บทความ


ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ความเคลื่อนไหวของนวัตกรรมทางการศึกษา  e-Learning ในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็วและได้ก้าวมาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ  ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน  การฝึกอบรม  รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้  โดยการพัฒนา  CAI  เดิมๆ  ให้เป็น  WBI  (Web  Based  Instruction)  หรือการเรียนการสอนผ่านบริการเว็บเพจส่งผลให้ข้อมูลในรูปแบบ  WBI  สามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว  และกว้างไกลกว่าสื่อ  CAI  ปกติ  ทั้งนี้  ก็มาจากประเด็นสำคัญอีก  2  ประการ  คือ1.        สามารถประหยัดเงินที่ต้องลงทุนในการจัดหาซอปต์แวร์  สร้างสื่อ(Authoring  Tools) ไม่จำเป็นต้องซื้อโปรแกรมราคาแพงๆ  มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนการสอนและสามารถได้  NotePad  ที่มาพร้อมกับ Miarosoft  Windows  ทุกรุ่นหรือ  Text  Editor  ใดๆ ก็ได้ลงรหัส  HTML  (Hyper  Text  Markup  Language)  สร้างเอกสาร  HTML  ที่มีลักษณะการถ่ายทอดความรู้ด้านการศึกษา                2.  เนื่องจากคุณสมบัติของเอกสาร  HTML  ที่สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทั้งข้อความ  ภาพ  เสียง  VDO  และสามารถสร้างจุดเชื่อมโยงไปตำแหน่งต่างๆ  ได้ตามความต้องการของผู้พัฒนาส่งผลให้การพัฒนาสื่อการเรียน  การสอน  ในรูปแบบ  WBI  เป็นที่นิยมอย่างสูงและได้รับการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบมาเป็นสื่อ  การเรียน การสอน  ในรูปแบบ  e-Learning  (Electronis  Loarning) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบันสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning  สามารถกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาก  WBI  โดยมีจุดเริ่มต้นจากแผนเทคโนโลยี  เพื่อการศึกษาของชาติ  สหรัฐอเมริกา (The  National  Educational Technology  Plan 1996)  ของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกาที่ต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนของนักเรียนให้เข้ากับศตวรรษที่  21  การพัฒนาระบบเรียนรู้  จึงมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริมอย่างจริงจัง  ดังนั้น   e-Learning   คือการนำอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะบริการด้านเว็บเพจ  เข้ามาช่วยในการเรียนการสอน  การถ่ายทอดความรู้  และการอบรม                การเรียนรู้แบบ  ออนไลน์  หรือ  e -Learning    การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เน็ต  (Internet)  หรือ  อินทราเน็ต  (Intranet)  เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน  โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย  ข้อความ  รูปภาพ  เสียง  วิดีโอ  และมัลติมีเดียอื่นๆ  จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน  Web  Browser  โดยผู้เรียน  ผู้สอน  และเพื่อร่วมชั้นเรียนทุกคน  สามารถติดต่อปรึกษา  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้  เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ  โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อที่ทันสมัย  (e mail, web board , chat ) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน  เรียนได้ทุกเวลา  และทุกสถานที่  ดังนั้นจะเห็นได้ว่า  e -Learning   เป็นระบบการเรียน การสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บและเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต  มีสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุน  การเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา  (Active  Learning)  และการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  (Child  Center  Learning)  ผู้เรียนเป็นผู้คิดตัดสินใจเรียนโดยการสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ  ด้วยตนเองสามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบทั้งการเรียนทางไกล  และการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่างๆ  e -Learning   นับเป็นคำใหม่พอสมควร  ที่มีความหมายถึงการอบรมด้วยระบบเครือข่ายหรือผ่านระบบเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กรดั้งนั้น  e -Learning   จึงได้ผนวกเข้ากับโลกแห่งการศึกษา  และวงจรธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ปัจจุบันนี้บริษัทหลายบริษัทพัฒนาระบบ  e -Learning  เพื่ออบรมพนักงานขายของบริษัทให้ทราบและรู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่พร้อมเทคนิคการขายมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ  เช่น  Stanford  หรือ  Harvard  ก็นำระบบ  e -Learning   มาให้บริการนิสิต  นักศึกษาจากทั่วโลก  เพื่อสมัครเรียน  ในหลักสูตรต่างๆที่เปิดให้บริการดังนั้น  จึงสรุป ลักษณะสำคัญ  ของ  e -Learning   ได้ดังนี้                Anywhere, Anytime  and  Anybody  คือ  ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้มาจากที่ใดก็ได้  และเรียนเวลาใดก็ได้  ตามความต้องการของผู้เรียนเพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด  24  ชั่วโมง  รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด  CD  เพื่อใช้ในลักษณะ  Offline  ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ  แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ตF          Multimedia  สื่อที่นำเสนอในเว็บ  ประกอบด้วยข้อความ  ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว  และเสียง  ตลอดจนวีดีทัศน์  อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีF          Non Linear  ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการF          Interactive  ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม  (Links)  ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว  และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์  ICQ, Microsoft  Messenger  และสมุดเยี่ยม  ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว       

                                  บรรณานุกรม

 กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ , นวัตกรรมทางการศึกษา,  กรุงเทพมหานคร  : โรงพิมพ์  องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2545.http : // www. Cyberclass. msu.ac.thhttp : // www.  Dltv.th.oryhttp : // www. Geun. Net/http : // www.  Ukeu. Com/http : // www.senarak.  Triped. Com/inno2. html   
คำสำคัญ (Tags): #บทความ
หมายเลขบันทึก: 57180เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2006 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท