เมืองลุงเสวนา...MUSEUM PHATTHALUNG


แต่พัทลุงยังฟื้นได้ คำว่านักเลง คือคนรักถิ่น คนไทย เอาเขยเข้าบ้าน คนจีนเอา สำใภ้เข้าบ้าน คนไทยจึงกลายเป็นคนกลัวเมียเพราะไปอยู่กับเขา ความรู้ชุมชนอยู่ที่ผู้หญิง คนไทย แม่ เป็นใหญ่ ผู้ชายต้องไปอาสาฝ่ายเมีย ลูกสาวคนเล็กเลี้ยงพ่อแม่ยามแก่ ผู้ชายถนัดดังนอกบ้าน




จากปรากฎการณ์ขุดพบทองที่พัทลุง ที่เป็นข่าวดัง ร่วมเดือน  บัดนี้เริ่มเลือนไปจากหน้าสื่อกระแสหลัก 

แต่คนในพัทลุง ยังคงคึกคักอย่างต่อเนื่อง  ในการที่ต้องการให้การพบทองครั้งนี้นำไปสู่การเรียนรู้ท้อง

ถิ่น อดีตท้องถิ่นของคนพัทลุง   ทางมหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง จึงได้จัดเสวนาเรื่องทองที่ขุด

พบพบอย่างต่อเนื่อง ครั้งที่ 1 จัดเสวนาที่  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ครั้งที่ 2 จัดเสวนาที่วัดตะ

เขียนบางแก้ว  และครั้งที่ 3 จัดเสวนาที่วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ  ทั้ง 3 ครั้งผู้

เขียนไม่ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการให้เข้าร่วมวงเสวนา แต่อาศัยความเป็นคนพัทลุงโดยภรรยา จึงหา

โอกาส เข้าร่วมฟังการเสวนาด้วยทุกครั้ง  เมืองลุงเสวนาครั้งที่ 3 ชื่ออาจารย์ ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ทำให้ผู้

เขียนอยากเรียนรู้ อยากฟังความคิดของท่านอาจารย์ ในการให้มีพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดพัทลุง

       


 ซึ่งอาจารย์ ศรีศัดิ์ ได้เริ่มเสวนา โดยการหยิบยกความเป็นชุมชน เรื่องกฎหมาย 3 เส้น กฎหมาย 5 

เส้น  การพบทองที่พัทลุงเป็นสิ่งที่ดี  มีวัฒนธรรม  วิชาการ การเมือง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นการสร้าง

พื้นที่ให้คนพัทลุงได้เรียนรู้วัฒนธรรม เป็นการเริ่มต้นที่ดี สานต่อเป็นรูปธรรม พัทลุงน่าจะมีพิพิธภัณฑ์

เกิดขึ้น   พัทลุงมีวัฒนธรรม มีประวัติศาสตร์ดั้งเดิม  หากมีการรวบรวมเสนอให้ผู้เข้ามาในพัทลุงเรียนรู้ 

ศึกษาความเป็นมาของดีเมืองลุง  อนาคตก็จะมีพิพิธภัณฑ์ ที่แตกต่างจากการรวบรวมสิ่งของ  เป็นที่

เรียนรู้ วิถี อดีต ความเป็นมา ประวัติศาสตร์พัทลุงต้องเห็นคน  พิพิธภัณฑ์เอาสิ่งของไปแสดงไม่เห็นคน 

กลายเป็นการลักขโมยสิ่งของ "ประวัติสังคม "ชีวิตชุมชนท้องถิ่น หลักฐานประวัติศาสตร์ ที่ต้องเห็นคน 

 มีการกำหนดอายุ นับไปถึงปู่ ย่า ตา ทวด เทียด  เกิดขึ้นกี่ชั่วคน ประวัติเหล่านี้ไม่รู้ ไม่มี  จึงไม่รู้จักท้อง

ถิ่น สิ่งเหล่านนี้คนอื่นทำให้ไม่ได้ ท้องถิ่นต้องทำเอง  ภูมิปัญญาถูกทำลายมา 40 ปี จากสังคมเกษตรมา

สู่สังคมอุตสาหกรรม  แต่พัทลุงยังฟื้นได้ คำว่านักเลง คือคนรักถิ่น คนไทย เอาเขยเข้าบ้าน คนจีนเอา

สำใภ้เข้าบ้าน คนไทยจึงกลายเป็นคนกลัวเมียเพราะไปอยู่กับเขา ความรู้ชุมชนอยู่ที่ผู้หญิง  คนไทย แม่

เป็นใหญ่ ผู้ชายต้องไปอาสาฝ่ายเมีย ลูกสาวคนเล็กเลี้ยงพ่อแม่ยามแก่ ผู้ชายถนัดดังนอกบ้าน เนื้อหา

บ้านและเมืองคือประวัติศาสตร์สังคม เห็นความเปลี่ยนแปลงรุ่นสู่รุ่น จึงต้องทำโดยท้องถิ่น เมื่อทำได้

แล้วจึงเอาสิ่งเหล่านั้นมาแสดง  ของที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นเอามาแสดง มันบอกเรื่องราวได้  คือคลังความรู้

ท้องถิ่น คือได้รู้จักตัวเอง ภูมิปัญญาตัวเอง  ส่วนมากเราบ้าการท่องเที่ยว ทำพิพิธภัณฑ์ให้คนไปเที่ยว 

 ต้องทำให้คนในท้องถิ่น รู้จักรากเหง้า รูปแบบพิพิธภัณฑ์จะเป็นอย่างไรไม่ต้องคำนึง อย่าทำให่ใหญ่โต 

ภูมิวัฒนธรรมของพัทลุงคือ เขา ป่านา ทะเล อยู่ในพื้นที่วัฒนธรรมเดียวกัน  ผ่านตำนาน ชื่อบ้านนาม

เมือง .....(บางตอนจากการเสวนา ของอาจารย์ ศรีศัดิ์ วัลลิโภดม)


อาจารย์ พยุง ณ พัทลุง ติดตามทุกเวทีเหมือนกัน

คำสำคัญ (Tags): #เสวนาทองพัทลุง
หมายเลขบันทึก: 573607เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2014 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2014 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หวัดดียามดึกดื่นค่อนคืนจ้ะลุงวอ  มีเพลงพม่าประเทศมาฝากจ้ะ


ประวัติศาสตร์ คือ รอยเท้าแห่งความคิดและการสร้างสรค์บ้านเมืองมาครับ เด็กๆเหมือนจะห่างต้นเค้า เหง้ากอของตนครับ

สวัสดีน้องมะเดื่อ 

หายไปหลายวัน  น้องๆในฝ่าย อุ้มไปจัดงานเกษียณให้ที่พังงา

ขอบคุณท่าน ส.รตนภักดิ์ การกลับคืนสู่รากเหง้า  ทำให้รู้ที่มา และเข้าใจ ในภมิสังคม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท