จันทร์ยิ้ม
ทีมจันทร์ยิ้ม เพื่อพัฒนาเยาวชน

ปาฐกถาพิเศษ"โรงเรียนพ่อแม่ใหม่อย่างไรพอ?


ปาฐกถาโดย ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์

รองประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 


บันทึกได้ดังนี้"ปัญหาเด็กไทย...กับเวลาฝึกฝนที่สั้นลง

ด้านพัฒนาการ พบเด็กอายุ 5 ปี มีพัฒนาการ ทางด้านการใช้มือ / การช่วยเหลือตนเอง ช้าถึง 30 % พัฒนาการเหล่านี้ได้จากการฝึกฝน ไม่ใช่การสั่งสอน การเลี้ยงดูที่ประคบประหงมจนเกินไป ไม่ปล่อยให้เด็กๆได้ทำ ได้ช่วยเหลือตนเองก่อน เช่น การจับช้อนทานข้าว การสวมเสื้อผ้า 

ด้านการเรียน ปัจจุบันการเรียนที่อัดแน่นเกินไป การแข่งขันสูง ทำให้เด็กบางคนไม่ชอบการเรียน ไม่มีความสุข การเรียนรู้ที่ดีจะเกิดได้จะต้องเกิดจากความชอบที่จะเรียน เรียนแล้วมีความสุข นอกจากนี้การแข่งขันที่สูง ทำให้เด็กๆ มีความเห็นแก่ตัว ชิงดีชิงเด่น และการโกง 

ด้านจริยธรรม จริยธรรมในเด็กนับวันจะยิ่งห่างหายไป เด็กๆมีพฤติกรรมที่ไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขต่างๆมากขึ้น จริยธรรมจะต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆ โดยพ่อแม่และทำทุกวัน พ่อแม่สามารถสอดแทรกเรื่องจริยธรรมให้กับลูกได้ตลอดในชีวิตประจำวันหรือจากสิ่งรอบๆตัว


ด้านสุขภาพ พบว่าเด็กไทยมีปัญหาสุขภาพ อ้วน อ่อนแอ ไม่มีการออกกำลังกาย ควรปลูกฝัง กระตุ้นสนับสนุนให้เด็กๆมีความสนใจในเรื่องการออกกำลังกาย สุขภาพกายดีก็จะช่วยให้สุขภาพใจดีไปด้วย


ด้านสภาพแวดล้อม เราจะพบว่าเด็กๆ จะมีพฤติกรรม ก้าวร้าว หลงวัตถุนิยม ติดเกม สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ฯลฯ เนื่องจากการเข้าถึงง่ายของสิ่งกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าขายเหลา บุหรี่ ร้านเกม สังคมออนไลน์ ในทางกลับกันเด็กๆกลับห่างไกลธรรมชาติ 


ด้านจิตใจ เด็กมีปัญหา ขาดความรัก จิตใจที่ไม่มั่นคง จึงถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดีได้ง่าย ไม่สามารถแก้ปัญหาเผชิญกับปัญหาต่างๆได้ ขาดคนช่วยเหลือ

กลุ่มเสี่ยงต่อปัญหา
เด็กที่ฝึกฝน ควบคุมไม่ได้ ไม่เชื่อฟัง มักเกิดจากการเลี้ยงดูที่ตามใจ การให้ทุกอย่างมากเกินไป การเลี้ยงที่ประคบประหงม
ครอบครัวที่เน้นเรื่องการเรียนมากกว่าด้านอื่น เด็กจะเกิดความเครียด ขาดสังคม มีความคิดชิงดีชิงเด่น เห็นแก่ตัว


เด็กที่เห็นความก้าวร้าว ความรุนแรง พฤติกรรมทางเพศ การโกหก อบายมุขต่างๆ จนชิน ซึ่งเกิดจากสภาพครอบครัว และสังคมที่อยู่


เด็กที่ถูกกดดัน ขาดความช่วยเหลือ แต่ถูกลงโทษที่รุนแรง ความขาดหวังของพ่อแม่ การเปรียบเทียบลูกของตนเองกับลูกของคนอื่น 


เด็กที่ป่วยโรงเรื้อรัง ความพิการ ขาดการดูแล ช่วยเหลือ ถูกทอดทิ้ง ขาดโอกาส


ครอบครัวที่ทำหน้าที่ไม่เหมาะสม ไม่มีความรู้ ไม่เข้าใจวิธีการฝึก ปฏิเสธปัญหา ไม่สนใจ ไม่ให้เวลา

30 % ของเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีปัญหา จะมีปัญหาต่อไป และปัจจุบันการใช้ชีวิตของพ่อแม่ มีภาระมาก ไม่มีเวลา จึงจำเป็นที่ครู โรงเรียนจะต้องเป็นผู้ดูแล,สอน , ให้การช่วยเหลือ เป็นที่ปรึกษามากขึ้น หาก ครู โรงเรียน สามารถทำได้ดี ก็จะช่วยแก้ปัญหาของเด็กได้มากขึ้น

ขณะ เดียวกันพ่อแม่ก็มักจะมุ่งแต่เรื่องการเรียนเพียงด้านเดียว มองข้ามด้านอื่นๆ เช่น ด้านจิตใจ สังคม การใช้ชีวิต จริยธรรม สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ควรเป็นผู้ฝึก , สอน ให้กับลูก พ่อแม่มักผลักภาระเหล่านี้ให้กับครู โรงเรียน โดยมองข้ามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง

การ ที่ทำให้เด็กมีความสามารถหลายด้าน ให้เด็กคิดเป็น จะช่วยให้เด็กผ่านพ้นกับปัญหาต่างไปได้ สร้างคนรุ่นใหม่ (เด็ก) ที่เป็น Helper ให้เป็นกลุ่มคนที่อยาก พร้อมช่วยเหลือคนอื่น เอาใจใส่ผู้อื่น โดยต้องช่วยตนเองได้ด้วย

ถ้าแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม
1. กลุ่มปกติ
2. กลุ่มเสี่ยง
3. กลุ่มมีปัญหา

โรงเรียนพ่อแม่ จึงควรให้การช่วยเหลือในกลุ่มเด็กปกติ และกลุ่มเสี่ยง ในการที่จะช่วยดูแลให้เด็กกลุ่มปกติ และกลุ่มเสี่ยง ไม่ไปเป็นเด็กกลุ่มที่มีปัญหา สำหรับเด็กกลุ่มมีปัญหา ต้องเป็นหน้าที่ของจิตแพทย์ องค์กรที่ให้การดูแลช่วยเหลือเด็กในกลุ่มนี้ “

ถอดความโดย คุณสายชล ปธานราษฎร์

ผู้สนใจติดตามสไลด์อาจารย์ได้ที่นี่ครับ 1โรงเรียนพ่อแม่(ใหม่)มุมมองราชวิทยาลัยกุมารฯ.pdf

คำสำคัญ (Tags): #โรงเรียนพ่อแม่
หมายเลขบันทึก: 570380เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2014 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...สังคมต้องเห็นความสำคัญของเด็ก...จัดบริการสาธารณะทีมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กอย่างทั่วถึง เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สนามเด็กเล่นพร้อมอุปกรณ์ ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์(สำหรับเด็ก) อาหาร(ที่มีคุณภาพ) ระบบขนส่งมวลชน ให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ...สถานที่...อาหารการกินที่เป็นโทษไม่มีประโยชน์ ไม่พัฒนาเด็กก็ต้องใช้กฎหมายกวดขัน เข้มงวดอย่างจริงจัง มีป้ายเตือนที่ชัดเจน ถึงอันตราย และโทษ มีความผิดตามกฎหมายที่ผู้ปกครองจะต้องรับรู้ และมีความรับผิดชอบด้วยนะคะ...

เด็กๆ แบกหนังสือไปโรงเรียนกันเยอะมาก
ครูสั่งการบ้านโดยให้ทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตเพียงไม่ถึงสองคืน
เด็กที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต-คอมฯ ....จำต้องหาเวลาว่างพาตัวเองเข้าไปสืบค้น-ใช้คอมฯ  ในโรงเรียน
ซึ่งนับเป็นการณ์ดีของการเรียนรู้  หากแต่ในอีกมุมเวลาที่เด็กคนนั้นควรได้เตะบอลกับเพื่อนๆ ก็หดหายไปอย่างน่าใจหาย

ขอบพระคุณครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท