โครงการพัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 3: 31กรกฎาคม -2 สิงหาคม 2557)


สวัสดีครับลูกศิษย์และชาวBlog ทุกท่าน

โครงการพัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 จะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรต่อเนื่องระยะยาว รวม 20 วัน  ช่วงนี้เข้าสู่ช่วงที่ 3 แล้ว ระหว่างวันที่ 31กรกฎาคม -2 สิงหาคม 2557

ผมขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ของพวกเรา และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองของลูกศิษย์ของผมและท่านที่สนใจหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

...........................................................................................

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ของโครงการฯ ช่วงที่ 3

31 กรกฎาคม 2557

กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์ และ อาจารย์กิติภพ สังฆกิจ

<p></p><p></p><p><

1 สิงหาคม 2557่

ช่วงเช้า

Panel Discussion & Workshop

หัวข้อ คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ

          ในมุมมองของข้าพเจ้า

โดย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และอาจารย์วปอ.

       นายบัญญัติ จันทน์เสนะ  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

       ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต.

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ช่วงบ่าย

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ ความสมดุลของชีวิต

โดย พล.อ.ต. นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ

หมายเลขบันทึก: 573568เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2014 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2014 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (72)

นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ

เรื่อง Global HR Competencies (Group Assignment 2)

31 กรกฎาคม 2557

กลุ่ม 1: บทที่ 1-2

พูดถึง HR ในบริษัทของ Tata Group

—Recruit The best talent ค้นหาคนเก่งจริงๆ ไม่เล่นพรรคเล่นพวก ไม่เอาคนของตนมา เสาะหาtalent แบบ proactive

—นำเอาคนหลากหลายเข้ามาร่วมด้วย ผล เกิดความคิดแตกไปจากเดิม ทำต่าง

—Sharing of Best practices

—Transferred specific technical skill to another

—ให้โอกาสprofessional ให้เจริญเติบโต

One direction : vision and mission ทำให้บุคลากรทำงานร่วมกัน ร่วมกันทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมาย ก่อเกิดความ สามารถในการแข่งขัน

CSR (Corporate Social Responsibility) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร การตอบแทนคืนสู่สังคม

เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน เช่นจ้างงานในพื้นที่รายได้สูงขึ้น, ให้ทุนการศึกษากับนศ. ,สร้างโรงเรียน สถานพยาบาล Win-Win

Innovation culture มีวัฒนธรรมของความคิดสร้างสรรค์

strategy positioner เตรียมองค์กรเพื่อธุรกิจในอนาคต สามารถพยากรณ์ล่วงหน้า ทำนายอนาคต หาความได้เปรียบของคู่แข่ง (เขามีอะไรดี)

มีโมเดล 2012 Human Resource Competency เกี่ยวข้องกับ

1. HR innovator and integrator เป็นนักนวัตกรรมและบูรณาการ

2.Technology proponent สนับสนุนเทคโนโลยี โลกสังคม ออนไลน์ บุคคลมีบทบาทมากขึ้นทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.Capability builder นักสร้างขีดความสามารถ

4.Change champion เป็นแชมป์ในการบริหารความเปลี่ยนแปลง

5.Strategy positioner นักกำหนดกลยุทธ์

6.Credible activist น่าเชื่อถือ

อนาคตต้องมี

—ความอ่อนตัว flexibility

—ความร่วมมือ collaboration

—ความรับผิดชอบต่อสังคม social responsibility

—ความซับซ้อน complexity

—ความมีคุณธรรม integrity

—การจัดการความเสี่ยง risk management

อนาคตคณะแพทย์

  • -Recruit the best talent พัฒนาการคัดเลือกบุคลากรเชิงรุก ให้ทุนการศึกษา การทาบทาม
  • -CSR corporate social responsibility การออกหน่วย การให้ความรู้แก่ชุมชน พัฒนาชุมชน
  • -Innovation culture สนับสนุนและเผยแพร่นวัตกรรมต่างๆอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดนวัตกรรมอย่างไร
  • -strategy positioner เตรียมบุคลากร เทคโนโลยี เพื่อรองรับการบริการ การศึกษา การวิจัย ในอนาคต

อ.จีระ: หนังสือเล่มนี้เป็น HR เชิง 3V หาก Talent คณะแพทย์ มอ. มีอิทธิพลของความไม่ปลอดภัยก็จะไม่ได้คนเก่งเกิดขึ้น

สิ่งที่อยากฝากให้คือ เน้น Compactly builder ไม่ได้พัฒนาคน แต่พัฒนาวัฒนธรรมองค์กร และ กระบวนการ

  • จุดอ่อน คือ ไม่ Synchronize กิจกรรมต่างๆ ในการทำงานไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น

กลุ่ม 2 ประเทศจีน : Global HR Competencies: Mastering Competitive. Value from the Outside-In.

พูดถึงบริษัทไฮเดเหลา (Hidailao) เป็นภัตตาคาร ที่มีมีคนรอเข้าไปทานเยอะมาก มีกิจกรรมระหว่างรอ คือ มีการทำเล็บ มีการขัดรองเท้า มีอินเตอร์เนต มีการให้บริการที่ยอดเยี่ยมจากลูกจ้างของไฮเดเหลาเกินความคาดหวังของทุกคน

เจ้าของ: คุณสามารถเปลี่ยนโชคชะตาได้ด้วยมือของตัวเอง ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของลูกจ้าง ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับความพึงพอใจของลูกค้าด้วย

-“การให้บริการ เหนือความคาดหมาย” เกิดว่า คำโฆษณาของบริษัท

-“ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของแต่ละคน จะแปรตามกับความพึงพอใจของลูกค้า”

-“ความพึงพอใจของลูกจ้าง สัมพันธ์โดยตรงกับความพึงพอใจของลูกค้า”

สิ่งที่ทำเชื่อมโยงกับการเติบโตอย่างยั่งยืนมากกว่า 20 ปี ประเทศจีนอยากให้ทุกกิจการทำได้แบบนี้

ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ประเทศจีนเปลี่ยน

-การเติบโตอย่างรวดเร็วในอดีตแลกมากับมลภาวะ การสิ้นเปลืองพลังงาน และขยะ

-ในอดีตการส่งเสริมการผลิต ที่มีจุดเด่นคือ แรงงานราคาถูก

-ในอดีตคนงานรายได้น้อย ได้สิทธิประโยชน์ต่ำ

-ปัญหาเศรษฐกิจ ใน USA/EU ลดการบริโภค

-แผน 5 ปี ฉบับที่ 12 ของรัฐบาลจีน (2011-2015) แสดงให้เห็นชัดเจนในความเปลี่ยนแปลง กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ

-ตลาดภายในประเทศมีการแข่งขันรุนแรง และมีปริมาณสูงขึ้น

-มุ่งเน้นไปทางการขาย การออกแบบผลิตภัณฑ์ และบริการ มากกว่าการผลิต

-ขยายตลาดจากระดับบนสู่ระดับกลางและล่าง (ซึ่งมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น)

Strategic Transformation of Chinese Firms กลยุทธ์เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆของจีน

-Low cost manufacturing to higher valueadded in technology and service เปลี่ยนผลิตด้วยแรงงานราคาถูก เป็นการเพิ่มมูลค่าด้านเทคโนโลยีและการบริการ

-Local to global

การเปลี่ยนแปลง

Low value added activities คือ ผลิตและประกอบสินค้าตามสั่ง OEM

Higher value added activities คือ Innovation, Service, Branding

การผลิตภายในประเทศคือ การตั้ง R&D center, Sale & marketing office กระจายทั่วโลก

ตัวอย่างสินค้า Mindray ทำให้ลูกค้าเลือกมากกว่า และมีกาให้บริการที่สามารถให้คำปรึกษาได้ 24 ชั่วโมง เน้นไปที่รพ.ขนาดกลาง

เรื่องคนชนะเรื่องการขาดแคลนบุคลากร

  • 5-6 ล้านบัณฑิต ยังไม่มีประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มากพอที่จะเอามาใช้งานได้
  • ต้องมีขั้นตอนพิเศษ
  • Mindray
  • Energizing Talents for Long-term Commitment

  • ทำอย่างไรให้คนเก่งอยู่กับองค์กรได้นานๆ
  • Huawai : family
  • Alibaba, HDL : a fair & transparency work environment, Meritocracy
  • Required Changes in HR Roles and Competencies

    1.Capability builder

    2.Change champion

    3.Talent manager and developer

    Capability builder

  • Change aggressive cost management to more innovative in product development and more creative in marketing and branding activity
  • เปลี่ยน วัฒนธรรมองค์กร
  • คนจึงมีความสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลง
  • HRCS 2012

  • ภาพรวม HR ในจีน อยู่ในช่วงเริ่มต้น เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก
  • Informative Technology

  • HR database มีความสำคัญมาก ในจีนยังทำกันน้อย และใช้คนทำ
  • Social network สำคัญมาก
  • การสื่อสารในองค์กร
  • สร้าง brand ได้ sharing successful, external stakeholder
  • Recruitment from employees alumni
  • HR Professional ต้องมี account ส่วนตัว เพื่อเรียนรู้และใช้ประโยชน์
  • อ.จีระ: ทำอย่างไรให้คณะแพทย์ไปยัง Value creation และ Value diversity มากขึ้น

    กลุ่ม 3 บทที่ 7 ประเทศอินเดีย

    ประเทศอินเดีย เป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทำให้อินเดียเจริญได้คือความคิดสร้างสรรค์ เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (value – add HR practices)
    ตัวอย่างธนาคาร ICICI ที่ได้ผันตัวเองไปสู่ธุรกิจการเงินทั้งระบบ จนเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย มีหลักการบริหารบุคคลคือ

    1.Making sure that the right number of people with the right knowledge and skills are assigned to the right businesses in the right locations

    2.Integrating these people into a cohesive organization with a shared identity, culture, ethos, values, and business orientation

    3.Ensuring the availability of high-quality leaders to carry the culture and build other organization capabilities

    ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ICICI Bank ได้เพิ่มจำนวนพนักงานเป็นจำนวนมาก หลักการรับพนักงานใหม่คือ “ค้นหาคนที่มี DNA เดียวกับบริษัท และมีเป้าหมายเดียวกับบริษัท”
    วิธีการที่ใช้คือสร้าง “โรงเรียน” ขึ้นมาเพื่อผลิต บัณฑิตตามที่บริษัทต้องการ

    วิธีการที่ใช้ดูแลพนักงาน

    1. ฝึกงานอย่างจริงจัง

    2. ดูแลทุกคนเสมือนสิ่งมีค่า

    3. เน้นสร้างจุดแข็งและมองข้ามจุดอ่อน

    4. ให้ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ HR ด้วยเสมอ

    จุดเด่นประเทศอินเดีย

    • -มีประชากรที่อายุน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่นๆผู้หญิงมีบทบาทมาก สังเกตจากผู้บริหาร
    • - ระดับสูงของหลายๆ บริษัทที่เป็นหญิง
    • เปรียบเทียบหลักการบริหารบุคคล
    • ICICI Bank
    • คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
      • -Making sure that the right number of people with the right knowledge and skills are assigned to the right businesses in the right locations
      • -Ensuring the availability
      • of high-quality leaders to
      • carry the culture and
      • build other organization
      • capabilities
      • -Ensuring the availability
      • of high-quality leaders to
      • carry the culture and
      • build other organization
      • capabilities
    • -บางหน่วยงานขาด
    • อัตรากำลัง
    • - ส่วนใหญ่บุคลากรมีความรู้
    • และทักษะในการปฏิบัติงาน
    • ตรงกับสายงาน ยกเว้น
    • บุคลากรสายสนับสนุน
    • -มีนโยบายในการพัฒนาผู้นำ
    • สืบทอดตำแหน่งผู้บริหาร
    • เพื่อนำพาให้องค์กรมี
    • ความก้าวหน้าไปอย่างยั่งยืน
    • -มีนโยบายในการพัฒนาผู้นำ
    • สืบทอดตำแหน่งผู้บริหาร
    • เพื่อนำพาให้องค์กรมี
    • ความก้าวหน้าไปอย่างยั่งยืน
      • เปรียบเทียบวิธีการที่ใช้ดูแลให้พนักงานให้พัฒนา และผูกพันกับองค์กร
      • ICICI Bank
      • คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
        • ฝึกงานอย่างจริงจัง
      • ปฐมนิเทศ
      • มี Job description
      • On the job training
      • มีระบบพี่เลี้ยง
      • มีการกำหนดข้อตกลงภาระงาน
      • มีระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
      • การส่งไปอบรม / ดูงาน
        • -ดูแลทุกคนเสมือน
        • สิ่งมีค่า
      • -มีสวัสดิการที่เท่าเทียมกัน
      • - มีวัฒนธรรมในองค์กร เช่น
      • การชื่นชม การขอบคุณ
      • ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
      • โดยเฉพาะผู้บริหารปฏิบัติตน
      • เป็นแบบอย่างที่ดี
        • -เน้นสร้างจุดแข็งและ
        • - มองข้ามจุดอ่อน
      • -บางครั้งผู้บริหารมอง
      • - จุดอ่อนเพื่อหาโอกาสพัฒนา
      • - ให้เป็นจุดแข็ง
      • -
        • -ให้ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วม
        ในกระบวนการ HR ด้วย เสมอ
      • -CEO HR Non-HR
      • มีการแบ่งงานรับผิดชอบ
      • มีการประสานงาน แต่ยังมี
      • จุดอ่อนของการสื่อสาร
      • กลุ่ม 4 Summary and Integration of Regional Differences สรุปความแตกต่างแต่ละภูมิภาค

        Global Trends

        โลกปัจจุบันไม่มีการแบ่งแยกระดับของประเทศอีกต่อไป ( The World is Flat) ทุกองค์กรมีโอกาสในการเสาะหาคนเก่งเข้ามาร่วมงาน

        Thomas Friedman กล่าวว่า เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่คนเก่ง (Talent ) มีความสำคัญกว่าภูมิภาค องค์กรพยายามหาคนเก่งในระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน

        ฝ่ายบุคคลจึงมีบทบาทในการหาคนเก่งเข้ามาทำงานให้กับองค์กร และฟูมฟักให้ทำงานเข้ากับองค์กร

        Global Teamwork in the world of HR …> effective HR

        Common and Customized Competencies : Similarities and Differences Around the World

        ไม่ว่าจะอยู่ภูมิภาคใด เป็นความท้าทายของฝ่าย HR ในการทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการนำ การประสานงาน การกระตุ้น การวางแนวทางให้สอดคล้อง การฝึกอบรม การพัฒนา การประเมิน และการมอบอำนาจ

        งาน HR ไม่ใช่งานตรงไปตรงมาเหมือนการสร้างจรวดแต่เป็นงานที่ซับซ้อน มีความท้าทายเพราะธรรมชาติของบุคคลที่มีความหลากหลาย ทั้งวัฒนธรรมและความเชื่อ การพัฒนาต้องทำอย่างเข้มข้น จริงจัง ต่อเนื่อง มีการวัดผล

        สมรรถนะของฝ่ายบุคคล 6 ประการ ที่รวบรวมมาจากวิจัย จะช่วยยกระดับบทบาทของฝ่ายบุคคลที่มีต่อองค์กร ในการช่วยให้องค์กรประสบผลสำเร็จ

        HR Competency Model แบ่งเป็น 6 กรอบ

        1.Credible Activist

        2.HR Innovator and Integrator

        3.Strategic Positioner

        4.Capacity Builder

        5.Change Champion

        6.Technology Proponent

        การนำมาปรับใช้กับคณะแพทย์ ฯ

        1.ความน่าเชื่อถือ (Credible Activist)

        แนวคิด วิธีการ
        การทำงานระดับนานาชาติ •สร้างความเป็นนานาชาติและอาเซียนมีทักษะระดับสากล
      • สร้างงานที่มีความสร้างสรรค์ นวตกรรมที่เป็นผลงานคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในประเทศ หรือใน Asean ได้
      • ทำงานแบบมืออาชีพ ( Professional )
      • ทำงานแบบสากล ( Internationalism )
      • ทำงานแบบโปร่งใส มีธรรมาภิบาล มี Integrity and Honesty
      • 2.ช่วยกำหนดกลยุทธ์และนำไปสู่การปฏิบัติ

        (Strategy Positioner)

        แนวคิด วิธีการ
        เข้าใจเรื่องของ global business context : social political economic environmental, technological, and demographic trends that bear on their business Mindset เสริม competency ด้าน management เข้าใจและรู้จักตัวเอง เข้าใจ stakeholder
        กำลังคน จำนวนกำลังคน ( ความต้องการปรับเปลี่ยนจากพนักงานเป็นข้าราชการ )
        3.Capability builder
        แนวคิด วิธีการ
        สร้างความเป็นมืออาชีพ •ทำงานเป็นทีม มี Networking ทั้งในระดับ Local / Global+ Asean
      • ทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ ทำต่อเนื่อง และต่อเนื่อง
      • ทำงานเพื่อยกระดับการพัฒนาให้ก้าวหน้า มากกว่าแข่งขัน
      • มีมาตรฐานในการทำงาน
      • สร้าง Talent ที่มี SKILLS KNOWLEDGES
      • MINDSET or ATTITUDE

        4.Change champion

        แนวคิด วิธีการ
        สร้างผู้นำ สร้างผู้นำเชิงลึก มี Diversity & Innovationบริหารความหลากหลาย สร้างvalue creation ผู้นำที่กล้าคิด กล้าตัดสินใจ มี Succession Plan

        Work life balance & balance local /global

        5.Technology proponent

        แนวคิด วิธีการ
        ใช้ IT : E-Delivery of services •HR information systems (HRIS)
      • HR professionals are applying social networking technology to help people stay connected with each other
      • Romote Diagnostics , specialist consultation , remote surgery
      • Remote monitoring of chronic conditions
      • E-mail primary care consults
      • Information , appointments , test results, prescriptions, referrals
      • Electronic health records
      • Increasing the reach of providers
      • Globalization

        6.Human resource innovator and integrator

        แนวคิด วิธีการ
        สร้างทุนมนุษย์ พัฒนาทุนมนุษย์ : ให้ทันยุคโลกาภิวัฒน์และอาเซียน ( 5 K’s ) Knowledge Capital ทุนทางความรู้ Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

        Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

        Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

        Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

        พัฒนาทุนมนุษย์ : ให้ทันยุคโลกาภิวัฒน์และอาเซียน ต้องให้คุณค่า 3 V

        Value Added

        Value Creation

        Value Diversities

        เอาความหลากหลายของนานาชาติมาเป็นพลัง มองคนเป็นยุทธศาสตร์

        ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงาน เน้น performance base และผูกกับการเลื่อนเงินเดือน พัฒนาการทำงานไปสู่มาตรฐาน Quality มีคุณภาพ

        Excellent มีความเป็นเลิศ

        Benchmarking เทียบคู่แข่งได้

        Best Practice แบบอย่างที่ดีที่สุด

        ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ยอมรับความเปลี่ยนแปลง สร้างความตื่นตัว ให้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องการเข้าสู่อาเซียน Open mind
        • กลุ่ม 5 บทที่ 13
        • บุคลากรที่บริหารงาน HR ต้องไวต่อการเปลี่ยนแปลง
        • -ลูกจ้าง
        • -ลูกค้า
        • -เครือข่าย
        • -บริบทอื่นๆ
        • บุคลากรที่บริหารงาน HR ต้องใช้เทคโนโลยี

        -จ่ายงาน

        -หาข้อมูล

        -วิเคราะห์

        -หาเครือข่าย

        บุคลากรที่บริหารงาน HR ต้องรู้แนวโน้มของความสามารถโดดเด่น(Talent)

        • -ลงทุนอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ
        • -สร้างขึ้นมาได้
        • -ต้องรู้จักให้ (contribution)
        • -Life-work integration
        • -จากท้องถิ่นสู่สากล (domestic to global)
        • -ยืดหยุ่นได้
        • องค์กรในอนาคตควรจะ
        • -ยืดหยุ่น
        • -Team work
        • -รับผิดชอบสังคม
        • -มีช่องทางที่เรียบง่ายเพื่อเข้าถึงความซับซ้อน
        • -ความเข้มแข็งทางจริยธรรม
        • -การจัดการความเสี่ยง

        ผู้นำในอนาคต

        • -จากสั่งเป็นสอน ร่วมกันทำ และ สื่อสารถึงจุดหมาย
        • -ต้องรู้วิธีที่จะทำให้ดีขึ้น
        • -จากผู้นำ เป็นภาวะผู้นำ
        • 5 ส : แสวงหา ใส่ใจ สนับสนุน สอนงาน ส่งเสริม

    จากการสรุปGlobal HRที่อาจารย์มมอบหมายให้อ่านมีข้อเสนอแนะการapplyกับคณะ

    Gr1    จากHR model   

      Recruit the best    talentการคัดเลือกและรักษาคนเก่งในองค์กร

       CSRออกสู่สังคมเพิ่มขึ้น

       Strategic Positionนักกำหนดกลยุทธ์

    Gr2     จากตัวอย่างChina

        การส่งเสริม พัฒนาองค์กร  ต้องมีคนที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

    และการบริหารtalent  ทำอย่างไรให้HRเป็นProfessionalสามารถกำหนดกลยุทธ์ เปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร

    แทนการใช้แรงงานราคาถูกเลิกจ้าง   down sizingแบบการจัดการแบบเดิม

    Gr3     จากตัวอย่างIndia

           การพัฒนาผู้บริหารและมีส่วนร่วมการบริหารHR

          การเรียนรู้ในงาน

          การหาจุดอ่อนเพื่อพัฒนาจุดแข็ง

          OFI  research สัดส่วนman power planning

    Gr4    องค์กรต้องสร้างความน่าเชื่อถือในระดับนานาชาติหรือระดับAsean

    การสร้างงานวิจัย

    เสริมmind set เสริมความเป็นAseanโดยรู้ถึงสภาพแวดล้อมภายนอก policy technology economy  เป็นต้น

    Capacity builder สร้างnetworkแลความเป็นนานาชาติ

    การสร้างทุนมนุษย์  เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการทำงาน

    ความสุขเป็นปัจจัยให้เกิดความสำเร็จ

    Success is not the key to happiness

    Happiness is the key to success

    If you love what you are doing

    You will be successful.

    Gr5 การทำCSRมากขึ้น การทำงานกับชุมชนมากขึ้นเพื่อได้รับความร่วมมือเพิ่มขึ้น

    การกระเด้งจากกลุ่ม5กรณีการคัดเลือกคนในอนาคตของไทย

    ด้วยการดูโหงวเฮง เลขท้ายบัตรประชาชนและ

    ศาสตร์การวิเคราะห์ลายเส้นนิ้วมือ

    คนที่มีความสามารถสูงก้อมีegoสูง

    บุคลากรทางการแพทย์จะเก่งล๊กแต่ไม่สนใจเรื่องกว้างซึ่งหลักสูตรนี้จะเน้นให้มองกว้าง

    ฉมาภรณ์

    พบอาจารย์ที่ปรึกษาติดตามความคืบหน้าของงานวิจัยฯ (ครั้งที่ 1)

    โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

    คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

    Concept คือ การจัดทำ project ที่ตอบโจทย์คณะแพทยศาสตร์ และเอานวัตกรรมไปใส่ (action plan เป็นงานประจำ ไม่ใช่) ให้มองเชิงนวัตกรรม ที่ไม่เหมือนเดิม พยายามหาว่ามีอะไรที่แตกต่างจากปกติ อะไรที่บอกว่าเราควรทำโครงการ เมื่อทำแล้วคณะแพทยศาสตร์ happy

    ให้มองว่า นี่คือคณะแพทยศาสตร์ (ไม่ใช่โรงพยาบาล) การเคลื่อนของคณะแพทยศาสตร์ ไม่ได้เคลื่อนเฉพาะโรงพยาบาล หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น เป็นนักวิชาการ ไม่ใช่ผู้ขับเคลื่อนการเดินไปข้างหน้า ต้องทำความเข้าใจว่า นี่คือคณะแพทยศาสตร์ ไม่ใช่โรงพยาบาล

    คนที่ทำงานในโรงพยาบาล การรักษาเป็นภารกิจของโรงพยาบาล

    เมื่อไหร่ที่มองเป็นคณะแพทยศาสตร์ เป็นการมองภาพกว้าง เช่น การเรียนการสอน การวิจัย งานบริการ พัฒนาคุณภาพ หากต้องการดูแลคณะแพทยศาสตร์ ต้องดูแลให้คณะเคลื่อนไปข้างหน้า การทำโครงการควรมองที่เป้าหมายให้มองไปด้วยกัน

    หากเป็นคณะแพทยศาสตร์เคลื่อนไปข้างหน้า โรงพยาบาลเป็นหนึ่งในคณะฯ งาน IT
    งานสนับสนุน ให้มองทุกส่วน ทำอย่างไรให้คณะแพทยศาสตร์เดินไปด้วยกัน โครงการนี้ทำเพื่อพัฒนาองค์กร ซึ่งนั้นคือคณะแพทยศาสตร์

    Project ให้มององค์กรคือ คณะแพทยศาสตร์ และสามารถนำไป implement ได้ด้วย

    ปัญหาเด็กไม่เข้าห้องเรียน

    เราจะไม่ดูว่า หมอจะมาทำงานตรงเวลาไม่ ตัวที่จะทำให้องค์กรเดินไปข้างหน้า เด็กเข้าห้องเรียนพร้อมกัน หมอมาทำงานตรงเวลา ไม่ใช่การแก้ทีละจุด แต่ต้องแก้ทั้งระบบ

    ตัวอย่างชื่อวิจัย

    กลุ่มที่ 1 ประสิทธิภาพการนัดตรวจคลินิกตาให้ตรงเวลานัด

    กลุ่มที่ 2 หลอดเลือดสมอง

    กลุ่มที่ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการธำรงรักษาบุคลากร

    1.บุคลากรมีส่วนของภารกิจแค่ไหน ผลิตบัณฑิต พัฒนานักศึกษา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (สงกรานต์ ฯลฯ) บริหารจัดการ การเงิน ฯลฯ

    2.ปัญหาเรื่องบุคลากรกระทบทั้งองค์กร ภาพใหญ่

    กลุ่มที่ 4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร (คณะแพทยศาสตร์)

    1.ทำอย่างไรไม่ให้สมองไหล สร้างความผูกพัน

    กลุ่มที่ 5 การสื่อสารเพื่อความสุขของคนคณะแพทยศาสตร์

    หนองคาย ทำ medical hup Core Value อยู่ตรงไหน ทำอย่างไรให้หนองคายเคลื่อนไหว

    สำหรับคณะแพทยศาสตร์

    ปี 2020 คณะแพทยศาสตร์จะเป็นอย่างไร ดูจาก Where are we ? หากไม่รู้ก็ทำ SWOT analysis อะไรมาคุกคามเราได้บ้าง

    1.กำหนดให้เห็นเป้าหมาย ปี 2020 คืออะไร

    2.Core Value คืออะไร (ทุนเดิมที่มีอยู่ในขณะนี้) อะไรที่มีอยู่แล้ว เป็นปัจจัยหลัก หรือปัจจัยรอง -> สิ่งที่มองเห็น

    เทียบ หนองคาย ปัจจัยหลัก รพ.มี 5 แห่ง จุดอ่อนมีอะไรบ้าง

    มี key word ให้ ของหนองคาย

    1)ส่งเสริมให้หนองคายออกกำลังกาย key word

    2)เป็นอาเซียนด้วย

    3)เศรษฐกิจ (พอเพียง)

    4) เงิน

    5)ทำเสร็จไม่จบ Key word คือ ความยั่งยืนด้วย

    6)สุขภาวะ

    3.Key word ของคณะแพทยศาสตร์ 2020 คณะแพทยศาสตร์ มอ. มีอะไรชูขึ้นมา

    1)PSU อยู่ได้ด้วยตนเอง (ก่อนเป็นที่พึ่งของคนอื่น เราอยู่ได้ด้วยก่อน) อยู่ได้ด้วยตัวเอง และอยู่ได้ดูแลลูกหลานได้ด้วย คนที่มาพึ่งเรามีใครบ้าง มองให้ใหญ่กว่าผู้ป่วย เช่น นักเรียนแพทย์พึ่งเรา นักเรียนพยาบาลพึ่งเรา เป็นต้น

    2)เป็นที่พึ่งของคนในภาคใต้

    3)ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

    มองเชิง profit

    Medical hup ของหนองคาย

    1.สมองไหล คนส่วนใหญ่เป็นใช้ทุน ใช้ทุนเสร็จกลับบ้าน

    2.ทำไมถึงไหน ทำอย่างไรไม่ให้ไหล อย่ามอง Process เดียว เช่น ปัจจัยอะไรที่ทำให้เขาอยู่ ต้องเรียกให้กลับมาได้ด้วย

    4.ให้มองว่า 2020 แพทย์ มอ. อยู่ตรงไหน (ดึงที่อาจารย์จีระสอน)

    1)กำหนด Vision Mission

    2)Where are we

    3)SWOT (Core Value อยู่ตรงไหน / จุดอ่อน มีอะไร)

    4)ถ้าจะไปตรงนั้น ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

    งานที่ส่งมา 5 เรื่อง

    ตัวอย่าง ตำรวจโดนจับหาว่าขายยาบ้า (ตำรวจมีหน้าที่จับยาบ้า) ปรึกษาคณะนิติศาสตร์ ช่วยให้ความเห็น และต้องให้คุณภาพดีขึ้นด้วย (เมื่อถูกจับมีใครมาช่วย นั้นคือคุณภาพชีวิตดีขึ้นแล้ว)

    หมอรักษาคนไข้ตาย มีฝ่ายหนึ่งของโรงพยาบาลเข้ามาช่วย มีคนโดนฟ้องมีคนจัดการ นั้นคือคุณภาพชีวิตดีขึ้นแล้ว และมีภารกิจต่อคือ การกำหนดระบบ และแนวทางปฏิบัติ มองให้กว้างขึ้น มองทั้งเชิงแก้ไข และเชิงป้องกัน

    หากจะโยงเข้างานวิจัย เมื่อคนมาปรึกษาเราแล้ว ชี้แนะทำอย่างไร การแก้ไขและเชิงป้องกันอย่างไร

    จากกลุ่มวิจัยเรื่อง ปัจจัยส่งผลต่อความผูกพันองค์กร

    กลุ่ม 3 กับกลุ่ม 4 เป็น HR เหมือนกัน กลุ่ม 4 เป็น subset ของกลุ่ม 3 หากชนกันก็เลี่ยง แทนที่ชนกัน

    กลุ่ม 5 อยู่ในคณะคุยกันไม่รู้เรื่อง ทำอย่างไรให้คุยกันรู้เรื่อง คณะฯ ไม่ได้คุยในคณะอย่างเดียว ต้องคุยภายนอกองค์กรด้วย

    อยากให้ขยายมุมมอง กลุ่ม 1 มองว่าปัญหาการนัดเป็นปัญหา แต่จริงแล้วเป็นการบริหารจัดการ หากจะแก้ต้องแก้ set ระบบในภาพขององค์กร ให้องค์กรเดินไปข้างหน้าได้ หากมองว่าเป็นวิชาการแก่ชุมชน .....

    Model ทำเพื่อองค์กร ไม่ใช่เพื่อคลินิกตา มองภาพ มอ. เดินไปข้างหน้า

    มองว่าปัญหานี้เกิดจากอะไร ปัญหานี้เป็น subset ของเรื่องอะไร มองหว่าเป็นการบริหารจัดการภายใน หรือปัจจัยภายนอก มองว่าเป็นการบริหารจัดการของคณะแพทยศาสตร์ ให้มองเป็นภาพรวมของคณะ

    กลุ่ม 2 ดูแลเส้นเลือดสมองตีบอย่างครบวงจร หมอไม่ต้องการรักษาอย่างเดียว มีหน้าที่เชิงป้องกัน หรือการดูแลเมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้ว ไม่ใช่เฉพาะโรคเส้นเลือดเพียงอย่างเดียว มุมมองไม่ต้องการ zero ควรมองอะไรก็ได้ทุกโรค หัวใจ ตา (ต้อกระจก) การที่จะแก้ปัญหาของกลุ่ม 2 ไม่ใช่บางโรค ทำอย่างไรไม่ให้เขาเป็น หากเป็นแล้วเขาควรดูแลตัวเองอย่างไร ทำอย่างไรให้เขาเกิด awareness

    ตัวอย่าง สัมมนา เด็กไต้หวันกับประเทศไทย ระบบการศึกษาในประเทศไทยเป็นอย่างไรหากเทียบกับไต้หวัน .... ให้มองตัวลูกค้า

    คณะพยาบาลมีปัญหา มีผู้ป่วยเป็นความดันมีปัญหาต่อชุมชน .. การสร้าง awareness ทำอย่างไร

    บ่อขยะเยอะมาก ทำอย่างไร -> ใครทิ้ง ในชุมชนหรือมาจากที่อื่น โจทย์วิจัย สร้าง awareness ให้ชาวบ้าน เช่น การแยกขยะ

    การรักษาพยาบาล (ไม่เห็นโลงศพไม่เห็นน้ำตา) ผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หลักการสร้าง awareness สร้างคนเดียวไม่ได้ ต้องคิดคนรอบข้างด้วย

    นอกจากเราจะเข้าไปดูในเชิงป้องกันแล้ว ให้ความรู้แล้ว มีนวัตกรรมอะไรไม่?

    กลุ่ม 2 กลุ่ม 3 ร่วมกันคิด ปัญหาบุคลากรมีปัญหาอะไร

    ตัวอย่าง ที่มหาวิทยาลัย16.30 น. ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ HR คิดอะไรกับองค์กร เลิกงาน 16.30 น. แต่เวลา 16.00 มีคนมารอเพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือ -> HR ต้องคิด ? และมองให้เห็นว่า เขามีทัศนคติอะไรต่อองค์กร ดี ไม่ดี ทำไมถึงดี ทำไมไม่ดี ไม่ดีทำอย่างไร

    กลุ่ม 5 ที่นี้บุคลากรเหมือนจะยอมรับให้วิจารณ์กันได้ แต่เมื่อเปิดเวทียอมรับกันไม่ได้ เป็น mindset

    HR ดูปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการคงอยู่ของบุคลากร SWOT เอาก็ได้ ไม่ต้องทำวิจัย

    จากตัวอย่าง บางครั้งทำให้บางอย่างหายไป วัฒนธรรมองค์กรก่อน 08.30 น. พิมพ์ลายนิ้วมือ แต่ 09.00 น. นั่งที่ห้องอาหาร เสียประโยชน์ จากมองถึงการธำรงรักษาบุคลากร พยายามตัดวิธีการทางวิทยาศาสตร์ แต่ให้ใส่ วิธีการทางสังคม

    หากจะคิดบุคลากรอย่าคิดตัวเลขมาก ให้คิดเชิงสังคม ความผูกพันต่อองค์กรให้เปลี่ยนทัศนคติ (เอาอะไรจากเรา ต้องคิด ให้อะไรแก่องค์กรบ้าง)

    กลุ่ม 5 การศึกษาการสื่อสารในองค์กรมีปัญหาหรือไม่ วัฒนธรรมองค์กร Mindset -> มีการสำรวจบุคลากรในองค์กรยังไม่พอใจการสื่อสารในองค์กร เช่น ไม่ค่อยทราบนโยบาย แก้โดย ติดบอร์ด สื่อสารไปกลับ สื่ออีกอย่างเข้าใจอีกอย่าง อวัจนะภาษาไม่ดี เชิญวิทยากรมาบรรยาย ปัญหารูปแบบไม่ดี ปัจจัยที่ทำให้องค์กรอยู่ได้ หากมองการสื่อสาร ควรมองการสื่อสารภายนอกด้วย ลูกค้าของเรา เวลาเข้าไปหน่วยงานภาครัฐ ภาพประทับใจคืออะไร “ขอโทษครับ จะทำอะไรครับ” หากเราอยากจะดู การสื่อสารเป็นหนึ่งปัจจัย หากกว้างกว่านั้นคืออะไร จริงหรือไม่เป็นเรื่องการสื่อสาร หากจะจับเรื่องนี้ต่อ “การสื่อสารในองค์กรกระทบคณะแพทยศาสตร์ 2020 อย่างไร”

    ปัญหา “การสื่อสารภายใน และภายนอกเป็นอุปสรรคที่ทำให้องค์กรเดินไม่ได้” หาออกมา คนคุยกัน หากไม่รู้เรื่อง ถ่ายทอดวิธีเทคนิค ก็อบรมเทคนิค งานวิจัยต้องเกิด impact ที่ชัดเจน

    สรุป Med PSU 2020

    1.Set Vision

    2.Core Value

    3.3V’s

    4.Services สร้างเป็น premium clinic ไม่ (โรคยาก ซับซ้อน) อะไรที่เป็นจุดเด่น

    5.SWOT analysis

    6.Sustainability ทำแล้วต้องยั่งยืน อย่าคิดเป็น 2020

    7.Knowledge ที่มีอยู่แล้ว นั้นคือ Core value

    8.R & D research และ Development

    9.Networking ปัญหากลุ่ม 5 ต้องตอบให้ได้ หากการสื่อสาร ภายในและภายนอกยังไม่ได้ หากเกิดไม่ได้ดึง 3V’s มาปรับใช้

    10.HR ทำ 3 กลุ่ม เมื่อทำแล้ว นำไปใช้กับแพทย์ มอ. จริง วิธีการจากวิจัยทำอะไรบ้าง แต่เป็นวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว

    อ.จ้า

    ดูวิจัยแล้วงานวิจัยแคบลง อ.กิตติ หาช่อง พวกเราเสนองานวิจัยติดกับดัก งานวิจัยต้องตอบโจทย์ 2 ข้อ

    1.สังคม เป็น Core Value คือ track และให้มองไปที่ Trend และเพิ่ม 3V’s (อ.จีระเน้นเพิ่มมูลค่า) งานวิจัยผิวหนังเทียม เป็น Value create หรือ Value diversity

    2.เศรษฐกิจ Sport medicine หรือ Sport (วิทยาศาสตร์)

    3.แนวทางบริหารจัดการ คน เงิน ความง่าย (เครื่องมือ)

    4.กรณีศึกษา (หนองคาย)

    5.การต่อยอดงานวิจัย

    6.การรักษาพยาบาล ยังไม่เห็นกลุ่มไหนคิดเรื่องวิชาการใหม่ ๆ เช่น ด้านสังคม Sport medicine ต่อยอดวัยรุ่น

    กิจกรรมวันหยุด วันแม่

    โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณค่า (ทางสังคม) และการเพิ่มมูลค่า (เศรษฐกิจ) ของคณะแพทย์ มอ.

    1.ตั้งหัวข้อโครงการใหม่ที่ตอบโจทย์สังคม ความเป็นเลิศทางสังคม และเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิด 3V’s

    2.หลักการและเหตุผล ให้สรุปสั้น ๆ Key word คณะแพทย์ มอ.ปี 2020 โครงการของเราตอบโจทย์ได้อย่างไร

    3.แนวทางบริหารจัดการ

    3.1 เส้นทางสู่ความสำเร็จ

    3.2 มีเงินหรือไม่ หากไม่มี แนวทางการหาเงิน

    3.3 ความเป็นไปได้ในการร่วมมือกัน ร่วมกับส่วนอื่นหรือคณะอื่นได้อย่างไร

    3.4 Step หรือขั้นตอนเดินอย่างไร หลังปี 2020 คนที่มาต่อยอดเดินอย่างไร มองในภาพกว้าง

    3.5 อื่น ๆ (ตามที่ อ.กิตติบรรยาย)

    3.5 Case Study / กรณีศึกษาโครงการของที่อื่น

    สรุปเนื้อหาหนังสือ global HR competence โดยผู้อบรม 5 กลุ่ม

    31กค.57

           เป็นการสรุปเนื้อหาที่ทำให้เข้าใจหนังสือทั้งเล่มได้ดี เห็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้สำหรับ HR ในการสร้างสมรรถนะของบุคลากร เริ่มตั้งแต่การค้นหาและคัดเลือก talent การพัฒนา การให้โอกาสเติบโตในวิชาชีพ การรับผิดชอบต่อสังคม (corporate Social responsibility) โดยการตอบแทนสังคม เช่น การเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ชุมชน โดยวิธีการต่างๆ การให้ทุนคนเก่งในชุมชน ซึ่งสมรรถนะฝ่ายบุคคลที่ต้องมีดังนี้

    1. นักนวัตกรรมและบูรณาการ (HR innovator and integrator)

    2. สนับสนุนเทคโนโลยีโลกสังคม (Technology proponent)

    3. นักสร้างขีดความสามารถ (capability builder)

    4. เป็นแชมป์ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง (( Change champion)

    5. นักกำหนดกลยุทธ์ (STrategy positioner)

    6. นักสร้างความน่าเชื่อถือ (Credible activist)

         สิ่งที่น่าสนใจในเรื่องความท้าทายเชิงธุรกิจ การแข่งขันของประเทศจีนคือ การให้บริการที่ยอดเยี่ยมจากบุคลากรต่างๆซึ่งให้บริการที่เกินความคาดหมาย การกระจายหุ้นให้พนักงานรู้สึกเป็นเจ้าของบริษัท ตัวอย่างที่ธนาคารที่ประสบความสำเร็จที่อินเดียคือ ความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนามนุษย์ มีการฝึกงานอย่างจริงจังและดูแลทุกคนเสมือนสิ่งมีค่า

          องค์กรในอนาคตควรจะยืดหยุ่น ทำงานเป็นทีม รับผิดชอบสังคม มีช่องทางที่เรียบง่าย มีความเข้มแข็งทางจริยธรรม และมีการจัดการความเสี่ยง โดยผู้นำในอนาคตต้องเปลี่ยนจากการสั่งเป็นการสอน ร่วมกันทำเพื่อให้ถึงจุดหมาย รู้วิธีที่จะทำให้ดีขึ้น และปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้นำสู่การมีภาวะผู้นำ ซึ่งทำให้มองภาพกว้างของ global HR

    วิชารักษ์กาย รักษ์ใจ

                              อาจารย์นภัสวรรณ จิลลานนท์และอาจารย์กิติภพ สังฆกิจ

             วันนี้เป็นวันที่ได้ฝึกกิจกรรมที่น่าสนใจอีกกิจกรรมหนึ่ง ที่ได้ประโยชน์มากกว่าที่คิดไว้ อาจารย์สามารถสอนคนที่เต้นรำไม่เป็นให้สามารถเต้นรำพื้นฐานได้ อาจารย์สอนการเต้นรำ จังหวะรุมบ้า ชะชะช่า และ dance

    เป็นการฝึกให้เรารู้จักฟังจังหวะดนตรี การทรงตัว การก้าวเท้า ซึ่งส่งเสริมให้บุคลิกภาพดีขึ้น อาจารย์นภัสวรรณ จิลลานนท์และอาจารย์กิติภพ สังฆกิจ เต้นรำสวยงามน่าชมมาก เป็นการออกกำลังกายที่ได้บริหารทุกส่วนของร่างกายทั้งแขนขา ข้อต่อ ปอด การหายใจ อย่างที่อาจารย์ได้บอกไว้จริงๆและยังได้ความเพลิดเพลินสนุกสนานเหมาะกับวัย เห็นแล้วมีความสุข สดชื่น สามารถนำไปใช้ปฏิบัติแทนการออกกำลังกายอื่นๆได้ทุกวัน และประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้ เป็นวิถีการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีวิธีหนึ่งที่ได้ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตสมกับชื่อวิชารักษ์กาย รักษ์ใจ

    พบอาจารย์ที่ปรึกษาติดตามความคืบหน้างานครั้งนี้ 1 อาจารย์กิตติ ชยางกุล

    อาจารย์ให้ข้อคิดในการทำ Miniresearch ให้มองภาพทั้งองค์กรคณะแพทยศาสตร์

    มององค์กรปี 2020 เป็นอย่างไร

    โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาองค์กร Med PSU 2020 ให้พิจารณาถึง

    - Check vision

    - Core value ตอบโจทย์ทางสังคม 

    - 3Vs เรื่องเศรษฐกิจ value added value creation value diversity

    - Services พัฒนาให้มี creativity 

    - SWOT analysis

    - Sustainability

    - Knowledge

    - Research and development

    - Networking

    - HR

    ทำให้เราไปคิดใหม่เพื่อให้ตอบโจทย์เหล่านี้ในมุมที่กว้างขึ้นที่จะส่งผลต่อคณะแพทยศาสตร์ในอนาคต

    สรุปบทเรียน วันที่ 31 ก.ค. 57

    จากหนังสือ Global HR competencies ทำให้ทราบว่า HR จะต้องมีสมรรถนะที่สำคัญ 6 ประการคือ ต้องเป็นผู้นำที่น่าเชื่อถือ เป็นนักกำหนดกลยุทธ์ เป็นผู้กำหนดตรวจสอบควบคุมขีดความสามารถขององค์กร เป็นนักบริหารความเปลี่ยนแปลง เป็นนักนวัตกรรมและบูรณาการ และเป็นผู้สนับสนุนเทคโนโลยี และจากผลการวิจัยพบว่าคุณสมบัติของ HR ในอนาคตจะต้องไวต่อการเปลี่ยนแปลง ต้องเข้าใจเทคโนโลยี ต้องทราบแนวโน้มของความสามารถที่โดดเด่น รู้ว่าองค์กรในอนาคตควรเป็นอย่างไร และผู้นำในอนาคตต้องเปลี่ยนวิธีการจากสั่งเป็นสอน และร่วมทำ

    ช่วงกิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย เป็นช่วงที่สนุกสนาน เฮฮา ได้ขยับแข้งขยับขา โยกหน้าโยกหลัง กันแบบสุดๆ กับ Latin Dance Social Dance และ Line Dance นอกจากสนุกสนานแล้วยังได้บริหารร่างกายทุกส่วน ได้ฝึกทักษะการเคลื่อนไหว การทรงตัว และทำให้จิตใจเบิกบาน มีสมาธิในการปฏิบัติทุกขั้นตอน 

    31 กรกฎาคม 2557

                            หลังจากหยุดไป1สัปดาห์เพื่อให้มีเวลาself study และทำงานกลุ่มด้วยกัน กลับมาอบรมวันนี้ตอนเช้าทั้ง5กลุ่มก็ได้นำเสนอการสรุปประเด็นจากการอ่านหนังสือ Global HR competencies ซึ่งได้รับการชื่นชม จาก ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ว่าพวกเราสรุปและวิเคราะห์ได้ดีมาก โอ้โห ชื่นใจจริงๆ ฉันหันไปดูหน้าแต่ละคนเห็นยิ้มกันแก้มปริ ดูแววตาแล้วเหมือนจะบอกว่า ต่อไปนี้ไม่กลัวการบ้านภาษาอังกฤษอีกแล้ว (oops!!!)

                             ต่อมาเป็นกิจกรรมรักษ์ใจ- รักษ์กาย กับอาจารย์นภัสวรรณ จิลลานนท์ และ อาจารย์กิติภพ สังฆกิจซึ่งพวกเราสนุกสนานกันมาก ได้เรียนรู้การเต้น Rumba , Cha Cha Cha , Line Dance และ Rock4      ฉันรู้จักตัวเองดีว่าไม่มีพรสวรรค์ด้านนี้เพราะฉันนับจังหวะดนตรีไม่เป็น เวลาร้องเพลงฉันมักจะร้องเร็วไปบ้างหรือ ช้าไปบ้าง( เรียกว่าคร่อมจังหวะนั่นแหละ ) วันนี้ฉันจึงตั้งใจและมุ่งมั่นเป็นพิเศษว่าต้องเต้นให้ได้

                            อ.กิติภพสอนวิธีนับจังหวะและแนะนำเทคนิคต่างๆให้ และให้กำลังใจเมื่อพวกเราเต้นผิดจังหวะ  ขาดๆเกินๆส่วน อ.นภัสวรรณก็เข้ามากระซิบให้แก้ไขเป็นรายบุคคล ในที่สุดฉันก็สามารถเต้นได้พร้อมๆกับคนอื่น และเมื่อได้เต้นกับอ.วิวัฒนา ซึ่งเป็นแชมป์ลีลาศ ทำให้ได้เรียนรู้ว่า ถ้าเรามีผู้นำที่เก่ง เขาก็จะนำเราไปได้ตลอดรอดฝั่ง หลังจบกิจกรรมนี้ แต่ละคนเหงื่อแตก ตัวเหนียว หน้าแดง เหมือนเพิ่งผ่านการวิ่งแข่ง100เมตรมาเลย( บางคนนั่งคอตก หมดแรง อิ..อิ..) ถ้าได้เต้นทุกวันรับรองหุ่นดีแน่ๆ  หลังหายเหนื่อยฉันประเมินตัวเองได้ว่า ถ้าได้ฝึกทักษะบ่อยๆ และใส่ลีลาเข้าไปอีกหน่อย ฉันก็สามารถเต้นโชว์ได้เหมือนกัน ( แต่ต้องเต้นกับอ.วิวัฒนา นะ )

                             สุดท้ายอ.กิตติ ชยางคกุล กับอ.พิชญ์ภูรี จันทรกมล ก็มาช่วยกันให้ข้อเสนอแนะในการทำ mini research ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งสรุปได้ว่าหัวข้อวิจัยของพวกเรายังไม่กว้างพอ ยังไม่ตอบโจทย์ด้านเศรษฐกิจและสังคม อาจารย์ฝากคำถามไว้หลายข้อให้พวกเรากลับไปทบทวนโดยให้มองไปถึงอนาคตว่าคณะแพทย์ปี202 จะอยู่ตรงไหน กลุ่ม3ของฉัน สนใจอยากศึกษาในกลุ่มบุคลากรที่เป็น Talent อยากรู้ว่า  เราในฐานะHR จะทำยังไงให้คนเก่งคนดีเหล่านี้อยู่กับองค์กรไปนานๆ อาจารย์เลยบอกว่า ให้เราถามตัวเองว่าที่เรายังอยู่กันทุกวันนี้ไม่ยอมไปไหนเพราะเรามีความสุขใช่มั้ย แล้วที่เรามีความสุขกับการทำงานที่นี่น่ะเป็นเพราะอะไร?? เอ่อ จะตอบว่าไงดีล่ะ อ้อ..นึกออกแล้ว ฉันอยากให้ทุกคนในองค์กรตอบว่า เหตุผลที่ไม่ไปจากคณะแพทย์ เพราะ Big Brother " Sutham " treats me very well .

    31 กรกฎาคม 57

    กับการนำเสนอ การวิเคราะห์บทเรียนจากหนังสือ Global HR Competencies ซึ่งแต่ละกลุ่มสามารถหยิบยกเรื่องราวมาบอกเล่าพร้อมทั้งเชื่อมโยงเข้าสู่บริบทของคณะแพทยศาสตร์ของเรา เพื่อนำมาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็น ระบบ HR ในบริษัทของ Tata Group และภัตตาคาร Hidailao ในประเทศจีน ยิ่งเน้นย้ำได้ว่า “ทุนมนุษย์” นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและเป็นทรัพยากรที่ผู้บริหารหรือผู้นำต้องเร่งให้ความใส่ใจในการสรรหา พัฒนาและรักษาไว้

    ขอบคุณ ท่านอาจารย์อาจารย์นภัสวรรณ จิลลานนท์และอาจารย์กิติภพ สังฆกิจสำหรับการแนะนำและสอนพวกเราเต้นลีลาสในวันนี้ รู้สึกผ่อนคลาย กระปรี้กระเปร่า และมีชีวิตชีวามากค่ะ รวมทั้งได้จัดระเบียบร่างกายตัวเองได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

    ขอบคุณท่านอาจารย์กิตติ ชยางคกุล สำหรับการติดตามความคืบหน้างานวิจัยของทีม และด้วยข้อคิดที่อาจารย์ฝากไว้จะนำมาปรับใช้ต่อไป ซึ่งได้ชี้แนะแนวทางให้ทางคณะฯ นึกถึงโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาองค์กร คณะแพทยศาสตร์ มอ.ในปี 2020 จะเป็นอย่างไร โดยฝากให้พิจารณาสิ่งเหล่านี้

    - Check vision

    - Core value ตอบโจทย์ทางสังคม

    - 3Vs เรื่องเศรษฐกิจ value added value creation value diversity

    - Services พัฒนาให้มี creativity

    - SWOT analysis

    - Sustainability

    - Knowledge

    - Research and development

    - Networking

    - HR

    ชีวิตต้องมีสมดุล

    ชีวิตมีจังหวะของมันเองเสมอ

    จงสนุกกับชีวิต

    Panel Discussion & Workshop

    หัวข้อ คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ

    ในมุมมองของข้าพเจ้า

    โดย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา

    นายบัญญัติ จันทน์เสนะ

    ผศ.ปิยะ กิจถาวร

    อ.จีระ: อ.ทั้ง 3 ท่านมีความเชี่ยวชาญเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านบัญญัติอยู่ในบอร์ดของมอ.และเป็นกรรมการส่งเสริม

    วันนี้ขอให้แต่ละท่านมองความมั่นคงภาคใต้ และเน้นไปที่ 3 จังหวัดและ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ขอให้ทั้ง 3 ท่านเข้าทำ Workshop และเน้นจุด่อนจุดแข็งในคณะแพทย์ และอาจจะเสนอเป็นโครงการเพื่อเน้นเรื่องความมั่นคง

    พล.ท.สุรพล: วิทยากรร่วมทั้ง 2ท่านเชี่ยวชาญในพื้นที่มาก ผมทำงานในพื้นที่ภาคใต้ 6 เดือน ดูในแผนปฏิบัติการมากกว่าการปฏิบัติ เนื่องจากเวลาที่จำกัดขอพูดถึงประเด็นดังนี้

    • -ความมั่งคงของชาติ
    • -บทบาทของแพทย์เรื่องพลังอำนาจแห่งชาติและความมั่งคง
    • -บทบาทของแพทย์ในระหว่างวิกฤติการณ์

    ความมั่งคง : คำจำกัดความที่เข้าใจง่าย คือ ของอาจารย์ Barry Buzan เสนอเรื่องความมั่งคงที่เข้าใจง่าย

    • -ต้องปลอดจากภัยคุกคาม
    • -รัฐและสังคมมีความสามารถที่จะรักษา independent identity และ functional integrity
    ความหมายกว้าง ความหมายแคบ
    • -ความอยู่รอด
    • -ความเจริญ
    • -การพัฒนา
    • -ทันสมัย
    • -การรักษา
    • -เสถียรภาพ
    • -การรักษาระเบียบ
    • -ความสมดุล

    พลังอำนาจแห่งชาติ มีหลายทฤษฎีมากขอนำเสนอที่เข้าใจง่าย คือ พลังงานที่จับต้องได้ Tangible และIntangible

    หรือ พลังอำนาจแห่งชาติ แบ่งเป็น Natural Determinants และ Social Determinants

    Natural Determinants

    • -สภาพภูมิศาสตร์
    • -ทรัพยากรธรรมชาติ ถ้าไม่มีของตัวเอง แต่มีเงื่อนไขที่ใช้จากคนอื่น เช่น ญี่ปุ่น ก็เป็นไปได้
    • -ประชากรของชาติ ขึ้นอยู่กับ
    • oขนาด
    • oแนวโน้มประชากร ต่อไปจะมีปัญหาเรื่องผู้สูงวัย
    • oโครงสร้างประชากร ที่สำคัญคือสัดส่วนของประชากรวัยทำงานมีมากน้อยแค่ไหน เรื่อง Baby boomer ตอนนี้ที่อเมริกากลายเป็นวัยเกษียณ
    • oและปัจจัยอื่นๆ เช่น สุขภาพประชากร การคุมกำเนิดประชากร

    Social Determinants

    • -เศรษฐกิจ
    • -การเมือง
    • -การทหาร ไม่ใช่ว่ามีกำลังทหารมากก็จะชนะ
    • -จิตวิทยา มีความสำคัญมาก แพทย์มีบทบาทมาก
    • เกี่ยวกับ national will morale, national character และ national integration
    • หมอได้รับความไว้วางใจสูง มีบทบาททำให้สังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

    ความมั่งคง

    • -ความมั่งคงส่วนบุคคล : ตัวเองรับผิดชอบ / สังคม / และจังหวัด
    • -ความมั่งคงแห่งชาติ: รัฐบาลกลางรับผิดชอบ
    • -ความมั่นคงของประชาคมโลก

    ความมั่งคงส่วนบุคคล

    • -อาชญากรรม
    • -ความมั่งคงทางด้านเศรษฐกิจ
    • -สุขภาพ
    • -ความปลอดภัยในที่ทำงาน
    • ความมั่งคงแห่งชาติ
    • -อุบัติเหตุร้ายแรง
    • -ศึกสงคราม
    • -ภัยจากเคมีชีวะรังสี
    • -อุบัติเหตุจากอุตสาหกรรม
    • ความมั่นคงของประชาคมโลก
    • -โรคระบาดระหว่างชาติ
    • -การช่วยเหลือระหว่างประเทศ
    • บทบาทของแพทย์เกี่ยวข้องกับทั้ง 3 เรื่องงความมั่งคงแห่งชาติ: มีความสำคัญมากและต้องสร้างความสมดุลให้ได้

    บทบาทของแพทย์ในภาวะวิกฤติ

    • -ความแตกแยกในสังคมไทยปัจจุบัน ขอพูดในหลักการอุดมการณ์ 3 อย่างคือ
    • 1.โลกาภิวัตน์ คนเราสามารถพัฒนาเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องเข้าเรียน คือ ต้องเข้าถึงการใช้ IT/ ภาษาอังกฤษ ต้องอ่านให้ได้ และ ต้องมีจิตวิเคราะห์ อันไหนเป็นสาระ สิ่งสำคัญ อันไหนไม่สำคัญ
    • ข้อเสีย คือ ประเทศที่เผยแพร่มากที่สุดคือ ชาวตะวันตก เพราะฉะนั้นต้องคำนึงถึง ข้อ 2 ต่อไป
    • 2.ยึดมั่นในจารีต/ศาสนา : ต้องไม่เป็นเหยื่อของบริโภคนิยม
    • 3.อนาธิปไตย

    สังคมที่แตกแยก ย่อมมีเหตุผลของแต่ละฝ่ายอยู่แล้ว แต่ต้องมีหลักการของความสมดุลเพื่อให้สังคมอยู่รอด

    เอกสารระดับป.เอกของนักวิชาการมุสลิม

    • -ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ : Islam and Malay Nationalism : A case study of the Malay-Muslims of Southern Thailand
    • -Dr.Multhiah Alagappa
    • -Dr. W.K.Che Man

    ยุทธศาสตร์ของขบวนการฯ

    • 1.ความเป็นมาลายู
    • 2.มุสลิมแบบเข้ม
    • 3.ปัฏฏอนี(รัฐเอกราช)

    กลุ่มนี้เน้นเรื่องคนน้อย แต่มีฤทธิ์ พยายามใช้ประโยชน์จากกระแส เรียกร้องความสนใจจากนานาประเทศ ปฏิบัติแบบ: Guerrilla Tactics

    เป้าหมาย คือ Autonomy of some form

    • -Dr.Vivienne Nathanson กล่าวว่า แพทย์ต้องเป็นกลาง
    • ต้องมี Trust วิธีที่ทำให้บุคลากรแพทย์ปลอดภัย สถานพยาบาลปลอดภัย ขึ้นอยู่กับ
    • -Clinical need
    • -impartiality
    • -Without discrimination

    ศ.ดร.จีระ: ขอยืนยันว่าคณะแพทย์ มอ. คือ สายใยของรัฐของชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของสงขลา คือ ประชาชนยังให้ความไว้วางใจคณะแพทย์ มอ.อยู่

    เวลาที่ผ่านไปไม่ถึง 10 ปี มีการประคับประคองสถานการณ์เรื่องการแบ่งแยกชายแดนภาคใต้ยังมีอยู่ แต่การเร่ง และมีผู้นำบางคนดูถูกจนก่อให้เกิดความรุนแรงต่อเนื่อง ทำให้คณะแพทย์มีบทบาทขึ้นมาซึ่งเป็นงานที่ยาก

    นายบัญญัติ จันทน์เสนะ: โครงการนี้เป็นสิ่งที่ตรงใจผม เรื่องคนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก บุคลากรทางการแพทย์มีความสำคัญต่อความรู้สึกคนส่วนใหญ่มาก

    • -คนต่างถิ่นที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ต้องมีความจริงใจถึงแม้จะพูดภาษาถิ่นไม่ได้ก็ตาม
    • พื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทหารที่ลงพื้นที่ไปของก็หมด สิ่งที่ทุ่มเทก็หมดลงไปจนถึงติดลบ สิ่งที่สำคัญคือคนที่ไม่รู้เรื่องต้องมาทนรับชะตากรรม

    ปัญหาของ 3 จังหวัดชายดานภาคใต้ที่แก้ปัญหาไม่ได้ แบ่งเป็น 3 ชั้น 3 ระดับ คือ

    • 1.ปัญหาผิวหน้า หรือ ปัญหาทั่วไป คือ ความไม่รู้ ความยากจน ความไม่เป็นธรรม ความไม่ปลอดภัยทางทรัพย์สิน
    • 2.ชั้นโครงสร้าง ระดับนโยบาย เป็นการใช้อำนาจ การกำหนดนโยบาย
    • 3.ชั้นวัฒนธรรม เป็นชั้นที่ลึกมาก และยากที่จะเข้าใจ เพราะเรื่องวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิต เป็นเรื่องที่สำคัญ ละเอียดอ่อนมาก ไม่สามารถให้เหตุผลได้ เพราะฉะนั้นจึงจัดเป็นการอบรมความเข้าใจให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตของแต่ละชุมชน แต่ละวัฒนธรรม
    • หากไม่รู้จริง ต้องถามผู้รู้ ถ้าไม่รู้จริงอย่าทำเด็ดขาด

    ถ้าเราควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาก็ค่อยๆมอดลงไป จนเกือบหมด แต่ยังไงก็ไม่มีทางหมด ขึ้นอยู่กับว่าจะมากหรือน้อย

    แต่ทำไมเหตุการณ์ถึงบานปลาย เพราะมักจะเอาน้ำมันไปราดซ้ำๆเสมอๆ มีความหวาดระแวงเกิดขึ้นในสังคมอย่างมาก

    ธรรมชาติของคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ

    • 1.น้ำดี
    • 2.ดินดี
    • 3.คนดี

    แต่คนส่วนใหญ่ ชาวบ้านเป็นคนบริสุทธิ์ เป็นคนมีน้ำใจ หากเรามีความจริงใจให้เขา เขาก็เป็นคนดี แต่จุดอ่อน คือ เป็นเป็นหัวอ่อน ถูกชักจูงง่าย วิธีแก้ปัญหา คือ ต้องให้คนเหล่านี้มีความคิดเองได้

    หากมองความเป็นจริง แก้ได้แต่ต้องอาศัยคนที่ต้องเข้าไปแก้ปัญหาที่ต้องมีจิตวิญญาณในการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่แค่รับคำสั่งมาเท่านั้น ต้องเป็นคนที่เสียสละ

    ศ.ดร.จีระ: มีความเคารพท่านบัญญัติมานาน อยากให้งานวันนี้เป็นงานต่อเนื่อง ต้องมองอนาคต คิดว่าเราต้องแก้ได้ บรรยากาศปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก คณะแพทย์ มอ. อย่าคิดว่าเป็นนักวิชาการดูแลรพ.เท่านั้น ต้องคิดเรื่องการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ด้วย

    ผศ.ปิยะ กิจถาวร: ขอให้ข้อมูล เพื่อหาทางออกร่วมกัน

    มีการพูดคุยมากขึ้น เรื่องบุคลากรทุกสาขาอาชีพ แต่บุคลากรทางการแพทย์มีความสำคัญมาก มีการสำรวจว่า พยาบาลเป็นวิชาชีพที่ชาวบ้านกลัวมากที่สุด ผู้นำศาสนา เป็นวิชาชีพที่ชาวบ้านศรัทธามากที่สุด ส่วนแพทย์เป็นวิชาชีพอันดับที่ 3

    ข้อมูลที่น่าสนใจ รพ.กะพ้อ คือ แพทย์ออกพื้นที่ลำบาก เลยจัดเป็นปฏิทินให้ออกไปเยี่ยมคนไข้ตามาเวลาที่เหมาะสม ทำให้ได้รับการศรัทธาอย่างมาก

    ที่สุไหงปาดี แพทย์ท่ออกไปพบชาวบ้านได้รับความเชื่อถือสูง

    บุคลากรทางการแพทย์มีความสำคัญ ในการทำงานต้องมีหลักคิดและแนวปฏิบัติร่วมกัน แพทย์สามารถยึดโยงคนในสังคมได้เป็นอย่างดี

    ความมั่งคงของประชาชน ต้องยึดเอาเป็นตัวตั้ง ผลออกมาว่า ประชาชนฟังผู้นำทางศาสนามากที่สุด รองลงมาเป็นหน่วยงานทางการแพทย์

    ปัญหาของประชาชนที่มากที่สุด คือ ยาเสพติด เช่น อ.ระแงะ ปี 2545 มีการวาดรูปลิง ที่สื่อถึงเยาวชน เป็นรูปลิงที่กำลังวิ่งแตกกระเจิง ซึ่งสื่อถึงปัญหายาเสพติดมีปัญหาต่อเยาวชน

    การว่างงาน และปัญหาความไม่สงบ รองลงมา

    ปี 2552 ได้ทำการสำรวจ พบว่ามีปัจจัย 3 อย่างที่มีอิทธิพลกับคุณภาพชีวิต

    • 1.ศาสนา
    • 2.ความปลอดภัย
    • 3.ปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วย

    ปัญหาการก่อการร้ายในปัจจุบัน พบว่า ผู้ก่อเหตุมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ เป็นเพราะถูกปลูกฝัง ให้เกิดพฤติกรรมรุนแรง ส่วนใหญ่เด็กใช้เวลาอยู่กับเพื่อนมากกว่าอยู่กับครอบครัว พ่อแม่

    บางครั้งการแก้ปัญหามุ่งตรงไปยังสถาบันการศึกษา แต่ความจริงพบว่ามีส่วนน้อยมาก

    • -คณะแพทย์ มอ. ต้องดูแลเด็ก ดูแลเยาวชน ให้ความรู้มากขึ้น ร่วมกับข้าราชการในส่วนต่างๆ
    • -ในอดีต จ.ยะลา มีการศึกษาเป็นอันต้นๆของประเทศ แต่มาเสื่อมถอยระยะหลังๆ

    การเยียวยา : อ.ธนา ยิบอินซอย เน้นว่าบุคลากรทางการแพทย์มีความสำคัญ ต้องเยียวยาเชิงคุณภาพ คนเป็นตัวตั้ง

    10 ปี ของความรุนแรง เสียชีวิต 4694 คน สัดส่วน เจ้าหน้าที่ 61% สัดส่วนพุทธ มุสลิม 3:2

    แนวโน้มความรุนแรงมุ่งสู่เป้าหมายคนที่อ่อนแอมากขึ้น เช่น เด็ก ผู้หญิง คนชรา

    วิธีแก้ปัญหา

    • -สร้างความเข้มแข็งของพื้นที่
    • -แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น
    • -พัฒนาความรู้ในมิติต่างๆ
    • -ข้อมูลข่าวสารทางราชการ: ข่าวสารทางการแพทย์
    • -การรักษาพยาบาล ต้องมีการวางระบบส่งต่อที่มีคุณภาพ ต้องพัฒนาเป็นมิติต่างๆ

    การรักษาความปลอดภัย ต้องมีการร่วมมือกับทุกฝ่ายๆ ทั้งประชาชน เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานทางภาครัฐ ซึ่งต้องให้ความรู้กับประชาชนมากๆ

    สิ่งที่เป็นแม่บท คือ นโยบายการพัฒนาบริหารและพัฒนาชายแดนภาคใต้ ต้องได้รับการร่วมมือจากทุกฝ่าย ต้องผ่านความสภาความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายเขียนเป็นวิสัยทัศน์ คือ งดการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ และใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหา

    ปัจจัยเสี่ยง

    • 1.คนไม่รู้
    • 2.ไม่เข้าใจ
    • 3.ไม่ยอมรับ
    • 4.เข้าใจแต่ไม่ปฏิบัติ

    กลุ่มผู้ใช้ความรุนแรง เป็นส่วนน้อย แต่ขับเคลื่อนด้วยอุดมการณ์ ต้องคิดว่าจะไปทำให้คนกลุ่มนี้เข้าใจให้ถูกต้องได้อย่างไร ว่าการใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

    ขอให้คณะแพทย์ มอ. หันมาเข้าใจมิติทางสังคมมากขึ้น รวมถึงพลัง และเครือข่ายทางสังคมที่เชื่อมโยงกัน คู่ขนานกับความมั่นคงและการพัฒนา ประเด็นสำคัญ คือต้องเข้าใจปัญหา และใช้ความรู้ในการแก้ไขอย่างเป็นระบบ

    • Workshop

    กลุ่ม 1

    • 1.คณะแพทย์ มอ.มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรกับการแก้ปัญหา 3 จังหวัด ภาคใต้ 4 อำเภอ ในสงขลา ให้เสนอเป็นโครงการ
    • จุดแข็ง
    • -ร่วมกำหนดนโยบายกับศอบต.
    • -โครงการวิเคราะห์ไฟใต้
    • -มีบุคลากรไปเป็นวิทยากรให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง
    • จุดอ่อน
    • -ไม่ได้นำข้อมูลที่ได้สื่อสารมต่อยอ
    • -ขาดความต่อเนื่องของกิจกรรม
    • -ทำงานเขิงรับมากกว่าเชิงรุก
    • 2.เสนอโครงการใหม่ๆ 1 โครงการที่จะทำร่วมกับฝ่ายรัฐบาล
    • -หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักส่งเสริมสุขภาพ นักโภชนากร
    • -ส่งเสริมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยพุทธ – มุสลิม

    กลุ่ม 2

    • 1.คณะแพทย์ มอ.มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรกับการแก้ปัญหา 3 จังหวัด ภาคใต้ 4 อำเภอ ในสงขลา ให้เสนอเป็นโครงการ

    จุดแข็ง

    • -มีนโยบายเรื่องการศึกษาที่ชัดเจน
    • -มีการสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนท้องถิ่น
    • -แพทย์ 3 จังหวัดเป็นศิษย์เก่าคณะแพทย์ มอ.
    • -การให้บริการผู้ป่วยของ 3 จังหวัด

    จุดอ่อน

    - การสื่อสาร

    -กลัวตาย ไม่กล้าลงพื้นที่

    • - ความปลอดภัยของบุคลากร
    • 2.เสนอโครงการใหม่ๆ 1 โครงการที่จะทำร่วมกับฝ่ายรัฐบาล
    • -ควรมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเพื่อเข้าไปในโรงเรียนปอเนาะ โดยอาจผ่านการใช้แพทย์มุสลิม
    • -หาเครือข่ายชุมชน

    กลุ่ม 3

    • 1.คณะแพทย์ มอ.มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรกับการแก้ปัญหา 3 จังหวัด ภาคใต้ 4 อำเภอ ในสงขลา ให้เสนอเป็นโครงการ

    จุดแข็ง

    • -เป็นรพ.ที่มีความเชี่ยวชาญ
    • -เป็นกลาง เท่าเทียม
    • -บุคลากรมีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ

    จุดแข็ง

    • -พูดภาษาท้องถิ่นไม่ได้
    • -ความจำกัดเข้าถึงวัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนา
    • -มุ่งมองการแก้ปัญหา
    • 2.เสนอโครงการใหม่ๆ 1 โครงการที่จะทำร่วมกับฝ่ายรัฐบาล
    • โครงการ: ชุมชนสัญจร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มวัยรุ่น 3 จังหวัดภาคใต้
    • เพื่อ
    • 1.เพื่อเพิ่มความรู่ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
    • 2.แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตของคนต่างศาสนารวมทั้งมุมมองทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย
    • 3.เพื่อสร้างความไว้วางใจต่อองค์กรของรัฐ

    กลุ่ม 4

    • 1.คณะแพทย์ มอ.มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรกับการแก้ปัญหา 3 จังหวัด ภาคใต้ 4 อำเภอ ในสงขลา ให้เสนอเป็นโครงการ

    จุดแข็ง

    • -ที่ตั้งยังปลอดภัย
    • -ความศรัทธาต่อบุคลากรทางการแพทย์

    จุดอ่อน

    • -กลัวตาย
    • -รู้เรื่องพหุวัฒนธรรมน้อย
    • -การ Discriminate
    • -ไม่คิดว่าเป็นปัญหาของเรา
    • 2.เสนอโครงการใหม่ๆ 1 โครงการที่จะทำร่วมกับฝ่ายรัฐบาล
    • 1.การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอสม.ระ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล
    • 2.เพิ่มความเก่งให้กับโรงพยาบาล
    • -ทำให้รพ.เก่ง
    • -ผลิตแพทย์เพื่อชุมชน
    • -การสอนภาษามาเลย์ ให้หลักสูตรการเรียนให้กับนศ.แพทย์

    กลุ่ม 5

    • 1.คณะแพทย์ มอ.มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรกับการแก้ปัญหา 3 จังหวัด ภาคใต้ 4 อำเภอ ในสงขลา ให้เสนอเป็นโครงการ

    จุดแข็ง

    • -ศูนย์กลางคมนาคมเดินทางสะดวก
    • -มีแหล่งทรัพยากรพร้อม ศักยภาพ เครื่องมือ อุปกรณ์พร้อม
    • -แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมมาก
    • -มีความหลากหลาย มีความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นที่พึ่ง

    จุดอ่อน

    • -เป็นศูนย์รวมโรค/อาชญากรรม
    • -ขาดงบประมาณ
    • 2.เสนอโครงการใหม่ๆ 1 โครงการที่จะทำร่วมกับฝ่ายรัฐบาล
    • โครงการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนาสุขภาพชายแดนใต้ : สร้างเครือข่ายเพื่อเข้าไปให้ความรู้กับประชากร
    • วิธีการ
    • -การรักษา
    • -ความรู้
    • -ยาเสพติด

    ศ.ดร.จีระ: คณะแพทย์ต้องมองกว้างๆ ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความมั่งคงของประเทศ

    คำถาม คือ จากนี้ไปต้องคิดว่าจะทำโครงการอะไรได้จริง turn idea to action/ turn action to success

    พล.ท.สุรพล:

    โครงการเข้าไปหาชาวบ้าน ด้วยการทำสัญจรเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก ไม่ให้รู้สึกแปลกแยก

    โครงการมลายู เป็นโครงการที่ยาก ต้องทำคู่มือเฉพาะ ต้องเข้ามาทักทายด้วยภาษาท้องถิ่นบ้าง

    งานนิติวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องพัฒนาต่อไป

    เราต้องเข้าใจมุสลิม เพราะคือวิถีชีวิตของมนุษย์ มุสลิมเน้นเรื่องการเรียนทางด้านศาสนา เพราะวางสิ่งที่เป็นคุณค่าชีวิตต่างจากพวกเราชาวพุทธ ที่เน้นทางโลกมากกว่า

    แต่กลุ่มหัวรุนแรงไม่ได้ยึดหลักนี้

    ท่านบัญญัติ: มีแนวร่วมมากขึ้น ในฐานะการเป็นกรรมการ และแบ่งคณะย่อยทำงาน 9 ฝ่าย ขอเสนอว่ารับความคิดโครงการทุกกลุ่ม เพราะผู้ทรงคุณวุฒิมีตัวแทนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย

    ข้อจำกัด หรือจุดอ่อนที่ได้ฟังจากการนำเสนอ คือ ความกลัวตายนั้นคิดว่าทุกคนกลัว เพราะบางครั้งมีข่าวความรุนแรงออกมามาก ผมก็กลัว แต่เป็นเพราะหน้าที่ความรับผิดชอบ บางครั้งความกลัวก็ต้องเก็บไว้ เห็นลูกน้องอยู่ได้ เราก็ต้องอยู่ได้ ยึดหลักว่า ทำดีเข้าไว้ และอย่าประมาท เชื่อว่าคนเราไม่ถึงที่ตายก็ไม่ตาย

    ปัญหาเรื่องภาษา หากพูดไม่ได้ ก็แก้ไขด้วยความจริงใจคือยิ้มเข้าไว้ อย่าไปคิดว่าเป็นปัญหา แต่ควรใช้ตัวช่วยคือ คู่มือ หรือ คนที่ไว้ใจได้ให้เป็นล่ามให้

    ผศ.ปิยะ กิจถาวร: ขอเสนอให้เป็นรูปธรรมคือ ศอบต.มีการทำ MOU กับองค์การส่วนปกครองท้องถิ่น โรงเรียน เครือข่ายการฎีกา ตัวแทนสนง.เอกชน 5 จังหวัด ทำเรื่องเด็กตาติกาฟันขาว ได้เข้าไปคุยกับผู้นำ เด็กเป็นตัวสร้างโอกาส สร้างศักยภาพ ตอนนี้คิดว่าทำอย่างไรให้เต็มรูป ซึ่งผู้นำศาสนาให้การยอมรับมาก เพราะเป็นเรื่องสุขภาพ และทำอย่างขั้นตอน ไม่หยุด และทำเป็นวิถี

    เรื่องภาษา ต้องเน้นเรื่องการสื่อสาร ต้องสร้างการยอมรับ ภาษาไทย มลายู อังกฤษ ภาษายาวี ต้องค่อยๆทำเพื่อซึมซับไปในวิถีชีวิตของคน

    คุณพิชญ์ภูรี: การเข้าถึงอาจจะมีปัญหาเรื่องกลัวตาย หลายกลุ่มเสนอเรื่องเครือข่าย เรื่องอสม. ที่จะเป็นไปได้

    อาจารย์จีระเดช: เราควรแยกคน ที่คิดแตกต่าง แต่หากคิดกลับว่าเราก็คนเหมือนกัน ทุกศาสนามีวิถีต่างกัน ทั้งหมดวันนี้ Keyword คือ วัฒนธรรม อาจจะเป็นเพราะเราเข้าถึงวัฒนธรรมได้ไม่ถ่องแท้ ถ้าเราเข้าใจแล้วเชื่อว่าทุกปัญหาแก้ได้

    ศ.ดร.จีระ: วิชานี้มีความหมายต่อคณะแพทย์มาก ต้องเพิ่มมูลค่า คือ ทำงานได้ดีขึ้น การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ต้องใช้ Value creation ความคิดใหม่ๆ และ Value diversity ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ข้อสำคัญหลักสูตรนี้ต้องแยกให้ออกว่าอันไหนเป็น V1 V2 หรือ V3

    ในการตอบคำถามของคุณจ้า เรื่องอสม. เป็นอาสาสมัครทางการแพทย์ ที่กระทรวงสาธารณสุขส่งเสริมขึ้นมา คิดว่าจำนวนมาก แต่คุณภาพยังไม่ได้เข้ามาปัญหา เราควรทำ 3 อย่าง

    • 1.ให้มีศักยภาพดูแล
    • 2.ต้องเจรจาต่อรองเป็น ฟังเป็น สนทนาเป็น
    • 3.Application ของโทรศัพท์ที่สามารถรักษาพยาบาลให้ดีขึ้น คือ กำลังจะไปเยี่ยมกสทช. กสทช. ต้องเอาเทคโนโลยีทางโทรทัศน์ ทำให้คนไทยฉลาดขึ้นให้ได้ กำลังจะนำเอา Proposal ร่วมกับระหว่างมูลนิธิ และคณะแพทย์มอ. เสนอกองทุนกสทช.
    • โรงพยาบาลแพทย์ ทำเรื่องการแพทย์ และ IT ส่วนมูลนิธิทำเรื่องการบริหารจัดการ

    สรุป หากปล่อยสถานการณ์เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ จะลามไปเรื่อยๆ ปัญหาเรื่องอิสลามน่ากลัว แต่ไม่รุนแรงหากประเทศไทยไม่ถูกกระตุ้นทางการเมือง อนาคตของประเทศไทย คณะแพทย์มอ. ก็มีส่วนในการแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นจึงต้องมีเครือข่ายในการแก้ปัญหาร่วมกัน

    ความสำเร็จในอนาคตคือ ปรับตัวเองและยอมรับฟังคนอื่น ไม่คิดว่าเราเก่งแล้ว 

    บทบาทคณะแพทย์ศาสตร์มอ  มุมความมั่นคง3จังหวัดชายแดนภาคใต้และ4อำเภอ

    จังหวัดสงขลา  หลักคิดความมั่นคง

    1 personal security

    2 National  security

    3 International  security

    แพทย์ปลอดภัย สถานพยาบาลปลอดภัยต้องเน้น

    Clinical need

    Impartiality

    Discrimination

    โครงการที่นำเสนอร่วมกับฝ่ายรัฐบาล

    การส่งเสริมความเข้มแข็งให้โรงพยาบาลในพื้นที่เช่นช่วยด้านทีมแพทย์เคลื่อนที่

    การส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพให้เยาวชนเพื่อห่างไกลยาเสพติด

    ฉมาภรณ์

    Learning Forum & Workshop

    หัวข้อ ความสมดุลของชีวิต

    โดย พล.อ.ต. นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ

    1 สิงหาคม 2557

    ทุกคนสามารถตั้งเป้าหมายความสำเร็จของชีวิตได้

    ทุกคนเดินบนเส้นลวด ทุกอย่างมีความเสี่ยง เพราะฉะนั้นต้องมีความสมดุลระหว่างปัญญา และศรัทธา อีกด้านหนึ่งคือกุศลกรรม และก้าวแต่ละก้าวต้องมีสติ

    ใครอยากมีชีวิตที่สมดุล ต้องมีปัจจัยดังนี้

    • 1.ความจริง
    • เราเกิดมาทำไม
    • ศาสนาคริสต์ อิสลาม เราเกิดมารับใช้พระเจ้า เกิดหนเดียวตายหนเดียว
    • ศาสนาพุทธ เราเกิดมารับใช้ธรรมชาติ หรือ วัฏสงสาร เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ให้ดีขึ้น ด้วยการละชั่วกระทำดี และรับรางวัลเป็นโลกีย์สุข
    • ชีวิตเกิดขึ้น เพื่อให้รู้จักตัวเอง
    • 2.ความดี
    • 3.ความงาน
    • ทั้ง 3 ข้อ ทำให้ชีวิตสมดุล
    • ทุกวันนี้ที่ทำให้โลกมีปัญหาเพราะมีโปรแกรมโง่ในสังคม
    • -คนเย่อหยิ่ง จองหอง อวดดี ก็เพราะโง่
    • -คนละโมบโลภมาก เห็นแก่เงิน ก็เพราะโง่
    • -คนที่ชอบเอาเปรียบผู้อื่น ก็เพราะโง่
    • -คนที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม ผิดศีลธรรม ก็เพราะโง่
    • -คนที่คิดเชิงบวกไม่เป็น ก็เพราะไม่ฉลาด (โง่)
    • -ฯลฯ

    การรู้ถึงความจริงชีวิต ต้องรู้ถึงระดับปัญญา

    ทำไมรู้ว่าดี แต่บางทีไม่ทำ?ทำไมรู้ว่าไม่ดี แต่บางทียังดันทุรังทำ?

    ตอบเพราะรู้ไม่จริง

    พื้นฐานสำคัญของการเกิดปัญญา คือ สมาธิ-สติ

    พื้นฐานสำคัญของสมาธิคือ ศีล-วินัย

    แต่เด็กสมัยนี้ไม่ได้ถูกฝึกให้มีวินัย

    พื้นฐานอยู่ในกรอบก็คือ เมื่อตั้งใจทำอะไรแล้วจะเกิดอาการปิ๊งแวบ

    ทำไมต้องเน้นเรื่องปัญญา

    • -คนดีในโลกนี้มีเป็นจำนวนมากที่ยังจมกองทุกข์
    • -มนุษย์สั่งสมความรู้อย่างมากมาย แต่ปัญหายังท่วมโลก
    • -ทำไมเราจึงขาดปัญญา

    โปรแกรมโง่ คืออะไร

    โลกใบนี้ถูกสร้างขึ้นมาในระบบห่วงโซ่อาหารที่มีความหลากหลายและสมดุล

    ความสมดุลมีทั้งระดับจุลภาค คือทุกสิ่งจะมีอย่างน้อยสองฟากจัดสมดุลกันอยู่ในตัว

    ความสมดุลระดับมหัพภาค คือสรรพสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาในโลกนี้จะในลักษณะของ Normal curve (กราฟรูประฆังคว่ำ)

    โลกใบนี้ถูกสร้างขึ้นมาในระบบห่วงโซ่อาหารที่มีความหลากหลายและสมดุล

    “โปรแกรมโง่” เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อถ่วงสมดุลกับ “โปรแกรมฉลาด”

    โปรแกรมโง่มีลูกชายคนโตชื่อ “บริโภคนิยม”

    บริโภคนิยมทำให้เราทุจริตคอรัปชั่น ค้ายาเสพติด และค้าอาวุธสงคราม ฯลฯ

    ถ้ามนุษย์ฉลาดสุดๆ จะตระหนักว่า

    • -การเกิดเป็นทุกข์
    • -การแก่เป็นทุกข์
    • -การเจ็บป่วยเป็นทุกข์
    • -การตาย การพลัดพราก เป็นทุกข์

    สรุปได้ว่า

    • -ขณะนี้โลกเรากำลังอยู่ในยุคแห่ง “สังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร”
    • Information base society
    • -ทุกประเทศพยายามก้าวไปสู่ “สังคมแห่งความรู้” Knowledge base society
    • -แต่กลับมองข้ามสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้มนุษยชาติอยู่รอดร่วมกันได้อย่างมีความสุข นั่นก็คือ “สังคมแห่งปัญญา Wisdom base society
    • -เศรษฐกิจพอเพียง เป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ถูกบิดเบือนความเชื่อ
    • วันนี้มาผสมผสานระหว่าง
    • -วิทยาศาสตร์
    • -แพทย์ศาสตร์
    • -ศาสนศาสตร์
    • ในโลกนี้คนนับถือศาสนา
    • -คริสต์ 31.1%
    • -อิสลาม 22.9%
    • -ไม่มีศาสนา 16%
    • -ฮินดู 13% มีการบวงสรวงเทพเจ้า
    • เอกเทวนิยม 54.19%
    • พหุเทวนิยม 13%
    • พุทธ 7% ละชั่ว ทำดี จิตเบิกบานได้ด้วยปัญญา
    • ไตรลักษณ์ คือลักษณะสามประการของธรรมชาติ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงพบว่ามีอยู่ในทุกสรรพสิ่ง อันได้แก่ความเป็น
    • -อนิจจัง (ความไม่เที่ยง)
    • -ทุกขัง (ความทนสภาพเดิมไม่ได้.....ทุ แปลว่า ยาก ขม (ขะมะ) แปลว่า ทน.........ทุ บวก ขะมะ รวมเป็น ทุกขัง แปลว่า ทนสภาพเดิมไม่ได้
    • -อนัตตา (ความมิได้มีตัวตนเป็นของตัวเองที่แท้จริง)
    • การปรุงแต่ง ย่อมมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป

    การติดยึดในความดี ทำให้เกิดความมุ่งมั่นในการทำความดี เรียกว่าฉันทะ

    การยึดติดในความไม่ดี ทำให้เกิดกิเลส

    ต้องรู้จักเลือกการติดยึด ต้องมีการปล่อยวาง และต้องมีการเท่าทันอารมณ์ของเราเอง

    ปัญญาแห่งการเข้าถึงไตรลักษณ์มี 2 ระดับ

    • -ระดับปุถุชน คือ การรู้ชัด ต้องมีการฟัง อ่าน และมีการไตร่ตรอง
    • การเกิด และการตาย หากเป็นไปธรรมชาติก็ถือว่างดงาม
    • -ระดับอริยบุคคล คือ การรู้แจ้ง ต้องมีการปฏิบัติ กรรมฐาน
    • การดับทุกข์ มี 2 ระดับ
    • ระดับปุถุชน คือ “การอยู่กับตัณหาและกิเลสอย่างรู้เท่าทัน”
    • ระดับอริยบุคคล คือ “การถอนรากตัณหาและถอนโคนกิเลสอย่างหมดจด”

    สาเหตุของความทุกข์ คือ ความยึดติดในความเป็นตัวกูของกู

    ความทุกข์ในการสูญเสียลูกเป็นความทุกข์สูงสุดห้าอันดับแรกของมนุษย์ เพราะฉะนั้นต้องใช้ปัญญาในการดับทุกข์

    • 1.รักใครอย่าทำให้เสียใจ
    • 2.รักด้วยเหตุผล
    • 3.เวลากอดลูก อย่ายึดติดกับความไม่เที่ยง

    คำถาม: ประเด็นคือ ทำอย่างไรไม่ให้ทุกข์สำคัญกว่า

    ปัญญาของมนุษย์เกิดได้ 3 ระดับ

    • 1.สุตมยปัญญา
    • 2.จินตามยปัญญา
    • 3.ภาวนามยปัญญา

    ในสมัยพุทธกาล เคยมีผู้ทูลถามองค์พระบรมศาสดา เกี่ยวกับกำเนิดของโลกและจักรวาล และที่มาของมนุษย์

    พระบรมศาสดาจึงทรงตอบโดยการเปรียบเทียบปริมาณใบไม้ในอุ้งพระหัตถ์กับสิ่งที่มนุษย์ควรเรียนรู้เพื่อการ ดับทุกข์ นั่นคือการเข้าถึง “อริยสัจสี่”......................

    เมื่อเทียบกับใบไม้ทั้งป่า คือสิ่งที่ถึงรู้ไปก็ไม่ยังประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ นั่นก็คือ “อจินไตย

    • -พุทธวิสัย ความเป็นมาของพระพุทธเจ้า
    • -ฌานวิสัย ธรรมชาติของฌาน
    • -กรรมวิบาก การตอบสนองของกรรม
    • -โลกจินตา การกำเนิดโลกและชีวิต

    อริยสัจ 4

    • 1.ทุกข์
    • 2.สมุทัย การเกิดตัณหาและกิเลส
    • 3.นิโรธ การดับแห่งทุกข์จะเกิดขึ้นได้ด้วยการรู้แจ้งในความอนิจจัง
    • 4.มรรค มรรคมีองค์แปด ย่อแล้ว คือ ละชั่ว ทำดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยปัญญา

    เราต้องดำรงเผ่าพันธุ์ให้ดีขึ้นด้วยสติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรม และสายกลาง เราจะได้ความสุขมากกว่าความทุกข์เป็นรางวัลแน่นอน

    เรื่องกฎแห่งกรรม : กฎแห่งกรรมมีจริง

    • -ทำดี ความดีเกิด
    • -ความชั่ว ความชั่วเกิด แต่ผลดีหรือผลชั่ว จะเกิดขึ้นเมื่อไร ขึ้นกับเหตุและปัจจัย
    • การที่คนบางคนหรือหลายคนยังไม่ค่อยมั่นใจในกฎแห่งกรรมมากนัก เพราะการตอบสนองของกรรมนั้นซับซ้อนมากจนเกินกำลังสติปัญญาปุถุชนจะถอดรหัสได้

    นิยาม 5 กฎ 5 ข้อที่ควบคุมความเป็นไปได้ในโลกนี้

    • -อุตุนิยามกฎทางเคมี และฟิสิกส์
    • -พีชนิยาม กฎทางชีววิทยา
    • -จิตตนิยามกฎการทำงานของจิต
    • -กรรมนิยาม กฎแห่งกรรม
    • -ธรรมนิยาม กฎความสัมพันธ์ของทุก ๆ กฎ
    • ทำดี ไม่ได้ดี?? เพราะ
    • -ทำดีไม่พอ
    • -ทำดีไม่ถูกกาลเทศะ
    • -ทำดีแต่ไม่สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
    • คำถาม: เรื่องการทำบุญ เป็นกุศลโลบายให้พระพุทธศาสนาอยู่รอดใช่หรือไม่
    • ตอบ: ทำบุญ เป็นจิตบริสุทธิ์ที่อยากทำบุญ หากเราทำด้วยใจที่บริสุทธิ์เราก็ไม่ทุกข์
    • ชีวิตนี้เพื่อใคร
    • 1.เพื่อการรู้จักตัวเอง
    • 2.เพื่อการพัฒนาตัวเอง
    • 3.เพื่อการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี
    • 4.เพื่อการเสพสุขอย่างรู้เท่าทัน
    • 5.เพื่อโอกาสที่จะได้แบ่งปันความโชคดีให้ผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า

    ต้องดำเนินชีวิตด้วย

    -สติ

    -ปัญญา

    -ศรัทธา

    -กุศลกรรม

    -สายกลาง

    20 กค

    รักษ์กายรักษ์ใจ

    ชีวิตต้องมีสมดุล

    ชีวิตมีจังหวะของมันเองเสมอ

    จงสนุกกับชีวิต

    ไม่รู้จะขอบคุณอ.หมอบุญเลิศอย่างไร

    อาจารย์ให้ของขวัญแก่ชีวิตในยามที่ชีวิตอยู่ในช่วงที่ต้องตัดสินใจอะไรบางอย่าง

    แม้ว่าในชีวิตปกติจะเป็นคนที่มีความสุขง่ายมากแล้ว แต่ในช่วงชีวิตบางช่วงก็มีจังหวะที่ต้องตัดสินใจ

    และการใช้ชีวิตตามที่คุณหมอพูด คือ สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรม และ ทางสายกลาง

    ทำให้ได้คิดอะไรๆหลายอย่างอย่างมีสติมากขึ้น แม้จะยังมีหลายคำถามยังค้างคาอยู่ในใจ แต่ก็คิดว่าด้วย สติและปัญญาที่มี จะช่วยให้เราผ่านอะไรๆไปได้ด้วยดี

    วันที่ 31 ก.ค.57

    กิจกรรมรักษ์กาย รักษ์ใจ กับอาจารย์ณภัสวรรณและอาจารย์กิติภพทำให้เมื่อคืนนอนหลับสบายมาก เป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลายและมีประโยชน์กับสุขภาพด้วยค่ะ ส่วนตอนเย็นเจออาจารย์กิตติ ที่ปรึกษาติดตามความก้าวหน้างานวิจัยครั้งที่ 1 รู้สึกได้ว่าทุกคนเริ่มเครียด และต้องทำความเข้าใจหัวข้อวิจัยใหม่

    วันที่ 1 ส.ค.57

    วันนี้หัวข้อคณะแพทย์ฯ มอ.กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ ได้เรียนรู้หลายอย่างจากวิทยากรในเรื่องของความมั่นคง เช่นที่ตั้ง ทรัพยากร ขนาด,แนวโน้ม,โครงสร้างของประชากร ฯลฯ เรื่อง Building Trust ความเชื่อมั่นหรือความศรัทธา สำหรับแนวคิดของท่านบัญญัติเรื่องของการแก้ไขปัญหาว่าให้ใช้ความจริงใจ มองว่าอนาคตปัญหาต้องแก้ได้ถ้าทุกคนร่วมมือกัน ยิ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีจิตบริการ เป็นคนดี ไม่สร้างเงื่อนไขจะได้รับความไว้วางใจ ส่วนคุณปิยะเล่าปัญหาว่าเป็นเพราะยาเสพติด ปัญหาสังคม ปัญหาการว่างงาน การศึกษา ปัญหาวัยรุ่นที่ก่อความรุนแรงที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ สุดท้ายก็สรุปแนวทางแก้ไข เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ตามแนวพระราชดำริ ส่วนอาจารย์แดงสรุปคำเดียวว่าวัฒนธรรม การเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างอย่างถ่องแท้จะช่วยแก้ปัญหาได้ สำหรับภาคบ่ายเรื่องความสมดุลของชีวิต อาจารย์บุญเลิศสอนสนุกมาก เข้าใจความจริงของชีวิตมากขึ้น เข้าใจว่าศาสนาคริสต์และอิสลาม ศรัทธาในพระเจ้า ละชั่ว ทำดี ส่วนศาสนาพุทธ สอนให้ละชั่ว ทำดีและทำจิตใจให้เบิกบานด้วยปัญญา และสอนให้อยู่กับปัจจุบัน ชอบหัวข้อของวันนี้มากทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย ภาคเช้ารู้สึกได้ว่าเราสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาไฟใต้ได้ ส่วนภาคบ่ายเป็นการจัดสมดุลทางความคิดของตัวเอง และการคิดเชิงบวก 

    1 สิงหาคม 57

    วิชาที่ 15คณะแพทยศาสตร์ มอ. กับบทบาทและงานด้านความมั่นคงของประเทศ ทำให้รู้สึกว่างานด้านความมั่นคงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และไม่ใช่ภาระหน้าที่ของกลุ่มคน หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ทุกคน ทุกภาคส่วน ล้วนมีบทบาทในการช่วยสร้างความมั่นคงให้กับสังคมได้ ไม่ว่าจะเป็นระดับความมั่งคงส่วนบุคคล ความมั่งคงระดับชาติหรือความมั่นคงของประชาคมโลก และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการลดความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของสังคม คือ ต้องเข้าใจว่าแต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน ทุกคนล้วนมีเหตุผล มีอุดมการณ์ ต้องปรับเข้าหากันเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

    วิชาที่ 16 ความสมดุลของชีวิต ท่าน พล.อ.ต.นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ ได้แนะนำแนวทางในการดำเนินชีวิตและค้นหาคำตอบว่าชีวิตนี้เราเกิดมาเพื่อ ? ดำรงเผ่าพันธุ์ให้ดีขึ้น โดยรู้จักตนเอง พัฒนาตนเอง แก้ปัญหาอย่างถูกวิธี และเสพสุขอย่างรู้เท่าทัน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อการเปิดโอกาสแบ่งปันความโชคดีให้ผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า (อาจารย์บรรยายได้สนุก น่าสนใจมากค่ะ)

    31 ก.ค2557

    จากที่แต่ละกลุ่ม present วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือเรื่อง Global HR Competenciesได้แนวทางของ HR ที่ทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จในระดับต้นๆของโลก ได้Model ของGlobal HR Competencies นอกจากนี้สอนให้เรามองระดับ International และHRในGlobal ต้องเข้าใจวัฒนธรรมสังคมนั้นๆบางอย่างbasic มาก่อนเราจะไปแบบก้าวกระโดดไปเลยไม่ได้

    ส่วนช่วงบ่ายสนุกมากได้มีโอกาสฝึกเต้นรำในจังหวะต่างๆทำให้สมองปลอดโปร่ง ได้ผ่อนคลาย

    1ส.ค.2557

    ช่วงเช้าได้รู้และเรียนรู้จากท่านผู้มีประสบการณ์ ในเรื่องปัญหาความมั่นคงของชาติโดยเฉพาะ3 จังหวัดภาคใต้ ได้ข้อคิดว่ายุคนี้เป็นยุค social network แต่มีน้อยคนที่มาสร้างสรรค์สังคม จาก network เหล่านี้ไปใช้ในสิ่งที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ เราในฐานะผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมต้องมาช่วยแก้ปัญหาร่วมกัน นอกจากนี้เราในฐานะบุคลากรทางการแพทย์เราต้องวางตัวเป็นกลาง สร้างความไว้วางใจไม่เลือกฝ่าย ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ถ้าเราไม่รักษาไว้ เขาก็จะไม่ trust เรา

    ช่วงบ่ายเรื่องสมดุลชีวิตได้แง่คิดเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตหลายๆอย่าง

    นันท์นภัสถ์ พรหมรักษ์

    วันที่ 31 ก.ค 57

     เป็นวันที่สนุกมากมาก อ.น้อยมาสอนเต้นลีลาศ ได้เรียนรู้สเตปหลายสเตปไม่ว่าจะเป็น รุมบ้า ชะชะช่า line dance ซึ่งเป็นอีกสิ่งที่ไม่เคยทำตั้งแต่เรียนจบมา ชอบการเต้นline dance ซึ่งเป็นการเต้นเป็นกลุ่ม ทำให้เห็นถึงการทำงานเป็นทีมจะต้องมีความพร้อมเพรียงกัน ลีลาศเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่อยากออกกำบังกาย

    นันท์นภัสถ์ พรหมรักษ์

    วันที่ 1 ส.ค 57

    ช่วงเช้าได้รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ซึ่งได้พูดถึงปัญหา3จังหวัดชายแดนใต้ ถือเป็นปัญหาใกล้ตัวกับคณะแพทย์ เนื่องจากโรงพยาบาล มอ. เป็น รพ.ที่รับส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากสถานการณ์ใต้ ซึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าวลำพังคณะแพทย์อย่างเดียวคงแก้ปัญหาไม่ได้ทั้งหมด แต่เราจะทำอย่างไรให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นน้อยที่สุด

    ช่วงบ่ายเรียนเกี่ยวกับ "สมดุลของชีวิต" สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรม สายกลาง ท่านวิทยากรย้ำตลอดเกี่ยวกับการสร้างสมดุลชีวิต เราเกิดมาเพื่อดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ให้ดีขึ้น การไม่ยึดติดเพราะการยึดติดทำให้เป็นทุกข์ ปัญหามีไว้ให้แก้ไม่ได้มีไว้ให้ทุกข์ อย่าเอาความโชคดีไปละเมิดคนอื่น นี่เป็นสิ่งที่เราจะต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสมดุลของขีวิต

    31 กรกฎาคม 2557

    Global HR Competencies: Mastering Competitive. Value from the Outside-In. อ.จีระ ให้ อ่านหนังสือเล่มนี้ (แบ่งกันอ่านแต่ละกลุ่ม) แม้จะเป็นการศึกษา และนำเสนอความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และวิธีการทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ แต่ก็มีหลายอย่างที่นำมาใช้กับคณะแพทย์ของเราได้ โดยความจริงแล้ว การที่เราเห็นตัวอย่างของบริษัทต่างๆ ยิ่งทำให้รู้สึกสนุก เพราะ หลายบริษัทอยู่ใกล้ตัวเรา ทำให้เรารับรู้กระบวนการสู่ความสำเร็จด้วยความสนุก (ผมสนุกนะ ไม่รู้เพื่อนๆ สนุกไหม) ความสำเร็จต่างๆ อยู่ที่คนและการเปลี่ยนแปลง หลายเรื่องเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียนไปใน 2 ส่วนแรก

    เรียนเต้นลีลาศ สนุกดี แต่ผมยังไม่ก้าวผ่านความ "อาย" ในการที่ต้องแสดงออก และมีความหลังที่ไม่ค่อยดีกับการเรียนกิจกรรมเข้าจังหวะตอนปีหนึ่ง (แย่มากๆเลย)

    อ.กิตติ กับ อ.พี่จ้า ทบทวนและวิจารณ์ เรื่องการเขียนโครงการวิจัย ซึ่งอาจสื่อสารกันไม่ตรงกันนัก พวกนักเรียนอาจมองแคบ (โดยธรรมชาติขอคนทำงานในสายนี้มั้ง) แต่หลักสูตร อยากเห็นภาพใหญ่ และใช้สิ่งที่เรียนมา เป็น เครื่องมือ ประกอบการทำงานวิจัยนี้ด้วย ก็ต้องลองปรับกันดู

    1 สิงหาคม 2557

    บทบาทคณะแพทย์ต่อปัญหาไฟใต้

    ผู้ใหญ่ในระดับประเทศที่มีบทบาทในการดูแลไฟใต้ มาเป็นวิทยากรในวันนี้ ตัวจริงเสียงจริง สิ่งที่ได้รับรู้ในวันนี้คือ เหตุคร่าวๆ ของไฟใต้ที่เกิดในยุคใหม่ (อาจจะประมาณ  2544-2547 หรือ ช่วง 10 ปีมานี้เอง) เด็กที่เกิด หรือ ที่โตในช่วงนั้น บางคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลูกฝังความคิดผิดๆเข้าไป ตอนนี้ก็พร้อมจะปฏิบัติการได้ ความไว้วางใจ การเข้าใจในวิถีความเป็น มุสลิม ความจริงใจ และพร้อมจะช่วยเหลือ น่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยดับไฟใต้ บทบาทของคณะแพทย์ มอ. เองที่ผ่านมาก็มีมาตลอด (แต่ไม่ชอบเล่าให้ใครฟัง) เช่นการให้โควต้าพิเศษสำหรับการศึกษาแพทย์ เพื่อกลับไปเป็นแพทย์ในพื้นที่ และการที่เรามีลูกศิษย์ สถาบัน ทำให้เราสื่อสารและประสานงานได้ตลอด ท่านบัญญัติ บอกว่า คนเข้ามาทำงานในสถานการณืภาคใต้นี้ ต้องทำด้วยใจจริงๆ ต้องเสียสะ และที่สำคัญคือ ต้องรู้เรื่องดีพอ ถ้าไม่รู้ อย่าทำ

    ตอนบ่าย อ.บุญเลิศ session นี้ ผมชอบมากๆ ตัวความสามารถของ อ.บุญเลิศเอง ในการถ่ายทอด คล้ายเดี่ยวไมโครโฟน และ เนื้อหาที่ไม่ใหม่ ไม่แปลก แต่ฟังแล้วกลับรู้สึกว่า "รับรู้" มากขึ้น ความคิดด้านความจริงของโลก เหมือนเริ่มตอบอะไรบางอย่างที่กังขาอยู่ได้ ต้องขอทบทวนจากซีด ที่ได้มาก่อน อาจ "เห็นทางสว่าง"

    สรุปบทเรียน วันที่ 1 ส.ค. 57

    “คณะแพทยศาสตร์ มอ.กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า”

    พล.ท.สุรพล ได้นำเสนอรูปแบบความมั่นคงของประเทศแคนาดาซึ่งประกอบด้วย Personal Security Nationnal Security และ International Security ซึ่งจะมีบุคลากรทางการแพทย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาวะสุขภาพของประชาชน หรือการช่วยเหลือเมื่อเกิดโรคระบาดต่างๆ ในภาวะวิกฤติเราจะต้องทำตัวเป็นกลาง ต้องสร้างความไว้วางใจ และต้องยึดความเท่าเทียม ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า แพทย์ยังได้รับการไว้วางใจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    คุณบัญญัติ ได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่ามี 3 ระดับ คือ ปัญหาทั่วไป ปัญหาโครงสร้าง และปัญหาด้านวัฒนธรรม และปัญหาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เปรียบเสมือนถ่านไฟที่ยังร้อนทั้งที่ไม่เห็นเปลวไฟเราต้องคุมอย่าให้ถ่านนั้นลุกเป็นเปลวไฟ ต้องพยายามทำให้ถ่านก้อนนั้นค่อยๆมอด และอย่าเติมเชื้อลงไปเพิ่ม ฉะนั้นคนที่คิดจะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาจะต้องมีจิตวิญญาณที่คิดจะแก้ไขจริงๆ

    ผศ.ปิยะ ได้นำเสนอผลงานวิจัยว่าบุคคลที่สำคัญที่ชาวบ้านศรัทธามากที่สุดคือ ผู้นำทางศาสนา รองลงมาคือ อสม. และการยุติความรุนแรงสตรีจะมีบทบาทมากที่สุด จากผลงานวิจัยนี้ทำให้เราได้คิดว่าการเข้าไปช่วยเหลือเราควรจะเข้าร่วมมือกับใครเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาให้เบาบางลงได้

    “ความสมดุลของชีวิต”

    มนุษย์เราสามารถจัดสมดุลให้ชีวิตได้ด้วย สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรม และการเดินสายกลาง ความสมดุลของชีวิตจะต้องมีทั้งความจริง ความดี และความงาม พระพุทธเจ้าสอนให้คนเราอยู่กับปัจจุบันและสอนให้เราละชั่ว ทำดี และชำระจิตให้บริสุทธิ์ด้วยปัญญา เราต้องเข้าถึงหลักอริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ = สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ฯลฯ สมุทัย = สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ อันได้แก่กิเลสและตัณหา นิโรธ = การดับทุกข์ คือการรู้แจ้งในความเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา และมรรค = แนวทางแห่งการดับทุกข์ คือ มรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฎฐิ (ความเห็นชอบ)สัมมาสังกัปปะ(ความดำริชอบ) สัมมาวาจา(เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ(ทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ(พยายามชอบ) สัมมาสติ(ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ(ตั้งใจชอบ) และอาจารย์ยังให้ข้อคิดว่าเรามีชีวิตอยู่เพื่อ รู้จักตัวเอง เพื่อพัฒนาตัวเอง เพื่อแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี เพื่อการเสพสุขอย่างรู้เท่าทัน และเพื่อมีโอกาสที่จะได้แบ่งปันความโชคดีให้แก่ผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่าเรา

    31 กรกฎาคม 2557

    Global HR Competenciesเป็นหนังสือที่น่าสนใจมาก กล่าวถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของธุรกิจในประเทศต่างๆในโลก และกล่าวถึงสมรรถนะของฝ่ายHR 6 ประการ ที่จะช่วยให้องค์กรประสบผลสำเร็จ หรือ HR Competency Model ประกอบด้วย

      1.Credible Activist

      2.HR Innovator and Integrator

      3.Strategic Position er

      4.Capacity Builder

      5.Change Champion

      6.Technology Proponent

    ช่วงบ่ายได้ออกกำลังกายกับอาจารย์ณภัสวรรณและอาจารย์กิติภพในรูปแบบลีลาศที่เป็นทั้งการออกกำลัง และเป็นSocial skillอย่างหนึ่ง ขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านที่พยายามสอนอย่างใจเย็นและอดทน โดยเฉพาะกับลูกศิษย์ที่เรียนรู้แบบได้หน้าลืมหลังอย่างฉัน.

    1 สิงหาคม 2557

    วันนี้ต้องขอบคุณ คุณครูใหญ่ที่เชิญวิทยากรชั้นเลิศ มาคุยให้ฟังในประเด็นที่น่าสนใจและใกล้ตัวมากๆ ไม่น่าเชื่อว่าเราบอกว่าเราเป็นคนไทย เรารักชาติแต่เรายังไม่เคยคิดไปถึงขนาดว่าจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3จังหวัดเลย ได้แต่ทำงานสนองนโยบายช่วยรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ถูกส่งตัวมายังรพ.มอ   อาจารย์ทั้ง 3 ท่านทำให้เกิด inspirationขึ้นมากมายและรู้สึกว่าเอาไงเอากันฉันพร้อมที่จะมีส่วนร่วมช่วยแก้ปัญหาของชาติในเชิงรุกแล้ว      คำพูดของอาจารย์จีระที่ว่า คณะแพทย์ มอ.อย่ามองแต่Micro หรือเรื่องหน้างานประจำของตัวเองหรือการรักษาพยาบาลอย่างเดียว แต่ต้องมองMacroหรือชาติด้วย.....ขอบคุณค่ะอาจารย์ลูกศิษย์คนนี้จะขอจดจำไว้เตือนตัวเอง

    คณะแพทยศาสตร์ มอ.กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า 1สค.57

    คุณบัญญัติ จันทน์เสนะ

    ผศ.ปิยะ กิจถาวร

    พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ ดำเนินการอภิปราย

              การเรียนรู้ในหัวข้อวันนี้ เป็นการกระตุ้นเตือนจิตสำนึกของเราในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ในการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาชายแดนใต้ โดยร่วมกันขับเคลื่อน ใช้พลัง สติปัญญาและแหล่งประโยชน์ที่มีอยู่ แพทย์มีบทบาทมากทางจิตวิทยาที่ทำให้ชาติมีพลังสูง เป็นบาทที่ทำให้เกิด sense of belonging บทบาทของแพทย์ในภาวะวิกฤติ คือ ต้องเป็นกลาง ต้องสร้างความไว้วางใจ การรักษาขึ้นอยู่กับอาการทางคลินิก มีความยุติธรรม ไม่อคติ ไม่มีการแบ่งแยก ปัญหาชายแดนใต้ในอนาคต ต้องช่วยกันไม่ใช่หน้าที่คนใดคนหนึ่ง บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ต้องใช้จุดแข็งที่มีอยู่ช่วยกันดูแล โดยเฉพาะจุดแข็งด้านความเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน สามารถยึดเหนี่ยวประชาชนไปสู่สิ่งที่ดีในภาพรวมได้

    สมดุลย์ของชีวิต พอ.อ.ต.นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ

             สาเหตุของความทุกข์คือการยึดติดใน ความเป็นตัวกูของกู

    การรู้จริง นั่นคือ ปัญญา พื้นฐานการเกิดปัญญาคือสมาธิ สติ พื้นฐานสำคัญของสมาธิคือศีล-วินัย

    หัวใจสำคัญของพุทธศาสนาคือ ละเว้นความชั่ว ทำความดีและทำจิตใจให้เบิกบานด้วยปัญญา

    เราต้องดำเนินชีวิตด้วยสติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรมและสายกลาง

    ช่วงบ่ายได้เรียนรู้การใช้ชีวิตให้เกิดความสมดุลย์ด้วยวิธีการที่อาจารย์สามารถถ่ายทอดได้อย่างซาบซึ้งและสนุกสนานมาก ทำให้เห็นความจริงของชีวิตและธรรมชาติของชีวิตมากขึ้น ทำให้เรียนรู้ว่าเรามีชีวิตเพื่อใคร เพื่อการรู้จักตัวเอง เพื่อการพัฒนาตัวเอง เพื่อการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี เพื่อการเสพสุขอย่างรู้เท่าทันและเพื่อโอกาสที่จะได้แบ่งปันความโชคดีให้ผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า และอาจารย์เป็นตัวอย่างการแบ่งปันที่ดีมาก ในการแบ่งปันประสบการณ์การสร้างสมดุลย์ชีวิตแก่ผู้อื่น เสียดายที่เวลาน้อยไปยังอยากเรียนรู้วิธีการมองชีวิตและการฝึกจิตจากอาจารย์เพิ่ม

    ขอบคุณมากค่ะ

    1 สิงหาคม 2557

                                 วันนี้ตอนเช้าได้มีโอกาสรับฟังมุมมองปัญหาความมั่นคงของประเทศโดยเฉพาะปัญหาความไม่สงบใน 3จังหวัดภาคใต้และ4อำเภอของจ.สงขลา โดย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และอาจารย์วปอ. ท่านบัญญัติ จันทน์เสนะ อดีตผอ.ศอ.บต.และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต. ทำให้รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมา10กว่าปี หลายฝ่ายร่วมมือกันพยายามแก้ไข แต่ก็เป็นโจทย์ที่ยากเพราะเป็นปัญหาเชิงวัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา คงไม่สามารถแก้ไขได้ถ้าภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ยังมีความรู้สึกหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจกันอยู่เช่นนี้ ถ้าเปรียบปัญหาเป็นก้อนถ่านคุไฟอยู่ในหลุม ตอนนี้ภาครัฐทำได้แค่การล้อมกรอบก้อนถ่านนั้นไว้ พยายามดูแลไม่ให้ลมพัดเข้าไปและไม่ให้มีเชื้อไฟต่างๆเติมเข้าไปอีกรอให้ถ่านค่อยๆมอดไปเองอย่างนั้นหรือ แล้วเมื่อไหร่ล่ะ ถ่านถึงจะดับ ฉันนึกถึงสมัยก่อนเวลาจะดับถ่านในเตา ฉันจะใช้ที่คีบถ่านค่อยๆคีบออกมาทีละก้อน มาวางเรียงห่างๆกัน แล้วเอาน้ำมาราดลงไปจนชุ่ม ถ่านก็จะดับได้ ถ้าปัญหาไฟใต้ดับได้เหมือนดับถ่านก็ดีนะ เฮ้อ แล้วเรามีน้ำเพียงพอแล้วยังล่ะ

                                   ช่วงบ่าย พล.อ.ต.นพ. บุญเลิศ จุลเกียรติ ได้มาแนะนำการสร้างความสมดุลให้ชีวิต โดยการให้เราเข้าใจในเรื่องไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฉันคิดว่าพวกเราโชคดีที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ เพราะการทำงานของเราทุกวัน ทำให้เรามองเห็นความเป็นจริงของชีวิตอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ การเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย เราได้เห็น" ความจริง"ของชิวิต ได้สร้าง"ความดี"ให้กับผู้อื่น และเกิด "ความงาม" ในจิตใจตนเอง การปฏิบัติงานของเราก่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญาที่ยิ่งใหญ่ก็คือการรู้จักตัวเอง นั่นเอง

                                    ถึงแม้ฉันจะชอบอ่านหนังสือธรรมะ แต่ฉันก็ไม่เคยปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง แม้จะมีกัลยาณมิตรมาชักชวนอยู่เสมอ แต่ฉันมักจะอ้างเหตุผลว่า ให้ฉันตื่นตี4 มาสวดมนต์หรือเดินจงกรมฉันทำไม่ได้หรอก ฉันชอบแต่งตัวสวยๆให้ไปนุ่งขาวห่มขาว แถมไม่ให้แต่งหน้าด้วย โอ๊ย ไม่เอาอ่ะ ฉันรู้สึกว่าปัจจุบันฉันก็ปฏิบัติตน ละเว้นความชั่ว กระทำความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ฉันก็มีความสุขพอแล้ว ตอนนี้ฉันได้ข้อสรุปแล้วว่าการที่ฉันมีความสุขอยู่กับกิเลสและสิ่งปรุงแต่ง หรือสิ่งสมมุติต่างๆเหล่านี้ นั่นคือสิ่งที่อ.บุญเลิศ เรียกว่าโปรแกรมโง่นี่เอง

            เขียนวันที่ 31 กรกฏาคม 2557


    Section เช้าเป็นการนำเสนองานกลุ่ม วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ

    เรื่อง Global HR Competencies: Mastering Competitive Value from the Outside-In ของ Dave Ulrich เนื้อหาเป็นเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการบริหารกลยุทธ์ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โลกมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างไร้พรมแดน องค์กรต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ดำรงตัวรอด มีการนำเสนอ Competency Domains ซึ่งเป็นสมรรถนะหลักของ HR professional ใน HRCS ปี 2012 จำนวน 6 ด้าน คือ credible activist/ Strategic positioned/ Capability builder/ Change champion/ HR innovator and integrator/ Technology proponent ซึ่งเราเลือกมาปรับใช้กับคณะแพทย์ของเราได้

                                                       

    • การพัฒนาทุนมนุษย์ : ให้ทันยุคโลกาภิวัตน์และอาเซียน ด้วย 8 K’+5 K’s + ให้คุณค่า 3 V
    • การสร้างให้บุคลากรทำงานเป็นมืออาชีพ ระดับสากล เน้นเรื่องความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล มี Integrity and Honesty
    • ทำงานเป็นทีม มี Networking ทั้งในระดับ Local / Global+ Asean
    • IT : E-Delivery of services

                                                 

    ต่อด้วยกิจกรรมรักษ์ใจ- รักษ์กาย กับอาจารย์นภัสวรรณ จิลลานนท์ และ อาจารย์กิติภพ สังฆกิจซึ่งเป็นการปลดปล่อยความเครียด พวกเราสนุกสนานกันมาก ได้รื้อฟื้น Step Cha Cha Cha ที่เคยเรียนลีลาศเมื่อหลายสิบปีก่อน และเรียนรู้การเต้นจังหวะใหม่ ๆ Rumba , Line Dance และ Rock4 เราเห็นการช่วยเหลือกันของเพื่อน ๆ ในห้อง ที่ช่วยเป็นคู่เต้นลากกันไป ลากกันมา แม้จะเผลอเหยียบขาคู่เต้นไปบ้าง หลังอบรมดิฉันก็สัญญากับตัวเองว่าจะพยายามออกกำลังกาย แม้ว่าจะไม่ถึง T25 แต่โยคะ ว่ายน้ำก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี กายพร้อม ใจพร้อมลุยงานต่อได้เลยค่ะ


    เย็นย่ำเป็นการพบอาจารย์อาจารย์กิตติ ชยางคกุล ที่ปรึกษาเพื่อติดตามความคืบหน้าของงานวิจัยฯ (ครั้งที่ 1) ดูแล้วงานวิจัยที่กลุ่มต่าง ๆ ส่งไปยังไม่โดนใจอาจารย์นัก คำแนะนำที่อาจารย์ให้เราคือลองนึกดูว่าปี 2020 คณะแพทย์ ฯ เราจะเป็นอย่างไร ดูจาก Where are we ? อาจเลือกจับจาก Core Value คณะ ฯ เน้นการทำ Project Innovation ใหม่ ๆ ซึ่งเมื่อฟังดิฉันก็ปี๊งแว๊บ เพราะแต่เดิมเรามุ่งไปคิดเรื่องงานวิจัย Methodology เครื่องมือต่าง ๆ ที่คิดว่าจะต้องทำให้ได้ตามเวลาที่กำหนด แต่ข้อเสนอแนะของอาจารย์ทำให้คิด Project ที่ (ดิฉันเอง) คาดว่าต้องบรรเจิดแน่นอน ตอนนี้ต้องขอไปปรึกษากลุ่มก่อน แต่แค่คิดก็สนุกแล้วก็อยากเริ่มทำแล้วค่ะ
                                  

    เขียนวันที่ 1 สิงหาคม 2557


                                                               

         หัวข้อ “ คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ ในมุมมองของข้าพเจ้า” โดย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และอาจารย์ วปอ.

    นายบัญญัติ จันทน์เสนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย    ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต.

             ปัญหาความมั่นคงทางการเมืองกับประเด็นปัญหาวิกฤต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บวก 4 อำเภอ ดูจะเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่หลายรัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหาแต่ยังไม่สำเร็จ จุดที่จะช่วยให้เข้าถึงปัญหาที่แท้จริง รัฐ ฯ จะต้องมองลงให้ถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรมของประชาชนในพื้นที่ เข้าให้ถึงประชาชน สร้างความไว้วางใจ ตามนโยบาย “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ” สิ่งที่ท่านวิทยากรซึ่งเป็นผู้มีความเข้าใจถึงปัญหาของประชาชนชาวใต้ ท่านมองถึงองค์กรของคณะแพทย์ ฯ สงขลานครินทร์ที่จะช่วยใช้พลังสติปัญญาทางสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเรื่องปัญหาสุขภาพประชาชน ซึ่งจะเป็นจุดเยียวยา สร้างความสมานฉันท์ และถือเป็นการใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหา

           มีหลาย ๆ โปรเจคที่กลุ่มนำเสนอแล้วน่าสนใจ เช่น การพัฒนาระบบการส่งต่อ การเข้าไปช่วยสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาความรู้ให้แก่ อสม. การทำงานเป็นเครือข่าย การให้บริการสุขภาพแก่เด็ก การทำคู่มือที่เป็นภาษามลายู ท่านวิทยากรได้ช่วยเปิดมุมมองใหม่ในเรื่องการช่วยเหลือสังคมให้กับพวกเราชาวสงขลานครินทร์ ให้ยื่นมือออกไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเครือข่าย โดยใช้หลักการของ “Wining hearts and minds ” ดิฉันเองก็ขอเอาใจช่วยให้แนวทางที่เราคิดทำบรรลุเป้าประสงค์ ไฟใต้จะได้ทุเลาเบาบางและสงบลง (ซักที)

    ภาคบ่าย


                                   


               หัวข้อการบรรยาย เรื่อง ความสมดุลของชีวิต โดยพลอากาศตรี นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ ท่านจบแพทยศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วไปเรียนเวชปฏิบัติทั่วไป/ฉุกเฉินต่อที่สหรัฐอเมริกา เคยเป็นแพทย์ประจำห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 12 ปี ในตำแหน่งบริหารเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพล ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ (early retirement) การบรรยายในวันนี้ของท่านใช้การทำเสียงต่ำเสียงสูง เหมือนกับนักพากย์หนังชั้นเยี่ยม เดินไปรอบๆห้อง เพื่อให้ผู้ฟังมีความรู้สึกเป็นกันเอง และมีส่วนร่วม เนื้อหาท่านอธิบายเข้าใจง่าย และสนุก สรุปเป็นประเด็น ได้ดังนี้

    1. มนุษย์ถูกควบคุมโดยสิ่งที่เรียกว่า โปรแกรมโง่ หรือกิเลส และถ่วงดุลกับโปรแกรมฉลาด

    2. การที่ท่านทำงานในห้องฉุกเฉิน เห็นความเจ็บปวด การตาย การพลัดพราก ทำให้ท่านสามารถคิดและปลงได้ว่าการเกิดและการตายเป็นวิถีธรรมชาติ คนเกิดมาก็เพื่อรับใช้ธรรมชาติ มีชีวิตอยู่เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ให้ดีขึ้น การดำเนินชีวิตต้องพร้อมกับการจะรับความสุข และพร้อมจะเจอกับปัญหา

    3. ชีวิตนี้เพื่อใคร

    • เพื่อการรู้จักตัวเอง
    • เพื่อการพัฒนาตัวเอง
    • เพื่อการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี
    • เพื่อการเสพสุขอย่างรู้เท่าทัน
    • เพื่อโอกาสที่จะได้แบ่งปันความโชคดีให้ผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า

          อาจารย์ได้แจกซีดีการบรรยายในวาระต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกในห้อง และตอนท้ายท่านยังร้องเพลง “ ใจสั่งมา ” เป็น version ภาษาอังกฤษที่แต่งเองให้พวกเราฟังด้วย ดูแล้วท่านมีความสมดุลกับชีวิตจริง ๆ การมาทำงานด้วยการบรรยายถ่ายทอดความรู้กับบุคคลต่าง ๆเป็นความสุขของท่าน การได้แจกซีดีถ่ายทอดความรู้ ก็เป็นสิ่งที่ท่านคืนกลับให้แก่สังคม คงเหมือนกับที่ท่านสอนเราว่า

    “ จงทำทุกอย่างเพื่อตัวเอง แขวนความสุขไว้กับสิ่งที่ถูกต้อง ชอบธรรม ดีงาม

    ลดความเห็นแก่ตัวลงเมื่อไหร่ ชีวิตเปลี่ยนทันที เพราะทุกครั้งที่ทำดี เราก็มีความสุขแล้ว ”


         

    วันที่ 31กค2557 ช่วงแรกเรื่อง Global HR competencies: ได้เรียนรู้ว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จ เค้ามีแนวคิดและการบริหารจัเการเรื่องบุคคลอย่างไร คือ ต้องให้บริการที่แตกต่าง ต้องดูแลพนักงานให้ดีเหมือนคนในครอบครัว เมื่อเค้าได้รับการดูแลที่ดี เค้าก็จะดูแลลูกค้าดีด้วยและเค้าจะทำงานอย่างทุ่มเทให้กับองค์กรหรือให้พนักงานรู้สึกว่าเป็นเจ้าขององค์กรโดยการให้หุ้นขององค์กรและได้เรียนรู้ Model 2012 HR ช่วงที่สอง กิจกรรม รักษ์ใจ-รักษ์กาย : ได้เรียนรู้ว่าการเต้นรำเป็นการออกกำลังกายที่สนุกมากๆๆ และยังทำให้บุคลิกภาพดีด้วย

    วันที่ 1สค 2557 หัวข้อ คณะแพทย์มอ.กับบทบาทความมั่นคง ได้รู้ว่าคนภายนอกหรือชาวบ้านเค้า trust องค์กรเรามาก ได้แนวคิดที่กว้างขึ้นในการทำงานเพื่ิอสังคม ได้รูว่าองค์กรของเรามีความสำคัญมากที่จะช่วยแก้ไขปัญหา3จังหวัดภาคใต้ได้ หัวข้อ ความสมดุลของชีวิต ประทับใจมาก ได้เข้าใจแก่นของชีวิคมากขึ้น ได้เข้าใจพุทธรรมลึกซึ้งมากขึ้น หลังจากนี้เราคงได้ใช้ชีวิตอย่างถูกต้องและมีความสุขมากขึ้น

    วันพฤหัสที่ 31 กรกฎาคม 2557

    €เรื่องเล่าจากหนังสือ Global HR Competencies : ฟังแล้วงาน HR เป็นงานยิ่งใหญ่ และยาก ทำอย่างไรหัวหน้างานอย่างเราจะเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้จริงร่วมกับ HR ของคณะ

    เรียนรู้ การสร้าง talent: องค์กรที่มี talent ดี จะส่งผลให้ productivity ดีด้วย รักษา talent ให้ดี เพื่อสุดท้ายคนเก่งจะอยู่กับองค์กร

    €กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย (1) : รู้สึกได้ว่าอ.ณภัสวรรณ ไม่ได้ทำให้เพื่อน ๆ ผิดหวัง และรู้สึกสนุกเกินความคาดหมาย ได้ผ่อนคลาย ได้เหงื่อเหมือนกันนะ

    วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2557

    €คณะแพทยศาสตร์ มอ.กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ : ขอบคุณท่านอ.จีระ ที่ได้เรียนเชิญท่านวิทยากรทั้ง 3 (อ.สุรพล/อ.ปิยะ/ท่านบัญญัติ) ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ มีประสบการณ์ตรง ทำให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจพลังอำนาจแห่งชาติ และบทบาทของโรงเรียนแพทย์ ที่สามารถเข้าไปยึดโยงให้เกิดความมั่นคงของชาติได้ วันนี้จากการทำกิจกรรมกลุ่ม เกือบทุกกลุ่ม เห็นว่า ปัญหา 3 จังหวัด ใกล้ตัว แต่จริง ๆ บทบาทภาระหน้าที่ของเรา ยังมีความน่าเชื่อถือ และศรัทธา ที่จะสามารถเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาได้ โดยเราต้องทำอย่างจริงใจ และตั้งใจ

    €ความสมดุลของชีวิต : อ.บุญเลิศ สอนให้เข้าใจหลักสำคัญในการดำรงชีวิต โดยนำหลักศาสนามาเชื่อมโยง ซึ่งเป็นสากลมาก ๆ เรียนรู้การเกิดทุกข์ (เกิดจากตัณหาและกิเลส) วิธีดับทุกข์ ทุกอย่างไม่ยึดมั่น ถือมั่น (สายกลาง)

    หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย..

    ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ฯ มอ.

    โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    2 สิงหาคม 2557

    รศ.ดร.สมชาย: AEC โปรโมทมา 4 ปี คนแรกที่โปรโมทคือ คุณพรทิวา คือ 2010 แต่ประเทศอื่นเตรียมตัวมาตั้งแต่ปี 2013

    AEC มีข้อมูลเยอะมาก ข้อมูลและความรู้เป็นดาบ 2 คม ด้านหนึ่งทำให้ฉลาดขึ้น แต่อีกด้านทำให้โง่ลง

    การทำ Workshop ถ้าทำแบบ Win-win จะเกิดเป็นนวัตกรรม ความฉลาดจะเกิดเป็นความร่วมมือ

    ถาม: ทำไมข้อมูลและความรู้ทำให้โง่ลงได้???

    การศึกษาที่ดี คือ สร้างสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง (Game Theory)

    กลุ่มแรก ยกมือโดยไม่คิด

    กลุ่มสอง คิดก่อนแล้วค่อยยก

    ถาม: กลุ่มไหนฉลาดกว่า

    Think forward and think backward

    ถาม: การเลือกคน กลุ่มแรก ไม่ได้คิดอะไร กลุ่มสอง ทำอะไรก็คิดก่อน ค่อยทำ เลือกกลุ่มไหน

    กลุ่มแรก เป็นกลุ่ม Reactive การคิดแบบแยกส่วน

    กลุ่มสอง เป็นกลุ่ม Proactive เป็นระบบคิดแบบ Forward thinking / system thinking

    การคิดเป็นระบบเชื่อมโยง

    • -เหตุ-ผล
    • -เป้าหมาย
    • -เงื่อนไขของเวลา
    • -เงื่อนไขของสาระ
    • -เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นเรื่องที่ยากมาก
    • -ทำนายอนาคตได้

    เช่น อาจารย์ยกตัวอย่าง จบอักษรศาสตร์ จุฬา 2509

    ถามว่าอนาคตวาดว่าเป็นพระเอกหนัง ระดับเดียวกับ Brad pitt คิดว่าอ.สมชายจะบรรลุได้หรือไม่

    หัวใจสำคัญ คือวัฒนธรรมการเรียนรู้ ที่ต้องกล้าพูดความจริง แต่ประเทศไทยมีปัญหา คือ เกรงใจกันมากเกินไป

    ถาม อาจารย์ถามว่า อ.สมชายจะเป็นนักบาสได้หรือไม่

    ตอบ อาจารย์เตี้ยเกินไป

    ถาม จบอักษรศาสตร์ ถ้าเลือกเป็นทหารจะเป็นอย่างไรในอนาคต

    ตอบ เพราะไม่ได้จบสายทหาร ถ้าอายุ 50 ก็ติดอยู่ที่ตำแหน่งพันเอกพิเศษ ไม่สามารถสูงกว่านี้ได้

    โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงมาก กำลังเข้าเรื่อง AEC

    หัวข้อวันนี้

    1.แนะนำอาเซียน

    2.มุ่งสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

    3.AEC Blueprint เป้าหมายและพันธกรณี

    4.ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับภายใต้ AEC

    5.การใช้ประโยชน์จาก AEC

    เป้าหมาย AEC

    1.เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม

    2.สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน

    3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

    4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

    การสำรวจป่าไม้

    คนที่ 1 ขอใช้เวลาสำรวจ 7 ปี ใช้ตากับหูดู เป็นพวก mechanic mindset

    input àoutput มองแบบเห็นความแตกต่าง

    คนที่ 2 สำรวจป่าภายใน 1 ชั่วโมง คือ สำรวจโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ เพราะต้องคิดล่วงหน้า ใช้ Why เป็นคำถามล่วงหน้า ว่าต้องให้สำรวจเป็นภาพรวม เป็นภูมิทัศน์ภาพกว้างๆ เห็น How to ใช้เวลาน้อยมาก เพราะมีระบบคิดเป็น System thinking เห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง Similarity

    วันนี้อ.สมชาย สอนแบบ Google ไม่ใช่สอนแบบเฮลิคอปเตอร์ คือ google สอนแบบ Global และแบบกว้างๆ

    ASEAN / AEC คนมักสับสน

    ถาม เข้าสู่ AEC หมายถึงอะไร เข้าไปเรียบร้อยแล้ว หรือ กำลังจะเข้า

    อ.สมชาย: AEC พัฒนามานานกว่า 20 ปี แล้ว

    อาเซียนเปลี่ยนแปลงมา 2 ระบบ ก่อตั้งเมื่อปี 2510 (1967) จนถึง 1992 เป็นการรวมตัวแบบหลวม ๆเป็นระบบความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ ตอนแรกตั้งมา 5 ประเทศ

    1993 อาเซียนมีการเปลี่ยนแปลงมาก ทางเศรษฐกิจเรียกว่าการบูรณาการทางเศรษฐกิจ

    • -AFTA เขตการค้าเสรี
    • -Custom union
    • -ประชาคมเศรษฐกิจ Common market การรวมตัวอย่างแนบแน่น หรือ ตลาดร่วมอาเซียน
    • -สหภาพทางเศรษฐกิจ
    • -สหภาพทางเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ คือ สหภาพยุโรป EU

    เพราะฉะนั้นปี 1993 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มแล้ว ปี 2546 ผู้นำอาเซียน ลงนามในปฏิญญาบาหลี (Bali Concord II) แสดงเจตนารมณ์การนำอาเซียนไปสู่ “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) ในปี2020 (2563)

    ASEAN Charter กฎบัตรอาเซียน

    ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASC)

    ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน(ASCC)

    ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

    คำว่า ประชาคม คือ ตลาดร่วม

    สิงคโปร์ มาเลเซีย เริ่มตื่นตัวเรื่อง AEC ตั้งแต่ปี 1993

    อุปสรรค กำแพงภาษีนำเข้า เมื่อเปิดเสรีแล้ว สินค้าลดกำแพงภาษี Tariff barrier เหลือ 0 หรือ FTA

    การลดกำแพงภาษีลงเหลือต่ำสุด แต่ไม่ถึง 0 เรียกว่าระบบ WTO

    สินค้าอาเซียน

    กำแพงภาษี ประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ลดลง 24%

    ประเทศพัฒนาลดลง 36%

    การเปิดเสรี ลดอุปสรรคด้านภาษีนำเข้า ขยายโควตา แต่ถ้าเป็น FTA ไม่มีโควตา

    Normal track ให้เวลา 15 ปี ตั้งแต่ AFTA โควตา ต้องเหลือ 0

    AFTA เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก คือ ทั้ง 10 ประเทศกำลังแปลงเป็นประเทศเดียวกัน เป็นการบูรณาการอย่างลึกซึ้ง

    AEC การวมตัวของอาเซียน ในการเปิดเสรีสินค้า โดยการเปิดสินค้าเสรี

    ประเทศที่ได้ประโยชน์คือ ประเทศเล็ก และใหญ่

    ในกรุงเทพ มี 20-30 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 200 ปีที่ผ่านมา

    • -ตึกสูงมีมากมาย
    • -อาหารจีน อิตาเลียน มีอาหารหลายสัญชาติ

    เปิดเสรีการค้าอาเซียน

    ประเทศอาเซียน 6 ประเทศ ปี 2553 ภาษี 0%

    เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา ปี 2558 ภาษี 0%

    • -ยืนยันการลดภาษีนำเข้าตาม CEPT (AFTA)
    • -ยกเว้น สินค้าใน Sensitive List ภาษีไม่ต้องเป็น 0% แต่ต้อง < 5%
    • -ไทยมี 4 รายการ (กาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง)
    • -สินค้าใน Highly Sensitive List ไม่ต้องลดภาษี
    • -มีสินค้าข้าว ของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ น้ำตาลของอินโดนีเซีย

    สรุป ปี 1967-1992 ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ยังแยกกันอยู่

    ปี 1993 รวมตัวกันทั้ง 10 ประเทศ เมื่อมี AFTA

    รอบอุรุกวัย เปิดเสรีการค้าปลีก

    เปิดเสรีบริการ ค้าปลีก และการเงิน แก้ไขอุปสรรคทางกฎหมาย อนุญาตให้ต่างชาติมาลงทุนได้

    AEC ต้องรู้จริง ไม่อย่างนั้นจะไม่ทันเขา

    ปัจจัยที่สำคัญ

    • -สินค้า AFTA
    • -เงินทุน
    • -บริการ
    • -แรงงาน

    กระบวนการเปิดเสรีการลงทุนและบริการ เป็นเรื่องเดียวดัน จะลดอุปสรรคในเรื่องกฎหมาย จับต้องได้ เช่น เรื่องเกษตรเป็นการเปิดเสรีการลงทุน แต่ถ้าจับต้องไม่ได้ เป็นการเป็นการเปิดเสรีการบริการ

    กรอบความตกลงด้านการค้าบริการ AFAS เปิดในปี 2538

    เขตการลงทุนอาเซียน (AIA) เริ่มปี 2538

    เปิดเสรีบริการ

    เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับนักลงทุนสัญชาติอาเซียน

    2006 2008 2010 2013 2015
    เทคโนโลยีสารสนเทศ สุขภาพ ท่องเที่ยว การบิน 49% 51% 70%
    ลอจิสติกส์ 70%
    สาขาอื่น 30% 49% 51% 70%
    • 1.เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม

    §มุ่งดำเนินการให้เกิด

  • เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
  • เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี
  • เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี
  • เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี
  • เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
  • ในอนาคตจะมีการ Take over โรงพยาบาล และจะเปิดมหาวิทยาลัย

    แรงงานที่เปิดเสรี มีแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ ต่อไปในอนาคตอาจจะมีแพทย์หัวใจ

    อีก 20 ปีข้างหน้าแรงงานไทยจะเป็นรูปปีระมิดคว่ำ

    คำถาม: ในอนาคตจะรวมเรื่องพลังงานหรือไม่

    อ.สมชาย: เรื่องพลังงานจะเป็นขั้นที่ 4 แต่

    หากต่างชาติ Take over ที่ดินทำนา

    อ.สมชาย ไม่ได้รวมอยู่ใน 5 เรื่องบริการ แต่มาถึงจุดหนึ่งอาจจะให้ชาวต่างชาติมาถือครองที่ดินได้ แต่เรื่องข้าวต้องขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล

    2. สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน

    §ความร่วมมือในด้านต่างๆ

  • e-ASEAN
  • นโยบายการแข่งขัน
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  • นโยบายภาษี
  • สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา บางประเทศ ตั้งมาตรฐานสินค้า
  • การคุ้มครองผู้บริโภค
  • อีกไม่เกิน5 ปี ประเทศในอาเซียน อาจจะไม่ต้องใช้วีซ่าในการเดินทางระหว่างประเทศ

    ดังนั้น ทุกประเทศต้องร่วมมือกันด้านการขนส่ง

    และเชื่อมโยง 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ GMS

    • 3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
    • ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่
    • สนับสนุนการพัฒนา SMEs
    • 4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
    • -ปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ
    • -สร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย
    • -จัดทำFTA กับประเทศนอกภูมิภาค
    • +3 หรือ อาเซ็ป
    • ASEAN – China
    • ASEAN – Korea
    • ASEAN- Japan
  • +6
  • -ASEAN- India

    -ASEAN - Australia/New Zealand

  • ASEAN- EU
  • ASEAN- US (TIFA)
  • -การแข่งขันจะมีมากขึ้น ทั้งมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล

    คู่แข่งสตาร์บัค อาจจะเป็นกาแฟโบราณ

    เพราะฉะนั้นต้องคำนึงว่าเรามีการเตรียมพร้อมไปถึงไหนแล้ว ทั้งภาษาอังกฤษ บาฮาสา

    รพ.บำรุงราษฎร์มีต่างชาติ ถือครองอยู่

    AEC คือ กระบวนการรวมกลุ่ม สินค้าและบริการ จุดจบคือ กำแพงภาษีเหลือ0 แรงงานมีฝีมือ 8 ประเภท ผลกระทบของประเทศไทย ส่วนมากจะเป็นทางบวก 

    สรุปการบรรยายหัวข้อ

    การคิดเชิงกลยุทธ์ และ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหา

    และการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

    โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    2 สิงหาคม 2557

    กระบวนการเรียนการสอน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

    • 1.สอนให้เน้นปริญญา ไม่ทำให้เราฉลาด มีกับดักทางความคิด
    • 2.การศึกษาที่ดีนำไปสู่ Creative thinking และ Strategic Thinking
    • Trap Ridden Thinking มองด้านเดียว

    Mindset

    • -Mechanic เน้นตาและหู ไม่ใช่สมอง คำถามจะวัดอย่างเดียว What เหมือนต้นไม้ไม่มีชีวิต
    • -Organic ใช้สมอง คำถาม Why, How to, Similarity in different

    Strategic Thinking

    • -Visionary thinking
    • -แต่ระดับล่างจะเป็น Mechanic บัวใต้น้ำ ต้องปรับตัวเองออกมาจากล่อง เป็น
    • -Organic

    Out the box การมองนอกกรอบ

    • -ข้อมูลที่ได้มาเป็นขยะ
    • -ข้อมูลผิด
    • -ข้อมูลถูก แต่ถูกบิดเบือน

    เช่น บำรุงราษฎร์ เปลี่ยนเป็น Hospitality มากกว่ารพ.

    เป็น Strategic thinker ต้องแก้ปัญหาเรื่อง Box thinking ก่อน

    ก่อนจะถึงเรื่อง Game Thinking(Game Theory) ต้องทำความเข้าใจเรื่อง

    Decision Tree

    ถ้าเราอยู่ในกรอบเก่าดีที่สุด ควรจะหากรอบใหม่หรือไม่

    ตอบ ตาม Logic ถ้าดีที่สุด ก็ไม่ต้องเสียเวลาหาใหม่

    ถ้าเราอยู่ในกรอบเก่าที่เลว จะหากรอบใหม่หรือไม่

    ตอบ ถ้าหาข้อมูล แล้วกรอบใหม่ไม่ดี กรอบใหม่แย่กว่า เราก็อยู่กรอบเก่า

    เพราะฉะนั้นก่อนจะตัดสินอะไรต้องหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล แล้วหาทางเลือกที่ดีที่สุด

    ข้อมูลที่หา มี 3 ประเภท

    • 1.ข้อมูลทั่วไป
    • 2.Relevant ข้อมูลที่เกี่ยวกับเรา
    • 3.ข้อมูลที่สำคัญมาก คือ Strategic เป็น Weighting thinker พวกที่รู้จักชั่งน้ำหนัก
    • โลกที่เปลี่ยนแปลงไป เราก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงทุกเรื่อง
    • มองนอกกรอบ ศึกษาแล้วค่อย ออกนอกกรอบ

    ระบบการศึกษา เราต้องการนักเรียนประเภทใหม่ ทำให้ลูกค้าพอใจยังไม่พอ ต้องตั้งคำถาม How to ก็ยังไม่พอ สอนให้ลูกค้าเห็นเป็นเคส หลายเคส เรียกว่าสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการความเข้าใจได้หลายเรื่อง เรียกว่า Organic thinker

    ระบบการศึกษาไทย ยังไม่ไปสู่ระดับสูงสุดเพราะไม่ได้ตั้งคำถาม Why ในการเรียน

    • 1.What
    • 2.Why
    • 3.How to

    คิด เคี้ยงเอ็มไพร์ และเอ็มเค มีอะไรเหมือนกัน

    • -อร่อย
    • -การบริการ
    • -อาหาร
    • -ราคา
    • -สาขา
    • -ห้าง
    • -เปิดทุกวัน
    • สามารถใช้กลยุทธ์มาใช้กับธนาคารได้เป็นเชิงกลยุทธ์
    • -เปิดตามห้าง
    • -เปิดถึงกลางคืน
    • -เปิดทุกวัน
    • ทำนายพฤติกรรมของผู้บริโภคจาก 3 เคส นี้ได้อย่างไร
    • -One stop service
    • ตัวอย่างเคส: ปั๊ม Jet ปตท. รพ.บำรุงราษฎร์ Food court อร่อย รพ.กรุงเทพ มีข้าวหน้าไก่ 5 แยก ก็เช่นกัน ที่เป็นรูปแบบ One stop service
    • หางยาว ลูกค้าต้องการความหลากหลายของสินค้า
    • Customize เช่น การพิมพ์ชื่อตัวเองลงบนกระป๋องโค้ก
    • กับดักที่น่ากลัวที่สุดคือมองจากมุมตัวเอง เป็นกับดักทางความคิด
    • เวลาทำการตลาด
    • -ต้องรู้ว่าตัวเองมีอะไร
    • -วิธีคิด หากมีเสียงด่าของลูกค่า เราต้องน้อมรับ และนำไปปรับปรุง

    เคส บ้านไร่กาแฟ กำลังไปไม่รอด เพราะราคาแพงแก้วละ 80 บาท แต่รสชาติไม่อร่อย

    Organic thinking

    • -ตัดสินใจอย่างฉลาด
    • -ก่อนออกนอกกรอบต้องดูว่ากรอบใหม่เป็นอย่างไร
    • Amazom.com
    • -ขายดอกไม้แบบ Amazon.com มีคนทำแล้ว คือ Miss lilly
    • -ขายแซนวิส แบบ Amazon.com ได้หรือไม่ ตอบ ร้านอาหารต้องระวัง เพราะถ้าไม่อร่อยคนไม่สั่ง แต่ก็สามารถทำได้ เช่น ร้าน S&p pizza hut
    • -การศึกษาที่ดี ต้องเดินออกไปหาความรู้ ความรู้หาได้ตลอดชีวิต
    • -ระบบการศึกษา ต้องรู้จักตัวเอง ค้นหาตัวเองให้เจอ

    Game Thinking (Game Theory)

    ทฤษฎี Game สอนให้รู้ว่าไม่ได้ตอบคำถามได้ทุกเรื่องหากข้อมูลไม่พอ

    • ประเทศที่เจริญ ยอมรับสิ่งที่ไม่อยากฟัง
    • คนที่เป็น Mechanic ดูตอนจบอย่างเดียว
    • คนที่เป็น Organic ดูตั้งแต่ต้นจนจบ ดูทั้ง process นำไปสู่ System thinking ซุนวู : รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง
    • System thinking
    • -มีการเชื่อมโยงขององค์ประกอบ
    • -มีฟังก์ชัน
    • -มีปฏิสัมพันธ์
    • -เป้าหมายของระบบ คือ การคงอยู่
    • วันนี้ดีที่สุด ไม่ได้แปลว่าจบเพราะโลกของเราเปลี่ยนแปลงทุกวัน เรียกว่า Improvement theory
    • ระบบประกอบด้วย Inputà process à output เป็นระบบที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องเปลี่ยน Input เป็น outcome แต่ต้องให้ outcome มาก่อน เป็น outcomeàprocessàInput
    • Non-competitive benchmarking
    • System thinking ต้องเชื่อมโยงทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
    • Input เป็นฟังก์ชั่น
    • เจ้าหน้าที่ที่ใส่ไป คือ Components
    • Input-> process -> output->feedback
    • ห้องเรียนคณะแพทย์ มอ. เป็น System หรือไม่
    • -Component คือ ผู้เข้าประชุม
    • -ฟังก์ชั่น คือ ไฟสว่าง
    • โตโยต้า แคมรี่ มีระบบหรือไม่ ตอบ คือ เป็น มีฟังก์ชั่น มี Component
    • เราอยู่ในระบบสังคมหรือระบบการเมือง
    • กรณีที่อยู่ในระบบสังคมทำให้การเมืองเสียหรือไม่ เช่น การเคารพผู้ใหญ่
    • -ระบบพังคือ แยกไม่ออกระหว่างมิติสังคม และมิติส่วนตัว
    • ถาม: ระบบโตโยต้า และห้องนี้มีอะไรต่างกัน
    • ตอบ: ระบบเครื่องยนต์ เป็น Static ระบบในห้องนี้เป็น dynamic
    • Game Thinking (Game Theory) นำมาเขียนเป็น Decision tree
    • ตัวอย่าง: ทำไมนายก. เอาถังมาใส่อุจจาระ
    • 1.บ๊อง
    • 2.ไม่บ๊อง
    • 2.1 ส้วมเต็ม เหตุผลนี้เป็นไปได้น้อยมาก ให้ตัดทางเลือกนี้ออก
    • 2.2 ทำปุ๋ย
    • 2.3 พนักงานเทศบาล
    • 2.4 ทำชีวภาพ
    • Simultaneous Game
    • Strategic Move
    • Sequential Game

    การดำเนินกลยุทธ์ บางครั้งไม่ต้องทำอะไรเลย

    เวลาสอน บางครั้งต้องเดินหมาก

    เกมส์มี 3 เกมส์

    • -Zero sum Game มีผู้ชนะ-แพ้ คนฉลาดเป็นคนมีเหตุ มีผล ต้องหลีกเลี่ยงเกมส์นี้
    • ยกเว้นว่า รู้ว่าชนะแน่ หรือหลังพิงฝา
    • -Negative sum Game คนฉลาดจะหลีกเลี่ยงเกมส์นี้ โดยไม่มีเงื่อนไข แต่ไม่ 100%
    • -Positive sum Game หรือ Win-win คนฉลาดจะเล่มเกมส์นี้ คนฉลาดจะได้อำนาจต่อรองสูง
    • ถาม เรื่องZero sum Game ของผู้นำอเมริกา ผู้นำโซเวียต ซึ่งเป็นผู้นำที่เกลียดกันมาก ผู้นำอเมริกา ต้องทำทุกอย่างที่ไม่แพ้ ต้องทำทุกอย่างให้ชนะ
    • ผู้นำโซเวียต ต้องทำทุกอย่างที่ไม่แพ้ ต้องทำทุกอย่างให้ชนะ
    • -หาพันธมิตร
    • -ป้องกันพันธมิตรไม่ให้ทรยศ
    • -สร้างปรมาณูทั้ง 2 ประเทศ โอกาสจะเกิดสงครามน้อยลง เพราะจะเกิดNegative sum Game คือพังทั้งคู่
    • ปมของภาคใต้ คือ ทักษิณไปพูดว่า โจรใต้กระจอก จึงเกิดปัญหาถึงทุกวันนี้เพราะความ Over confident

    Dominant Strategy คือกลยุทธ์ที่เลือกทางเดียวตลอดก็ได้ผลดี คือ ดีที่สุดสำหรับเรา ไม่ว่าคู่แข่งจะตัวสินใจใช้กลยุทธ์อย่างไร

    ในโลกนี้ทุกเรื่องไม่สามารถ Win win ได้  

    อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2 สค. 57

    รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ 

                AEC คือตลาดร่วมเป็นการเปิดเสรีด้านสินค้า บริการ เงินทุนและแรงงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศอย่างมากทั้งทางบวกและลบ อาจารย์ให้ความรู้แนวคิดในเรื่อง AEC ที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น เป็นการกระตุ้นให้เราวิเคระห์ตนเองและองค์กร รวมถึงประเทศของเราในการเตรียมตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งเรามีการเตรียมตัวรับน้อยมากอย่างน่าเป็นห่วง ทำให้คิดว่าเวลาหลังจากนี้ไปองค์กรควรปรับตัวอย่างไรให้รวดเร็วขึ้น 

                   ความคิดในเชิงระบบและความคิดในเชิงกลยุทธ์ (System and strategic thinking) 

               เป็นวันอบรมที่ทำให้ตื่นตัวตื่นใจและสมองต้องคิดตลอดเวลาแทบไม่ต้องละสมองไปจากเนื้อหาที่อาจารย์บรรยายได้เลยแม้สักนาที อาจารย์มีวิธีการถ่ายทอด กระตุ้นให้ได้คิดที่ดีมาก ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ได้ในเรื่องการคิดเชิิงกลยุทธ์ อาจารย์ให้แนวคิดดังนี้

    1. ฝึกเป็นคน organic thinking ออกจากกับดักความคิดตนเอง ใครพูดอะไรต้องฟังหูไว้หูและคิดวิเคราะห์ มองสิ่งที่เหมือนกันในความแตกต่าง 

    2. ทุกอย่างต้องดูกระบวนการอย่าดูตอนจบ 

    3. นำทฤษฎีเกมส์มาใช้ บางครั้งต้องเดินหมาก บางครั้งต้องอยู่เฉยๆ หลีกเลี่ยงการใช้ทฤษฎี Zero Sum Game ถ้าจำเป็นต้องใช้ต้องมั่นใจว่าจะชนะ 

    4. เลือกใช้ Win- Win Game หลีกเลี่ยง Lose Lose Game

           ทฎษฎีเกมส์สามารถนำไปทำนายสถานการณ์และทำนายพฤติกรรมของผู้นำได้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเพื่อสร้างความสำเร็จเช่นถ้าสู้ไม่ได้ด้วยตนทุนต้องชดเชยด้วยความแตกต่าง

    ดีใจที่มีโอกาศเป็นนักเรียนใกล้ชิดมากกว่า หน้าจอ

    ได้เรียนรู้การวิเคราะห์ที่มองอดีต เชื่อมโยงปัจจุบัน มุ่งสู่อนาตค

    การคิดก่อนตัดสินใจ

    หลักทฤษฎีเกมส์และเห็นความสำคัญการสอนให้เรียนรู้ตลอดชีวิต

    การคิดนอกกรอบไม่ได้ดีเสมอไป ถ้ากรอบเดิมดีอยู่แล้วก้อไม่ต้องออกนอกกรอบ แต่ต้องมีcontinuous improvement

    ที่สำคัญอาจารย์ฝึกให้คิดวิเคราะห์ชนิดจับต้องได้ จำไปใช้ได้นาน

    System thinking ฉบับTangibleค่ะ

    ฉมาภรณ์

    สรุปบทเรียน วันที่ 2 สิงหาคม 2557

    ช่วงเช้า “เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC2015 และเศรษฐกิจไทย....ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ มอ.”โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    อาจารย์เริ่มต้นด้วยคำกล่าวที่ว่า ความรู้เป็นดาบ 2 คม ทำให้คนเราฉลาดหรือโง่ก็ได้ ฉะนั้นเราต้องรู้จักวิธีการบริโภคข้อมูลข่าวสาร และการบริหารองค์กรที่ดีจะต้องมีการเชื่อมโยงจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งเราจะเชื่อมโยงสิ่งนี้ได้ต้องทำ SWOT อาจารย์ได้เล่าให้ฟังถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่ผ่านมาเช่น AFTA, AFAS, AIA จนปัจจุบันมุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งมีเป้าหมายเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม สร้างขีดความสามารถแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก จากเป้าหมายดังกล่าวทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า แรงงาน การลงทุน เงินทุน และบริการอย่างเสรี ซึ่งส่งผลให้มีการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับนักลงทุนสัญชาติอาเซียนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาสุขภาพ สาขาการท่องเที่ยว สาขาการบิน สาขาลอจิสติกส์ ฯลฯ ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการเข้า AEC คือ ได้ตลาดขนาดใหญ่ มีแหล่งส่งเสริมวัตถุดิบ เพิ่มกำลังการต่อรอง ที่สำคัญเราต้องสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคตให้ได้โดยเฉพาะผู้นำเพื่อจะนำพาองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

    ช่วงบ่าย “ความคิดเชิงกลยุทธ์และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ”

    คนเราจะมีการคิด 2 แบบ คือ แบบ mechanic ใช้ตาดู หูฟัง ถามคำถามว่า what มักจะเห็นแต่ความต่าง และแบบ organic ใช้สมองกลั่นกรอง ถามคำถามว่า why How to มักจะเห็นความเหมือนในความต่าง เราจึงควรจะมีการคิดแบบ organic เพื่อพัฒนานวัตกรรม ตัดสินใจอย่างฉลาด และมองอะไรเป็น process นอกจากนี้จะต้องมีความคิดอย่างเป็นระบบ (system thinking) และปัจจุบันจุดเริ่มต้นของระบบน่าจะต้องเริ่มมาจาก out come หรือการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า นำมาสู่การแก้ปัญหา พัฒนางานเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาได้ประสิทธิภาพ และอาจารย์ได้สอนการคิดวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฏีเกมส์ ทำให้ เรารู้เขารู้เรามากขึ้นสามารถทำนายอนาคตได้ว่าจะเกิดอะไรต่อไป

    วันนี้ทั้งวันไม่รู้สึกเหนื่อยเลย นั่งเรียนแบบใจระทึก จดจ่อ ต้องคิดตลอดเพราะเราจะต้องแสดงความคิดเห็นทุกคำถามของอาจารย์ เป็นวิธีการสอนที่ดีมากเลยค่ะ

    ครั้งที่ 7 31 ก.ค.2557 วิภารัตน์ 

    สรุปสิ่งที่ได้เกิดการเรียนรู้และนำมาปรับใช้กับการทำงาน

    จากการนำเสนองานกลุ่มวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือเรื่อง Global HR Competencies

    เรียนรู้พัฒนาและวิธีการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในประเทศและบริษัทที่ประสบผลสำเร็จในด้านธุรกิจ ผู้เรียนสนใจในเรื่องประเด็นวิธีการดูแลให้พนักงานพัฒนาและผูกพันกับองค์กรคือ หลักการรับพนักงานใหม่คือ ค้นหาคนที่มีDNAเดียวกับบริษัทมีเป้าหมายเดียวกับบริษัทเสมือนการสร้างโรงเรียนขึ้นมาเพื่อผลิตบัณฑิตตามที่บริษัทต้องการ และการดูแลทุกคนเสมือนสิ่งมีค่าเน้นจุดแข็งมองข้ามจุดอ่อน

    ในภาพรวมผู้เรียนมีความคิดเห็นว่าในการพัฒนาบุคลากรต้องทำในทุกระดับ ไม่ควรมีความเหลื่อมล้ำของบุคคลมากเกินไป และองค์กรที่จะประสบผลสำเร็จในอนาคตควรมีลักษณะที่ ยืดหยุ่น team work รับผิดชอบสังคม มีความเข้มแข็งทางจริยธรรมและมีการจัดการความเสี่ยง และลักษณะผู้นำในอนาคต ควรจะมี 5ส ได้แก่ แสวงหาความรู้ ใส่ใจ สนับสนุน ส่งเสริมและสอนงาน

    สรุปการเรียนรู้จากข้อเสนอแนะในการพบอาจารย์ที่ปรึกษา (อาจารย์กิตติ) ติดตามความคืบหน้าของงานวิจัย

    อาจารย์กิตติเสนอแนวคิดของ projectให้มองภาพใหญ่ทั้งองค์กรและสามารถนำไปimplementได้ด้วยต้องมองอนาคตของมอว่าอยู่ตรงไหน set vision ก่อนแล้วไปให้ถึง SWOT ดูว่าcore value อยู่ตรงไหนวิเคราะห์จุดอ่อนว่าคืออะไรต้องบอกเป้าหมายว่าอนาคตอยากเห็นมอเป็นอย่างไร และโครงการต้องตอบโจทย์ ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ

    ครั้งที่ 8 1ส.ค. 2557 วิภารัตน์ จุฑาสันติกุล

    สรุุปสิ่งที่ได้เกิดการเรียนรู้และนำมาปรับใช้กับการทำงาน

    หัวข้อคณะแพทย์มอ กับบทบาทและงานด้านความมั่นคงของประเทศ (concept3จังหวัดชายแดนใต้)

    ปัญหาความมั่นคงใน3จังหวัดชายแดนใต้มี 3 ระดับ

    1.ปัญหาทั่วไป ได้แก่ ความเจ็บป่วย ความไม่เป็นธรรม ความไม่รู้

    2. ปัญหาระดับโครงสร้าง เกี่ยวกับนโยบาย การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ การจัดการในพื้นที่

    3.ปัญหาระดับลึก เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต ซึ่งปัญหานี้แก้ยากมาก เกิดความหวาดระแวงในสังคมอย่างมาก

    บทบาทแพทย์ต้องเป็นกลางมีความเสมอภาคในการรักษาไม่เลือกปฏิบัติไม่แบ่งแยกศาสนาดูแลโดยใช้จิตบริการ ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นต่อบุคลากรของรัฐ

    สิ่งที่เป็นแม่บทของการแก้ปัญหาคือ นโยบายการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ลดเงื่อนไขการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ

    หัวข้อ ความสมดุลของชีวิต

    Concept ที่สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้โดยการลงทุนชีวิตอย่างรู้เท่าทันและเตรียมทุนสำรองอย่างรู้ทันด้วย ต้องรู้จักตนเองอยู่ก็ได้ตายก็พร้อม เพื่อจะได้พัฒนาตนเองโดยต้องมี สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรมและสายกลาง

    2 สิงหาคม 2557

                        วันนี้ได้มีโอกาสฟังบรรยาย เรื่อง“เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ฯ ม.อ.” โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ซึ่งได้วิเคราะห์อนาคตไว้ว่า การที่ 10 ประเทศกำลังแปลงเป็นประเทศเดียวกัน เป็นการบูรณาการทางเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้ง มีการเคลื่อนย้าย สินค้า เงินทุน บริการ และ แรงงาน จากผลของการเปิดตลาดการค้าเสรี ลดอุปสรรคของกำแพงภาษี ซึ่งผลกระทบกับวงการด้านการแพทย์และสาธารณสุขก็คือ ในอนาคตจะมีการ Take over โรงพยาบาลเอกชนต่างๆจากต่างชาติและรพ.เหล่านั้นก็จะเปิดมหาวิทยาลัยผลิตบุคลากรของตัวเอง สำหรับคณะแพทย์ม.อ. ฉันคิดว่าคงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย HR เป็นอย่างมากในการที่จะดึงแพทย์ พยาบาลซึ่งเป็นบุคลากรสาขาขาดแคลนเหล่านี้ไว้ไม่ให้ไปอยู่ร.พ.เอกชนหรือไปทำงานเมืองนอกกันหมด แต่อย่างไรก็ตาม ฉันก็ยังเชื่อว่า ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ คงไม่มีใครอยากจากบ้าน จากครอบครัว ไปอยู่เมืองนอกคนเดียวหรอก

                         ส่วนช่วงบ่าย เป็นเรื่อง " การคิดเชิงกลยุทธ์ และ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ”อาจารย์สมชาย บอกว่าระบบการศึกษาของเราควรเน้นการพัฒนา Creative thinking และ Strategic Thinking เพื่อให้วิเคราะห์ข้อมูลหรือสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีคุณภาพ อาจารย์นำเสนอทฤษฎีเกมมาใช้ในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ทางเลือกโดยใช้ Decision tree ทั้งนี้จะต้องหาข้อมูลที่สำคัญให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจเลือกทางที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งทฤษฎีเกมสามารถนำมาใช้กับการตัดสินใจได้ทุกเรื่อง โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างให้ฟังไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือแม้กระทั่งเรื่องของความรัก การจะจีบสาวหรือการเลือกคู่ครอง ซึ่งผู้เล่นเกมจต้องเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดแก่ตนเอง

                           ทฤษฎีเกมจะต้องมีผู้เล่น 2ฝ่ายขึ้นไป ถ้าจะเอาชนะกันก็ต้องใช้ zero-sum game แต่ต้องมั่นใจว่าเรามีอำนาจต่อรองมากกว่า เราต้องเป็นฝ่ายชนะแน่นอน ส่วน negative - sum game เป็นการแพ้ทั้งคู่ (แล้วจะสู้กันไปทำไม ) คนฉลาดจะต้องเลือกเล่น win - win game เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดแก่ทั้งสองฝ่าย โดยยอมลดท่าทีเอาชนะลง เนื่องจากมองเห็นผลประโยชน์ร่วมกันจากความร่วมมือกัน ไม่มีผู้แพ้ ไม่มีผู้ชนะ ทั้งสองฝ่ายปรองดองกันเพื่อสานประโยชน์ร่วมกัน

                             อาจารย์ไม่ได้ยกตัวอย่างในเรื่องการตัดสินใจทางการรักษาพยาบาล ซึ่งฉันคิดว่าสามารถนำมาปรับใช้ได้ โดยแพทย์ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นให้ครบถ้วน เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เกิดประโยชน์กับเขามากที่สุด แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมเพราะเกมนี้ถ้าเลือกทางผิด ไม่ได้หมายถึงแค่ การแพ้ แต่อาจเป็นการตาย เนื่องจากเรากำลังเล่น " เกมชีวิต " กันอยู่

    31 กรกฎาคม 2557

    หนังสือ Global HR competencies

    ศ จีระ

    ปัญหาคณะแพทย์ คือ มี competency มาก แต่ขาด synchronization การทำงาน

    บริษัทจีน :Change aggressive cost management to more innovative and develop and creative in marketing and brand activity.

    บริษัทอินเดีย : สร้างโรงเรียน เพื่อ include คนที่มี DNA เดียวกับองค์กร

    Morining coffee เป็นวิธี empower คนทำงาน

    Success is not the key to happiness, happiness is the key to success. If you love what you are doing, you will be successful.

    1 สิงหาคม 2557

    คณะแพทย์ และบทบาทด้านความมั่นคง

    building trust : clinical need, imparialty, without discrimination

    อ จีระ ให้ความเห็นว่า ถ้าแก้ปัญหา 3 จังหวัดไม่ได้ ไม่รู้จะมี มอ ไปทำไม

    แผนแม่บท : ลดเงื่อนไขการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหา

    ความสมดุลของชีวิต

    มนุษย์เกิดมาเพื่อ รับใช้ผู้สร้าง และดำรงเผ่าพันธุ์ให้ดีขึ้น

    2 สิงหาคม 2557

    AEC กับการปรับตัวของคณะแพทย์

    Think forward and work backward

    Change before you forced to change

    AEC : ตลาดร่วม สินค้า เงินทุน บริการ และแรงงาน

    อนาคต : รพ จะเปิดมหาวิทยาลัย

    ตลาด : แพงไม่ว่า ขอสะดวก รวดเร็ว กินอยู่ 5 ดาว

    การคิดเชิงกลยุทธ์

    อนาคต : one stop service and diversity

    กับดักที่น่ากลัว คือ การมองจากมุมตัวเอง แล้วตัดสินใจ

    กรณีสู้ไม่ได้ด้วยราคา ให้ทดแทนด้วยความแตกต่าง

    value รพ คือการรักษา

    ข้อสรุปของ 18-19 กค 57 (เพิ่มเติม)

    18 กรกฎาคม 2557

    3V and mini research for the innovative project

    อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

    Mind set ทุกคนรวมกัน คือ core value

    ข้อควรระวัง : core value ทำให้เกิด comfort zone

    แนะนำ : ปรับ mind set ก่อนเริ่มงาน เพื่อไม่ให้คิด หรือ ทำแบบเดิม

    Innovation workplace

    อาจารย์เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

    Environment : relax environment

    Process : ครึ่งวันต่อสัปดาห์ ต้องคุยปัญหา และปรับปรุงการทำงานของหน่วยงาน

    แนวคิด 345 : ทำ 3 คน จ่าย 4 คน product เท่ากับ 5 คน

    การเลือกคน : attitude สำคัญที่สุด

    ไม่ต้องการคนเก่งที่สุด แต่ต้องการคนปานกลางที่ทำงานร่วมกับคนอื่นได้

    วิธีเลือกคน : ให้โจทย์ปัญหา > พิจารณาวิธีแก้ปัญหา (สะท้อน attitude ได้)

    การประเมิน : มองจากมุมลูกค้า

    ระยะเวลา 3 เดือน โดยประเมินทุกสัปดาห์ เพราะรอนาน คนดีอาจย้ายงาน

    Put the wrong man into the wrong job : ทำให้เห็นศักยภาพของคน

    แนะนำ : CEO พบพนักงาน คือ เปิดห้องให้พบได้ โดยไม่ต้องนัด

    ยกเลิก vision ของหน่วยงาน โดยให้ใช้ vision ขององค์กรร่วมกัน

    Competency สำคัญที่สุดในการทำงาน

    KPI เป็นผบสะท้อนอดีต

    ดังนั้น อาจต้องเปลี่ยน การประเมินเป็น KPI 20 %, competency 80 %

    19 กรกฎาคม 2557

    วัฒนธรรมองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    ดร ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

    Thai value : เกรงใจ รักษาหน้า หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

    การเปลี่ยนแปลงองค์กร > ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร

    กระบวนการเปลี่ยนแปลง

    1. ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง

    2. สร้างวิสัยทัศน์ใหม่

    3. จัดการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

    4. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งองค์กร

    Coaching : คุยตรงไปตรงมา รับฟังข้อโต้แย้ง

    ทำให้เห็นข้อเท็จจริงด้วยตนเอง

    ไม่ใช่บอกว่าอะไรถูกผิด

    Branding : สะท้อนค่านิยมขององค์กร

    เทคนิคการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ

    ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ

    ผู้นำ ต้องเลือกทำงาน : เห็นชอบมอบรอง เห็นด้วยผู้ช่วยปฏิบัติ

    ผู้นำ ต้องมีคุณสมบัติ

    1.การจัดการเวลา : สมุด 3 เล่ม คือ

    จะทำอะไร ให้วางบนโต้ะ

    ทำอะไรแล้ว ให้วางหัวนอน

    ให้เลขาจดว่า ทำอะไร

    ทุกเดือนให้ตรวจสอบว่า 3 เล่มคล้ายกันไหม ถ้าคล้ายกัน แปลว่า จัดการได้ดี

    2. priority : ต้องกำหนดให้ได้ว่า เขาจ้างเรามาทำอะไร แล้วแบ่งเวลาให้เหมาะสม

    3. contribution การลงขัน ต้องช่วยกันทำงาน ไม่ใช่แก้ปัญาให้ลูกน้องตลอดเวลา

    อย่าเป็นผู้นำ สันดานเสมียน

    4. strength ใช้คนที่จุดแข็งเดียว ส่วนอื่น ๆ เป็นของแถม

    5. Decision making and problem solving : Get the right thing done

    “Are you part of the problem or are you part of the solving ?”

    การพิจารณาว่าเรื่องนั้นเป็นปัญหาหรือไม่

    ตะแกรงที่ 1 :

    ปัญหา มี 3 ลักษณะ คือ

    1.ไม่คาดคิด (unexpected)

    2.Cause unknown : ส่วนใหญ่รู้อาการ แต่ไม่รู้สาเหตุ

    3.Major concern : บางครั้งห่วง สิ่งที่ไม่สำคัญ

    ดังนั้น ถ้าไม่เข้า 3 ลักษณะ คือ ไม่ใช่ปัญหา

    ตะแกรงที่ 2 :

    ความหนักของสถานการณ์ มี 3 ลักษณะ คือ

    1. serious สำคัญ

    2. urgency เร่งด่วน

    3. growth บานปลาย

    Fact เรื่องด่วน มักไม่สำคัญ มักเกิดจากมีใครลืม และจะมีคนได้ประโยชน์จากการตัดสินใจอย่างเร่งด่วนของเรา

    เรื่องสำคัญ ต้องมี schedule อยู่แล้ว

    ตะแกรงที่ 3 : เมื่อเจอปัญหา ให้ถามคำถามเหล่านี้

    • 1.What happened ? ต้อง define ให้ได้ว่า ปัญหา คืออะไร > ถ้าสรุปไม่ได้ อย่าคิด ข้อ 2
    • 2.Extent ? ผลกระทบต่อคน เงิน คนที่มีส่วนได้เสีย
    • 3.When ?
    • 4.Where ?
    • 5.How ?

    อย่า jump into conclusion

    ขั้นตอนการตัดสินใจ

    คนตั้งเกณฑ์ : อนุกรรมการ โดยความเห็นประชาคม

    Must = บังคับ , want = ได้ก็ดี

    การให้น้ำหนัก ต้องยึดเสียงส่วนใหญ่ ฟัง deep listening และสุนทรียสนทนา

    ขั้นตอน

    1. ตั้งเงื่อนไข เพื่อพิจารณา โดย policy maker จะเป็นคนตั้งข้อกำหนดที่เป็น “must” คือ ทุกข้อต้องผ่าน

    2. ตั้ง “want” โดยถามจาก stakeholder และให้คะแนนตามน้ำหนักความต้องการ

    3. ถ้าคะแนนเท่ากัน ให้พิจารณา “not want”

    กล้าพูดสวนกระแส ไม่ใช่สวนกลับหรือสวนคำพูด

    หัดฟังคนที่ไม่อยากฟัง

    อย่าตัดบทคนที่กำลังสนทนา

    การชม ต้องชมในที่แจ้ง แต่ติในที่ลับ

    สร้างเพื่อน ก่อนที่จะต้องการเพื่อน

    Today is a good day of the rest of my life

    ข้อคิด : เราทิ้งอะไรไว้ที่นี่ (foot print) 

    31 ก.ค. 57

    Global HR Competencies ประเด็นบทบาทของสตรีในประเทศอินเดีย (Women Role)  ผู้หญิงยังคงมีบทบาททางเศรษฐกิจและสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งการเมืองการปกครอง เพราะศาสนาฮินดูสอนให้ดนอินเดียนับถือหรือเคารพแม่ทั้งหลาย เพราะฉนั้น ผู้หญิงจึงมีอำนาจเหนือเพศชาย ประเทศไทยเองก็เริ่มที่จะเป็นอย่างนั้นมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย จากเดิมที่เคยทำงานอยู่กับบ้านก็เปลี่ยนมาทำงานนอกบ้านด้วยภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป  มีนักการเมืองที่เป็นผู้หญิงมากขึ้น จากเดิมไม่มีเลย ผู้บริหารองค์กรต่างๆ ก็เป็นผู้หญิง หรือแม้แต่ในคณะแพทย์เองก็ตาม ผมว่าบทบาทสตรีกับการขับเคลื่อนคณะแพทย์เป็นประเด็นที่น่าสนใจทีเดียว

    นันท์นภัสถ์ พนหมรักษ์

    วันนี้ท่านวิทยากรได้สอนเกี่ยวกับการคิดเชิงระบบโดยให้เรารู้จักการคิดวิเคราะห์อย่ารับฟังข้อมูลทางเดียว ก่อนจะตัดสินใจอะไรต้องคิดก่อนและต้องคิดไปถึงสิ่งที่ตามมาและต้องยอมรับผลของการกระทำ อาจารย์จะกระตุ้นให้เราคิดตามแต่ในบางครั้งต้องยอมรับว่าคิดไม่ทันจริงจริง อาจารย์บอกว่าการคิดนอกกรอบไม่ได้ดีเสมอไป ในบางเรื่องที่เราคิดว่าดีที่สุดแล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องไปเสียเวลาเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีกว่า 

    2 ส.ค. 2557

    เศรฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบการปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ มอ.  ผมมองว่า AEC เข้ามากระทบและเกี่ยวข้องกับประเทศเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่มีรูปแบบและพัฒนาการมาเรื่อยๆตามภาวะเศรษฐกิจและนโยบายการเมือง แต่สุดท้ายผมก็มองว่าเป็นการแข่งขันทางเศรฐกิจและการชิงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการกีดกันทางการค้า  หลายเรื่องไทยเสียเปรียบ บางเรื่องเท่านั้นที่ไทยได้เปรียบ เมื่อมีการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจการเซียนการเดินสะดวกใครเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก็ได้อย่างเสรี ประเทศเล็กและรำ่รวยอย่างสิงคโปร์อาจจะเคลื่อนย้ายพลเมืองมาอยู่ในประเทศไทยซึ่งมีพื้นที่ใหญ่กว่ามาก แล้วคนไทยต่อไปจะอยู่ที่ไหน? มันจะยิ่งเร่งการใช้ทรัยากรในปรเทศไทยที่มีอยู่อย่างจำกัด  ปัญหาอาชญากรรมทุกวันนี้มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นล้าน (ผิดกฎหมายและไม่ผิดกฎหมาย) ได้ยินข่าวแรงงานพม่าฆ่านายจ้าง  

           FTA ก็เช่นกัน ลดภาษีการนำเข้าสินค้าให้เหลือ 0 % สมมุติ ยกตัวอย่างการทำข้อตกลงลดภาษีนำเข้าสินค้าไทยกับจีนด้านสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรของจีนหลายตัวมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทยมาก จีน import เข้ามาไทยโดยไม่เสียภาษี และสินค้าเกษตรของไทยจะขายออกอย่างไรในเมื่อมี cost ที่สูงกว่า กระทบต่อเกษตรกรโดยตรง  บทเรียนของไทยการจะทำ FTA กับใคร สินค้าชนิดใด ต้องวิเคราะห์ให้ดีก่อนทำสัญญาข้อตกลงว่าเราได้เปรียบจริงๆ ที่ผ่านมามีการอิงกับนักการเมืองที่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง  

         

    วันที่ 2สค.2557 หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียนAEC 2015 ได้เข้าใจคำว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากขึ้นและได้รู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อนึกถึงองค์กรเรา เราต้องทำเพื่อสังคมไทยและต้องแข่งขันกับองค์กรอื่นด้วยเพื่อความอยู่รอด เราจะ balance อย่างไร? ช่วงบ่ายได้เรียนรู้ dicision tree ต้องมี strategic thinking and creative thinking ถึงจะทำให้องค์กรอยู่รอด ที่สำคัญต้องเปลี่ยน midset จา mechanic เป็น organic ได้เข้าใจคำว่า system thinking ชัดเจนขึ้น

    • วันที่ 2 สิหาคม 2557 วันนี้ได้รับความรู้จากรศ.ดร. สมชาย ภคภาสวน์วิวัฒน์ ในเรื่องเศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015และเศษฐกิจไทย ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์มอ.ทำให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับ AEC หรือ ASEAN ที่มีมาแล้วในอดีต ซึ่งฟังแล้วรู้สึกเศร้าใจว่า ประเทศไทยยังไม่ได้เตรียมความพร้อมเท่าที่ควร และการให้ความรู้ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่คนไทยจะต้องพบและรับมมือยังน้อยมาก นั่นคือ AEC หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะเป็นการเปิดการค้าเสรี มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้าน คือ สินค้า บริการ เงินทุน และแรงงาน ในส่วนแรงงานจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายคนทำงาน  8 กลุ่ม  ซึ่งมีกลุ่มแพทย์ พยาบาล ร่วมด้วย เป็นประเด็นหนึ่งที่โรงพยาบาลต้องเตรียมรับมือ
    • ช่วงบ่ายเรียนรู้เรื่องการคิดเชิงกลยุทธ์ หรือการคิดเป็นระบบเชื่อมโยง 

    -เหตุ-ผล

    -เป้าหมาย

    -เงื่อนไขของเวลา

    -เงื่อนไขของสาระ

    -เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นเรื่องที่ยากมาก

    -ทำนายอนาคตได้

    และการนำทฤษฎีGAME มาปรับใช้ทั้งการทำงานและชีวิตประจำวัน

    วันเสาร์ ที่ 31 ก.ค.2557 สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศประเทศอินเดีย การจะประสบผลสำเร็จในด้านธุรกิจ วิธีการดูแลให้พนักงานพัฒนาและผูกพันกับองค์กร คือ หลักการรับพนักงานใหม่คือ ค้นหาคนที่มี DNA เดียวกับบริษัทมีเป้าหมายเดียวกับบริษัท เสมือนการสร้าง โรงเรียน ขึ้นมาเพื่อผลิตบัณฑิตตามที่บริษัทต้องการ และการดูแลทุกคนเสมือนสิ่งมีค่าเน้นจุดแข็งมองข้ามจุดอ่อน

    องค์กรที่จะประสบผลสำเร็จในอนาคตควรมีลักษณะที่ ยืดหยุ่น ทำงานเป็นทีม รับผิดชอบสังคม และลักษณะผู้นำในอนาคต ควรจะมี 5ส ได้แก่ แสวงหาความรู้ ใส่ใจ สนับสนุน ส่งเสริมและสอนงาน

    กิจกรรม รักษ์ใจ-รักษ์กาย : การเต้นรำเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง สนุกสนาน และทำให้บุคลิกภาพดี

    วันศุกร์ ที่ 1ส.ค. 2557 สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

    ปัญหาความมั่นคงใน3จังหวัดชายแดนใต้มี 3 ระดับ

    1.ปัญหาทั่วไป ได้แก่ ความเจ็บป่วย ความไม่เป็นธรรม ความไม่รู้

    2. ปัญหาระดับโครงสร้าง เกี่ยวกับนโยบาย การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ การจัดการในพื้นที่

    3.ปัญหาระดับลึก เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต

    แผนแม่บท : ลดเงื่อนไขการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหา

    การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ต้องลงทุนชีวิตอย่างรู้เท่าทัน ต้องรู้จักตนเองอยู่ก็ได้ตายก็พร้อม เพื่อจะได้พัฒนาตนเอง โดยต้องมี สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรมและสายกลาง

    วันเสาร์ ที่ 2 ส.ค. 2557 สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

    ได้เข้าใจคำว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากขึ้นและได้รู้ถึงผลกระทบที่เกิด ขึ้นตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

    การคิด ต้องคิดวิเคราะห์อย่ารับฟังข้อมูลทางเดียว ก่อนจะตัดสินใจอะไรต้องคิดก่อนเสมอ ต้องคิดไปถึงสิ่งที่ตามมา ต้องยอมรับผล ของการกระทำ และการคิดนอกกรอบไม่ได้ดีเสมอไป บางเรื่องที่คิดว่าดีที่สุดแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปเสียเวลาเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีกว่า

    เขียนวันที่ 2 สิงหาคม 2557 


    หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ฯ มอ.” โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

             เหลือเวลาอีกไม่ถึงหนึ่งปีที่ไทยและอีก 9 ประเทศจะรวมกันเป็นเขตเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นหนึ่งเดียว การเตรียมความพร้อมของไทยจะดีพอหรือยัง จะรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้เท่าทันหรือไม่ต้องติดตามกันต่อไป ส่วนตัวเราและองค์กรจะอยู่รอดให้ได้ดี ต้องเรียนรู้ปัจจุบันและทำนายผลต่อเนื่องจากตอนนี้ไปถึงอนาคตอีกสัก  20 ปีข้างหน้า

           การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะเกี่ยวเนื่องกับ

    • การสร้างให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น
    • ประชาชนของชาติสมาชิกเดินทางไปมาหาสู่กันได้ง่ายขึ้น
    • เป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างความเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่นๆ รวมทั้งประเทศในฝั่งเอเชียตะวันออก
    • เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม กฎระเบียบต่างๆ รวมทั้งการติดต่อสื่อสารกันของประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิก

    ผลกระทบของการจัดตั้งเขตการค้า AFTA (Asean Free Trade Area) มีประเด็นที่น่าสนใจได้แก่

    1. AFTA ทำให้นำเข้าวัตถุดิบได้ในราคาต้นทุนที่ต่ำลง ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของอาเซียนในเวทีการค้าระหว่างประเทศ

    2.การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ทำให้ตลาดอาเซียนกลายเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรราว 500 ล้านคน ซึ่งจะมีน้ำหนักในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา และก่อให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านต่างๆ มีผลนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจมาสู่ภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศสมาชิกใหม่ที่สถานะทางเศรษฐกิจยังไม่แข็งแรงอย่าง ลาว เวียดนาม และพม่า ต่างก็เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แรงงานมีราคาถูก จึงเท่ากับเป็นการเสริมศักยภาพของภูมิภาคอาเซียนโดยรวม

    3.การขยายเขตการค้าทำให้ลดขวากหนามด้านภาษี ทำให้มีการขยายการค้าภายในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น สินค้านำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนถูกลง ทำให้เกิดการผลิตและการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น

    4 เป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรอง เพราะการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนนั้นเป็นการแสดงเจตนารมณ์การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ภายในชาติสมาชิกด้วยกันเองแล้ว ยังเป็นการเสริมอำนาจการต่อรองในเวทีโลกด้วย

    สำหรับประเทศไทยมี 8 อาชีพ ที่อยู่ในข้อตกลงนี้ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ อาจารย์บอกว่ามีท่องเที่ยวอีกหนึ่ง ผลกระทบของการเปิดเสรีถ้าลองคิดดูจะมีอะไรบ้าง

    • การเคลื่อนย้ายของบุคลากรทางการแพทย์ : หากสถานการณ์ด้านคุณภาพชีวิตของแพทย์ พยาบาล ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ภาระงานที่เพิ่มขึ้น ค่าตอบแทน ความเสี่ยงที่ไม่คุ้มทุนจะเป็นแรงผลักดันให้บุคลากรเหล่านี้ไหลเข้าสู่ภาคเอกชน และส่วนหนึ่งอาจเคลื่อนย้ายไปสถานพยาบาลในประเทศเพื่อนบ้านพวกนี้จะกระทบต่อระบบสาธารณสุขของไทยแน่นอน เพราะลำพังในปัจจุบันการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ก็ทำได้ไม่ทันอยู่แล้ว ( หลายฝ่ายมองว่าการเคลื่อนย้ายแรงงานแพทย์ พยาบาลไปต่างประเทศอาจมีไม่มาก เนื่องจากติดขัดปัญหาทางภาษา และมีโรค "คิดถึงบ้าน" ถ้าเป็นเช่นนี้จริงก็คงไม่น่าเป็นห่วง แต่เราก็ไม่ควรประมาท ดูแลบุคลากรของเราให้ดี )
    • การไหลทะลักเข้าของบุคลากรทางการแพทย์จากประเทศอื่นๆ ที่มีมาตรฐานเพียงพอ อาจนำไปสู่ปัญหาความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ เนื่องจากค่าบริการที่เพิ่มขึ้น แต่เรื่องนี้สภาวิชาชีพต่าง ๆ คงได้มีแนวทางป้องกันไว้แล้วทั้งเรื่องคุณภาพและปริมาณ
    • มองในแง่บวก ไทยอาจใช้โอกาสนี้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของตัวเอง เช่น การเจาะกลุ่มผู้สูงอายุในอาเซียนที่มีจำนวนมากขึ้นจาก 9% เป็น 12% ในอีก 10 ปี การเพิ่มขีดความสามารถทางด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับผู้สูงอายุ เพราะในปัจจุบันประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ เช่น Joint Commission International : JCI Accreditation ของสหรัฐอเมริกา จำนวน 28 แห่ง ถือว่ามากที่สุดในอาเซียน มีการผ่านคุณภาพโรงพยาบาล Hospital Accreditation : HA สะท้อนว่าโรงพยาบาลในประเทศไทยมีความโดดเด่นด้านมาตรฐานของสถานพยาบาล
    • เพราะไทยมีความเด่นด้านการท่องเที่ยว ตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยมีมากถึง 60% ก็ถือว่าไทยมีศักยภาพเช่นกัน แต่จะทำอย่างไรให้เรามีรายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ให้มากขึ้น
    • สรุป มีหลายเรื่องที่สงขลานครินทร์ทำได้ ปรับให้เข้ากับภาวะการเปลี่ยนแปลง อยู่ที่เราจะรู้ให้เท่าทัน และเดินไปให้ถูกทาง ถูกเวลา


    Section ที่สอง เป็นเรื่องของ “การคิดเชิงกลยุทธ์ และ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

             การคิดอย่างเป็นระบบด้วยการคิดแบบกลยุทธ์ เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ ซึ่งอาจารย์บอกว่าการเรียนรู้มี ระบบการคิด 2 แบบ คือ แบบ Mechanic กับ แบบ Organic การคิดแบบ Mechanic จะเป็นในลักษณะของการรับข้อมูล แล้วส่งต่อออกไปเป็นแบบเชิงเส้น ในระดับ What คือแค่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น ดูแล้วน่าจะเป็นการเรียนรู้แบบท่องจำ ตอนนี้เรามีอากู๋ ( Google ) มาเป็นตัวช่วยการคิดแบบนี้จะทำให้เราสะดวกขึ้น แต่การคิดที่สำคัญ คือ การคิดแบบ Organic เป็นการคิดแบบตั้งคำถาม เช่น What if, What only, How to ระบบการคิดนี้จะนำไปสู่การพยากรณ์และนวตกรรม ยกตัวอย่าง การขายดอกไม้ของ Miss lilly ที่นำแนวคิดแบบ Amazon.com มาใช้

            ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) คือ การมองระบบเป็น "เกม" คนที่อยู่ในระบบถือเป็น player (ผู้เล่นเกม) ระบบนี้เป็นการหาทางออกที่เหมาะสมให้ผู้ที่อยู่สถานการณ์ที่ซับซ้อน โดยยึดหลักความจริงว่า รูปแบบจะดำเนินการเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดเช่นไร ขึ้นอยู่กับรูปแบบการตัดสินใจของคนอีกหลายคน ทฤษฎีเกมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในชีวิตจริง และถูกทำมาใช้ในเรื่องของทำธุรกิจ และออกแบบกฎระเบียบขององค์กร ทฤษฎีเกมส์มีลักษณะผลลัพท์ แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ

    1.เกมศูนย์ (Zero Sum Game) : จุดจบของการเจรจาจะเป็นลักษณะของผู้ชนะกับผู้แพ้มีได้กับมีเสีย คล้ายกับการพนัน ที่ไม่ก่อให้เกิดการเพิ่มพูนของทุนจากผู้เล่นทั้งสองฝั่ง เช่น วงเงินกองกลาง 100 บาท ผู้ชนะจะได้ 100 บาท ผู้แพ้เสีย 100 บาท เมื่อนำมารวมกัน ก็มีค่าเป็นศูนย์ จึงเรียกลักษณะนี้ว่าเป็นแบบ “เกมศูนย์ (Zero Sum Game)”

    2.เกมลบ (Negative Sum Game) : ต่างคนต่างเสีย การตัดสินใจแบบนี้จึงมักหลีกเลี่ยง

    3.เกมบวก (Positive Sum Game) : จะเป็นลักษณะ Win-Win คือทุกฝ่ายได้ประโยชน์ แต่ลักษณะ Win-Win นี้ อาจจะมีผู้ได้ Win มาก หรือ Win น้อยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความความสามารถที่เหนือกว่า

    • ในชีวิตจริงมีสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากมาย บางอย่างค่อย ๆ เข้ามา บางอย่างเข้ามาอย่างรวดเร็ว การจะใช้เทคนิคการคิดวิเคราะห์ที่เรียนมา จะตัดสินใจได้ถูกและแม่นยำ คงต้องมีสติที่จะดึงเอาหลักการคิดออกมาใช้และต้องฝึกฝนเรื่อย ๆ บ่อย ๆ 

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2557

               วันนี้สนุกกับวิชารักษ์กาย รักษ์ใจ มากค่ะ ได้รู้จักและฝึกปฏิบัติท่าเต้นลีลาศ หลากหลายสเตปท่าเต้นลีลาศมีความสวยงาม ช่วยเสริมบุคลิกภาพ สง่า และคิดไม่ถึงเวลาเพียงสั้นๆ ในห้องแอร์ ลีลาศก็ทำให้เหงื่อท่วมได้เหมือนกัน ถือเป็นการออกกำลังกายที่น่าสนใจค่ะ

    วันที่ 2 สิงหาคม 2557

               AEC เป็นระบบตลาดร่วมอาเซี่ยน เป็นการรวมกลุ่มประเทศต่างๆในภูมิภาคอาเซี่ยนในการเปิดตลาดการค้าด้าน สินค้า เงินทุน บริการ และแรงงาน โดยลดกำแพงภาษี = 0 หรือ เปลี่ยนสัญชาติ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง มีอำนาจต่อรอง และสามารถแข่งขันกับประเทศใหญ่ๆได้

              แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ เศรษฐกิจ ประชากรในภูมิภาคแตกต่างกัน จึงอาจจะมีทั้งประเทศที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์

              ดังนั้นเราต้องรอบรู้ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงว่ามีประโยชน์และผลกระทบกับเราอย่างไรบ้าง โดยผู้บริหารประเทศหรือผู้นำองค์กรมีส่วนสำคัญมาก ต้องคิดเชิงกลยุทธ์และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ต้องมองอนาคต ACE ให้แตก มองที่ Outcome ไม่ใช่มองเพียง output หาสิ่งที่เหมือนภายใต้ความแตกต่าง แก้ปัญหา ตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถวางแผนปรับเปลี่ยนบริบท กลยุทธ์ขององค์กรให้รองรับผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และองค์กรยังอยู่ได้ ไม่สั่นคลอน นอกจากนี้วิธีคิดเชิงกลยุทธ์และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาและตัดสินใจเกี่ยวกับงานได้เช่นกัน

    31 กรกฎาคม 2557

    นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ

    เรื่อง Global HR Competencies (Group Assignment 2)

    บทเรียนที่ได้รับคือ โมเดล 2012 Human Resource Competency ในอนาคตควรให้ความสนใจกับ คุณสมบัติ 6 ประการ คือ HR innovator and integrator เป็นนักนวัตกรรมและบูรณาการTechnology proponent สนับสนุนเทคโนโลยี โลกสังคม ออนไลน์ บุคคลมีบทบาทมากขึ้นทางเทคโนโลยีสารสนเทศCapability builder นักสร้างขีดความสามารถ Change champion เป็นแชมป์ในการบริหารความเปลี่ยนแปลง Strategy positioner นักกำหนดกลยุทธ์ Credible activist น่าเชื่อถือท่านอมจิระเน้นที่Capability builderความท้าทายของฝ่าย HR คือการทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการนำ การประสานงาน การกระตุ้น การวางแนวทางให้สอดคล้อง การฝึกอบรม การพัฒนา การประเมิน และการมอบอำนาจดังนั้น HR ต้องไวต่อการเปลี่ยนแปลงลูกจ้างลูกค้าเครือข่ายบริบทอื่นๆ และเทคโนโลยี

    วิชาที่ 14กิจกรรมรักษ์ใจ รักกาย โดยอาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์ และ อาจารย์กิติภพสังฆกิจ

    เป็นกิจกรรมเข้าจังหวะลีลาส ในจังหวะ Rumba, Cha Cha Cha, Disco, Line Danceเป็นกิจกรรมที่ทำให้สุขภาพแข็งแรง ผ่อนคลาย และสามารถนำไปใช้ในการออกกำลังกาย การปรับท่าทางให้สง่างาม และใช้ในการเข้าสังคมที่มีงานเต้นรำ เป็นการสร้างสมดุลให้กับร่างกายและจิตใจ ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุข

    31 กรกฎาคม 2557

    พบอาจารย์ที่ปรึกษาติดตามความคืบหน้าของงานวิจัยฯ (ครั้งที่ 1)

    โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

    คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

    สรุปประเด็นสำคัญ อาจารย์ให้ทั้ง 5 กลับไปทบทวนให้สอดคล้องกับปัญหาของคณะแพทย์วิสัยทัศน์ของคณะแพทย์ในปี 2020อยากเห็นคณะแพทย์เป็นอย่างไรภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม นโยบายระดับคณะ ประเทศ เศรษฐกิจโลก การเมือง การเข้าสู่ AECการเข้าสู่สังคมเทคโนโลยี โดยนำความรู้ที่เรียนมาจากทีมวิทยากร และหากรณีศึกษามาอ้างอิงทำโปรเจคให้เกิด 3V และนำเสนออีกครั้ง 13 ส.ค. 2557

    1 สิงหาคม 2557

    วิชาที่ 15  Panel Discussion & Workshop

    หัวข้อ “คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ

    ในมุมมองของข้าพเจ้า”

    โดย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกานายบัญญัติ จันทน์เสนะ และผศ.ปิยะ กิจถาวร

    สรุปสาระสำคัญปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นปัญหาทั้ง 3 ระดับคือ 1. ระดับพื้นผิวที่มองเห็นได้ชัดเช่นการกระจายทรัพยากรไม่เท่าเทียม จน เจ็บ การไม่รู้ 2. ปัญหาเชิงโครงสร้างทางการเมือง และทางสังคม 3. ปัญหาเชิงวัฒนธรรม ทีมวิทยากรให้ความเห็นว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือปัญหาเชิงวัฒนธรรมซึ่งแก้ยาก ต้องใช้เวลาด้วยการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ต้องอาศรัยแรงศรัทธาของประชาชน ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ นับว่าเป็นหน่วยงานที่ได้รับความศรัทธาจากประชาชน อยากให้เป็นส่วนหนึ่งในการเป็นผู้ถักทอสายใยผู้คนให้พ้นจากวังวนของความรุนแรง ลดเงื่อนไขการใช้ความรุนแรงทุกรููปแบบ ใช้แนวทางสันติวิธี

    1 สิงหาคม 2557

    วิชาที่ 16 Learning Forum & Workshop

    หัวข้อ "ความสมดุลของชีวิตง"โดย พล.อ.ต. นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ

    "การตายโดยธรรมชาติ งดงามและเท่าเทียมกัน" เป็นคำคมที่ได้จากอาจารย์วันนี้ สอนให้คนเราปลงในทุกขณะจิต ในขณะเดียวกันในช่วงที่มีชีวิตอยู่ให้รักษาความสมดุลของชีวิตโดย 1. ยอมรับความจริง ที่เราเกิดมารับใช้ธรรมชาติ เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ดี หรือรับใช้ผู้สร้าง 2. กระทำความดี 3. มีชีวิตอยู่อย่างสง่างาม ทั้ง สามอย่างจะสามารถสร้างสมดุลให้กับชีวิตได้ "รักใครอย่าทำให้เขาเสียใจ"

    2 สิงหาคม 2557

    วิชาที่ 17 หัวข้อ “เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย..

    ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ฯ มอ.”โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

              สรุป ปี 1993 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มแล้ว ปี 2546 ผู้นำอาเซียน ลงนามในปฏิญญาบาหลี (Bali Concord II) แสดงเจตนารมณ์การนำอาเซียนไปสู่ “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) ในปี2020 (2563)

              การเปิดเสรีการค้าอาเซียน ประเทศอาเซียน 6 ประเทศ ปี 2553 ภาษี 0%ส่วนเวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา ปี 2558 ภาษี 0% ยืนยันการลดภาษีนำเข้าตาม CEPT (AFTA)ยกเว้น สินค้าใน Sensitive List ภาษีไม่ต้องเป็น 0% แต่ต้อง < 5%ไทยมี 4 รายการ (กาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง)สินค้าใน Highly Sensitive List ไม่ต้องลดภาษีมีสินค้าข้าว ของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ น้ำตาลของอินโดนีเซีย

                กล่าวคือปี 1967-1992 ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ยังแยกกันอยู่ปี 1993 รวมตัวกันทั้ง 10 ประเทศ เมื่อมี AFTA รอบอุรุกวัย เปิดเสรีการค้าปลีก  การเปิดเสรีบริการ ค้าปลีก และการเงิน สามารถแก้ไขอุปสรรคทางกฎหมาย อนุญาตให้ต่างชาติมาลงทุนได้

               กรอบความตกลงด้านการค้าบริการ AFAS เปิดในปี 2538

                เขตการลงทุนอาเซียน (AIA) เริ่มปี 2538

               เปิดเสรีบริการปี 2015 เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับนักลงทุนสัญชาติอาเซียนเทคโนโลยีสารสนเทศ สุขภาพ ท่องเที่ยว การบิน ลอจิสติกส์และสาขาอื่น 70%

    1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม มุ่งดำเนินการให้เกิดเคลื่อนย้ายสินค้าเสรีเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี  เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรีเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรีเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้นในอนาคตจะมีการ Take over โรงพยาบาล และจะเปิดมหาวิทยาลัย แรงงานที่เปิดเสรี มีแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ ต่อไปในอนาคตอาจจะมีแพทย์หัวใจ อีก 20 ปีข้างหน้าแรงงานไทยจะเป็นรูปปีระมิดคว่ำ

    2. สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขันความร่วมมือในด้านต่างๆ e-ASEAN นโยบายการแข่งขัน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนโยบายภาษี สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา บางประเทศ ตั้งมาตรฐานสินค้าการคุ้มครองผู้บริโภค  อีกไม่เกิน5 ปี ประเทศในอาเซียน อาจจะไม่ต้องใช้วีซ่าในการเดินทางระหว่างประเทศดังนั้น ทุกประเทศต้องร่วมมือกันด้านการขนส่ง และเชื่อมโยง 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ GMS

    3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่สนับสนุนการพัฒนา SMEs

    4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจสร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย

                 จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค+3 หรือ อาเซ็ป ASEAN – China, ASEAN – Korea, ASEAN- Japan

                  +6 คือ ASEAN- India, ASEAN - Australia/New Zealand, ASEAN- EU, ASEAN- US (TIFA) การแข่งขันจะมีมากขึ้น ทั้งมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล คู่แข่งสตาร์บัค อาจจะเป็นกาแฟโบราณ เพราะฉะนั้นต้องคำนึงว่าเรามีการเตรียมพร้อมไปถึงไหนแล้ว ทั้งภาษาอังกฤษ บาฮาสา

                   ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวทั้งในระดับบุคคล หน่วยงาน และระดับองค์กรเพื่อความอยู่รอด และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันภายใต้สังคมโลกไร้พรมแดน มีการเคลื่อนย้ายของทุน แรงงาน เทคโนโลยีและความรู้

    2 สิงหาคม 2557

    วิชาที่ 18 “การคิดเชิงกลยุทธ์ และ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหา

    และการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ”โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

             "กับดักที่น่ากลัวที่สุดคือมองจากมุมตัวเอง เป็นกับดักทางความคิด"กระบวนการคิดของคนเรามี 2 แบบคือMechanic เน้นตาและหู ไม่ใช่สมอง คำถามจะวัดอย่างเดียว What เหมือนต้นไม้ไม่มีชีวิต และOrganic ใช้สมอง คำถาม Why, How to, Similarity in differentซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

               ความหมายของระบบในทัศนะของ รศ.ดร.สมชายฯคือ มีองค์ประกอบมีฟังก์ชันมีปฏิสัมพันธ์มีการเชื่อมโยงขององค์ประกอบและเป้าหมายของระบบ คือ การคงอยู่

               ทฤษฎีเกมส์ที่สำคัญ มี 3 ทฤษฎี

    1. Zero sum Game มีผู้ชนะ-แพ้ คนฉลาดเป็นคนมีเหตุ มีผล ต้องหลีกเลี่ยงเกมส์นี้ยกเว้นว่า รู้ว่าชนะแน่ หรือหลังพิงฝา

    2. Negative sum Game คนฉลาดจะหลีกเลี่ยงเกมส์นี้ โดยไม่มีเงื่อนไข แต่ไม่ 100%

    3. Positive sum Game หรือ Win-win คนฉลาดจะเล่มเกมส์นี้ คนฉลาดจะได้อำนาจต่อรองสูง คนฉลาดกว่าจะชนะมากกว่า

               จะเห็นได้ว่าทฤษฎีเกมส์สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้ ที่สำคัญที่สุดคือเป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารในการบริหารงาน มีการคิด วิเคราะห์เชิงระบบ และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ผ่านกรอบแนวคิดแบบ Organic โดยไม่ติดกับดักความคิดของตนเอง จะส่งผลให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพ

    วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2557

    €เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย.. ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ มอ. : รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    อาจารย์เชื่อมโยงอาเซียน กับ AEC ให้พวกเราได้เกิดความเข้าใจมากขึ้น รู้เป้าหมายของ AEC จุดสำคัญ คือ เป็นตลาดร่วม นั่นคือ ลดอุปสรรค 2 เรื่อง 1.สินค้า : ลดกำแพงภาษีสินค้า 2. บริการ : ขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี NTBs แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ให้ต่างชาติมาลงทุนได้ สอนให้พวกเราได้รู้ข้อดี และข้อเสีย รู้จักวิธีการใช้ประโยชน์จาก AEC เรื่องนี้ ค่อนข้างเป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคนมาก ๆ แต่รัฐบาล องค์กร ร่วมถึงคนไทยตื่นตัวช้ากว่าที่ควร

    €การคิดเชิงกลยุทธ์ และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ : รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    อาจารย์ฝึกให้เราเปลี่ยน mindset จาก Mechanic (รู้โดยตั้งคำถาม WHAT ) เป็นคิดแบบ Organic (ตั้งคำถาม WHY / HOW TO) อย่าเชื่อคนอื่นง่าย ๆ ฝึกกระบวนการคิด ให้เห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง (similarity in difference) หลักในการพิจารณา หรือหลักคิด ให้พิจารณากระบวนการ อย่าดูตอนจบ

    กระบวนการคิดที่อาจารย์พยายามสอนและได้ยกตัวอย่าง รู้สึกว่าองค์กรเราทำน้อย คือ ให้ไปดูกิจการอะไรก็ได้ที่ไม่เหมือนกับเราเลย แล้วเอาวิธีการมาปรับใช้ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จได้จริง โดยปกติเรามักจะคิดว่า เวลาเราจะไปดูงาน เรามักจะไปดูงานหรือกิจการที่คล้ายคลึงหรือเหมือนกับเรา เพื่อนำมาปรับใช้ แต่จริงๆ แล้วเราสามารถดูอะไรก็ได้ที่ไม่เหมือนเรา และนำมาปรับใช้ได้เช่นกัน

    สอนให้คิดโดยนำทฤษฎีเกมส์มาเชื่อมโยงกับหลักคิด ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกเรื่อง ทุกสถานการณ์ (ทั้งเรื่องงาน ส่วนตัว สังคม)  ทฤษฎีเกมส์ มี 3 ทางเลือก 1) Zero Sum Game : มีผู้ชนะ และผู้แพ้ คนฉลาดมักจะหลีกเลี่ยง เกมส์ 0 ยกเว้นมีอำนาจต่อรอง (แน่ใจว่าชนะ) หรือหลังพิงฝา 2) Negative Sum Game :  แพ้ทั้งคู่ (คนฉลาดจะหลีกเลี่ยง) 3) Positive Sum Game : win win คนฉลาดจะต้องได้เท่ากับอำนาจต่อรอง

    ปราถนา แดนพิชิตโชค

    วิชาที่ 14 กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย (1)

    กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้บริหารหรือผู้นำสำหรับการเข้าสังคมและเป็นการบริหารร่างกายให้ได้สัดส่วนที่ดี การออกกำลังกายด้วยการเตันลีลาศเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริหารที่ไม่ชอบการออกกำลังกายกลางแจ้ง ทุกคนต้องการความสุข ต้องหันมาจัดสรรเวลา รักษาสุขภาพ เพื่อภาพแห่งความสุขที่ยั่งยืน Healthy Makes Happy

    วิชาที่ 15 คณะแพทยศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า

    บทบาทและการงานด้านความมั่งคงของประเทศต้องนำ Mindset or Attitude เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งสะท้อนให้ว่าอาชีพที่ประชาชนชายแดนใต้ให้ความไว้วางใจ คือ แพทย์หรือหมอ ครู และพระ ตามลำดับ เพราะฉะนั้นคณะแพทยศาสตร์ มอ. ได้ให้บริการทางการแพทย์ในการรักษาพยาบาลแล้ว ต้องเป็นผู้นำในการสร้างทัศนคติ ความเชื่อใจ โดยการเข้าใจ เข้าถึงบทบาทของประชาชน วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของประเทศเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

    วิชาที่ 16 ความสมดุลของชีวิต

    ปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นทางสายกลางในความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ในด้านความรู้และคุณธรรม ซึ่งนำไปสู่เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สมดุล พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง

    ความสมดุลของชีวิต ต้องอาศัยความจริง ความดี และความงาม ต้องดำเนินชีวิตด้วย สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรม และทางสายกลาง

    วิชาที่ 17 เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบการปรับตัวและกลยุทธ์ของคณะแพทย์ฯ มอ.

    คำจำกัดความ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ตลาดร่วมอาเซียน) เป็นการเปิดเสรีสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงาน ผลกระทบของ AEC ต้องปรับนโยบายการแข่งขัน ภาษี และเหลี่ยมเศรษฐกิจ ประโยชน์จาก AEC เพื่อเสาะหาลู่ทางและโอกาสในการหาวัตถุดิบ ฐานการผลิต การบริการใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพและมีความได้เปรียบ มีทุนมนุษย์และเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญการตลาด จุดแข็งในการบริการ และฐานการตลาดทั่วโลก ส่วนของคณะแพทย์ มอ. ธุรกิจการให้บริการ การผลิตและการวิจัย ควบคู่กันอยู่กับโอกาสการแข่งขันสูงมากขึ้นเนื่องจากผลกระทบในแง่คู่แข่งขัน ระบบสถาบันการเงิน ประเภทลูกค้ารวมทั้งการบริหารจัดการ

    วิชาที่ 18 การคิดเชิงกลยุทธ์และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

    ระบบความคิดแบบ Organic ต้องมีความเขื่อ ทัศนคิต Attitude และพฤติกรรมในความคิดแบบ Organic Thinking ในการปรับวิธีคิด การปลดปล่อยกับดักแห่งความคิด ออกจากกรอบความคิด เพื่อสร้างและพัฒนาระบบคิดในการตัดสินใจ ต้องมีข้อมูลเพียงพอและต้องดูกระบวนการ Process ต้องคำนึกถึงลูกค้า Outcome ผ่านกระบวนการ Input ผ่านกระบวนการ เป็น Output เพื่อ Feed Back กลับหาลูกค้า Outcome การสร้าง From Attitude to Success

    ทฤษฎีการตัดสินใจ โดยใช้ Game Thingking (Game Thery)

    • -Zero Sum Game
    • -Positive Sum Game
    • -Negative Sum Game
    • -Decision Tree
    • -Rival Strategy

    ครั้งที่ 9 2 ส.ค. 2557 วิภารัตน์

    สรุปสิ่งที่ได้เกิดการเรียนรู้และนำมาปรับใช้กับการทำงาน

    หัวข้อ เศรษฐกิจโลกประชาคมอาเซียน

    AEC เป็นการวมตัวของอาเซียน ในการเปิดเสรีสินค้า โดยการเปิดสินค้าเสรี ตั้งแต่ ปี 1967-1992 ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ยังแยกกันอยู่ ปี 1993 รวมตัวกันทั้ง 10 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม เพื่อมุ่งดำเนินการให้เกิดเคลื่อนย้ายสินค้า เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีแรงงานที่เปิดเสรี มีแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เมื่อเชื่อมโยงเกี่ยวข้องด้านสุขภาพโรงพยาบาลใหญ่ๆอาจมีผลกระทบ กรณีบริษัทต่างชาติtake overรพ เอกชนใหญ่อาจเปิดคณะแพทยศาสตร์ในการผลิตแพทย์เอง นอกจากนั้นอนาคตอาจมีการเปิดเสรีด้านการเงิน การศึกษาและการประกันภัยเพิ่มขึ้นและต่อไปอาจมีการขยายแพทย์เฉพาะทางมากขึ้น สำหรับคณะแพทย์มอก็ควรปรับตัวในการให้บริการชาวต่างชาติ เรียนรู้ด้านภาษาและพัฒนาความสามารถทางวิชาชีพให้เก่งอยู่เสมอเพื่อที่จะป้องกันการเข้ามาแข่งขันและแย่งงานบริการได้

    หัวข้อ การคิดเชิงกลยุทธ์ และ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหา

    และการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

    Mindset จุดเริ่มต้นในการพัฒนาความคิด แบ่งเป็น Mechanic คือ เน้นตาและหู ไม่ใช่สมอง คำถามจะวัดอย่างเดียว What เหมือนต้นไม้ไม่มีชีวิต และOrganicคือใช้สมอง คำถาม Why, How to, Similarity in different การคิดเชิงกลยุทธ์ซึ่งสามารถทำนายอนาคตได้ Strategic Thinking ได้แก่ Visionary thinking

    -แต่ระดับล่างจะเป็น Mechanicเปรียบกับ บัวใต้น้ำ ทางรอดต้องปรับตัวเองออกมาจากกล่อง และมองนอกกรอบ

    -แนวทางในการพิจารณาปัญหา ก่อนจะตัดสินอะไรต้องหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล แล้วหาทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เราก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงทุกเรื่อง

    -ตัวที่เป็นกับดักทางความคิด เกิดจากการที่เรามองจากมุมตนเองเป็นหลัก กรณีโรงพยาบาลเป็นการให้บริการผู้ป่วยเราจึงควรมองจากมุมของผู้รับบริการ เสียงcomment จากลูกค้าจะเป็นตัวสะท้อนในเรานำมาปรับปรุงงานบริการให้ดียิ่งขึ้น 

    ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผานมาแล้ว  3 ครั้ง ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ และต้องเก็บเกี่ยวผลประโยชน์สูงสุด เน้นการทำงานข้ามสายงาน คิดโครงการใหม่เน้น V2 และ V3 

    กระเด้งจากการแพทย์และเสริมต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก สอดคล้องกับวิถีการทำงาน เรียนให้สนุก

    ผมและทีมงานจะประสานความเป็นเลิศต่อไป

    โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ 

    http://www.gotoknow.org/posts/573965

    ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์ ประจำวันที่ 6-20 สิงหาคม 2557

    วันนี้ฟังอ.สมชายแล้วรู้สึกว่า AEC มาประเทศเรามาสักระยะแล้ว แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้อะไรมาก ทำให้ตัวเองฉุกคิดขึ้นมาว่ามีหนังสืออยู่เล่มหนี่งอยู่ที่บ้าน เป็นหนังสือที่ดร.สุรินทร์เขียนไว้คือ ”aseann อาเซียนรู้ไว้ได้เปรียบแน่ ” จึงกลับไปอ่านเพื่อเสริมกับที่อ.สมชายบรรยายไว้ O K มากค่ะได้ความรู้และได้ข้อคิดดีมากๆค่ะ

    โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวรายการ

    http://www.youtube.com/watch?v=yAANQlVcWlI&feature=youtu.be

    รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ” ตอน : ห้องเรียนผู้นำของคณะแพทยศาสตร์ที่ มอ. (ตอน 2) 

    โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

    http://m.naewna.com/view/columntoday/columntoday/13842#1

    ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริง.แนวหน้า. 9 สค.57

    วันที่ 2 สิงหาคม 57

    เรียนรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎบัตรอาเซียน ซึ่งมีอีก 2 ด้านคือประชาคมความมั่นคงอาเซียนและประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียนเข้าใจว่าสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในอาเซียนที่มีต้นทุนมากกว่า 40 % จะไม่มีการเก็บภาษีนำเข้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การแข่งขันสูง การย้ายฐานการผลิต เกิดการแปลงสัญชาติตลาดร่วม/กระบวนการรวมกลุ่มเปิดเสรีทางการค้า แบ่งเป็นสินค้า (ที่จับต้องได้) ภาษีนำเข้าจะเหลือ 0 % บริการ/เงินทุน (สิ่งที่จับต้องไม่ได้) เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับนักลงทุนสัญชาติอาเซียน ถึง 70 % ในปี 2015 และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ 8 ประเภท ได้แก่แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ บัญชี ท่องเที่ยวและบริการ

    ความคิดในเชิงระบบและความคิดในเชิงกลยุทธ์ มองเห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง แยก Mindset เป็น 2 ระบบ 1. Mechanic – What อะไร 2. Organic – Why, How to กระบวนการได้มาซึ่งความคิด (Organic thinker) การใช้ทฤษฎี Decision tree การหาข้อมูลให้ครบก่อนตัดสินใจ แล้วกับดักที่น่ากลัวที่สุดคือการมองจากมุมตัวเอง ต้องปรับวิธีคิดจาก Mechanic เป็น Organic ซึ่งเป็นระบบคิดในเชิงกลยุทธ์ ส่วน Process ของ Systems Thinking จะเป็นการวิเคราะห์ลูกค้าก่อนจาก Outcome – Input – Process – Output ระบบก็จะมี Component, Function, การเชื่อมโยง และความคงอยู่

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2557

    วิเคราะห์ประเด็นจากหนังสือ Global HR Competencies: Mastering Competitive Value from the Outside-In ของ Dave Ulrich การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญทำอย่างไรให้คนเก่งอยู่กับองค์กร การพัฒนาการคัดเลือกบุคลากร พัฒนาวัฒนธรรมองค์กร และกระบวนการ เพื่อความอยู่รอดขององค์กร

    กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย

    เป็นกิจกรรมการเต้นรำในจังหวะต่างๆ จังหวะการก้าวย่าง (ที่ลงตัวบ้างไม่ลงตัวบ้าง) ไปตามจังหวะของเพลง ทำให้รู้สึกสนุกสนานและได้ออกกำลังกายในอีกรูปแบบหนึ่งแม้จะเป็นกิจกรรมที่ไม่คุ้นชินมาก่อนแต่ก็แอบสนุกสนานตามอาจารย์ผู้สอนทั้งสองท่านไปด้วยไม่ได้

    ติดตามความคืบหน้างานวิจัย

    เนื่องจากโครงการยังไม่ไปในทิศทางที่อาจารย์ที่ปรึกษาต้องการ เพราะต้องการให้เน้นถึงคณะแพทยศาสตร์ มอ. ในปี 2020 เราควรจะมี project อะไรที่สนับสนุนให้คณะไปถึงวิสัยทัศน์ในปี 2020 ได้ โดยการนำนวัตกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องและเป็นโครงการเพื่อชุมชน เศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกกลุ่มต้องกลับมาขบคิดกันใหม่อีกครั้ง

    วันที่ 1 สิงหาคม 2557

    คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ ในมุมมองของข้าพเจ้า

    ปัญหาที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ทุกวันนี้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงและยังไม่สามารถแก้ไขได้คณะแพทยศาสตร์ของเรามีบทบาทสำคัญต่อปัญหาดังกล่าวการเยียวยาเชิงคุณภาพ การสร้างเครือข่าย การสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ และควรมีการส่งต่อความรู้ไปยัง 3 จังหวัดชายแดนบ้าง เช่นเรื่องการให้ความรู้ทางการแพทย์ เป็นต้น

    ความสมดุลของชีวิต

    ได้เรียนรู้หลักการดำรงชีวิตให้มีความสุขโดยยึดหลักการทางศาสนามนุษย์สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้โดยการลงทุนชีวิตอย่างรู้เท่าทัน และเตรียมทุนสำรองอย่างรู้ทันด้วย

    2 สิงหาคม 2557

    เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียนAEC 2015 และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทยศาสตร์ มอ.

    กฎบัตรอาเซียนจะทำให้มีการเปิดการค้าเสรี ลดกำแพงภาษี ในกลุ่มอาเซียนซึ่งจะมีประโยชน์กับประเทศใหญ่และประเทศเล็ก แต่จะส่งผลกระทบให้สินค้าในประเทศบางตัวไม่สามารถคงอยู่ได้ การเปิดเสรีบริการเสรีการลงทุนและเสรีแรงงานทำให้ต้องมีการปรับนโยบายการแข่งขัน ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ต้องปรับกลยุทธ์ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

    การคิดเชิงกลยุทธ์และการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

    ได้แนวคิดว่า ควรเปลี่ยนวิธีคิดจาก mechanic ให้เป็น organic ซึ่งจะเป็นการดูผลของกระบวนการในระหว่างทาง สำหรับทฤษฎีเกมในการตัดสินใจควรเลือกใช้ให้ถูกโอกาส เนื่องจากเราไม่สามารถที่จะ play game ให้ win – win ได้ในทุกสถานการณ์ต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าสถานการณ์นั้นๆ เป็น Zero sum game หรือ Negative sum game เพื่อสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจได้ถูกต้อง

    ช่วงการเรียนที่ 3

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2557

    อาจารย์จิระ ได้ทบทวนทฤษฎี 3 V เพื่อกระเด้งไปสู่การผลึกกำลังรวมกันเพื่อเพิ่ม value ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มอ. ของพวกเรา

    ก่อนเข้าบทเรียนวิชาที่ 14 มีการนำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ เรื่อง Global HR Competencies จากการนำเสนอทั้ง 5 กลุ่ม โดยสรุป “ทุนมนุษย์” เป็นสิ่งสำคัญมากของทุกองค์กร

    วิชาที่ 14 หัวข้อ “กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย”

    โดยอาจารย์ณภัสวรรณ จิตลานนท์ และอาจารย์กิตติภพ สังฆกิจ

    วิชานี้สนุกมากค่ะ ได้เรียนรู้เรื่องการเต้นรำจังหวะต่างๆ และได้ปฏิบัติจริงไม่น่าเชื่อว่าการเต้นรำก็ทำให้เหงื่อไหลได้ ถือเป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่ง และวันนี้เห็นทุกคนมีหน้าตามีความสุข ทุกคนเต้นรำสวยงามมาก สำหรับตัวดิฉันมีคู่เต้นที่น่ารัก คือ “น้องจู” อาจจะเหยียบเท้าน้องจูอยู่หลายครั้ง ขอโทษนะค่ะ

    และในช่วงเวลา 16.30-18.30 น. พบอาจารย์ที่ปรึกษาติดตามความคืบหน้าของงานวิจัยฯ (ครั้งที่ 1) อาจารย์กิตติ ได้ให้ข้อเสนอแนะ Mini Research ของทั้ง 5 กลุ่ม โดยให้มองเป้าหมายขององค์กร และมองภารกิจของคณะแพทยศาสตร์ เพื่อให้ขับเคลื่อนไปทั้งทีม โดยให้ตั้งโจทย์ในการมองว่า “ปี 2020 คณะแพทย์จะเป็นอย่างไร” เพื่อเพิ่มมูลค่าแบบ 3V

    วันที่ 1 สิงหาคม 2557

    วิชาที่ 15 หัวข้อ “คณะแพทยศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า”

    พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา

    อาจารย์พูดถึงประเด็น : ความมั่นคงของชาติ ความมั่นคงต้องปราศจากความคุกคาม ความมั่นคงต้องอยู่รอดภายใต้เงื่อนไขของความพึงพอใจ

    ซึ่งความมั่นคงมี ความหมายกว้าง :- ความอยู่รอด, ความเจริญ, การพัฒนา และความทันสมัย

    ความหมายแคบ :- การรักษา, เสถียรภาพ, การรักษาระเบียบ และความสมดุล

    ความมั่นคงมี 3 วง คือ ความมั่นคงส่วนบุคคล, ความมั่นคงแห่งชาติ, ความมั่นคงระดับประชาคมโลก

    คุณบัญญัติ จันทน์เสนะ

    อาจารย์ได้ให้ข้อคิดด้วยคำว่า “ทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส จริงใจ” (ถ้าไม่รู้จริงอย่าทำโดยเด็ดขาด) และกล่าวถึงปัญหา 3 ระดับ คือ

               -ผิวหน้า (สุขภาพ การศึกษา)

               -ชั้นโครงสร้าง เน้นเกี่ยวกับเรื่องนโยบาย เป็นการกำหนดนโยบายไปปฏิบัติกับพื้นที่

               -ชั้นวัฒนธรรม เน้นโครงสร้างสังคมที่ผสมผสานทางวัฒนธรรม เนื่องจากวิถีชีวิตเป็นปัญหาที่แก้ได้ยากที่สุด

    อาจารย์ปิยะ กิจถาวร

    อาจารย์ได้ให้ข้อคิดว่า “ทำดีเข้าไว้ อย่าประมาท” และ “ความจริงไม่สำคัญ เท่ากับความเชื่อ” ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่จะเชื่อและฟังผู้นำทางศาสนา

    วิชาที่ 16 หัวข้อ “ความสมดุลของชีวิต” โดย พล.อ.ต.นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ

    ไดฟังอาจารย์บรรยาย แล้วคิดตาม ทำให้สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อใช้กับชีวิตของตนเองได้อย่างมาก ซึ่งการยึดติดกับตัวตนทำให้เกิดความทุกข์ และมนุษย์สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ โดยการลงทุนชีวิตอย่างรู้เท่า และเตรียมทุนสำรองอย่างรู้ทันอย่างมีสติ ปัญญา ศรัทธา กุศลธรรม สายกลาง


    วันที่ 2 สิงหาคม 2557

    วิชาที่ 17 หัวข้อ “เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบการปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ฯ มอ” โดย รศ.ดร.สมชาย ภคกาสน์วิวัฒน์

    อาจารย์ได้เล่าว่าในปี ค.ศ. 1960-1992 ได้มีระบบร่วมมือทางเศรษฐกิจ และในปี ค.ศ. 1993 เป็นยุกต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล เรียกว่ามีการบูรณาการทางเศรษฐกิจ และได้เข้าใจเป้าหมายของAEC - เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม

    - สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน

    - การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

    - การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก


    วิชาที่ 18 หัวข้อ “การคิดเชิงกลยุทธ์และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ” โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    อาจารย์ได้กล่าวว่า “ก่อนจะตัดสินอะไร ต้องหาข้อมูลให้ครบ” เพราะข้อมูลอาจจะเป็นดาบสองคม ข้อมูลอาจจะทำให้เราโง่ลง ถ้าข้อมูลนั้นเป็นเท็จ ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินใจ และได้เรียนรู้ทฤษฎี 3 เกมส์ เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจ คือ

    - Zero Sum Game :- เป็นเกมส์ที่มีผู้แพ้ และผู้ชนะ คนฉลาดจะหลีกเลี่ยงเกมส์นี้

    - Positive Sum Game :- เป็นเกมส์ win win คนฉลาดต้องมีอำนาจต่อรอง

    - Negative Sum Game :- ทฤษฎีเกมส์ลบ เป็นเกมส์ที่แพ้ทั้งคู่

                      ---ขอขอบพระคุณวิทยากรทุกท่านที่มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม---

    สุรกิจ ส่งวรกุลพันธุ์

    การบรรยายวันที่เจ็ด (31 กรกฎาคม 2557)

    การสรุปเนื้อหาหนังสือ Global HR Competence โดยผู้อบรม 5 กลุ่ม 

    • คัดเลือกและรักษาคนเก่งในองค์กร 
    • การพัฒนาองค์กรต้องมีคนที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 
    • การหาจุดอ่อนเพื่อพัฒนาจุดแข็ง 
    • ความสุขเป็นปัจจัยให้เกิดความสำเร็จ

    กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์ และ อาจารย์กิติภพ สังฆกิจ : เป็นกิจกรรมประโยชน์มากก อาจารย์สามารถสอนคนทีชอบดนตรี แต่ไม่ชอบเต้นรำและเต้นไม่เป็น ให้เริ่มชอบและสามารถเต้นรำพื้นฐานได้ อาจารย์สอนการเต้นรำ จังหวะ Rumba, Cha Cha Cha, Disco และ Line dance เป็นการออกกำลังกายที่ได้บริหารทุกส่วนของร่างกาย สนุกสนาน

    พบอาจารย์ที่ปรึกษาติดตามความคืบหน้าของงานวิจัยฯ (ครั้งที่ 1)โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย :ให้มองว่าคณะแพทยศาสตร์ ปี 2020 จะเป็นอย่างไร

    การบรรยายวันที่แปด (1 สิงหาคม 2557)

    หัวข้อ “คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า” โดย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และอาจารย์ วปอ. นายบัญญัติ จันทน์เสนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต. และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ : จริงใจ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

    หัวข้อ ความสมดุลของชีวิต โดย พล.อ.ต. นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ : ชีวิตเราเกิดมาเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ให้ดีขึ้น การใช้ชีวิตด้วย สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรม และ ทางสายกลาง

    การบรรยายวันที่เก้า (2 สิงหาคม 2557)

    หัวข้อ "เศรษฐกิจโลกประชาคมอาเชียน AEC2015 และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ" : เริ่มจากการรวมตัวกันเป็น ASEAN ในปี 2510(1967) พัฒนาเป็น เขตการค้าเสรีอาเชียน(AFTA)ในปี 2536, ASEAN+3, ASEAN+6

    หัวข้อ "การคิดเชิงกลยุทธ์และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ" โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์: ทฤษฎีเกมส์ที่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน มี 3 ทฤษฎี

    1. Zero sum Game มีผู้ชนะ-แพ้ คนฉลามักหลีกเลี่ยงเกมส์นี้ยกเว้นว่า รู้ว่าชนะแน่ หรือหลังพิงฝา
    2. Negative sum Game คนฉลาดจะหลีกเลี่ยงเกมส์นี้ โดยไม่มีเงื่อนไข แต่ไม่ 100%
    3. Positive sum Game หรือ Win-win คนฉลาดจะเล่มเกมส์นี้ คนฉลาดจะได้อำนาจต่อรองสูง คนฉลาดกว่าจะชนะมากกว่า
    ฐานะพงษ์ แก้วกนิษฐารักษ์

    31 กรกฎาคม 2557
    กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย
    อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์ กับ อ. กิติภพ สังฆกิจ
    ได้เรียนรู้ทักษะในการใช้ท่าทาง การเดิน การเต้น เป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง และยังทำให้รักษาสมดุลย์ของร่างกายได้ ได้สมาธิ บุคลิกภาพดี ได้เข้าสังคม(กรณีเต้นได้ดี ได้จังหวะ) มองดูแล้วเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป

    1 สิงหาคม 2557

    คณะแพทยศาสตร์ มอ.กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า
    โดย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และอาจารย์วปอ.

    นายบัญญัติ จันทน์เสนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต.

    ขอขอบคุณวิทยากรทั้งสามท่าน ที่มาให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศทุกมิติ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทำให้เราได้รู้ว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และรู้ถึงปัญหาและสาเหตุที่เกิด และกำลังพยายามในการแก้ปัญหากันตลอดเวลา แต่อุปสรรคก็มีมากมายทั้งปัญหาด้านการเมืองเองที่มีส่วนสำคัญทำให้มีผลต่อการแก้ปัญหาโดยตรง ไม่ใช้ปัญหาจากพื้นที่ เพราะทุกท่านมีมาบรรยายรู้ว่ามันมีปัญหาเชิงลึก และซับซ้อน หลายชั้น อย่างแรกปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ความไม่เป็นธรรม ปัญหาทางโครงสร้างเรื่องนโยบายรัฐ การใช้อำนาจ การปกครอง และปัญหาด้านวัฒนธรรม ซึ่งมีความละเอียดอ่อน ยากที่เข้าใจ และเข้าถึง ในวิถีชีวิต ซึ่งต้องทำให้เกิดความไว้ใจ เชื่อใจ เห็นใจซึ่งกันและกัน แล้วทุกสิ่งทุกอย่างอาจจะกลับมาดีเหมือนเดิม หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะเราคือคนไทยด้วยกัน
    ช่วงบ่าย
    ความสมดุลกับชีวิต
    พล.อ.ต. นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ
    ได้ฟังอาจารย์บรรยายเป็นครั้งแรก รู้สึกว่าเป็นการถ่ายทอดหลักแนวคิด คำสอน และปรัชญา(วิถีพุทธศาสนา) ได้อย่างแยบยล ลึกซึ้ง เข้าใจ ประกอบการบรรยายที่มีการสอดแทรก และการกระตุ้นสภาวะจิตใจ ให้ผู้ฟังได้ดี เข้าถึงบน สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรมและทางสายกลาง พอจะมองเห็นภาพร่างๆ ตามอาจารย์ตอนบรรยายไปได้ อาจารย์ยังบอกเรื่องการสร้างสมดุลชีวิต เราเกิดมาเพื่อดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ให้ดีขึ้น สิ่งที่เราจะต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสมดุลของขีวิต
    2 สิงหาคม 2557
    หัวข้อ“เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย..

    ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ฯ มอ.

    รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์อาจารย์ได้สอนและมีวิธีการสอนให้เราคิด อย่าเชื่อในสิ่งที่บอก สอนให้คิดวิเคราะห์ในเหตุและผลคิดหลายรูปแบบคิดเชิงกลยุทธ์ และได้เรียนรู้เรื่องGame Theory คือ สร้างสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง (พอได้ฟังอาจารย์บรรยาย พอเข้าใจในกฎ 3 ข้อมากขึ้น)เกมส์มี 3 เกมส์

    • Zero sum Game คือต้องรู้ว่าต้องชนะแน่ๆ (คนฉลาด ต้องหลีกเลี่ยงเกมส์นี้ยกเว้นว่า รู้ว่าชนะแน่ )
    • Negative sum Game คนต่างต่างเสีย หรือมีแต่เสียทั้งคู่ การตัดสินใจแบบนี้จึงมักหลีกเลี่ยง
    • Positive sum Game: เป็นลักษณะ Win-Win นี้ อาจจะมีผู้ได้ Win มาก หรือ Win น้อยก็ได้ ขึ้นอยู่ทักษะ และการเจรจาต่อรอง ได้มากว่า(คนฉลาดจะได้อำนาจต่อรองสูง)

    สัปดาห์ที่ 3 สัปดาห์นี้เริ่มต้นด้วยการเต้นรำ เหมือนกับต้องการจะช่วยให้ผ่อนคลาย แต่พอเห็นชื่อเรื่องเล่นเอาหลายคนไม่อยากเรียนเพราะรู้สึกว่าไม่ใช่ตัวตนของเรา (รวมทั้งตัวเองด้วย) แต่เมื่อได้เรียนจริงๆกลับสนุกมาก เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วหัวข้อต่อมาเป็นเรื่องการวิจัย ที่ทำให้หลายคนเครียดมาก แต่ก็ได้เรียนรู้การทำโครงการจากแนวคิด 3 V's วันที่ 1 ส.ค.57 หัวข้อคณะแพทย์ศาสตร์ มอ.กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ ที่สำคัญที่สุดใน section นี้คือการได้รับรู้ข้อมูลเชิงลึกของภาคใต้ คณะแพทย์ ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภาคใต้ จึงควรมีบทบาทเชิงรุกในการจัดการปัญหา 3 จังหวัดชายแดน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรใน 3 จังหวัดให้มีความรู้ ทักษะในการดูแลสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งการทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือชุมชนมากขึ้น แทนการตั้งรับการส่งต่อผู้ป่วยมารับบริการเพียงอย่างเดียวช่วงบ่ายเรื่อง สมดุลชีวิต ท่านวิทยากรมีเทคนิคการนำเสนอที่ทำให้เรื่องราวที่เป็นนามธรรมกลับกลายเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่นการอธิบายเรื่องทำดีทำไมไม่ได้ดี อาจเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งก็คือการต้องลบล้างกรรมในอดีต เพราะฉะนั้นหากวันนี้เราเริ่มต้นทำความดีอย่างไม่มีเงื่อนไข วันข้างหน้าจะได้ไม่ต้องหักลบกับความผิดพลาดในอดีต เสียดายเลาน้อยเกินไปวันที่ 2 สค.57 เรียนรู้เรื่อง เศรษฐกิจโลก และ AEC 2015 ทำให้ได้เปิดมุมมองที่กว้างขึ้น สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งกับตัวเองและองค์กร แต่วิทยากรยกตัวอย่างที่ค่อนข้างไกลตัวมาก การจะมาประยุกต์ใช้กับงานในคณะแพทย์จริงๆ ค่อนข้างทำได้ยาก

    สัปดาห์ที่ 4 13-15 สค.57 เริ่มต้นด้วยการนำเสนอการอ่านหนังสือ The leader's guide to managing people:how to use soft skills to get hard results ได้เรียนรู้การพัฒนาคน พัฒนาทีม พัฒนาองค์กร เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนผู้นำต้องมี growth mind set และต้องช่วยเหลือคนอื่นๆ ที่สำคัญคือ เราต้องเริ่มต้นทำอย่างจริงจังเสียที ในองค์กรให้พัฒนาไปด้วยกัน โดยใช้หลัก learn chare care

    หัวข้อที่2.การนำเสนอโครงการวิจัย ดร.จีระและทีมวิทยากรได้ให้แนวคิดในการทำโครงการวิจัยโดยใช้หลัก 3Vs ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาโครงการต่อไป

    วันที่ 14 สิงหาคม 2557 เรียนรู้กรณีของคณะแพทย์ศิริราช และโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็น 2 โรงพยาบาลที่มีความแตกต่างกันทั้งในลักษณะทางภูมิศาสตร์ และจำนวนบุคลากร แต่สิ่งที่ทั้ง 2 หน่วยงานมีเหมือนกันคือความมุ่งมั่นในการตั้งใจทำงาน ตามบริบทของหน่วยงาน โดยมุ่งให้ประโยชน์กับสังคม และช่วงบ่ายได้มีโอกาสรับฟังการสะท้อนมุมมองจากปราชญ์ชุมชน ทำให้ได้เรียนรู้ว่าคนเก่ง ไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาสูง ไม่จำเป็นต้องร่ำรวย แต่การรู้สำนึกในความเป็นคน รู้คุณค่าของชุมชน และตั้งใจพัฒนาชุมชนตามวิถีภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดต่อๆกันมา และที่สำคัญคือ ทั้ง 2 ท่าน ไม่ได้ทำงานตามที่มีคนสั่งให้ทำ แต่ทำงานด้วยการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล จนสร้างประโยชน์มากมายแก่ชุมชน

    วันที่ 15 สิงหาคม 2557 กิจกรรม CSR ทำให้ได้รู้จักสังคมรอบตัวมากขึ้น และชื่นชมความคิดของผู้บริหารโรงเรียน และนักการเมืองท้องถิ่นที่สามารถตีโจทย์แตก และมุ่งมั่นพัฒนาให้โอกาสแก่เด็กผู้ด้อยโอกาสซึ่งหากเด็กเหล่านี้ไม่ได้รับการเหลียวแลอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมในอนาคตได้อีก และนอกเหนือสิ่งใดการทำกิจกรรมครั้งนี้ทำให้ได้เห็นการทำงานร่วมกันของชาวคณะแพทย์ ซึ่งแม้ภาระงานประจำจะยุ่งมากแค่ไหน แต่ทุกคนก็สามารถประสานการทำงานจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    31 กรกฎาคม 2557

    หนังสือ Global HR competencies : ศ จีระ

    ปัญหาคณะแพทย์ คือ มี competency มาก แต่ขาด synchronization การทำงาน

    บริษัทจีน :Change aggressive cost management to more innovative and develop and reative in marketing and brand activity.

    บริษัทอินเดีย : สร้างโรงเรียน เพื่อ include คนที่มี DNA เดียวกับองค์กร 

    Morining coffee เป็นวิธี empower คนทำงาน

    Success is not the key to happiness, happiness is the key to success. If you love what you are doing, you will be successful.

    1 สิงหาคม 2557

    ณะแพทย์ และบทบาทด้านความมั่นคง: พล ท สุรพล เผื่อนอัยกา บัญญัติ จันทร์เสนะ ปิยะ กิจถาวร

    building trust : clinical need, imparialty, without discrimination

    อ จีระ ให้ความเห็นว่า ถ้าแก้ปัญหา 3 จังหวัดไม่ได้ ไม่รู้จะมี มอ ไปทำไม

    แผนแม่บท : ลดเงื่อนไขการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหา

    ความสมดุลของชีวิต: พล อ ต บุญเลิศ จุลเกียรติ

    มนุษย์เกิดมาเพื่อ รับใช้ผู้สร้าง และดำรงเผ่าพันธุ์ให้ดีขึ้น

    2 สิงหาคม 2557

    AEC กับการปรับตัวของคณะแพทย์: สมชาย ภคภาสณ์วิวัฒน์

    Think forward and work backward

    Change before you forced to change

    AEC : ตลาดร่วม สินค้า เงินทุน บริการ และแรงงาน

    อนาคต : รพ จะเปิดมหาวิทยาลัย

    ตลาด : แพงไม่ว่า ขอสะดวก รวดเร็ว กินอยู่ 5 ดาว

    การคิดเชิงกลยุทธ์: สมชาย ภคภาสณ์วิวัฒน์

    อนาคต : one stop service and diversity

    กับดักที่น่ากลัว คือ การมองจากมุมตัวเอง แล้วตัดสินใจ

    กรณีสู้ไม่ได้ด้วยราคา ให้ทดแทนด้วยความแตกต่าง

    value รพ คือการรักษา

    วันที่ 31 ก.ค.57

    -เรื่องเล่าจากหนังสือ Global HR Competencies : ฟังแล้วงาน HR เป็นงานยิ่งใหญ่ และยาก ทำอย่างไรหัวหน้างานอย่างเราจะเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้จริงร่วมกับ HR ของคณะ

    เรียนรู้ การสร้าง talent: องค์กรที่มี talent ดี จะส่งผลให้ productivity ดีด้วย รักษา talent ให้ดี เพื่อสุดท้ายคนเก่งจะอยู่กับองค์กร

    -กิจกรรมรักษ์กาย รักษ์ใจ เป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลายและมีประโยชน์กับสุขภาพด้วย

    -ส่วนตอนเย็นเจออาจารย์กิตติ ที่ปรึกษาติดตามความก้าวหน้างานวิจัยครั้งที่ 1 :ซึ่งทุกคนและต้องทำความเข้าใจหัวข้อวิจัยใหม่

    วันที่ 1 ส.ค.57

    คณะแพทย์ฯ มอ.กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ

    ได้เรียนรู้หลายอย่างจากวิทยากรในเรื่องของความมั่นคง

    Building Trust ความเชื่อมั่นหรือความศรัทธา สำหรับแนวคิดของท่านบัญญัติเรื่องของการแก้ไขปัญหาว่าให้ใช้ความจริงใจ มองว่าอนาคตปัญหาต้องแก้ได้ถ้าทุกคนร่วมมือกัน

    2 สิงหาคม 2557

    -เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย..

    ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ฯ มอ.”

    รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์อาจารย์ได้สอนและมีวิธีการสอนให้เราคิด อย่าเชื่อในสิ่งที่บอก สอนให้คิดวิเคราะห์ในเหตุและผลคิดหลายรูปแบบคิดเชิงกลยุทธ์ และได้เรียนรู้เรื่องGame Theory คือ สร้างสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง (พอได้ฟังอาจารย์บรรยาย พอเข้าใจในกฎ 3 ข้อมากขึ้น)เกมส์มี 3 เกมส์

    Zero sum Game คือต้องรู้ว่าต้องชนะแน่ๆ (คนฉลาด ต้องหลีกเลี่ยงเกมส์นี้ยกเว้นว่า รู้ว่าชนะแน่ )

    Negative sum Game คนต่างต่างเสีย หรือมีแต่เสียทั้งคู่ การตัดสินใจแบบนี้จึงมักหลีกเลี่ยง

    Positive sum Game: เป็นลักษณะ Win-Win นี้ อาจจะมีผู้ได้ Win มาก หรือ Win น้อยก็ได้ ขึ้นอยู่ทักษะ และการเจรจาต่อรอง ได้มากว่า(คนฉลาดจะได้อำนาจต่อรองสูง)

    สรุปสาระหนังสือglobal HRcompetencies?

    1.credible activist

    2.Strategic positioning

    3.Capability buider

    4.change champion

    5.Innovationand integrator

    6.Technlogy proponent

    สิ่งที่น่าสนใจหนังสือเล่มนี้ทำให้เห็นงานที่สำคัญของHR ในทุกๆด้าน ซึ่งการจะหาHR ที่เก่งรอบด้านในคนคนเดียวไม่ได้ น่าจะเป็นการทำงานแบบ Co-creation การทำงานประสานที่เก่งและให้ความสำคัญกับทุกส่วน  คิดว่าทีมจะสามารถพัฒนาได้ถ้าทำตามที่หนังสือเล่มนี้แนะนำไว้

    • Tips for success
    • 1.หาเป้าหมายร่วมกันกับสมาชิกทีม
    • 2.บอกสิ่งที่ยอมรับได้และยอมรับไม่ได้
    • 3.โฟกัสความสนใจของทีมมากกว่าของตัวเอง
    • 4.Drive out fear ขจัดความกลัวของทีม แล้วจะได้ความซื่อสัตย์คืนมา
    • 5.ให้ความมั่นใจกับทีมว่าทุกคนเป็นทีมเดียวกัน ไม่มีใครที่ถูกกันออกไป
    • 6.เผชิญกับความขัดแย้งแทนที่จะหลีกเลี่ยง
    • 7.เลือกวิธีการทำงานด้วยกัน ความเห็นโดยรวม
    • 8.ดูพฤติกรรมกลุ่ม อาจมีบางคนที่ไม่เห็นด้วย แต่ไม่พูด แต่พฤติกรรมเปลี่ยนไป
    • 9.ให้ความสำคัญกับกับความแตกต่างและความหลากหลาย
    • 10.อย่าทึกทักว่ากลุ่มคือทีมเสมอไป
    • 11.อย่าประเมิน อารมณ์ ความรู้สึก ต่ำไปเพราะอาจสร้างปัญหาได้
    • 12.อย่าเป้นคนเริ่มต้นพูดก่อนทุกครั้งให้โอกาสทุกคนก่อน และใช้ความสามารถของผุ้นำที่จะประสานความคิดเข้าด้วยกัน
    • 13.อย่าเลือกความคิดแรกว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์เสมอไป ให้มองความแตกต่างด้วย
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท