จันทร์ยิ้ม
ทีมจันทร์ยิ้ม เพื่อพัฒนาเยาวชน

กรณีศึกษา ๒ การใช้สื่อเพื่อสร้างทักษะชีวิตนักเรียนประถมและสื่อเติมเต็มความเข้มแข็งทางใจแก่นักเรียนมัธยม๓อำเภอในจังหวัดระยอง


จอ.ประเชิญ สวัสดิ์ผล ได้เล่าการทำงานกับวัยรุ่นในโรงเรียนมีใจความย่อดังนี้


วัยรุ่นอำเภอแกลงมีปัญหาความประพฤติไม่ต่างจากชุมชนอื่น

คนทำงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กในสายงานสาธารณสุขและศึกษาธิการ 

จับมือกันเพื่อลดปัญหาดังกล่าวด้วยการสร้างความเข้มแข็งทางใจ ในนักเรียนมัธยม๙ โรงเรียน

ในพื้นที่การศึกษาเขตระยอง๒ด้วยสื่อสำเร็จรูป ชุด เติมเต็มความเข้มแข็งทางใจ 

ที่พัฒนาโดยอาจารย์ นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิตและแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สสส.


การดำเนินการในปีการศึกษาแรก ประกอบด้วยการทำความเข้าใจกับผู้บริหาร

 การเตรียมครูผู้ใช้ การจัดหาสื่อ กระจายสื่อให้ทั่วถึง 

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างใช้งาน และการติดตามผล 

ในปีแรกมีการวิจัยเพื่อประเมินการใช้สื่อโดยอาจารย์จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลด้วย


ปีการศึกษาที่๒มีการใช้สื่อต่อเนื่องในห้องเรียนที่ยังไม่ได้สัมผัสสื่อหรือนักเรียนเข้าใหม่ 

รวมทั้งได้นำสื่อ การ์ตูน เสริมสร้างทักษะชีวิต มาใช้กับนักเรียนประถม๑-๓ จำนวน๘๑โรงเรียนในสังกัด สพป.ระยองเขต๒ด้วย


ผลการใช้งานแม้ไม่สามารถวัดผลแตกต่างได้ชัดเจน

แต่ครูผู้ใช้ยังมีความรู้สึกที่ดีต่อการใช้สื่อและมีแผนดำเนินการต่อไปอีกอย่างน้อย ๒ปี 

นอกจากนั้นความร่วมมือในการดูแลเด็กวัยเรียนของบุคลากรในพื้นที่ที่ดีขึ้น

ยังส่งผลให้การดูแลนักเรียนบางรายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษมีความมั่นได้ว่าทีมจะสามารถดูแลได้ดีขึ้นอีกด้วย

ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง ๒ท่านกรุณาให้ความเห็นดังนี้

ชื่นชมการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างครูกับทีม

แนวทางพัฒนา

  • 1.ทำอย่างไรที่จะให้ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนแต่ละวิชา
  • 2.มีการจัดกลุ่มให้ชัดเจน กลุ่มเด็กปกติกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหากลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มใดเพื่อที่จะได้มีการวัดผลที่ชัดเจน
  • 3.มีอีกหลายเทคนิคที่จะทำให้เด็กมีความเข้มแข็งทางใจนอกจากสื่อเช่น การจัดกิจกรรมออกค่าย
  • 4.ควรมีการพัฒนาความรู้ของพ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าใจในวัยรุ่นการดูแลลูกในวัยรุ่น
  • ทีมสามารถเข้าถึงผู้ดูแลระดับนโยบายของโรงเรียน

ทำอย่างไรให้เกิดการนำไปใช้เป็นระดับนโยบายของโรงเรียน ให้ได้ต่อเนื่อง มั่นคง

เพื่อมีแนวทางในการช่วยให้ครูทำได้ต่อเนื่องระยะยาวแต่ต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระงานของครู

ให้ครูเห็นความสำคัญเห็นประโยชน์ที่จะได้และเต็มใจที่จะทำ จะได้เกิดความยั่งยืน

นอกจากนี้ควรให้พ่อแม่ได้มีส่วนร่วมกับครู อันจะเป็นการสร้างเครือข่ายที่มั่นคงและเกิดประโยชน์มากที่สุด

ผู้สนใจดูสไลด์เดิมได้ที่ 3ตวามเข้มแข็งทางใจในโรงเรียน.pdf

คำสำคัญ (Tags): #โรงเรียนพ่อแม่
หมายเลขบันทึก: 570407เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2014 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2014 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท