ย้อนรอย KM ที่ER ตอนที่ 2


                        ถ้าจะถามว่าเราใช้เครื่องมืออะไรมาจัดการความรู้ที่หน่วยงานของเรา เพราะเครื่องมือมีหลากหลายชนิด บางอย่างหยิบจับมาใช้ตลอดเวลาแบบไม่รู้ตัว บางอย่างนำมาใช้แต่ไม่รู้ว่าเขาเรียกมันว่าอะไรพอได้ศึกษาถึงรู้พอได้ลองเอามาเรียบเรียงดูทำแบบศิษย์มีครู ก็พอให้เห็นแนวทางการจัดการความรู้ในแบบที่เราเองถนัด   ความจริงแล้วในทฤษฏีเขามีเครื่องมือที่ดีๆหลายตัวแต่เราไม่ค่อยได้นำมาใช้  บ้างตัวนำมาใช้ก็เป็นครั้งคราว   โดยจะเลือกตามความเหมาะสมกับบริบทของตนเอง

                         เครื่องมือที่ใช้ในการการจัดการความรู้ KM Tool ในงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน

               เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ในรูปแบบต่างๆทางแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินจึงได้ศึกษาและนำเครื่องมือต่างๆมาใช้ในการจัดการความรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของงานดังนี้

                  1.Mentoringการเป็นพี่เลี้ยงจะมีการมอบหมายให้รุ่นพี่ที่มีศักยภาพและประสบการณ์สูงเป็นพี่เลี้ยง มาช่วยแนะนำวิธีการทำงาน ช่วยเหลือให้คำปรึกษาชี้แนะวิธีการทำงาน สอนทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้บุคลากรที่มาใหม่โดยจัดทำเป็นคู่มือปฐมนิเทศสำหรับพี่เลี้ยงเป็นแนวทางในการสอนงานและมีการจัดทำReqiuementให้แก่บุคลากรระดับปฏิบัติการที่เข้ามาทำงานใหม่ได้ขึ้นปฏิบัติงานเป็นตัวลอยแยกจากผู้ปฏิบัติงานจริงและให้ฝึกปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของพี่เลี้ยงตามเวลาที่กำหนดไว้จนกว่าจะสามารถปฏิบัติงานได้จริงจึงจะให้สามารถปฏิบัติงานได้ในตำแหน่งผู้ปฏิบัติ(ตัวจริง)หรือคนที่มีผลงานไม่ดีได้เรียนรู้ปรับปรุงวิธีการทำงาน มักใช้ในกลุ่มผู้ปฏิบัติหรืองานระดับปฏิบัติการ

                 2.Coachingการสอนงาน(เป็นการขับเคลื่อนความรู้ข้ามบุคคลที่ง่ายและใกล้ตัวมากที่สุด)เนื่องจากกลุ่มงานอุบัติเหตุฉุกเฉินมีภาระกิจหลักที่ต้องรับผิดชอบงานหลายด้านนอกจากงานให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินแล้วยังมีงานศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดพิจิตร งานEMS งานศูนย์ประสานส่งต่อผู้ป่วยจังหวัดพิจิตร งานชันสูตรและนิติเวชดังนั้นในแต่ละงานจึงต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบหลักและต้องสามารถเป็นผู้ให้คำปรึกษาในงานนั้นๆได้เป็นอย่างดีและต้องสามารถถ่ายทอดงานให้แก่บุคลากรทุกคนในหน่วยงานได้ในฐานะที่เป็นผู้มีประสบการณ์และปฏิบัติงานจนชำนาญในด้านนั้นๆมาแนะนำสอนงานให้คนที่มารับงานใหม่ได้ทราบวิธีการทำงานโดยทางแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินจะมีการจัดหมุนเวียนกันรับผิดชอบงานตามแผนงานประจำ/งานตามแผนยุทธศาสตร์/งานโครงการทุกปีเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้งานแต่ละงานได้ทั่วถึงและสามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้ทุกหน้าที่

                3.Action Learning การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ ให้ผู้ปฏิบัติช่วยกันคิดเพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในงาน โดยการวิเคราะห์สาเหตุ /ทางเลือกที่เหมาะสมร่วมกัน Consensuss แล้วนำไปปฏิบัติพร้อมทั้งติดตามประเมินผลเพื่อปรับให้ดีขึ้นเช่น R2R การบริหารจัดการระบบยา เวชภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ในรถ Ambulance / การจัดการเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในงาน / การจัดหน้าที่ความรับผิดชอบในงานRefer เป็นต้น

                 4.การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ : Retrospect เป็นกิจกรรมที่ทีมทำงานสำเร็จไปแล้วระยะหนึ่ง ก็นัดเจอกันเพื่อทบทวนย้อนหลังงานนั้นๆ เช่นทบทวนการดูแลผู้ป่วย FAST TrackSTEMI /FAST TrackStroke ร่วมกับ PCT Med เป็นต้น

                 5.Dialogue หรือสุนทรียสนทนา งานอุบัติเหตุฉุกเฉินได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านงานบริการเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มบุคลากรในงานวิกฤติ( ER/ICU ) โดยเชิญวิทยากร คุณสุกานดา หัวหน้างานICU มาเป็นผู้จัดการความรู้ในบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

               6.บทเรียนจากความผิดพลาด : Lesson Learned ในงานคุณภาพจะมีการบริหารความเสี่ยง(Riskmanagement)เช่นการ RCA ร่วมกับทีม หรือทีมPCT กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความรุนแรงระดับ 5-9 เพื่อหาสาเหตุของความผิดพลาดและนำมาหาแนวทางแก้ไขวางระบบเพื่อป้องกันความผิดพลาดซ้ำ

               7.เพื่อนช่วยเพื่อน : Peer Assist เชิญผู้มีความรู้มาแบ่งปันประสบการณ์ดีๆให้โดยการสอนสาธิต แชร์ประสบการณ์ในการจัดการความขัดแย้งให้เราได้ฟังเพื่อจะได้นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในหน่วยงานแช่นจัดการความเสี่ยงและไกล่เกลี่ยตัวอย่างกรณีที่หน่วยงานไม่สามารถจัดการได้จะเชิญทีมมาช่วยและมีการเรียนรู้จากหน้างานหลังจบเหตุการณ์จะพูดคุยสรุปผลแบบไม่เป็นทางการและมีการถ่ายทอดสู่ผู้ปฏิบัติต่อไป

             8.Benchmarkingมาตรฐานเปรียบเทียบในงานพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระดับโรงพยาบาล THIPII ร่วมกับสรพ.แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินได้รับมอบหมายให้เก็บตัวชี้วัดคุณภาพงานเพื่อ Benchmarking Benchmarking ทั้งหมด 3 ตัวเพื่อนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อร่วมมือกันในการยกระดับงานให้ดีขึ้น

               หากท่านใดสนใจสามารถเข้าไปอ่านในบทความต้นฉบับที่เจ้าของตัวจริงเขียนไว้ตามเอกสารอ้างอิงด้านล่างได้นะคะ

         

เอกสารอ้างอิง

- KM Tools : เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากGotoKnowโดยDr. Phichet Banyati

หมายเลขบันทึก: 573606เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2014 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2014 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจหลายตัวนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท