639. "วิธีคิดในกรอบให้ออกนอกกรอบ"


ทุกวันนี้ผู้บริหารไม่ว่าจะในระดับใด ต่างเจอต้องเจอกับความท้าทายในรูปแบบต่างๆกันไป ทำให้เจอสถานการณ์ที่เรียกว่าบ้างครั้งคือภัยคุกคาม ที่จะต้องตัดสินใจให้ได้ ซึ่งหากตัดสินใจผิดอาจส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) แตกต่างไปจากเดิม ที่บางครั้งอาจส่งผลให้ถึงกับไปไม่รอดได้ และถึงแม้จะไปได้ดี แต่อาจเจอกับความคับข้องใจหลายๆเรื่อง เช่นจริยธรรมของอาชีพเป็นต้น ที่ว่ากำไรมาก อยู่ได้ แต่อาจต้องประนีประนอมความถูกต้องทางศีลธรรม แต่บางครั้งจะไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะไม่ว่าผู้บริหารคนไหนก็ต้องทำแบบนี้ เรียกว่าถ้าทำให้ถูกต้อง ถูกใจนั่นได้ แต่กลับมีปัญหาเรื่องถูกธรรม ครั้นจะทำให้ถูกธรรม ก็ไม่ถูกต้อง ถูกใจตามระบบที่เป็นอยู่ จะเอาอย่างไรกันแน่

                         

ช่วงนี้ผู้เขียนเห็นผู้บริหารลำบากใจเรื่องการตัดสินใจมาก เลยอยากนำเสนอแนวทางการตัดสินใจ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่เรียกว่าถูกต้อง แต่อาจไม่ถูกใจ แต่ถูกธรรมแน่นอน หรืออาจได้ครบทั้งสามองค์ประกอบก็ได้ ผู้เขียนขอเสนอ Model การตัดสินที่เรียกว่า 4M ของปรมาจารณ์นักคิด Edward de Bono ที่ว่าเก่าแล้ว แต่ก็ยังดีอยู่ 4M ประกอบด้วย  Me Value (คุณค่าของเรา หมายถึงอะไรที่เราเชื่ออยู่ ทำอยู่) Mate Value (คุณค่าที่เพื่อนของเรา หรือองค์กรอื่นๆในอุตสาหกรรมเดียวกันยึดถือ ทำกันอยู่) Mankind Value (คุณค่าที่คนในระดับสากลยึดถึง เห็นดีเห็นงาม ทำกันอยู่) สุดท้ายคือ Moral Value (คุณค่าที่เราประเมินจากความเชื่อทางศีลธรรม ศาสนา ที่เรานับถืออยู่)

แนวคิดคือเวลาจะตัดสินใจอะไร เราควรประเมินจากกรอบทั้งสี่นี้ครับ ถ้าสมบูรณ์แบบก็คือ Me Value, Mate Value, Mankind Value อาจไม่เหมือนกันก็ได้ แต่สุดท้ายต้องสอดคล้องกับหลักศีลธรรมจริยธรรม Morale Value ครับ

เช่นการลอกข้อสอบเราอาจกำลังตัดแปะวิทยานิพนธ์ เพื่อนเราก็ทำ ตัดแปะเช่นกัน ว๊าว Me Vale กับ Mate Value เราก็ทำ เพื่อนก็ทำ นี่ไม่ได้หมายความว่าดี ดูระดับสากลสิ จะพบว่าประเทศที่เจริญแล้วก็อาจจะมีให้เห็นมีน้อยแต่ว่ามี นี่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าดี สุดท้ายมาดู Morale Value โอ๊ ไม่ว่าศาสนาไหนก็บอกว่าผิด นี่จบเลย ไม่เอาครับ ไม่ลอก

ในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง ผมมีโอกาสคุยกับผู้บริหารที่กำลังจะต้องตัดสินใจเรื่องภาระการดูแลคนไข้ เพราะมีงบประมาณต่อหัวมาเกี่ยวข้อง และตอนนี้มี KPI มาเกี่ยวข้อง ต้องบริหารต้นทุนกันแล้ว ซึ่งเวลาเอาต้นทุนมาคุยกัน ทำให้เห็นปัญหาเช่นเรื่องคนไข้เรื้อรังที่ทำให้โรงพยาบาลขาดทุน ความเสี่ยงของโรงพยาบาลเครือข่าย ที่มีงบประมาณจำกัดที่อาจจะพยายามรั้งผู้ป่วยไว้ เพียบจริงๆ จึงส่งไปที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพมากกว่า หลายเรื่องกำไร ความอยู่รอด ปัญหาจริยธรรมดูจะปนเปกัน แล้วจะตัดสินใจกันอย่างไรดีครับ ก็ 4M ได้เลย

Me Value (โรงพยบาลของเรา) โรงพยาบาลเราต้องดู KPI ยึด KPI เป็นหลัก การตัดสินใจตอนนี้ต้องดูต้นทุน ซึ่งบางครั้งคนไข้อาจเสียโอกาส เช่นใครจะไปรู้หมอบางโรงพยาบาลอาจพยายามรักษาโรคที่ตัวเองไม่เชืี่ยวชาญให้มากที่สุด ด้วยความกดดันเรื่องต้นทุนต่อหัว เมื่อไม่ได้จริงๆก็ส่งข้างโรงพยาบาล แต่ไปถึงก็เพียบแล้ว นอกจากไปเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ที่อื่น ยังทำให้คนไข้มีปัญหาตามมา

Mate Value (โรงพยาบาลในประเทศไทย) โรงพยาบาลในไทยที่ไหนก็ทำแบบนี้

Mankind Value (โรงพยาบาลในระดับสากล หรือในประเทศที่โดดเด่น) เราอาจต้องไปหาจากระดับสากลว่าทำอย่างไร ประเทศดีๆ เช่นที่ญี่ปุ่นทำอย่างไร ยุโรปดีๆทำอย่างไร เช่นผมเคยได้ยินว่าที่อังกฤษมีการกำหนด KPI ที่น่าสนใจ เป็น KPI เชิงป้องกัน เช่นกำหนดว่าถ้าแพทย์สามารถทำให้คนไข้เลิกบุหรี่ได้ นี่ได้เงินโบนัสเพิ่ม เพราะอะไร เพราะคนติดบุหรี่ หนึ่งคนถ้าติดมากนี่นำมาหลายโรคเรื้อรัง เรียกว่าต้นทุนในอนาคตของโรงพยาบาลและสังคมจะสูงขึ้น มาถึงตรงนี้ผู้บริหารอาจเริ่มคิดดึง KPI เชิงป้องกันเข้ามาเสริมสิ่งที่เราและคนในประเทศไม่ทำกันก็ได้

แต่คำถามคือถ้าเราก็ทำ องค์กรในประเทศไทยก็ทำ ระดับสากลก็เหมือนกัน จะทำอย่างไร ก็ต้องมาดูตัวสุดท้ายว่า "ถูกศีลธรรม" ไหม นั่นคือดู Morale Value เช่นมาพิจารณากันว่าจริงๆ แล้วการดูแลคนไข้ที่ตนเองอาจไม่เชี่ยวชาญที่สุด จนทำให้คนไข้เสี่ยงนี่คงไม่ถูกศีลธรรมนัก ไม่ว่าศาสนาไหน

ตรงนี้ก็เอาเป็นหลักได้เลยว่า ต่อให้ประเทศที่เจริญแล้วทำ โรงพยาบาลของเรา และโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในกรุงเทพก็ทำ แต่ถ้ารู้สึกว่ามันขัดหรือหมิ่นเหม่ต่อศีลธรรม ก็ไม่ควรทำตามครับ

4M นี้ช่วยได้มาก ผมก็เคยทำมาก่อนเช่นเมื่อหลายปีก่อน ราวๆปี 2005 ที่ผมเริ่มรู้จัก Appreciative Inquiry (AI) ที่ผมเรียนจบปริญญาเอก จนมาตั้งเครือข่าย AI Thailand นี่ก็มีที่มาครับ เพราะไปเจออาจารย์เขียนไว้สองบรรทัด รอบตัวมองหน้ามองหลังไม่เห็นใครทำ จะทำไหมน๊อ ก็ 4M ครับ

Me Value ผมคิดว่า AI ดูเข้าท่ามาก ไม่เคยเรียน ไม่เคยรู้มาก่อน แถมไม่มีใครทำ ในฐานะ MBA แล้ว เราควรทำอะไรที่ต่างกว่าชาวบ้าน

Mate Value เท่าที่รู้มา ไม่เคยเห็นอาจารย์ MBA ที่ไหนสอน สถาบันหลักในกรุงเทพก็ไม่เห็นมีใครพูด

คำถามคือเราอยู่ MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่น เราจะทำดีไหม ก็อาจารย์ในกรุงเทพไม่เห็นทำไม่ใช่ MBA ไม่เจอในสาขาไหนเลยด้วยซ้ำ แน่ใจเหรอว่ามาถูกทาง

มาตรวจสอบMankind Value ดีกว่า ก็พบว่าฝรั่งทำแล้ว ไม่เยอะแต่มี มีการตั้งเครือข่าย มีการประชุมกันแล้ว Asia ก็มีที่ฟิิลิปปินส์

แค่นี้ก็พอแล้วที่จะตัดสินใจลย ทำให้มันต่างไปเลย ไม่จำเป็นต้องรอสถาบันดังๆในกรุงเทพทำแล้วค่อยตาม เราทำเลย

มาตรวจสอบ Morale Value ไม่ผิดแน่นอน ดูเข้ากันได้ดีกับแนวพุทธด้วย เจ้าของทฤษฎีเองก็เคยร่วมกับท่านดาไล ลามะ งั๊นจัดเต็ม

ว่าแล้วลุยจนจบปริญญาเอกแทบจะเป็นคนแรกๆ ของประเทศ สร้างเครือข่าย สอนคนจบไปมาก จนตอนนี้กลายเป็นอาจารย์ วิทยากรให้กับสถาบันการศึกษาในกรุงเทพหลายแห่ง

ถ้าลังเล ป่านนี้คงไม่สนุกเท่านี้

4M จึงดีมากๆ ทำให้เราคิดนอกกรอบก็ได้ ในกรอบก็ดี ชีวิตจึงดีครับ

เอาเป็นว่าถ้าลังเลกับการตัดสินใจเมื่อไหร่ นึกถึง 4M นะครับ เพราะนับเป็นทางเลือกที่ดีมากๆ จะทำให้เราตัดสินใจอะไรๆดีขึ้นมาครับ เพราะมองครบทุกมิติจริงๆ เรียกว่าทำให้เกิดการคิด การทำอย่างเป็นระบบจริงๆ

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

http://machavokadventure.com/machavok-creative/por...

                             

หมายเลขบันทึก: 574131เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2014 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2014 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กำลังคุยกันว่า พยาบาลจะเลือก KPI ตัวไหนให้เห็นเป็นรูปธรรม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท