การจัดการน้ำบริโภคในโรงเรียน


น้ำบริโภคในโรงเรียน
ทีมงาน อาจารย์ สังกัด สพฐ กำลังรวมตัวกัน เพื่อเรียนรู้ ร่วมกัน ในเรื่องการจัดการความรู้ เรื่อง น้ำดื่มที่สะอาดให้แก่เด็กนักเรียน รวมทั้ง วิธีการ เพื่อหลีกเลี่ยง ลดละเลิก ไม่บริโภค เครื่องดื่ม ที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 57297เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2006 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เตือนเสี่ยงโรคจากน้ำเป็นสื่อใช้ขวดพลาสติกซ้ำ
Krungthep turakij
3 พฤศจิกายน 2549 09:10 น.
อธิบดีกรมอนามัยเตือนประชาชนเสี่ยงนำขวดน้ำพลาสติกมาใช้ซ้ำ หวั่นการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย แต่หากจำเป็นต้องใช้ควรมีการทำความสะอาดที่ถูกวิธี

นพ.สมยศเจริญศักดิ์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ประชาชนที่จำเป็นต้องนำขวดเปล่าที่ใช้แล้วมากักตุนน้ำไว้สำหรับดื่มและใช้ในช่วงน้ำท่วม บางครั้งไม่ได้มีการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะบริเวณปากขวดและฝาขวด ซึ่งเกิดจากการใช้ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ขวดน้ำกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่มักพบมากในน้ำบรรจุขวดพลาสติกที่มีการเติมน้ำซ้ำ ๆ หลายครั้ง ทั้งนี้ จากการเก็บน้ำดื่มเพื่อตรวจจำนวน 92 ตัวอย่างพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 59 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 94.13 การนำขวดพลาสติกมาใช้ซ้ำสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ สารเคมีที่เป็นอันตรายจากพลาสติก เพราะการขัดถูเพื่อล้างทำความสะอาดขวดน้ำ อาจทำให้เกิดรอยขูดขีดหรือการบุบชำรุดของขวดที่เกิดจากการนำมาใช้ซ้ำ หรือหากขวดน้ำตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความร้อนหรือได้รับแสงแดด อาจทำให้สารเคมีจากพลาสติกปนเปื้อนลงในน้ำที่อยู่ในขวดได้ ดังนั้น ในกรณีที่จำเป็นต้องนำมาใช้ก็ควรทำความสะอาดให้ทั่วถึง และต้องสังเกตลักษณะของขวด หากมีรอยชำรุด รั่ว แตกร้าว บุบ ก็ไม่ควรนำมาใช้ หรือหากเป็นขวดที่มีการปนเปื้อนดิน หรือโดนน้ำท่วมขัง ก็ควรหลีกเลี่ยงในการนำมาใช้ซ้ำ

"นอกจากนี้ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง ประชาชนต้องดื่มน้ำสะอาด โดยต้มให้เดือดอย่างน้อย 5 นาทีเก็บในภาชนะสะอาด มีฝาปิด หากประชาชนนำน้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำผิวดินแหล่งอื่น ๆ มาใช้โดยตรง ควรปรับปรุงคุณภาพน้ำและฆ่าเชื้อโรคก่อน โดยการแกว่งสารส้มชนิดก้อนในน้ำ สังเกตตะกอนในน้ำ หากเริ่มจับตัวให้นำสารส้มออก ตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอน แล้วฆ่าเชื้อโรคโดยใช้หยดทิพย์ ว 101 กรมอนามัยซึ่งเป็นสารละลายคลอรีนชนิดเจือจางร้อยละ 2 โดยหยด1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตรหรือเติมผงปูนคลอรีนตามปริมาณที่กำหนด จากนั้นปล่อยให้มีระยะเวลาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อย 30 นาทีก่อนนำไปใช้" อธิบดีกรมอนามัยกล่าว

นพ.สมยศกล่าวด้วยว่า สำหรับรถบรรทุกน้ำที่ออกแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชน ต้องมีการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ทั้งขณะเตรียมขนถ่ายและจ่ายน้ำ ควรเติมคลอรีนก่อนจ่ายน้ำให้ประชาชนโดยตรง และให้มีคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ 2 มิลลิกรัม/ลิตร(พีพีเอ็ม) ส่วนการนำน้ำไปเก็บในภาชนะเก็บน้ำของชุมชนเช่น ถังเก็บน้ำ ควรตรวจสอบให้มีคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำอยู่ระหว่าง 0.2-0.5 มิลลิกรัม/ลิตร(พีพีเอ็ม) อันจะช่วยป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำไม่ก่อให้เกิดโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อตามมาได้.
 

การตรวจคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียน

น้ำดื่มของนักเรียน  ถ้าเป็นโรงเรียนเขตเมือง ประปาภูมิภาคเข้าถึง จะมีเฉพาะปัญหาด้านจุลชีววิทยา  ซึ่งมักเกิดจากการไม่ได้ดูแลทำความสะอาดใส้กรองของเครื่องทำน้ำเย็นหรือตู้น้ำเย็นที่เด็กดื่มครับ  มี Test Kit ดูปริมาณ Total Coliform สำหรับดูความสะอาดของน้ำได้ครับ โดยเก็บตัวอย่างน้ำมาใส่ในขวดน้ำยา ตั้งทิ้งไว้ ๑ คืน ถ้าน้ำยาเปลี่ยนสีจากแดงเป็นเหลือง ก็แสดงว่ามีปริมาณ Total Coliform เกินกำหนด ต้องทำความสะอาดระบบ  ทำสัปดาห์ละครั้งก็เพียงพอ  ไม่มีวางจำหน่าย แต่สามารถผลิตให้ใช้ได้ ต้นทุน ๒๐ บาทครับ
         ส่วนด้านเคมี เกือบจะไม่พบเลยครับ เว้นบางพื้นที่ เช่น ภาคเหนือบางแหล่ง อาจมีปริมาณสาร Fluoride เกิน เป็นต้น
         แต่หากเป็นน้ำดื่มโรงเรียนในเขตชนชท  แหล่งน้ำจากประปาหมู่บ้าน หรือจากถังน้ำฝน ฝ ๓๓  จะมีปัญหาทั้งด้านเคมีและจุลชีววิทยา  วิธีจัดการ ก็จะแตกต่างกันครับ   หากเป็นอีสาน ก็จะพบ เหล็ก เกินมาก เป็นคราบให้เห็นตามพื้น หรือ พบความกระด้างของน้ำดื่ม เป็นต้น

Test kit โดยทั่วไป ก็จะมี  pH, Total hardness, ปริมาณเหล็ก ปริมาณแคดเมี่ยม  และ Total Coliform   แต่เราจะใช้เท่าที่จำเป็นตรงกับปัญหาเพื่อความประหยัดครับ

ภก. วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร

ผอ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 7 อุบลราชธานี

อ่านพบข่าว เรื่องที่ ผู้อำนวยการโครงการ และรองผู้แทน UNDP ประจำประเทศไทย พูดถึง การพัฒนามนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวกับน้ำ โดยดู การใช้น้ำเพื่อชีวิต และการใช้น้ำในวิถีชีวิต ว่าเป็นอย่างไรพบว่า ประชากรทั่วโลก ประมาณ 1,100 ล้านคน ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ เพราะการกระจายน้ำสะอาดไปถึงชนบทไม่ดีพอ จึงควรแก้ไขด้วยการให้รัฐออกกฎหมายกำหนดให้น้ำเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ให้ได้รับน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคและบริโภค ไม่ต่ำกว่า 20 ลิตรต่อคนต่อวัน เกณท์นี้น่ามาพิจารณาการจัดหาน้ำดื่มในโครงการหรือไม่
เขาแก้ปัญหาน้ำดื่มในเขตน้ำท่วมอย่างไร

ได้ตามข่าวการแก้ปัญหาน้ำดื่มน้ำใช้ในเขต ปัญหาน้ำท่วม พบว่า กรมทรัพยากรน้ำ เป็นหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบ น้ำประปาในชนบท ซึ่งมีข่าวว่า นายศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ อธิบดี ได้ลงพื้นที่ อ.บางปลาม้า และ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมรุนแรง ภายหลังน้ำท่วม ประชาชนยังคงไม่มีน้ำประปาสะอาดใช้

การช่วยเหลือเบื้องต้นได้นำรถผลิตน้ำประปาสนามไปตั้งบริการที่ ต.องครักษ์ อ.บางปลาม้า จำนวน 1 คัน พร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่ง ซ่อมแซมระบบน้ำประปาที่เสียหายจากน้ำท่วม เร่งฟื้นฟูแหล่งน้ำและบ่อน้ำตื้น ซึ่งอยู่ในชุมชนและอยู่ใกล้ตัวประชาชนให้สะอาด เช่น เติมคลอรีนฆ่าเชื้อโรค โดยให้จัดลำดับความสำคัญ ในการการช่วยเหลือก่อนหลัง และให้เสร็จเรียบร้อยทุกด้านภายในระยะเวลา 3 เดือน ตามนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

โรงเรียน ในเขตพื่นที่ ควรให้ความสำคัญระดับแรกเช่นกัน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท