บทเรียนจากการบรรยายการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


บทเรียนจากการบรรยายการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง วันที่ 15 ส.ค.57

1.ผู้บรรยายเตรียมตัวไปบรรยายแบบไม่ใช่นั่งเลคเชอร์ แต่จัดให้ผู้ฟังนั่งเป็นกลุ่ม แล้วตั้งโจทย์คำถามเป็นเกม แล้วให้แต่ละกลุ่มช่วยกันตอบ หลังจากนั้นผู้บรรยายจะสรุปคำตอบแต่ละข้อ

2.ผู้บรรยายจะประเมินก่อนว่าผู้ฟังจะร่วมมือและมีส่วนร่วมด้วยหรือไม่ ถ้าช่วยกันทำมาหากิน ก็จะสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้เอาไว้ และลงรายละเอียดไปเรื่อย ๆ แต่ถ้านั่งเงียบไม่ตอบ ไม่พูด ผู้บรรยายก็จะไปหากลุ่มอื่นที่อยากตอบอยากพูดแทน

3.ผู้บรรยายต้องใช้เวลาเตรียมตัวผู้ฟัง ด้วยโจทย์ที่เป็นเกมติ๊งต๊อง เพื่อให้ทราบว่า จะมีส่วนร่วมได้อย่างไร คำถามเป็นอย่างไร ต้องตอบอย่างไร

4.ผู้บรรยายชอบมากที่จะปล่อยมุกตลกตลอดเวลา และชอบมากกว่าการยืนบ่นอยู่หน้าห้อง โดยที่ผู้ฟัง ก็นั่งหลับตาอยู่ตรงหน้า

5.หน้าที่ของผู้จัดการอบรมต้องประสานงานให้ดี ถ้าทำไม่ดี ผู้ฟังมีน้อย ผู้บรรยายก็จะเสียกำลังใจ และรู้สึกเสียเวลามากที่คนได้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย ไม่คุ้มค่ากับการเสียเวลาไม่ทำอีกสิ่งหนึ่ง แต่ถึงอย่างไร ก็คงต้องเดินหน้าบรรยายต่อ จะล้มเลิกกลางทางก็ไม่ได้

6.ขณะที่ผู้ฟังกลุ่มหนึ่งตอบคำถาม ต้องให้กลุ่มอื่น ๆ ได้ยินคำตอบด้วย เพราะจะทำให้ได้คิดตามให้ทัน และช่วยกันระดมสมองหาทางตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่เราต้องการ

7.ผู้ฟังท่านใดที่หยิบโทรศัพท์มาเล่นไลน์ เล่นเฟสบุค ผู้บรรยายจะไม่สนใจ และจะคิดว่า เขาคืออากาศธาตุ ไม่นำมาหงุดหงิดหัวใจ ช่างน่าเสียดาย โอกาสแบบนี้ หาไม่ได้อีกแล้ว

8.การตั้งโจทย์คำถามที่เป็น Scenario ที่ต่อเนื่องกัน จะทำให้ผู้ฟังได้ทบทวนของเก่า และจดจำได้แม่นยำมากขึ้น และค่อย ๆ ต่อยอดขึ้นเรื่อย ๆ

9.ผู้ฟังที่มีลักษณะชอบโอ้อวด โชว์พราว พูดมาก ๆ พูดเก่ง ๆ จะได้แสดงความคิดเห็น ทำให้เขาได้ใช้สิ่งที่เขามีให้เกิดประโยชน์ คนที่ปิดกั้นรับรู้สิ่งใหม่ ๆ จะโดนบังคับให้รู้ไปด้วย สิ่งที่เคยคิดว่าดีอยู่แล้ว ก็จะได้รับรู้ว่า มันมีสิ่งที่ทำได้ดีกว่า และมีคนทำสำเร็จมาแล้ว

10.เวลาที่ผู้ฟังแซวผู้บรรยาย ต้องรีบโต้ตอบโดยเร็ว อย่าให้ผู้ฟังตั้งตัว

คำสำคัญ (Tags): #โรคเรื้อรัง#ncd
หมายเลขบันทึก: 574836เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2014 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2014 08:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท