การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตอนที่ 3


3. กรอบความคิด (framework) ของ Miles และ Huberman เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

หนังสือชื่อQualitative Data Analysis ซึ่งเขียนโดยMiles และ Huberman เป็นแหล่งค้นคว้าที่มีเนื้อหาครอบคลุมในนั้นกล่าวถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบต่างๆในหมู่ปรากฏการณ์ทางสังคมเพื่อหาความเป็นปกติธรรมดาหรือสากลในปรากฏการณ์ทางสังคมนั้น นอกจากนี้ยังหาลำดับที่ก่อนหลังที่เชื่อมโยงปรากฏการณ์ทางสังคมต่อมาพวกเขาเรียกวิธีการวิจัย (approach) ของพวกเขาว่าความสมจริงที่เหนือธรรมชาติ (transcendental realism)วิธีการวิเคราะห์มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การลดทอนข้อมูล (data reduction) 2. การแสดงข้อมูล (data display) และ 3.การพยายามสร้างข้อสรุปและการตรวจสอบข้อสรุป (drawing and verifying conclusion) กระนั้นพวกเขายังเชื่อว่าทั้ง 3ขั้นตอนนั้นมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันตลอดการวิเคราะห์ ดังภาพ

จากภาพเราจะเห็นว่าเราจะเก็บข้อมูลก่อน(data collection)ต่อมาต้องทำการแสดงข้อมูล ระหว่างนั้นก็ลดทนข้อมูลไปด้วยเมื่อลดทอนข้อมูลเสร็จก็ต้องแสดงข้อมูลไปพร้อมกัน เมื่อสุดท้ายต้องมาถึงการสรุปเมื่อสรุปเรียบร้อยหากไม่กรณีใดหรือปรากฏการณ์ทางสังคมใดไม่สามารถเข้ากันได้กับสมมติฐานทำให้เราต้องไปเก็บข้อมูลใหม่อีกรอบ ทำอย่างนี้เรื่อยไป จนสามารถทำให้เราสามารถได้สมมติฐานที่เข้ากันได้กับทุกกรณีเท่านั้น


3.1 การลดทอนข้อมูล (data reduction)


การลดทอนข้อมูลจะเกิดขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่เริ่มมีข้อมูล พูดอย่างง่ายๆกีคือขั้นตอนนี้ไม่ได้อยู่ในช่วงการวิเคราะห์เท่านั้นแต่กระนั้นมันก็เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ เมื่อเราเริ่มเก็บข้อมูลมาในตอนแรกตอนนั้นเราจำเป็นต้องเรียบเรียง (editing), จัดกลุ่ม (segmenting), และสรุป (summering) ข้อมูลในตอนต่อมาเราจำเป็นต้องใส่รหัส (coding)และเขียนข้อเขียนเพื่อเตือนความทรงจำ (memoing)และต้องเชื่อมโยงกิจกรรมทั้งสองไปสู่การหาแก่นเรื่อง (theme),การจัดกลุ่ม (clustering) และกระสวน (pattern)[1]ในตอนต่อมาเราจะต้องนำแก่นเรื่อง หรือกระสวน มาสร้างเป็นแนวความคิดรวบยอดและนำความคิดรวบยอดมาสู่การอธิบายโดยสรุปการสร้างความคิดรวบยอดเป็นวิธีการหนึ่งในการลดทอนข้อมูลในการลดทอนข้อมูลนั้นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณมีลักษณะคล้ายๆกันดังรูปข้างล่าง



ทั้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพวัตถุประสงค์ของการลดทอนข้อมูลก็คือการลดทอนข้อมูลโดยที่ไม่สูญเสียลักษณะสำคัญหรือความสำคัญของข้อมูลไปในการวิจัยเชิงปริมาณลักษณะจำเพาะ (items) มาเป็นตัวแปร (variable) แต่ในการวิจัยเชิงคุณภาพคำว่า ตัวบ่งชี้ (indicators) จะต้องอยู่ในบริบทเสมอ กล่าวคือในการเก็บข้อมูล เราจำเป็นต้องใส่บริบทเช่น สถานที่, บุคคล, อายุ, อาชีพ ฯลฯ เข้าไปในบริบทของเราด้วย

3.2 การแสดงข้อมูล (data display)

การแสดงข้อมูล หมายถึง การจัดการ (organize),การบีบอัด (compress), และการรวบรวม (assemble) เข้าด้วยกัน ที่เป็นดังนี้ เป็นเพราะข้อมูลเชิงคุณภาพโดยมากแล้วจะใหญ่โตและมีลักษณะกระจัดกระจาย(ลองดูตอนไปภาคสนามก็จะรู้เองครับว่าไหนจะบันทึกการสัมภาษณ์,การสังเกตที่ไม่ส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมเวลาวิจัยแต่ละครั้งไม่ใช่ว่าเราจะไปสัมภาษณ์ได้เลยนะครับพอมีโอกาสให้สังเกตก็ต้องรีบสังเกตข้อมูลที่มีลักษณะอย่างนี้จะมีขนาดใหญ่และกระจัดกระจายมาก)การแสดงข้อมูลจะช่วยให้เราได้วิเคราะห์ในทุกขั้นตอน Miles และHaberman เชื่อว่า การแสดงข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งไม่สงสัยว่ายิ่งมีการแสดงข้อมูลได้ดีมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งจะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพของเรามีหลักฐานและถูกต้องมากขึ้นเท่านั้นนอกจากนี้การแสดงข้อมูลยังทำใด้หลากหลายวิธี เช่น เป็นกราฟ (graph), เป็นแผนภูมิ (chart), เป็นเครือข่าย (network), เป็นแผนภาพแบบต่างๆ (diagram) ได้แก่ แผนภาพแบบ Vennกล่าวให้ถึงที่สุดคือวิธีอะไรก็ได้ที่ช่วยให้ที่จะช่วยให้การวิเคราะห์ของผู้วิจัยเป็นไปได้

นอกจากนี้การแสดงข้อมูลจะถูกใช้ในทุกๆขั้นตอนเพราะผู้วิจัยต้องสรุปข้อมูลอยู่แล้ว และยังใช้ในทฤษฎีฐานราก (groundedtheory) อีกด้วย

3.3การสร้างข้อสรุปและการพิสูจน์ข้อสรุปของเรา (drawing and verifyingconclusion)

เหตุผลที่เราต้องทำการลดทอนและการแสดงข้อมูลนั้นก็เพื่อที่จะทำการสร้างข้อสรุปโดยปกติแล้ว การสร้างข้อสรุปจะต้องทำหลังจากการลดทอนและการแสดงข้อมูลแต่ในตอนการปฏิบัติ การสร้างข้อสรุปต้องอาจเกิดขึ้นพร้อมๆกับทั้ง 2 ขั้นตอน(มีรุ่นพี่คนหนึ่งเรียบจบไปก่อน บอกผมว่าตอนเขียนวิทยานิพนธ์ให้ตั้งข้อสรุปไว้ก่อน บทอ่านอื่นๆค่อยเขียนทีหลัง)เพราะว่าการเขียนข้อสรุปอาจเกิดเขียนในตอนแรกได้ด้วยแต่ข้อสรุปนั้นจะเป็นเหมือนการทดลอง เป็นคำตอบที่ไม่ยั่งยืน ไม่มีความแจ่มชัดและยังไม่มีข้อมูลมาสนับสนุน อย่างไรก็ตามเมื่อเราทำงานวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลจะทำให้ข้อสรุปของเรามีความแจ่มชัดและมีข้อมูลสนับสนุนข้อสรุปของเราจะอยู่ในรูปของประพจน์ (proposition)[2] และเมื่อมีประพจน์ เราจำเป็นต้องตรวจสอบประพจน์ด้วย

ส่วนประกอบทั้ง3 ขั้นตอน จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันตลอดที่อยู่ในขั้นการวิเคราะห์สองขั้นตอนแรก ก็คือ การลดทอน และ การแสดงข้อมูล จะอยู่ในการใส่รหัส (coding) และการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความจำ (memoing)ซึ่งจะอภิปรายต่อไปข้างล่าง แต่ในขั้นที่ 3 คือการสร้างและพิสูจน์ข้อสรุปนั้น Milesและ Huberman ได้เสนอกลยุทธ์ (tactics) ในการสร้างประพจน์ไว้ หากลองเทียบกันการลดทอนข้อมูลจะเทียบได้แก่กับการใส่รหัส,การแสดงข้อมูลจะเทียบได้กับการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำและทั้งสองขั้นตอนนั้นก็นำมาสู่การสร้างประพจน์ทั้งหมดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์

การใส่รหัสและการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำนั้นในทางทฤษฎีจะเขียนแบบแยกจากกันแต่ในการปฏิบัติแล้วทั้งสองขั้นเหมือนว่าจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันและเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

หนังสืออ้างอิง

Keith F. Punch (1998). Introduction to Social Research:Quantitative and Qualitative Approaches. London:Sage Publication

[1]หมายถึง แบบหรือ แบบตัวอย่างสำหรับสร้าง หรือทำเอง

[2]ประพจน์ คือประโยคที่เป็นจริงหรือเท็จ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นประโยคที่มีลักษณะดังกล่าวจะอยู่ในรูปประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธก็ได้

หมายเลขบันทึก: 570458เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2014 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2014 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท