ประสบการณ์การเป็นศึกษานิเทศก์ของผม (ตอนที่ 2)


ผมจะมีสมุดบันทึกเล็กๆพกติดตัวอยู่ 2 เล่ม เล่มหนึ่งจะเป็นสมุดปฎิทินการปฎิบัติงานในแต่ละวันตลอดปี ซึ่งจะบันทึกเตือนความจำไว้ ส่วนอีกเล่มหนึ่งเป็นสมุดบันทึกเตือนความจำการปฎิบัติงานในแต่ละวัน
       นอกจากพยายามเลียนแบบ ดร.อาคมแล้ว  ถ้าจะถามว่ามีเทคนิคในการนิเทศอย่างไร?  ก็จะตอบตรงไปตรงมาว่า ในตอนแรกไม่มีเทคนิคอะไรหรอก  เรียนรู้ไปจากการทำงาน  ผมถือว่าบริบทและสภาพแวดล้อมรอบข้างล้วนเป็นครูให้ผมทั้งสิ้น  เพียงแต่ผมอาจจะมีทุนเดิมที่เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน  ขยันขันแข็ง  ใครมีงานอะไรก็อาสาช่วยทำ  ไม่ต้องกลัวว่าจะเหนื่อยแรง หรือเสียเปรียบใคร  ทำไปก็เรียนรู้ไป  สงสัยตรงไหนก็ถามรุ่นพี่  หรือหัวหน้าทีม  ยิ้มแย้มแจ่มใสเข้าไว้ และจริงใจกับทุกคน  พี่ๆเขาก็เอ็นดู  สอนงานให้  มีงานอะไรเขาก็ชวนไปร่วมทำ  ผมรู้สึกตัวว่าอยู่กับใครใครก็รักทำงานกับใครใครก็ชอบ(ไม่ได้โม้)
       แรกทีเดียวเขาก็ให้เป็นผู้ช่วยเลขานุการ  นานวันชักเก่งขึ้นเขาก็ให้เป็นเลขานุการดูแลงานทั้งหมด  คงเป็นอย่างที่สมัยนี้เขาเรียกว่ามี
EQ (ปัญญาทางอารมณ์)เป็นตัวนำนั่นแหละ  แต่ที่สำคัญคือระหว่างทำงานผมจะเป็นคนขี้สงสัย  นอกจากชอบถามคนอื่นแล้วยังชอบหาคำตอบด้วยตนเองด้วย  และวิธีหาคำตอบก็คืออ่านหนังสือให้มากๆ  รวมทั้งหาวิธีเรียนทางลัดคือไปฟังคนอื่นเขาพูดเขาบรรยาย หรือร่วมเสวนากับผู้รู้  ผมจึงอาศัยประสบการณ์นี้มาเขียนบทความทางวิชาการในภายหลังในหัวข้อเรื่องว่า  ถ้าเราไม่อ่านไม่ศึกษาค้นคว้า  จะปฎิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้อย่างไร? 
         ผมจะมีสมุดบันทึกเล็กๆพกติดตัวอยู่ 2 เล่ม เล่มหนึ่งจะเป็นสมุดปฎิทินการปฎิบัติงานในแต่ละวันตลอดปี  ซึ่งจะบันทึกเตือนความจำไว้  ส่วนอีกเล่มหนึ่งเป็นสมุดบันทึกเตือนความจำการปฎิบัติงานในแต่ละวัน   โดยเช้าก่อนทำงานผมจะบันทึกรายการที่ปฎิบัติในรอบวัน เป็นหัวข้อๆทุกเรื่อง  ทั้งงานราชการและงานส่วนตัว  บ่ายก็จะหยิบมาตรวจว่ารายการใดบ้างที่ทำไปแล้ว  รายการใดบ้างที่ยังไม่ได้ทำ  เพื่อเตือนตนเองและให้กำลังใจแก่ตนเอง  เป็นการวางแผนการปฎิบัติตน(บริหารเวลา)อย่างง่ายๆในแต่ละวัน  เทคนิคนี้ผมเลียนแบบมาจาอดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา (อาจารย์พะนอม  แก้วกำเนิด) ซึ่งผมเป็นเลขานุการส่วนตัวท่านในตอนนั้น  พอทำอย่างนี้ทุกวันโดยไม่เครียดกับมัน  ก็ติดเป็นนิสัย   จนมาถึงทุกวันนี้ผมมีสมุดบันทึกเล็กๆอยู่มากมาย ซึ่งบางทีก็บันทึกหรือเขียนเรื่องต่างๆเพื่อจดจำแทรกลงในสมุดนี้ด้วย  คนอื่นมาเห็นอาจจะดูไม่รู้เรื่องและไม่เป็นระเบียบนัก
          แต่ผมก็ถือว่ามันเป็นบันทึกส่วนตัวของผม  ซึ่งผมจะเขียนอะไรลงไปก็เป็นเรื่องของผม   และผมรู้ของผมก็แล้วกัน...

หมายเลขบันทึก: 57288เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2006 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สุ-จิ-ปุ-ลิ เป็นวิถีของบัณฑิตโดยแท้
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องเล่าที่ล้ำค่าสำหรับการพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นศึกษานิเทศก์ที่ดีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท