ลองมาย้อนรอย KM ที่ ER ตอนที่1


                ฉันเรียนรู้ศาสตร์ด้าน KM  มาอย่างไรถ้าพูดถึงทฤษฏีจริงๆฉันไม่เคยเข้าอบรมเลยแต่ถ้าจะถามถึงครูก็คงมีแต่ที่ Gotoknow นี่แหละมั้งที่เปิดพื้นที่ให้ฉันได้อ่านและได้เรียนรู้  วันนี้ลองเอามาเรียบเรียงว่าสิ่งที่เราอ่านนั้นเราเอามันมาใช้ด้านไหนพอเข้าใจและพอจัดแบ่งให้มันเป็นหมวดหมู่ตามที่บรรดาครูใน GTK ทั้งหลายเขาบอกไว้ จากทฤษฎีแนวคิดและขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี2553ข้าพเจ้าจึงนำมาทบทวนตนเองได้ดังนี้              

                           การจัดการความรู้( Knowledge Managment )ในงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน       ปี 2555-2557

แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินได้นำแนวคิดหลักการจัดการความรู้มาพัฒนางานเพื่อให้บุคลากรได้มีความรู้ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองและสามารถเข้าถึงความรู้ในรูปแบบต่างๆทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงานทั้งในส่วนของความรู้ที่ชัดแจ้ง( Exphicit Knowledge ) โดยจัดให้มีคู่มือทฤษฏีที่จำเป็น แนวปฏิบัติในหน่วยงานไว้ให้ศึกษาเรียนรู้ และในส่วนของ (Tacid Knowledge ) ที่เป็นความรู้ที่ฝังลึกจากประสบการณ์ ความสามารถพิเศษของบุคลากรอื่นๆมาให้เรียนรู้โดยเลือกใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของงานและบุคลากรในงานโดยนำกระบวนการจัดการความรู้มาเป็นแนวทางปฏิบัติดังนี้

                        กระบวนการจัดการความรู้ ( Knowledge Process ) 7ขั้นตอนในงาน ER

ที่มา ขั้นตอน Process กระบวนการจัดการความรู้ของหน่วยงาน
-เราต้องมีความรู้เรื่องอะไร 1.การบ่งชี้ความรู้(KnowledgeIdentification) -พิจารณาองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าหมายขององค์กร1.การให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินเน้นความถูกต้อง/รวดเร็ว/ปลอดภัยและพึงพอใจดังนั้นสิ่งที่บุคลากรต้องรู้คือ1.เกณฑ์การคัดกรองและจัดลำดับความเร่งด่วนผู้ป่วยแต่ละประเภท

2.แนวปฏิบัติในการจัดการภาวะวิกฤติฉุกเฉินรวมถึงการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญFAST Track ต่างๆ

-เรามีองค์ความรู้นี้หรือยังถ้ามีอยู่ในรูปแบบใด

:องค์ความรู้ดังกล่าวได้มีการจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อใช้เป็นแนวทางให้แก่ผู้ปฏิบัติและมีการทบทวนปรับปรุงเป็นระยะ

-ความรู้อยู่ที่ใคร/ในรูปแบบใด/เอามาเก็บรวบรวมได้อย่างไร 2.การสร้างและแสวงหาความรู้ (KnowledgeCreation and Acguisition) -การสร้างองค์ความรู้ใหม่/แสวงหาความรู้จากภายนอกกรณีความรู้ที่จำเป็นต่อองค์กร1.มีการจัดสรรบุคลากรเข้ารับการอบรมฝึกทักษะที่จำเป็นโดยหมุนเวียนผู้รับผิดชอบหลักผู้รับผิดชอบรองลงมาในงานนั้นไปเรียนรู้และนำมาถ่ายทอดให้บุคลากรอื่นๆได้เรียนรู้ในวาระการประชุมประจำเดือน-การจัดการรักษาความรู้เก่า :นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้มงานของแต่ละปีเพื่อสะดวกในการเรียนรู้/อ้างอิง/สืบค้น

-การกำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว :เก็บรักษาไว้5ปีก่อนจำหน่าย

-แบ่งประเภทหัวข้ออย่างไร 3.การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ(KnowledgeOrganization) -การวางโครงสร้างความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมในการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต : มีแผนในการแยกหัวข้อ ความรู้ที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยและความรู้ด้านอื่นๆในงานโดยแยกจัดเก็บในรูปแบบเอกสาร/ระบบสื่ออิเลคโทนิคในIntranet ของรพ.รวมถึงInternetเครือข่ายการจัดการความรู้Gotoknow
-จะทำให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์อย่างไร 4.การกลั่นกรองความรู้(KnowledgeCondificationand Fefinement) -การปรับปรุงรูปแบบเนื้อหาเอกสารองค์ความรู้เพื่อให้สมบูรณ์มีมาตรฐาน: การปรับปรุงเนื้อหาเอกสารองค์ความรู้ให้สมบูรณ์เป็นมาตรฐานจะเน้นการประมวลผลกลั่นกรองโดยผู้มีความชำนาญในด้านนั้นเช่น เกณฑ์การพัฒนาระบบบริการงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน / แนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญCNPG Head injury / เกณฑ์การคัดกรองจัดลำดับความเร่งด่วนผู้ป่วยที่ER / / เกณฑ์การคัดกรองจัดลำดับความเร่งด่วนผู้ป่วยเจ็บหน้าอกที่ER/เกณฑ์การคัดกรองจัดลำดับความเร่งด่วนผู้ป่วยณ.จุดเกิดเหตุ /การจัดการภาวะวิกฤติ /การประเมิน Pre Arestsing
-นำความรู้มาใช้งานได้ง่ายไหม 5.การเข้าถึงความรู้( KnowledgeAccess ) -การทำให้ผู้ใชความรู้เข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่ายสะดวก: ส่วนมีรูปแบบเป็นทางการจัดเก็บเป็นเอกสารเช่น SP/WI ของงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโดยศูนย์คุณภาพเป็นผู้รวบรวมและสามารถค้นหาศึกษาได้ใน Intranet ของรพ.: เนื้อหาบางส่วนที่ยังไม่เป็นรูปแบบที่เป็นทางการอยู่ในระหว่างการพัฒนาและปรับปรุงโดยจัดเก็บเป็นรูปเล่ม/เก็บในในแฟ้มไว้ที่ward
-มีการแบ่งปันความรู้ให้กันหรือไม่ 6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้( Knowledge Sharing ) 1.ความรู้ชัดแจ้ง( Exphicit Knowledge ) จัดเป็นเอกสารSP /WIสามารถค้นหาศึกษาได้ใน Intranet ของรพ. -แนวปฏิบัติ /ทฤษฏีจัดเป็นเอกสารไว้ในหน่วยงาน 2. ความรู้ที่ฝังลึกจากประสบการณ์/ความสามารถพิเศษของบุคคล(Tacid Knowledge ) ภายในหน่วยงานใช้การเรียนรู้ผ่านกระบวนการเครื่องมือในรูปแบบที่เหมาะสมกับงานเช่นMentoringการเป็นพี่เลี้ยง / Coachingการสอนงานเป็นต้น

-ระหว่างหน่วยงานใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้( Knowledge Sharing ) เช่นการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านงานบริการ ER & ICU / การประชุมร่วมกับ PCTทำ RCA /Conferent /การซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่แบบ Table Plan ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการเตรียมพร้อมรับอุบัติเหตุหมู่ปี2557

เป็นต้น

-นอกองค์กรแลกเปลี่ยนเรียนรู้( Knowledge Sharing )

1.ร่วมจัดบอร์ดนิทรรศการเรื่องการReuse Snow Packใช้ในงานประจำในเวที รณรงค์ลดโลกร้อนด้วยการลอคาร์บอนด์ฟุตพริ้นต์จัดโดยกรมอนามัย ปี 2553 กับทีม ENV

2.ในเวทีSHA conferent & Sharing หัวข้อHealing Environmentปี2554

3.ในHA Forumปี2555 นำเสนอ Poster presentationในหัวข้อเยียวยาคนเยียวยางาน

4.บุคลากรได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนการบูรณาการมิติจิตตปัญญากับการพัฒนาคุณภาพงานโดยสถาบันรับรองคุณภาพองค์กรมหาชน.ปี2556

-ความรู้นั้นเกิดประโยชน์ต่อองค์กรหรือไม่ 7.การเรียนรู้ ( Learning )

-การนำความรู้ไปใช้ประโยช์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาและปรับปรุงองค์กร : ตัวอย่าง1.ความรู้เฉพาะด้านในการจัดการด้านสาธารณภัยซึ่งทางแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำคู่มือแนวทางสามารถนำมาใช้ในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์กร2.การนำความรู้ทักษะจากการส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมจัดการเจรจาต่อรองและไกล่เกลี่ยมาใช้ในการจัดการความเสี่ยงใน/นอกหน่วยงานสามารถลดข้อร้องเรียนและความเสี่ยงของหน่วยงานและองค์กรได้เป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 573605เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2014 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2014 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท