ทำอย่างไรให้การจัดการเรียนการสอน เกิดการเรียนรู้


หากตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้ดี ก็จะสามารถทำให้การเรียนในหัวข้อนั้นๆ มีประสิทธิภาพ สมบูรณ์

คืนนี้เข้านอนตามปกติ แต่เนื่องจากนอนอยู่นานก็ไม่หลับ ไม่แน่ใจว่าด้วยผลจากกาแฟที่กินช่วงบ่ายหรือเพราะเมื่อคืนทำงานจนดึก จึงเป็นการปรับตัวของร่างกายในวันนี้ ที่ยังไมยอมหลับเช่นเคย และด้วยเหตุที่ไม่หลับ พลิกไปมาหลายรอบ จึงมาเขียนบันทึกใน gotoknow ดีกว่า และด้วยมือเร็วของตัวเองที่กด back หลังจากที่พิมพ์ข้อมูลเสร็จแต่ไม่ save ในหน้า page gotoknow ทำให้ข้อความที่พิมพ์ไปหายไปในพริบตา แต่ไหนๆ ก็ตั้งใจจะมาพิมพ์แล้วนี่ค่ะ ขอพิมพ์ใหม่อีกรอบจะเป็นอะไรูู^__^

เนื่องจากในช่วงวันที่ 16-17 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอน โดยมีอาจารย์ รศ. พเยาว์ ยินดีสุข และ รศ.ดร. พิมพันธ์ เดชะคุปต์มาเป็นวิทยากร และทำให้รู้ว่า การสอนคนมาเป็นครูที่ดี ไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากนี้ การเป็นครูที่ดี ก็ไม่ใช่เพียงการสอนบรรยายที่ดีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเป็นผู้ชักนำผู้เรียน สร้างประสบการณ์ ให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง (ใครว่างานครูเป็นเรื่องง่าย คงไม่น่าจะจริง ทั้งเขียนแผน เตรียมกระบวนการ สรุป ประเมิน อื่นๆ เยอะแยะไปหมด) ตลอด 2 วันที่เข้าร่วมการอบรมวิทยากรทั้ง 2 ท่าน บรรยาย สาธิต นำกิจกรรม และกระตุ้นให้มีการเรียนรู้ตลอดเวลา การนำการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมการอบรมคิดและตระหนักรู้ตลอดเวลา ท่านทั้งสองไม่ได้ใช้ powerpoint เลยแม้แต่ slide เดียว ซึ่งการสอนรูปแบบหนึ่งก็คือ การสอนโดยผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งในรูปแบบการสอนนี้อาจหมายถึง การสอนโดยมีเด็กเป็นศูนย์กลาง การสอนโดยมีครูเป็นศูนย์กลาง หรืออาจรวมถึงการใช้รูปแบบผสมผสาน ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้มีรายละเอียดมาก สามารถติดตามและศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือของท่านทั้งสอง แต่นอกจากรูปแบบที่มีความสำคัญแล้ว การกำหนดวัตถุประสงค์ก็มีความสำคัญมากๆ เนื่องจากการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีจะสามารถทำให้ออกแบบการเรียนรู้ที่ดี และยังสามารถเลือกรูปแบบการประเมินได้ตรงตามวัตถุประสงค์อีกด้วย โดยการตั้งวัตถุประสงค์ที่ดีนั้นควรมี KSA คือ K-Knowledge หมายถึง ความรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับ สาระ ตามหลักสูตร S/P-Skills/Practice เป็นการฝึกทักษะ หรือการปฏิบัติ และ A-Attitude/Attribute เป็นเจตคติ จริยธรรม ความดี หรือการนำไปใช้ในชีวิต ซึ่งหากตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้ครบทั้ง 3 ส่วนนี้ก็จะสามารถทำให้การเรียนในหัวข้อนั้นๆ มีประสิทธิภาพ สมบูรณ์

ดังนั้น การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 นั้น นับว่ามีความสำคัญ ไม่เพียงแต่การให้ความรู้ เพื่อให้ได้เลื่อนระดับชั้นเรียน หรือ ปริญญาเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการกระตุ้น ส่งเสริม พัฒนา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้เพื่อการใช้ชีวิต เป็นผู้นำ ผู้นำในที่นี้หมายถึง นำตนเองให้อยู่รอดในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างสมบูรณ์ และมีความสุข

ขอแนะนำหนังสือ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือของวิทยากรทั้งสองท่านได้ ดังนี้

§ ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนอิงมาตรฐาน

§ สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ

§ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้ ท่านที่สนใจงานทางการศึกษา สามารถเข้าร่วมงานหรือติดตามงาน Educa ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม 2557 ได้ เช่น ที่ http://educa2014.com/ หรือ http://educa2014.com/ ได้นะค่ะ


คู่มือปฏิบัติการ บรรยากาศ และวิทยากรที่น่ารักค่ะ 

หมายเลขบันทึก: 573195เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014 02:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014 02:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์น่ารักมากทั้งสองท่าน

แต่พบท่านนี้บ่อยมาก

รศ.ดร. พิมพันธ์ เดชะคุปต์

ขอบคุณมากๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท