนให้ทุกคนได้รู้ว่าจุดหมายของการเรียนคืออะไร การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน และการใช้ศักยภาพของความหลากหลายในสาขาอาชีพในห้องเรียนให้เกิดพลังสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งอาจารย์ใช้คำว่า "การกระเด้ง"

2. การศึกษาในระดับ Macro to Micro คือการส่งมอบองค์ความรู้จากการศึกษาภาพใหญ่ ไปสู่พื้นที่ รวมถึงการให้ความสำคัญต่อพื้นที่ในการพัฒนาในระดับท้องถิ่น

3. Innovation = New + Creative + Knowledge คือการสร้างสิ่งใหม่ๆ โดยใช้ความคิดสร้่างสรรและองค์ความรู้ในการพัฒนา ทำให้เกิดนวตกรรม ซึ่งจะต้องประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญคือ Innovation Management คือ กระบวนการในการบริหารจัดการนวตกรรม  และ Innovation Behavior พฤติกรรมหรือนิสัยคิดสร้่างสรรตลอดเวลา 

4. HR Architecture คือการลงทุนกัยทรัพยากรณ์มนุษย์ การที่ประเทศจะเจริญก้าวหน้าได้ต้องมีการจัดการ การสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างมีทิศทางและยั่งยืน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เสนอประเด็น Supply Site ในการลงทุนไว้หลายด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา สาธารณสุข โภชนาการ ครอบครัว สือ และในห้องได้เพิ่มเติมความรักชาติ วัฒนธรรม คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อให้ส่งมอบมนุษย์ที่มีคุณภาพให้ภาค Demand Site ให้สร้างผลผลิตของประเทศในหลากหลายรูปแบบของการจ้างงาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ความมีเอกภาพ ความสามารถในการแข่งขัน ความสุขของประชาชนในชาติ และคุณภาพชีวิตที่ดี กล่าวโดยสรุป การลงทุนต่อทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องเร่งดำเนินการตั้งแต่ตอนนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ทุนมนุษย์ที่ "เก่ง ดี มีสุข"

ครั้งที่ 2  วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2557

บรรยากาศการเรียนรู้ในวันนี้

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปปริญญาเอก ม.สวนสุนันทา

วันที่ 7 กันยายน 2557

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เน้นในเรื่อง

“Turn idea into action and turn action into success”

สิ่งที่ควรทำคือ

1. ใช้เวลาอย่างฉลาด มองประเทศ มององค์กร ทำตัวให้เป็นประโยชน์ ให้เขียน Social media ของตัวเอง อยากให้ทุกคนมี twitter หรือ Social media ของตัวเองและต่อยอดเป็น 3 V

2. Research แต่ละครั้ง Contribute ให้กับสังคมหรือไม่

เป้าหมายคือ

1. ในแต่ละ Session ให้ทุกคนทำตัวเองให้ Intelligent

2. การเรียนและการทำ Research ควรเน้น 4 เรื่องคือ

  • -ทำ Macro สู่ Micro
  • -พูดเรื่อง Human Capital ลึก ๆ
  • -พูดเรื่อง Leadership
  • -Innovative Management กับ Innovation อยู่ในกระบวนการนี้
  • 3. ต้องสนใจ HR Architecture ที่ให้ไป ให้สนใจเรื่องทุนมนุษย์ของคนไทยในระดับ Macro ว่าเป็นอย่างไร
  • 4. น่าจะมี Research ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้คือ นวัตกรรม ทุนมนุษย์ ฯลฯ โดยอาจเสนอไปที่คุณประยุทธ์
  • 5. การกระตุ้นทางเศรษฐกิจอยู่ที่ศักยภาพการแข่งขัน อยู่ที่มี 3 V คือ Value Added, Value Creation , Value Diversity หรือไม่
  • การนำเสนอโดยกลุ่ม 1
  • การวิเคราะห์ 8K’s และ 5K’s บทที่ 1 – 5
  • - ทฤษฎี 8 K’sเป็น Capital คืออะไร
  • ดร.จีระ เสริมว่า
  • -หลักของเศรษฐศาสตร์คือการจะได้อะไรสักอย่างต้องเสียก่อน
  • -คือ ต้องสร้างทุนมนุษย์ตั้งแต่เกิด หรือก่อนเกิดเพื่อรองรับศักยภาพคนเหล่านั้น คือต้องดูตั้งแต่เกิด เป็นเด็ก ครอบครัว โรงเรียน คุณธรรม จริยธรรม
  • -ให้พูดภาพรวมของการเขียนทฤษฎีทุนมนุษย์ขึ้นมาเพราะอะไร

การนำเสนอ

1. ทุนมนุษย์ K1 ได้มาจากรากฐานของ Prof. Gary Becker

ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนแล้วถึงลงลึกอย่างแท้จริง

Gary Becker บอกว่า ทุนมนุษย์เกิดจากการเลี้ยงดู อบรม โภชนาการ ฯลฯ แต่ต่อมามีแนวคิดของ Bill Gates และ Steve Jobs ที่บอกว่าคนเรียนน้อยมีคุณภาพสูงกว่า เรียนเยอะ เนื่องจากจากวิธีการเรียน และคุณภาพของทุนมนุษย์

ดร.จีระ บอกว่าแต่ก่อน เวลามองเรื่องทุนทางปัจจัยการผลิตมอง 4 เรื่อง คือ เรื่องเงิน แรงงาน เครื่องจักร ที่ดิน แต่ทุนมนุษย์เป็นส่วนที่บริหารสิ่งอื่น ๆ เป็นการบริหารที่ยากที่สุด เพราะมนุษย์ต้องไปสร้างมนุษย์ คนเปลี่ยนพฤติกรรมตลอดเวลา แต่สิ่งที่อยากให้เปลี่ยนคือใฝ่รู้

ถ้าจะศึกษาทุนมนุษย์ใน ปริญญาเอกรุ่น 8 ถือว่าโชคดีที่สุดเพราะได้ศึกษามาแล้ว

Gary Becker มี Innovation ทางด้าน Research ทำไมถึงมองเรื่องคน ถ้าจะศึกษาความลุ่มลึกของมนุษย์จะพบว่าไม่สามารถทายมนุษย์ได้เลยเนื่องจากคนมีความรู้สึก มีอารมณ์มีเก่ง มีไม่เก่ง มีดี และไม่ดี

ทำไม ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นเบอร์หนึ่งเรื่องคน

อาจารย์จีระ ตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีบทบาทในการกำหนดนโยบายของประเทศ สิ่งที่ดร.จีระใช้คือ2R’s คือความจริง และตรงประเด็น

ดร.จีระดำรงตำแหน่งตั้งแต่อายุ 33 ปี จนถึง 43 ปี

โมเดลของ Gary Becker

Dependent Variable (ตัวแปรตาม) เช่น การวัดจากรายได้

Independent Variable (ตัวแปรอิสระ) เช่น โภชนาการ การศึกษา

สรุป ในการพัฒนาคน ควรเริ่มตั้งแต่การดูแลโภชนาการตั้งแต่เด็กเล็ก มีสารอาหารครบถ้วน ทำให้พื้นฐานของเด็กมีสุขภาพที่ดี และใส่เรื่องของการศึกษา และใส่เรื่องฝึกอบรม

การวัดการศึกษา (Education) วัดอย่างไร

การเก็บข้อมูลมาคละกัน เรียกว่า Cross section เช่น เด็กจบมัธยม มหาวิทยาลัย วัดจากปีที่เรียนให้มีการ Run equation ว่าถ้าใครก็ตามมีเฉลี่ยการศึกษามากกว่าคนนั้นจะมีรายได้สูงขึ้น เช่นคนจบ PhD. น่าจะมีรายได้สูงกว่าคนจบปริญญาโท คนจบปริญญาโทน่าจะมีรายได้สูงกว่าคนจบปริญญาตรี ยกเว้นการศึกษานั้นเน้นปริมาณ ไม่เน้น คุณภาพ

8K’s คือการเปลี่ยนจากปริมาณมาเป็นคุณภาพ

8K’s จึงเป็นที่มาของการวิเคราะห์ของ Gary Becker ที่เบื้องต้นถูกต้อง แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการปัจจัยที่ทำให้มนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้นนอกจากการศึกษาอย่างเดียว

คุณภาพของทุนมนุษย์ที่พึงปรารถนาคืออะไร

คือ K2-K8 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ K1

สรุปคือ K1 คือตัวแม่เป็นแนวคิดของ Gary Becker แต่ของดร.จีระ เพิ่ม K2-K8

จริยธรรมเกิดมาได้อย่างไร

1. ครอบครัว

2. วัด

3. โรงเรียน

4. ไม่ถูกอิทธิพลของทุนนิยมสามานย์

5. มีแบบอย่างที่ดี

2. K2 ทุนทางปัญญา คือความสามารถในการวิเคราะห์ มองอนาคตได้ เกิดจาก 4L’s กับ 2R’s

3. K3 ทุนทางจริยธรรม คือ คิดดี ทำดี ทำเพื่อสาธารณะ มีแนวทางสร้างคุณธรรม จริยธรรมตามแนวทางของพระพุทธเจ้าคือ ศีล สมาธิ ปัญญา และแนวทางของ Peter Drucker ที่บอกว่าคนควรมีความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และIntegrity ถ้าไม่มีกรอบของจริยธรรมก็จะไปสู่ความล้มเหลวได้

4. K4 ทุนทางความสุข คือ พฤติกรรมที่แสดงเห็นว่าตัวเองมีคุณค่า ทำสิ่งที่ตัวเองรัก และทำสิ่งที่มีคุณค่า แล้วการทำงานจะออกมาดีเนื่องจากเป็นงานที่มีคุณค่าต่อตัวเอง และสังคมด้วย

แนวทางการสร้างความสุขในการทำงาน

1. สุขภาพร่างกายและจิตใจ

2. ชอบงานที่ทำ

3. รู้เป้าหมายของงาน

4. รู้ความหมายของงาน

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ

6. เรียนรู้จากงาน

7. เตรียมตัวให้พร้อม

8. ทำงานเป็นทีม

9. เป็นโค้ชให้ทีม

10.ทำงานที่ท้าทาย

11.ทำงานที่มีคุณค่า

ดร.จีระ เสริมว่า ทุนมนุษย์เป็นการตัดสินใจส่วนบุคคล สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด Happy Workplace กับ Happiness Capital เป็นสิ่งที่อยากให้ไปคิดดู บางครั้งคนไทยลืมว่าถ้ามี Happiness แล้วต้องมี Productivity ด้วย ควรมีการทำวิจัยว่าความสุขของแต่ละคนต่างกันอย่างไร เช่น ความสุขของการทำงาน มีความสุขน้อยกว่าความสุขของการไปอยู่กับเพื่อนเป็นต้น

ดร.จีระ สรุปว่า การนำเสนอของกลุ่มนี้ มองว่าทุนเริ่มจากตัวแม่ คือ K1 และ มาสู่ K2 คือต้องคิดเป็นวิเคราะห์เป็น ต้องมีการผสมกันถึงเรียกว่า Synthasis ตัวอย่างเช่นสิงคโปร์มี Synthasis ได้ดีไม่ใช่ประชาธิปไตยจ้า ให้มองทั้ง 2 อย่างคือ

1. Analysis คือการคิดวิเคราะห์

2. Synthasis คือการมองความเป็นไปได้ และต้องคิดเป็น คิดแบบยุทธศาสตร์ให้เป็น คนไทยยังขาด Critical Thinkingand Strategic Thinking

5. K5 ทุนทางสังคม เป็นการสร้างเครือข่าย

ดร.จีระ เสริมว่า 5K’s หรือ 8K’s เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ เป็นทางเลือกของแต่ละคน เศรษฐศาสตร์คือการตัดสินใจสอนให้มีทางเลือกในการเป็นคนดี ในการมีปัญญา ในการทำงานที่ชอบ และในการมีเพื่อนคือ Network อย่างในปัจจุบัน Network ที่สำคัญคือ Social Network

Networking คือการมีเครือข่าย คือการตัดสินใจว่าเราจะมีเครือข่ายนอกเหนือจากที่เรามีหรือไม่ ต้องกระเด้งไปข้างนอก ต้องสร้างเครือข่ายให้กว้าง

6. K6 ทุนแห่งความยั่งยืน

นำมาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือ ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน

ดร.จีระเสริมว่า

ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นได้ทั้งวิธีการและเป้าหมาย เหมือนอย่างนวัตกรรมเป็นได้ทั้งวิธีการและเป้าหมาย อย่างเช่น Innovation ไปสู่นวัตกรรมที่ต้องการ

Sustainability คือให้มองว่าสิ่งที่เราทำอยู่วันนี้ มองอนาคตให้ดีว่าสิ่งที่เราทำวันนี้จะอยู่รอดในอนาคตหรือไม่ คือ Health และความใฝ่รู้เป็นต้น

แต่ละคนมี Sustainability ไม่เหมือนกันเช่นในห้องนี้ Sustainability คือเขียนวิทยานิพนธ์ให้จบ แต่ในทางสิ่งแวดล้อมคือการให้ทรัพยากรที่มีอยู่ปัจจุบันมีให้คนรุ่นหลังได้ใช้

ดังนั้นทุนแห่งความยั่งยืน ต้องคำนึงถึงว่ามี Growth ต้องมีความยั่งยืนด้วย

7. K7 ทุนทางเทคโนโลยี

ดร.จีระ เสริมว่า เป็นสิ่งที่คนต้องใช้เป็น รู้ว่าควรใช้อย่างไรเช่นผู้ใหญ่ต้องใช้เป็นแต่อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนเด็กที่ใช้ตลอด และถ้าใช้ไม่เป็นก็ต้องมีลูกน้องที่เก่ง จึงขออยากฝากไว้ให้คนอายุ 55 ปีขึ้นไป

แต่ข้อเสียของเทคโนโลยีคือ ยิ่งนานไปนานไปคนจะคิดน้อยลงเนื่องจากฟังแต่ Google และบางครั้งมีทั้งข้อมูลที่ถูกและที่ผิด มีการเขียน Wikipedia ในเวียดนามเยอะกว่าคนไทย ทุกคนสามารถเข้าไปได้ คือ Online encyclopedia

แต่ละคนต้องมองอนาคตของตนเอง เช่นอายุ 40 ปี จะทำอะไร

การเรียนยุคใหม่ต้องเรียนเพื่อใฝ่รู้ให้รู้ว่าความรู้นั้นล้าสมัยเร็วมาก

5K’s

ทำไม 8K’s กับ 5K’s ต่างกัน

5K’s มาทีหลังเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์

8K’s มาจากพฤติกรรมของดร.จีระ ที่เห็นความผิดพลาดของ Gary Becker บางอย่างที่ไม่ได้มองเรื่องคุณภาพ ซึ่งมีปัจจัยอื่นนอกจากการเรียน

5K’s คืออนาคตของประเทศไทยต่อไป ต้องเพิ่มอะไรบ้าง

K1 ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

- K1 ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ เข้าไปอยู่ในทุก Sector ของไทย ขอแนะนำ เช่น การท่องเที่ยว เกษตร แพทย์ จิวเวอรี่

- K2 ทุนทางความรู้

- K3 ทุนทางนวัตกรรม

- K4 ทุนทางอารมณ์

- K5 ทุนทางวัฒนธรรม

การได้ความรู้เกี่ยวกับ 5K’s เพราะอะไร

สิ่งที่สนใจคือการนำไปใช้จริง ๆ เช่น ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ มีนักทฤษฎีรองรับหลายคน แต่สิ่งที่สำคัญคือการนำไปปฏิบัติจะทำอย่างไรดร.จีระ เสนอให้คิดนอกกรอบได้ แต่ต้องผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

ดร.จีระ เสริมว่า ความรู้ต่าง ๆ ต้องแน่นก่อน พื้นฐานต้องมาก่อน แต่ก่อนบางครั้งการสอนมีการสอนเยอะ ไม่ตรงประเด็น และไม่ทันเหตุการณ์ จึงควรปรับใหม่ ให้มีการฝึกว่าการเรียนทั้งปีได้อะไรในแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปีได้อะไร มีวิธีการกลั่นความเป็นเลิศของแต่ละคน

เศรษฐศาสตร์ถ้าไม่มี Human Capital ไปไม่รอด ถ้าคนสอนหนังสือไม่ดี เด็กก็ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นอย่างอื่นเช่นเครื่องจักร ที่ดินไม่ดี ไม่ทำลายประเทศ แต่ถ้าได้คนไม่ดีจะไปทำลายประเทศ สิ่งนี้คือผลผลิตของการศึกษาที่ไม่ดี

Human Capital คือมนุษย์ 2 เด้ง คือ คนต้องไปบริหารคน และคนก็สามารถไปบริหารเงิน เครื่องจักร ที่ดินได้

เมื่อมีนวัตกรรมแล้วต้องสามารถ Turn ideainto action

K2 ทุนทางความรู้

ดร.สมชาย สอนว่า ถ้ามีความรู้ อย่าล้น หรือล้าสมัย ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ ดร.จีระ คือรู้ ต้องรู้ให้จริงและนำไปใช้ให้ได้

- K3 ทุนทางนวัตกรรม

คือการคิดใหม่ ทำใหม่ตลอดเวลา ต้องมีความคิดสร้างสรรค์

ดร.จีระ เสริมว่าต้องเพิ่มเติมสิ่งใหม่ ๆ คือ 3 V

K4 ทุนทางอารมณ์

  • มีเกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำมาเกี่ยวข้องคือความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร สังคมไทยใช้การปกครองในลักษณะพระเดช พระคุณการโกรธง่าย โมโหง่าย เราต้องสามารถควบคุมให้ได้ว่าเพราะอะไร
  • ทำไมถึงเลือกทุนทางอารมณ์เข้ามา
  • ดร.จีระ บอกว่า ดร.จีระเป็นคนใจร้อน การออกความเห็นบนเวทีจะร้อน เกิดผลกระทบไม่ดีคือ ตัวเองไม่ Happy คนอื่นไม่ Happy ต่อมา ดร.จีระ ฝึกความนิ่ง จะทำให้คนเข้ามาทำงานกับเรามากขึ้น เพราะโดยปกติคนทั่วไปเกิดความร้อนอยู่แล้ว เช่นขับรถปาดหน้า ก็เกิดความไม่พอใจ
  • เป็นพื้นฐานของมนุษย์คือถ้าเราก้าวไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพต้องควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ถ้าควบคุมไม่ได้จะทำลายศักยภาพอื่นหมดเลย
  • ตัวอย่างเช่น Steve Job อารมณ์ไม่ดีถึงเป็นมะเร็งตาย เพราะใจร้อน เครียด
  • Steven Covey บอกว่าเวลาถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์รุนแรง ทางแก้คือให้ใช้ธรรมะคือการปล่อยวาง
  • ยิ่งเป็นเจ้านายต้องควบคุมอารมณ์มากที่สุด ต้องเอาอารมณ์กับจริยธรรมมาเป็นตัวแปรที่ขาดไม่ได้ เพราะอารมณ์ไม่ดี ปัญญาก็ไม่ออก
  • K5 ทุนทางวัฒนธรรม
ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

  • กลุ่มที่ 2 วิเคราะห์ ทฤษฎี ห8K’s + 5K’s
  • ทฤษฎีที่ Gary Becker นำมาวิเคราะห์มี 2 อย่างคือ รายได้ กับการเรียน
  • แต่ทำไม่คนเรียนน้อยบางคนก็มีรายได้สูง ทำไมคนเรียนมาเท่ากันจึงมีรายได้ไม่เท่ากัน
  • E = a0+a1y1+a2y2+£
  • ทฤษฎี 8K’s 5K’s ที่ทรงคุณค่านั้น ดร.จีระได้กลั่นกรองทฤษฎีจากประสบการณ์จริง
  • ดร.จีระเสริมว่า ก่อน run equation ต้องเป็น equation ที่ทันสมัย ต้องวัดได้ว่าคืออะไร ประเด็นคือตั้งโจทย์แบบไหน อดีตไม่สำคัญเท่ากับการมองอนาคต
  • 5K’s เป็นการเสริมศักยภาพของคนให้มีความสามารถมากขึ้น
  • ดร.จีระ เสริมว่า Emotional Capital ก็สำคัญอาจสามารถเป็นทุนพื้นฐานด้วยเช่นกัน
  • 8K’s 5K’s สร้างได้อย่างไร
  • เริ่มจาก ครอบครัว และต้องมี Role Model
  • สรุปบทเรียนจากบุคคลสำคัญ
  • 1. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ เน้นเรื่องการตลาด จะแข่งขันได้อย่างไร เจาะตลาดระดับล่าง และยกไปสู่ระดับกลาง เชื่อมโยงกับ 4 K’s ของอาจารย์ คือ ทุนทางวัฒนธรรมทุนทางนวัตกรรม ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางเทคโนโลยี
  • 2. อาจารย์ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ทฤษฎี White Ocean เน้นเรื่องทุนความยั่งยืน และ ทุนทางนวัตกรรม
  • 3. มล.ชาญโชติ ชมพูนุท มองเรื่องความแข่งขันคือสร้างความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง มีทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์ ทุนทางวัฒนธรรม
  • 4. คุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล มองเรื่องของ AEC การสร้างความมั่นคงในภูมิภาคทางสังคม และวัฒนธรรม มีทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม
  • 5. คุณอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์ มองเรื่องการทำธุรกิจต้องมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และทุนทางความสุข สอดคล้องกับทุนทางจริยธรรม และทุนทางความสุข
  • 6. ดร.รัชดา เจียสกุล มองเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สอดคล้องกับ 8K’s 5K’s
  • 7. อาจารย์สุดใจ พรหมเกิด มองเรื่องการอ่านคือการลงทุนสร้างศักยภาพให้กับคนไทย สอดคล้องกับ ทุนทางอัจฉริยะ คือทักษะ ความรู้ ทัศนคติ
  • เสียงสะท้อนจากลูกศิษย์
  • 1. ดร.อนันต์ งามสะอาด มองเรื่องเทคโนโลยี การทำงานในอนาคต และยั่งยืน
  • 2. คุณธนพล ก่อฐานะ มองเรื่องการพัฒนาคนเพื่อตอบโจทย์อาเซียน
  • 3. คุณชัยพร เหมะ มองเรื่องทุนแห่งความสุข
  • 4. คุณกฤษณพงศ์ มีชูนึก มองเรื่องการใช้ Social Network การตอบโจทย์แก้ปัญหา
  • 5 คุณสมพงษ์ ฝูงคนมองเรื่องการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
  • 6. คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ มองเรื่องการให้ความสำคัญกับคนเก่ง คนดีกับการบริหารองค์กร ดูแลการให้การตอบแทน
  • สรุปคือการบริหารคนโดยมนุษย์และเพื่อมนุษย์
  • ดร.จีระ เสริมว่า การมองแนวคิดเรื่องคน ควรมองอะไรที่เป็นหลัก ยกแบรนด์ของคนให้สูงขึ้น สามารถยืนปะทะกับสิ่งแวดล้อมให้ได้ ทุกอย่างมาจากสมองมนุษย์
  • ความมั่นคงของมนุษย์คือมาจากความมั่นคงทางสังคม
  • เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาทุนมนุษย์
  • 1. วิเคราะห์ จุดแข็งและจุดอ่อนของสังคมไทย
  • ประเด็นสำคัญคือ จาก Macro สู่ Micro เป็นประเด็นสำคัญ
  • ดร.จีระ เสริมว่า Macro เช่น ประชากร การศึกษา การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ เทคโนโลยี ส่วน Micro คือระดับองค์กร
  • 2. ทฤษฎีต่าง ๆ ของดร.จีระ เช่น ทฤษฎี 3 วงกลม ทฤษฎี 4L’s ทฤษฎี 2R’s ทฤษฎี 2I’s ทฤษฎี C&E
  • ดร.จีระ เสริมว่า ตัวอย่างทฤษฎี 2R’s ถ้าการศึกษากำหนดหลักสูตรจากส่วนกลางไม่คำนึงถึงผู้เรียนจะมีปัญหาควรมองว่า ทรัพยากรมนุษย์ของไทยใน 20 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร ดึงMacro เข้ามาสู่ Micro ต้องดู External Environment ให้ได้
  • สรุป จากการเรียนรู้ มี 3 ประเด็น
  • 1. เริ่มจากเด็กจนเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สำคัญคือ ครอบครัว สถานศึกษา และศาสนา
  • 2. การออกแบบพิมพ์เขียวสำหรับการสร้างทุนมนุษย์ได้อย่างครอบคลุมทุกแง่มุมนำเสนอแนวทางในการพัฒนาอย่างชัดเจน
  • 3. ประเทศไทยควรปฏิรูปกระบวนการสร้าทุนมนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ
  • ดร.สร้อยสุคนธ์
  • เน้นเรื่องการกระจายผลออกไปเพื่อสร้างให้คนอื่นมีความรู้ด้วย
  • ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
  • สรุปว่า รากเหง้าของมนุษย์มาจากการลงทุนของ Gary Becker โดยเฉลี่ยแนวคิดของ Gary Becker ถูก แต่วิธีการเรียนก็สำคัญ
ทีมงานวิชาการ Chira Academy

การบ้านสัปดาห์หน้า

การบ้านแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1. อ่านหนังสือ The Shift The future of work is alreadyhere โดย Lynda Gratton

  • กลุ่มที่ 1 วิเคราะห์ปัจจัยที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคตของทรัพยากรมนุษย์และการจ้างงานในโลก (5ปัจจัย) อ่านหน้า 21 – 51
  • กลุ่มที่ 2 ถ้าจะทำให้การเตรียมทรัพยากรมนุษย์มีความพร้อม ต้องมีการปรับ 3 เรื่องคือ Innovation Networking และสร้าง Co-creation แต่ก่อนรู้กว้าง ๆ ได้ แต่อนาคตต้องรู้ลึกและกว้างด้วย อ่านหน้า 195-286

2. อ่านบทความแนวหน้า เรื่อง เหตุผลอะไรรัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงยกเลิกไม่ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ World Expo 2020 ฉบับวันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2557 แล้ววิเคราะห์ในมุมมองของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นมีประโยชน์อย่างไร

จ่าเอกดิเรก เรียงทอง

 การเรียนการสอนในวันที่ 7 กันยายน 2557 กับอาจารย์จีระ

          วันนี้ต้องรีบเพราะอาจารย์นัดแปดโมงเช้า หอบขนมไหว้พระจันทร์ไปฝากทุกคน ถึงเวลานำเสนอรายงานกลุ่ม อาจารย์ก็เริ่มถามคำถาม แล้วผมก็ถูกถามว่า คุณรู้ไม๊ว่า opportunity cost (เดาเอาเอง) คืออะไร ด้วยความอ่อนภาษาจึงรีบตอบว่า ค่าสอน โดนเลย ที่จริงมันคือ ค่าเสียโอกาส หน้าแตก แล้วอีกคำที่อาจารย์บอกคือ ถ้าจะเป็นลูกศิษย์จีระ คุณต้องเก่งต้องทันสมัยเหมือนผม ซึ่งผมเชื่อว่าผมจะเป็นได้ อย่างน้อยตอนนี้ผมมีอีเมลแล้ว ซึ่งไม่เคยคิดจะมี เรื่องเทคโนโลยีก็ถามจากลูกน้องและลูกสาวบ้าง เรื่องภาษาก็เริ่มซื้อหนังสือ Student weekly มาอ่าน เพื่อฝึกภาษา เรื่องที่เปลี่ยนไปอย่างมาก คือ เริ่มรักการอ่าน เดี๋ยวนี้พกหนังสือติดตัว ว่างเมื่อไหร่ก็อ่าน  ตีกอล์ฟก็ยังอ่าน และจะเริ่มอ่านบทความต่าง ๆ และมาแชร์ให้ได้รับความรู้ร่วมกัน ในบลอคนี้ ที่เขียนมาเพียงเพื่อให้รู้ว่าคนเราเปลี่ยนตัวเองได้ และศึกษาหาความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา พบเจอเรื่องใหม่ ๆ จะมาเล่าสู้กันฟัง เหมือนที่อาจารย์บอกวันนี้ว่าอย่าขี้เหนียว ให้แบ่งปันความรู้ให้คนอื่นบ้าง 

จ่าเอกดิเรก เรียงทอง

วันนี้เริ่มผ่อนคลายจริง ๆ อย่างที่อาจารย์บอก เริ่มสนุกกับการเรียน เริ่มเข้าใจอาจารย์และทีมงาน ว่า มาเพื่อทำให้พวกเรารุ่น 8 เก่ง และเรียนให้จบ เริ่มสนุกแล้วครับ

วิเคราะห์บทความ เรื่อง เหตุผลอะไรรัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงยกเลิกไม่ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ World Expo 2020 (ฉบับวันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2557) ในมุมมองของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

กรณี รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยกเลิกโครงการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ World Expo ในปี 2020 ทั้งๆที่ประเทศไทยมีความพร้อมโดยเฉพาะจังหวัดอยุธยาเป็นเมืองมรดกโลก สามารถสร้างความเจริญจากการท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐาน เมื่อไทยถอนตัวทำให้ ประเทศ Dubai ได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพ World Expo ในปี 2020 แทน จากส่วนหนึ่งของบทความที่ว่า.....

“ทำไมต้องเป็น Dubai ประเทศไทยตั้งใจหลีกทางให้ Dubai หรือเปล่า มีสื่อหลายสำนักคาดไว้ว่าประเทศไทย หลีกทางให้ จึงไม่รู้ว่าคุณทักษิณ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์เอาใจ Dubai ไปเพื่ออะไร จึงอยากขอเตือนคนไทยให้ศึกษาติดตามพฤติกรรมเลวร้ายของรัฐบาลที่ไม่เห็นประโยชน์ของคนไทย ไม่ให้เกียรติ แต่เน้นเงินหรืออำนาจเป็นฐานอำนาจกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจรัฐในช่วงนั้น”

วิเคราะห์บทความในมุมมองของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

องค์ประกอบในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นมีหลายองค์ประกอบ ถ้ามองในมุมมอง 8K,s และ 5k’s ของอาจารย์จีระ นั้น พบว่า ผลของการบริหารประเทศแบบ “เน้นเงินหรืออำนาจเป็นฐานอำนาจกลุ่มบุคคล”การที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมนั่นหมายถึง ยังขาดคุณธรรม ตาม K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรมผู้บริหารหรือผู้นำประเทศ คือ คนที่กำหนดทิศทางประเทศ ทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงกับประเทศชาติได้ คนบริหารคน จึงเกิดเป็นความเสียหายสองเด้งอย่างทีอาจารย์จีระ กล่าวไว้ในชั้นเรียน

ประเทศชาติต้องการคนเก่งมาบริหารประเทศ ต้องยอมรับว่าคุณทักษิณและคุณยิ่งลักษณ์มีลักษณะเด่นคือเป็นคนที่มีทุนความรู้ ถือว่ามี K2 Knowledge Capital แต่ขาดองค์ประกอบที่สำคัญ คือ คุณธรรม จริยธรรม ตาม K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรมตามแนวทางทฤษฎี 8k’s ของท่านอาจารย์จีระ ซึ่งในเรื่องนี้ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ยังได้กล่าวไว้ในชั่วโมงสอนวิชาภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์และการจัดการการเปลี่ยนแปลง ว่า “คนดี ว่า คือคนที่มีโอกาสทำผิด (โกง) แต่ไม่โกง ส่วนคนไม่ดี คือ คนที่ไม่มีโอกาสโกง แต่หาช่องทางโกงให้ได้”

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จำเป็นต้องมองไปทั้งระบบ แบบที่ท่านอาจารย์จีระได้ให้โมเดล HR Architecture การพัฒนาคนที่มีคุณภาพเริ่มต้นจากครอบครัว สถานศึกษา ฯลฯ นอกจากนี้ควรมีศาสนา เข้ามาเกี่ยวข้องในการพัฒนาคนให้เป็นคนดี นอกจากนี้ทฤษฎีเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ 8K,s และ 5k’s มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ โดยเริ่มจากตัวเราเอง ครอบครัว องค์กร สังคมและประเทศชาติที่มีคุณภาพ ในระดับ Micro สู่ Macro ในฐานะที่เป็นอาจารย์ผู้สอนตัวเองต้องพัฒนาให้ได้ 8K,s และ 5k’sนอกจากนี้ก็จะปลูกฝังนักศึกษาที่เป็นกำลังของประเทศต่อไป

การบ้านวิจารย์หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

         หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปทุกสาขาอาชีพ แลทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานด้านบุคคล เพราะเนื้อหาความรู้ถูกถ่ายทอดออกมาจากผู้เป็นกูรูด้านทรัยากรมนุษย์ Human Resource หรือทุนมนุษย์  Human Capital ผ่านบทสัมภาษณ์หรือบทสนทนา จากผู้ที่ได้ร่วมงานกับกูรูทั้งสองท่าน 

            ท่านแรก คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้ซึ่งจบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านการทำงานในบิษัทต่างประเทศมายาวนาน จนชีวิตได้รับความไว้วางใจให้มาดูแลงานด้านบุคคล และท่านก็ประสบผลสำเร็จในการทำงานด้านนี้ แม้จะได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น จนถึงระดับสูงสุดของเครือซิเมนต์ไทย แต่ท่านก็ไม่เคยทิ้งงานด้านบริหารงานบุคคลหรือด้านทรัพยากรมนุษย์เลย จนถึงวันท่านอำลาจากองค์กร ปรัชญาการบริหารงานของท่าน คือ ทรัยากรมนุษย์คือต้นทุนที่สำคัญ ต้องมีการพัฒนาทุกระดับชั้นอย่างต่อเนื่อง หลักการทำงาน ต้องได้ คนเก่งและคนดี และมีความซื่อสัตย์ หลักการทำงานของท่านตรงกับหลักทฤษฎ 8  K's  และ 5 K's ของท่านอาจารย์จีระ อย่างไม่น่าเชื่อ

           อีกท่านคือ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ และรับราชการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี ในขณะเดียวกันท่านได้รับความไว้วางใจให้ดูแลงานด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันทรัพยกรมนุษย์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นาน 14 ปี ท่านสนใจงานด้านทรัพยกรณ์มนุษย์จนคิดค้นทฤษฎีทุนมนุษย์ขึ้นมา คือ ทฤษฎี 8 K's และ 5 K's และอีกหลายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ 

            หนังสือเล่มนี้แสดงให้เราเห็นว่า การจะทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งแลเจริญก้าวหน้า ต้นทุนที่สำคัญคือ "คน" โดยต้องมีการพัฒนาคนในทุกระดับชั้นอย่างต่อเนื่อง โดยการนำทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของท่านอาจารย์จีระ และแผนภูมิ HR Architecture มาปรับใช้ และนำวิธีการทำงานของท่านพารณ มาเป็นแนวปฏิบัติ ในเรื่องการพัฒนาคน เรื่องการเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด หลักการใช้ คนเก่งและคนดี มีความซื่อสัตย์  ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้เห็นอย่างชัดเจน

            กูรูทั้งสองท่านต่างมาจากสายงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพนากรมนุษย์เลย แต่เมื่อได้รับมอบหมายงาน ท่านก็ทำได้อย่างดีเยี่ยมประสบผลสำเร็จอย่างมากมาย ท่านหนึ่งเปรียบเป็นจอมยุทธ์ (บู๊)  เพราะลงมือปฏิบัติ อีกท่านเปรียบเสมือนจอหงวน (บุ๋น) เพราะท่านศึกษาจนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ถ่ายทอดออกมาเป็นทฤษฎีให้ได้ใช้กัน

           แนวความคิดและแนวทางปิบัติตัวของท่านทั้งสองเหมือน คือ ท่านทั้งสองคิดว่า คน คือ ทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร ที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทุกระดับ จึงจะทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งและเจริญเติบโต นอกจากนี้ท่านทั้งสองยังแสวงหาความรู้ให้แก่ตัวเองและถ่ายทอดมาสู่คนอื่นอย่างต่อเนื่อง ไม่มีวันหยุด

วิเคราะห์บทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ของท่านอาจารย์จืระ การยกเลิกการเป็นเจ้าภาพ จัด World Expo 2020 ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์

          วิเคราห์ตามหลักทรัพยากรมนุษย์ จะเห็นว่าทั้งนางสาวยิ่งลักษณ์ แลพันตำรวจโททักษิณ เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีทั้งคู่ เป็นทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ แต่กลับทำให้ประเทศเสียหาย ด้วยการยกเลิกการจัด World Expo 2020 อันอาจจะมาจากผลประโยชน์ต่างตอบแทนของอดีตนายกฯทักษิณ ซึ่งถ้าเป็นดังการวิเคราะห์ อดีตนายกทั้งสองท่านจะมีต้นทุนจริยธรรมต่ำไปหน่อย 

            ส่วนการนำเสนอให้รัฐบาลของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ให้บริหารประเทศโดยนำแนวทฤษฎี 8 K's ไปปรับใช้นั้นก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะประเทศไทยที่มีปัญหาในทุกวันนี้เพราะทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ บางคนมีทุนความรู้แต่ขาดทุนคุณธรรม ก็เกิดการโกง บางคนมีทุนปัญญาแต่ไม่มีทุนทางเทคโนโลยี ก็ไม่ก้าวหน้า เพราะฉะนั้นรัฐบาลใหม่ต้องพัฒนมนุษย์ให้มีทุนครบทุกทุน

               สุดท้ายอาจารย์ฝากผลงานทีมบาสเกตบอลหญิงที่ได้ที่สองมา และจะมีารแข่งขันเพื่อหาทีมตัวแทนไปแข่ง อันนี้ถือเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านกีฬา จากระดับ Micro ไปสู่ระดับ Macro อย่างเห็นได้ชัดเจน

นลินี โสพัศสถิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557


วิเคราะห์บทความในมุมมองของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

อ้างถึง บทความ “บทเรียนความจริงกับ ดร.จีระ... หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2557 เรื่อง เหตุผลอะไร รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงยกเลิกไม่ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ World Expo 2020”

ขออนุญาตนำธรรมบรรยายของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) จากหนังสือ การศึกษาทางเลือก : สู่วิวัฒน์หรือวิบัติในยุคโลกไร้พรมแดน มานำเสนอ เพราะอาจเป็นข้อที่ทำให้ได้คิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในบริบทของประเทศไทย

ท่าน ป.อ.ปยุตโต กล่าวว่า “คุณสมบัติในแต่ละคนที่จะไปร่วมกันปกครองให้เป็นประชาธิปไตยก็คือ ธรรมาธิปไตย ซึ่งหมายถึงว่าแต่ละคนต้องถือธรรมเป็นใหญ่ คือยึดถือความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผล ถือหลักการ ตลอดจนกฎกติกาเป็นใหญ่ เป็นมาตรฐาน หรือเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ ถ้าพูดสั้น ๆ หลักการนั่นเองคือธรรม และธรรมคือหลักการนั้นมี 2 ระดับ

1. หลักการคือตัวความจริง ความถูกต้อง ดีงาม ความเป็นเหตุเป็นผลในสิ่งทั้งหลาย ที่เป็นความจริงอยู่โดยธรรมดา ในธรรมชาติ

2. หลักการที่มนุษย์บัญญัติจัดวางขึ้น โดยใช้ปัญญาพิจารณาถึงความจริง ความถูกต้อง ดีงาม ที่มีอยู่เป็นนามธรรมนั้นแล้ว ยกมาตั้งเป็นข้อกำหนดในสังคม ให้ทุกคนยึดถือปฏิบัติตาม เช่นวางเป็นกฎเกณฑ์ กติกา หรือกฎหมาย

เมื่อคนที่เป็นธรรมาธิปไตยนั้นมาปฏิบัติการต่างๆ โดยใช้ระบบประชาธิปไตยที่จัดตั้งไว้เป็นสื่อและเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ เพียงแค่นี้ก็จะเกิดเป็นประชาธิปไตยที่ดีได้ ให้ทุกคนถือธรรมเป็นใหญ่ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีลงมา จนถึงยายมีหรือตาสี ยายมาส่วนตัวคนที่จะให้มีคุณสมบัติเป็นธรรมาธิปไตยและให้รู้จักเป็นอยู่ด้วยระบบประชาธิปไตยนั้น ก็เอาการศึกษาที่ถูกต้องมาพัฒนา”ซึ่งถ้าพิจารณาจะเห็นได้ว่าเป็นไปในทำนองเดียวกับ 2R’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นอกจากนั้นเนื้อหาในบทความ บทเรียนความจริงกับ ดร.จีระ... หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2557 ได้กล่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปศรษฐกิจของประเทศไทย

ดังนั้นจึงขออนุญาตนำธรรมบรรยายของ ท่าน ป.อ.ปยุตโต ซึ่งกล่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไว้ว่า “เมื่อแนวคิดเศรษฐกิจที่ผิดแผกมาครอบงำประชาธิปไตย หลักการบางอย่างก็ต้องหล่นหายหรือถ้าอยู่ได้ความหมายก็ต้องผันแปรขณะนี้หลักการของประชาธิปไตย ได้มีความหมายที่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของแนวคิดทางเศรษฐกิจ จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าเป็นหลักการของประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือไม่ ถ้าเป็นเสรีภาพและความเสมอภาคแบบแก่งแย่งและแบ่งแยก ก็แน่นอนว่าจะไม่มีความเป็นพี่เป็นน้อง ขณะนี้จึงไม่ต้องพูดถึงภารดรภาพ ทั้ง ๆ ที่นักสร้างสรรค์ประชาธิปไตยยุคเดิมถือกันว่าต้องมี 3 อย่าง คือ เสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ คือมีทั้ง liberty equality และ fraternity แต่เดี๋ยวนี้หลักการที่ 3 แทบไม่มีใครพูดถึงแล้ว คนพูดอ้างกันแต่ 2 อย่างแรก คือเสรีภาพและเสมอภาคโดยมีนัยแห่งความหมายในเชิงแบ่งแยกหรือแก่งแย่ง ซึ่งไม่อาจจะนำไปสู่ภราดรภาพคือความเป็นพี่น้องกัน ที่จะทำให้สังคมมีสันติสุข”

จากสิ่งที่นำมาเสนอข้างต้นก็เพียงแค่หวังว่าจะเป็นข้อที่ทำให้ผู้ที่ได้อ่าน เกิดความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในบริบทของประเทศไทยว่ามีความสำคัญเพียงไร ???

นลินี โสพัศสถิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557

วิเคราะห์บทความในมุมมองของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

อ้างถึง บทความ “บทเรียนความจริงกับ ดร.จีระ... หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2557 เรื่อง เหตุผลอะไร รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงยกเลิกไม่ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ World Expo 2020”

ขออนุญาตนำธรรมบรรยายของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) จากหนังสือ การศึกษาทางเลือก : สู่วิวัฒน์หรือวิบัติในยุคโลกไร้พรมแดน มานำเสนอ เพราะอาจเป็นข้อที่ทำให้ได้คิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในบริบทของประเทศไทย

ท่าน ป.อ.ปยุตโต กล่าวว่า “คุณสมบัติในแต่ละคนที่จะไปร่วมกันปกครองให้เป็นประชาธิปไตยก็คือ ธรรมาธิปไตย ซึ่งหมายถึงว่าแต่ละคนต้องถือธรรมเป็นใหญ่ คือยึดถือความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผล ถือหลักการ ตลอดจนกฎกติกาเป็นใหญ่ เป็นมาตรฐาน หรือเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ ถ้าพูดสั้น ๆ หลักการนั่นเองคือธรรม และธรรมคือหลักการนั้นมี 2 ระดับ

1. หลักการคือตัวความจริง ความถูกต้อง ดีงาม ความเป็นเหตุเป็นผลในสิ่งทั้งหลาย ที่เป็นความจริงอยู่โดยธรรมดา ในธรรมชาติ

2. หลักการที่มนุษย์บัญญัติจัดวางขึ้น โดยใช้ปัญญาพิจารณาถึงความจริง ความถูกต้อง ดีงาม ที่มีอยู่เป็นนามธรรมนั้นแล้ว ยกมาตั้งเป็นข้อกำหนดในสังคม ให้ทุกคนยึดถือปฏิบัติตาม เช่นวางเป็นกฎเกณฑ์ กติกา หรือกฎหมาย

เมื่อคนที่เป็นธรรมาธิปไตยนั้นมาปฏิบัติการต่างๆ โดยใช้ระบบประชาธิปไตยที่จัดตั้งไว้เป็นสื่อและเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ เพียงแค่นี้ก็จะเกิดเป็นประชาธิปไตยที่ดีได้ ให้ทุกคนถือธรรมเป็นใหญ่ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีลงมา จนถึงยายมีหรือตาสี ยายมาส่วนตัวคนที่จะให้มีคุณสมบัติเป็นธรรมาธิปไตยและให้รู้จักเป็นอยู่ด้วยระบบประชาธิปไตยนั้น ก็เอาการศึกษาที่ถูกต้องมาพัฒนา”ซึ่งถ้าพิจารณาจะเห็นได้ว่าเป็นไปในทำนองเดียวกับ 2R’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นอกจากนั้นเนื้อหาในบทความ บทเรียนความจริงกับ ดร.จีระ... หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2557 ได้กล่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปศรษฐกิจของประเทศไทย

ดังนั้นจึงขออนุญาตนำธรรมบรรยายของ ท่าน ป.อ.ปยุตโต ซึ่งกล่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไว้ว่า “เมื่อแนวคิดเศรษฐกิจที่ผิดแผกมาครอบงำประชาธิปไตย หลักการบางอย่างก็ต้องหล่นหายหรือถ้าอยู่ได้ความหมายก็ต้องผันแปรขณะนี้หลักการของประชาธิปไตย ได้มีความหมายที่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของแนวคิดทางเศรษฐกิจ จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าเป็นหลักการของประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือไม่ ถ้าเป็นเสรีภาพและความเสมอภาคแบบแก่งแย่งและแบ่งแยก ก็แน่นอนว่าจะไม่มีความเป็นพี่เป็นน้อง ขณะนี้จึงไม่ต้องพูดถึงภารดรภาพ ทั้ง ๆ ที่นักสร้างสรรค์ประชาธิปไตยยุคเดิมถือกันว่าต้องมี 3 อย่าง คือ เสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ คือมีทั้ง liberty equality และ fraternity แต่เดี๋ยวนี้หลักการที่ 3 แทบไม่มีใครพูดถึงแล้ว คนพูดอ้างกันแต่ 2 อย่างแรก คือเสรีภาพและเสมอภาคโดยมีนัยแห่งความหมายในเชิงแบ่งแยกหรือแก่งแย่ง ซึ่งไม่อาจจะนำไปสู่ภราดรภาพคือความเป็นพี่น้องกัน ที่จะทำให้สังคมมีสันติสุข”

จากสิ่งที่นำมาเสนอข้างต้นก็เพียงแค่หวังว่าจะเป็นข้อที่ทำให้ผู้ที่ได้อ่าน เกิดความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในบริบทของประเทศไทยว่ามีความสำคัญเพียงไร ???

นลินี โสพัศสถิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2557

อ้างอิง - จีระ หงส์ลดารมภ์. 2555. 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : มิสเตอร์ก็อปปี้. ISBN. 978-616-91076-0-6

ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’s และ 5K’s ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มาจาก

  • การปลูกฝังจากครอบครัว
  • การศึกษาจากโรงเรียน
  • ความใฝ่รู้และเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งจากหนังสือและจากผู้รู้
  • หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
  • ประสบการณ์ในชีวิตและประสบการณ์การทำงาน

สิ่งสำคัญซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้การสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ก็คือวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างทุนมนุษย์ ตามทฤษฎี8K’s+5K’s ของศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นครูที่มีบทบาทสำคัญที่จะสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพราะเป็นผู้ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ได้เรียนรู้และต่อยอด เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม

สิ่งที่จะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพ บนพื้นฐานความสุขและความสมดุลของชีวิต

  • ครอบครัวและโรงเรียน เป็นสองสถาบันหลักที่สร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นในการปลูกฝัง หล่อหลอม สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน ดังนั้นพ่อแม่และครู ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อสร้างคนเก่ง คนดี คนมีจิตสาธารณะ
  • การทำงานเป็นสิ่งพิสูจน์ความรู้ ดังนั้นต้องเลือกงานที่รักและทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ที่สุด ทุ่มเททั้งพลังความคิด สติปัญญา ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ไม่หยุดการพัฒนา เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเลิศ
  • ต้องแบ่งปันให้แก่สังคมเมื่อมีโอกาส

ทุกสรรพสิ่งย่อมมีที่มา ทุกคนต้องมีต้นทุนเดิมของชีวิตครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการพัฒนาทุนมนุษย์ ในขณะที่การศึกษาเป็นรากฐานไปสู่แนวคิดทฤษฎีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

จากประวัติด้านการศึกษาของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ มิได้ศึกษาด้านทุนมนุษย์ แต่ด้วยการที่เป็นผู้สนใจศึกษาหาความรู้ผ่านประสบการณ์จริง (ท่านได้แนวคิดจาก Da Vinci) นำความรู้ในตำรามาผสมผสานกับความรู้นอกตำราจึงกลายเป็นเป้าหลอมความคิดในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างเป็นระบบ จนทำให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้รู้ด้านทุนมนุษย์การทำงานเป็นบทเรียนสำคัญในการพิสูจน์สิ่งที่เรียกว่าความรู้ว่านำไปใช้ได้จริงหรือไม่ ? ในขณะที่ถ้าต้องทำงานในด้านที่ไม่คุ้นเคยและเป็นสิ่งใหม่ในสังคมไทยจึงเป็นที่มาของทฤษฎี 2R’s

งานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นงานที่ต้องอุทิศแรงกายแรงใจอย่างหนักเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสังคม เพราะเป็นงานที่ต้องเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนค่านิยม เปลี่ยนความเชื่อดั้งเดิมเพื่อเป้าหมายคือสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพให้กับสังคม กลั่นกรองจนเป็นทฤษฎี 8K’s เมื่อประสบความสำเร็จอย่าดีใจจนเกิดเหตุ แต่เมื่อล้มเหลวก็อย่าย่อท้อ จงทบทวนบทเรียนแห่งความล้มเหลวผ่านความสงบหรือสมาธิ เมื่อจิตสงบ ทางออกของปัญหาก็จะปรากฏ เมื่อจิตนิ่งจะสามารถมองเห็นตนเองได้ชัดเจนมากขึ้น เพราะตามหลักพุทธศาสนาสมาธิเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญญา เป็นผลทำให้เกิดทฤษฎี 3L’s

การใฝ่รู้ การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ซึ่งเป็นพื้นฐานการคิดอย่างสร้างสรรค์ และการสร้างนวัตกรรม วิธีการของท่านคือ การอ่านหนังสือและการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนเก่ง เพื่อให้มีความรู้ที่ทันสมัยและข้ามศาสตร์ การอ่านจะสนุกได้ต้องมีบรรยากาศที่ทำให้อย่างอ่าน ดังนั้นความเป็นเลิศในการเรียนรู้ของมนุษย์อยู่ที่บรรยากาศด้วยท่านเรียกว่า Learning Environment ในขณะที่การได้ปะทะกับคนเก่งเป็นการลับคมปัญญาที่ดี แม้กระทั่งการเรียนรู้จากลูกศิษย์ (แนวคิดจาก Peter Drucker : I’ve leaned from my students) คนที่ใฝ่รู้คือคนที่คิดว่าตัวเองไม่รู้และขวยขวายแสวงหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา รับฟังความคิดเห็นของทุกคนเพื่อจะได้เข้าใจผู้อื่น

สำหรับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กีฬาช่วยให้ได้ความรู้ที่นำมาใช้ในชีวิตและการทำงาน ท่านดูกีฬาเพื่อการวิจัย ดังนั้นอาจเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นที่มาของทฤษฎี 8K’s+5K’s(ใหม่)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า คนไทยส่วนใหญ่เก่งในการรู้ว่า คืออะไร? แต่ไม่รู้ว่า จะเอาไปทำอะไร?นอกจากนั้นคนไทยมักขาดความละเอียดรอบคอบ ดังนั้นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐานของการทำงานและสร้างมาตรฐานในระดับโลก เพื่อเตรียมการแข่งขันในสังคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จะเริ่มในปีพุทธศักราช 2558

ต่อเนื่องจากความเห็นก่อนหน้า ....

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2557

อ้างอิง - จีระ หงส์ลดารมภ์. 2555. 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : มิสเตอร์ก็อปปี้. ISBN. 978-616-91076-0-6

ต่อเนื่องจากความเห็นก่อนหน้า ....

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2557

อ้างอิง - จีระ หงส์ลดารมภ์. 2555. 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : มิสเตอร์ก็อปปี้. ISBN. 978-616-91076-0-6

ต่อเนื่องจากความเห็นก่อนหน้า ....

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2557

อ้างอิง - จีระ หงส์ลดารมภ์. 2555. 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : มิสเตอร์ก็อปปี้. ISBN. 978-616-91076-0-6

ต่อเนื่องจากความเห็นก่อนหน้า ....

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2557

อ้างอิง - จีระ หงส์ลดารมภ์. 2555. 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : มิสเตอร์ก็อปปี้. ISBN. 978-616-91076-0-6

ต่อเนื่องจากความเห็นก่อนหน้า ....

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2557

อ้างอิง - จีระ หงส์ลดารมภ์. 2555. 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : มิสเตอร์ก็อปปี้. ISBN. 978-616-91076-0-6

ต่อเนื่องจากความเห็นก่อนหน้า ....

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2557

อ้างอิง - จีระ หงส์ลดารมภ์. 2555. 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : มิสเตอร์ก็อปปี้. ISBN. 978-616-91076-0-6

ต่อเนื่องจากความเห็นก่อนหน้า ....

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2557

อ้างอิง - จีระ หงส์ลดารมภ์. 2555. 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : มิสเตอร์ก็อปปี้. ISBN. 978-616-91076-0-6

ต่อเนื่องจากความเห็นก่อนหน้า ....

รูปตารางทั้งหมดข้างต้น นำข้อมูลจากหนังสือ 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Slide ที่กลุ่มที่ 2         นำเสนอคะ ทำแล้วเลยอยากให้ทุกคนเห็น ต้องให้เครดิต พี่เอ (คุณวัฒนศักดิ์ ศรรุ่ง) นะคะ

วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

สิ่งที่ได้จากการศึกษา การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2557

ทฤษฏี 8K’s และ ทฤษฎี 5K’s(ใหม่) ของ ศ.ดร.จีระ หงห์ลดารมภ์ นำไปใช้ได้จริงในชีวิตจริง โดยเฉพาะการเริ่มจากตัวเราเป็นสำคัญ และยังมีความหมายครอบคลุมการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ ในด้านต่างๆ ด้าย แต่ทั้งนี้ ครอบครัว การศึกษา มีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะก่อให้เกิดมนุษย์ที่มีคุณภาพ ในด้านการเรียนรู้ วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติ สามารถแข่งขันได้ในสังคม ด้วย

ใน ทฤษฏี 8K’s และ ทฤษฎี 5K’s(ใหม่) K1 ทุนมนุษย์ ( Human Capital) ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็น ทุนหลัก ส่วน K2-K8 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ K1 เป็นทุนรองลงมา การปรับแต่งหรือการนำไปใช้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่อไป เช่น ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

การนำแนวคิด Human Capital ได้ประโยชน์ 2 เด้ง คือ พัฒนาคนให้สามารถบริหารคน และคนก็สามารถไปบริหารปัจจัยต่างๆ ได้แก่ บริหารเงิน เครื่องจักร ที่ดิน ต่อไป

ครอบครัวและโรงเรียน เป็นสถาบันหลักที่สร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นในการปลูกฝัง หล่อหลอม สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน ดังนั้น พ่อแม่และครู ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อสร้างคนเก่ง คนดี คนมีจิตสาธารณะ ส่วนการทำงานเป็นสิ่งพิสูจน์ความรู้ ต้องเลือกงานที่รักและทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ที่สุด ทุ่มเททั้งพลังความคิด สติปัญญา ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ไม่หยุดการพัฒนา เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเลิศ และต้องแบ่งปันให้แก่สังคมเมื่อมีโอกาส ต่อไป ดังนั้น หากประเทศใดให้ความสำคัญลงทุนกับการพัฒนาทุนมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเข้าสู่วัยทำงาน เชื่อว่า จะได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

วิเคราะห์บทความในมุมมองของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

อ้างถึง บทความ “บทเรียนความจริงกับ ดร.จีระ... หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2557

เรื่อง เหตุผลอะไร รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงยกเลิกไม่ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ World Expo 2020”

รู้จักกับ World Expo

World Expo หรือในอดีตชื่อ World’s Fair เป็นมหกรรมแสดงวัฒนธรรมระดับโลก จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1851 ที่สวนไฮด์พาร์ค กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยจัดอยู่ในอาคารกระจกที่มีชื่อว่า “The Crystal Palace” มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Great Exhibition of the Works of Industry of all Nations หรือเรียกสั้นๆ ว่า The Great Exhibition ซึ่งเป็นการแสดง “แสนยานุภาพ” ในการผลิตตามระบบอุตสาหกรรมของชาติต่างๆ ในช่วงที่ยุคอุตสาหกรรมกำลังไต่ขึ้นสู่จุดสูงสุด มีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้าและผลงาน 14,000 รายจากทั่วโลก และมีผู้เข้าชมงาน 6 ล้านคนในระยะเวลาประมาณ 5 เดือน สร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล ตัวงานยังถูกยกย่องให้มีคุณค่าทางวัฒนธรรม มีแขกที่มีชื่อเสียงของโลกเข้าร่วมชมงานมากมาย ทั้ง ชาร์ล ดาวิน และคาร์ล มาร์กซ์ ผู้ซึ่งได้รับอิทธิพลจากงานนี้ว่าเป็น “จุดสูงสุดของโลกทุนนิยม” และกระตุ้นให้เขาสร้างสรรค์แนวคิดด้านสังคมนิยมออกมา

ปัจจุบันงานเอ็กซ์โปอยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรนานาชาติชื่อBureau of International Expositions (BIE) และตกลงกันว่างานเอ็กซ์โปในยุคใหม่จะจัดขึ้นทุก 5 ปี (ปี ค.ศ. ที่ลงท้ายด้วย 0 และ 5) โดยงานแต่ละครั้งมีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน (ข้อมูลจาก Wikipedia) งานเอ็กซ์โปครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่

  • -ปี 2000 ที่เมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี
  • -ปี 2010 ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน หลายคนอาจคุ้นชื่อหรือเคยไปร่วมงาน World Expo 2010 ที่นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่ง “ศาลาไทย” ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม
  • -ปี 2015 ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี
  • -ประเทศไทยก็เสนอตัวเป็นเจ้าภาพงานเอ็กซ์โป ปี 2020 โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระหว่างการเยือนศาลาไทยในงานเอ็กซ์โปที่เซี่ยงไฮ้เมื่อปี 2553 และช่วงเดือนมกราคม 2554 และนำเสนอ “จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” เป็นเมืองจัดงาน โดยมี สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)หรือ สสปน. เป็นผู้จัดการหลักโดยมีแนวทางการจัดงาน คือ “Balanced Life, Sustainable Living” (ชีวิตที่สมดุลย์และยั่งยืน) อยู่บนหลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) เชื่อมโยงกับปัญหาของโลกทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า 2) เป็นจุดแข็งของประเทศไทย 3) สอดคล้องกับนโยบายและวาระแห่งชาติของไทย
วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

ต่อ

ต่อมามีการเปลี่ยนรัฐบาลในการบริหารประเทศ มีรัฐบาลจากพรรคเพื่อไทย โดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ให้ความสำคัญต่อโครงการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ ท้ายสุดคณะกรรมการผู้จัดงาน เลือก ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นผู้ดำเนินงานจัดงานครั้งนี้

เรื่อง “เหตุผลอะไรรัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงยกเลิกไม่ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ World Expo 2020” วิเคราะห์ในมุมมองของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งดิฉันขอยกอ้างอิงทฤษฏี 8K’s และ 5k’s เพียงบางทฤษฏี ดังนี้

คำว่า “การตัดสินใจของรัฐบาลครั้งนี้ส่อเจตนาเปิดทางให้คู่แข่งอย่าง Dubai หรือเปล่า และทำไมต้องหลีกทางให้ หรือเพราะความสัมพันธ์อันดีระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรี พี่ชาย หรือความสัมพันธ์ส่วนตัวของตนเอง”อันนี้คงพิสูจน์ไม่ได้ แต่ที่แน่ๆ การตัดสินใจครั้งนี้ถูกจับตามอง ว่า เป็นผู้นำที่ขาดวิสัยทัศน์ ในการบริหารประเทศทั้งในด้านความคิด การวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ และยังขาดคุณธรรมจริยธรรม ในการตัดสินใจ ที่ว่า ต้องคิดดี ทำดี เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก การปล่อยประละเลยในครั้งนี้ ก่อให้เกิดกระแสการวิพากวิจารณ์ ว่า เอื้อประโยชน์ต่อ พี่ชายของตนและประเทศอื่น และยังใช้อำนาจของตนในทางที่ผิดเกิดการเสียโอกาสในด้านการพัฒนาประเทศ ประชากร ชุมชน และสังคมได้ซึ่งเชื่อมโยงกับ ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital ) ตามแนวทางทฤษฎี 8 K’s ของท่านอาจารย์จีระ

วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

ต่อ

ประเด็นที่สอง เนื่องจากสถานที่จัดงานครั้งนี้ คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีโบราณสถาน วัตถุ ที่ทรงคุณค่า มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน การยกเลิกครั้งนี้ ยังส่งผลให้เกิดการสูญเสียโอกาสที่ ชาวต่างชาติ จะได้มีโอกาสเรียนรู้ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา วิธีชีวิต ภูมิปัญญา แนวปฏิบัติ ประวัติศาสตร์ อัธยาศัยไมตรีที่ดีของชนชาวไทยและประเทศไทยเองก็ไม่ได้เรียนรู้ในส่วนของวัฒนธรรมต่างประเทศ ด้วย ซึ่งเชื่อมโยงกับ ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital ) ตามแนวทางทฤษฎี 5 K’s ของท่านอาจารย์จีระ

ประเด็นสุดท้าย คือ ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ นั่นคือ การขาดรายได้ จากการลงทุน การจ้างงาน การบริโภคของผู้ร่วมงานทั้งในประต่างประเทศ การท่องเที่ยว การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ได้แก่ สถานที่จัดงานการเรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากนานาประเทศ การขาดโอกาสที่จะได้รับการประชาสัมพันธ์ประเทศให้ชาวโลกรู้จัก เป็นต้น

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ จำเป็นต้องมองไปทั้งระบบและเริ่มพัฒนาทุนมนุษย์ในระดับ Macro โดยเริ่มจากครอบครัวเป็นหลัก สถานศึกษา ศาสนา สื่อ และนโยบายของรัฐ ฯลฯ ไปสู่ ระดับ Micro นั่นคือ การพัฒนาทุนมนุษย์ในช่วงวัยทำงาน ได้แก่ การฝึกอบรม การเสริมการเรียนรู้ความถนัดเฉพาะทาง ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น โดยอาศัย “ทฤษฏีเพื่อการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์” หรือเรียกว่า “ทฤษฏี 8K’s และทฤษฏี 5K’s ใหม่” ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ได้จากการศึกษา การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2557

วันนี้อาจารย์ให้กลุ่ม 1 และกลุ่ม 2นำเสนองานหลังจากที่ได้อ่านหนังสือชื่อ “8K’s +5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” หลังจากอาจารย์มอบหมายงาน (กลุ่ม 2) กลุ่มเราคุยกันว่าต่างคนไปอ่านและสรุปและวิเคราะห์มาส่งมารวมกันเป็นงานของกลุ่ม จากนั้นก็ได้กลับไปอ่านหนังสือและสรุปสาระสำคัญส่งให้กับเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันวิเคราะห์เพื่อนำเสนอกับอาจารย์ สิ่งที่อ่านมาได้เพียงความเข้าใจในเบื้องต้นเท่านั้น หลังจากฟังกลุ่ม 1 นำเสนอ และฟังอาจารย์เสนอแนะเพิ่มเติมทำให้เข้าใจ “8K’s +5K’s เพิ่มมากยิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้ได้อ่าน “8K’s +5K’s มาบ้างแต่ก็ไม่ลึกซึ้งเท่ากับที่อาจารย์มาอธิบายเพิ่มเติมในห้องเรียน การนำเสนอของกลุ่ม 2อาจารย์พอใจ ได้แนวทางการนำเสนองานการวิเคราะห์งานที่อาจารย์มอบหมาย ได้เรียนรู้จากสมาชิกในกลุ่มการทำงานร่วมกัน ความสำเร็จในการทำงาน ก็มาจากการทำงานเป็นทีมของพวกเรานั่นเอง นี่คือบทเรียนของการทำงานร่วมกันครั้งแรกของพวกเรา การจัดการนวัตกรรม สวนสุนันทา รุ่นที่ 8

ในส่วนของเนื้อหาที่กลุ่ม 2นำเสนอประเด็นเพิ่มเติมและอาจารย์เห็นด้วยคือ กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญเริ่มจากเด็กจนเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สำคัญคือ ครอบครัว สถานศึกษา และ ศาสนา

วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

การให้ความคิดเห็นจากการอ่าน “หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” บทสนทนา ว่าด้วย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงบุคคลสำคัญ 2 ท่าน ได้แก่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้ซึ่งได้สมญานามว่า “สองปราชญ์ ทรัพยากรมนุษย์” ภายใต้แนวคิด “HR-Human Resources” หรือทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้

ความเหมือน และความแตกต่างของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา สรุปได้ ดังนี้

ประเด็น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
การศึกษา จบปริญญาตรี   โท เอก ด้านเศรษฐศาสตร์ โดยไม่ได้เลือกวิชาทรัพยากรมนุษย์ จบปริญญาตรี   โท ด้านวิศวกรรมศาสตร์
การทำงาน -ดำรงตำแหน่ง   ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4 สมัย กว่า 16 ปี-รองอธิการบดี   ฝ่ายวิจัยและบริการทางวิชาการ-อาจารย์ผู้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์   คณะเศรษฐศาสตร์

-นักวิชาการด้านทรัพยากรมนุษย์

-เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

-ผู้บริหารด้านการบุคคล   -กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานกรรมการ   และกรรมการของ บริษัท ในเครือซีเมนต์ไทย กว่า 40 แห่ง
การปฎิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ปกครองด้วยพระเดชและพระคุณ   รับฟังความคิดเห็นผู้ใต้บังคับบัญชา ส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   ปกครองด้วยความเมตาทั้งลูกน้อง   และครอบครัว รับฟังความคิดเห็นผู้ใต้บังคับบัญชา ส่งเสริมการเรียนรู้   และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
แนวคิดที่คล้ายกัน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   โดยมุ่งมั่นทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่สังคมทั้งภาครัฐและเอกชน   ท้องถิ่น และระดับนานชาติและสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้ผ่านแนวคิด   ปรัชญาการทำงานด้านทุนมนุษย์ ได้แก่ ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s)   ,ทฤษฎีทุนใหม่5 ประการ (5K’s) ,ทฤษฎี 4L’s, ทฤษฎี 2R’s ,ทฤษฎี   2I’s ,ทฤษฎี C&E ,ทฤษฎี HRDS   และทฤษฎี 3L’s ซึ่งนำไปใช้ได้จริงในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มุ่งมั่นสร้างเยาวชนให้เป็น   Global   Citizen แนวคิด Constructionism โดยการสร้างห้องปฎิบัติการเพื่อให้เป็นต้นแบบการวางระบบการศึกษาของไทย   โดยเริ่มต้นจากโรงเรียนสันกำแพง ดรุณสิขาลัย เป็นต้น
วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

ต่อ

จากการอ่านหนังสือเล่มนี้แสดงให้เราเห็นว่า องค์กรจะมีความเข้มแข็งและยั่งยืนได้ "คน" มีความสำคัญที่สุด ฉะนั้น ผู้บริหารที่ดีควรให้ความสำคัญในการพัฒนาคนในทุกระดับชั้น ทั้งระดับบนและล่างพร้อมๆกัน อย่างต่อเนื่อง การนำทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มาปรับใช้ในการพัฒนาบุคลากร และนำวิธีการทำงาน ประสบการณ์ของ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาทรัพยากรในองค์กร บริษัท ทั้งในเรื่องการส่งเสริมด้านการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ การฝึกอบรม การเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด หลักการใช้ คนเก่งและคนดี มีความซื่อสัตย์  จะเกิดประโยชน์มหาศาลต่อองค์กร สังคม และประเทศชาติอย่างมาก และควรพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทุกระดับ จึงจะทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งและเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ต่อไป

และอย่าลืมว่า ครอบครัวและโรงเรียน เป็นสถาบันหลักที่สร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นในการปลูกฝัง หล่อหลอม สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน ดังนั้น พ่อแม่และครู ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อสร้างคนเก่ง คนดี คนมีจิตสาธารณะ ทุ่มเททั้งพลังความคิด สติปัญญา ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ไม่หยุดการพัฒนา เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเลิศ และต้องแบ่งปันให้แก่สังคมเมื่อมีโอกาส ต่อไป โดยพิจารณาจากภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับ Macro ไปสู่ Micro ผ่าน แนวคิด HR Architecture ของ ดร.จีระ ดังนั้น หากองค์กรใดให้ความสำคัญลงทุนกับการพัฒนาทุนมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเข้าสู่วัยทำงาน เชื่อได้ว่า จะได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ คุณค่า มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

         อย่างที่ทราบกันว่า งาน World expo นั้น เป็นงานแสดงนวัฒนกรรมระดับโลก ในมุมมองของทุนมนุษย์ การจัดงาน world expo นั้น เป็นช่องทางและโอกาส ที่ดีในการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศ ซึ่งการจัดงานนั้น หากอ้างอิงจาก ทฤษฎี 8K’s + 5K’s จะพบว่า การจัดงานนั้น เป็นการเปิดช่องทางในการพัฒนา เพิ่มพูนความรู้ ของบุคลากร (ทุนทางด้านปัญญา) เป็นการสร้างเครื่องข่าย ระหว่างนานาชาติกับไทย และเปิดโลกทัศน์ของคนในประเทศ (ทุนทางสังคม) ได้เรียนรู้วัฒนธรรม และนวัตกรรมใหม่ๆ จากนานาประเทศ (ทุนแห่งการสร้างสรรค์ + ทุนทางนวัตกรรม + ทุนทางวัฒนธรรม)

          ซึ่งการที่ประเทศไทยยกเลิกการจัดงาน world EXPO 2020 นั้น ไม่ว่าจะมาจาก เหตุผล หรือสาเหตุใดๆ ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายโอกาสในการพัตนาด้านทุนมนุษย์ของประเทศไทย เป็นอย่างยิ่ง

ครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

ภาพบรรยากาศในการเรียนรู้

โครงการปริญญาเอก วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รุ่นที่ 8

ครั้งที่ 3

14 กันยายน 2557

- สอบครั้งที่ 6 แต่การสอบจะไม่เหมือนทุกครั้ง ขอให้ไปดูข้อสอบเก่าๆของรุ่นที่ 1 – 7 ได้ ว่ามีการสอบอย่างไรบ้าง?

- สร้าง 3 V ให้ได้ คือ การเพิ่มมูลค่าแบบเดิม ฉันดีขึ้นเท่ากับ V1 แต่ถ้ากระเด้งไป เช่น ฉันจะเอาทำในงาน นั่นคือ V2 หรือ V 3 คือไปร่วมกับคนอื่น พุ่งไปสู่ Diversity ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น Limit ของสิ่งที่เรามองไม่เห็น ต่อสถานที่ต่างๆ เช่น แพทย์ อบต. อบจ.ธุรกิจต่างๆ เป็นต้น

- การวัดคุณภาพของงานให้เพิ่ม รุ่น 8 มีคุณสร้อย ที่จะช่วยคุณติวได้

- Human Capital ในหนังสือที่ให้อ่าน มันเป็นจุดเริ่มต้น ทุนทางอารมณ์ เป็นตัวแปรสำคัญมากในการใช้ชีวิต

- อยากให้ทุกคน Innovation อีกอันหนึ่ง คือ Macro ไปหา Micro คือการมองประเทศ และ 8K ก็ทำให้มันเกิดขึ้นได้ แต่การศึกษาไทยล้มเหลว

สัปดาห์ที่ 6 จะมีการสอบเรื่อง HR Architecture

โลกาภิวัตน์ จะกระทบเราอย่างไร

อ.จีระ: เรื่อง Lynda Gratton ในหนังสือเรื่อง The future of work is already here และ HR Architecture เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คนที่ 1 : อ.จีระ มีเรื่องการ เกิด ตาย ลงทุน แบบ Gary Becker ในการศึกษาถึงจะมีความสามารถ แต่ของอ.จีระ วัดจากความสามารถไม่ได้วัดจากปีที่เรียน และการลงทุนต้องเป็นแบบLearning how to learn เน้นให้เด็กคิดและประทะกับความจริง

คนที่ 2 มีมุมมองที่เหมือนกันทั้ง 2 คน Lynda เน้นเรื่อง Demand แต่ไม่เน้น Supply

อ.จีระ: ต้องมองให้ออกว่าผลิตทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง Lynda สอน Business school ที London จะพูดถึงมูลค่าที่เกิดขึ้น

คนที่ 3 มีการสร้าง Value chain ให้เกิดขึ้น

อ.จีระ: 8K 5K เป็นSequence model 8K ต้องมาก่อน 5K ถ้าไม่มีปัญญา จริยธรรม ไมมีความสุข ไม่มีเครือข่าย ก็ทำอะไรไม่ได้ ต้อง Back to basic

ที่เหมือนกัน คือ มองไปที่ employment ซึ่งในอนาคตของเมืองไทยจะต้องมี Productivity เพิ่มขึ้น

ประเทศสเปน วัยรุ่นว่างงาน 40% คือ เทคโนโลยีทำแทนคนได้หมดแล้ว มีหนังสือ Future of work สิ่งที่เทคโนโลยีแทนมนุษย์ไม่ได้คือ นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์

ถ้าเราย้ายจาก Quantity ไปสู่ quality งานก็จะขยาย

เมื่อเช้านี้มีข่าวกลุ่ม Isis (Islamic State of Iraq and Greater Syria) ฆ่าคนอังกฤษ คนอังกฤษเลยลุกขึ้นมาต่อสู้ กลุ่ม Isis หัวรุนแรงมาก หากเกิดขึ้นในภาคใต้ของเราจะเกิดอะไรขึ้น เด็กวัยรุ่นหากไม่ไปโรงเรียนจะถูกปลูกฝังด้วยค่านิยมหัวรุนแรง

เวลาสอบต้องรู้

  • -เศรษฐกิจของประเทศไทย รู้การเพิ่ม Productivity ของ Sector นั้นๆ นั่นก็คือ การเพิ่มคุณภาพของคน

อ.สร้อยสุคนธ์: HR Architecture เราต้องคิดโมเดลของ HR ในอนาคต 20 ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร โดยส่วนตัวอยากเห็นโลกสีชมพูที่จะผลิตคน ด้วย2R 3V และแตกตัวออกมาเป็นทีม เพื่อให้ออกมาเป็นโมเดลของกลุ่มนี้

เช่น โมเดลเรื่องโลกสีชมพู คือ เลือดเป็นสีแดง แต่เอาไปรวมกับคุณธรรม จริยธรรม สร้าง Output ออกมาให้ได้

อ.จีระ: กลุ่มนี้มีความหลากหลาย เมื่อก่อนจะบรรยายเยอะ แต่ทำให้รู้ไม่จริง คราวนี้เน้นว่านักศึกษาต้องรู้จริง ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเอง

รุ่นนี้จะทำ Public seminar เรื่องอนาคตในประเทศไทย 20 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร อนาคตไม่มีใครทายได้ มีแต่จะศึกษาเท่านั้น

กำลังแรงงานไม่ได้มาจากการลงทุนในประเทศ แต่มาจากการ Migration

อ.สร้อยสุคนธ์: Concept แรกต้องตั้งก่อน และจะมีเรื่อง Dynamic ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีเรื่อง Change ด้วย

อ.จีระ: vertical knowledge จะเกิดกับพวกหมอ นักวิทยาศาสตร์ แต่ต้องมี Horizontal knowledge ด้วย รวมกันจะได้ทฤษฎีตัว T

อ.สร้อยสุคนธ์: หากทั้ง 6 ท่าน สามารถทำโดยมีทฤษฎี 2R สนับสนุน

อ.จีระ: พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่านให้ค่านิยมคุณภาพของงานคนไทยไว้ 12 ข้อ ซึ่งประกอบไปด้วย

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติในปัจจุบัน

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

3. กตัญญู ต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษา เล่าเรียน ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

ควรมีความเป็น Curiosity เพื่อความเป็นประโยชน์ของสังคม

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม

คือ 5K ทุนทางวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นวัฒนธรรมจะอยู่กับคน

6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน

7. เข้าใจ เรียนรู้ การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง

8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

9. มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จำหน่าย และขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อม โดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี

ภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดของมนุษย์ก็คือ 8K 5K

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป ตามหลักของศาสนา

12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และต่อชาติ มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

อีก 2 สัปดาห์จะมีการสอบเรื่องทุนแห่งความยั่งยืน คือ ให้วันนี้และอนาคตไปด้วยกัน

อาจารย์สอนเพื่อให้มีความใฝ่รู้ตลอดชีวิต ไม่ใช่สอนให้จบเพื่อได้ปริญญาเท่านั้น

โลกในอนาคต คนที่จะอยู่รอดได้คือ ต้องมีความใฝ่รู้และมีการเรียนรู้ข้ามศาสตร์

นำเสนอหนังสือเรื่อง The shift The future of work is already hereเรื่อง Lynda Gratton

กลุ่ม 1: กล่าวเรื่องแนวคิดผู้เขียน สรุปได้เป็น The Five forces แรงผลักดันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต

  • -พลังงานธรรมชาติ
  • -เทคโนโลยี
  • -โลกาภิวัตน์
  • -สังคม
  • -ประชาการศาสตร์

แบ่งเป็นส่วนประกอบย่อย 32 ชุด และนำเสนอในรูปแบบของ Mind map

แนวคิดมาจากคุณแม่ที่เอาผ้ามาต่อเป็นผืนใหญ่ เหมือนที่อ.จีระบอกว่า ทุนมนุษย์เริ่มต้นที่ครอบครัว

อ.จีระ: ลินดาเริ่มด้วย Micro และตอนหลังเป็น Macro วิเคราะห์เรื่องโลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง แต่คิดว่าควรจะมีปัจจัยมากกว่านี้

หากจะออกข้อสอบอาจจะออกว่า ให้คิดมาอีก 5 เรื่อง แนะนำว่าเรื่อง Customer demand เป็นเรื่องสำคัญ

การเรียนรุ่นนี้เป็นสำคัญ อาจจะถามว่านวัตกรรมรุ่นนี้คืออะไร

การที่ชอบในสิ่งที่ทำ เรียกว่า Passion อยู่ในเรื่อง Happiness

ผ้าแต่ละชิ้นก็คือแต่ละองค์ประกอบ การที่พัฒนามนุษย์ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกๆชิ้นของผ้า แต่ขึ้นอยู่กับบริบทและการประยุกต์ใช้

อ.จีระ: หนังสือเรื่องGlobal competency แนะนำให้อ่าน

การใช้ทฤษฎี 8K 5K ก็เช่นกัน ต้องเข้าใจถึงบริบทและการนำไปใช้ หลักการคือใช้ 2R เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

  • -ปัจจัยทั้ง 5 จะเอามาสัมพันธ์กับการจ้างงาน ซึ่งจะมีลูกศรไปกลับกับทรัพยากรมนุษย์

อ.จีระ: เรื่องการเกษตร ใส่ปุ๋ยยาฆ่าแมลง ใส่ดิน แต่ได้ผลผลิตน้อย

เรื่องการท่องเที่ยว เป็นแรงงานไร้ฝีมือเป็นส่วนใหญ่ พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องให้ความสำคัญกับ Productivity ที่เน้นเรื่อง Employment +value added +creativity

  • -จากความสัมพันธ์ระหว่าง HR กับการจ้างงาน
  • -โจทย์คือ ผู้สูงวัย มีสถิติต่อไปนี้

อ.จีระ: หากสนใจทำวิทยานิพนธ์เรื่อง Macro มีหัวข้อที่น่าสนใจคือ ผู้สูงวัย บทบาทของแรงงานต่างด้าว บทบาทของสตรี เรื่องความแตกต่างแต่ละ GEN

- ปี 57 เห็นว่า สถิติของประเทศไทยจะอยู่ในสังคมผู้สูงวัย จนเกือบเข้าไปอยู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ แต่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ในสังคมสูงวัยระดับสุดยอด

- ผู้สูงวัยเป็นทรัพยากรที่มีค่าต่อประเทศเช่นกัน เพราะมีประสบการณ์ ความรู้มาก องค์กรควรให้คนเหล่านี้มาเป็นที่ปรึกษา ช่วยคิดเพื่อนำองค์กรให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น และควรให้มีการทำงานร่วมกับ Gen หลังๆด้วย

อ.จีระ: ควรให้เขามี Contribution เรื่อง Health ได้ข่าวว่ามีเบี้ยสูงอายุกับผู้สูงวัย หรือควรทำวิจัยเปรียบเทียบผู้สูงอายุในเมืองกับชนบทว่าแตกต่างกันอย่างไร หรือตั้งสมมติฐานเพื่อให้พิสูจน์กับสมมติฐานที่ตั้งขึ้น

- แนวโน้มผู้สูงวัยในไทย ปี 2533 ฐานคือวัยเด็กวัยรุ่นวัยทำงานจะเยอะ คนแก่น้อย

- ปี 2015 อ.คาดว่าผู้สูงวัยในอาเซียน จะอยู่ในประเทศไทยหรือไม่

อ.จีระ: เห็นว่าคนไต้หวัน ญี่ปุ่น คนสูงวัยก็มาอยู่ประเทศไทยแล้ว ต้องระวังเรื่อง Cost ด้านสุขภาพ ตอนนี้มีธุรกิจเพื่อรองรับคนต่างประเทศ ซึ่งคนทำเป็นแพทย์ ตอนนี้คนญี่ปุ่น ใช้ชีวิตในประเทศไทยในบั้นปลายชีวิต

- อนาคตการจ้างงาน คือ บริษัทขนาดใหญ่และผู้ประกอบการขนาดเล็กเกิดขึ้นมากมาย และเปลี่ยนรูปแบบเป็น E-Commerce E-Business

อ.จีระ: บริษัทใหญ่เช่น ซีพี ทำร้ายผู้ประกอบการ เมื่อทุนนิยมใหญ่เกิน ก็จะขาดความมีคุณธรรม จริยธรรม

ต้องมองสุขภาพของสังคมให้ดี ต้องมีการกระจายรายได้ ให้ธุรกิจขนาดเล็กอยู่รอดได้ด้วย

  • -นำเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่และเป็นผู้ช่วยแบ่งเบาภาระงานของมนุษย์ แต่บางคนตกงานเพราะตามไม่ทันเทคโนโลยี
  • -องค์กรจะต้องเพิ่มศักยภาพของคนในองค์กร จากที่ได้อ่านของลินดา และอ.จีระ อย่างแรกต้องมีวัฒนธรรมสังคมแห่งการเรียนรู้

อ.จีระ: การเรียนที่สำคัญ คือ ต้องมีการประทะกันทางปัญญา องค์กรต้องมีการลงทุน

ให้กลุ่มนี้ ลองเสนอโครงการ ว่าความรู้ที่ได้วันนี้ จะนำไปเผยแพร่ความรู้ให้คนหมื่นคน ในSocial media ได้อย่างไร เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

กลุ่ม 2

Shift 1 : From shallow generalist to serial master การเปลี่ยนจากคิดตื้นๆ มาสู่การคิดที่ใหญ่ขึ้น

อ.จีระ: คือเปลี่ยนจากคนคิดตื้นๆ ไปสู่คนที่คิดลึกขึ้น เวลาจบต้องมี Capability

นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และ IT น่าจะได้รับการยอมรับมากเมื่อเข้าสู่อาเซียน

เศรษฐกิจไทยไม่ขยาย เพราะมีปริญญาตรีมากเกินไป ประเทศไทยต้องการสายฝีมือมาก แต่สายอาชีวะ มีคนเรียนสายนี้น้อย

Shift 2: From isolated competitor to innovative connector จากการคิดเป็นจุดๆ คิดสิ่งใหม่เป็นองค์รวม

อ.จีระ: Innovative connector = innovation คิดนอกกรอบ คิดใหม่ ทำใหม่ คิดสร้างสรรค์ บวกความรู้

Turn idea to action

Turn action into success

การจะคิดอะไรเป็นนวัตกรรม คือ ไม่คิดคนเดียว

ข้อเสียของคนไทย ไม่มีการประยุกต์ สอนแต่ทฤษฎี

คนที่ประสบความสำเร็จคือ คนที่คิดเรื่องไอเดียใหม่ มีการล้มเหลว แล้วต้องเอาชนะให้ได้

innovative connector ต้องหลุดจาก Comfort zone รู้จักคนมากมาย

Shift 3: From voracious consumer to impassioned producer จากการคิดในมุมมองของผู้บริโภค ให้เป็นมุมมองของการผลิต

อ.จีระ: ข้อนี้เป็น Value diversity ความหลายหลายเป็น Co-creation ด้านการศึกษาครูกับลูกศิษย์ต้องคุยกัน

ผู้ผลิต กับผู้บริโภคต้องร่วมมือกัน

ต้องมีความเป็น Partnership

สรุปความคิดลินดา ว่าเป็นแค่ส่วนหนึ่ง อ่านเพื่อให้วิเคราะห์เป็น มีไอเดียว่าต้องรู้จริง ต้องเชื่อมโยงกับคนอื่น ร่วมมือกับคนอื่นเป็น Co-creation

  • -ส่วนที่จะเติมเต็ม คือ การที่ทำให้เกิด Intellectual capital
  • อ.จีระ: คือเกิดปัญญา เมื่อเจอปัญหาก็ต้องแก้ให้ได้ ต้องคิดว่าทำอย่างไรให้ดีขึ้น เรียนอย่างมีความสุข ไม่ต้องเครียด ที่ต่างประเทศจะเน้นการเรียนการสอนให้เกิด Social skill ด้วย เช่น อังกฤษ จึงเป็นสังคมที่มีมาตรฐาน

- ประเทศไทยสร้างช้า เช่น หลักสูตรผู้บริหารต้น กลาง สูง ในกระทรวงสาธารณะสุข ซึ่งจะถูกคัดเลือกประมาณ 15%

- เสนอว่าจะทำแผนการศึกษาระดับท้องถิ่น

อ.จีระ: การเตรียมตัวในการนำเสนอในวันนี้ดีมาก

การบ้าน

อ่านบทความเรื่อง Building human capital และนำเสนอสัปดาห์หน้า รายบุคคล

และบทความเรื่อง Leadership and Organizational Strategy นำเสนอเป็นกลุ่ม 2 กลุ่ม

นำเสนอโครงการเรื่องการนำความรู้ไปเผยแพร่เรื่อง Five force ในsocial media 10,000คน และแผนการศึกษาระดับท้องถิ่น

การสอบสัปดาห์ที่ 6 มีหัวข้อดังนี้

  • -Macro micro
  • -ทุนมนุษย์
  • -นวัตกรรม

                  วันนี้เรียนจบอีกวันด้วยบรรยากาศที่ดีมีความสุขทุกคนครับ ทุนมนุษย์ในรุ่น 8 กำลังเติบโตครับ ทุกคนเริ่มเข้าใจทั้เนื้อหาวิชา ผู้สอน ทีมงานครับ ทุนทางปัญญากำลังพัฒนา ทุนทางความสุขก็เพิ่มขึ้น ทุกคนเริ่มกล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าวิเคราะห์มากขึ้น แรกแรกเราเหมือนลูกบอลที่ลมอ่อนครับ เตะยังไงก็ไปไม่ได้ไกล กระเด้งก็น้อย ตอนนี้เราได้รับการสูบลมเข้าเรื่อย ๆ ถูกเตะก็ไปไกลขึ้น กระเด้งก็สูงขึ้นไกลขึ้นครับ 

               วันนี้ได้เรียนรู้ครับว่า แนวความคิดของอาจารย์จีระ กับ Lynda Gratton มีแนวคิดในการสร้างทุนมนุษย์เพื่อ employment ในอนาคต โดย Lynda มองที่ demand เป็นหลัก แต่ของอาจารย์จีระ มองตั้งแต่ supply และ demand  ครับ 

                     การจ้างงานในอนาคตจะปรับเปลี่ยนไปครับ จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามากขึ้น จะมีอัตราผู้สูงอายุมากขึ้น จึงต้องคำนึงถึงคนกลุ่มนี่ในอนาคตด้วยว่าจะดูแลเขาอย่างไร มีแรง 5 แรงที่จะมีผลกระทบกับการจ้างงานในอนคต คือ เทคโนโลยี พลังงาน โลกาภิวัฒน์ กระแสสังค โดยระดับแรก จากระดับพื้นไปยังความเชี่ยวชาญ สองต้องมีการเชื่อมโยงเครือข่าย และสุดท้ายคือการร่วมมือของผู้ผลิตและผู้บรืโภค

สรุปบทเรียนจากการเรียนวันนี้  14 กันยายน 2557

           วันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ แนวคิดของ Lynda Gratton  ที่กล่าวถึง  The Five forces  แรงผลักดันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต ได้แก่ พลังงานธรรมชาติ  เทคโนโลยี โลกาภิวัตน์  สังคม  ประชาการศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจารย์จีระได้กล่าวไว้ใน HR Architecture ในส่วนของ demand

แนวทางการสอนของอาจารย์ในรุ่นที่ 8 เป็นนวัตกรรมการสอนของอาจารย์ที่ให้เราได้เรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองแล้วมาแลกเปลี่่ยนเรียนรู้ ในชั้นเรียนอาจารย์ช่วยเสริมเติมเต็มองค์ และเกิดความรู้ใหม่ (กระเด้ง) ความรู้ทำให้ได้ทั้งวิชาการ บรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทำให้เรียนแล้วมีความสุขเหมือนที่เพื่อนได้กล่าวไปแล้วในเบื้องต้น 

วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

สิ่งที่ได้จากการศึกษา การจัดการทุนมนุษย์ วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

ประเด็นที่ 1 มีการนำค่านิยมคุณภาพของคนไทย 12 ประการ ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาศึกษา สรุปได้ ดังนี้

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติในปัจจุบัน

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

3. กตัญญู ต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษา เล่าเรียน ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ควรมีความเป็นคนอยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา และต้องรู้จริง รู้ลึกในสิ่งที่ศึกษา ข้อมูลต้องสดใหม่ ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เข้าแนวคิด 2R’s ของ ดร.จีระ

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม เข้ากับ แนวคิด5K ด้านทุนทางวัฒนธรรม ของ ดร.จีระ

6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน

7. เข้าใจ เรียนรู้ การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง

8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

9. มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จำหน่าย และขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อม โดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี เข้ากับแนวคิด ทุนแห่งความยั่งยืนหรือทุนแห่งความสุข ของ ดร.จีระ

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป

12.คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและต่อชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

โดยทั้งหมดนี้ สามารถนำ ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ของ ดร.จีระ มาปรับใช้ได้กับสถานการณ์ต่อไป

วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

ต่อ

สิ่งที่ได้จากการศึกษา การจัดการทุนมนุษย์ วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

ประเด็นที่ 2 ได้เรียนรู้ แนวคิดของ Lynda Gratton หนังสือเรื่อง “The shift The future of work is already here” สรุปได้เป็น The Five forces ที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรมนุษย์ 3 ด้าน คือ พลังงานธรรมชาติ เทคโนโลยี โลกาภิวัตน์ สังคม และประชาการศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจารย์จีระได้กล่าวไว้ใน HR Architecture ในส่วนของ demand

ประเด็นที่ 3 เรื่องของผู้สูงวัยกับการทำงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าต่อประเทศเป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้มีประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ ความชำนาญเฉพาะด้าน ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนั้นองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยอาจมีการรวมเอาแนวคิดของวัยทำงาน GEN มีความรู้ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ มารวมกับผู้สูงอายุ โดยดึงเอาความสามารถของแต่ละฝ่ายมาใช้ประโยชน์รวมกัน จะก่อเกิดประโยชน์มหาศาลต่อการพัฒนางาน องค์กร สังคม และประเทศชาติ โดยทำในรูปแบบ การจ้างเป็นปรึกษาขององค์กร การจัดอบรม สัมมนาเพิ่มความรู้ การส่งเสริมให้มีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เป็นต้น

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

การบ้านบทความงานวิจัย เสนอแนวคิดเชิงนวัตกรรม อีก 20ปีในอนาคต  ภายใต้บริบท การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านประชากรมนุษย์  ผู้นำในระดับผู้บริหารในอนาคตน่าจะเป็นผู้มีวัยหนุ่มสาวอยู่ในองค์กรมากขึ้น  อาจเป็นถึงผู้บริหารระดับสูงขององค์กร  หรือผู้บริหารระดับสูงมีทั้งผู้สูงวัยและผู้มีวัยหนุมสาว ภาวะผู้นำที่กลุ่มนักศึกษาทั้ง2กลุ่ม มีมุมมองอนาคตอย่างไร

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

เนื่องจากความคิดเห็นก่อนหน้าได้กล่าวถึงสิ่งที่ได้จากการเรียนในวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557ไว้อย่างคลอบคลุมในระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้นจึงขอเติมเต็มในส่วนของ Presentation ทั้ง 2 กลุ่ม ที่นำเสนอ ดังต่อไปนี้

อ้างอิง - Lynda Gratton. 2011. THE SHIFT,The future of work is already here.London : Collins HarperCollins Publishers. ISBN:978-0-00-742793-2

(ต่อ) สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

(ต่อ) สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

(ต่อ) สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

(ต่อ) สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

(ต่อ) สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

(ต่อ) สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

(ต่อ) สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

(ต่อ) สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

(ต่อ) สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

(ต่อ) สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557

โครงการปริญญาเอก วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รุ่นที่ 8

ครั้งที่ 4

21 กันยายน 2557

1. ถ้าเรารวม Macro สู่ Micro

2. Human Capital

3. Research มีความพร้อมที่จะเขียนวิทยานิพนธ์ คือ การตั้งสมมติฐาน มีความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรต้น

ต้องระมัดระวังเรื่อง Principle และ Practice

การเรียนที่ดีต้องมี Interesting topic

หนังสือของ Ulrich เรื่อง Leadership Sustainability

Human capital เรื่อง Individual ว่าอยากมีการทำงานที่ยั่งยืนหรือไม่ในอนาคต ความยั่งยืนเป็นเป้าหมาย

วิธีการเรียนครั้งนี้ จะมีแลกเชอร์ไม่มาก ต้องตั้งใจให้ดี เน้นเรื่อง Macro สู่ Micro เอาเรื่อง Human Capital เข้ามา

คำถาม: 3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ถ้าเรารวมวิธีการเรียน คือ รวมเรื่อง เรื่อง Macro สู่ Micro รวมเรื่องอ่านหนังสือ 8K 5K และการอ่านหนังสือ The shift The future of work is already hereของ Lynda Gratton

ให้คุยกันในกลุ่มว่าได้อะไรต่อตนเอง และได้อะไรในการทำวิจัย

คุณดิเรก เรียงทอง:

ต้องมองที่ตัวเราก่อน แต่เรามักจะลืมว่าเราคือทุนมนุษย์ในองค์กร ไม่เคยพัฒนาตัวเอง ได้รู้ว่า ที่ตัวเองเป็นไม่ใช่ แต่ทุกวันนี้เปลี่ยนพฤติกรรมมาอ่านหนังสือพิมพ์ทุกเช้า ได้รู้ว่าเรื่องIsis คืออะไร

อ.จีระ: ท่านปลัดใช้ระบบการบริหารจัดการให้ต้นทุนน้อยที่สุด

มุมที่ท่านปลัดเสนอ มีความน่าสนใจมาก ทำให้เราได้พัฒนาตัวเอง

  • -คนที่สามารถเรียนรู้ และประสบความสำเร็จในการทำงาน คือ คนที่พร้อมที่จะเรียนรู้ไม่ใช่คนเก่งอย่างเดียว

นางสาว สุพัตรา ปราณี:

ได้คุยกับรุ่นพี่คนหนึ่ง คุยเรื่องการลงทุนให้ลูกเรียนที่ต่างประเทศ ก่อนเรียนกับอาจารย์ไม่เข้าใจคำว่าลงทุน แต่ปัจจุบันนี้เข้าใจแล้ว

เรื่องงานวิจัย สนใจเรื่องของอ.ธรรมรักษ์ และได้อ่านบทความภาษาอังกฤษ มีความสนใจที่จะอ่านมากขึ้น

งานวิจัยพื้นฐานเดิม คือเรื่องการจัดการความรู้ ทำเรื่อง KM ประเมินของ Kert Patric อบรมให้นักเรียนคณะครุศาสตร์

อ.จีระ: การลงทุน มีเสีย 2 อย่าง คือ เสียเงินและเสียเวลา

การตัดสินใจเรื่องอาชญากรรม ก็เป็นเรื่อง Individual ก็เป็นเรื่อง Human capital เช่นกัน ซึ่ง Gary Becker ไม่ได้เข้าใจเรื่องนี้

เรื่องโภชนาการ เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะศึกษากับเด็กเล็ก

เรื่องKM เป็นพื้นฐานของ LO คนไทยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ เพราะไม่มีความใฝ่รู้ สิ่งที่ต้องตั้งโจทย์ คือ Why? Why not?

นาย วัฒนศักดิ์ ศรรุ่ง:

ได้วิธีคิดเรื่อง 2R’s ตั้งคำถาว่า ทำไม และจะทำอย่างไร

เช้ามาคิดว่าอะไรที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำ

ประสบการณ์ในการทำงานเมื่อก่อน เป็นระดับตำบล จังหวัด และขึ้นมากระทรวง เรื่อง Macro สู่ Micro ตอบปัญหาที่ผ่านมาได้ดี policy บางอย่างตอบโจทย์ได้ บางpolicy นำมาตอบโจทย์ได้

อ.จีระ:2R’s นักวิชาการไม่ชอบ เพราะคิดว่าต้องเน้นเรื่องทฤษฎี

เรื่อง 8K 5K วันที่ออกมาวันแรก และวันที่ถูกวิจารณ์แตกต่างกันมาก ต้องมีแรงจูงใจ ที่จะทำให้เลิศ และช่วงแรกย่อมมีแรงกดดันสูง

แต่ละวันต้องมีเวลา 10 นาที และเป็นช่วงที่ peak ที่สุด ให้มีมุมที่สงบ เพื่อให้คิด อ่าน และ จดบันทึกไว้ ฝึกบ่อยๆจนเป็นนิสัย

พื้นฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องค้นหาตัวเองก่อน

วิชานี้จะฝึกสมองของทุกคน

คนไทย เมื่อเข้าสู่วัย 40 จะไม่มีความใฝ่รู้

คุณวัชราภรณ์ ภู่กลิ่น: ในระบบการเรียนที่ผ่านมาใช้ระบบท่องจำ ไม่เคยเจอการเรียนระบบนี้ที่ต้องคิด วิเคราะห์ ครอบครัวถามว่าเรียนไหวหรือไม่? เนื่องจากต้องเรียนกับศ.ดร.จีระ เลยคิดว่า เหรียญมี 2 ด้าน แต่ครั้งนี้ มี 3 ด้าน คือ อ.จีระ จุดประกายให้ หลังจากนั้นเอาไปประยุกต์ในเรื่องธุรกิจได้อย่างดี ตอนนี้รู้สึกสงสารหลาน ๆที่ยังต้องเรียนระบบเดิม อยากให้มีระบบการสอนแบบนี้ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นของการศึกษา

ระบบธุรกิจใช้ทุน 8K 5K อยู่แล้ว ทำให้ทราบว่าในองค์กรนำทุนเหล่านี้มาใช้

ฝากขอให้อาจารย์ดูแลสุขภาพให้ดี

อ.จีระ: ต้องมี Value diversity ในห้องนี้

งานของผมนอกจากสอนแล้ว ต้องวางแผน Study tour เนื่องจากการเรียนนอกห้องเป็นสิ่งที่จำเป็น การเรียนยุคใหม่เป็น Team teaching คาดว่าในอนาคตต้องมีการเรียนแบบนี้มากขึ้น

SME กับ ธุรกิจส่งออก เปรียบเทียบว่ามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร

บางเรื่องเป็นเรื่อง Intangible Visible/Invisible บางครั้งเข้าใจ แต่ไม่เข้าถึง

ฝากtrend ในอนาคต คือ เป็นการวัดที่วัดไม่ได้ (Intangible) การที่คนในองค์กรไม่สนใจ Human capital เพราะไม่เข้าใจ เข้าใจแต่ไม่เข้าถึง

คุณนลินี โสพัศสถิตย์:

สิ่งที่ได้ คือ ได้คิดเป็น วิเคราะห์ แก้ปัญหา ได้อย่างไร สิ่งที่กระตุ้นให้ใช้ชีวิต 2 อย่าง คือ ต้องประทะกับคนเก่ง ต้องข้ามศาสตร์ ได้ความรู้ ได้คิดเสมอ

มีความคิดข้ามศาสตร์

อ.จีระ: เส้นทางการเป็นอาจารย์ เมื่อได้รับตำแหน่งแล้ว ไม่ได้มีแค่ Authority baseเท่านั้น ต้องมีผลงานด้วย

เมื่อมีโอกาสแล้ว ต้องสร้าง Opportunity อย่าปล่อยไป ต้องฉกฉวยโอกาสนั้น]

เจ้านายต้องสร้าง Opportunity ให้ลูกน้องไปสู่ความเป็นเลิศ

วิธีการเรียน ที่ต้องกระตุ้นให้เป็นเลิศ

ต้องทำให้มีความสุข สร้างบรรยากาศ ไม่ใช่ห้องเรียนที่ร้อน และคับแคบ

เรื่อง 4L’s เป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องมีวิธีการเรียน และกำกับด้วย 2R’s และทำงานให้สำเร็จด้วยการมี Value ต่างๆ

ถ้าเราเรียนแค่ Research method และ Statistics ก็ไม่พอ สิ่งที่เรารู้แล้วไม่พอ เราต้องมีการ Co-creation

คุณรวิศว์ ขันชะลี:

แนวทางในการพัฒนาตนเองจากทฤษฎีต่างๆ

ได้วิธีการมองงาน และ ประยุกต์ใช้ในการทำงาน ว่ามีผลกระทบอะไรบ้าง

อ.จีระ: ขอแนะนำว่า การรถไฟต้องทำอุโมงค์ลอด และสะพานลอยข้าม

ในการทำวิจัย ควรทำตรงจุดวิกฤติ เช่น ยมราช

ปริญญาเอก เป็นจุดเริ่มต้นของการกระเด้งไปเรื่องต่างๆ

คุณสร้อยสุคนธ์: ทั้ง 6 ท่าน เป็นส่วนผสมที่ลงตัว มีฐานที่ดี อาจารย์จีระ เปลี่ยนแนวการสอน ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมาก

กิจกรรม: ดูวีดีโอ นวัตกรรม ของคุณศุภชัย หล่อโลหการ

แนวข้อสอบปริญญาเอก เลือก 3 ข้อ ใช้เวลา 1.30 ชั่วโมง

1. การจัดระเบียบโลก New world order แตกต่างกับ Globalization อย่างไร อธิบาย การปรับตัวของคนไทย โดยผ่าน 8K 5K ประสบความสำเร็จอย่างไร ยกตัวอย่าง

- ปัจจัยความล้มเหลวที่มาจาก 8K 5K คืออะไร

2. Happiness Capital กับ Happiness workplace แตกต่างกันอย่างไร

- ถ้าเราจะทำวิจัย ดูความแตกต่างระหว่างทุนแห่งความสุข กับ happy workplace ต้องเน้น Research methodology และเก็บข้อมูลแตกต่างกันอย่างไร

3. อ่านหนังสือ Execution และสรุปว่าเกี่ยวอะไรกับ

- การปลูก การเก็บเกี่ยว และทุนมนุษย์อย่างไร

4. อ่านหนังสือ Good to great ของ Jim Collins มีประเด็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับ 8K 5K และแนวคิดภาวะผู้นำของดร.จีระ

5. ศึกษานวัตกรรมของธุรกิจของปูนซีเมนต์ไทย และธุรกิจของบางจาก

-อธิบาย process ของสองบริษัท

-ปัจจัยทุนมนุษย์ของทั้งสองแห่งแตกต่างกันอย่างไร

6. Human Capital, Innovation Capital ในภาคเกษตรของไทยจะเป็นอย่างไร ยกกรณีศึกษาของ กศน. ที่ทำเรื่องเกษตรของไทยโดยเน้นเรื่อง 3V

7. การท่องเที่ยวของไทยในยุคใหม่ จะต้องเน้น Innovation จะเน้นการท่องเที่ยวอย่าง 3V ทุนมนุษย์มีความจำเป็นอย่างไร และอธิบายตัวละครที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวว่ามีใครบ้างและแต่ละกลุ่มต้องทำอย่างไร

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันจันทร์ที่ 22 กันยายน 2557


Presentation ที่เป็นผลจากการอ่านและวิเคราะห์บทความเรื่อง Building human capital

<p><p></p></p>

(ต่อ) Presentation ที่เป็นผลจากการอ่านและวิเคราะห์บทความเรื่อง Building human capital

(ต่อ) Presentation ที่เป็นผลจากการอ่านและวิเคราะห์บทความเรื่อง Building human capital

(ต่อ) Presentation ที่เป็นผลจากการอ่านและวิเคราะห์บทความเรื่อง Building human capital

(ต่อ) Presentation ที่เป็นผลจากการอ่านและวิเคราะห์บทความเรื่อง Building human capital

(ต่อ) Presentation ที่เป็นผลจากการอ่านและวิเคราะห์บทความเรื่อง Building human capital

(ต่อ) Presentation ที่เป็นผลจากการอ่านและวิเคราะห์บทความเรื่อง Building human capital

(ต่อ) Presentation ที่เป็นผลจากการอ่านและวิเคราะห์บทความเรื่อง Building human capital

วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนครั้งที่ 4 เมื่อ 21 กันยายน 2557

วันนี้ ท่านอาจารย์มีการตั้งคำถาม ให้ตอบรายบุคคล ว่า “3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ถ้าเรารวมวิธีการเรียน คือ รวมเรื่อง Macro สู่ Micro รวม การอ่านหนังสือ 8K 5K และการอ่านหนังสือ The shift The future of work is already hereของ Lynda Gratton ได้อะไรต่อตนเอง และได้อะไรในการทำวิจัย”

โดยนักศึกษาแต่ละท่าน ได้ออกความเห็นต่างกันไป อีกทั้ง ท่านอาจารย์กรุณาออกแนวข้อสอบให้เป็นแนวทางในการสอบ ดังนี้

1. การจัดระเบียบโลก New world order แตกต่างกับ Globalization อย่างไร อธิบาย การปรับตัวของคนไทย โดยผ่าน 8K 5K ประสบความสำเร็จอย่างไร ยกตัวอย่าง

- ปัจจัยความล้มเหลวที่มาจาก 8K 5K คืออะไร

2. Happiness Capital กับ Happiness workplace แตกต่างกันอย่างไร

- ถ้าเราจะทำวิจัย ดูความแตกต่างระหว่างทุนแห่งความสุข กับ happy workplace ต้องเน้น Research methodology และเก็บข้อมูลแตกต่างกันอย่างไร

3. อ่านหนังสือ Execution และสรุปว่าเกี่ยวอะไรกับ

- การปลูก การเก็บเกี่ยว และทุนมนุษย์อย่างไร

4. อ่านหนังสือ Good to great ของ Jim Collins มีประเด็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับ 8K 5K และแนวคิดภาวะผู้นำของดร.จีระ

5. ศึกษานวัตกรรมของธุรกิจของปูนซีเมนต์ไทย และธุรกิจของบางจาก

-อธิบาย process ของสองบริษัท

-ปัจจัยทุนมนุษย์ของทั้งสองแห่งแตกต่างกันอย่างไร

6. Human Capital, Innovation Capital ในภาคเกษตรของไทยจะเป็นอย่างไร ยกกรณีศึกษาของ กศน. ที่ทำเรื่องเกษตรของไทยโดยเน้นเรื่อง 3V

7. การท่องเที่ยวของไทยในยุคใหม่ จะต้องเน้น Innovation จะเน้นการท่องเที่ยวอย่าง 3V ทุนมนุษย์มีความจำเป็นอย่างไร และอธิบายตัวละครที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวว่ามีใครบ้างและแต่ละกลุ่มต้องทำอย่างไร

         ชวงนี้รู้ซึ้งถึงคำว่า อยากให้วันนึงมีสัก 25 ชั่วโมงแล้วครับ ตั้งแต่มาเรียนรู้สึกเวลามันเดินไปเร็ว กิจกรรมบางอย่างก็แทบไม่ได้ทำ ตอนนี้ต้องอ่านหนังสือมากขึ้น เมื่อวานก็แอบคนที่บ้านไปลงเรียนภาษาอังกฤษอีก เราต้องใฝ่หาความรู้แล้วครับ อยู่นิ่งเท่ากับถอยหลัง AEC ก็กำลังมา ผมมองว่าภาษาป็นเรื่องที่คนไทยต้องตื่นตัวครับ ผมไปลาวมา เด็กเสริฟพูดภาษาอังกฤษคล่องกว่าคนจบโทบ้านเราอีก อายครับ

          อาทิตยที่ผ่านมา ยังไม่ได้เล่าบรรยากาศภายในห้องเรียนครับ อาจารย์จีระทำพวกเราอึ้งกิมกี่ไปตามๆกัน เราเตรียมสไลด์มานำเสนอเต็มที่ โดยเฉพาะผม ลงมือหัดทำเอง โดยมีเจ้าหนาที่ธุกาคอยช่วยอยู่ใกล้ๆ แต่พอคุยไปสอนไป อาจารย์ให้ทำข้อสอบเฉยเลย ไอ้ที่เตรียมตัวมาไม่ได้ใช้ แต่ที่สอบไม่ได้เตรียมตัว แต่พวกเราตอบได้ทุกคน ดีใจถ้วนหน้า ชอบคำของพี่สร้อย (ดร.สร้อยสุคนธ์) ที่บอกว่า อ.จีระ ปลูกความรู้ให้กับพวกเรา  ถึงเวลาเราเก็บเกี่ยวเอามาใช้ได้ มีความสุขกันทุกคน 

          สุดท้าย อาจารย์ ลูกศิษย์ และทีมงานก็กินข้าวร่วมกัน คุยกันในบรรยากาศสบายๆ น่าเรียนนะครับ สำหรับคนที่อยากมาเรียนในรุ่นต่อไป

สรุปการเรียนวันที่ 21 กันยายน 2557

เรียนกับอาจารย์ได้ความรู้ที่สดใหม่เสมอ สิ่งเตรียมมานำเสนอในวันนี้และคิดว่าอาจารย์จะคอมเม้น ไม่ได้เกิดขึ้นในวันนี้ เปลี่ยนเป็นการตอบคำถามว่า ได้อะไรจากการเรียนในสามสัปดาห์ที่่ผ่านมาก นำไปปรับใช้กับตัวเองอย่างไร และเป็นแนวทางในการทำวิจัยอย่างไร อาจารย์ให้เวลาสองนาที รู้สึกตื่นเต้นมากกับคำถาม คือ ได้เรียนรู้เยอะมากแต่ไม่รู้จะตอบว่ายังไงดี เลยขอยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงเรื่องการลงทุนด้านการศึกษาของรุ่นพี่คนหนึ่งที่ได้ลงทุนกับลูกและผลที่ออกมาก็คุ้มกับการลงทุน  ทำให้เข้าใจโมเดล HR Architecture ได้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ส่วนงานวิจัยสนใจต่อยอดเรื่องการจัดการความรู้ KM เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องการทุนมนุษย์เช่นเดียวกัน

การดูคลิปทุนมนุษย์กับนวัตกรรม สรุปได้ว่า นวัตกรรมเกิดจากคน  คนมีความรู้ ลงมือปฏิบัติ นำมาสู่การสร้างนวัตกรรม หรือสิ่งใหม่ ซึ่งก็สอดคล้องกัน การทำ KM  ซึ่งเป็นการนำคนที่มีความรู้ในเรื่องเดียวกันมาพูดคุย หรือแชร์ประสบการณ์การทำงานในเรื่องเดียวกัน และลองนำไปปฏิบัติได้ผลอย่างไรก็ฟีดแบคกลับมา หรือนำความรู้มาต่อยอดเพื่อพัฒนางานของตนเองให้ดียิ่งขึ้นเป็นวิธีการทำงานแบบใหม่ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมการทำงานของเรา

  KM  สนใจ เรื่อง Knowledge Sharing  ซึ่งเปรียบเทียบได้การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทั้งอาจารย์และทีมงาน และนักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และได้ความรู้ใหม่ที่อาจารย์มักจะใช้คำว่า "กระเด้ง"

นอกจากนี้สิ่งสำคัญ คือ Knowledge Asset  หรือคลังความรู้ ซึ่ง Becker เองก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ความรู้เป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากว่าสินทรัพย์อื่นๆ  คลังความรู้ คืออะไร คือแหล่งที่เก็บรวบรวมความรู้ไว้ไม่ให้สูญหายไป  ความรู้มักหายไปพร้อมกับคนเก่งๆ เกษียณ ลาออก ไปจากองค์กร หากไม่มีการบันทึกไว้ก็จะสูญหายไปในที่สุด ทำให้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 กำหนดให้หน่วยงานราชการทุกแห่งต้องทำ KM 

คลังความรู้ที่น่าสนใจ คือ Blog (gotoknow)  ที่เป็นคลังความรู้ที่อาจารย์ให้พวกเรา ทุกคนได้เข้ามาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ โดยไม่จำกัด อาจารย์เป็นต้นแบบเรื่องของการจัดการเรียนการสอนแบบ KM  โดยเริ่มจากมีหัวข้อแลกเปลี่ยน  มีการแลกเปลี่ยน และมีการจัดเก็บความรู้ผ่าน Blog ทุกครั้ง  ทำให้เราสามารถเข้ามาทบทวนเนื้อหาวิชาได้ ส่วนคนที่ไม่ได้เรียนสามารถเข้ามาอ่านเพื่อหาความรู้กับอาจารย์ได้เช่นกัน

Building Human capital

Beckerdecided to look at how investment in people’education and training paid off.

He saidthat the investmentintosomeone’s Knowledge in thebettereducation and higherskillswasasmuchanasset

Beckeralso distinguishedbetween general and specifictraining/knowledge with the latter important in a particular firm but the former useful to all employers.

การสร้างทุนมนุษย์

Becker มองเรื่องการลงทุนในด้านการศึกษาและการฝึกอบรมการศึกษาเป็นการลงทุน เขามองว่าการให้ความรู้ด้านการศึกษาที่กว่าและมีทักษะที่สูงกว่าแก่ใครสักคน เป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากกว่าสินทรัพย์อื่นๆ การฝึกอบรมและให้ความรู้แบบทั่วไปและเจาะจงในองค์กร สำคัญ ต่อพนักงานคนงานที่มีทักษะเฉพาะด้านสูง มักจะได้รับเงินเดือนสูง ๆ ต้องส่งเสริมคนในองค์กรแทนที่จะจ้างใหม่ เพราะคนงานใหม่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้โครงสร้างและวัฒนธรรมขององค์กร

จากประเด็นที่สรุปได้ข้างต้น จึงขอนำเสนอกรณีศึกษา ดังนี้

ด้านการศึกษาและการฝึกอบรมเป็นพื้นฐานให้เกิดความรู้ในการทำงานในการจัดการเรียนการสอนนอกจากสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพแล้วยังให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อนำความรู้ไปพัฒนางานในโครงการสหกิจศึกษา ซึ่งนักศึกษาสามารถนำความรู้จากการศึกษาไปเพิ่มผลผลิต (productivity) ให้กับหน่วยงาน ดังนี้

ตัวอย่างผลงานของ นางสาวพัชรีนนทะวงษ์ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการคุณภาพ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ ได้นำความรู้จาการศึกษาไปพัฒนาคุณภาพการทำงานในขณะฝึกงานที่บริษัท เอราวัณ รับเบอร์ จำกัด เป็นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นเวลา 3 เดือน โดยเริ่มจาการเข้าไปศึกษาสภาพปัญหาค้นหาสาเหตุ หาวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยเครื่องมือคุณภาพ ปรับปรุงและติดตามผล (ตามที่กำหนดไว้ในโครงงาน)

  1. ปัญหาที่พบ คือ การผลิตสินค้าไม่ทันตามแผนการผลิต
  2. สาเหตุเกิดจาก เวลาการผลิตไม่เพียงพอ
  3. ปรับปรุงการผลิต โดยการออกแบบแม่พิมพ์ให้มี 3 ชั้น 2 size สามารถผลิตได้ ครั้งละ 2 แบบพร้อมกัน
  4. ผลการปรับปรุง จากเดิมผลิต รายการ 57019จำนวน 11,400 ชิ้น ใช้เวลา 5.38 วัน

    สามารถผลิตชิ้นรายการ 33.5x24x2อีก 5,000 ชิ้นในเวลา 5.38 วัน

  5. ลดเวลาในการผลิต ได้ 0.37 วัน
  6. ผลสำเร็จที่ได้ คือ บริษัทสามารถผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ได้ตามแผนการผลิต

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ความรู้ด้านการศึกษาแล้วนำมาต่อยอดเพื่อเพิ่มผลิตผลิตให้กับองค์กรสิ่งที่สอนในสาขาวิชาการจัดการคุณภาพ คือ แนวคิดการปรับปรุง PDCA Kaizen ไม่ได้สอนเรื่องของการผลิตหรือเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโดยตรง แต่ที่บ้านของนักศึกษามีกิจการเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนโลหะ จึงมีความรู้พื้นฐานจากครอบครัวเมื่อนำมารวมกับความรู้ด้านการปรับปรุงคุณภาพ ก็นำมาช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กรได้ จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับแนวคิด HR Architecture ของท่านอาจารย์จีระ ถ้านักศึกษาไม่มีความรู้พื้นฐานจากครอบครัวด้านกระบวนการผลิตคงไม่สามารถออกแบบกระบวนการผลิตเพื่อลดระยะเวลาการผลิตให้กับบริษัทได้ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากๆ

รายละเอียดโครงงานของนักศึกษา


วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

รู้จักกับ Gary Becker

Gary Becker เกิดใน ค.ศ. 1930 เรียนจบปริญญาตรีจาก Princeton ในปี 1951 จบปริญญาเอกจาก University of Chicago เมื่อมีอายุเพียง 25 ปี เขาสอนที่มหาวิทยาลัย Columbia อยู่ 11 ปี ก่อนย้ายมาสอนหนังสือที่ University of Chicago ในปี 1968 และเสียชีวิตลงเมื่อ วันที่ 3 May 2014 จนเสียชีวิต ด้วยวัย 83 ปี

Becker ได้รับรางวัลโนเบล ในฐานะที่เป็นผู้ริเริ่มใช้วิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ปัญหาสังคมอย่างกว้างขวาง โดยนำเอาสิ่งที่ไม่ใช่เงินทองมาใช้ในการวิเคราะห์ด้วย

แนวคิดสำคัญ คือ Becker เชื่อว่า มนุษย์ใช้เหตุใช้ผลในการวิเคราะห์ตัดสินใจโดยจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตามที พฤติกรรมของมนุษย์เป็นไปตามแรงจูงใจ โดย “แต่ละคนพยายามแสวงหาสิ่งที่ตนเข้าใจว่าเป็น ‘สวัสดิการ’ (welfare) ให้มากที่สุด ซึ่ง “สวัสดิการ” ในที่นี้มิได้หมายถึงรายได้เท่านั้น หากหมายถึงความพอใจจากการทำสิ่งดี ๆ ให้คนอื่น หรือความตื่นเต้นจากอะไรที่แหกคอกออกไปก็ตามที”

Becker ใช้แนวคิดเช่นนี้วิเคราะห์ปัญหาของสังคมไม่ว่าเรื่องการลงทุนในมนุษย์ ครอบครัว การแต่งงาน การหย่าร้าง อาชญากรรม การเหยียดผิว ฯลฯ ซึ่ง ในแง่มุมที่ นักสังคมวิทยาไม่เคยพิจารณามาก่อน เขาเชื่อว่า การให้ความรู้ด้านการศึกษาที่ดีกว่าและมีทักษะที่สูงกว่าแก่ใครสักคน เป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากกว่า หุ้น การก่อสร้าง เครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ในระยะยาวจะได้รายได้และการเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เท่ากัน ดังนั้น เขามองว่า การศึกษาในโรงเรียน การฝึกอบรม การรักษาพยาบาล การศึกษาทั้งทั่วไปและเฉพาะทาง คือ การลงทุนทั้งหมด และจะให้ผลที่ดีในระยะยาว

Becker ได้สร้างทฤษฎีทุนมนุษย์ องค์กรและบุคคล ร่วมกันกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และทุนมนุษย์ โดยมองด้านมหภาคเน้นการปรับปรุงพัฒนาด้านอุปทาน คุณภาพการผลิต เพิ่มผลผลิตในระยะยาวได้ มากกว่าการพัฒนาด้านอุปสงค์ โดยเขาเชื่อว่า “คนที่มีระดับการศึกษาสูง จะมีรายได้สูงตามไปด้วย” และ “คนงานที่มีทักษะเฉพาะด้านสูง มักจะได้รับเงินเดือนสูง ๆ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาลาออก” นั่นเอง

วัชราภรณ์ กลิ่นภู่

ต่อ

ตัวอย่างแนวคิดสำคัญ ของ Becker

1. เรื่องครอบครัว Becker ก็วิเคราะห์ได้อย่างน่าสนใจ กล่าวคือ เขาถือว่าครอบครัวเปรียบเสมือนโรงงานเล็ก ๆ ซึ่งผลิตสินค้าพื้นฐาน เช่น อาหาร ความสนุกสนาน การอยู่อาศัย ฯลฯ โดยมีเวลาและสินค้าที่ซื้อมาจากตลาดเป็นวัตถุดิบ ราคาของสินค้าพื้นฐานใดสินค้าหนึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ต้นทุนโดยตรงที่มาจากการซื้อสินค้าจากข้างนอกมาเข้าโรงงาน และส่วนที่สอง คือ ค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากเวลาที่ใช้ไปในการผลิตและบริโภคสินค้าพื้นฐาน ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เท่ากับค่าจ้างคูณด้วยเวลาที่ใช้ไปในการผลิตแต่ละหน่วยสินค้าที่ออกมาจากโรงงาน เมื่อค่าจ้างของคนหนึ่งในโรงงานหรือครอบครัวนี้สูงขึ้นก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของแรงจูงใจที่จะทำงานในโรงงานและการปรับเปลี่ยนสู่การผลิตและบริโภคสินค้าพื้นฐานชนิดที่ต้องใช้เวลาเข้มข้นให้น้อยลง พูดง่ายๆ ก็คือ เมื่อคนหนึ่งในครอบครัวมีฐานะดีขึ้น ก็จะใช้เวลากับครอบครัวน้อยลง เพราะมูลค่าเวลาที่เคยใช้กับครอบครัวนั้นสูงขึ้นกว่าเดิม (ค่าเสียโอกาสสูง) หันไปใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น เครื่องซักผ้า ล้างชาม ตลอดจนใช้คนมาช่วยงาน (คนสวน คนทำความสะอาดบ้าน) เอาลูกไปฝากศูนย์เลี้ยงเด็ก การใช้บริการโรงเรียน การจ้างช่างประปา ไฟฟ้า แทนงานที่ตนเองเคยใช้เวลาทำมาก ๆ แนวคิดเช่นนี้ช่วยอธิบายว่า เหตุใดแม่บ้านจึงมีสัดส่วนในแรงงานของประเทศมากขึ้น เมื่อรายได้ของพ่อบ้านสูงขึ้น การใช้เครื่องทุ่นแรงที่สามารถหาซื้อมาเพื่อทดแทนแรงงานแม่บ้านก็จะเกิดขึ้น อีกทั้งสามารถมีเงินเอาลูกไปฝากศูนย์ดูแลได้ ดังนั้นแรงงานในบ้านของแม่บ้านก็เหลือพอจะออกไปทำงานนอกบ้านได้

2. ความแตกต่างระหว่างคนรวยและคนจนในด้านการปัญหาครอบครัว ด้านการหย่าร้าง Becker มองว่า คนรวยจะมีอัตราหย่าร้างน้อยกว่าคนจน จะมีลูกจำนวนน้อยกว่าเพราะต้องการคุณภาพมากกว่าปริมาณ เนื่องจากเข้าใจดีว่าการเลี้ยงลูกให้มีการศึกษาดี คือการลงทุนในระยะยาว และเปรียบเสมือนการหว่านเมล็ดของการไร้ความทุกข์ใจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันเนื่องมาจากลูกขาดการศึกษาที่ดี Becker โดยในปัจจุบัน พบว่า แนวโน้มนี้ล้วนเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น

สรุปได้ว่า การจัดการในทุนมนุษย์ เป็นการลงทุนในตัวบุคคล เพิ่มศักยภาพบุคคล เพื่อไปเพิ่มคุณค่าผลผลิตในรูปของการสร้างคุณค่าและการฝึกอบรม เป็นการลงทุนทรัพย์ที่สำคัญที่สุด (ตามแนวคิด Gary S.Becker) เพื่อจะนำไปสู่การปฏิบัติงานขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ แต่ทั้งนี้ การให้ความรู้ ทักษะ การเพิ่มคุณภาพ ต้องมีการกระทำอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง การลงทุนโดยอาศัยแค่ความรู้ ทักษะ คงจะไม่พอ ควรจะเพิ่มคุณธรรม จริยธรรมเข้าไปด้วย และต้องสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของยุคโลกาภิวัตน์ให้ทันท่วงที นอกจากนั้นการมีบุคลิกภาพและสุขภาพที่ดี ก็ล้วนแล้วแต่เป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์

ทั้งสิ้น เหมือนกับคำกล่าวว่า "Accounting and Businessman says human capital is an expense, but human capital is also an investment generating predictable top-line growth." นักธุรกิจ และฝ่ายบัญชีมองว่า “การพัฒนาทุนมนุษย์เป็นค่าใช้จ่าย แต่การพัฒนาทุนมนุษย์ก็เป็นการลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตหรือสร้างมูลค่าเพิ่มที่สุดยอดมากด้วยเช่นกัน.: Dr.Jac Fitz-enz (the father of human capital strategic analysis and measurement)”

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2557


สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน 2557

เนื่องจาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ตั้งคำถามให้คิดว่า “ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาได้อะไรจากการเรียนกับท่านบ้าง ??”

จึงขออนุญาตตอบเพิ่มเติมจากในชั้นเรียนผ่านทาง Blog ดังต่อไปนี้

สิ่งที่ได้กับตนเองที่เป็นประเด็นหลักประเด็นแรกก็คือ“ได้คิด”ว่าจะทำอย่างไรให้ตนเองสามารถ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และแก้ปัญหาเป็น รวมทั้งเผยแพร่ให้บุคคลอื่นๆ เพื่อสร้างทุนมนุษย์

คำสอนของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เป็นประเด็นและใช้เป็นหลักคิดในเบื้องต้น แบบสบายๆๆ ซึ่งยังไม่ลงลึกถึงหลักการหรือทฤษฎี ก็คือ

  1. ต้องปะทะกับคนเก่ง (แลกเปลี่ยนเรียนรู้)
  2. ต้องข้ามศาสตร์ (กระเด้ง)(ไม่เป็นกบในกะลาครอบ)

ส่วนคำสอนของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งกับชีวิตประจำวันและการทำดุษฎีนิพนธ์ ประกอบด้วย 2R’s, 8K’s+5K’s, 4L’s, HR Architecture

มุมมองทุนมนุษย์ ของ becker นั้น จะให้ความสำคัญที่การศึกษาเป็นหลัก โดยเน้นไปที่ปริมาณการศึกษา กล่าวคือ ยิ่งมีจำนวนปีที่ศึกษามากเท่าไหร่ คุณภาพของทุนมนุษย์จะมีมากขี้นเท่านั้น (จำนวนปี ต่อ จำนวนรายได้) แนวคิดของ becker นั้น ทำห้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน ซึ่งส่งผลให้คุณภาพของทุนมนุษย์ในสังคมสูงขึ้น ซึ่งแนวคิดนี้อาจจะไม่ถูกไปทั้งหมด อย่างเช่นปัจจุบัน มีปัญหาหลายกรณีที่เกิดจาก ผู้ที่ได้รับศึกษามาก (จำนวนปี) แต่ขาดคุณภาพ ทำงานไม่เป็น หรือเป็นคนที่มีความสามารถ แต่ขาดคุณธรรม อีกทั้งในปัจจุบัน ยังมีหลายกรณีที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ได้รับการศึกษาน้อยปี กลับประสบความสำเร็จในธุรกิจ หน้าที่การงั้น อย่างไรก็ตามจากแนวคิดเรื่องทรัพย์กรมนุษย์ ของ becker ถือเป็นพื้นฐานในการต่อยอดของ แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับทุนมนุษย์ ในอนาคต

แนวข้อสอบปริญญาเอก เลือก 3 ข้อ ใช้เวลา 1.30 ชั่วโมง

1. การจัดระเบียบโลก New world order แตกต่างกับ Globalization อย่างไร อธิบาย การปรับตัวของคนไทย โดยผ่าน 8K 5K ประสบความสำเร็จอย่างไร ยกตัวอย่าง

- ปัจจัยความล้มเหลวที่มาจาก 8K 5K คืออะไร

2. Happiness Capital กับ Happiness workplace แตกต่างกันอย่างไร

- ถ้าเราจะทำวิจัย ดูความแตกต่างระหว่างทุนแห่งความสุข กับ happy workplace ต้องเน้น Research methodology และเก็บข้อมูลแตกต่างกันอย่างไร

3. อ่านหนังสือ Execution และสรุปว่าเกี่ยวอะไรกับ

- การปลูก การเก็บเกี่ยว และทุนมนุษย์อย่างไร

4. อ่านหนังสือ Good to great ของ Jim Collins มีประเด็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับ 8K 5K และแนวคิดภาวะผู้นำของดร.จีระ

5. ศึกษานวัตกรรมของธุรกิจของปูนซีเมนต์ไทย และธุรกิจของบางจาก

-อธิบาย process ของสองบริษัท

-ปัจจัยทุนมนุษย์ของทั้งสองแห่งแตกต่างกันอย่างไร

6. Human Capital, Innovation Capital ในภาคเกษตรของไทยจะเป็นอย่างไร ยกกรณีศึกษาของ กศน. ที่ทำเรื่องเกษตรของไทยโดยเน้นเรื่อง 3V

7. การท่องเที่ยวของไทยในยุคใหม่ จะต้องเน้น Innovation จะเน้นการท่องเที่ยวอย่าง 3V ทุนมนุษย์มีความจำเป็นอย่างไร และอธิบายตัวละครที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวว่ามีใครบ้างและแต่ละกลุ่มต้องทำอย่างไร

สรุป วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2557

หนังสือที่ให้ไป 2 เล่ม หนังสือ Execution และ Good to Great โดย jim Collins สรุปร่วมกันว่ามีประเด็นอะไรหลักๆ

  • พูดถึงธุรกิจ ถึงอยู่ยั่งยืน บริษัทเหล่านี้ต้องมี Preferment ไปดูวงจรที่จะธุรกิจที่อยู่รอด ธุรกิจที่อยู่รอดคือ Leadership เป็นตัวทำให้องค์กรอยู่รอด แก้วิกฤติ ไม่ใช่เอานักบัญชีมาแก้วิกฤติก็ไม่ได้ Leader แก้ปัญหาวิกฤติ เขามีวิเคราะห์อยู่ประมาณ 5 เรื่อง อยู่ที่บริบทคืออะไร ใช้ในสถานการณ์แบบไหน?
  • สาเหตุของการเรียนไม่เก่งคือเรียนไม่เป็น มันสามารถฝึกได้ ไม่ใช่เป็นคนโง่
  • สงคราม ที่ต้องเสียคือ เงิน ใช้เงินล่อ ทหารเสียชีวิตต้องจ่ายเงินหมด เสียความเป็นกลาง อย่าง 3 จังหวัดภาคใต้น่าจะเป็นรัฐอิสระ แต่มีการทหาร ควบคุมอยู่ ประเทศไทยหมิ่นเหม่กับการแยกดินแดนอยู่ แยกให้เป็นว่าโลกาภิวัตน์คือเศรษฐกิจโลก
  • อย่าประมาท แยกให้ออกที่อะไรมีส่วนกระทบกับเรา ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นโลกาภิวัตน์ ถ้าจัดระเบียบโลกก็เกิดความตึงเครียด ทำให้เศรษฐกิจอ่อน แต่ไม่เกี่ยวกับการแข่งขัน
  • เช่น น้ำมันราคาแพง หน้าที่คุณคือ เข้าใจเสียก่อน เชื่อมโยงให้เป็น แม่น จับประเด็นหลักๆ เพราะแต่ละคนมีไอเดียแล้ว ถ้าความคิดมั่วก็ไม่ต้องเขียน ไม่ต้องรีบเขียน รีบตอบ เคลียร์ก่อน
  • ศึกษาว่าทุกคำพูดที่พูดไปคืออะไร อ่านที่สรุปให้ดี วิธีการนี้ดีที่สุด ทำให้เข้าใจ Human Capital ได้ชัดเจนที่สุด
  • กฎภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของ Dave Ulrich จากหนังสือ Leadership Sustainability

1.Simplicity (ความเรียบง่าย) เน้นการกระทำที่สำคัญเพียงบางอย่างที่สร้างผลกระทบได้มากที่สุด

2.Time (เวลา) จัดสรรเวลาเพื่อให้ปฏิทินการทำงานสอดคล้องกับความตั้งใจ

3.Accountability (ความเชื่อถือ) รับผิดชอบในสิ่งที่สัญญาว่าจะทำ

4.Resources (ทรัพยากร) ใช้ภาวะผู้นำสนับสนุนระบบการบริหารทรัพยาหรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพและให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างต่อเนื่อง

5.Tracking (การติดตาม) พัฒนาเกณฑ์การประเมินการพัฒนาภาวะผู้นำ

6.Melioration (ทำให้ดีขึ้น) เรียนรู้จากข้อผิดพลาดและแสดงถึงการไม่ยอมแพ้

7.Emotion (อารมณ์) นำค่านิยมส่วนตัวมาสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง

จุดอ่อนของกฎภาวะผู้นำเพื่อความยั่งยืนของ Dave Ulrich คืออะไร

ทุนแห่งความยั่งยืนผมได้มาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ เศรษฐกิจพอเพียง มี 3 เรื่อง คุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ บริหารความเปลี่ยนแปลงให้ได้คือ มีภูมิคุ้มกัน

เปรียบเทียบหนังสือเล่มนี้ อยากให้ว่า Leadership

ความยั่งยืนคือทำวันนี้แล้วอยู่รอดในวันหน้า

การจัดสรรเวลา ดูว่าในขณะนี้เราจะทำอะไร มองว่าอีก 20ปี ข้างหน้าจะมีอะไร มีความหลากหลายในวัฒนธรรม มีอาเซียน มีแรงงานในประเทศ ตลาดแรงงานในอนาคต

Macro สู่ Micro คือหัวใจในการเรียนครั้งนี้ ขอให้มีระบบความคิดให้มีเหตุและผล โลกมีเทคโนโลยีเยอะ มีตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม มีการวัดตัวแปรตามไม่ชัด

แยกระหว่าง Happiness และ Happy Workplace ให้ได้ ผมมาที่นี่เพราะมี Happiness

Dependent คือสามารถอธิบายได้ มีรายได้ กับราคา ถ้าได้สูงก็บริโภคสูงขึ้น ถ้าราคาแพงก็บริโภคน้อยลง

เวลามาด้าน Human Capital จะใช้ เศรษฐศาสตร์น้อยลง ใช้ปรัชญา คนคือทรัพย์สินขององค์กร ผู้จัดการบริหารบุคคล หรือผู้ทำการฝึกอบรม คงไม่ยอมรับ คนเหมือนบัญชีอยู่ในซีก หนี้สินหรือทรัพย์สิน คนบางคนอยู่ในซีกหนี้สิน เพราะตอบแทนให้บริษัทไม่คุ้มค่า บางคนทำงานร้อยเรื่องได้เงินเท่าคนอื่นนั่นคือ ทรัพย์สิน

มาทำให้ที่นี่อยากให้ลูกศิษย์ได้ประโยชน์ ถ้าเป็นราคาตลาด จะต้องจ่ายเท่าไหร่ การศึกษา อยากให้ได้มากกว่าที่เราเสีย เศรษฐศาสตร์ มี Benefit ที่เรามองไม่เห็น

เรียนรู้จากข้อผิดพลาด และแสดงถึงการไม่ยอมแพ้ Melioration

ทุนมนุษย์มันต้องเป็น Economic Model ให้ได้ที่จะมีศักยภาพเหล่านี้

ดร.จีระ

  • มัน คือ 8k 5K คุณสมบัติของคน มีมากกกว่าปริมาณ
  • Role ของผมมาจากที่เขียน ป.เอกที่บูรพา
  • การเรียนยุคใหม่ต้องมี Relevance คือมี Impact ต่อตัวเรา องค์กรและประเทศ
  • กฎ 7 ของ ดร.จีระ
  • 1. Leaning culture (วัฒนธรรมการเรียนรู้)
  • 2. Anticipate change ( คาดคะเนการเปลี่ยนแปลง
  • 3. Ethical capital (ทุนทางจริยธรรม)
  • 4. Environmental friendly (อยู่กับความสมดุลของสิ่งแวดล้อม)
  • 5. Futuristic mindset (มองอนาคต)
  • 6. เศรษฐกิจพอเพียง แบบพระเจ้าอยู่หัว
  • 7. Balancing life and work with happiness capital
  • ที่เราเรียนอยู่ อีก 2 ปีอาจจะล้าสมัย เราจึงต้องมองจากตรงนี้
  • เรามีการคาดคะเนาอนาคตได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
  • สิ่งที่สำคัญของ 3V คือการปลูก ปลูกได้ตั้งแต่การศึกษา สื่อมวลชน ศาสนา ตัวละครที่จะเล่นการปลูกมีเยอะ ครอบครัวก็สำคัญ เราปลูกให้กระเด้งจาก 8 ให้เป็น 5 ไม่ใช่แค่ V1 แต่ถ้านำไปแก้ปัญหาได้นั่นคือ V2 คือความปรับวิธีการทำงานคือ กระเด้ง สไตล์สตีฟจ๊อบ ไอแพท ไอโฟน ซัมซุง การสร้างจากความคิดใหม่ Creation คือสร้างใหม่ แต่ยังไม่กระเด้งไป v2
  • มองกระเด้งไปจาก V1 แต่ v1 คือพื้นฐาน เพิ่มคุณค่าก่อน และกระเด้งไปที่แท่งที่ 2 เช่น v1อาจจะเพิ่ม จาก 8 เป็น 9 แต่ v2 อาจจะกระเด้งจาก 0 เลยก็ได้
  • v2 คือกระโดดและกระเด้ง
  • V3 คือทุกท่านมีความหลากหลายอยู่แล้ว เช่น คนรุ่นใหม่ รุ่นเก่า มารยาท คนรุ่นใหม่ไม่มีความจงรักภักดี Diversity คือ เข้าใจว่ามีกี่ชนิด มีกี่ระดับ เช่น ข้อ 6. Human Capital, Innovation Capital ในภาคเกษตรของไทยจะเป็นอย่างไร ยกกรณีศึกษาของ กศน. ที่ทำเรื่องเกษตรของไทยโดยเน้นเรื่อง 3V
  • จะร่วมมือกับอาเซียนอย่างไร เขามีเพื่อนเขมร ลาว ต้องร่วมมือกัน เขามีสารพิษน้อย ถ้าร่วมมือ ก็เกิดความหลากหลายได้ อาจจะมีการข้าม Silo แต่มีการข้ามวัฒนธรรม และข้ามประเทศ เป็นสิ่งสำคัญ
  • เราต้องมีความใฝ่รู้ที่จะเข้าอาเซียน Diversity ระหว่างประเทศ
  • ถ้าจะเขียนวิทยานิพนธ์น่าจะเขียนว่า V2 และ V3 ร่วมกัน
  • Crisis คือวิกฤติที่มาแล้วก็มาอีก ไม่ได้มาแค่ครั้งเดียว ถ้ามีข่าวดีอย่ารีบดีใจ เดี๋ยวอาจจะมีข่าวร้ายมาด้วยก็ได้
  • วิกฤติความไม่รู้ อันนี้น่ากลัว คนไทยชอบแก้ปัญหาในระยะสั้น ไม่แก้ปัญหาในระยะยาว จึงเป็นปัญหา ในสังคมที่ศรัทธาทุนมนุษย์คือคนที่คิดในระยะยาว
  • ข้อเสนอจากนักศึกษา
  • ใน 7 ข้อก็ยังไม่ตอบความยั่งยืนทั้งหมด เน้นการบริหารจัดการมากกว่า
  • ถ้าจะเสนอแนะ สิ่งที่เค้าจะต้องปรับจาก 7 ประเด็นคือ Talent Capital ในทรัพยากรมนุษย์
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลงได้
  • การมุ่งเน้นลูกค้า customers
  • มองเทคโนโลยี เพื่ออยู่รอดระยะยาว
  • ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับ 3V
  • ถามคำถาม แต่ละหัวข้อว่าคาดหวังอะไร ข้อสอบ
  • ข้อ 6 และ 7 ต้อง Research ด้วย ต้องจับประเด็นให้ได้ว่า เกี่ยวกับอะไรกับ 8k 5k เอาแนวคิดเกี่ยวกับผู้นำมาเปรียบเทียบกับของ อ.จีระ
  • ข้อ 5 น่าสนใจ มี Income ปูนซีเมนต์ไทยมาจากผลิตภัณฑ์ 40% ที่มาจาก บางจากเป็น Green Energy เน้นวัตกรรมทางสิ่งแวดล้อม
  • -
  • คุณสร้อยสุคนธ์
  • แนวคิด 7 ข้อ
  • 1.Big picture ดู Macro และ Micro
  • 2.Do the right thing คือใช้ Talent Capital กับ 3V
  • 3.Trend Future เสนอว่าจะเอา 5 Force เข้ามา
  • 4. Customers Needs ให้มองในและนอกองค์กร มองแบบยั่งยืน
  • 5.Ethical Capital มองเหมือน ดร.จีระ
  • 6.การเปลี่ยนแปลง Change ต้องรวดเร็วกับอนาคต ต้องมี In และ Out
  • Crisis Management จะพูดถึงวิกฤติซ้ำซ้อน มีอยู่กับตัวเรา มีวิกฤติระดับองค์กรด้วย
  • 7. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข กำหนดอยู่ในเป้าหมายและพันธกิจขององค์กร

<p></p><p></p><p>จากการศึกษาBuilding human capital การศึกษาของBecker ได้ศึกษามาเมื่อในอดีตซึ่งอาจจะไม่ใช่คำตอบของโลกในอนาคตเนื่องจากโลกในอนาคตเกิดความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ดังนั้นการพัฒนาทุนมนุษย์จึงต้องมีความเหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงาน ที่มนุษย์ต้องเก่ง ดี มีความสุข ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 8 K’s + 5 K’s ของอาจารย์ </p>

Presentation ที่เป็นผลจากการอ่านและวิเคราะห์บทความเรื่องฺ Leadership and Organizational Strategy (The Innovation Journal : The Public Sector Innovation Journal, Volume 14(1),2009,article 3) <งานกลุ่ม>

การบ้าน เรือง การสร้างทุนมนุษย์ ของ  Garry Becker

          ในสมัยของ prof.Becker เมื่อประมาณปี ค.ศ.1950 เขาบอกกันว่า การพูดถึงเรื่องแนวคิดทุนมนุษย์นั้นมีอยู่น้อยมาก ซึ่งในความคิดของผมนั้น การพูดเรื่องทุนมนุษย์ได้พูดกันมาก่อนหน้านั้นมาก เช่น ในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีแนวคิดด้านทุนมนุษย์อยู่ก่อนแล้ว โดยเน้นไปในดเนทุนจริยธรรมไงครับ ทฤษฎีของพระองค์มากมาย เช่น ศีล 5 อิทธิบาท 4 สังคหวัตถุ 4 เหล่านี้คือทฤษฎีสร้างทุนมนุษย์ให้มีคุณค่า มจริยธรรม

         แต่ในสมัยของ Becker เขาได้เปรียบตรงที่มีการประดิษฐ์ตัวอักษรใช้แล้ว เขาจึงพัฒนาแนวความคิดด้านทุรมนุษยย์ มาเป็นทฤษฎีทุนมนุษย์แล้วก็เขียนเป็นหนังสือเป็นตำราชื่อว่า ทุนมนุษย์ แล้วก็กลายเป็นหนังสือที่ขายดิบขายดีในสมัยนั้น จนต่อมาเขาก็ได้รับรางวัลโนเบลอีกด้วย 

          ทฤษฎีของเขาคือการเพิ่มศักยภาพของคนให้มีความรู้มีการศึกษาเยอะ ๆ เพราะเขามองว่า รายได้ของคนนั้นขึ้นอยู่กับระดับการศึกษากับทักษะความสามารถ เขาจึงสร้างคนด้วยการลงทุนทางความรู้ทางปัญญาเท่านั้น ซึ่งในบริบทของยุคนั้น แนวความคิดนี้ก็อาจจะใช้ได้

          แต่ในภาวะปัจจุบัน โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก กระแสโลกาภิวัตน์ กระแสเทคโนโลยี กระแสโลกไร้พรมแดน การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ทำให้ทฎษฎีทุนมนุษย์ของ Becker อาจจะไม่สามรถตอบโจทย์ได้ทุกโจทย์ จึงได้มีทฤษฎี ทุนมนุษย์ 8K's ของ อ.จีระ ขึ้นมา ซึ่งก็ยังไม่เพียงพออีกจึงมีการพัฒนา 5K's ขึ้นมาอีก

           แม้กระนั้นก็ยังมีคนเอาทฤษฎีของ Becker มาปรับปรุงมาต่อยอด จนนักเศรษฐศาสตร์ยอมรับว่าทุนมนุษย์มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในโลกยุคปัจจุบัน

นลินี โสพัศสถิตย์

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม 2557

สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิชา PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์, วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2557


Leadership Sustainability

Dave Ulrich ดร. จีระ นักศึกษา อ. สร้อย
1.Simplicity (ความเรียบง่าย) เน้นการกระทำที่สำคัญเพียงบางอย่างที่สร้างผลกระทบได้มากที่สุด2.Time (เวลา) จัดสรรเวลาเพื่อให้ปฏิทินการทำงานสอดคล้องกับความตั้งใจ3.Accountability (ความเชื่อถือ) รับผิดชอบในสิ่งที่สัญญาว่าจะทำ

4.Resources (ทรัพยากร) ใช้ภาวะผู้นำสนับสนุนระบบการบริหารทรัพยาหรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพและให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างต่อเนื่อง

5.Tracking (การติดตาม) พัฒนาเกณฑ์การประเมินการพัฒนาภาวะผู้นำ

6.Melioration (ทำให้ดีขึ้น) เรียนรู้จากข้อผิดพลาดและแสดงถึงการไม่ยอมแพ้

7.Emotion (อารมณ์) นำค่านิยมส่วนตัวมาสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง

1. Leaning culture (วัฒนธรรมการเรียนรู้)

2. Anticipate change ( คาดคะเนการเปลี่ยนแปลง)

3. Ethical capital (ทุนทางจริยธรรม)

4. Environmental friendly (อยู่กับความสมดุลของสิ่งแวดล้อม)

5. Futuristic mindset (มองอนาคต)

6. เศรษฐกิจพอเพียง แบบพระเจ้าอยู่หัว

7. Balancing life and work with happiness capital

1.Talented Capital

2.การบริหารการเปลี่ยนแปลง

3.ให้ความสำคัญกับ Customer

4.Technology

5.ใฝ่รู้

6.Happiness Capital

7. ทักษะด้านภาษา

1.Big picture ดู Macro และ Micro2.Do the right thing คือใช้ Talent Capital กับ 3V3.Trend Future เสนอว่าจะเอา 5 Force เข้ามา

4. Customers Needs ให้มองในและนอกองค์กร มองแบบยั่งยืน

5.Ethical Capital มองเหมือน ดร.จีระ

6.การเปลี่ยนแปลง Change ต้องรวดเร็วกับอนาคต ต้องมี In และ OutCrisis Management จะพูดถึงวิกฤติซ้ำซ้อน มีอยู่กับตัวเรา มีวิกฤติระดับองค์กรด้วย

7. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข กำหนดอยู่ในเป้าหมายและพันธกิจขององค์กร

สรุปโดยทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

สรุปปริญญาเอก ม.ราชภัฏสวนสุนันทา

วันที่ 5 ตุลาคม 2557

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ได้กล่าวถึงการจะไปทัศนศึกษาที่สวนผึ้งว่าควรเตรียมตัวให้ดี เนื่องจากมีปริญญาเอกจาก ม.ราชภัฏราชมงคล จะมาร่วมด้วย

การเตรียมตัวว่าจะ Present เรื่องอะไร

- Macro สู่ Micro

- 8K’s 5K’s คืออะไร ต้องแยก Conceptual ให้เป็น (8K’s 5K’s แบ่งเป็น 1 และ7 และ 5)

- พูด 45 นาที

ทุนที่สำคัญในปัจจุบัน

มีทุนแห่งความสุขกับทุนแห่งความยั่งยืน

บางคนคิดว่า Sustainability เป็น Habit แต่จริง ๆ คือเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมของทุนมนุษย์

Happiness Capital หมายถึง Happy at work แต่ไม่ได้หมายถึง Happy workplace

แนวคิดเรื่องทุน Human Capital

Human Capital – คนเรียนเยอะ น่าจะเก่ง แต่ความจริงคนเรียนเยอะอาจไม่ได้เก่งก็ได้

Future Trend – วันนี้มหาวิทยาลัย ไม่ได้ Provise Skill เพื่อ Employment อีกต่อไป

ให้ลองไป Search : Future trend of HR in next 10 years

การเรียนในยุคใหม่ต้อง

- The right knowledge

- The right Learning how to learn

- The right 2 R’s

ดร.จีระ ได้ยกตัวอย่างเรื่องการมาสอนปริญญาเอกของ ที่ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา

ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้

  • 1.Health Mental Physical
  • 2.Passion
  • 3.Purpose
  • 4.เป็นสิ่งที่มีความหมายแต่ละคนทำงานเพื่ออะไร ถ้าทำงานเพื่อเงินกับตำแหน่งสิ่งนั้นจะไปไม่รอด
  • 5.ค้นหาสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ว่าเหมาะกับชีวิตหรือไม่

การเขียนวิทยานิพนธ์ :

1. ทุนทางความสุขกับการทำงาน

ให้เลือกอาชีพต่าง ๆ มาวิเคราะห์ความสุขของอาชีพที่แตกต่างกัน อาทิ อาชีพที่อิสระ

อาชีพที่คนทำงานหนักเงินเยอะ เช่น หมอ พยาบาล และอาชีพกลาง ๆ อาทิ รับราชการ มหาวิทยาลัย โรงเรียนประถม มัธยม ในอบต. คนทำงานท่องเที่ยว อุตสาหกรรม โดยต้องเสนองานที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ เช่น งานหนัก เงินเยอะงานระดับกลาง และงานอิสระเช่น งานคนกวาดถนน หรือมอเตอร์ไซด์รับจ้าง เป็นต้น

ให้นักศึกษาทั้ง 5 คนลองเลือกแต่ละอาชีพว่าจะเปรียบเทียบกันอย่างไร อาจจะดูลักษณะงานและประเภทของงานประกอบการเปรียบเทียบ ภายใต้สมมุติฐาน

1. Hypothesis การทดสอบว่าความสุขของคนแต่ละอาชีพแตกต่างกัน

(ให้คะแนนความสุขมากคือ 10 ความสุขน้อยคือ 0 และเหตุผลเพราะอะไร และต้องอธิบายโจทย์ที่ถามให้เข้าใจอย่างแท้จริง มีคำถามปลายเปิดมีคำถามที่สร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับลักษณะงานเช่นเป็นงานที่ Workload /Stress เป็นต้น)

2. ตัวอย่างการตั้งสมมุติฐาน เช่น คนได้เงินเยอะ ตำแหน่งสูงอาจมีความสุขน้อยกว่าคนที่มีอาชีพอิสระ ทำตามความพอใจ แล้วไปวิเคราะห์ Productivity

3. ทำ Case Study ประกอบ 2-3 อย่าง

2. งานวิจัยเกี่ยวกับอาเซียน

เอาประเทศทั้ง 10 ประเทศ หรืออาจรวมติมอร์

- ดู Human Capital

- ดูสัดส่วนของคนใน Sector ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศว่าแตกต่างกันอย่างไร

ให้ลองยกข้อมูลที่มาเปรียบเทียบกันได้

Public Seminar

ทำเรื่อง HR ไทยใน 20 ปีข้างหน้า โดยให้เชิญมหาวิทยาลัยอื่นมาร่วมด้วย

สรุป

1. ต้องการให้ลูกศิษย์ได้ความรู้ มี Wisdom ความฉลาดเฉลียว มีความคิด เอา Input ไปช่วยทำวิทยานิพนธ์ อย่าให้แปลกแยกกัน

2. โจทย์หรือ Hypothesis สำคัญกว่า Research Method

Execution คือเมื่อมีปัญหาแล้วจะเอาชนะอุปสรรคได้อย่างไร แต่ที่ไม่สำเร็จอาจเป็นเพราะอุปสรรค เช่นวัฒนธรรมองค์กร เจ้านายไม่เห็นประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งเป็นสิ่งอันตราย ดังนั้นจะทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ

สรุปปริญญาเอก ม.ราชภัฏสวนสุนันทา

วันที่ 5 ตุลาคม 2557

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ได้กล่าวถึงการจะไปทัศนศึกษาที่สวนผึ้งว่าควรเตรียมตัวให้ดี เนื่องจากมีปริญญาเอกจาก ม.ราชภัฏราชมงคล จะมาร่วมด้วย

การเตรียมตัวว่าจะ Present เรื่องอะไร

- Macro สู่ Micro

- 8K’s 5K’s คืออะไร ต้องแยก Conceptual ให้เป็น (8K’s 5K’s แบ่งเป็น 1 และ7 และ 5)

- พูด 45 นาที

ทุนที่สำคัญในปัจจุบัน

มีทุนแห่งความสุขกับทุนแห่งความยั่งยืน

บางคนคิดว่า Sustainability เป็น Habit แต่จริง ๆ คือเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมของทุนมนุษย์

Happiness Capital หมายถึง Happy at work แต่ไม่ได้หมายถึง Happy workplace

แนวคิดเรื่องทุน Human Capital

Human Capital – คนเรียนเยอะ น่าจะเก่ง แต่ความจริงคนเรียนเยอะอาจไม่ได้เก่งก็ได้

Future Trend – วันนี้มหาวิทยาลัย ไม่ได้ Provise Skill เพื่อ Employment อีกต่อไป

ให้ลองไป Search : Future trend of HR in next 10 years

การเรียนในยุคใหม่ต้อง

- The right knowledge

- The right Learning how to learn

- The right 2 R’s

ดร.จีระ ได้ยกตัวอย่างเรื่องการมาสอนปริญญาเอกของ ที่ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา

ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้

  • 1.Health Mental Physical
  • 2.Passion
  • 3.Purpose
  • 4.เป็นสิ่งที่มีความหมายแต่ละคนทำงานเพื่ออะไร ถ้าทำงานเพื่อเงินกับตำแหน่งสิ่งนั้นจะไปไม่รอด
  • 5.ค้นหาสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ว่าเหมาะกับชีวิตหรือไม่

การเขียนวิทยานิพนธ์ :

1. ทุนทางความสุขกับการทำงาน

ให้เลือกอาชีพต่าง ๆ มาวิเคราะห์ความสุขของอาชีพที่แตกต่างกัน อาทิ อาชีพที่อิสระ

อาชีพที่คนทำงานหนักเงินเยอะ เช่น หมอ พยาบาล และอาชีพกลาง ๆ อาทิ รับราชการ มหาวิทยาลัย โรงเรียนประถม มัธยม ในอบต. คนทำงานท่องเที่ยว อุตสาหกรรม โดยต้องเสนองานที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ เช่น งานหนัก เงินเยอะงานระดับกลาง และงานอิสระเช่น งานคนกวาดถนน หรือมอเตอร์ไซด์รับจ้าง เป็นต้น

ให้นักศึกษาทั้ง 5 คนลองเลือกแต่ละอาชีพว่าจะเปรียบเทียบกันอย่างไร อาจจะดูลักษณะงานและประเภทของงานประกอบการเปรียบเทียบ ภายใต้สมมุติฐาน

1. Hypothesis การทดสอบว่าความสุขของคนแต่ละอาชีพแตกต่างกัน

(ให้คะแนนความสุขมากคือ 10 ความสุขน้อยคือ 0 และเหตุผลเพราะอะไร และต้องอธิบายโจทย์ที่ถามให้เข้าใจอย่างแท้จริง มีคำถามปลายเปิดมีคำถามที่สร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับลักษณะงานเช่น มีเรื่อง Purpose/Passion/Meaning/Life Balance/Workload /Stress เป็นต้น)

ขั้นตอนในการทำวิจัย อาจประกอบด้วย

- การคัดเลือกอาชีพที่จะมาเปรียบเทียบ

- Ranking

- Select

- Reason

- Open end

2. ตัวอย่างการตั้งสมมุติฐาน เช่น คนได้เงินเยอะ ตำแหน่งสูงอาจมีความสุขน้อยกว่าคนที่มีอาชีพอิสระ ทำตามความพอใจ แล้วไปวิเคราะห์ Productivity

3. ทำ Case Study ประกอบ 2-3 อย่าง

2. งานวิจัยเกี่ยวกับอาเซียน

เอาประเทศทั้ง 10 ประเทศ หรืออาจรวมติมอร์

- ดู Human Capital

- ดูสัดส่วนของคนใน Sector ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศว่าแตกต่างกันอย่างไร

ให้ลองยกข้อมูลที่มาเปรียบเทียบกันได้

Public Seminar

ทำเรื่อง HR ไทยใน 20 ปีข้างหน้า โดยให้เชิญมหาวิทยาลัยอื่นมาร่วมด้วย

สรุป

1. ต้องการให้ลูกศิษย์ได้ความรู้ มี Wisdom ความฉลาดเฉลียว มีความคิด เอา Input ไปช่วยทำวิทยานิพนธ์ อย่าให้แปลกแยกกัน

2. โจทย์หรือ Hypothesis สำคัญกว่า Research Method

Execution คือเมื่อมีปัญหาแล้วจะเอาชนะอุปสรรคได้อย่างไร แต่ที่ไม่สำเร็จอาจเป็นเพราะอุปสรรค เช่นวัฒนธรรมองค์กร เจ้านายไม่เห็นประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งเป็นสิ่งอันตราย ดังนั้นจะทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ

ข้อแตกต่างระหว่าง Leader / Manager

Leader : Do the right things

Manager : Do the things right

เราอย่ารบทุกสงครามแต่เราจะรบเฉพาะที่เรารู้

ถึงทุกคน

ดีใจที่จะไป Study Tour กันสัปดาห์นี้ เท่ากับครบ 7 ครั้ง หาประสบการณ์และให้ Networking ให้ดี

คุณจ้าเห็นด้วยกับ Research 2 เรื่อง ทุนแห่งความสุขและ ตาราง HR เปรียบเทียบ ASEAN และอาจจะขยายไปเปรียบเทียบ ASEAN +6 ด้วย

อย่าลืมเน้น Research และวิทยานิพนธ์ด้วยไม่ใช่รู้เพื่อสอบ นอกจากนั้นผมจะพาไปร้านหนังสือ Asia Book และ ร้านคิโนฯ โดยเฉพาะจะมีการสัมภาษณ์คนขายว่า คนไทยอ่านหนังสือแบบไหน และมีแนวโน้มอย่างไร?

ผมจะเข้า Blog เป็นประจำทุกๆ 2 วันครับ

ถึง 5 ทหารเสือปริญญาเอกรุ่น 8

1. ภูมิใจมากที่มีรุ่น 8 เพราะผมลงลึกมาก ลูกศิษย์ 6 - 1 น่าเสียดายที่จะออกไป

2. เตรียมตัวไป Study Tour ทุกๆคน ต้อง

3. มองไปในอนาคตว่า Thesis จะเน้นเรื่องอะไรส่งรายงานว่าไปแล้วได้อะไร โดยเน้น Apply 8k 5K เป็นหลัก

4.Research 2 เรื่อง คุณจ้าชอบมาก ต้องทำให้ดีครับ

พบกันทุกวันใน Blog ครับ

1.ผมภูมิใจเรื่อง Research ทุนแห่งความสุข

- อย่าลืมเลือกกลุ่มอาชีพ และกลุ่ม (หารือกัน)

- ผมแนะนำ ระดับล่าง 5 กลุ่ม ระดับกลางและระดับสูง 5 กลุ่ม เน้นแยก อายุ, เพศ ,รายได้ ชนิดของงาน,การศึกษาด้วย

- ผมมี Ideas อยู่ในใจแล้ว และจะตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการด้วย เพราะเรื่องทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืนน่าจะนำโลกและลูกศิษย์ รุ่น 8 ต้องเป็นเจ้าของ Idea นี้

- พบกันวันเสาร์นี้

- สนุก แต่ได้ Share และขยาย Network

นวัตกรรมใหม่ที่เกิดในโรงเรียนตะเข็บชายแดน

          เมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา (11-12 ตุลาคม 2557) กระผมและคณะนักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรนวัตกรรมการจัดการ มรภ.สวนสุนันทา พร้อมด้วย อ.จีระ และทีมงาน ได้ไปร่วมจัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ ของสาม มรภ. คือ  มรภ.สวนสุนันทา มรภ.นครปฐม และ มรภ.หมู่บ้านจอมบึง และได้มีโอกาสไปเยี่ยมโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งของอำเภอสวนผึ้ง ซึ่งเป็นโรงเรียนตะเข็บชายแดน ที่มีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนประเทศเมียนม่า หรือพม่า ชื่อว่า"โรงเรียนบ้านตะโกล่าง"

          โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนชายแดน เป็นโรงเรียนต่างจังหวัด หรือจะบอกว่าเป็นโรงเรียนบ้านนอกก็ได้ แต่การบริหารจัดการในด้านการเรียนการสอนไม่ธรรมดาเลย ซึ่งผมคิดว่านี่คือ  นวัตกรรมด้านการศึกษา ที่หลายๆคน ควรนำไปเป็นแบบอย่าง

            ผอ.เฉลียว คือ บุคคลที่นำพาโรงเรียนแห่งนี้ให้มีการพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศด้านการศึกษาได้อย่างน่าทึ่ง ด้วยปรัชญาและความมุ่งมั่นที่ต้องการเห็นเด็กทุกคนที่บ้านตะโกล่างไดมีโอกาสในด้านการศึกษาทุกคน ไม่ว่าจะมีสัญชาติหรือเชื้อชาติอะไร

           เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ของที่นี่ (ร้อยละ 80 ) เป็นชาวกะเหรี่ยง ชาวพม่า ซึ่งในอดีตไม่มีสิทธิเข้าเรียนในโรงเรียนของไทย หรือเข้าเรียนได้แต่ก็ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการเหมือนเด็กไทย เช่น สิทธิในการดื่มนมฟรี สิทธิในการรับประทานอาหารฟรี หรือแม้แต่การถูกกีดกันจากคนไทยไม่ให้เข้าเรียน แต่ด้วยการไม่ยอมแพ้ของ ผอ.เฉลียว ทเห็นคนทุกคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกัน จึงหาทุกวิถีทาง จนเด็กต่างเชื้อชาติเหล่านี้ได้ศึกษาร่วมกัน

           การจัดการศึกษาก็มุ่งเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง มีการให้คุณครูในพื้นที่ที่มีความสามารถทางด้านภาษาพม่า มาเป็นครูสอน จนทำให้นักเรียนที่เรียนโรงเรียนแห่งนี้มีความสามารถมากมายหลายได้ จนได้รับรางวัลมากมาย โรงเรียนแห่งนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เป็นโรงเรียนนำร่องของพระองค์  และของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ อีกด้วย

            โรงเรียนบ้านตะโกล่าง และ ผอ.เฉลียว คือ ตัวอย่างที่ดี ของการเรียนในหัวข้อวิชาทรัพยากรมนุษย์และภาวะผู้นำ ของท่าน อ.จีระ เพราะ มีทรัพยากรณ์มนุษย์ที่มีความสารถในทุนมนุษย์ในหลายๆด้าน และก็ตรงกับ concept ของหนังสือexecution ในเรื่องของผู้นำที่ไม่ยอมแพ้ในการแก้ไขปัญหาจนนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ในแง่ทฤษฎี 3V ก็ชัดเจนมาก จนทำให้เกิด "นวัตกรรมทางการศึกษา" ถึงจะเกิดในระดับประถม แต่สามารถกระเด้งไปสู่ระดับที่สูงกว่า หรือถึงแม้จะเกิดในพื้นที่ตะเข็บชายแดน แต่ก็สามารถกระเด้งไปสู่เมือง สู่ระดับประเทศได้ หรือสะท้อนให้เห็นภาพจาก micro ไปสู่ macro ได้ นั่นเอง

“Innovation” บทเรียนจากการศึกษาดูงานโรงเรียนบ้านตะโกล่าง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

เมื่อวันที่ 11-12 ตุลาคม ที่ผ่านมา ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ ได้นำคณะนักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรนวัตกรรมการจัดการ ไปศึกษาดูงานการบริหารจัดการโรงเรียนบ้านตะโกล่าง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอีก 2 มหาวิทยาลัย คือ ม.ราชภัฎจอมบึง กับ ม.ราชภัฎราชบุรี จากการศึกษาดูงานโรงเรียนบ้านตะโกล่าง ได้มีโอกาสเรียนรู้จากการบริหารจัดการนโยบายโดยส่วนกลาง ไปสู่ส่วนภูมิภาคหรือ Macro สู่ Micro ที่ล้มเหลวมาโดยตลอด ที่ผ่านนโยบายของประเทศเป็นลักษณะ Top – Down Policy มาพร้อมกับตัวชี้วัดจากส่วนกลางที่ โดยไม่คำนึงถึงบริบทและสภาพปัญหาเฉพาะของพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน

ตัวอย่างของโรงเรียนบ้านตะโกล่าง เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เกิดจากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านตะโกล่างเป็นโรงเรียนชายแดนติดกับประเทศพม่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นคนที่ไร้สัญชาติ ฟังภาษาไทยไม่รู้เรื่อง แต่ครูส่วนใหญ่ที่ไปบรรจุมาจากท้องถิ่นที่เจริญแล้ว ไม่รู้ภาษาถิ่น และมีความต้องการอย่างยิ่งที่จะย้ายกลับภูมิลำเนาเมื่อไปอยู่ได้ระยะหนึ่ง คุณครูเฉลียว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตะโกล่าง ข้าในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่มีความมุ่งมั่น เสียสละ ทุ่มเท วิริยะ อุตสาหะ ในการพัฒนาโรงเรียนมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นตัวอย่างของผู้นำ (Leadership) ที่ข้าราชการไทยควรนำมาเป็นแบบอย่าง สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ถือว่ามีค่าอย่างยิ่ง การที่คุณครูเฉลียวได้แก่ปัญหาโดยการนำคนในท้องถิ่นมาเป็นครูช่วยสอนที่สามารถพูดภาษาพม่า และภาษาไทยได้ เพื่อถ่ายทอดความรู้จากครูเมืองสู่นักเรียนในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการที่ต่อสู่เพื่อเป็นผู้คัดเลือกคุณครูที่จะมาบรรจุมาอยู่ที่โรงเรียนเอง ทำให้สามารถเลือกบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะกับบริบทของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ผมคิดว่าเป็นตัวอย่างของนวัตกรรมกระบวนการด้านการบริหารการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการนำไปขยายผลในโรงเรียนชายแดนของประเทศไทย

จากการที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอีก 2 มหาวิทยาลัย คือ ม.ราชภัฎจอมบึง กับ ม.ราชภัฎราชบุรี นั้น ดร.จีระ ได้กรุณาสอนให้พวกเราเข้าใจถึงกระบวนการของนวัตกรรม (Innovation Process) ซึ่งผมพอจะจับประเด็นได้ว่านวัตกรรมต้องเกิดจากการใฝ่รู้ ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ใหม่ โดยการนำไปสู่การปฏิบัติจริงผ่านโครงการที่นำสู่ความสำเร็จ 

นลินี โสพัศสถิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันเสาร์ที่ 11ตุลาคม 2557 โดย นลินี โสพัศสถิตย์


นวัตกรรมที่โรงเรียนบ้านตะโกล่าง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนของผอ.เฉลียว

ผอ.เฉลียวพยายามคิดค้น พัฒนานวัตกรรม รูปแบบการบริหารโรงเรียนบ้านตะโกล่าง เพื่อให้เกิดคุณภาพ แม้จะมีข้อจำกัดทั้งบุคลากร งบประมาณ การสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ แต่ผอ.เฉลียวก็ไม่ย่อท้อ ด้วยถือว่าหัวใจของการจัดการศึกษาคือผู้เรียน แม้จะไม่เสมอภาคในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ผอ.เฉลียวบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ความรู้ คุณธรรม ความอดทน ความเพียร เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหาและพัฒนาสถานศึกษา การมองการณ์ไกล การมีวิสัยทัศน์ ร่วมกับการวางแผนพัฒนาให้มีความพอประมาณอย่างมีเหตุมีผลส่งผลให้เกิดวิธีคิดใหม่ และการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดการทำงานอย่างทุ่มเทของผอ.เฉลียว สิ่งที่ค้นพบถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ ประหยัด คุ้มค่า และภาคภูมิใจในผลงาน

ผอ.เฉลียวนับว่าเป็นผู้นำเชิงนโยบาย คือ ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์นโยบาย และสังเคราะห์ปรับให้เข้ากับบริบท ความเหมาะสมของโรงเรียนและชุมชน และผอ.เฉลียวยังเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ คือผู้นำที่มีสมรรถนะในการออกแบบวางแผนงานโดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่หรือปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสม การเป็นผู้ประสานงานที่ดีระหว่างครูและชุมชน และการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนา

นวัตกรรมการศึกษาของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในขณะที่การเดินทางไปโรงเรียนบ้านตะโกล่าง ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงาน รวมทั้งลูกศิษย์ทั้ง 5 คน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม 2557 นั้น นับว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นกัลยาณมิตร ก่อเกิดเป็นเครือข่ายและพันธมิตรทางความรู้ และสานต่อเป็นความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง กับ ผอ.เฉลียว แห่งโรงเรียนบ้านตะโกล่าง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับลูกศิษย์นวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ภาพการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนบ้านตะโกล่างกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงานรวมทั้งลูกศิษย์ทั้ง 5 คน

ณ โรงเรียนบ้านตะโกล่าง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม 2557

<p>แผนภาพประกอบคำอธิบายจากการศึกษาดูงานโรงเรียนบ้านตะโกล่าง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี</p>

Execution ใน อบต.แคราย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

ที่ประสบผลสำเร็จ

          การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จนสำเร็จ

          ในแรกเริ่ม มีการถ่ายโอนภาระกิจการเรียนการสอนเด็กเล็กจากกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ให้มาอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศ 

          อบต.แคราย ก็ได้รับการถ่ายโอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเช่นเดียวกัน ซึ่งประสบปัญหาในการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก เช่น ไม่มีสถานที่เรียนเป็นของตัวเอง ต้องอาศัยพื้นที่ของโรงรียนประถมเป็นสถานที่เรียน การไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเมืองเนื่องจากยังไม่ให้ความสำคัญด้านการศึกษาเท่าที่ควร

          ปลัดฯ ในฐานะผู้นำของฝ่ายประจำก็ต้องมานั่งคิดนั่งวางแผนว่าทำอย่างไรจะแก้ปัญหาเหล่านี้ และสามารถจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ 

          เบื้องต้น เนื่องจาก อบต.แคราย เป็น อบต.ขนาดใหญ่ มงบประมาณพอสมควร ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีปัญหาในเรื่องงบประมาณ แต่ปัญหาคือฝ่ายการเมือง จะทำอย่างไรให้มีจิตสำนึกในเรื่องการศึกษา กระผมจึงหาแนวร่วมในการหารือ และได้จัดโครงการไปทัศนศึกษาดูงาน ในที่ที่ประสบความสำเร็จในการทำงานด้านศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และก็เริ่มเห็นแสงสว่างเมื่อฝ่ายการเมืองเริ่มเอาด้วยกับผมในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จนได้รับงบประมาณจัดซื้อที่ดินกว่าสามไร่ เป็นเงินงบประมาณ กว่า 10 ล้านบาท และได้รับงบก่อสร้างอาคารอีก กว่า 5 ล้านบาท 

          ปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.แคราย มีเด็กเล็ก 200 คน เพิ่มจากเดิมที่ทีเพียง 120 คน และกำลังรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะจัดตั้งเป็นโรงเรียนอนุบาลในอนาคตอันใกล้

          Execution ที่ไม่ประสบผลสำเร็จ คือ การจัดระเบียบกับผู้บุกรุกที่สาธารณะ บริเวณริมคลองและริมถนน ซึ่งได้มีการขอคืนพื้นที่มาเป็นเวลานานนับสิบปีก็ไม่สามารถทำได้ อันเนื่องมาจาก

          1. ผู้นำท้องถิ่นและท้องที่ ไม่จริงจังในการแก้ปัญหา เพราะไม่ต้องการเสียฐานคะแนนเสียง และมองว่าการบุกรุกที่สาธารณะเหล่านั้นไม่สร้างความเดือดร้อน

          2. ประชาชนขาดจิตสำนึกในการดูแลที่สาธารณะ คิดว่าไม่ใช่ที่ของตนจึงไม่ช่วยกันดูแล

          3. ประชาชนมีความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโชชน์ส่วนรวม 

           4. เกิดพฤติกรรมเรียนแบบ เห็นคนอื่นทำได้ก็ทำบ้าง จึงทำให้มีผู้บุกรุกรายใหม่เกิดขึ้น

เปรียบเทียบภาวะผู้นำของ Peter Drucker กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          Peter Drucker  กล่าวว่า " Managing is doing thing right , Leadership is doing the right thing" หมายความว่า การบริหาร คือ การทำงานให้เสร็จตามที่ต้องทำ แต่ ภาวะผู้นำ คือ การทำงานให้บรรลุเป้าหมาย จึงเป็นที่มาของผู้นำ ของ Peter Drucker 8ข้อ คือ เขามองไปที่ว่า ต้องทำอะไร แทนที่จะทำอย่างไร มีการพัฒนาแผนปฏิบัติการ มีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการติดต่อสื่อสาร มองหาโอกาสแทนที่จะดูแต่ปัญหา เน้นการทำงานเป็นทีม

          ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า " ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์ แต่สิ่งสำคัญ คือ การเรียนรู้ และสามารถฝึกฝนได้" น่จะเป็นที่มาของหลักการภาวะผู้นำของอาจารย์ คือ การจัดการกับวิกฤติที่เกิดขึ้นได้  การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง กระตุ้นคน แก้ความขัดแย้ง สร้างโอกาส  กล้าตัดสินใจ ทำงานเป็นทีม  บริหารความไม่แน่นอน

        สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองท่านก็คือ การมุ่งการทำงานเป็นทีมเหมือนกัน หมายความว่า ทั้งสองท่านเห็นว่าผู้นำที่ดีต้องรู้ว่างานจะประสบผลสำเร็จได้ ไม่ได้ขึ้นกับคนใดคนหนึ่ง แต่หมายถึงทุกคนในองค์กรต้องกันทำงาน ต้องมีเครือข่าย 

          สิ่งที่แตกต่างกันคือ ของ Peter Drucker จะมุ่งเน้นในเรื่องภาคธุกิจ และยังไม่สามารถปรับใช้กับภาวะการณ์ที่เป็นปัจจุบันมากเท่าที่ควร เน้นไปที่การทำงานของคนมากกว่าที่จะสร้างคน ส่วนของอาจารย์จีระ จะเห็นว่ามีความทันสมัยและปรับใช้กับทุกองค์กรมากกว่า เน้นไปที่การสร้างคนให้ทำงานมากกว่าที่จะสั้งให้คนทำงาน และที่เด่นชัดคือ การแก้ปัญหาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต ชึ่งของ Peter Drucker  ไม่ได้กล่าวไว้

บทเรียนจากการศึกษาดูงานโรงเรียนบ้านตะโกล่าง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

   

นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนของผอ.เฉลียว

จากการได้ไปศึกษาดูงานสถานศึกษาโรงเรียนบ้านตะโกล่าง และการสัมภาษณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่าน ผอ.เฉลียว พบว่า ท่านเป็น ผอ.ที่น่านับถือมาก นโยบาย Macro ที่ไม่สอดรับกับการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ไม่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาโรงเรียน และนักเรียนที่ท่านรัก ท่านได้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและนอกจากนี้ยังกล้าที่จะเข้าไปขอเสนอปัญหาที่พบในพื้นที่ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบปัญหาที่แท้จริง จนปัญหาได้รับการแก้ไข นอกจากนี้การเป็นผู้ใฝ่รู้ และการมีเครือข่ายสังคมทำให้การพัฒนาโรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียนร้อย เมื่อถามถึงนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ท่านยังยินดี ที่จะพัฒนาโรงเรียนให้ผ่านการประกันคุณภาพ ซึ่งยังติดขัดด้าน ผลสอบ O-net ซึ่งท่านไม่ได้โทษระบบ แต่มองว่าโรงเรียนมีโอกาสพัฒนาได้อีกต่อไปขอชื่นชมท่าน และขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระ และทีมงานที่ให้พวกเรา นศ.ป.เอก ได้มีโอกาสเรียนรู้นอกห้องเรียน ได้ประสบการณ์ดีๆ แนวทางการบริหารจัดการที่ดี

 

Execution  สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ 

Executionสาขาวิชาการจัดการคุณภาพที่ประสบผลสำเร็จ

หากวัดความสำเร็จตามตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัย และวิทยาลัย ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของสาขาวิชาการจัดการคุณภาพวัดตามผลปฏิบัติราชการประจำปี ตาม กพร. และวัดจากผลการประกันคุณภาพการศึกษา ของ สกอ.และ สมศ.

ถือว่าผลการปฏิบัติราชการของสาขาบรรลุผลสำเร็จตามเกณฑ์ที่กำหนด และนอกจากนี้ผลการประกันคุณภาพสาขา อยู่ในระดับ 4.74 จากคะแนนเต็ม 5 นั่นคือความสำเร็จ ของการบริหารจัดการของสาขาวิชา และยังมีคะแนนสูงที่สุดในคณะ

ส่วนที่ยังไม่ประสบความสำเร็จของสาขาวิชา คือ การพัฒนานักศึกษาให้ได้รับรางวัลในระดับชาติด้านการประดิษฐ์ คิดค้นนวัตกรรม ทั้งนี้ก็เป็นเรื่องของการพัฒนาบุคลากรทั้งผู้สอนและผู้เรียน ทั้งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะการคิดนวัตกรรมต้องมีความรู้เป็นพื้นฐาน มีความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดได้ ซึ่งก็สอดคล้องกับแนวคิดของอาจารย์จีระ คือต้องพัฒนาให้มีพื้นฐาน 8K’s และพัฒนา 5K’s เพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมให้สำเร็จในอนาคตต่อไป

เปรียบเทียบแนวคิดภาวะผู้นำด้านการบริหาร ของ ปีเตอร์ ดรัคเกอร์(Peter Drucker)

 กับ อาจารย์ ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ปีเตอร์ ดรัคเกอร์(Peter Drucker) ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์
1. มองเรื่องการบริหารที่เกี่ยวข้อกับมนุษย์ เป็นการทำให้มนุษย์สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยการดึงจุดแข็งของแต่ละคนมาใช้งาน2. จัดการปรับความแตกต่างของวัฒนธรรมของคนในองค์กร ที่มาจากหลากหลายวัฒนธรรม และหลอมสร้างเป็นวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันอย่างสงบและมีประสิทธิภาพ3. เป็นการจัดการเพื่อผูกมัดคนในองค์กรไว้กับเป้าประสงค์อันเดียวกัน และทำงานเพื่อภารกิจ (Mission) ที่ชัดเจนเดียวกัน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักหนึ่งของผู้บริหารที่จะต้องกำหนดภารกิจนี้ให้ชัดเจน และให้คนในองค์กรสามารถเข้าใจได้ตรงกัน

4. เป็นกิจกรรมที่เพิ่มพูนความสามารถ ศักยภาพของคนในองค์กร และตัวองค์กรเอง เพื่อให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม ทางธุรกิจ และทางเทคโนโลยีที่จะหรือกำลังเกิดขึ้น

5. นอกจากผลกำไรแล้ว ความสามารถทางธุรกิจจะต้องถูกมองจากคนภายนอก ว่าองค์กรมีประสิทธิภาพในการผลิตหรือให้บริการเพียงไร สินค้ามีคุณภาพดีหรือไม่ มีนวัตกรรมใหม่ๆของสินค้าหรือไม่ มีการพัฒนาบุคลากรในองค์กรอย่างไร เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก็เป็นหน้าที่ของการบริหารเพื่อให้ได้มา

6. การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่เป็นศาสตร์เพราะอาศัยความรู้ ภาวะผู้นำ และสติปัญญาในการทำงาน และที่เป็นศิลป์เนื่องจากต้องการการประยุกต์ความรู้ต่างๆ ไปใช้ในการทำงานจริง

ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย1. Context บริบทการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้สภาพแวดล้อมขององค์กรเอื้ออำนวยต่อการทำงาน การจัดองค์กรให้มีความเหมาะสม คล่องตัว ทำงานเป็นขั้นตอน ใช้ระบบสารสนเทศ IT เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ2. Competencies คือ การพัฒนาสมรรถนะในด้านต่างๆ แก่บุคคลในองค์กรให้มีความพร้อมในการทำงาน ได้แก่ ทักษะ หรือความรู้เพิ่มเติมในการทำงาน

3. Motivation การสร้างแรงจูงใจ เมื่อองค์กรน่าอยู่แล้ว คนมีศักยภาพ ต้องดูว่าเขามีแรงจูงใจในการทำงานอย่างเต็มที่หรือไม่ การสร้างแรงจูงใจแบบที่เป็นตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน ซึ่งวงกลมที่ 3 คือ การใช้หลัก PM-Performance Management ให้เกิดจริง

สรุปได้ว่า แนวทางการบริหารของนักวิชาการทั้งสองท่าน คือ การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อการแข่งขัน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

นลินี โสพัศสถิตย์

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม 2557 โดย นลินี โสพัศสถิตย์

อ้างอิง - Larry Bossidy & Ram Charan ; with Charles Burck. Execution : The Discipline of Getting Things Done.

สิ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาบริหารงานประสบผลสำเร็จในปีพุทธศักราช 2557

Ranking Web of World Universities อันดับ 1 ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

เหตุที่ประสบความสำเร็จเนื่องจากไม่เกิดช่องว่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับผลที่เกิดขึ้น (Gap between Promises and Results)

สิ่งที่คาดหวัง (Promises)


นลินี โสพัศสถิตย์

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม 2557 โดย นลินี โสพัศสถิตย์

อ้างอิง - Larry Bossidy & Ram Charan ; with Charles Burck. Execution : The Discipline of Getting Things Done.

สิ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาบริหารงานประสบผลสำเร็จในปีพุทธศักราช 2557

Ranking Web of World Universities อันดับ 1 ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

เหตุที่ประสบความสำเร็จเนื่องจากไม่เกิดช่องว่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับผลที่เกิดขึ้น (Gap between Promises and Results)

นลินี โสพัศสถิตย์

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม 2557 โดย นลินี โสพัศสถิตย์

ต่อ ...................................

ผลที่เกิดขึ้น (Results)

นลินี โสพัศสถิตย์

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม 2557 โดย นลินี โสพัศสถิตย์

ต่อ >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

สิ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาบริหารงานไม่ประสบผลสำเร็จในปีพุทธศักราช 2557

การประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เหตุแห่งความล้มเหลวด้านการประชาสัมพันธ์

อาจมาจากกลยุทธด้านการประชาสัมพันธ์ที่ใช้ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ในขณะที่ทรัพยากรด้านการประชาสัมพันธ์ก็อาจมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะทรัพยากรด้านบุคคล รวมทั้งอาจบกพร่องในการปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากไม่ลึกซึ้งว่ากำลังจะทำอะไร ? ทำอย่างไร ? และใครจะเป็นผู้ลงมือกระทำ ?

ดังนั้นส่วนหนึ่งผู้นำต้องพิจารณาภาพรวม แล้วประเมินขีดความสามารถขององค์กรว่าสามารถทำได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ ? และมีอะไรเป็นตัวชี้วัดว่าขณะนี้องค์กรก้าวหน้าไปถึงขั้นไหน ?และมีปัจจัยทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรใดบ้างที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแล้วเป็นอุปสรรคที่ทำให้องค์กรไม่สามารถประสบความสำเร็จตามที่วางแผนไว้ ?

ประเด็นหลัก 5ประการที่ผู้นำต้องทบทวน

1. การจัดลำดับการทำงานก่อนหลังและตารางการทำงานอย่างชัดเจน

2. การมอบหมายงานให้ถูกคน

3. การทบทวนผลการปฏิบัติงาน

4. การวัดผลการปฏิบัติงาน

5. ต้องสัมพันธ์กับตั้งแต่ข้อ 1-4

นลินี โสพัศสถิตย์

ส่งเข้าBlog ที่ http://www.gotoknow.org/posts/575039

เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม 2557 โดย นลินี โสพัศสถิตย์

การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของ Peter Drucker & ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ประเด็น


Peter Drucker

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
แนวคิด 1. Ask what needs to be done2. Ask what’s right for enterprise3. Develop action plans

4.Take responsibility for decision

5. Take responsibility for communicating

6. Focus on opportunities not problems

7. Run productive meetings

8. Think and say We not I

1. Crisis Management2. Anticipate Change3. Motivate others to be excellent

4. Conflict resolution

5. Explore opportunities

6. Rhythm & Speed

7. Edge(Decisiveness)

8. Teamwork

9. Change Management

ลักษณะการนำเสนอแนวคิด กำหนดการกระทำ (action) แนะแนวทาง
ความสอดคล้องกับกิจกรรมและโดเมน ค่อนข้างเจาะจงกับลักษณะกิจกรรมและโดเมน เนื่องจากบางองค์กร บุคคลอาจมีสถานะเท่าเทียมกัน ทำให้ผู้นำเป็นเพียงผู้ประสานงานเท่านั้น ครอบคลุมหลากหลายกิจกรรมและหลากหลายโดเมน
ความสอดคล้องกับระดับการบริหาร การบริหารระดับกลาง(เชิงกลวิธี)ถึงระดับปฏิบัติการ(เชิงปฏิบัติการ) การบริหารระดับสูง(เชิงกลยุทธ์)

ตารางเปรียบเทียบภาวะผู้นำของ Dr,Chira Hongladarom กับ Peter Drucker

Dr.Chira Hongladarom Peter Drucker
1.Crisis managementการจัดการภาวะวิกฤต 1.Ask what needs to be doneต้องถามตัวเองว่าอะไรสำคัญที่สุดในองค์กร 2.Ask what’s right for enterpriseบทบาทขององค์กรที่เหมาะสมในอนาคต 3.Develop action plansแผนปฏิบัติการอย่างไร
2.Anticipate changeการมีส่วนร่วมในความเปลี่ยนแปลง 5.Take responsibility for communicatingต้องมีการสื่อสารให้ชัดเจน
3.Motivate others to be excellentการกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม 7.Run productive meetingsเวลามีประชุมต้องประชุมอย่างสร้างสรรค์
4.Conflict resolutionการแก้ไขความขัดแย้ง -
5.Explore opportunitiesการสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น 6.Focus on opportunities not problemsมองโอกาสมากกว่าปัญหา อย่าตำหนิคนในองค์กร
6.Rhythm & Speedรู้จักใช้จังหวะ ความรวดเร็ว และความพอดี ในการตัดสินใจ -
7.Edge ( Decisiveness )กล้าตัดสินใจอย่างรวดเร็ว 4.Take responsibility for decisionมีความรับผิดชอบในการตัดสินใจ
8.Teamworkการบริหารการทำงานเป็นทีม 8.Think and say We not Iพูดว่าเราควรทำงานร่วมกัน
9.การบริหารความไม่แน่นอน -

จากตาราง ผมพยายามเทียบเคียงภาวะผู้นำในมุมมองของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ กับ ดร.ปีเตอร์ ดักเกอร์ ก็มองเห็นจุดเด่น ของทั้งสองท่านที่แตกต่างกัน ซึ่งในทัศนะของ ดร.จีระ ให้ความสำคัญของภาวะผู้นำที่อยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ใช้ศิลปะในการบริหารให้สอดรับกับสถานการณ์และบริบทขององค์กร มากกว่าศาสตร์หรือองค์ความรู้ด้านการบริหารของผู้นำ และเน้นการป้องกันภาวะวิกฤติที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับให้องค์กรมีเสถียรภาพและยั่งยืน

ส่วนทัศนะของ ดร.ปีเตอร์ ดักเกอร์ ให้ความสำคัญกับผลผลิตขององค์กร เน้นการใช้ศาสตร์หรือองค์ความรู้ในการบริหารมากกว่าการใช้ศิลปะ ให้ความสำคัญในการสื่อสารในองค์กร เน้นแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน รวมถึงบทบาทขององค์กรที่มุ่งผลผลิต

จากมุมมองของกูรูทั้งสองท่าน ผมคิดว่าการสร้างผู้นำในอนาคตที่มีศักยภาพสูงควรต้องเป็นผู้นำที่มีลักษณะแบบตะวันออกคือบริหารงานด้วยหลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา โดยมีองค์ความรู้และทฤษฎีการบริหารแบบตะวันตกมาเป็นแนวทางในการบริหาร ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและผลผลิตสูงสุดกับองค์กร สร้างทุนให้แห่งความสุข และองค์กรแห่งความสุข  หรือการบริหารแบบ “ศิลปะ นำ ศาสตร์” นั่นเอง

ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของตัวบุคคลว่า บุคคลนั้นมีความสามารถเป็นผู้นำได้หรือไม่

ผู้นำในความหมายของทุนมนุษย์คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีทัศนคติที่ดี มองการไกล มุ่งเน้นผลในระยะยาว และทำงานอย่างมีเป้าหมาย ซึ่งจะแตกต่างจาก ผู้บริหาร/ผู้จัดการ ที่จะทำงานเพื่อให้บรรลุผลเท่านั้น

ผู้นำนั้น มีอยู่หลายประเภท แต่สิ่งที่ผู้นำทุกประเภทสมควรที่จะต้องมี และถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ trust หรือความศรัทธาในตัวของผู้นำ ซึ่งสิ่งนี้เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

ทฤษฎี แนวคิดเรื่องภาวะผู้นำในปัจจุบันมีอยู่มากมาย ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างแนวคิดจากผู้ทรงความรู้สองท่าน ท่านแรกคือ Peter F. Drucker ซึ่งได้ให้แนวคิดเรื่อง ภาวะผู้นำไว้ 8 ข้อ สรุปได้ว่า ผู้นำที่ดี ต้องรู้ว่าต้องทำสิ่งใด และต้องเป็นสิ่งที่ใช่/มีประโยชน์ต่อองค์กร ต้องพัฒนาแผนการทำงาน ต้องมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ และสิ่งที่สื่อสารออกไป ต้องมองไปที่โอกาสโดยก้าวข้ามปัญหา เป็นผู้นำเพื่อให้การประชุมมีประสิทธิภาพและ ต้องให้ความสำคัญและให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วม

ส่วนท่านที่สองคือ ศ. จิระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งแนวคิดเรื่องภาวะผู้นำของท่าน มีอยู่ 9 ข้อ สรุปใจความได้ว่า ผู้นำที่ดี ต้องมีความสามารถในการจัดการกับวิกฤต การคาดการณ์อนาคต จะต้องกระตุ้นให้ผู้อื่นให้แสดงศักยภาพออกมาได้ ต้องมีความสามารถในการแก้ไขข้อขัดแย้ง และต้องสร้างโอกาสให้แก่ผู้อื่น ต้องรู้จักจังหวะ และความเร็วในการทำงาน ต้องกล้าในการตัดสินใจ ต้องทำงานเป็นทีม และมีความสามารถในการบริหารความไม่แน่นอน

ซึ่งจากแนวคิดจากทั้งสองทั้ง จะเห็นความจุดร่วมที่คล้ายคลึงกัน จะอยู่ที่เรื่องของการทำงานเป็นทีม แต่ในส่วนอื่นมีความแตกต่างกัน ซึ่งในแนวคิดของ Peter f Drucker จะมุ่งเน้นไปที่ตัวของผู้นำที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับผู้บริหาร คือ จะต้องบริหารจัดการกับงานที่มีอยู่ โดยแยกไปตามกระบวนการและขั้นตอนของการทำงาน แตกต่างกับแนวคิดของ ศ. จิระ หงส์ลดารมภ์ ที่จะมุ่งเน้นที่การจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังป้องปราม/แก้ไขปัญหา และการพัฒนาบุคลากรด้วย ซึ่งแนวคิดทั้งสองนั้น มีประโยชน์ต่อการเป็นผู้นำอย่างแท้จริง

ในการบริหารจัดการองค์กรนั้น ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งแนวทางในการแก้ปัญหานั้น ผู้นำจะเป็นส่วนสำคัญที่จะชี้ขาดว่าองค์กรจะผ่านปัญหาไปได้หรือไม่ ซึ่งแนวคิดเรื่องภาวะผู้นำ เป็นแนวคิดที่เกิดจากการตกผลึกของแนวคิดในการจัดการ/แก้ไขปัญหา เช่นการคาดการณ์อนาคต การบริการความเสี่ยง/ความไม่แน่นอน การทำงานเป็นทีม การตัดสินใจ ดังนั้น การที่องค์กรจะอยู่รอด ประสบความสำเร็จ ส่วนประกอบสำคัญอย่างยิ่งที่เป็นตัวแปรคือผู้นำที่มีศักยภาพ

Execution ในองค์กร

หนังสือ execution เป็นหนังสือที่กล่าวถึงการบริหารจัดการองค์กร ให้ประสบความสำเร็จ โดยยกเคสตัวอย่างจากบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริการ โดยเป็นช่วงที่บริษัทต่างๆ ตกอยู่ในปัญหาการล้มเหลวจากการบริหารงาน จนผู้บริหารต้องลาออกหรือโดยไล่ออกเป็นจำนวนมาก

โดยแนวคิดที่ให้นั้น มีหลักการในการบริหารงานเพื่อไปสู่ความสำเร็จ โดย focus ไปที่ผู้นำ กล่าวถึงคุณสมบัติที่ควรมี และไม่ควรเป็น และแนะแนวทางในการเลือกคนที่เหมาะสมกับงาน

ในส่วนของการรถไฟฯ ซึ่งเป็นองค์กรที่เก่าแก่ มีความหลายหลายในองค์กร ทั้งด้าน วิศวกรรม พาณิชย์ โยธา อสังหาริมทรัพย์ และการบริการ ซึ่งในการบริหาร จำเป็นต้องมีผู้นำและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่ตรงกับงานที่รับผิดชอบ และต้องมีความรู้ในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้น

ซึ่งพนักงานและผู้บริหารขององค์กรนั้น รู้จักตนเอง และหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบเป็นอย่างดี อีกทั้งองค์กรยังมีการมอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานที่อุทิศตนแก่องค์กร

อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยระบบราชการที่ผ่านมาอาจทำให้พนักงานขาดความมุ่งมั่ง หรือกระตือรือล้นในการทำงาน ทำให้องค์กรเดินหน้าไปในความเร็วที่ช้ากว่าที่ควร แต่หากมีผู้นำที่สามารถกระตุ้นพนักงานในองค์กรได้ ในอนาคตองค์กรจะสามารถเดินหน้าได้อย่างแข็งแรงและมั่นคง

นวัตกรรมของโรงเรียน บ้านตะโกล่าง

โรงเรียนบ้านตะโกล่าง นั้น ท่าน ผอ.เฉลียวได้นำนวัตกรรมการจัดการมาใช้ในการบริหารโรงเรียน

โดยนำปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ใช้กับการบริหาร เช่นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพึงตนเอง อีกทั้งท่าน ผอ. ยังมีความใฝ่รู้ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะนำความรู้มาใช้ในการพัฒนาโรงเรียน ถึงแม้ว่า จะมีปัญหาอุปสรรคต่างๆ เกิดขึ้น ทั้งด้านเงินทุน นโยบาย ฯลฯ ท่านผอ. ก็ได้นำกลยุทธ์ต่างๆ ในการบริหาร มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ลุล่วงผ่านพ้นไปได้

อีกทั้งส่วนของการศึกษา นโยบายของโรงเรียนบ้านตะโกล่าง ที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน และได้ปรับให้เข้ากับเด็ก ทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

แนวทางการบริหารจัดการของโรงเรียนบ้านตะโกล่าง เป็นแบบอย่างที่ดีของโรงเรียน ที่สามารถนำไปเป็นแบบอย่างได้

ทีมงาน Chiraacademy

  • - สัปดาห์นี้อยากให้อ่านหนังสือพิเศษ และช่วยกันอ่าน How to think like Einstein ของ Daniel Smith ความคิดคล้ายๆกัน มีคนแนะนำหนังสือมาก ขอให้อ่านกันคนละบท และมานำเสนอในสัปดาห์หน้า จะมีการให้คะแนนด้วย จากการนำเสนอในครั้งนี้
  • -กำหนด เรียงลำดับ 1 -5 คือ
  • -1. Be Curious
  • -2. How to read like Einstein
  • -3. Thing Even Bigger
  • -4.Five things They Said About Einstein
  • -5.Swim Against the tide
  • -สัปดาห์หน้า ไปเยี่ยมเอเชียบุ๊คส์ และคิโนคุนิยะ และคุยกับที่ร้าน การเลือกหนังสือ และวิธีการอ่านของอาจารย์จีระ
  • -ซื้อหนังสือจากเอเชียบุ๊คส์ แนะนำหนังสือ มีการถ่ายทีวี ในครั้งนี้ว่าพานักศึกษา ป.เอกไปร้านหนังสือ และ นำเสนอเรื่องหนังสือด้วยในวันนั้น
  • -จากการเก็บข้อมูลมา ส่วนใหญ่จะเป็น ผู้หญิง 73 %
  • -ข้าราชการประจำกับพนักงาน คะแนนเฉลี่ยของความสุข ไม่แตกต่าง ข้าราชการ จะมีระดับ 4 – 10 เฉลี่ย อยากรู้คะแนนเฉลี่ย แตกต่างกันหรือไม่ จำนวนของข้าราชการ ได้คะแนนเฉลี่ย ที่ 4.59 และจำนวนของพนักงาน ค่าเฉลี่ยที่ 4.8
  • -ถ้าไม่มีข้อมูลออกมาในแบบสอบถาม ก็ไม่มีหลักฐาน ต้องมีข้อมูลออกมา
  • -โครงการ คนขับประจำรถขยะ เฉลี่ย ที่ 7.3 เจ้าของโรงงาน เจ้าของธุรกิจ 7.5 เหตุผลอาจจะเนื่องจากคนขนขยะ ไม่มีความรู้ ต้องเสริมประเด็นเพิ่ม เพราะอันนี้แค่ขั้นต้น ต้องมีเหตุผล ว่าไม่มีความสุขอย่างไร มีพิเศษรับเงินจากการคัดขยะ ดีกว่าวินมอเตอร์ไซต์รับจ้าง
  • -อย่าเครียด อย่าคาดหวังสูงเกินไป ทั้งหมดคือค่านิยมของคนไทยที่ไม่มี เจออะไรก็ตะบะแตก ไม่มีทุนทางอารมณ์ มาจากศาสนาพุทธ คือธรรมะ นั่นเอง
  • -สำรวจกลุ่มหมอนวด สำรวจอาชีพเดิมกับอาชีพปัจจุบัน ใช้ที่กรมฯเป็นหมอนวดแผนไทย เฉลี่ย 35 ระดับการศึกษาปริญญาตรีส่วนใหญ่ ซึ่งดูถึงว่าได้รับการนิยมมากขึ้น สถานะภาพโสด ไม่มีบุตร อาชีพเดิมค่อนข้างกระจาย ส่วนใหญ่คืออาชีพรับจ้าง
  • -ควรเขียนมาว่าอาชีพเดิมคืออะไร เขียนว่าจะทำต่อ มาจากไหนบ้าง? ผู้หญิงที่ทำงานอย่างเดียว 8 ชั่วโมง มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเยอะ อากาศไม่ดี มีกลิ่น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
  • -จากที่ศึกษา ต้องไปทำต่อ กลุ่มผู้จัดการ ผู้จัดการฝ่ายขนส่งสินค้า รับราชการที่เกษียณแล้วและวิศวกร มาเป็นหมอนวด ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ว่าทำไมมาทำอาชีพนี้
  • -ถามย้อนหลังกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วว่า มีความสุขมากน้อยแค่ไหน
  • -อ.จีระ เราต้องคิดทำงานร่วมกัน ทำเวลาที่เหลือให้มีคุณค่า ต้องมีการถกเถียงกัน อาชีพเดิมมีอะไรบ้าง
  • -อ.จีระ ทดสอบว่าใครมีความสุขมากที่สุดและสูงขึ้น เช่น เรื่องการเมือง มันขึ้นอยู่ที่ผลประโยชน์ของประชาชน การสร้างค่านิยมผิดๆ ทำไมถึงไม่เปลี่ยน ค่านิยม เป็นต้น
  • -คุณสร้อย สร้างคนของเราให้สนใจและรักทางนี้ และใครที่สนใจก็เข้ามาเรียน และส่งออกไปอาจารย์สอนข้างนอก
  • -มีหลักสูตร เช่น สำนักงานพัฒนากำลังคน ที่ฝึกและพัฒนาคน ที่กรมฯกำลังทำ
  • -อ.จีระ คนเราต้องปล่อยวาง อย่าเครียด เราต้องบริหารให้เกิดความสุขขึ้นมา
  • -คุณสร้อย Micro คือการทะลุออกไปได้ ควรจะบรรจุอยู่ในกระทรวงศึกษาฯ มีเป็นศาสตร์ของคนไทย สอนเด็กให้ความสุขให้กับตัวเองและคนอื่น
  • -อ.จีระ นอกจากนวดต้องออกกำลังกายด้วย มีเวลาก็เดินให้เหงื่อออก ไม่ใช่ใช้แค่เครื่องออกกำลังกายอย่างเดียว ครั้งหนึ่งเคยบ้าทำงาน และกลับมาใช้ชีวิตทุนแห่งความสุข จะทำให้เราดีขึ้น พูดอย่างมีเหตุผล ต้องมีการควบคุมอารมณ์
  • -เหตุผลส่วนใหญ่ คือความรักในอาชีพ อิสระในการทำงาน เป็นที่ยอมรับของคนอื่น และที่ตามมาเรื่องค่าตอบแทน
  • -อ.จีระ อาชีพที่ไม่มีความสุขคือ อาชีพหมอฟัน แต่จะมีความสุขคือ จากลูกค้า ที่ชมหมอ ในการรักษามากกว่า
  • -วันที่ 23 เชิญมหาวิทยาลัยทั้ง 3 ม.มาและผมจะพูดเรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ มันเป็น Habit ในการหาความรู้ มีความสุขที่ได้รู้สิ่งใหม่ๆ สะสมไว้ข้างใน และวันนึงมันจะเกิด Value ได้แน่นอน อาจจะยังไม่เกิดในทันที ตรงนี้อยากให้มีการทำวิจัยมากขึ้น มาจากวัฒนธรรมการเรียนและมาจากตัวเราเสียก่อน คือ การอยากรู้อยากเห็นด้วยตัวเอง
  • -ช่างเสริมสวย ช่างตัดเสื้อ พื้นที่กระจาย ไม่กระจุก คือ เทเวศร์ สีย่าน วงศ์สว่าง บางแค อาจจะมีความสุขไม่เท่ากัน ผลคือ ความสุข ในกลุ่มนายจ้างและลูกจ้าง นายจ้างจะมีความสุขอยู่ในระดับ 9 – 10 ลูกจ้าง อยู่ในระดับ 5 -6 ส่วนใหญ่คนที่จะทำอาชีพนี้คือ เขามีความรักในอาชีพ อยากทำในเรื่องนี้ อยากทำอาชีพนี้ รักในอาชีพนี้ ปัจจุบันร้านตัดเสื้อน้อยลงเพราะ เกิดจากการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป ราคาถูกเอง ลูกจ้างเมื่อเก่งในการตัดแล้วก็ลาออกไป เปิดร้านเอง
  • -อ.จีระ ที่จะชมเชยคือ ไม่มีอะไรง่าย ในการเก็บข้อมูล ต้องมีความอดทน นี่คือประสบการณ์ของแต่ละคน ถ้าเราถามด้วยตัวเราเองมันคือประสบการณ์ หลักการนี้มันจะติดตัวเราไปตลอดชีวิต อยากให้ถ่ายทอดให้ฟัง และได้เกิดขึ้นในรุ่นที่ 8 มันคือการมีความรู้ใหม่ คือมีตัวแปรตาม ว่าจะอธิบายอะไร อย่ายึดตัวแปรเดิมๆ ข้ามศาสตร์ ต้องมีส่วนร่วมด้วยกัน
  • -นอกจากได้ข้อมูลแล้ว ได้มากกว่าข้อมูล เช่น การไปตัดผมเพื่อแลกกับข้อมูล ซื้อของ จากที่เคยได้รับข้อมูล และนำมาประมวลเลย แต่ได้ลงไปพื้นที่เอง
  • -อ.จีระ เป็นตัวอย่างที่ดีมาก ต้องขยายแบ่งปันกัน เราต้องใจกล้าหน้าด้าน ในการไปหาข้อมูล
  • -ผลคือ รายได้ดีมาก กลุ่มที่เป็นนายจ้าง รักในอาชีพของตัวเอง คิดว่าอาชีพมันคง กลุ่มลูกจ้างทั้งสองอาชีพ มีความสุขน้อยเพราะไม่รู้จะทำอะไร ดีกว่าอยู่ว่างๆ
  • -พนักงานคนขับรถไฟ และคนทำความสะอาด อาชีพคนขับรถไฟ ต้องมีการฝึกจากโรงเรียนวิศวะรถไฟ ตั้งแต่จบ ม.3 ตอนนี้รับวุฒิ ปวช. คนขับรถไฟ จะมี 2 แบบ รถขับสินค้า และค่อยมาเป็นขับรถโดยสาร เป็นกลุ่มชำนาญแล้ว อยู่ในระดับ 8 อายุ 40 ปีขึ้นไป ทำงานมานาน เงินเดือนเยอะ
  • -อ.จีระ ไม่ขัดข้อง ที่ความสุขเขาจะเยอะ ความผูกพันในองค์กรดี มั่นคงในการทำงาน ค่าตอบแทนสูง
  • -ความมั่นคง อิสระในการทำงาน ควบคุมกระบวนรถทั้งหมด พนักงานทำความสะอาด เป็นกลุ่มที่รับงานสัมปทาน มา ค่าเฉลี่ยคือ 6 ส่วนใหญ่เป็นพนักงานลูกจ้าง รับงานต่อจากรถไฟมา ไม่ค่อยตอบ ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และความมั่นคงและความไม่แน่นอนในอาชีพ ผลจึงออกมาต่ำ
  • -คุณสร้อย เป็นการบ้านที่นักศึกษาไปพัฒนาเพื่อไปในทิศทางเดียวกัน ตามที่ อ.จีระแนะนำ
  • -อ.จีระ ควรเอาทฤษฏีมารวมมาอันไหนมีส่วนคล้าย และเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อให้เป็นทฤษฎีกระเด้ง มันคือการเพิ่มเติมจากความรู้ ได้ความรู้ใหม่ เมืองไทยอารมณ์แบบนี้ยังไม่พอ ต้องชัดในประเด็น ต้องชัดเจนแล้วถึงกระเด้งได้ เป็น Step เป็น Process ทาง Productivity วัดกันได้หรือไม่ เป็น Intangible ความคิดสร้างสรรค์ ความจงรักภักดี นวัตกรรม เราจะวัดกันอย่างไร คุณธรรม จริยธรรม มันอยู่ข้างใน เราต้องให้ข้างในสะอาดเสียก่อน ต้องปะทะกัน เราต้องลดสิ่งเหล่านี้ลง ชีวิตเราจะมีคุณค่าเอง เราต้องเปลี่ยนชีวิต เพื่อให้ข้างในบริสุทธิ์ เราต้องค้นหาตัวเราเองให้เจอ intangible คือการวัดออกมาเป็นปริมาณไม่ได้ สังคมไทยบ้าเรียนได้ แต่อยู่ที่วิธีการเรียน ว่าจะนำมาใช้ได้อย่างไร
  • -คุณอารีรัตน์ เท่าที่ดูประสบการณ์ ที่ผ่านมา ถ้าลงแค่ครั้งเดียวคงยังไม่ได้ผล ต้องลงพื้นที่ แต่ละที่ ควรมากกว่า 3 ครั้ง ต้องทำความคุ้นเคยกับเขา ส่งจดหมายอย่างเดียว หรือแค่โทรไปขอข้อมูลคงไม่ได้ผล อุตสาหกรรมยางรถยนต์ ไประยอง ปราจีน สมุทรสาคร ทั้งหมด 11 แห่ง ไปด้วยตัวเองทุกครั้ง ไปติดต่อและเก็บข้อมูล สัมภาษณ์ และออกแบบสอบถาม ต้องมีความอดทน ในการเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง ให้เขาได้แสดงความคิด และแสดงข้อมูลต่างๆออกมาให้ได้มากที่สุด
  • -อ.จีระ ร่วมกันทำสักครั้งนึง เลือกของคนใดคนหนึ่งเพื่อเจาะลึกในการทำครั้งนี้ มันต้องมีการฝึก เพื่อให้เกิดความชำนาญและมีประสบการณ์ เพื่อให้เกิดความกระเด้งในรุ่น 8
  • -คุณอารีรัตน์ ดุษฏีนิพนธ์ ตัวที่สามารถทำแล้ว ต้องเป็นธุรกิจหรือหน่วยงานที่รู้จริง เรื่องการทบทวนวรรณกรรม อ่านงานวิจัยและบทความ ที่เกี่ยวข้องกับงานของเรา มันจะทำให้งานของเราง่ายขึ้น และค่อยไปวัตถุประสงค์ ต่างๆ เริ่มความชัดเจนของงานมากขึ้น จะทำให้งานของเราเร็วขึ้น ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน หาแหล่งข้อมูลให้มันง่ายขึ้น อยู่ที่ตัวผู้เรียนทั้งสิ้น ตัวเองต้องเป็นที่พึ่งของตัวเอง ตัวแปรต้นคือ ใช้ 8K's , 5K's ของ อ.จีระ ความสัมพันธ์การทำงาน การรักในการทำงาน สภาพแวดล้อม ความจงรักภักดี ผลในการทำงานก็จะตามมา ตั้งสมมุติฐานไว้ 15 ตัว และมี 8 ตัว
  • -อ.จีระ ในการพึ่งวรรณกรรม ต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัย หาช่องสู่ความเป็นเลิศ Add ในสิ่งที่เราเรียนรู้ในห้องเข้ามาด้วย ต้องคิดวิทยานิพนธ์ตั้งแต่วันนี้ รู้องค์กรที่จะเก็บข้อมูลจริงหรือไม่ หลักๆ น่าจะเป็น เรื่อง Networking คุณธรรม จริยธรรม ก็น่าสนใจ
  • -คุณอารีรัตน์ การวัดความสุข ในที่ทำงาน มีความสุขในการทำงานส่วนตัว มีการแบ่งใน 5 ระดับ เกณฑ์แต่ละตัวมีเหตุผล ในการนำมาใช้แตกต่างกัน

โครงการปริญญาเอก วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รุ่นที่ 8

30 พฤศจิกายน 2557

หลังจากอ่านบทความองค์กรแห่งความสุข ของรศ.ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต ให้เปรียบเทียบ Happiness capital กับ Happiness workplace

อ.จีระ: ลองคิดว่าทำไม Happiness capital ถึงมีความสำคัญ

- การทำงานต้องมี Passion มี Purpose และต้องมี Capability ด้วย

- ต้องทำงานด้วยความสุข ต้องมีการให้ Empowerment และต้องให้ Autonomy ด้วย

กฎในการสร้างทุนแห่งความสุขของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Happiness Capital

(Dr. Chira Hongladarom's Model)

Happiness Capital

(Sharp/Hongladarom's Model)

1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม

(Healthy)

2. ชอบงานที่ทำ

(Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน

(Purpose)

4. รู้ความหมายของงาน

(Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ

(Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา

(Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม

(Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว

(Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม

(Coaching)

10. ทำงานที่ท้าทาย

(Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า

(Enrichment)

1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

(Exercise)

2.อย่าแบกงานที่หนักเกินไป

(Put down your burden)

3. ศักยภาพในการถ่ายทอดในงาน

(Communicate Effectively)

4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง

(Recognize your strengths)

5. มุ่งมั่นในงาน

(Keep Focus)

6. ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ

(Reduce the 'shoulds')

7. ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้าย ๆ กัน

(Clarify your values)

8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล

(Overcome worry and stress)

9. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง

(Refine your workload)

10.ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน

(Choose your words)

11.สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน

(Create good environment)

คำถาม

1. Happiness capital ใน paper นี้อยู่ที่ไหน

2. วัดHappiness capital อย่างไร แตกต่างจากของเราอย่างไร

3. มีวิธีปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

อ.จีระ: บรรยากาศในการทำงาน กระตุ้นให้คนทำงาน ถ้ามี Passion แต่บรรยากาศในการทำงานไม่ดี สังคมไม่ดี มันก็คือ Happy workplace ซึ่งเป็นการเก็บเกี่ยว ก็คือ ทฤษฎี 3 วงกลม

ทฤษฎี 3 วงกลม

ตัวที่ 1 Context เป็นบริบทที่ดีขององค์กร การบริหารจัดการแบบสั้น ๆ แล้วผู้บริหารมีหลักธรรมาภิบาลก็จะดี แต่ส่วนใหญ่อุปสรรค คือ เรื่องข้อจำกัด และกฎระเบียบองค์กร

ตัวที่ 2 Competencies เป็นเรื่องทุนมนุษย์ ที่ใช้ในองค์กร เป็นการปลูกระดับ Micro เพราะ Competency สร้างในองค์กร

ตัวที่ 3 Motivation เป็นเรื่องของการเก็บเกี่ยวจริง ๆ แรงจูงใจทำให้คนอยากทำงานอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ

ความสุขของคนทำงาน ใน Paper ของอ.ศิรินันท์ คือ

  • -ประสบการณ์ และความรู้สึกของคนทำงานที่ต้องการให้ตนเป็นที่ยกย่อง
  • -การทำงานที่มั่นคง
  • -การมีผู้บังคับบัญชาที่มีความเมตตากรุณา
  • -การได้รับสวัสดิการที่พอเพียง
  • -การมีเพื่อนร่วมงานที่จริงใจ

แต่อ.จีระ แย้งว่า ความสุขของคนทำงานของอ.ศิรินันท์ ยังไม่พอเพียง เนื่องจากยังขาด Meaning

  • -ทุกวันนี้บริษัทใหญ่ของต่างประเทศ จะนำเรื่องการทำสมาธิ โดยเน้นเรื่องดาไล ลามะ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ท่านว.วชิรเมธี ท่านประยุทธ์ ปยุตโต ท่านพุทธทาส มีความสามารถเท่าเทียมกันหรืออาจจะมากกว่า แต่ที่ไม่เป็นที่รู้จักระดับโลกเพราะไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ เลยไม่มีชื่อเสียงเท่าท่านดาไล ลามะ
  • - Google เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมาก เนื่องจากผู้บริหารใช้คนเป็น และมีวิธีการบริหารจัดการที่ดีมาก

ก่อนที่จะมี 3 วงกลม ต้องคำนึงถึงเรื่อง Corporate strategy (เป้าหมายองค์กร) ก่อน

หลังจากนั้น ต้องดูเรื่อง Execution และต้องมีผู้นำที่บริหารจัดการองค์กรเป็น

  • -ด้วยการทำงานแบบวิ่งแนวนอน ไม่ใช่การวิ่งแนวตั้ง ต้องวิ่งเข้าหากัน ออกจากไซโลของตัวเอง
  • -ข้อดีของผู้นำ คือ การมองลงมาถึงปัญหา และต้องแก้ไขให้เป็น

อ.สร้อยสุคนธ์: Happy at home ไปสัมภาษณ์หนังสือประชาชาติวารสาร พบว่าคนที่ประสบความสำเร็จ ต้องให้ความสำคัญกับครอบครัวด้วย

  • อ.จีระ: ปัจจุบันทุนมนุษย์ต้องให้ความสำคัญในเรื่อง
  • - เรื่อง Aging population ใครทำเรื่องนี้ดีมาก
  • - Migration
  • - Role of women ต้องบริหารคนตั้งแต่ก่อนมีครรภ์ ต้องมีการวางแผน
  • งานวิจัยพบว่าพ่อ แม่ ที่เครียดมากๆ ลูกออกมาเป็นออทิสติก
  • -ทำอย่างไรให้การพัฒนาคนที่เป็น Supply side เป็นความต้องการของอนาคต

อ.สร้อยสุคนธ์ : คุณภาพของคนเลี้ยงเด็กไม่ดี เป็นความทุกข์ ส่งผลต่อสังคม เพราะความผูกพัน ระหว่างพ่อแม่ลูกน้อยลง สนใจเรื่องการวิจัยที่สะท้อนปัญหาในสังคม

อ.จีระ: เรื่องทุนมนุษย์ ต้องเน้นเรื่องความหลากหลาย จัดการอย่างไร ทั้งเรื่องศาสนา เรื่อง Generation gap ปริญญาเอก หากค้นพบเรื่องอะไร ก็เผยแพร่ออกไปข้างนอกด้วย

การเรียนปริญญาตรีมีจำนวนมาก มุ่งแต่สิ่งที่เราเห็นว่าจำเป็น ว่าเรียนอย่างไรให้จบ มากกว่าที่จะคิดว่าเรียนเพื่อค้นหาตัวเอง เมื่อเราสามารถค้นหาตัวเองได้เมือไหร่ก็จะประสบความสำเร็จ

การที่จะประสบความสำเร็จ ต้องมีประสบการณ์ความเจ็บปวดก่อน

การเรียนยุคใหม่ ไม่ได้เป็นการ Transfer ความรู้ เพราะสมัยนี้สามารถหาความรู้ได้ง่ายขึ้น แชร์ประสบการณ์กัน ต้องอ่านหนังสือโดยการสร้างเป็น Habit ที่ดี ย้ำบ่อยๆ จนกลายเป็นปัญญา

ตอบคำถาม

1. Happiness capital ใน paper นี้อยู่ที่ไหน

- เห็นว่ายังไม่ Relevance

อ.จีระ: ยังไม่ได้กระเด้งออกมาจาก Human capital

2. วัดHappiness capital อย่างไร แตกต่างจากของเราอย่างไร

- มีการใช้กฎ 11 ข้อ แต่ไม่ชัดเจน

3. มีวิธีปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

- แยกตัวชี้วัดเหล่านี้ และต้องให้เห็นเป็น Pattern ว่าปลูกแล้วจะเก็บเกี่ยวอย่างไร

- แนวทางในการวิจัยต้องปรับปรุง เพราะไม่จำเป็นต้องเอาทั้ง 2 กลุ่มมารวมกัน เพราะผลที่ออกมาไม่เป็นตัวเดียวกัน จึงคิดว่าควรวัดความแตกต่างกัน

อ.จีระ: วัดจาก Happiness at work ก่อน แล้วค่อยไปวัด at home

อ.สร้อย: บทความนี้ยังละเอียดอ่อนในความคิดคน ซึ่งคำตอบในการแยกส่วน at work

at home แล้วค่อยมารวมกันดีกว่า

อ.จีระ: คะแนนที่ออกมาต่ำ เนื่องมาจาก อิทธิพลทางการเมือง ช่วงหลังคนมีความสุขมากขึ้นเพราะลดขั้นตอนและเวลาในการเดินทาง เห็นว่าปัจจุบันนี้คอนโดในกรุงเทพเกิดขึ้นมาก

อ.สร้อย: งานวิจัยจำเป็นหรือไม่ที่ต้องเอาทั้ง 2 ปัจจัยมารวมกัน

อ.จีระ: ส่วนใหญ่เป็น Happy workplace แต่ส่วนใหญ่ Work load มาเกินไป เป็นปัญหาทำให้เกิดความเครียด ทั้ง 2 ตาราง ของอาจารย์ไม่มีเรื่องความเครียดในการทำงาน

การทำงานในอนาคตต้องมีการแบ่งหน้าที่กัน และเมื่อแบ่งแล้วต้องฝึกไม่ให้บ้าอำนาจมากเกินไป

สสส. ยังอ่อนเรื่องพื้นฐานของ Human capital ไม่แข็งเรื่อง Behavioral basic science

อ.จีระ: Happy workplace เป็นนโยบาย ซึ่งอาจจะกระทบ Individual มาก

คุณอารีรัตน์: ต้องแยกตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน

อ.จีระ: Happy workplace และ Happiness at work ต้องระวังการดึงคะแนนจาก Happy workplace ซึ่งเป็น Individual ไป ต้องแยก Passion กับบรรยากาศในการทำงานให้ได้

การทำแบบสอบถามอีกครั้ง ต้องแยกออกมาให้ชัดเจน ระหว่างตัวบุคคล และ ตัวบุคคลกับอิทธิพลขององค์กร

วันที่ 14 ธันวาคม มีโครงการทำวิจัยร่วมกัน กับมรภ.ทั้ง 3 แห่ง ซึ่งอาจจะมีแนวทางเรื่องการทำเรื่องทุนแห่งความสุข

อ.สร้อย: innovation เป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิด Happiness capital ได้หรือไม่

อ.จีระ: ถ้าเรามีความสุข โอกาสที่คิดนอกกรอบสูง หรือถ้าเรามี Innovation ก็จะทำให้มีความสุขในการทำงานได้

เรื่อง 8K ต้องมาก่อน 5K คุณธรรม จริยธรรม ต้องมาก่อนความเป็นเลิศ

Happiness และ Innovation ก็น่าจะไปได้ หรือ คนที่มี passion ก็น่าจะมี Innovation ก็เป็นไปได้ ดังนั้น ควรตั้งเป็นสมมติฐาน

วิจารณ์หนังสือเรื่อง How to think like Einstein think even bigger

คุณดิเรก: ได้อ่านบท Curious

  • -เป็นคนที่อยู่นอกกรอบ
  • -ทิ้งสัญชาติเยอรมัน ไปอยู่อิตาลี
  • อ.นลินี บท Think even bigger
  • -คิดการใหญ่ทางวิทยาศาสตร์
  • -ตั้งใจทำสิ่งต่างๆ
  • -ไม่ลดละความพยายาม

อ.จีระ: บทเรียนจากการอ่านต้อง Think big มีความอยากรู้อยากเห็น ใฝ่รู้ และมีเครือข่าย เรียนหนังสือ

  • คุณวัฒนศักดิ์
  • สิ่งที่ Einstein อ่านในหนังสือพิมพ์ คือ เลือกอ่านสิ่งที่สนใจ

อ.จีระ: Einstein อ่านทุกชนิด การอ่านที่ถูกต้องคือ อ่านสิ่งที่เราสนใจ อยากรู้อยากเห็นในเรื่องนั้นๆ

ปัญหาของนักวิทยาศาสตร์ในเมืองไทย คือ มีแต่ Science base

จากหนังสือ How to Think Like Einstein

Five Things They Said About Einstein

"มองผ่านการทำงานของ Albert Einstein ผู้ซึ่งมีความคิดที่เกินขอบเขตของมวลมนุษย์ชาติ
ทำให้โลกอันสวยงามของเรา ได้บรรลุถึงความมีเอกภาพและความสามัคคีอย่างที่ไม่เคยนึกฝันนมาก่อน"

Niels Bohr นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก

"Einsteinเป็นหนึ่งในนักทฤษฎีฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล แม้ว่าเขาจะไม่ได้เขียนถึงทฤษฎีความสัมพันธ์ไว้แม้เพียงบรรทัดเดียว"Max Born นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน

"ท่ามกลางมวลมนุษย์ในศตวรรษที่ 20 Einstein ผสมผสานความพิเศษระดับสูงที่ไม่ธรรมดาผ่านการกลั่นกรองด้วยสติปัญญา การหยั่งรู้และจิตนาการซึ่งไม่ค่อยมีเกิดขึ้นแต่ที่เมื่อใดก็ตามที่ทุกอย่างมารวมตัวกันพร้อมกัน มวลมนุษย์เรียกว่า"อัจฉริยะ"แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ อัจฉริยะนี้ จะปรากฏในสาขาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 20ความเจริญรุ่งเรืองที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และที่สำคัญเกิดจากการเจริญทางเทคโนโลยี -Whittaker Chambers นักเขียนชาวอเมริกัน

"ไม่มีมนุษย์คนอื่นๆ ให้การสนับสนุนต่อการขยายใหญ่ขององค์ความรู้ในศตวรรษที่ 20 ยังไม่มีคนอื่นๆ เป็นไปมากกว่าการเจียมเนื้อเจียมตัวโดยไม่แน่ใจว่าพลังงานที่เกิดจากภูมิปัญญาอาจเป็นอันตรายได้Einstein เป็นตัวอย่างที่อธิบายด้านความสามารถในการคิดสร้างสรรค์สุดขั้วอันยิ่งใหญ่ของส่วนบุคคลในสังคมเสรี -PrsidentDwight DavidEisenhower ประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา

"เขาเป็นคนที่ร่าเริง มั่นใจและสุภาพ มีความเข้าใจถึงหลักของจิตวิทยา เหมือนที่ผมปฏิบัติการด้านฟิสิกส์และอื่นๆที่พวกเรามีการสนทนากันอย่างถูกใจ" - Sigmund Freudนักจิตวิทยา

จากหนังสือHow to Think Like Einstein

5 สิ่งที่พวกเขากล่าวถึงเกี่ยวกับไอน์สไตน์

Five Things They Said About Einstein

"มองผ่านการทำงานของ Albert Einstein ผู้ซึ่งมีความคิดที่เกินขอบเขตของมวลมนุษย์ชาติ
ทำให้โลกอันสวยงามของเรา ได้บรรลุถึงความมีเอกภาพและความสามัคคีอย่างที่ไม่เคยนึกฝันนมาก่อน"

Niels Bohr นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก

"Einsteinเป็นหนึ่งในนักทฤษฎีฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล แม้ว่าเขาจะไม่ได้เขียนถึงทฤษฎีความสัมพันธ์ไว้แม้เพียงบรรทัดเดียว"Max Born นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน

"ท่ามกลางมวลมนุษย์ในศตวรรษที่ 20 Einstein ผสมผสานความพิเศษระดับสูงที่ไม่ธรรมดาผ่านการกลั่นกรองด้วยสติปัญญา การหยั่งรู้และจิตนาการซึ่งไม่ค่อยมีเกิดขึ้นแต่ที่เมื่อใดก็ตามที่ทุกอย่างมารวมตัวกันพร้อมกัน มวลมนุษย์เรียกว่า"อัจฉริยะ"แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ อัจฉริยะนี้ จะปรากฏในสาขาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 20ความเจริญรุ่งเรืองที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และที่สำคัญเกิดจากการเจริญทางเทคโนโลยี -Whittaker Chambers นักเขียนชาวอเมริกัน

"ไม่มีมนุษย์คนอื่นๆ ให้การสนับสนุนต่อการขยายใหญ่ขององค์ความรู้ในศตวรรษที่ 20 ยังไม่มีคนอื่นๆ เป็นไปมากกว่าการเจียมเนื้อเจียมตัวโดยไม่แน่ใจว่าพลังงานที่เกิดจากภูมิปัญญาอาจเป็นอันตรายได้Einstein เป็นตัวอย่างที่อธิบายด้านความสามารถในการคิดสร้างสรรค์สุดขั้วอันยิ่งใหญ่ของส่วนบุคคลในสังคมเสรี -PrsidentDwight DavidEisenhower ประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา

"เขาเป็นคนที่ร่าเริง มั่นใจและสุภาพ มีความเข้าใจถึงหลักของจิตวิทยา เหมือนที่ผมปฏิบัติการด้านฟิสิกส์และอื่นๆที่พวกเรามีการสนทนากันอย่างถูกใจ" - Sigmund Freudนักจิตวิทยา

สรุปหนังสือ How to think like Einstein, Swim Against the Tide

ไอน์สไตน์ไม่ได้สนใจว่าคนอื่นจะคิดยังไงกับเขา และนั่นเป็นสิ่งที่เขารู้สึกสบายใจที่จะไม่ต้องทำอะไรตามมุมมองของคนส่วนใหญ่

คุณสมบัตินี้ของเขาชัดเจนมาตั้งแต่สมัยเรียน ว่าด้วยเรื่องที่เขาถือว่าปัจเจกเป็นเรื่องสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด

ในชีวิตการทำงาน เขาพร้อมที่จะต่อต้านความคิดแบบประเพณีนิยมด้วยการท้าทายบรรทัดฐานที่เป็นที่ยอมรับ

อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้ท้าทายเพื่อจะสนับสนุนว่าเขาถูกเสมอ เขาพร้อมที่จะยอมรับและแก้ไขถ้าได้รับการพิสูจน์ว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นมีข้อผิดพลาด

กระบวนการคิดของไอน์สไตน์สามารถอธิบายได้ว่า เป็นการพยายามในการไม่หยุดตั้งคำถามแทนที่จะยอมรับสิ่งต่างๆ ที่ได้ยินได้ฟังมา

สิ่งนี่สอนว่า ถ้าเราไม่ตั้งคำถาม เราจะไม่มีวันเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เลย

สรุปการบรรยาย วันที่ 7 ธันวาคม 2557

1.ให้ นศ. สรุปว่าแก่นที่ได้จากการเรียนรู้อันประกอบด้วย

•Micro & Macro

•Leadership

•Innovation

•Human Capital

อย่างละ 5 เรื่อง จะนำไปต่อยอดหรือประยุกต์จริงอย่างไร เพื่อนำทั้ง 4 เรื่องมาสร้าง Model และไปใช้ในการคิดหัวข้องานวิจัยได้อย่างไร จากนั้นอาจารย์จะแนะนำเรื่องการค้นหา Data Base เพื่อสนับสนุนงานวิจัย

2. นำเสนอตาราง ASEAN

- สถานการณ์ HR ใน ASEAN เป็นอย่างไร ทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำเสนอที่มรภ.นครปฐม

นำเสนอ

1. นาย วัฒนศักดิ์ ศรรุ่ง:

Leadership

  • -ต้องมีวิสัยทัศน์
  • -มีคุณธรรม
  • -คิดอย่างเป็นระบบ มีความสำคัญมาก 7.5
  • -ผู้นำการเปลี่ยนแปลง บางครั้งคนไทยไม่เข้าใจ เราต้องเตรียมตัวให้ดี มองไปในอนาคตเพื่อถามคำถามว่า หากอายุมากขึ้น ฉันจะทำอะไร
  • อ.จีระ : ต้องคิดว่าอีก 5 ปีข้างหน้า แพทย์ทางเลือกจะอยู่อย่างไร จะเข้าอาเซียนอย่างไร ต้องคิดว่าจะเปลี่ยนแปลงทัศนคติอย่างไร 6.5
  • -เชื่อใจ ไว้วางใจ คนในองค์กร 7.5
  • อ.จีระ: เรื่อง Trust กับ ตำแหน่งไม่เกี่ยวกัน ต้องทำงานอย่างมีศรัทธาลูกน้อง คนนั้นจะเป็นผู้นำที่ดี
  • - Self trust ต้องมีความภูมิใจในตัวเอง ก่อนที่จะไปศรัทธาคนอื่น ศรัทธาต่อครอบครัวหรือไม่
  • - Relationship trust ความสัมพันธ์ที่ดี
  • - Social trust ต้องให้สังคม Trust เรา
  • อ.จีระ: สรุปเรื่องการเรียนผู้นำในห้องเรียน ได้ความรู้เพิ่มและ add value เรื่องอะไรได้บ้าง
  • -นาย วัฒนศักดิ์ : ได้เรื่องการคิดเป็นระบบ และมีการคิดแบบ 2R's คิดตามความจริงและตรงประเด็น
  • -สังคมไทยมีการดูถูกผู้ใช้แรงงาน ความเป็นจริงคนกลุ่มนี้ดูถูกไม่ได้ บางครั้งมีความรู้มาก
  • -การคิดตาม Reality ต้องเข้าใจและเข้าถึง ศึกษาเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ให้ตรงตามความเป็นจริง
  • -เรื่อง ASEAN ต้องเข้าใจ รู้จริงในประเทศต่างๆ
  • -Relevance เข้าใจประเด็นที่แท้จริงไม่ต้องรู้หมด อย่าดาวกระจาย

Innovation มี 3 ขั้นตอน

  • -Idea
  • -Turn idea into action
  • -Turn action to success

กฟผ. วางแผนให้อ่าน บทความ 5 เรื่องจาก Harvard business review

นาย วัฒนศักดิ์:

  • -Macro Micro: ประเทศไทยต้องคิดใหญ่แล้วทำเล็ก

ด้านทุนมนุษย์ ต้องปลูก ใส่ความรู้เข้าไปตั้งแต่เด็ก และ บ่มเพาะ การฝึกฝน การให้ความรู้ ทำให้มูลค่าสูงขึ้น

การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่ขจัดอุปสรรคในการเรียนและเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

อ.จีระ: เรื่องบรรยากาศในการเรียนรู้เป็นการเก็บเกี่ยว

ศูนย์บ่มเพาะ (Incubator )ศูนย์ที่เอาทุนที่มีอยู่ไปทำมูลค่าเพิ่ม

ต้องแยกให้ออกระหว่างการเก็บเกี่ยวและบ่มเพาะ

  • -ทุนมนุษย์ : เน้นเรื่อง HR Architecture

Demand side สำคัญอย่างไร : เป็นศักยภาพการแข่งขัน หากผลิตบุคลากรให้เข้ากับเรื่องต่างๆ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ เพื่อให้มีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดนอกกรอบ เพื่อให้สังคมอยู่รอดได้ เปรียบกับการเข้าใจลูกค้า

  • -ประเทศไทยหากทำได้ตามนี้จะทำให้คนสุขภาพดี และประเทศชาติมีเศรษฐกิจมั่นคง

นางสาว สุพัตรา ปราณี:

Innovation

  • -ความคิดสร้างสรรค์ 6
  • -ทุนทางความรู้ 6
  • อ.จีระ: หากมีทั้ง 2 ตัวแล้ว รวมกับระบบความคิดได้จะดีมาก
  • -KM / LO เพื่อนำไปสร้างนวัตกรรม 7
  • อ.จีระ: ก่อนพูดถึง LO ต้องพูดถึง LC ก่อน ต้องสร้างความสนใจก่อน
  • -Tools 8
  • Triz เป็นตารางเมตริกซ์ ของ ผศ.ไตรสิทธิ์ เบญจบุณยสิทธิ์ มี 40 องค์ประกอบเชื่อมโยงนวัตกรรมขึ้นมา
  • -Social capital ต้องมีการแชร์ และสามารถ Turn into project 7

Leadership

  • -Role model การเป็นแบบอย่างต้องเป็นคนดีให้คนอื่นศึกษา ในเรื่องต่างๆ 6

อ.จีระ: ผู้นำที่ดีต้องยกย่องทุกคน ต้องรับใช้ทุกคน และต้องมีความเสียสละ

- ทำนายอนาคตได้อย่างแม่นยำ 6

อ.จีระ: ใช้คำว่า Anticipate change เพราะเรื่อง Crisis มาเป็นระลอก บางครั้งมาทุกวัน หากมาแล้วมาอีกเป็น permanent crisis

- ส่งเสริมลูกน้องให้ไปสู่ความสำเร็จ 8

อ.จีระ: ควรทำวิจัย เรื่องความพึงพอใจของลูกน้องที่มีต่อเจ้านาย

ผู้นำไปช่วยทุนมนุษย์อย่างไร

อ.น้อย: เรื่องทุนมนุษย์ ส่วนหนึ่งคือเรื่องผู้นำ

Do the right thing and Do thing right เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

Right บางครั้งหมายถึงจริยธรรม ผู้นำต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุด

คุณดิเรก เรียงทอง:

Human capital

  • -มีความใฝ่รู้
  • -เรื่อง 8K 5K
  • -ทุนมนุษย์ที่ดีต้องทำให้เกิด Productivity ที่ดี
  • -การสร้างมุนมนุษย์ ไม่ได้มองที่ปริมาณ เพียงอย่างเดียวต้องมองคุณภาพของมนุษย์
  • -ต้องมองทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่า ไม่ได้มองแค่เป็นทรัพย์สินอย่างเดียว

คุณนลินี โสพัศสถิตย์:

หัวใจหลัก คือ เรื่อง Human capital นำสู่ Innovation Leadership ไปสู่ Micro และ macro หรือ สามารถสลับทางกันได้

อ.จีระ: เหตุผลที่ Innovation และ Leadership คืออะไร

Leadership เป็นตัวแปรที่ทำให้ Innovation ประสบความสำเร็จ

คุณรวิศว์ ขันชะลี

Leadership

  • -Charismatic leadership ผู้นำที่มีเสน่ห์
  • อ.จีระ: ผู้นำแบบนี้สามารถดึงความสนใจจากผู้คน มีความอบอุ่น สามารถดึงให้ทุกคนเข้าหา

- ต้องมองปัญหา ก่อนที่จะจัดการปัญหา

- ผู้นำต้องเป็นผู้ที่ให้เกียรติลูกน้อง

- ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม

Innovation

  • -ต้องมีเรื่องของทุนมนุษย์ก่อน ถึงจะฝึกทุนมนุษย์ให้มีการพัฒนาไปสู่ความคิดสร้างสรรค์

อ.สร้อยสุคนธ์:

- เรื่องของอ.ปุ้ม หากทำเป็นรูปก้นหอย จะวนไป dynamic

- ของคุณปลัด สามารถโยงไปสู่ความยั่งยืนได้ และต้องทำให้วิ่งทั้ง 2 ทาง

อ.จีระ: การทำงานต้องมี Passion ต้องมี Purpose และต้องมี Meaning

แยกระหว่าง Happy workplace กับ Happy at work

เรื่องการนำเสนอตารางอาเซียน

  • -ต้องวิ่งจาก Supply side สู่ Demand side
  • -มองภาพรวม โครงสร้างอายุ เปรียบเทียบว่าแต่ละประเทศ มีโครงสร้างอายุต่างกันอย่างไร
  • ตารางที่ 1 คือ population
  • -ค่าเฉลี่ย
  • -โครงสร้างอายุ
  • -เด็กและวัยทำงาน คนสูงอายุ ต้องเปรียบเทียบกัน ต่อสัดส่วนประชากรทั้งหมด
  • -เรื่อง Investment ดูตั้งแต่ปริมาณ และคุณภาพ จำนวนเด็กที่เข้าเรียน อาชีวะ เข้าเรียนมหาวิทยาลัย สัดส่วนเป็นอย่างไร
  • -งบประมาณ
  • -รัฐลงทุนเท่าไร่ เอกชนลงทุนเท่าไหร่ รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ แต่ละประเทศเป็นเท่าไหร่
  • -อยากให้เน้นอาชีวะมากๆ
  • -World economic forum, UNESCO
  • ตาราง Employment
  • -สัดส่วน employment ใน Sectors ต่างๆ จะพบว่า employment ภาคเกษตร ของเราเป็นอย่างไร
  • -การผลิตบุคลากรเยอะ แต่ไม่ตรงกับงาน เพราะฉะนั้นตกเรื่องความเหลื่อมล้ำ ศักยภาพการแข่งขัน
  • ตารางเรื่อง Demand side
  • -เรื่อง Migration
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท