โครงการหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 10 (ช่วงที่ 5)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 10 ทุกท่าน

ขอต้อนรับเข้าสู่ ช่วงที่ 5 ถือเป็นช่วงสุดท้ายของหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 10 (ปี 2557) หรือ EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2014 ระหว่างวันที่ 11-13 มิถุนายน 2557

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 10 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 6 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สิ่งที่ผมและคน "กฟผ." ต้องระลึกถึงเสมอ คือ ผู้นำของเรา ต้องขอขอบคุณ ท่านผู้ว่าการ กฟผ. และอดีตผู้ว่าการฯ ทุกท่าน น่าชื่นชมที่มีปรัชญาและความเชื่อว่า "คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร" สูตรสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรในยุคนี้ คือ ผู้นำหรือ CEO+SMART HR+ Non-HR และผมเชื่อว่าการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ใน กฟผ. อย่างต่อเนื่องจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ กฟผ. เติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย รุ่นที่ 10 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 570235เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2014 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)
อดิศักดิ์ กิจเจริญธนารักษ์

วันที่ 11 มิถุนายน 2557

หัวข้อ กฟผ...ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยในมุมมองของข้าพเจ้า

วิทยากร ดร. สมเกียรติ อ่อนวิมล

ได้รับทราบมุมมองของอาจารย์ ผู้ที่ถือว่าเป็น กูรู ของวงการสื่อโทรทัศน์ เกี่ยวกับเขื่อนต่างๆ ของ กฟผ. 

โดยในฐานะสื่อ การเสนอข่าว ต้องนำเสนอมุมมอง ทั้งผลกระทบที่ดีและไม่ดี ของเขื่อน ให้ประชาชนเป็นผู้พิจารณาว่าจะเอาเขื่อนดีหรือไม่ การสร้างเขื่อนแต่ละเขื่อน จะทำลายต้นไม้ เป็นหลายล้านต้น เนื่องจากพื้นที่เหนือเขื่อนจะถูกน้ำท่วม มีผู้ทั้งได้รับผลประโยชน์และเสียผลประโยชน์ จำนวนมาก อต่อย่างไรก็ตามอาจารย์มีความเห็นว่าไม่ควรสร้างเขื่อนบนพื้นที่ที่เป็นเขตุอุทยาน แห่งชาติ 

เนื่องจากสร้างผลกระทบกับระบบนิเวศน์ อย่างมาก ควรหันไปรณรงค์ ให้ประชาชนประหยัดการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแทนการสร้างเขื่อน เพิ่มขึ้นอีก

อดิศักดิ์ กิจเจริญธนารักษ์

วันที่ 12  มิถุนายน 2557

หัวข้อ การนำเสนอผลงานกลุ่ม"ผลงานวิจัยฯ และข้อเสนอโครงการเชิงนวัตกรรม

วิทยากรอาจารย์กิตติ ชยางคกุล

ได้รับฟังการนำเสนอผลงานของเพื่อนๆ ผู้บริหาร ระดับช.ฝ่าย ทั่ง 7กลุ่ม ทำให้รับทราบ ข้อมูลงานวิจัย มุมมอง ความเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในปัญหาหลักๆ ของกฟผ. และข้อเสนอโครงการแก้ไขปัญหา ในแต่ละหัวข้อ เนื่องจากมีเวลา ในกาทำวิจัยของแต่ละกลุ่ม จำกัด ทำให้ข้อมูลในการวิจัย ยังไม่ลงลึกเพียงพอ แต่ก็มีประโยชน์ที่ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดการแก้ไขปัญหาของกลุ่มต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานะการ์ณต่างๆได้

อดิศักดิ์ กิจเจริญธนารักษ์

อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์,คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

วันที่ 12 มิถุนายน 2557

หัวข้อ กฟผ.กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization)

 อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ให้ความเห็นว่า หาก กฟผ. ต้องการเป็นองค์กร แห่งดารเรียนรู้ ผู้บริหารต้องสร้างบรรยากาศในการทำงานให้ผู้ปฏิบัติทุกคน มีนิสัยเรียนรู้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ผู้บริหารต้องempoweringให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความรู้ ความสามารถ เสนอความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ในการปรับปรุงการทำงาน ไม่ควรลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาหากมีข้อผิดพลาดในการทำงานเนื่องจากปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ๆ  ผู้บริหารกฟผ.ต้องมีมุมมองทั้งระบบ เห็นความเชื่อมโยงของเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดผลลัพธ์  อย่ามองแบบแยกประเด็น เพราะทำให้มองไม่เห็นเหตุปัจจัยทั้งหมด ที่ทำให้เกิดผลลัพท์

,คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ แลกเปลี่ยนประสบแารณ์ การสร้าง กฟภ. ให้เป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ ในสมัยที่เป็น รองผู้ว่าการทรัพยากรบุคคล ของ กฟภ. ซึ่งเป็นประโยชน์ในการรับฟังประสบการณ์ จากผู้บริหาร ระดับสูงขององค์กร คล้ายๆกับ กฟผ.

อดิศักดิ์ กิจเจริญธนารักษ์

วันที่ 13 มิถุนายน 2557

หัวข้ออบรม กลยุทธ์การสร้างและบริหารภาพลักษณ์องค์กรของ กฟผ.

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ได้รับความรู้การสร้างภาพลักษณ์ องค์กร ซึ่ง กฟผ. ต้องบริหาร fans/stakesholders 7ด้าน ดังนี้

1. General หรือประชาชนทัทวๆไป

2.Goverment

3. Media

4.Financial people

5.NGO

6.PEERS

7.Internal

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคของการสร้างความสัมพันธ์กับ Fans ทั้ง 7 ข้อข้างบน ได่แก่ PESTEL  ซึ่ง กฟผ. ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

และปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของ PESTEL  ตลอดเวลา

สรุป กฟผ. ต้องสร้างศรัทธา ให้ก้บ Fans/Steakholders เพื่อช่วย ติดตามสนับสนุนภารกิจ ของกฟผ.และปกป้อง กฟผ. เมื่อเกิดวิกฤต

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงานวิชาการ Chira Academy

กลยุทธ์การสร้างและบริหารภาพลักษณ์ขององค์กรของกฟผ.

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

วันที่ 13 มิถุนายน 2557

ณ ศูนย์ฝึกอบรม บางปะกง

ภาพลักษณ์ หรือยี่ห้อ หรือตราสินค้า

เมื่อสร้างได้แล้วจะบริหารให้เกิดประโยชน์อย่างไร

สภาวะวัตถุประสงค์ขององค์กรที่อยากให้เป็น

เวลาทำอะไรก็ตามจะมีเวลา 3 ชนิด

1. Good Time – ภาพลักษณ์ที่ดีควรเป็น Good leader อยากให้มีคน follow เยอะ

2. Bad Time – ภาพลักษณ์ที่ดีคือให้มีคน Trust เยอะ ๆ เช่นตอนเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ เราจะสร้างให้คนยังสามารถเชื่อถือได้อย่างไร
ในกรณี Bad Time ถ้าเกิดขึ้นบ่อยมากจนจะกลายเป็น Normal Time

3. Normal Time – ภาพลักษณ์ที่ดีคือมีแฟนที่มี Royalty หมายถึงไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่ไปไหน

โดยเฉลี่ย Good Time และ Bad Time จะ 60%

Value Chain (กระบวนการห่วงโซ่แห่งคุณค่า)

ในวงการธุรกิจ เรียก Value chain ว่าคือ คุณค่าหรือมูลค่าหมายถึงมีกิจกรรมต่อเนื่องเป็นระบบ ที่เป็นโซ่อย่าให้ขาดตอน เป็นห้วงการผลิตหรือ Input ถ้าจับต้องได้จะเรียกว่า Stock

ในช่วงการผลิตมีการเปลี่ยนมือหลาย ๆ อย่าง ทุก ๆ ช่วงที่เปลี่ยนมือ จะต้องใช้อย่างน้อย 2 อย่างคือเวลา และเงิน ของที่จับต้องได้อยู่ที่ Stockของที่จับต้องไม่ได้อยู่ที่ Distribution หรือที่เรียกว่า Service

ในช่วงแรกของการผลิต มีกระบวนการเยอะมาก ธุรกิจเปลี่ยนมือจากซ้ายไปขวา ตัวอย่าง เหล็ก 1 บุ้งกี๋ ทำตะปูได้ 1 กิโลแสดงถึง Value ที่เพิ่มขึ้น

กระบวนการผลิตหลาย ๆ ช่วง ถ้ามีมันสมองใส่เข้าไปเรียกรวม ๆ ว่าออกแบบ

วัตถุดิบ จะนำสู่วัตถุกึ่งสำเร็จรูป และวัตถุสำเร็จรูปแท้ ๆ โดยมี Incremental Cost (การเตือน) กับ Incremental Benefit อยู่ ซึ่งถ้า Cost มากกว่า Benefit ก็ไม่ควรทำ

การตลาด Delivery หรือ Delivery เป็นส่วนที่ปรากฏอยู่

จากการรักษาภาพลักษณ์หรือภาพพจน์มี 2 กระบวนการคือ กระบวนการผลิต และกระบวนการค้าปลีก มี Pre Operation เยอะ จะมีปัญหาลักษณะนั้นอยู่เยอะ เป็นเรื่องที่จะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้ได้ หมายถึง เจ้าของหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเปลี่ยนไปกระบวนการผลิต และกระบวนการทำการตลาดซึ่งสถานที่ซื้อต่างกันไป เช่น แต่ก่อนซื้อมาม่าในตลาดสด แต่ต่อมาทำไมถึงอยากไปซื้อที่ 7-eleven

สรุปคือ ในยามที่เรากำลังทำ Value Chain ในฐานะธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีทั้งผู้ที่อยู่ภายนอก และภายใน การทำรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จึงมี Value Chain และมีหลายช่วงเวลา

ตัวอย่างเช่น โรงแรมโอเรียลเต็ล ในเมืองไทยรูปสัญลักษณ์เดิมเป็นรูปพัดโบกไทยแต่ฝรั่งดูไม่เป็นบอกว่าเหมือนคนหัวขาดต่อมาโรงแรมจึงเปลี่ยนมาเป็นรูปพัดตามปกติ ซึ่งหมายถึงการต้อนรับ มีความต้องการทำให้สบายขึ้น อย่างเป็น Fan หรือ Buddy

ตัวอย่าง Normal Time คือควรคิดว่ามี Fan เป็น Buddy ถ้าใน Bad Timeเราต้องการคนไว้ใจ แต่ในตอน Good Time จะอยากมีคนเข้าหา จะมีคนมาประจบเยอะ เสมือนมีแฟนใหม่ ๆ เข้ามาหา

ผู้นำที่ดีจึงควรมี Follower ด้วย ดังนั้นสิ่งสำคัญจึงอยู่ที่ตัวเราพอสมควร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูเราอยู่ก็คือ Brand

เวลาทำ Brand เยอะ ๆ จะเกิดปรากฎการณ์ดังนี้

1. Experience ลูกค้าประจำ

2. Expectation การสร้างความคาดหวังสูง การสร้างตรา หรืออัตลักษณ์การสร้างภาพลักษณ์ หลายคนเสียค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์เยอะมาก สร้างภาพลักษณ์

3. Trusted Brandเมื่อ Experience แตกออกมาคือความไว้วางใจหรือเรียกว่า Trusted Brand

Trusted Brand = Credit (พึ่งได้) + Reliability (วางใจได้) + Intimacy (ความใกล้ชิด)

Self Interest (ผลประโยชน์ส่วนตัว)

- Credit มีผลงานในอดีต

- Reliability มี Brake ข้างใน

- Intimacy มีความใกล้ชิด ได้สัมผัสลูกค้า มี Intel Inside ต้องรู้จักการมี Relationship มี Intimacy กับเขา

Fan/Stakeholder คือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (คำนี้มาจากสหรัฐฯ ตอนที่ให้เอาไม้ไปปักเพื่อจองที่ดิน) แบ่งเป็น 7 อย่างดังต่อไปนี้

1. General Public – มุมมองคนทั่วไปที่กล่าวถึง EGAT ลูกค้า คนพูดคนสุดท้าย คือมวลชน

2. Government – ทำหน้าที่ค้ำเงินกู้ให้ และกำหนดนโยบายบางอย่างได้ จึงควรต้องManage Government Opinion ได้

3. Media – เครื่องขยายเสียงมี Telescope (มองไกล ๆ ดูดี) หรือ Microscope (มองใกล้ ๆ) สื่อในเมืองไทยกำลังอยู่ในลักษณะภะว้า ภวังค์ และในปัจจุบันสื่อไทยส่วนใหญ่ชอบขายเรื่อง Politic ,Sex, Crime เป็นหลัก

4. Finance Public มีเจ้ามืออยู่แล้วคือ Governmentดังนั้น Alternative Finance Source คือการกู้เงินโดยไม่มีอะไรค้ำ วิธีง่ายที่สุดคือการเข้าตลาดหลักทรัพย์แต่ต้องเข้าให้เป็น ถ้าเข้าไม่เป็นก็จะขาดทุนได้ ต้องดูให้ดี ต้องรู้ Personal Financeต้องมีแหล่งเงินนอกงบประมาณ

5. NGOs - เป็นสัญลักษณ์ประชาธิปไตย ถ้า EGAT มี NGOs เยอะ จะทำให้ Finance Public ในข้อ 4 ถูก เนื่องจากเป็นเสมือนกลุ่มที่คอยตรวจสอบ EGAT อยู่แล้ว ถ้าไม่อยากมี NGOs ต้องเปลี่ยน Passive Citizen เป็น Active Citizen

6. PEERS – คู่แข่งจากรัฐวิสาหกิจด้วยกัน มี Choice เพื่อนท่านก็คือคู่แข่งท่าน

7. Internal Public – คือคนในอย่างเช่น ถ้ามีบอร์ด 2 คนเป็นสหภาพจะเป็นอย่างไร

ตัวแทนภาพลักษณ์ 5 ประการ

1. ชื่อ เช่น EGAT , SCG หมายความว่าอย่างไร

2. ตราสัญลักษณ์ (Logo)ใช้แทนชื่อ สัญลักษณ์ที่ดีที่สุดคือ Touch Screen ของ Steve Jobปัจจุบันมีการเรียนเรื่องการออกแบบที่ Universal Design ที่สอนการออกแบบโลโก้ ต้องคำนึงถึงคนพิการด้วยให้สามารถอ่านออกด้วย

3. Mascot สัตว์นำโชค อย่างเช่นฟุตบอลบราซิล ใช้สัญลักษณ์ตัวกินมด

4. Slogan คำขวัญ เช่น กฟผ. บอกว่า “กฟผ.คืนความสุขสู่สังคมไทย” จะทำอย่างไร

5. Image ภาพลักษณ์ หรือ Identity

Trusted Brand = Credit (พึ่งได้) + Reliability (วางใจได้) + Intimacy (ความใกล้ชิด)

Self Interest (ผลประโยชน์ส่วนตัว)

Steps ในการสร้าง Corporate Image ตามแนว AIDAS

1. Awareness เป็นการแสดงให้รู้ว่ามีตัวตน ทำให้คน 6,000 ล้านคน มี Potential Link ถึงกันได้ เช่น Facebook Youtube(ให้ลอง Search googleไปที่ Khan Academy)

2. Interesting ทำให้น่าสนใจ EGAT มีอะไร Interesting บ้างเช่นเปิดให้คนศึกษาดูงานเรื่อง Green ต้องสร้าง Interesting ของ EGAT ให้ได้

3. Design ทำอย่างไรให้คนอยากเข้าไปสัมผัส หรือรู้จัก

4. Action ต้อง Take risk

5. Satisfaction พอใจและประทับใจ เป็น Capture Audienceต้องไปดูว่าทำอย่างไร

PEST (สิ่งรบกวน) แผนดี ๆ จะถูกสิ่งแวดล้อมรบกวน

P= Politicเปรียบเสมือน Climate ประเด็นคือต้องรู้เกมส์ที่เล่นเป็น Power game เป็นการจัดสรรอำนาจ Digital Devide

อย่างภาพสังคมที่เจริญแบบไทย Smart Phone ที่จะเช็คราคาผลผลิตเป็นเท่าไหร่สามารถเช็คได้

ไทยเป็น Second World เป็นสังคมอยู่ตรงกลาง ระหว่าง First Worldand Third World

E= Economic เปรียบเสมือนผืนน้ำ

S=Social เป็นพหุวัฒนธรรม คือ Social ดีจะเสมือนคนที่ทำบุญตลอด เช่น เลี้ยงข้าวเด็กตลอด ทำบุญตลอด

แต่ก่อนเป็น Cheap laborไม่ช้าก็จะเป็น Professional

T= Technology ไทยเป็นผู้เสพ ไม่ใช่ผู้สร้าง

International Law คนไทยไม่ค่อยรู้ เช่น RFID เป็นสติ๊กเกอร์ ที่สามารถติดแล้วตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ไม่จำเป็นต้องมี Stock ทุก Stock จะอยู่ที่ร้านค้าหมดแต่เพิ่มราคาสินค้าต่อหน่วยขึ้นเป็นชิ้นละ 2 บาท เป็นต้น

Fast Trackไม่เกิน 5 ชิ้น ใช้ Fast Track

เทคโนโลยีไทยมี 2-3 อย่างที่อยากรู้มาก มี Competitive Use Technology อย่างเสา ในอนาคตเสียบปลั๊ก เป็น Carry Digital

สายที่ตรงที่สุดในการสร้างรถไฟความเร็วสูง ต้องดัดแปลง Cost บาง Cost ในการทำ New Contract

Technology Carrier เป็นสินทรัพย์ที่ให้มา

สิ่งแวดล้อมที่ Grow สู่สังคม Economy

Asean เราเป็น Borderless ในยามเดือดร้อนเราต้องมี Trusted Follower

สิ่งสำคัญ คือ

- เรื่อง Image กับ Trust

- สิ่งที่ HR ไม่ใช่ Just HR แต่หมายถึง Breath or Break Destination

- เราต้องใช้วิธี Think Togetherไม่ใช่เป็น Anything Surprising

- การ Copy ทุกอย่างก็สำคัญ ดูตัวอย่างที่สิงคโปร์ มี Beach มี 5-7 Beach ของโลก มีการจัดเทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น

- EGAT จะช่วยนำทางออกให้อาเซียนได้ เช่นช่วยลาวได้จริงๆ

- ต้องจีบ EGATเป็น Power line ให้ได้

- ต้องแยกให้ออกระหว่าง Reality กับ Virtual

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงานวิชาการ Chira Academy

กฟผ...ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยในมุมมองของข้าพเจ้า

โดย ดร.สมเกียรติอ่อนวิมล

วันที่ 11 มิถุนายน 2557

ณ ศูนย์ฝึกอบรม บางปะกง

ประสบการณ์ด้านไฟฟ้า

ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นคนสุพรรณ เกิดมาตั้งแต่ที่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่ก่อนที่บ้านฐานะร่ำรวย ทำร้านถ่ายรูป แม้ในยุคนั้นไม่มีไฟฟ้าแต่ก็ยังถ่ายรูปได้ต่อมาที่บ้านล้มละลาย ก็เลยหาบขนมขาย ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีเงินเดินสาย ถ้าอยากดูทีวีก็จะไปดูที่ตลาด
ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านคนมีเงิน ทีวีเครื่องแรกที่เข้ามาที่ตลาดเป็นโรงสี ต่อมาที่บ้านมีเดินสายเข้ามามีไฟนีออนใช้ได้ไม่นานแม่ก็เสีย

ที่แม่น้ำท่าจีน ตลาดสามชุก คนไม่มีเงินใช้ ไม่มีไฟฟ้า จะใช้ตะเกียงเจ้าพายุ ถ้ากำลังแรงมากจะเสมือนเป็นการแสดงสถานภาพทางสังคม ฐานะดีก็ใช้ตะเกียงน้ำมันเจ้าพายุ จึงคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านี้ดี เทคโนโลยีพลังงาน ถ่ายทอดคล้าย GlobalizeTechnology ตัวอย่างเช่น เขื่อนยันฮีแล้วไปดูทีวี ที่ร้านอาหารของเขื่อน

มุมมองทางด้านเขื่อน

ในแง่มุมของเขื่อนมีทั้งบวกและลบมีการทำข่าวเขื่อนได้เห็นสารพัดข่าวเขื่อน เคยไปตระเวนที่เขื่อนปากมูล ได้คุยกับหลายตำบลหมู่บ้าน ดูพื้นที่นา ที่น้ำ พบว่าประตูน้ำถ้าปล่อยทั้ง 8 ประตูน้ำจะเข้านาไม่ได้เชื่อว่าปลาจะตาย และบางครั้งจะเจอผู้ชุมนุมประท้วงที่มาจากลาวก็มี

การทำข่าวของดร.สมเกียรติช่วยให้เห็นมุมมองมากขึ้นการปลูกสวนป่ากิตติโดยคุณกิตติ ดำเนินชาญวนิชย์ที่บริษัทเกษตรรุ่งเรืองผลหรือ Advanced Agroซึ่งสมัยนั้นดร.โกร่งเป็นที่ปรึกษาอยู่ที่นี่แต่ก่อนไม่มีหน่วยงานประชาสัมพันธ์ แต่ตอนหลังจากที่แนะนำจึงมีการทำประชาสัมพันธ์ขึ้น นับว่าเป็นเรื่องที่ดี

นอกจากนั้น ดร.สมเกียรติยังได้ทำสารคดีป่าทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการทำข่าวไอทีวี แต่ตอนหลังลาออก

วิกฤติการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

ช่วงที่ กฟผ.เกิดวิกฤตหนัก และรัฐบาลจะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ช่วงนั้นเป็นเรื่องฮือฮามากตอนนั้นดร.สมเกียรติย้ายมาผลิตรายการโลกยามเช้า วันเสาร์จะคิดงานที่ได้ทำเองบ้าง คิดโลกหนังสือยามเช้า ทุกวันเสาร์จะ Review หนังสือภาษาอังกฤษ 1 เล่ม คนดูชอบหรือไม่ ไม่เป็นไร เพียงแค่แนะนำให้เขาอ่านต่อดร.สมเกียรติ ได้Review หนังสือมาแล้ว 200 เล่ม

เศรษฐกิจ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และโลกาภิวัตน์

ยกตัวอย่างหนังสือ Joseph Stiglitz ยกตัวอย่างที่รัสเซียว่าถ้าไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐที่คอรัปชั่นจะตอดเล็ก ตอดน้อยไปเรื่อย ๆ จึงควรมีวิธีการหางานเชื่อมโยงทำ

แต่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ถ้าแปรครั้งเดียวก็อาจเป็นไปได้ว่านักการเมืองเอาไปหมดเลยดังนั้นก่อนจะแปรรูปจึงต้องเช็คข้อมูลดี ๆเสียก่อน

ทุกรัฐวิสาหกิจที่ไปเยือนถือว่าใช้ได้เลย เช่น สหภาพแรงงาน

กรณีการยึดอำนาจจากทหาร มีผลทางความคิด ทำให้โอกาสรู้แพ้รู้ชนะขาดไปครั้งหนึ่งเมื่อยึดอำนาจแล้วอยากจะขอให้อยู่นาน ๆ เพื่อเคลียพื้นที่ ทิ้งโครงสร้างพื้นฐานให้เรียบร้อย สร้างพื้นฐานทางจิตใจ และถ้ารัฐวิสาหกิจเป็นกำลังปกป้องทรัพย์สมบัติของชาติ จะถือเป็นแกนหลัก

กรณีเขื่อนภูมิพลที่สร้างช่วงแรก ๆเมื่อเกิดมาแล้ว น้ำท่วมมีทีมประดาน้ำอยู่ข้างล่าง

มีการวางแผนจากภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งได้ผ่านการจดสิทธิบัตร

ตัวอย่าง เวียงสร้อยศรีสุข เป็นจุดยืนยันทางประวัติศาสตร์ของลุ่มแม่น้ำปิงคือจุดอารยธรรมอันล้ำค่ามีการกำหนดจุดค้นหา เนื่องจากเป็นรากฐานของโบสถ์ วิหารที่ถูกทำลายหลายแห่ง และถ้าหากเวียงสร้อยศรีสุขมีอยู่จริง จึงเชื่อว่ามีโบราณสถานจมอยู่มาก มีข้อสันนิษฐานว่าเวียงสร้อยศรีสุขมีอายุ 700 –1,000 ปี เท่าๆกับเมืองหริภุญไชย

กฟผ. ต้องลงไปสำรวจกับพวกเรา และต้องช่วยทำนุบำรุง กฟผ.ยังคงเหมือนภาคเอกชนหลายแห่งที่ต้องทำตามโปรเจคตัวเอง

การใช้ไฟของดร.สมเกียรติที่โคราช

แต่ก่อนนั้นดร.สมเกียรติเป็นคนใช้ไฟฟุ่มเฟือยเหมือนคนทั่วไป แต่เมื่อกลับมาสู่วัยชรา เริ่มไม่ค่อยใช้ไฟเหมือนแต่ก่อน แต่ก็ยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ ประเด็นของไฟฟ้าคือ ที่นั่นไม่จำเป็นต้องใช้ไฟอะไรนักหนาเพียงแค่จุดเทียนก็สามารถอยู่ได้ เวลาเขียนหนังสือลง Website เดลินิวส์ มีเพียง MacBook ตัวเดียวก็พอ

ดังนั้นการที่พูดว่าให้คนประหยัดไฟ จึงไม่เป็นผลเสียต่อกฟผ.

และคิดว่าอีก 10 ปีข้างหน้า การผลิตไฟฟ้าจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเท่ากับ 100 ปีที่ผ่านมา

มีเขื่อนแล้วดีหรือไม่

การสร้างเขื่อนนั้นต้องมองหลายด้าน ต้องเป็นเรื่องที่ต้องอธิบายว่าตรงไหนเหมาะหรือไม่ ที่สร้างแล้วก็ต้องพิสูจน์ ถ้ามีปัญหาก็ต้องหาทางแก้อีกที

ที่อเมริกา มีการสร้างเขื่อนที่อุทยานเซมิสตรี้ ความจริงนั้นไม่ให้สร้างเขื่อนแต่สร้างอุทยานแห่งชาติ จึงให้ไปสร้างเขื่อน H H Dam ที่อุทยานแห่งขาติ Your Semisty

ความล้มเหลวของ John Muiy คือคิดว่าสร้างเขื่อนที่อุทยานจะล้มเหลว จึงมีการ Lobby รัฐบาลกลาง

พบว่าเมื่อเช็คเรื่องความจำเป็นในการสร้างเขื่อนพบว่า ไม่จำเป็นต้องสร้าง เนื่องจากมีแหล่งน้ำเยอะ ที่เข้าไปช่วยส่งน้ำดั้งนั้น ถ้าการสร้างเขื่อนมีความเหมาะสมก็สามารถยืดหยุ่นและพอรับได้

นิตยสาร Business Week

ได้กล่าวว่าบริษัทไฟฟ้าพันธุ์ใหม่กำลังเกิดในอเมริกา มีการขายไฟให้กับ กฟผ. โดยไม่จำเป็นต้องทำเขื่อน ไม่ต้องทำถ่านหิน ทะลุมิเตอร์ขายไฟให้บ้านคนโดยไม่บอกบริษัทไฟฟ้า รู้ว่าชีวิตนี้จบที่มิเตอร์โลกกำลังเปลี่ยนแปลง

10 ปีข้างหน้า โลกที่ผลิตไฟฟ้าขายจะเปลี่ยนแปลงมากกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่นการหากินพลังงานผ่านมือถือ เช่น Smart home ,Thermostat ขายพลังงานไฟฟ้าโดยซอฟท์แวร์ ซึ่งต้องมีงานวิจัยขายไฟฟ้าได้มากกว่าแบบอื่น

บริษัท Vivintมีระบบความปลอดภัยของบ้าน ครัวเรือน ซื้อไฟจากแผงโซล่าเซลล์ แผงผลิตไฟได้เท่าไหร่ใช้เท่าที่ใช้ได้ไฟจากโซลาเซลล์ก็กลับมาสู่กฟผ. โดยไม่ต้องใช้มิเตอร์ ซึ่งพบว่าลูกค้าเหล่านี้ได้แผงโซล่าเซลล์ฟรี ถ้าใครลดการใช้ไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ที่ติดให้ บริษัทไฟฟ้าใหญ่จะปลอดภัย โดยไฟไม่ตกการขายไฟคือทำให้ลดค่าใช้ไฟน้อยลง มีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดได้เงินจากค่าไฟ Software ดังนั้น กฟผ.น่าจะผลิตที่เกี่ยวกับ Software สอนให้คนไม่ใช้ไฟมากขึ้น ไม่ใช่แค่ผลิตไฟฟ้าแล้วให้สว่างและเกิดพลังงานเท่านั้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น

1. เรื่อง NGOs ระยะสั้นก็ยังเป็นปัญหาอยู่ถ้าอาจารย์จะแนะนำผู้นำในห้องนี้ การสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม จึงอยากฟังความคิดเห็นว่าถ้าจะแนะนำให้บริหารจัดการ NGOs หรือชุมชนจะแนะนำอะไรบ้าง

คำตอบ

บทเรียนที่ได้มาจากการประชาสัมพันธ์เราต้อง Involve ชุมชน ต้องให้ความรู้ ให้ความคิด ไม่มีทัศนะเชิงลบกับ NGOs แต่ต้องให้ประชาชนและชุมชนเข้าใจ ตัวอย่างเช่นแม่เมาะ ชุมชนต้องรับรู้เรื่องราว ต้องเคลียร์ ต้องโปร่งใสให้ความรู้สื่อมวลชนอย่างชัดเจน และแท้จริง เป็นการสื่อสารของประชาสัมพันธ์

ชุมชนต้องอยู่ร่วมกันด้วยเหตุผล ตัวอย่างที่เหมืองแทนทาลัมภูเก็ต เขาไม่ทันได้อธิบายชุมชนให้เข้าใจเป็นบทเรียนที่ต้อง Inform ตลอด ข้อมูลความจริงต้องจริงใจ

อย่างเช่น พลังงานนิวเคลียร์กำลังเปิดแห่งแรก ควรมีจรรยาบรรณ และการประชาสัมพันธ์ในกรอบ การผลิตหลอดสี Warm Light เป็นลวดทองแดง ปรับส่องประกายเป็นแสง

2. บทบาทของสื่อมวลชนภาพลักษณ์ของกฟผ.ที่ดร.สมเกียรติเห็นจริง ๆ เป็นอย่างไร บทบาทของสื่อมวลชนที่มองแล้วไปสื่อสารต่อคิดว่าเป็นอย่างไร

คำตอบ

กฟผ.ต่างไปจากรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ เพราะเป็นองค์กรที่ผูกกับชีวิตประชาชนแบบถอนตัวไม่ขึ้น ดังนั้นกฟผ.จึงเกรงใจกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ฟันธงโผงผางให้เกิดปัญหา

ตัวอย่างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เยอรมันก็เลิกแล้ว มาเจอกรณีสึนามิที่ญี่ปุ่นอีก กฟผ.จึงกล้า ๆ กลัว ๆ อยู่ เป็นลักษณะยอมรับความคิดเห็นจากประชาชน โดยไม่ขัดแย้งแบบชนไม่ยอมถอย ไม่ตกเป็นเครื่องมือธุรกิจ หรือเย็บเล่ม

ในส่วนตัวคิดว่าไม่จำเป็น ควรให้กฟผ.ขยายปีกและดูแลทั้งหมด

ตัวอย่าง กฟผ.ผลิตพลังงานแกลบในสุพรรณ ช่วงแรกมีแรงต่อต้านจากประชาชนจำนวนหนึ่ง แล้วมารับฟังและบอกชาวบ้านว่าน้ำสำคัญต่อนา ถ้าทำการไฟฟ้าเอาน้ำไปแล้วจะเหลือน้ำทำนาหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามอบต.ขายที่ให้กับโรงไฟฟ้าแกลบเพราะได้เงิน แต่ถึงเวลาจริง ๆ คิดแล้วกฟผ.เลือกที่จะไม่ทำ ดังนั้นถ้าเรื่องเหล่านี้รัฐบาลร่วมมือกับกฟผ.ไม่ให้เอกชนมายุ่งจะช่วยดูแลเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน เศรษฐกิจ สังคม ได้

กฟผ.ต้องเป็นอนุรักษ์นิยม ไม่ซ้ายจัด ขวาจัด กฟผ.เป็นของประชาชนไม่สามารถขายได้ อาจลองตั้ง Unit Research เป็นเทคโนโลยีใหม่ได้ อาจมี Unit ที่อยู่

3. ในฐานะสื่อมวลชน เวลาที่กฟผ. ชูประเด็นว่าผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย คิดว่าเป็นอย่างไร และตอบโจทย์ได้มากน้อยแค่ไหน ไฟฟ้าต้องการสื่อสารกับสังคม และไฟฟ้าให้อะไรกับสังคม จึงพยายามเปิดตัวตรงนี้

คำตอบ

ดร.สมเกียรติไม่รู้ Campaign แบบนี้ อยากให้กฟผ.ลองกลับไปคิดว่าทำไมถึงไม่รู้ หมายถึงสื่อที่ออก Campaign มาตรงกลุ่มเป้าหมายหรือประชาชนทั่วไปรับทราบหรือไม่

Campaign สามารถนำมาใช้ในสื่อดิจิตอลได้เยอะมาก แต่กลับใช้เงินหลายล้านบาททางสื่อทีวีแต่พบว่ามีหลายคนไม่รู้ Campaign ของกฟผ. จึงขอถามว่าเลือกสื่อถูกหรือไม่ ทุ่มค่าสปอตแล้วสลายไปกับสายลม จึงควรถามว่าสื่อที่ทำตรงจุดและคุ้มหรือไม่

การวางสปอตหรือประชาสัมพันธ์ ทีวีธรรมดาแพงเกินไปสปอตคนดูแล้วได้ดูไปออกรายการไหน แล้วสปอตจะแทรกไปตรงนั้น เป็น Event ที่เกิดขึ้นทุกสัปดาห์แล้วเฝ้าดู

4.สมัยก่อนเรื่องการหาข่าวไม่ทันสมัยเท่าในปัจจุบัน ณ ตอนเวลานั้น เวลาจำกัด เราจะเตรียมความพร้อมในสิ่งที่ไม่มีความคุ้นเคยตั้งแต่ต้นจะทำอย่างไร

คำตอบ

ส่วนใหญ่พบว่าสื่อมวลชนไทยไม่มีความเป็น Professional ไม่มีนักคิด นักอ่าน เราจะได้สื่อมวลชนที่ไม่เป็นนักคิด นักอ่าน นักวิเคราะห์ มืออาชีพ เราจะได้เด็ก ๆ กลุ่มที่เกิดในช่วงเวลานั้น

วิธีการที่ใช้อยู่คือจะให้เวลาทุกคน นั่งคิด ค้น อ่านมีหน่วยวิชาการข้อมูล โทรเช็คอ่านเพิ่มเติม ลงไปอ่าน ค้นคว้า หาข้อมูล ต้องให้เวลา ใช้เวลา อย่างข่าวต้องไปเช้า เย็นได้ ทีม Support ข้อมูลต้องแข็ง สรุปคือต้องให้เวลาในการศึกษาข่าว

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงานวิชาการ Chira Academy

กฟผ.กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

โดย อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

คุณสุทธิเดชสุทธิสมณ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 12 มิถุนายน 2557

ณ ศูนย์ฝึกอบรม บางปะกง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.จีระ บอกว่า Capability กับ Acceptability อาจไม่ไปด้วยกัน คนในห้องนี้ต้องเรียนรู้จากความล้มเหลว และความเจ็บปวด ด้วย

อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

ก่อนอื่นต้องเริ่มก่อนว่าเราต้องการองค์กรแบบไหนในสมัยนี้ โลกวันนี้เปลี่ยนไปจากเดิมเยอะในบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ความรู้ต่าง ๆ ไม่อยู่กับที่ องค์กรไม่ควรใช้ความรู้แบบดั้งเดิม

ปัญหาเวลานี้ใช้วิธีการแก้แบบเดิม ๆ ไม่ได้แล้ว ในชีวิตเห็นการเปลี่ยนแปลง ของประเทศจากยุคเกษตรมาสู่ยุคอุตสาหกรรมและยุคดิจิตอล เราจะเห็นว่าปัจจุบันอีก 10 ปีข้างหน้า 5,000 ล้านคน พลเมืองโลกจะเชื่อมโยงด้วยข้อมูลข่าวสาร และจะเห็นอะไรที่แปลกกว่านี้ ดังนั้นองค์กรที่ใช้ความรู้แบบดั้งเดิมจะตามไม่ทัน ดังนั้นจึงควรมีองค์กรที่ปรับตัวและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา

ใครสร้างความพอใจต่อลูกค้า Innovate ได้เร็วกว่าคนนั้นชนะ เราจำเป็นต้องมีองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ต้องสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เข้ามา

Individual ต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น

การเปลี่ยนแปลงโลกปัจจุบัน เปลี่ยนไว เร็ว และรุนแรง ต้องตอบได้ว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้คืออะไร

สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้

ความรู้สมัยก่อนอยู่ที่สภาพัฒน์ กรมวิเทศ ความรู้รวมยอดอยู่บนสามเหลี่ยม เป็นลักษณะHierarchy แต่ทำไมคนข้างล่างไม่รู้ เพราะว่าความรู้อยู่แต่ข้างบน ความรู้ไม่เปลี่ยน

การติดต่อกับต่างประเทศต้องใช้เรือบินยุค Analog ความรู้ไม่ได้ถ่ายทอดอย่างรวดเร็ว ผู้ที่จำคำสั่งสอนได้ จะประสบความสำเร็จในชีวิตรู้กฎ รู้ระเบียบไม่มีระเบียบก็กำหนดระเบียบทำตามระเบียบ เป็นการทำตาม Standardization ทุกอย่างแบบเดียวกันหมด แต่เมื่อหมดสมัยการสะสมความรู้อยู่ยอดสามเหลี่ยม ตอนนี้ ข้อมูล อยู่ในพื้นที่ ในสนาม ถ้าเจ้านายไม่ติดตามจะตามไม่ทัน

ความรู้ถึงตัว แนวคิดใหม่ในการจัดองค์กร การพูดถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตัวท่านเอง ผู้นำองค์กรต้องตระหนักข้อนี้ให้มาก แทนที่จะนำวิชาเป็นศูนย์กลางต้องนำมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ Simple คนต้องให้ความสำคัญต่อสิ่งที่เรียกว่ามนุษย์ เชื่อในความเป็นมนุษย์ของคนอื่น หรือที่เรียกว่า Respect มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพเท่ากัน และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่มองว่ามนุษย์ทุกคนไม่เท่ากันความคิดในการเป็นมนุษย์เท่ากัน เราต้องเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในการพัฒนาตัวเขาเอง เรียกว่าให้ Empowerment

ระบบการสอน หรือการรวมอำนาจพัฒนาศักยภาพได้แค่ 10 % .ในวันนี้คนไทย 67 ล้านคน ถ้าถ่ายทอดมนุษย์อยู่ที่ 90% ประเด็นคือการพัฒนาศักยภาพการศึกษา ถ้าปฏิรูปได้จริง เน้นการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยกัน

1. ต้องพัฒนาศักยภาพทุกคน ต้องมีทัศนคติว่ามนุษย์คือศูนย์กลาง เคารพความคิดเห็นของคนในองค์กรอย่างเต็มที่

2. ความคิดอย่างเป็นระบบ เรื่องนี้สำคัญมาก สังคมไทยทุกวันนี้เป็นปัญหามาก ประชาธิปไตยไม่ใช่ความถูกต้องทั้งหมด ถ้ากรอบความคิด วิธีคิดไม่ถูกต้อง ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการเปรียบกรอบคิดในเชิงระบบ การสร้างองค์กรการเรียนรู้จะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีการสร้างความคิดเป็นระบบเกิดขึ้น ถ้าเอามนุษย์เป็นตัวตั้งแล้วสร้างความคิดในเชิงระบบนั้นจะสำคัญยิ่ง

การไม่เปลี่ยนกรอบคิด หรือเรียกว่า Paradigm คือ Attitude ในการมองโลก เรียกว่า Snap shot การมองโลกแบบแยกส่วนเป็นชิ้น ๆ วิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ วิธีคิดแบบนี้เหมาะกับโลกยุคอุตสาหกรรม เป็นการชำแหละเป็นชิ้น ๆ แล้วมองว่าปัญหาอยู่ตรงไหนแล้วแก้ตรงนั้น มองเป็น Snap shot เป็นลักษณะการใช้อำนาจไปแก้ปัญหา มองเห็นอะไรไม่ชอบใจก็แก้ตรงนั้น

โลกสมัยใหม่ เป็นการคิดเชิงระบบ คือการมองแบบเชิงธรรมมะ คือการเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันในปัจจัยทุกอย่าง เป็นการมองแบบ Dynamic สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ในการมองแบบพลวัตมาก

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรของเรา จำเป็นต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในองค์กรสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวย

จัดให้มีวิทยากรกระบวนการมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นทีม เป็น Team Learning ด้วยกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ละคน แล้วส่งเสริมความคิดเห็นด้วยกัน

หัวใจสำคัญคือเรื่อง Culture ต้องเปลี่ยนวิธีคิดจากการถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นและกำกับเปลี่ยนเป็นการ Empowerment และเมื่อเปลี่ยนกรอบคิดได้ต้องทำตัวเป็น Facilitator ได้ มีระบบ Formal และ Informal

ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องสามารถ Facilitate กระบวนการเปลี่ยนแปลงได้ ให้ทัศนคติเกิดการสนทนากัน ต้องอำนวยความสะดวกให้พูด และให้เกิดการสนทนาที่ดี ไม่ชี้ถูกผิด ดังนั้นการเรียนรู้เป็นกลุ่มจึงสำคัญ ต้องเรียนรู้ในลักษณะอำนวยได้การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเป็นวิชาการ แต่ให้เป็นจิตวิญญาณของการเรียนรู้ควรเรียนแบบ Team Learning และมี Case มาแชร์กันให้เกิด Share Vision กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยกัน

เทคนิคในการระดมสมองต้องพยายาม มีการเอาประเด็นมาเชื่อมโยงกัน การเรียนรู้อย่างเดียวไม่พอ การเป็นผู้บริหารอุปสรรคการเรียนรู้คือการลงโทษ เราอย่าลงโทษการกระทำที่เกิดจากความคิดริเริ่ม ไม่ใช่ไปลงโทษ ต้องมีการ Reward องค์กรที่สร้างสรรค์ ความล้มเหลวคือบทเรียน ในระดับองค์กร จะเรียนรู้น้อย ถ้า Outsource เยอะ ต้อง Balance ให้ดี การ Outsource ต้องเป็นแบบ Specialize จริง ๆ ต้องสร้างความเป็น Ownership ของ Project อะไรที่จำเป็น สร้างพลังให้แก่องค์กร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. เป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้

2. ฟังลูกน้องบ้าง

3. Reward บ้าง เปิดโอกาสให้เขาแสดง

องค์กรอยู่ที่คน KM เป็นการเก็บข้อมูล เป็นการให้วัฒนธรรมการเรียนรู้ วัฒนธรรมการเรียนรู้ต้องคิดเป็นและวิเคราะห์เป็น Left Brain ต้องมาก่อน Right Brain แล้วไปบวกกับ Future ศึกษาความเป็นไปได้

Who own the future เป็นการพึ่งตนเอง ไม่ได้พึ่งคนอื่นดังนั้น We own the future ขึ้นอยู่กับพวกเรา

Learn-Share-Care สำคัญที่สุดต้องยอมรับความแตกต่างซึ่งกันและกัน

คุณสุทธิเดชสุทธิสมณ์

Regulator คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน Energy Regulatory Commission (ERC) จ้างที่ปรึกษา โครงสร้างอย่างไรถึงเหมาะสม แต่ปรากฎว่าผลสรุปมาว่าค่าไฟปัจจุบันเหมาะสมแล้ว

Five Disciplineเป็นผู้ฟังบ้าง ยอมรับบ้าน คือ Model คิดให้ครบระบบ ให้มองเห็นทุกภาคส่วน นอกจากนั้นเป็นเรื่อง Personal Mastery คือทำตัวให้เก่ง

ชื่อ Learning Organization องค์กรแห่งการเรียนรู้คำว่าองค์กรหมายถึงการเรียกหน่วยงานทั่วไป คำว่าองค์การหมายถึงการเรียกเฉพาะตัวนั้น เช่นองค์การการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ในตำราบางเล่มยกตัวอย่างว่า กฟผ. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

การเอาสายไฟฟ้าในชุมชนทั่วประเทศ มีปริมาณงาน 20,000 กม. เป็นชุมชน มีการมองไกล มีทิศทางที่ทำเป็นการลงทุนทางด้านโครงสร้างภายใน สภาพัฒน์อนุมัติให้ ครม.เห็นชอบ

การลงทุนไม่มีการขาดทุน

การเรีนรู้ร่วมกัน ให้เกิด Share vision

วิธีการ

LOA – Learning Organization Awareness ต้องให้พนักงานเรียนด้วยกัน คิดและวิเคราะห์ร่วมกัน เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำเร็จได้ต้องมีผู้นำ

1. ต้องประกาศเจตนารมณ์

2. ต้องมีทรัพยากรที่พร้อม

3. พนักงานต้องมีจิตใจร่วมกันเรียนรู้ขับเคลื่อนองค์กร

4. มีเวทีมาแสดง

โดยมีอาจารย์จีระเป็นหลักใหญ่ ใช้วิธีดึงให้พนักงานมีการสัมมนาส่วนหนึ่งและดูงานส่วนหนึ่ง ให้ศึกษาดูงานในประเทศ มี Choice ให้เลือก เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ภูเก็ต ก็ไปตามนั้น ผู้บริหารมีแนวคิดชัดเจน

รูปแบบการสร้างให้เกิดการเรียนรู้ Step ที่คิดไว้ เริ่มต้นจาก

1. สร้าง Awareness

2. Knowledge Audit

3. Knowledge Prestige คือการวิพากษ์ความรู้ เวลาเข้ากลุ่มให้เลือกว่าทำอย่างไร

เมื่อเข้ากลุ่ม 80 คนให้เลือกประธาน รองประธาน กรรมการ ส่วนที่เหลือให้มีผู้แทนกลุ่มย่อย มีตัวที่เป็นประธาน รองประธาน หัวหน้ากลุ่มย่อย เลือกกันเองได้ 13 คน * 250 คน ได้ 3,250 คน แล้วเลือกประธานอีก เรียกว่าเป็น Multi levelเป็น Session Plan ในอัตโนมัติ

ทำให้โครงสร้างตาม Vertical ได้ผลดีขึ้น 19,000 คนเป็นหัวหน้าแผนก

เวลาสื่อสารให้สื่อสารไปที่ประธานแต่ละกลุ่ม แล้วการ Flow จะเร็วมากการสื่อไปที่ระดับฝ่ายจนถึงเบอร์ 2

ทุกคนเข้ากระบวนการในการทำ Knowledge Audit และ KnowledgePrestige มีการเชื่อมโยงตลอดเวลา และทุกเวลา มีการเรียนรู้ แบ่งปัน เรียนเป็นทีม

การขึ้นเป็นผู้ว่าฯ ในอนาคตให้เป็นสังคมการเรียนรู้ แบบ กฟผ. นั้นจำเป็น

ร่วมแสดงความคิดเห็น

1. จะมีวิธีการกระตุ้นให้เกิด KM อย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

KM มันเป็นเทคนิคขึ้นอยู่กับ LC – Learning Culture อย่าลืมว่ามีส่วนหนึ่งสะสมไว้ที่กฟผ. แล้ว แต่ถ้ามองไม่เป็นอาจทำกิจกรรมแบบเดิม

KM คือการเก็บข้อมูลความรู้ในองค์กรเรียกว่า Explicit แต่อย่าลืมว่าเรามี Tacit อยู่แล้ว เอาความรู้ใหม่ไปผสมกับการเรียนรู้ในอนาคต

ใช้ประโยชน์จาก KM ให้มากขึ้น แล้วกระเด้งไปที่การใฝ่รู้

KM เป็นส่วนหนึ่งของ LO แต่จะเป็น LO ได้ต้องมี LC วัฒนธรรมการเรียนรู้ ไม่ได้เรียนเพื่อสอบต้องเป็นคนอยากรู้ อยากเห็น และหิวความรู้ใหม่ ๆ

คุณสุทธิเดชสุทธิสมณ์

คิดหลักสูตรภาษาอังกฤษ เรียนคนละชั่วโมง วันเว้นวัน และด้วยเครื่องมือ 15 ชุด รุ่นหนึ่งได้คน 80 คน และเรียนในระบบ E-Learning มีการทดสอบ ความรู้ในตัว ได้ผลดี

2. เมื่อเข้าไปองค์กรไหน อาจารย์มีจุดสังเกตอย่างไรว่าเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

การสนับสนุนการคิดนอกกรอบ แต่มองว่าแต่ก่อนวิเคราะห์เป็นส่วน ๆ แต่ไม่เข้าใจการเชื่อมโยง ต่อมาต้องออกมานอกกรอบ เป็นการคิดเชื่อมโยง

ความคิดทั้งหมด ถ้าพูดถึงองค์กรอย่าลืม Bottom Line ขององค์กร ว่าอยู่ไปเพื่อทำอะไร เราทุกคนอยู่ในองค์กร ต้องการความอยู่ดีมีสุข ต้องอยู่เพื่อ Customer Satisfaction

การทำให้ลูกค้าพอใจโลกเปลี่ยนทุกวัน ความรู้ ไม่ว่าจะเป็น Tacit Knowledge ต้องทำให้ลูกค้าพอใจ คิดแบบ Dynamic ไม่ใช่ Statistics ความรู้ต้องไปสู่ Bottom Line

การจัดองค์กรการเรียนรู้ต้องบรรลุเป้าหมายในอนาคต อย่าลืมว่า Bottom Line ไปไหนเพื่ออะไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Knowledge + Learning ไปสู่ Creativity Innovation

องค์กรแห่งการเรียนรู้ต้องมีเหตุมีผล องค์กรการเรียนรู้ ไม่ได้มาจากปริญญา แต่ต้องมีปัญญา

อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

ความรู้มีไว้ใช้ ไม่ใช่มีไว้เก็บ ต้องมีเป้าหมายองค์กร อยากได้กำไรต้องสร้างให้ลูกค้าพอใจต้องเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทันสมัย

การบ้านคุณประเสริฐ

สรุปการเรียนรู้วันที่ 18 มีนาคม 2557

(ช่วงเช้า) ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

เรื่อง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

ในหลวงทรงรับสั่งเมื่อปี 41 โดยให้ดูสาเหตุตั้งแต่ปี 39 และวิกฤตต้มยำกุ้งปี 40

ไม่ยึดติดกับคำว่าเศรษฐกิจ แต่ให้ยึดคำว่า “พอเพียง” การบริโภคที่เกินพอดีของโลก 70% เกินความต้องการในการใช้ทรัพยากรมีครบทุกด้าน แต่ขาดด้านการบริหารจัดการ รักษาความพอดีไม่ต้องถึงกับสุดกู่ ยืดหยุ่นโดยปรับไม่ให้ตึงและหย่อนจนเกินไป

การพัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาที่มความสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทุกมิติ) เพื่อความอยู่ดีมีสุข โดยไม่เน้น Cost benefit แต่เน้น Cost effectiveness

การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ทางสายกลาง คือ พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เงินที่มีอยู่ไม่สำคัญเท่ากับเงินที่ใช้ไป (ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร มีเหตุมีผลหรือไม่) อีกทั้งความต้องการในแต่ละยุคแต่ละวัยไม่เหมือนกันต้องพิจารณษตามเหตุตามผลในแต่ละช่วงเวลา

เพียงพอ - แสดงว่ายังขาดอยู่ จัดหาให้เพียงพอกับความต้องการตามเหตุตามผล

พอเพียง - ใช้เกินความต้องการ ฟุ่มเฟือย ให้ปรับให้สมดุล พอดี หรือปรับ Demand ตาม Supply

(ช่วงบ่าย)

ผู้นำ วัฒนธรรมองกรค์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย ศ.ดร.จีระ, อ.ประกาย, ดร.ศิริลักษณ์, อ.ทำนอง

Focus on “Social Innovation” ตามข้อเสนอของกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่

-Energy Tax กฟผ.ได้รับประโยชน์ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่

-การเจาะลึกและติดตามความต่อเนื่องของชุมชน เนื่องจาก กฟผ.เปลี่ยนแปลงโยกย้ายบุคคลบ่อย

-การเข้าหาชุมชนมีหลายหน่วยงาน (Silo) ต้องทะลาย Silo ก่อน

-การสร้าง กฟผ.ให้เป็นบ้านเดียวกับชุมชน

-โครงการ One manager : One community

-การทำงานร่วมกับชุมชน ต้องใช้ชุมชนเป็นตัวตั้ง

-ปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารโดยเน้นที่กลุ่มเยาวชน

Performance = คน + องค์กร

โดยทุกคนต้องรู้จักที่มาขององค์กรของตนเอง เช่น กฟผ., กฟน., กฟภ. มีจุดเริ่มต้นแตกต่างกันอย่างไร ทำไมวัฒนธรรมองค์กรจึงต่างกัน

อุปสรรคที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง คือ Mindset และทัศนคติ

วัฒนธรรมองค์กร ที่ไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และที่เปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ ความต้องการของชุมชน ลูกค้า เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิด Boundary หรือ Silo ส่วนใหญ่มาจากหัวหน้าสายงาน เช่น การกำหนดกติกา และเงื่อนไขของหน่วยงานเอง กำหนดวิสัยทัศน์เองโดยไม่ยึดวิสัยทัศน์หลักขององค์กร

การเปลี่ยนแปลงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเปลี่ยนเองเริ่มที่ตนเอง กับมีคนสั่งให้เปลี่ยน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างไม่ดีเสมอไปแต่ให้แย่น้อยลง หากสามารถบริหารจัดการได้การเปลี่ยนก็จะไม่เป็นไปตามยถากรรม

การทะลาย Silo ใน กฟผ. เพื่อให้มีแนวคิดและการบริหารงานไปในทิศทางเดียวกัน

กฟผ. มีวัฒนธรรมองค์กร ที่เป็นจุดแข็ง 3 ข้อ

รักองค์การ - มีเป้าหมายเดียวกัน

มุ่งงานเลิศ - รับผิดชอบงานเต็มที่และทำให้ดีที่สุด

เทอดคุณธรรม – มีธรรมาภิบาล

จุดอ่อน / อุปสรรค ก็มีเช่นกัน ได้แก่

-วัฒนธรรมแบ่งย่อยตามวิชาชีพ หรือสายงาน

-ความแตกต่างระหว่างรุ่น

-ขาดการบูรณาการ การสื่อสารซ้ำซ้อน สนใจเฉพาะเรื่องของตนเอง

แนวทางการทำให้งานสำเร็จ

-ต้องสร้างการรับรู้ / บูรณาการงานร่วมกัน โดยมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

-ถ่ายทอด / ปลูกฝังวัฒนธรรมเดิมที่ดี และสร้างวัฒนธรรมใหม่ร่วมกัน

-ปรับให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจุดแข็งของ กฟผ. คือ

-มีการปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

-มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามสายงานในงานวันคุณถาพ กฟผ.ประจำปี

-มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่มาต่อยอดเสมอ

จุดอ่อน / อุปสรรค ได้แก่

-บางสายงานยังมีการปรับตัวช้า มีวิสัยทัศน์ย่อยจนลืมวิสัยทัศน์หลัก

-ต้องใช้เวลาในการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น

-ผู้บริหารบางท่านยังติดค่านิยมและวัฒนธรรมเดิม

แนวทางที่ต้องการให้เกิดความสำเร็จ

-สร้างวัฒนธรรมเข้าไปในทุก Silo ในทิศทาง เป้าหมายและมุมมองเดียวกัน และมีวิสัยทัศน์เดียวกันทั้งองค์กร

-การสื่อสารชัดเจน ทั้งเนื้อหาและช่วงเวลา เนื่องจากมนุษย์ชอบรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ และไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้

-การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ

ช่วงสุดท้าย อ.กิติ แนะนำแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย (ต่อ)

สรุปการเรียนรู้วันที่ 19 มีนาคม 2557

(ช่วงเช้า)

กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปู กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยคุณสมยศ รุจิรวัฒน์

พัฒนาการของบริษัทบ้านปู แบ่งเป็น 5 ระยะด้วยกัน ได้แก่

1.ระยะเริ่มต้น

2.ระยะเติบโต และขยายกิจการไปสู่ธุจกิจพลังงาน

3.ระยะวิกฤตด้านการเงิน

4.ระยะปัจจุบัน

5.การเติบโตในภาคหน้า

การเริ่มต้นธุรกิจอยู่ที่วัสัยทัศน์ของผู้บริหาร ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น

อีกทั้งการนำองค์กรสู่ตลาดหลักทรัพย์ -ทำให้องค์กรโปร่งใส

-มีประสิทธิภาพมากขึ้น

-สามารถเพิ่มทุน/ระดมทุนได้

-เพิ่มศักยภาพของคนได้อย่างต่อเนื่อง

ช่วงวิกฤตของธุรกิจ จำเป็นต้อง Diversity ธุรกิจบางรายการออกไป รวมถึงการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในช่วงวิกฤต

การ Focus ในธุรกิจตนเอง และ Trend ของธุรกิจในอนาคต เพื่อความอยู่รอดต้องพิจารณาหลาย ๆ ปัจจัย

สิ่งที่ธุรกิจต้องมองหรือจัดการให้ Stakeholder พอใจ ได้แก่ กำไร ชุมชน สิ่งแวดล้อม หากเป็นต่างประเทศต้องมองที่ประโยชน์ของประเทศนั้น ๆ ที่จะได้รับด้วย

ความคาดหวังของธุรกิจในต่างประเทศ -ต้องการทำเอง

-เปิดให้ผู้ลงทุน (กรณีทำไม่ได้)

มี Limitation มากขึ้น

มีการควบคุม ภาษี

มี Portion เพิ่มขึ้น ทำให้ Cost สูงขึ้น

มี Public concern มากขึ้น

มีการ Audit ในด้านต่าง ๆ

เกี่ยวข้องกับนักข่าว, NGO, การพัฒนาท้องถิ่น

ดังนั้น คนที่ใส่เข้าไปดูแลโครงการต้องใช่ และต้องมี Sense

(ช่วงบ่าย)

TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ. โดยคุณโชติรส เสวกวัฒนา อ.สัญญา เศรษพิทยากุล และคุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

การบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศของ ปตท. TQA : ได้ทั้งระบบ และ Performance

PTT Group Vision “บริษัทพลังงานไทยข้ามชาติชั้นนำ”

ปตท. เน้นที่การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องมีทั้ง HPO, CG และ CSR

(Sustainable Growth Long Strong Top Quartile Performance)

พัฒนาการด้านการจัดการคุณภาพของ ปตท. ใช้แนวทางของ SPIRIT Spirit : Performance : Innovation : Responsibility : Integrity & Ethics : Trust & Respect

ปรัชญา/วิธีการบริหารของ EGAT/EGAT Way มาจากการนำ TQM และ SEPA มาบูรณาการจนเกิด

ผลงานและนำองค์กรไปสู่องค์กรสมรรถนะสูง หรือ Stakeholder พอใจ เกิดเป็นความสำเร็จและความสุขในการทำงานไม่ใช่สุขจาก Happy Workplace ซึ่งวัฒนธรรมของ EGAT มีความสุขเมื่องานสำเร็จ

สำหรับ SEPA ใช้ประเมินผลรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นความเป็น SILO ใน EGAT จึงเป็นปัญหาในกระบวนการจัดทำ SEPA ที่ทำให้มองไม่เห็นองค์กรในภาพรวม ซึ่ง Business View ของ EGAT จะดูทั้ง 2 ด้าน คือด้าน Demand และ Supply

(ช่วงสุดท้าย)

การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง โดย รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร อ.ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ และศ.ดร.จีระ

ดู Clip ของคุณสุวิทย์ คุณกิตติ

ผลกระทบจากการเมือง ระดับชาติ ระดับประเทศ ระดับชุมชน

การเมืองในอนาคต และการเป็น Partners กับการเมือง รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับ การศึกษาสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน พันธมิตรภายใน-ภายนอกองค์กร และวิธีการดำเนินการต่าง ๆ เช่น Lobbyist, Networking เป็นต้น

Virtual democracy ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม หรือวิธีคิดแบบรวมศูนย์ ต้องเรียนรู้ร่วมกัน คิดแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกันทั้งหมด

การวางตำแหน่ง (Vision) กรณี Worth case ต้องบริหารจัดการแบบเข้มข้นในระยะสั้น ลดการมองระยะยาว โดยขวัญ กำลังใจของผู้นำสำคัญที่สุด รวมทั้งความเป็น Leadership ของผู้นำ

การวิเคราะห์การเมืองกรณีที่มีผลกระทบต่อ กฟผ. ทั้ง Worth case และ Best

สรุปการเรียนรู้วันที่ 20 มีนาคม 2557

(ช่วงเช้า) ณ ตึก ซีพี ออลล์

นวัตกรรมของ ซีพี ออลล์ “Service Innovation” โดยคุณไพรวัลย์ ไทยนิยม

Nin นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม (New + Value Creation)

CP All นวัตกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่หรือการปรับปรุงจากสิ่งเดิม ที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กรและสังคม

ซึ่งนวัตกรรมมีหลายส่วนด้วยกัน ได้แก่ Process Innovation

Product Innovation

Service Innovation

Business Innovation

Social Innovation

โดยพิจารณาจาก ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อการผลิต/งานล่าช้า มีผลกระทบต่อต้นทุน สิ่งแวดล้อมและชุมชน และมีการพูดถึงกันบ่อย ๆ

(ช่วงบ่าย)

White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ. โดย อ.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ก่อนอื่นต้องพิจารณาก่อนว่า -Where are we.

-Where do we want to go.

-Where to get there.

Freedom of choice : มนุษย์มีสิทธิ์เลือกที่จะทำ (ดี – เลว, บวก – ลบ)

Knowledge is power ; Love is miracle

สมองซีกขวา เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ ศิลป จิตวิญญาน นามธรรม

สมองซีกซ้าย เกี่ยวข้องหรือถูกแทนด้วย Technology ซึ่งในอนาคตมักไม่ค่อยได้ใช้

กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง เน้นแข่งขัน ทำกำไร

กลยุทธ์น่านน้ำสีน้ำเงิน Technology

กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว Win-Win Together เป็นองค์กรแห่งความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมและความยั่งยืน.

ความรับผิดชอบต่อสังคมต้องเริ่มจากตนเอง : Individual Social Responsibility (ISR)

(ช่วงสุดท้าย)

กิจกรรมธรรมะสำหรับผู้บริหาร : จิตอิสระกับจิตประภัสสร โดยพระพิศาลศาสนกิจ (หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล)

เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการฝึกสมาธิและเฝ้าดูจิต โดยการดื่มน้ำเย็น...

สรุปการเรียนรู้วันที่ 21 มีนาคม 2557

(ช่วงเช้า)

“กลยุทธ์ในการปรับตัวของธุรกิจ”

เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ อ.ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อ.มนูญ ศิริวรรณ

เศรษฐกิจไทยในภาวะวิกฤตทางการเมือง ยังเติบโตได้ 2.5 – 3 เนื่องจากการส่งออกยังพอไปได้.

การเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น จีน เวียตนาม กัมพูชา และลาว รวมทั้งเศรษฐกิจของอเมริกาที่เริ่มฟื้นตัว.

ทิศทางพลังงานของโลกและพลังงานไทยปี 2557 มีปัจจัยเกี่ยวข้องที่ต้องพิจารณาหลายด้าน

-ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง

-ราคาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มสูงขึ้น

-ค่าไฟฟ้า (Ft) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

-ถ่านหินราคาลดลงเพราะผู้ใช้รายใหญ่หันไปใช้ก๊าซและพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

ภาพรวมสถานการณ์พลังงานไทยและแนวโน้มในอนาคต

-ประเทศไทยมีจุดเสี่ยงความมั่นคงพลังงานสูงสุดในอาเซียน

-มีความเสี่ยงสูงจากการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์ต้องการไฟฟ้าแต่ไม่ต้องการโรงไฟฟ้า Nimby (Not in my back yard)

ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

-ปรับองค์กรรองรับการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจ

-พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

-ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงาน

-แสวงหาลู่ทางการลงทุนด้านพลังงาน

-ใช้ประโยชน์จากการเป็นผู้นำด้านพลังงาน

-พัฒนาบุคลากรให้สู่ระดับสากล

-เตรียมพร้อมรองรับการปฏิรูปพลังงานและการเปิดเสรี

(ช่วงบ่าย)

Mind Mapping สำหรับผู้บริหารและการวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม โดย อ.ดำเกิง ไรวา

การจัดการความคิดและความจำที่เป็นระบบ (Mind map) โดยการใช้ Paper, Lines, Words, Images, Colours, Structure รวมถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่ต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยจำ ตั้งเป้าให้เป็นไปได้ทั้งเป้าหมายส่วนตัวและเป้าหมายงาน และใช้วางแผนอาชีพที่ใช้ได้จริง

ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นเมื่อ สบายสุด ๆ หรือย่ำแย่สุด ๆ

เทคนิคการสร้าง Connection คือ อย่าชื่นชม/โฆษณาตนเอง แต่ให้คนอื่นเป็นผู้พูดหรือชื่นชมอย่างสนุกสนาน

-Profit building

-Profile building

-Idea sharing เพื่อให้เกิดเรียนรู้ข้ามอุตสาหกรรม

Mind map จำนำไปสู่ Mental of blue print.

สรุปการเรียนรู้วันที่ 29 เมษายน 2557

(ช่วงเช้า)

“ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. กับการบริหารวิกฤตและความเสี่ยง”

โดย. อดีต ผวก.สมบัติ ศานติจารี

อดีต ผวก.ไกรศรีห์ กรรณสูต

ผวก.สมบัติ : เน้นเรื่องการแก้ไขภาวะวิกฤต ซึ่งองค์กรขนาดใหญ่จะถูกจับตามอง โดยเฉพาะสื่อ ดังนั้นจึงต้องมีแผนการป้องกัน และแผนการระงับความเสี่ยง

การสื่อสาร เป็นหัวใจของการแก้ไขภาวะวิกฤต รวมทั้งผู้นำต้องติดตามใกล้ชิด

-ห้ามกล่าวโทษผู้อื่น / คนอื่น

-อย่าให้ความเห็นที่คาดเดา

-ห้ามปฏิเสธหากสื่อมวลชนถาม ให้ตอบความจริง

-ห้ามลำเอียงหรือเลือกปฏิบัติกับสื่อ

-ต้องมีศิลปะ หากผิดให้ยอมรับว่าผิด

** การตลาดเพื่อสังคม ถ้าทำดีก็จะมีคนช่วยเยอะ

วิกฤตการณ์ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เกิดแล้วเกิดอีก.

การฟื้นฟูความเชื่อมั่น เพื่อดึง Trust ความภาคภูมิใจกลับคืนมาต้องรีบกระทำอย่าปล่อยเวลาให้เนิ่นนาน

ผวก.ไกรศรีห์ : ให้ความเห็นว่าวิกฤตการเมืองในขณะนี้ หากบริหารไม่ดีอาจเกิดปัญหาใหญ่ตามมา เช่น การเตรียมการแปรรูป กฟผ. และการนำ กฟผ. เข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน เป็นต้น

การบริหารวิกฤตให้กลับสู่ภาวะปกติ (โดยการนำตัวอย่างสมัยท่านดำรงตำแหน่ง ผวก.มาอธิบาย)

เช่น การควบคุมไม่ให้สถานการณ์ลุกลามใหญ่โต การสร้างความเชื่อมั่น / การปิดฉากภาวะวิกฤต

การมีสัมพันธภาพที่ดีกับรัฐบาลก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากรัฐวิสาหกิจ ครม.จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบงบประมาณขยายการลงทุน รวมทั้งปัจจัยภายใน / ภายนอก ก็มีผลกระทบต่อการบริหารงาน ดังนั้นการเตรียมการหรือเตรียมแผนรองรับความเสี่ยง รวมทั้งการ share ความเสี่ยง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ

(ช่วงบ่าย)

“การแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่”

โดย อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์

ความเชื่อมั่นของคนที่ได้รับการยอมรับมาจาก :

บุคลิกภายนอก 55 % น้ำเสียง 38 % เนื้อหาที่พูด 7%

ดังนั้น ศิลปะการแต่งกายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม รวมทั้งกิริยาท่วงท่าและอริยาบท เช่น การไหว้ที่ถูกต้อง

มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นต้น ซึ่งอาจารย์ให้ฝึกภาคปฏิบัติประกอบการบรรยายตลอดเวลา.

สรุปการเรียนรู้วันที่ 30 เมษายน 2557

ศึกษาดูงาน การบริหารจัดการองค์กร การพัฒนาทุนมนุษย์ และการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้

ณ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ แลบบอราทอรี แอนด์ เฮลท์แคร์ จำกัด

โดย นพ.จักรพงษ์ และ พญ.ใจทิพย์

Management System : การมองของผู้บริหาร และการมองลูกค้า

บริษัทฯ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น ระบบ GMP, ISO9001, HACCP และ ISO/IEC 17025(การวิเคราะห์สารสำคัญในสมุนไพร) เป็นต้น

บริษัทฯ มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ไม่จำกัด รวมถึงการส่งพนักงานไปต่างประเทศ เพื่อเยี่ยมชมตลาดต่างประเทศ เพื่อนำความรู้และโอกาสที่ได้เห็นกลับมาพัฒนาองค์กรต่อไป

บริษัทฯ มีการต่อยอดผลิตภัณฑ์ จากผลงานวิจัยไม่ต้องเสียเวลาเริ่มต้นใหม่ อุปกรณ์เครื่องจักรมีการตรวจสอบและสอบเทียบตามกำหนดเวลา

บริษัทฯ ให้โอกาสพนักงานในการร่วมคิด และตัดสินใจ รวมถึงการดูแลสวัสดิการของพนักงานเสมือนคนในครอบครัว เป็นการสร้างวัฒนธรรมและความผูกพันกับองค์กรได้ทางหนึ่ง และเน้นที่ความซื่อสัตย์ของพนักงานเป็นสำคัญ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับลูกค้าโดยการผลิตสินค้าคุณภาพ ราคายุติธรรม ไม่เอาเปรียบลูกค้าและผู้ขายสินค้า รวมถึงการวางแผนการขยายตลาดต่างประเทศ โดยการสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์

จากนั้น ได้เข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทอย่างเปิดเผยและเป็นกันเอง

การบ้านคุณศรีวรรณ

การบ้านพิเศษ 9 สรุปบทเรียนจากความจริงของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มารู้จัก JokoWidodo หรือ Jokowi อนาคตประธานาธิบดีของอินโดนีเซียคนใหม่ : บทเรียนต่อผู้นำไทยในอนาคต (ตามลิงค์นี้ http://www.naewna.com/politic/columnist/12063)

เริ่มบทความ ศ.ดร.จิระ กล่าวถึงประเพณีงานสงกรานต์ ซึ่งปัจจุบันเป็น Brand ของประเทศไทยและของโลกไปแล้ว เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ที่ต้องอาศัยระยะเวลา สร้างและสืบสานประเพณีนี้มายาวนานหลายร้อยปี สมควรที่คนรุ่นหลังจะต้องรักษาประเพณีนี้ไว้ต่อไป โดยต้องสื่อสารและถ่ายทอดวัฒนธรรม เล่าประวัติความเป็นมาให้เยาวชนรุ่นหลังและชาวต่างชาติได้รับรู้และเข้าใจ มิฉะนั้นจะเป็นเพียงเทศกาลจ้างรถตุ๊กๆ วิ่งรอบเมือง ถือปืนฉีดน้ำยิงใส่กันเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น

กลับมาที่สถานการณ์การเมืองในประเทศไทยปัจจุบัน ซึ่งก็ยังหาจุดจบไม่ได้ จึงเป็นโอกาสที่ควรจะได้ศึกษาการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านไว้ด้วย อ.จีระ จึงได้แนะนำให้รู้จักผู้นำรุ่นใหม่ของอินโดนีเซีย ที่จะเป็นตัวเต็งในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ เขาคือ Joko Widodo หรือ Jokowi เป็นผู้นำที่มีคุณลักษณะของผู้นำที่ดี หรือ ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ สอดคล้องกับหลักสูตรการอบรมของ EADP10

นาย Jokowi ปัจจุบันเป็นผู้ว่าการมหานคร Jakarta มีอายุ 52 ปี เรียนจบวิศวกรรมศาสตร์จาก Gadjah Mada University อดีตเคยเป็นนักธุรกิจเซลล์แมนขายเฟอร์นิเจอร์ เมื่อได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมือง Surakarta (ภาษาอินโดนีเซียเรียกว่าเมือง Solo) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาในปี 2548 เขาได้แสดงฝีมือด้วยทัศนคติ ‘can do’ ให้ประชาชนเห็นภายใต้การแสดงออกถึงความจริงใจและความซื่อสัตย์

ในช่วง 7 ปีที่เขาเป็นนายกเทศมนตรี เมือง Solo ก้าวหน้าไปมาก เขาสร้างตลาดของเก่า ตลาดเครื่องไฟฟ้า สร้างทางเดินยาว 7 กิโลเมตร กว้าง 3 เมตรคู่กับถนนใหญ่ ปรับปรุงสวนสาธารณะขนาดใหญ่สองแห่ง เข้มงวดการตัดต้นไม้ขนาดใหญ่รอบเมือง รีแบรนด์ Solo ให้เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมเกาะ Java เพื่อการท่องเที่ยวภายใต้คำขวัญ “The Spirit of Java” สนับสนุนให้ Solo เป็นศูนย์กลางสัมมนาประชุมสำคัญระดับโลกหลายครั้ง สร้างโครงการประกันสุขภาพสำหรับชาว Solo ทุกคน สร้าง Solo Techno Park เพื่อสนับสนุนโครงการรถยนต์ของประเทศ พัฒนาการขนส่งสาธารณะ ฯลฯ

ชื่อเสียงของ Jokowi ดังขึ้นทุกทีจนในปี 2555 ก็ได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ว่าการมหานคร Jakarta และเป็นที่นิยมมากเพราะตัดสินใจเด็ดขาดเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินและขนส่งสาธารณะที่คาราคาซังมานาน และการจราจรก็แทบเป็นอัมพาตในปัจจุบัน เขามีความเป็นผู้นำ สามารถเข้าถึงคนธรรมดาในยุคการเมือง ‘inclusive’ ที่ประชาชนตื่นตัวในสิทธิของตนเอง เขาสื่อสารให้คนเห็นว่าเขาจริงใจ ถึงลูกถึงคน และมือสะอาด เขาห้ามญาติพี่น้องยุ่งเกี่ยวกับการประมูลงานตั้งแต่สมัยเป็นนายกเทศมนตรีเมือง Solo

Jokowi เป็นนักการเมืองที่ไม่เพียงแต่อุ้มเด็กถ่ายรูปเท่านั้น เขายังไปเยี่ยมสลัมแหล่งอาศัยของคนยากจนจำนวนมากใน Jakarta แต่งตัวธรรมดา พูดคุยกับชาวบ้านเรื่องราคาอาหาร น้ำท่วม การทำมาหากิน เขาทำอย่างที่เรียกว่า ‘เล่นเป็น’ ซึ่งประชาชนก็ตอบรับเขาเป็นอย่างดีเพราะศรัทธาในความจริงใจ ถึงแม้จะอยู่ในพรรคของลูกสาวประธานาธิบดี Sukarno แต่เขาก็สามารถรักษาภาพลักษณ์ของ ‘คนใหม่’ ได้ เขามีพลังอิทธิพลส่วนตัวมากยิ่งขึ้นและเกือบแน่นอนว่าจะได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ในปีนี้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของการเมืองใหม่

โดยสรุป Jokowi เป็นผู้นำที่มีความพร้อม มีความสามารถ เป็นคนติดดินและเป็นกันเอง สามารถในการสื่อสารกับประชาชนธรรมดาได้ดี คิดและพัฒนาบ้านเมืองตลอดเวลา มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และที่สำคัญมีคุณธรรม ไม่ใช้เงินและอำนาจเป็นหลัก ไม่ให้ญาติพี่น้องเข้าทำธุรกิจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งตรงกันข้ามกับลักษณะของผู้นำในระบบทุนนิยมสามานย์ทั้งสิ้น

จึงเป็นที่คาดหวังว่าประเทศไทยของเรา คงจะโชคดีเหมือนอินโดนีเซียบ้าง คงได้มีผู้นำที่ดีหลังการปฏิรูปการเมืองไทยในเร็ววันนี้ ขอแค่เป็นคนดี มีความกล้าหาญ มีคุณธรรม ไม่ทุจริต มีความโปร่งใส ซื่อสัตย์ ยุติธรรม รักชาติบ้านเมือง เห็นแก่ประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง 

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

สรุปการบรรยายธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

ธรรมชาติบำบัดเป็นการรักษาแบบใช้ธรรมชาติ โดยใช้หลักการให้คนปรับพฤติกรรมในการรักษาโรค มากกว่า 30 ปี ที่ประเทศไทยเป็นโรคขาดสารอาหาร เมื่อเข้าสู่ยุคประเทศอุตสาหกรรมใหม่เราบริโภคมาก จึงเกิดโรคตามมาเช่น โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ไตวาย มะเร็ง เป็นต้น ปัญหาสุขภาพผู้เข้าอบรมพบว่า 30% แข็งแรง / 60 % อ้วน / 20 % ความดันสูง การที่น้ำหนักตัวมากทำให้ต้องมีปัญหากับการปวดข้อ ปวดเข่า ความดันสูง ไขมันสูง

ไขมันในร่างกาย 2 แบบ คือ ไขมันใต้ผิวหนัง และไขมันในพุง ไขมันมากเกินเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน

สิ่งที่ควรงด คือ แป้ง คาร์โบไฮเดรตที่ทำให้อ้วน ตัวอย่างประเทศที่อ้วนมากคืออเมริกาจนอเมริกานำหน้าเรื่องโรคอ้วนเสนอสูตรอาหารไม่ให้กินแป้ง กินแต่โปรตีนอย่างเดียว ผลคือคนอ้วนลดลงจำนวนมาก

ลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ คือ

1 กินให้น้อย กินเนื้อสัตว์ กินผัก ไม่กินข้าว หรือคาร์โบไอเดรตอื่น ๆ ไม่กินผลไม้ ถั่ว /นม อาหารไตรกีเซอไรด์ มาจากแป้ง ข้อมูลใหม่ไข่ไม่ได้ทำให้เกิดคอเรสเตอรอลในเลือด แต่ตัวแป้งทำให้ไขมันในเลือดสูง ข้าวขาวคืออัลฟาท็อกซิน เก็บมาหลายปีขายไม่ออก มีความชื้นสูง เป็นตัวทำให้เกิดเชื้อรา หรืออัลฟาท็อกซิน ต้องกินข้าวกล้อง

2 ออกกำลังกาย

ตัวช่วยสำหรับลดไขมัน ลดน้ำหนัก Bio3-Fiber ทำให้อิ่มเร็ว ลดการดูดซึมไขมัน / Biochromium / Fish oil ช่วยปรับการหมุนเวียนไขมัน ลดการอักเสบ

นมวัว มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไขมันเลือดสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจหลอดเลือด และสามารถก่อมะเร็งเต้านม

บรรยายเรื่อง วารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ

โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

ในอินเดีย มีประเพณีการอาบน้ำ ชาวม้ง อาบน้ำแร่ ตุรกี ฟินแลนด์อบซาวน่าร้อนสลับเย็น สังเกตได้ว่าความร้อนและน้ำจึงเป็นเรื่องของสุขภาพทั้งสิ้น กินไวน์ดี แต่ถ้าเกิน 50 ซี.ซีจะก่อให้เกิดสารพอกตับ

การตอบสนองขั้นต้นต่อความร้อนจัด

ถ้าอยู่ในที่ร้อน เช่นห้องซาวน่าจะทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว เพื่อคายความร้อน เลือดไปกองที่ผิวหนังหมด ส่วนอื่น ๆ เช่น สมอง ตับ ไต เลือดน้อยกว่าปกติ อวัยวะตรงกลางจะขาดเลือด ดังนั้นจึงไม่ให้อยู่นาน แค่ 3-5 นาที ไม่นานกว่านั้น แล้วออกมาจุ่มตัวในบ่อน้ำเย็น เพื่อดึงเลือดให้กลับส่วนกลางก่อน แล้วค่อยกลับเข้าไปอีกที

ซาวน่าทำให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น เม็ดเลือดขาวจะทำงานได้ดีที่อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37 องศา

การอบสมุนไพร ช่วยให้ภูมิต้านทานดีขึ้น ขับสารพิษ

การอาบน้ำร้อน การอาบน้ำร้อนอย่างเดียวก่อผลร้ายมากกว่าผลดี ทำให้อ่อนเพลีย ความคิดเฉื่อย การหมุนเวียนของเลือดไม่ดี ขาดความกระปรี้กระเปร่า

การอาบแดด ชาวอินเดียเชื่อว่าเมื่อป่วยหรือต้องการมีสุขภาพดีต้องให้มีพลังเพิ่มขึ้น โดยเติมจากพลังจักรวาล โยเร โยคะ การอาบแดดเป็นการรักษาโรคแบบหนึ่ง สมัยก่อนเด็กคนไหนที่เหลืองจะเอาไปตากแดด

การประคบด้วยลูกประคม ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว การประคบด้วยผ้าร้อนเย็นลดอาการปวด หัวโน แพลง เคล็ด ภายใน 48 ชั่วโมงแรกใช้ประคบเย็นก่อน หลังจากนั้นค่อยประคบร้อน

การออกกำลังกายในน้ำ น้ำลึกระดับอกพยุงน้ำหนักตัวได้เกือบ 70 % เป็นการออกกำลังที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาเรื่องข้อ สมอง อัมพาต พาร์กินสัน

การอาบน้ำแร่ น้ำแร่มีแร่ธาตุ เช่น กำมะถัน เหล็ก ซิลิก้า แคลเซียม โซเดียม สังกะสี โปตัสเซียม เกลือคาร์บอเนต แมกเนเซี่ยมเวลาอาบเสร็จไม่ต้องฟอกสบู่ แร่ธาตุจะได้อยู่กับผิวหนังร่างกาย

วันที่ 11 กพ

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์รรธนะ

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

นายสหัสนัย ยืนยงค์

อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

นายปณต สังข์สมบูรณ์

พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

นายยุทธการ มากพันธุ์

ตัวแทนชุมชน

นายคเชนทร์ พูนจันทร์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์รรธนะ

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

หลักสูตรนี้จะเกิดประโยชน์ไม่ใช่แต่เฉพาะตัวท่านเอง แต่ถ้าได้เรียนรู้กาญจนบุรีแล้วนำไปบริหารจัดการก็เกิดประโยชน์เช่นกัน

กาญจนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 320 กม. มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ สิ่งที่น่าสนใจคืออยู่ใกล้กรุงเทพฯประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมง ถ้าวิ่งไปสังขละบุรีใช้เวลา 3- 4 ชั่วโมง ลักษณะโครงสร้างเหมือนกำมือชี้นิ้ว ปลายนิ้วคือด่านเจดีย์สามองค์

สงคราม 9 ทัพ ถ้าสังเกตดี ๆ จะมีซุ้มสงคราม 9 ทัพ นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าเรียนรู้

สะพานแม่น้ำแคว ที่ญี่ปุ่น พยายามข้ามไปอินเดีย ทุกปีมีกิจกรรมของเรา มีสุสานพันธมิตรที่เขาช่องไก่ ไทรโยค สุสานพันธมิตรในเมือง

หน้าตาประวัติศาสตร์ของกาญจนบุรี มีวัฒนธรรม หลวงพ่ออุตตะมะ บ้านอีต่อง (เหนืออำเภอทองผาภูมิ ขอบชายแดนทางด้านนั้น)

เหมืองป้าแหม่ม (สาวออสเตรเลียมาอยู่ตั้งแต่อายุ 17 ปัจจุบัน 80ปี) ปัจจุบันเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเช่นกัน และเหนือเขื่อนก็ข้ามมาอีต่องได้

รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 มีความสัมพันธ์กับเมืองกาญจน์เพราะสมัย ร.3 นั้น ร.1 โปรดให้ ร.3 ยกทัพมารอพม่าที่เมืองกาญจน์และสร้างกำแพงเมืองที่จวนผู้ว่าฯ

ขุนแผนอยู่ตรงกาญจนบุรีเก่า (แยกแก่งเสี้ยน เลยลาดหญ้ามา) มีวัดนางพิม

สรุปดินแดนกาญจนบุรีเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เชิงอนุรักษ์

มีภูมิประเทศที่น่าสนใจมาก มีน้ำแควน้อย แควใหญ่ที่ไม่เคยแห้งเพราะมีเขื่อนคอยปิดเปิดก๊อก

โซนที่ 2 ที่ 3 เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ มีพระบรมราชาอนุสาวรีย์ ตำบลดอนเจดีย์อำเภอพนมทวน

อนุสรณ์สถานเป็นจริงด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เยอะ เป็นเจดีย์เก่า ผู้ที่อยู่ในตำบลนั้นเกี่ยวกับช้างและม้าทั้งนั้นเลย

สรุป เมืองกาญจน์ โดยสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ หากินได้ทันที มีฝรั่งและจีนต่างชอบเดินทางมาจังหวัดมาก

การเน้นย้ำการส่งเสริมการท่องเที่ยวมาก ๆ เกี่ยวพันกับชุมชนและโรงไฟฟ้าที่พูดถึง ต้องเอาเงินไปใช้พัฒนากองทุน จากใต้เขื่อนไปถึงตัวเมือง ถ้าไปพัฒนาจะง่ายมาก ถ้าพัฒนาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ความคงทนถาวรจะอยู่ยาวนาน ปีหนึ่งเกิดรายได้ค่อนข้างสูง ยุทธศาสตร์อื่น จะกินได้ตลอด

ยุทธศาสตรที่ 2 เกษตรอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์เกษตรอุตสาหกรรม 2ใน3 เป็นการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร แควใหญ่ แควน้อย ไหลผ่านอำเภอ เจอเขื่อนท่าม่วง หลังจากนั้นเป็นการชลประทานที่ดี เป็นเขตเศรษฐกิจที่ดีมาก ๆ

นอกจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ ศรีนครินทร์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้โซนที่ 2 มีคุณภาพ ลักษณะ พื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่เกษตรอุตสาหกรรม

กาญจนบุรีกับความสัมพันธ์ต่างชาติ

ให้ลองศึกษาว่าอะไรขายในรัสเซีย ดีกว่าหากินรอบ ๆ บ้าน

อินเดีย ให้ดูว่าในครัวเรือนใช้อะไรแค่ชิ้นหนึ่งใช้ของจากกาญจนบุรี ก็รวย พยายามให้พาณิชย์จังหวัดคุยกับพาณิชย์

ตะวันออกกลาง อาจไม่รู้ว่าจะขายอะไรเนื่องจากเขารวย ให้ลองกลับมาดูว่าโรงแรม 5 ดาวมีกี่แห่ง ให้ศึกษาดูว่าเขาใช้อะไร

จีน ให้ลองศึกษาดูแต่อย่าลืมว่าเขาเป็นยักษ์ใหญ่

เริ่มต้นที่วัฒนธรรมก่อน

ใน ครม.สัญจร ยุทธศาสตร์ที่เพ่งเล็ง เราขอไปใน 6 พันล้าน ต้องไม่แล้ง การผันน้ำจากอำเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนศรีนครินทร์ วิธีการเกาะขอบบนไหลลงล่าง หาโซนที่สอง

ผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง เจอแควน้อย แควใหญ่ ท่าม่วง ผ่านอำเภอเมือง อำเภอพนมทวน ใช้ระบบสูบ แต่อยากถามว่าค่าใช้จ่ายตรงนี้ใครรับผิดชอบ สิ่งที่พบคือการสูบน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูง ถ้าไม่จำเป็นอย่าทำ

พัฒนาฐานการผลิต พัฒนาโซนที่สอง โซนที่สาม

ทวายเป็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคสมเด็จพระนเรศวร เป็นส่วนที่หวังอยากให้เกิด East West Corridor แต่อยากให้พัฒนากาญจนบุรีให้เตรียมความพร้อมก่อน เริ่มแรกอยากให้ทบทวนในเรื่องผังเมืองก่อนเพราะสภาพภูมิประเทศ ต้นทุนทางธรรมชาติมีอยู่แล้ว ถ้าวางผังเมืองไม่ดี จะมีคนซื้อที่ตอนทวายเริ่มเกิดอย่างมากมายอย่างไม่เป็นระบบ น่าเป็นห่วงมาก ดังนั้นจึงควรคิดต่อเรื่องระบบผังเมืองอย่างดี

กาญจนบุรีแบ่งเป็น 3 โซน

โซนที่ 1 เมืองเก่า ตรง ถ.แสงชูโต

โซนที่ 2 ถนนปากแพร่งก็เป็นเมืองเก่าเช่นกัน

โซนที่ 3 ถนนริมแม่น้ำ ก็เมืองเก่าอีกเช่นกัน

สรุปทั้ง 3 โซนเป็นเมืองเก่าที่กาญจน์อนุรักษ์และสร้างรายได้เข้าจังหวัดอย่างมหาศาล

โซนที่ 2 เปลี่ยนชื่อว่าเมืองใหม่ สมัย ครม.สัญจรเสนอบ้านพุ่มน้ำร้อนเจอที่หนองขาวเป็นมอเตอร์เวย์

สรุปพัฒนากาญจนบุรีโดยมองที่สภาพภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ สิ่งสำคัญคือให้เข้าใจในมิติของพื้นที่อนุรักษ์กาญจนบุรี อย่าใช้ผิดที่ผิดทางเน้นการอนุรักษ์และรักษาคุณภาพอย่าให้เสียหาย บริเวณเหนือเขื่อนมีปลาที่อร่อยมาก

บ้านปานาสวน มีเรือตะไลเป็นเครือข่ายเกือบ 100 ลำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กฟผ. ถ้าเป็นผู้นำในอนาคต ถ้ามีภาพกว้าง เศรษฐกิจ สังคม Logistics และภาพลึกทางวิศวกรรม ไฟฟ้า จะเป็นสิ่งดีมาก

กฟผ. จริง ๆ แล้วมีส่วนร่วมมาก เช่นเขื่อน ต้องเขียนถึงประโยชน์ด้วยไม่ใช่ปัญหาอย่างเดียว ให้ประชาชนแลกเปลี่ยนความคิดกัน

นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

การท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมประชาชนในพื้นที่

ตัวชี้วัดถ้ามองประเด็นเขื่อนศรีนครินทร์โดยเฉพาะ บทบาทการท่องเที่ยวของเขื่อนศรีนครินทร์เป็นอย่างไร มีความน่าสนใจอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร เช่นโครงการชีววิถีเป็นโครงการที่ดีมากให้ความรู้กับชุมชน เป็นโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้คนทำงานต่อเนื่อง ส่งเสริมโอทอป และเป็นแหล่งที่ศึกษาดูงานคนมาดูงานเยอะ มากิน ใช้ นอน เที่ยว จึงกลายเป็นแพคเก็จที่ชมรมท่องเที่ยวอำเภอศรีสวัสดิ์ เป็นจุดขายเพื่อให้คนมาดูงานว่ามีวิธีการกำจัดขยะ สร้างรายได้อย่างไร

โครงการฝายชะลอน้ำ เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติทำให้อุดมสมบูรณ์ พอโครงการมีการประชาสัมพันธ์ออกไป จะมีหน่วยงานเข้ามาช่วยเขื่อนศรีนครินทร์ทำฝายชะลอน้ำต่าง ๆ เป็นอานิสงส์ของการท่องเที่ยวโดยอัตโนมัติ ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในเครือข่าย

การตกปลาเป็นอีกแพ็คเกจที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไปขาย สนามตกปลาเป็นอีกสนามหนึ่งที่แข่งขันตกปลา โครงการปล่อยปลาเป็นอีกโครงการที่สร้างความสัมพันธ์กับประชาชน

โครงการศึกษาดูงาน มีทั้งที่ให้เขามาดูงานที่เขื่อนศรีนครินทร์พาชุมชนจากพื้นที่อำเภอศรีสวัสดิ์ไปชมเครือข่ายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทั่วประเทศ

โครงการจัดงานคืนรักคนสันเขื่อน เนื่องจากที่ผ่านมามีความเสียหายเกิดขึ้นมาก จัดงานเพื่อสงบข่าวลือตรงนั้น เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ของคนในพื้นที่

การสร้างความมั่นใจ เป็นการดูแลทางด้านจิตใจของคนในพื้นที่และของนักท่องเที่ยวในเรื่องความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์ เช่นข่าวเขื่อนแตกมีผลกระทบต่อชาวบ้านหลายคนไม่อยากกลับมาที่ อ.ศรีสวัสดิ์ มีการทำ PR เสียงจากชุมชน การสะกิดจุดอ่อน ทำเพื่อภาพรวม ไม่มีใครทราบว่าเขื่อนสร้างเพราะอะไร เขื่อนจ้าวเลนผูกพันกับสงคราม 9 ทัพ

ในการสร้างความมั่นใจ ควรทำ Museum , Display

การพัฒนาการท่องเที่ยว มีแพพัก ตัวไข่แดงคือตัวผู้ประกอบการท่องเที่ยว

ศรีสวัสดิ์โมเดลจะเป็นแม่แบบให้ผู้ประกอบการอย่างดี การสร้างมาตรฐานแพพักสามารถกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ Upgrade ตัวเองได้

ปัญหา

ชาวบ้านระดับล่าง 60% ไม่มีความรู้

ระดับกลาง SMEs 30%

กฟผ.อาจเข้าไปช่วยสร้างมาตรฐานให้เขาได้ และเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เมื่อไร การพัฒนาของเขาจะสำเร็จ ประโยชน์ที่ได้รับจะเกิดประโยชน์ 4 ฝ่ายด้วยกัน

ชาวบ้านจะได้รับความปลอดภัยมากขึ้น

ผู้ประกอบการสามารถส่งเสริมให้ตนเองมีมาตรฐาน มีรายได้มากขึ้น พัฒนาฝีมือแรงงาน

นักท่องเที่ยวได้รับการท่องเที่ยวมีคุณภาพ

ผู้ประกอบการ มีรายได้มากขึ้น ให้คนกลับมาอยู่บ้าน

ภาครัฐ มีการจัดเก็บภาษี มีรายได้มากขึ้น

กฟผ.ไม่มีบุคลากรเฉพาะเจาะจงมาทำงานนี้ ช่องว่างระหว่างกฟผ.กับชาวบ้านจึงกว้างมากขึ้นเพราะชาวบ้านมองว่า กฟผ.มีเงินเดือนสูง มีสวัสดิการที่ดี องค์กรน่าจะสร้างเครือข่ายที่ดี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Good idea ในห้องนี้ยังไม่สามารถ implement ได้ทันที ทุกคนในห้องนี้หวังดี อยากเอาชนะอุปสรรค กฟผ. ยังเป็นระบบ Silo ถ้าขึ้นอยากให้ขึ้นทั้งแผง

นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

เป็นคนที่ตั้งกองทุนโรงไฟฟ้าที่กระบี่ ยินดีที่เจอคน กฟผ.ที่นี่

ในบทบาทพนักงานพลังงานจังหวัดเป็นส่วนภูมิภาค เป็นตัวแทนของกระทรวงฯ ประสานงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน

ภารกิจหลัก ๆ แบ่งเป็นธุรกิจไฟฟ้า พลังงานทดแทน สนง.พลังงานแก้ปัญหาในพื้นที่

ชุมชนที่ 2 มีวิสาหกิจชุมชน และเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนทางด้านพลังงาน มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับครัวเรือนทดแทนจากไม้ แกลบ ฟาง สามารถทำร่วมกับ กฟผ.ได้ ในกาญจน์ยังไม่น่าจะมีปัญหา อยากให้ลงไปดูปัญหาจริง ๆ ในพื้นที่มีอะไร แล้วทำงานผ่านพลังงานฝึกหัด

ในเรื่องชุมชน กฟผ.ได้ในส่วนไหนของพลังงาน โครงการหลอดผอม กลุ่มอาชีพ กลุ่มพลังงานต่าง ๆ

ในระยะยาวน่าจะมีโครงการที่น่าจะเป็นไปได้ ไปช่วยที่ต่าง ๆ

พลังงานที่เป็นภารกิจจังหวัด อ้อยเยอะ พลังงานเยอะ ก๊าซชีวภาพจะทำอย่างไร

กองทุนรอบโรงไฟฟ้า เช่นโรงน้ำตาล ผลิตร้อยขาย 40 จ่ายเงินเข้ากองทุนเฉพาะที่ขาย แต่ละเทคโนโลยีไม่ได้มาตรฐานจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นได้ ประกอบกับชาวบ้านไม่รู้ข้อมูลจะมีวาระซ่อนเร้น ให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามกฎ กลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีที่เอามาอ้างได้ ปัญหาบางครั้งต้องปฏิบัติตามระเบียบให้เต็มที่จะแก้ได้

จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังจำนวนมากถ้านำมาผลิตไฟฟ้าได้ 20 เมกกะวัตต์ คิดกก. 50 สตางค์ต่อไร่ น่าจะสนับสนุนให้ปลูกมันสำปะหลังเพื่อพลังงานมากขึ้น

ยอดอ้อยกับใบอ้อย จากที่ทำวิจัยนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงต้นทุนมากกว่ามันสำปะหลังเป็น 5-10 เท่า

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถึงแม้ว่าเราไม่ดูแล Energy tax โดยตรงแต่กฟผ.ควรทำวิจัยว่าทำแล้วเกิดประโยชน์จริงหรือไม่ ทุกคนพูดตรงประเด็น แต่ข้อเสียยังไม่ได้ Follow up ให้เสนอให้มีพิพิธภัณฑ์เกิดขึ้น การประชุมรุ่น 11 ต้องต่อเนื่องกับรุ่น 10

นายยุทธการ มากพันธุ์

บทบาท กฟผ. ด้านดี คือจะเป็น Hero ตอนไฟดับ แต่อีกบทบาทด้านไม่ดีคือการขึ้นค่าไฟ และการหาไฟฟ้า เช่นต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ พลังงานน้ำ ซึ่งเป็นผลกระทบทางลบต่อประชาชน ไฟฟ้าชีวมวลก็ถูกต่อต้านทุกเรื่อง

กระทรวงพลังงานพยายามหาไฟฟ้าให้กับคนทั้งประเทศ

วิธีแก้ ขสมก.มีรถล้านคัน พนักงานเครือข่ายล้านคน ถามว่าเอาเงินที่ไหนจ้าง เขาทำอย่างไร ทำไม กฟผ.ไม่มีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ในเขื่อนศรีนครินทร์มีพลังงานน้ำมหาศาล อย่าดูถูกประชาชนเครือข่ายพลังงานขนาดเล็ก เพราะเครือข่าย 1 ล้านครัวเรือนจะมีพลังงานมหาศาล ร่วมกันสตาร์ดเครื่องเจนเนอเรชั่น จะได้พลังงานจำนวนมาก กลุ่มประชาชนผลิตน้ำมันเองได้ น่าจะสร้างเครือข่ายตรงนี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปรับ Mindset ปรับ Paradigm วิธีคิด จากนี้ไปจะเป็นความจริงมากขึ้น เลือกอะไรที่ Relevance เรื่องชุมชนเป็นไปได้อยู่แล้ว

นายคเชนทร์ พูนจันทร์ ตัวแทนจาก SCG

การสร้างทุนทางเครือข่ายเป็นการลงทุนระยะยาวและวัดผลได้ยาก การลงทุนไม่ได้เป็นเงิน ใช้ทั้งคน มีจิตใตที่จะทุ่มเท เปรียบเสมือนคนเราทำความดีต้องใช้เวลานานมากที่ทำให้คนยอมรับ มีความเชื่อมั่น ศรัทธา ทำต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และทำกับทุก ๆ คนด้วย ในแง่บริษัทก็เช่นเดียวกัน ทาง SCG ชุมชนกับสังคมต้องดูให้ Balance กัน

ความรับผิดชอบต่อสังคม SCG ยึดมั่นมาตลอด เราอยู่ในชุมชนต้องดูเรื่องรายได้ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต้องบริหารให้อยู่ด้วยตลอดไป ต้องสร้างรายได้ให้ชุมชน สร้างงานให้ชุมชน พัฒนาชุมชน ไม่ว่าสาธารณประโยชน์ หรือการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม ต้องเลือกเทคโนโลยี ต้องลงทุนที่ทำธุรกิจส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ทางภาคเอกชนมีคนสนใจที่คนจะเข้าร่วมมากน้อยเพียงใด เรามองว่าทุกคนมีความพอใจเหมือนกัน SCG มีการจ้างบริษัทภายนอกมาดำเนินการให้รู้ว่าชุมชนมีความเห็นกับเราอย่างไรจะได้ตอบโจทย์กับชุมชนได้ จะได้มีการติดตาม ไม่ใช่สำรวจแล้วไม่ทำ มีทีมในการติดตามตรวจสอบว่าชุมชนคิดอย่างไร มีคณะกรรมการชุมชน 1 manager 1 Community ผู้จัดการทุกคนต้องมี Activity ร่วมกับชุมชน ไปดูแล สำรวจ ติดตามชุมชนว่ามีความคิดเห็นอย่างไร กลับมาทำแผนงาน และต้องไปตอบกับชุมชน

จะมีส่วนร่วมอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับชุมชน

ให้เอาชุมชนเป็นตัวตั้ง ฟังเสียงประชาชนหรือชุมชน แต่ไม่สามารถตอบสนองชุมชนได้ทุกคน สิ่งใดที่ทำแล้วเกิดประโยชน์ เป็นสาธารณประโยชน์ SCG จะไม่สนับสนุนเรื่องการให้เงินเนื่องจากควบคุมยากและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แต่ให้ทางชุมชนเสนอเข้ามาและให้พนักงานลงไปทำงานร่วมกับชุมชน ไม่ใช่ลักษณะการสร้างให้หรือมอบให้ ต้องสร้างจากความต้องการที่ชุมชนได้จริง ต้องดูแลรักษาประโยชน์ตรงนี้ให้เกิดขึ้นตลอดไป

การทำงานกับชุมชน

ต้องทำงานในเชิงรุก ไม่รอให้มีปัญหา ออกไปพบกับชุมชน กิจกรรมมีการเผยแพร่ให้ชุมชนรับทราบ แต่การประชาสัมพันธ์อย่าเกินความจริงเพราะจะเกิดผลในทางลบได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กระจายบทบาทของกฟผ.กับชุมชนไปทุกจุด ข้อแตกต่างระหว่าง SCG กับ กฟผ. คือเป็นรัฐวิสาหกิจ เป็น Silo เป็น Structure ที่แข็ง ในรุ่นนี้ต้องทำลาย Structure ที่แข็ง

ร่วมแสดงความคิดเห็น

คิดว่าวันนี้มีอะไรใหม่ 1 เรื่อง และจะทำอะไรต่อ

1. เรื่องกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้า ปัจจุบันใช้ไม่ตรงจุดตรงประเด็น ต้องเป็นตามที่อาจารย์เสนอคือเรื่องทำวิจัย

2. เจาะลึกและติดตามความต่อเนื่องของชุมชน ทำเรื่องการวางแผนการดำเนินการให้ชัดเจนขึ้น เน้นความต่อเนื่องและต่อเนื่อง

3. ประเด็นคุยกับชุมชนต้องมีหลาย Silo ควรให้แต่ละ Silo คิดเหมือนกัน ชุมชนจะได้ไปด้วยกัน

4. ต้องสร้างกฟผ.เป็นบ้านเดียวกับชุมชนไม่ใช่บ้านรั้วสูง สร้างทัศนคติใหม่ให้คนทุกระดับว่าเป็นคนระดับเดียวกัน

5. 1 manager 1 community น่าจะดูแลชุมชนได้ดี อย่างกฟผ.อาจเป็น 1 เขื่อนหรือ 1 หัวหน้ากอง 1 community เป็นต้น

6. การทำงานร่วมกับชุมชนของ SCG เอาชุมชนเป็นตัวตั้ง กฟผ.ลงลึกกว่านั้นคือการบริหารชุมชนไม่ได้สอดรับกับเงินที่ใช้จริง ๆ อยากให้กฟผ.เอาเงินกองทุนมา Share ทำงานร่วมกัน

7. ปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน อาจมีการปูพื้นตั้งแต่เด็ก ๆ

ดร.จีระ เสนอให้ Training ผู้ช่วยฝ่าย

คุณสหัสนัย ยืนยงค์

กฟผ. ควรมีแผนกพัฒนาชุมชนขึ้นมาเพื่อทำงานร่วมกับชุมชนจังหวัดหรืออำเภอให้วัตถุประสงค์ถูกต้องและถูกใจ

คุณยุทธการ มากพันธุ์

กฟผ.เป็นองค์กรที่อยู่กับไทยมานานและไม่ยอมแปรรูป แทนที่คนอื่นมาถือพลังงานในมือ กฟผ.สามารถเป็นพี่ใหญ่ได้ แต่คนไทยมีคุณสมบัติคือรวมกลุ่มไม่ได้ ให้ยึดมั่นสิ่งที่ตัวเองมีฝึกคนให้ประชาชน ให้ประชาชนเป็น Partner และเครือข่ายของท่าน

คุณปณต สังข์สมบูรณ์

ทำอะไร ผ่านทางเครือข่ายสนองต่อปัญหาของชุมชนเพื่อสร้างความคุ้นเคยผ่านกลุ่มต่าง ๆ จะสร้างความเชื่อใจได้ ถ้าเราจริงใจกับชุมชน

คุณคเชนทร์ พูนจันทร์

กฟผ.บุคคลากรมากกว่า SCG เครือข่ายศักยภาพน่าจะมากกว่าเรา ทำคนเดียวไม่สำเร็จ ต้องออกไปให้ความรู้ ทำตั้งแต่พนักงานระดับสูงถึงระดับล่าง โครงการไหนมีความซับซ้อนต้องเชิญวิชาการมาร่วม เชิญสื่อมวลชนทุกองค์กรมีส่วนร่วม มีโครงการจับคู่ธุรกิจที่จะทำ โครงการใกล้เราเชิญมาทำร่วมกับเรา ไม่ใช่พื้นที่เรา อย่างภาคเอกชนก็เชิญมาทำ ปัญหาแก้คนเดียวไม่ได้ ต้องช่วยแก้ไขที่ SCG สำเร็จเพราะชุมชนไว้ใจ มีปัญหาบอกชุมชน ไม่ปกปิดร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน ความเข้าใจของชุมชนแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน

บ่าย

บรรยายเรื่อง HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่อยากให้ผู้เรียนรู้พัฒนาคือ

1. Change

2. Paradigm Shift

3. Mindset

สรุป Quotation

- Microsoft เริ่มต้นเหมือนเน้นไปที่ PC Computer เจอปัญหา เพราะคนไม่ใช้ PC ต่อมาคือ Satya Nadella ทำเรื่อง Cloud Computing เข้ามาช่วงสถานการณ์เปลี่ยนแปลง

- HR เกี่ยวข้องกับ Leadership 2 อย่าง ต้องเป็น Leader หน้าที่คือไปสร้าง Leader ต้องยืมคนอื่นมา

- จุดสำคัญที่สุดคือค้นหาตัวเอง นอกจากเป็นวิศวะแล้ว ไม่เป็น HR Manager เพราะอะไร

- Science & Social Science ต้องผสมกัน

- Turn Intangible มาเป็น Tangible

- อยากให้ Non HR ลงลึกเกี่ยวกับ Human Resource นอกจาก Resource Department

- การแข่งขันขึ้นอยู่กับ Quality

- ถ้าเราจะเป็น Non HR ที่เก่งเรื่องคน เราต้องมีปรัชญาเรื่องคน

- Factor Proportion ถ้ามีทรัพยากรธรรมชาติมากกว่ามนุษย์จะไม่ลงทุนเรื่องคน

- Potential ของมนุษย์อยู่ข้างใน ไม่อยู่ข้างนอก เน้นการกระตุ้นเพื่อความเป็นเลิศ

- การมองทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่องค์กร ถ้าไม่เข้าใจ Macro ไปสู่ Micro Human Capital เจ๊ง

- เปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน

- Non HR ต้องทำ 3 อย่าง ปลูก พัฒนา เก็บเกี่ยว เอาชนะอุปสรรค

HR Department

- ต้องให้บทบาท HR ไปสู่ Non HR หรือ Line Manager มากขึ้น

HR Function

- HR Function ต้องเปลี่ยน คนไม่ใช่ HR หรือ HR ต้องเข้าใจมากขึ้น

HR

- HR ยุคใหม่ต้องไม่ติดความคิดเดิม ๆ

- Blue Ocean คือความคิดสร้างสรรค์

- Asset แต่ก่อนเป็น Financial Asset อย่างเดียว

- HR ไม่ใช่ทำเรื่อง Performance เพรียว ๆ ต้องมองสังคมด้วย ต้อง Trust และ มี Social Trust

- ก่อนปลูกคนในองค์กรต้องมี HR และ Recruitment (ปลูก เก็บเกี่ยว Execution

- คุณลักษณะทุนมนุษย์ที่เหมาะสม จริยธรรม คุณธรรม

- ต้องเรียนรู้ทำงานแบบเครือข่าย

- เมื่อมี 8K’s แล้วค่อยกระเด้งไป 5K’s ทำอย่างไรคิดนอกกรอบ มีไอเดียใหม่ ๆ

- กฟผ.ยุคใหม่ต้องคิดอะไรที่แตกต่าง ถ้ามีลูกค้าอย่าไปเน้นลูกค้าเดิมให้หาลูกค้าใหม่ ๆ ด้วย อาจเน้นการทำธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ไฟฟ้า

8K’s 5K’s

- มีโอกาสเพิ่มมาตรฐาน คุณภาพ Benchmarking

การเก็บเกี่ยว

- ไม่ใช่เครื่องจักร ทำอะไรต้องมีความพอใจ

Intangible ควรประกอบด้วย

- การทำงานอย่างมีความสุข (Happiness)

- ยกย่องคนทุกระดับ (Respect)

- ให้คนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity)

- มองไกลและยั่งยืน (Sustainable)

การทำงานเน้นความยั่งยืนคือพฤติกรรมของเรา ทำให้คนใฝ่รู้มากขึ้น ต้องหา Solution แก้ปัญหาให้ได้

สุดท้าย

ให้ Non – HR ในห้องนี้บ้าคลั่งความสำเร็จให้มากขึ้น การเอาชนะอุปสรรค สิ่งที่เสนอในวันนี้ไปติดที่ High บ้าง บางครั้ง Bureaucracy แข็งเกินไปเพราะมีงบประมาณประจำปี แต่มีงบกลางน้อยมากเลย

Value Creation เริ่มจากศูนย์แต่มีความคิดแตกต่างจากคนอื่น ต้องเปลี่ยนจากความหลากหลายไปสู่มูลค่าเพิ่ม

Workshop

นนี้ ต้องตื่นแต่เช้า 5.30 น. เพื่อไปร่วมกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เราร่วมกับ อ. ดร. จิระ และเพื่อนๆ พี่ๆ ที่นัดกันเวลา 6 โมงเช้า เพื่อเดินออกกำลังกาย จากหน้าร้านอาหารบ้านเอราวัณ ลงเขามาถึงปากทางขึ้นบ้านเอราวัณ แล้วก็เดินกลับ ใช้เวลาประมาณ 45 นาที หลายคนพร้อม หลายคนไม่พร้อม (ไม่มีชุดกีฬา) แต่มีสปิริตไปร่วมเดินออกกำลังกายกัน กิจกรรมภาคเช้ามืด สำเร็จลงด้วยดี ไม่มีใครเป็นลม สุขภาพดีทุกคน

ภาคเช้า เราได้เริ่มจาก Learning Forum & Practice ในหัวข้อ “เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ” “Art and Feeling Presentation” โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำหลายอย่างมาก ทั้งที่ทำได้ และไม่อยากทำ (แต่ก็ต้องทำ)

โดยเริ่มจากการทบทวนตั้งแต่ในวัยเด็กว่าอยากเป็นการ์ตูนอะไร เพื่อค้นหาความคิดในวัยเด็ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มของตัวต้น

จากนั้น ให้มีการฝึกคิดจินตนาการจากสิ่งที่ไม่เป็นจริง เพื่อดูว่าเห็นภาพแล้วคิดถึงอะไร

และมีกิจกรรมที่ต้องแสดงตามที่อาจารย์บอก (โดยไม่ทราบล่วงหน้า) ซึ่งกิจกรรมนี้ เป็นการทำให้ทราบว่า คน (ผู้ใหญ่) มีการใช้สมองซีกซ้าย (Expert mind) มากกว่าสมองซีกขวา (Beginning mind) ซึ่ง Expert mind มักจะมีในผู้ใหญ่ ที่จะคิด (หรือถอยหลัง 1 ก้าว) ก่อนที่จะ Action เพราะต้องรักษาภาพลักษณ์เสมอ และ Beginning mind มักจะทำได้ทันทีโดยไม่ต้องคิด ทำได้ทันทีตามที่สมองสั่งการ ในการทำกิจกรรมนี้ จะเป็นการดึงเอาศิลปิน (จากสมองซีกขวา) ออกมาใช้งาน [กิจกรรมนี้ ใช้เวลานานไปหน่อย เพราะให้ทำทุกคน ทำให้มีอาการเบื่อเกิดขึ้นในเพื่อนๆ หลายๆ คน]

โดยสรุป “Art and Feeling Presentation” จะทำให้ทราบถึงว่า เราต้องมี Creativity เพื่อทำให้การ Presentation ของเราสำเร็จ คนจำได้ ซึ่งจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ Verbal คำพูด (7%) Sound เสียง (38%) และ Action ท่าทาง (55%)

Content and Presenter เป็นสิ่งที่ทำให้การสื่อสารได้สำเร็จ

Content ทำให้เกิด Involvement แต่จะทำ Content ให้น่าสนใจได้นั้น ต้องอยู่ที่ Presenter ซึ่งต้องมี “Art and Feeling Presentation”

สำหรับในช่วงบ่าย มีผู้ทรงความรู้มาร่วมใน Panel Discussion ในหัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ. โดย คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม (ชคส.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดำเนินการอภิปราย โดย ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ (ชคส.) ได้ให้แนวคิดว่า สิ่งที่เรา (EGAT) ทำ จะต้องดีกว่ามาตรฐาน และเรื่อง CSR ต้องเริ่มจากภายในสู่ภายนอก โดยในแนวคิดของ ชคส. CSR ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1)CSR สังคมไกล – สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ในภาพรวม

2) CSR ในองค์กร – CSR in Process ในกระบวนการหลัก, วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคม. พนักงานมีส่วนร่วม และจิตอาสา กฟผ.

3) CSR สังคมใกล้ – พัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยรอบหน่วยงาน

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ (ปราชญ์ชาวบ้าน) ได้ให้ความเห็นว่า “ต้องสร้างให้ชุมชนอยากรู้ ชุมชนนถึงจะอยากทำ”

โครงการที่จะช่วยชาวบ้าน จะต้องเป็นโครงการที่เห็นผลเร็ว ชาวบ้านจึงจะให้ความร่วมมือ จากนั้นจึงค่อยสอนหรือให้มีโครงการที่ใช้เวลาระยะยาวขึ้น จึงจะได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน

ปัจจุบัน เทคโนโลยีก้าวหน้ามาก ควรใช้เทคโนโลยีสื่อสาร และ Social Media/Social Network ในการเชื่อมโยงชาวบ้าน (ผุ้นำชุมขน ไม่เรียกประชุมแล้ว แต่ใช้ทีศัพท์มือถือ/Facebook ในการส่งข้อมูลถึงชาวบ้าน ดังนั้น ควรให้ผู้นำชุมชนช่วยกระจากข้อมูล และต้องสร้างสังคมชุมชนให้เป็นสังคมชุมชนแห่งการเรียนรู้

และที่สำคัญ โจทย์ที่จะไปคุยกับชาวบ้านต้องเป็นโจทย์ใหม่ๆ เรื่องใหม่ๆ รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ ควรให้ชาวบ้านช่วยคิด

และ กฟผ. ต้องทำในเรื่องที่เราถนัด เช่น กฟผ. ต้องผลิตไฟฟ้า ไม่ใช่ไปปลูกป่า และต้อง PR ให้มากขึ้น

มีคำถามเกี่ยวกับ การทำ CSR ของ กฟผ. และ งานชุมชนของครูบาสุทธินันท์ ซึ่ง ชคส. ตอบในเชิงว่า คงจะต้องลอกเลียนแบบของครูบาสุทธินันท์ แต่ในความคิดของเรา เราเห็นว่า การทำ CSR ของ กฟผ. ไม่ใช่การลอกเลียนแบบของชุมชนใดชุมชนหนึ่ง แต่น่าจะเป็นการพิจารณารายชุมชน เพราะว่า แต่ละชุมชนเป็น Unique มีความต้องการ มี Characteristic ไม่เหมือนกัน ดังนั้น โครงการที่เป็นที่ต้องการของชุมชน ไม่ควรยัดเยียด หรือเห็นว่าสำเร็จจากชุมชนหนึ่ง แล้วนำไปให้กับอีกชุมชนหนึ่งด้วย

การทำ PR ของ กฟผ. ไม่ค่อยเป็นมืออาชีพ ต้องปรับปรุง ต้องทำในหลายๆช่องทาง และในปัจจุบัน เทคโนโลยีสือสารมามากมาก กฟผ. ควรใช้ให้เป็นทุกๆอย่าง เพื่อติดต่อกับทุกคน ทุกลุ่มอายุ ทุกกลุ่มอาชีพ นอกจากนี้ กฟผ. ควรเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ 1 ช่อง และ สถานีวิทยุ 1 ช่อง เพื่อเป็นช่องทางประจำของ กฟผ. ม่ต้องไปซื้อเวลาของ TV หรือวิทยุ ช่องต่างๆ

การบ้านคุณพิสณห์

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

สรุปการบรรยายธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

ธรรมชาติบำบัดเป็นการรักษาแบบใช้ธรรมชาติ โดยใช้หลักการให้คนปรับพฤติกรรมในการรักษาโรค มากกว่า 30 ปี ที่ประเทศไทยเป็นโรคขาดสารอาหาร เมื่อเข้าสู่ยุคประเทศอุตสาหกรรมใหม่เราบริโภคมาก จึงเกิดโรคตามมาเช่น โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ไตวาย มะเร็ง เป็นต้น ปัญหาสุขภาพผู้เข้าอบรมพบว่า 30% แข็งแรง / 60 % อ้วน / 20 % ความดันสูง การที่น้ำหนักตัวมากทำให้ต้องมีปัญหากับการปวดข้อ ปวดเข่า ความดันสูง ไขมันสูง

ไขมันในร่างกาย 2 แบบ คือ ไขมันใต้ผิวหนัง และไขมันในพุง ไขมันมากเกินเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน

สิ่งที่ควรงด คือ แป้ง คาร์โบไฮเดรตที่ทำให้อ้วน ตัวอย่างประเทศที่อ้วนมากคืออเมริกาจนอเมริกานำหน้าเรื่องโรคอ้วนเสนอสูตรอาหารไม่ให้กินแป้ง กินแต่โปรตีนอย่างเดียว ผลคือคนอ้วนลดลงจำนวนมาก

ลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ คือ

1 กินให้น้อย กินเนื้อสัตว์ กินผัก ไม่กินข้าว หรือคาร์โบไอเดรตอื่น ๆ ไม่กินผลไม้ ถั่ว /นม อาหารไตรกีเซอไรด์ มาจากแป้ง ข้อมูลใหม่ไข่ไม่ได้ทำให้เกิดคอเรสเตอรอลในเลือด แต่ตัวแป้งทำให้ไขมันในเลือดสูง ข้าวขาวคืออัลฟาท็อกซิน เก็บมาหลายปีขายไม่ออก มีความชื้นสูง เป็นตัวทำให้เกิดเชื้อรา หรืออัลฟาท็อกซิน ต้องกินข้าวกล้อง

2 ออกกำลังกาย

ตัวช่วยสำหรับลดไขมัน ลดน้ำหนัก Bio3-Fiber ทำให้อิ่มเร็ว ลดการดูดซึมไขมัน / Biochromium / Fish oil ช่วยปรับการหมุนเวียนไขมัน ลดการอักเสบ

นมวัว มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไขมันเลือดสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจหลอดเลือด และสามารถก่อมะเร็งเต้านม

บรรยายเรื่อง วารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ

โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

ในอินเดีย มีประเพณีการอาบน้ำ ชาวม้ง อาบน้ำแร่ ตุรกี ฟินแลนด์อบซาวน่าร้อนสลับเย็น สังเกตได้ว่าความร้อนและน้ำจึงเป็นเรื่องของสุขภาพทั้งสิ้น กินไวน์ดี แต่ถ้าเกิน 50 ซี.ซีจะก่อให้เกิดสารพอกตับ

การตอบสนองขั้นต้นต่อความร้อนจัด

ถ้าอยู่ในที่ร้อน เช่นห้องซาวน่าจะทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว เพื่อคายความร้อน เลือดไปกองที่ผิวหนังหมด ส่วนอื่น ๆ เช่น สมอง ตับ ไต เลือดน้อยกว่าปกติ อวัยวะตรงกลางจะขาดเลือด ดังนั้นจึงไม่ให้อยู่นาน แค่ 3-5 นาที ไม่นานกว่านั้น แล้วออกมาจุ่มตัวในบ่อน้ำเย็น เพื่อดึงเลือดให้กลับส่วนกลางก่อน แล้วค่อยกลับเข้าไปอีกที

ซาวน่าทำให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น เม็ดเลือดขาวจะทำงานได้ดีที่อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37 องศา

การอบสมุนไพร ช่วยให้ภูมิต้านทานดีขึ้น ขับสารพิษ

การอาบน้ำร้อน การอาบน้ำร้อนอย่างเดียวก่อผลร้ายมากกว่าผลดี ทำให้อ่อนเพลีย ความคิดเฉื่อย การหมุนเวียนของเลือดไม่ดี ขาดความกระปรี้กระเปร่า

การอาบแดด ชาวอินเดียเชื่อว่าเมื่อป่วยหรือต้องการมีสุขภาพดีต้องให้มีพลังเพิ่มขึ้น โดยเติมจากพลังจักรวาล โยเร โยคะ การอาบแดดเป็นการรักษาโรคแบบหนึ่ง สมัยก่อนเด็กคนไหนที่เหลืองจะเอาไปตากแดด

การประคบด้วยลูกประคม ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว การประคบด้วยผ้าร้อนเย็นลดอาการปวด หัวโน แพลง เคล็ด ภายใน 48 ชั่วโมงแรกใช้ประคบเย็นก่อน หลังจากนั้นค่อยประคบร้อน

การออกกำลังกายในน้ำ น้ำลึกระดับอกพยุงน้ำหนักตัวได้เกือบ 70 % เป็นการออกกำลังที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาเรื่องข้อ สมอง อัมพาต พาร์กินสัน

การอาบน้ำแร่ น้ำแร่มีแร่ธาตุ เช่น กำมะถัน เหล็ก ซิลิก้า แคลเซียม โซเดียม สังกะสี โปตัสเซียม เกลือคาร์บอเนต แมกเนเซี่ยมเวลาอาบเสร็จไม่ต้องฟอกสบู่ แร่ธาตุจะได้อยู่กับผิวหนังร่างกาย

วันที่ 11 กพ

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์รรธนะ

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

นายสหัสนัย ยืนยงค์

อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

นายปณต สังข์สมบูรณ์

พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

นายยุทธการ มากพันธุ์

ตัวแทนชุมชน

นายคเชนทร์ พูนจันทร์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์รรธนะ

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

หลักสูตรนี้จะเกิดประโยชน์ไม่ใช่แต่เฉพาะตัวท่านเอง แต่ถ้าได้เรียนรู้กาญจนบุรีแล้วนำไปบริหารจัดการก็เกิดประโยชน์เช่นกัน

กาญจนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 320 กม. มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ สิ่งที่น่าสนใจคืออยู่ใกล้กรุงเทพฯประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมง ถ้าวิ่งไปสังขละบุรีใช้เวลา 3- 4 ชั่วโมง ลักษณะโครงสร้างเหมือนกำมือชี้นิ้ว ปลายนิ้วคือด่านเจดีย์สามองค์

สงคราม 9 ทัพ ถ้าสังเกตดี ๆ จะมีซุ้มสงคราม 9 ทัพ นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าเรียนรู้

สะพานแม่น้ำแคว ที่ญี่ปุ่น พยายามข้ามไปอินเดีย ทุกปีมีกิจกรรมของเรา มีสุสานพันธมิตรที่เขาช่องไก่ ไทรโยค สุสานพันธมิตรในเมือง

หน้าตาประวัติศาสตร์ของกาญจนบุรี มีวัฒนธรรม หลวงพ่ออุตตะมะ บ้านอีต่อง (เหนืออำเภอทองผาภูมิ ขอบชายแดนทางด้านนั้น)

เหมืองป้าแหม่ม (สาวออสเตรเลียมาอยู่ตั้งแต่อายุ 17 ปัจจุบัน 80ปี) ปัจจุบันเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเช่นกัน และเหนือเขื่อนก็ข้ามมาอีต่องได้

รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 มีความสัมพันธ์กับเมืองกาญจน์เพราะสมัย ร.3 นั้น ร.1 โปรดให้ ร.3 ยกทัพมารอพม่าที่เมืองกาญจน์และสร้างกำแพงเมืองที่จวนผู้ว่าฯ

ขุนแผนอยู่ตรงกาญจนบุรีเก่า (แยกแก่งเสี้ยน เลยลาดหญ้ามา) มีวัดนางพิม

สรุปดินแดนกาญจนบุรีเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เชิงอนุรักษ์

มีภูมิประเทศที่น่าสนใจมาก มีน้ำแควน้อย แควใหญ่ที่ไม่เคยแห้งเพราะมีเขื่อนคอยปิดเปิดก๊อก

โซนที่ 2 ที่ 3 เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ มีพระบรมราชาอนุสาวรีย์ ตำบลดอนเจดีย์อำเภอพนมทวน

อนุสรณ์สถานเป็นจริงด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เยอะ เป็นเจดีย์เก่า ผู้ที่อยู่ในตำบลนั้นเกี่ยวกับช้างและม้าทั้งนั้นเลย

สรุป เมืองกาญจน์ โดยสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ หากินได้ทันที มีฝรั่งและจีนต่างชอบเดินทางมาจังหวัดมาก

การเน้นย้ำการส่งเสริมการท่องเที่ยวมาก ๆ เกี่ยวพันกับชุมชนและโรงไฟฟ้าที่พูดถึง ต้องเอาเงินไปใช้พัฒนากองทุน จากใต้เขื่อนไปถึงตัวเมือง ถ้าไปพัฒนาจะง่ายมาก ถ้าพัฒนาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ความคงทนถาวรจะอยู่ยาวนาน ปีหนึ่งเกิดรายได้ค่อนข้างสูง ยุทธศาสตร์อื่น จะกินได้ตลอด

ยุทธศาสตรที่ 2 เกษตรอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์เกษตรอุตสาหกรรม 2ใน3 เป็นการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร แควใหญ่ แควน้อย ไหลผ่านอำเภอ เจอเขื่อนท่าม่วง หลังจากนั้นเป็นการชลประทานที่ดี เป็นเขตเศรษฐกิจที่ดีมาก ๆ

นอกจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ ศรีนครินทร์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้โซนที่ 2 มีคุณภาพ ลักษณะ พื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่เกษตรอุตสาหกรรม

กาญจนบุรีกับความสัมพันธ์ต่างชาติ

ให้ลองศึกษาว่าอะไรขายในรัสเซีย ดีกว่าหากินรอบ ๆ บ้าน

อินเดีย ให้ดูว่าในครัวเรือนใช้อะไรแค่ชิ้นหนึ่งใช้ของจากกาญจนบุรี ก็รวย พยายามให้พาณิชย์จังหวัดคุยกับพาณิชย์

ตะวันออกกลาง อาจไม่รู้ว่าจะขายอะไรเนื่องจากเขารวย ให้ลองกลับมาดูว่าโรงแรม 5 ดาวมีกี่แห่ง ให้ศึกษาดูว่าเขาใช้อะไร

จีน ให้ลองศึกษาดูแต่อย่าลืมว่าเขาเป็นยักษ์ใหญ่

เริ่มต้นที่วัฒนธรรมก่อน

ใน ครม.สัญจร ยุทธศาสตร์ที่เพ่งเล็ง เราขอไปใน 6 พันล้าน ต้องไม่แล้ง การผันน้ำจากอำเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนศรีนครินทร์ วิธีการเกาะขอบบนไหลลงล่าง หาโซนที่สอง

ผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง เจอแควน้อย แควใหญ่ ท่าม่วง ผ่านอำเภอเมือง อำเภอพนมทวน ใช้ระบบสูบ แต่อยากถามว่าค่าใช้จ่ายตรงนี้ใครรับผิดชอบ สิ่งที่พบคือการสูบน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูง ถ้าไม่จำเป็นอย่าทำ

พัฒนาฐานการผลิต พัฒนาโซนที่สอง โซนที่สาม

ทวายเป็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคสมเด็จพระนเรศวร เป็นส่วนที่หวังอยากให้เกิด East West Corridor แต่อยากให้พัฒนากาญจนบุรีให้เตรียมความพร้อมก่อน เริ่มแรกอยากให้ทบทวนในเรื่องผังเมืองก่อนเพราะสภาพภูมิประเทศ ต้นทุนทางธรรมชาติมีอยู่แล้ว ถ้าวางผังเมืองไม่ดี จะมีคนซื้อที่ตอนทวายเริ่มเกิดอย่างมากมายอย่างไม่เป็นระบบ น่าเป็นห่วงมาก ดังนั้นจึงควรคิดต่อเรื่องระบบผังเมืองอย่างดี

กาญจนบุรีแบ่งเป็น 3 โซน

โซนที่ 1 เมืองเก่า ตรง ถ.แสงชูโต

โซนที่ 2 ถนนปากแพร่งก็เป็นเมืองเก่าเช่นกัน

โซนที่ 3 ถนนริมแม่น้ำ ก็เมืองเก่าอีกเช่นกัน

สรุปทั้ง 3 โซนเป็นเมืองเก่าที่กาญจน์อนุรักษ์และสร้างรายได้เข้าจังหวัดอย่างมหาศาล

โซนที่ 2 เปลี่ยนชื่อว่าเมืองใหม่ สมัย ครม.สัญจรเสนอบ้านพุ่มน้ำร้อนเจอที่หนองขาวเป็นมอเตอร์เวย์

สรุปพัฒนากาญจนบุรีโดยมองที่สภาพภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ สิ่งสำคัญคือให้เข้าใจในมิติของพื้นที่อนุรักษ์กาญจนบุรี อย่าใช้ผิดที่ผิดทางเน้นการอนุรักษ์และรักษาคุณภาพอย่าให้เสียหาย บริเวณเหนือเขื่อนมีปลาที่อร่อยมาก

บ้านปานาสวน มีเรือตะไลเป็นเครือข่ายเกือบ 100 ลำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กฟผ. ถ้าเป็นผู้นำในอนาคต ถ้ามีภาพกว้าง เศรษฐกิจ สังคม Logistics และภาพลึกทางวิศวกรรม ไฟฟ้า จะเป็นสิ่งดีมาก

กฟผ. จริง ๆ แล้วมีส่วนร่วมมาก เช่นเขื่อน ต้องเขียนถึงประโยชน์ด้วยไม่ใช่ปัญหาอย่างเดียว ให้ประชาชนแลกเปลี่ยนความคิดกัน

นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

การท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมประชาชนในพื้นที่

ตัวชี้วัดถ้ามองประเด็นเขื่อนศรีนครินทร์โดยเฉพาะ บทบาทการท่องเที่ยวของเขื่อนศรีนครินทร์เป็นอย่างไร มีความน่าสนใจอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร เช่นโครงการชีววิถีเป็นโครงการที่ดีมากให้ความรู้กับชุมชน เป็นโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้คนทำงานต่อเนื่อง ส่งเสริมโอทอป และเป็นแหล่งที่ศึกษาดูงานคนมาดูงานเยอะ มากิน ใช้ นอน เที่ยว จึงกลายเป็นแพคเก็จที่ชมรมท่องเที่ยวอำเภอศรีสวัสดิ์ เป็นจุดขายเพื่อให้คนมาดูงานว่ามีวิธีการกำจัดขยะ สร้างรายได้อย่างไร

โครงการฝายชะลอน้ำ เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติทำให้อุดมสมบูรณ์ พอโครงการมีการประชาสัมพันธ์ออกไป จะมีหน่วยงานเข้ามาช่วยเขื่อนศรีนครินทร์ทำฝายชะลอน้ำต่าง ๆ เป็นอานิสงส์ของการท่องเที่ยวโดยอัตโนมัติ ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในเครือข่าย

การตกปลาเป็นอีกแพ็คเกจที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไปขาย สนามตกปลาเป็นอีกสนามหนึ่งที่แข่งขันตกปลา โครงการปล่อยปลาเป็นอีกโครงการที่สร้างความสัมพันธ์กับประชาชน

โครงการศึกษาดูงาน มีทั้งที่ให้เขามาดูงานที่เขื่อนศรีนครินทร์พาชุมชนจากพื้นที่อำเภอศรีสวัสดิ์ไปชมเครือข่ายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทั่วประเทศ

โครงการจัดงานคืนรักคนสันเขื่อน เนื่องจากที่ผ่านมามีความเสียหายเกิดขึ้นมาก จัดงานเพื่อสงบข่าวลือตรงนั้น เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ของคนในพื้นที่

การสร้างความมั่นใจ เป็นการดูแลทางด้านจิตใจของคนในพื้นที่และของนักท่องเที่ยวในเรื่องความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์ เช่นข่าวเขื่อนแตกมีผลกระทบต่อชาวบ้านหลายคนไม่อยากกลับมาที่ อ.ศรีสวัสดิ์ มีการทำ PR เสียงจากชุมชน การสะกิดจุดอ่อน ทำเพื่อภาพรวม ไม่มีใครทราบว่าเขื่อนสร้างเพราะอะไร เขื่อนจ้าวเลนผูกพันกับสงคราม 9 ทัพ

ในการสร้างความมั่นใจ ควรทำ Museum , Display

การพัฒนาการท่องเที่ยว มีแพพัก ตัวไข่แดงคือตัวผู้ประกอบการท่องเที่ยว

ศรีสวัสดิ์โมเดลจะเป็นแม่แบบให้ผู้ประกอบการอย่างดี การสร้างมาตรฐานแพพักสามารถกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ Upgrade ตัวเองได้

ปัญหา

ชาวบ้านระดับล่าง 60% ไม่มีความรู้

ระดับกลาง SMEs 30%

กฟผ.อาจเข้าไปช่วยสร้างมาตรฐานให้เขาได้ และเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เมื่อไร การพัฒนาของเขาจะสำเร็จ ประโยชน์ที่ได้รับจะเกิดประโยชน์ 4 ฝ่ายด้วยกัน

ชาวบ้านจะได้รับความปลอดภัยมากขึ้น

ผู้ประกอบการสามารถส่งเสริมให้ตนเองมีมาตรฐาน มีรายได้มากขึ้น พัฒนาฝีมือแรงงาน

นักท่องเที่ยวได้รับการท่องเที่ยวมีคุณภาพ

ผู้ประกอบการ มีรายได้มากขึ้น ให้คนกลับมาอยู่บ้าน

ภาครัฐ มีการจัดเก็บภาษี มีรายได้มากขึ้น

กฟผ.ไม่มีบุคลากรเฉพาะเจาะจงมาทำงานนี้ ช่องว่างระหว่างกฟผ.กับชาวบ้านจึงกว้างมากขึ้นเพราะชาวบ้านมองว่า กฟผ.มีเงินเดือนสูง มีสวัสดิการที่ดี องค์กรน่าจะสร้างเครือข่ายที่ดี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Good idea ในห้องนี้ยังไม่สามารถ implement ได้ทันที ทุกคนในห้องนี้หวังดี อยากเอาชนะอุปสรรค กฟผ. ยังเป็นระบบ Silo ถ้าขึ้นอยากให้ขึ้นทั้งแผง

นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

เป็นคนที่ตั้งกองทุนโรงไฟฟ้าที่กระบี่ ยินดีที่เจอคน กฟผ.ที่นี่

ในบทบาทพนักงานพลังงานจังหวัดเป็นส่วนภูมิภาค เป็นตัวแทนของกระทรวงฯ ประสานงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน

ภารกิจหลัก ๆ แบ่งเป็นธุรกิจไฟฟ้า พลังงานทดแทน สนง.พลังงานแก้ปัญหาในพื้นที่

ชุมชนที่ 2 มีวิสาหกิจชุมชน และเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนทางด้านพลังงาน มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับครัวเรือนทดแทนจากไม้ แกลบ ฟาง สามารถทำร่วมกับ กฟผ.ได้ ในกาญจน์ยังไม่น่าจะมีปัญหา อยากให้ลงไปดูปัญหาจริง ๆ ในพื้นที่มีอะไร แล้วทำงานผ่านพลังงานฝึกหัด

ในเรื่องชุมชน กฟผ.ได้ในส่วนไหนของพลังงาน โครงการหลอดผอม กลุ่มอาชีพ กลุ่มพลังงานต่าง ๆ

ในระยะยาวน่าจะมีโครงการที่น่าจะเป็นไปได้ ไปช่วยที่ต่าง ๆ

พลังงานที่เป็นภารกิจจังหวัด อ้อยเยอะ พลังงานเยอะ ก๊าซชีวภาพจะทำอย่างไร

กองทุนรอบโรงไฟฟ้า เช่นโรงน้ำตาล ผลิตร้อยขาย 40 จ่ายเงินเข้ากองทุนเฉพาะที่ขาย แต่ละเทคโนโลยีไม่ได้มาตรฐานจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นได้ ประกอบกับชาวบ้านไม่รู้ข้อมูลจะมีวาระซ่อนเร้น ให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามกฎ กลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีที่เอามาอ้างได้ ปัญหาบางครั้งต้องปฏิบัติตามระเบียบให้เต็มที่จะแก้ได้

จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังจำนวนมากถ้านำมาผลิตไฟฟ้าได้ 20 เมกกะวัตต์ คิดกก. 50 สตางค์ต่อไร่ น่าจะสนับสนุนให้ปลูกมันสำปะหลังเพื่อพลังงานมากขึ้น

ยอดอ้อยกับใบอ้อย จากที่ทำวิจัยนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงต้นทุนมากกว่ามันสำปะหลังเป็น 5-10 เท่า

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถึงแม้ว่าเราไม่ดูแล Energy tax โดยตรงแต่กฟผ.ควรทำวิจัยว่าทำแล้วเกิดประโยชน์จริงหรือไม่ ทุกคนพูดตรงประเด็น แต่ข้อเสียยังไม่ได้ Follow up ให้เสนอให้มีพิพิธภัณฑ์เกิดขึ้น การประชุมรุ่น 11 ต้องต่อเนื่องกับรุ่น 10

นายยุทธการ มากพันธุ์

บทบาท กฟผ. ด้านดี คือจะเป็น Hero ตอนไฟดับ แต่อีกบทบาทด้านไม่ดีคือการขึ้นค่าไฟ และการหาไฟฟ้า เช่นต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ พลังงานน้ำ ซึ่งเป็นผลกระทบทางลบต่อประชาชน ไฟฟ้าชีวมวลก็ถูกต่อต้านทุกเรื่อง

กระทรวงพลังงานพยายามหาไฟฟ้าให้กับคนทั้งประเทศ

วิธีแก้ ขสมก.มีรถล้านคัน พนักงานเครือข่ายล้านคน ถามว่าเอาเงินที่ไหนจ้าง เขาทำอย่างไร ทำไม กฟผ.ไม่มีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ในเขื่อนศรีนครินทร์มีพลังงานน้ำมหาศาล อย่าดูถูกประชาชนเครือข่ายพลังงานขนาดเล็ก เพราะเครือข่าย 1 ล้านครัวเรือนจะมีพลังงานมหาศาล ร่วมกันสตาร์ดเครื่องเจนเนอเรชั่น จะได้พลังงานจำนวนมาก กลุ่มประชาชนผลิตน้ำมันเองได้ น่าจะสร้างเครือข่ายตรงนี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปรับ Mindset ปรับ Paradigm วิธีคิด จากนี้ไปจะเป็นความจริงมากขึ้น เลือกอะไรที่ Relevance เรื่องชุมชนเป็นไปได้อยู่แล้ว

นายคเชนทร์ พูนจันทร์ ตัวแทนจาก SCG

การสร้างทุนทางเครือข่ายเป็นการลงทุนระยะยาวและวัดผลได้ยาก การลงทุนไม่ได้เป็นเงิน ใช้ทั้งคน มีจิตใตที่จะทุ่มเท เปรียบเสมือนคนเราทำความดีต้องใช้เวลานานมากที่ทำให้คนยอมรับ มีความเชื่อมั่น ศรัทธา ทำต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และทำกับทุก ๆ คนด้วย ในแง่บริษัทก็เช่นเดียวกัน ทาง SCG ชุมชนกับสังคมต้องดูให้ Balance กัน

ความรับผิดชอบต่อสังคม SCG ยึดมั่นมาตลอด เราอยู่ในชุมชนต้องดูเรื่องรายได้ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต้องบริหารให้อยู่ด้วยตลอดไป ต้องสร้างรายได้ให้ชุมชน สร้างงานให้ชุมชน พัฒนาชุมชน ไม่ว่าสาธารณประโยชน์ หรือการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม ต้องเลือกเทคโนโลยี ต้องลงทุนที่ทำธุรกิจส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ทางภาคเอกชนมีคนสนใจที่คนจะเข้าร่วมมากน้อยเพียงใด เรามองว่าทุกคนมีความพอใจเหมือนกัน SCG มีการจ้างบริษัทภายนอกมาดำเนินการให้รู้ว่าชุมชนมีความเห็นกับเราอย่างไรจะได้ตอบโจทย์กับชุมชนได้ จะได้มีการติดตาม ไม่ใช่สำรวจแล้วไม่ทำ มีทีมในการติดตามตรวจสอบว่าชุมชนคิดอย่างไร มีคณะกรรมการชุมชน 1 manager 1 Community ผู้จัดการทุกคนต้องมี Activity ร่วมกับชุมชน ไปดูแล สำรวจ ติดตามชุมชนว่ามีความคิดเห็นอย่างไร กลับมาทำแผนงาน และต้องไปตอบกับชุมชน

จะมีส่วนร่วมอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับชุมชน

ให้เอาชุมชนเป็นตัวตั้ง ฟังเสียงประชาชนหรือชุมชน แต่ไม่สามารถตอบสนองชุมชนได้ทุกคน สิ่งใดที่ทำแล้วเกิดประโยชน์ เป็นสาธารณประโยชน์ SCG จะไม่สนับสนุนเรื่องการให้เงินเนื่องจากควบคุมยากและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แต่ให้ทางชุมชนเสนอเข้ามาและให้พนักงานลงไปทำงานร่วมกับชุมชน ไม่ใช่ลักษณะการสร้างให้หรือมอบให้ ต้องสร้างจากความต้องการที่ชุมชนได้จริง ต้องดูแลรักษาประโยชน์ตรงนี้ให้เกิดขึ้นตลอดไป

การทำงานกับชุมชน

ต้องทำงานในเชิงรุก ไม่รอให้มีปัญหา ออกไปพบกับชุมชน กิจกรรมมีการเผยแพร่ให้ชุมชนรับทราบ แต่การประชาสัมพันธ์อย่าเกินความจริงเพราะจะเกิดผลในทางลบได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กระจายบทบาทของกฟผ.กับชุมชนไปทุกจุด ข้อแตกต่างระหว่าง SCG กับ กฟผ. คือเป็นรัฐวิสาหกิจ เป็น Silo เป็น Structure ที่แข็ง ในรุ่นนี้ต้องทำลาย Structure ที่แข็ง

ร่วมแสดงความคิดเห็น

คิดว่าวันนี้มีอะไรใหม่ 1 เรื่อง และจะทำอะไรต่อ

1. เรื่องกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้า ปัจจุบันใช้ไม่ตรงจุดตรงประเด็น ต้องเป็นตามที่อาจารย์เสนอคือเรื่องทำวิจัย

2. เจาะลึกและติดตามความต่อเนื่องของชุมชน ทำเรื่องการวางแผนการดำเนินการให้ชัดเจนขึ้น เน้นความต่อเนื่องและต่อเนื่อง

3. ประเด็นคุยกับชุมชนต้องมีหลาย Silo ควรให้แต่ละ Silo คิดเหมือนกัน ชุมชนจะได้ไปด้วยกัน

4. ต้องสร้างกฟผ.เป็นบ้านเดียวกับชุมชนไม่ใช่บ้านรั้วสูง สร้างทัศนคติใหม่ให้คนทุกระดับว่าเป็นคนระดับเดียวกัน

5. 1 manager 1 community น่าจะดูแลชุมชนได้ดี อย่างกฟผ.อาจเป็น 1 เขื่อนหรือ 1 หัวหน้ากอง 1 community เป็นต้น

6. การทำงานร่วมกับชุมชนของ SCG เอาชุมชนเป็นตัวตั้ง กฟผ.ลงลึกกว่านั้นคือการบริหารชุมชนไม่ได้สอดรับกับเงินที่ใช้จริง ๆ อยากให้กฟผ.เอาเงินกองทุนมา Share ทำงานร่วมกัน

7. ปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน อาจมีการปูพื้นตั้งแต่เด็ก ๆ

ดร.จีระ เสนอให้ Training ผู้ช่วยฝ่าย

คุณสหัสนัย ยืนยงค์

กฟผ. ควรมีแผนกพัฒนาชุมชนขึ้นมาเพื่อทำงานร่วมกับชุมชนจังหวัดหรืออำเภอให้วัตถุประสงค์ถูกต้องและถูกใจ

คุณยุทธการ มากพันธุ์

กฟผ.เป็นองค์กรที่อยู่กับไทยมานานและไม่ยอมแปรรูป แทนที่คนอื่นมาถือพลังงานในมือ กฟผ.สามารถเป็นพี่ใหญ่ได้ แต่คนไทยมีคุณสมบัติคือรวมกลุ่มไม่ได้ ให้ยึดมั่นสิ่งที่ตัวเองมีฝึกคนให้ประชาชน ให้ประชาชนเป็น Partner และเครือข่ายของท่าน

คุณปณต สังข์สมบูรณ์

ทำอะไร ผ่านทางเครือข่ายสนองต่อปัญหาของชุมชนเพื่อสร้างความคุ้นเคยผ่านกลุ่มต่าง ๆ จะสร้างความเชื่อใจได้ ถ้าเราจริงใจกับชุมชน

คุณคเชนทร์ พูนจันทร์

กฟผ.บุคคลากรมากกว่า SCG เครือข่ายศักยภาพน่าจะมากกว่าเรา ทำคนเดียวไม่สำเร็จ ต้องออกไปให้ความรู้ ทำตั้งแต่พนักงานระดับสูงถึงระดับล่าง โครงการไหนมีความซับซ้อนต้องเชิญวิชาการมาร่วม เชิญสื่อมวลชนทุกองค์กรมีส่วนร่วม มีโครงการจับคู่ธุรกิจที่จะทำ โครงการใกล้เราเชิญมาทำร่วมกับเรา ไม่ใช่พื้นที่เรา อย่างภาคเอกชนก็เชิญมาทำ ปัญหาแก้คนเดียวไม่ได้ ต้องช่วยแก้ไขที่ SCG สำเร็จเพราะชุมชนไว้ใจ มีปัญหาบอกชุมชน ไม่ปกปิดร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน ความเข้าใจของชุมชนแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน

บ่าย

บรรยายเรื่อง HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่อยากให้ผู้เรียนรู้พัฒนาคือ

1. Change

2. Paradigm Shift

3. Mindset

สรุป Quotation

- Microsoft เริ่มต้นเหมือนเน้นไปที่ PC Computer เจอปัญหา เพราะคนไม่ใช้ PC ต่อมาคือ Satya Nadella ทำเรื่อง Cloud Computing เข้ามาช่วงสถานการณ์เปลี่ยนแปลง

- HR เกี่ยวข้องกับ Leadership 2 อย่าง ต้องเป็น Leader หน้าที่คือไปสร้าง Leader ต้องยืมคนอื่นมา

- จุดสำคัญที่สุดคือค้นหาตัวเอง นอกจากเป็นวิศวะแล้ว ไม่เป็น HR Manager เพราะอะไร

- Science & Social Science ต้องผสมกัน

- Turn Intangible มาเป็น Tangible

- อยากให้ Non HR ลงลึกเกี่ยวกับ Human Resource นอกจาก Resource Department

- การแข่งขันขึ้นอยู่กับ Quality

- ถ้าเราจะเป็น Non HR ที่เก่งเรื่องคน เราต้องมีปรัชญาเรื่องคน

- Factor Proportion ถ้ามีทรัพยากรธรรมชาติมากกว่ามนุษย์จะไม่ลงทุนเรื่องคน

- Potential ของมนุษย์อยู่ข้างใน ไม่อยู่ข้างนอก เน้นการกระตุ้นเพื่อความเป็นเลิศ

- การมองทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่องค์กร ถ้าไม่เข้าใจ Macro ไปสู่ Micro Human Capital เจ๊ง

- เปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน

- Non HR ต้องทำ 3 อย่าง ปลูก พัฒนา เก็บเกี่ยว เอาชนะอุปสรรค

HR Department

- ต้องให้บทบาท HR ไปสู่ Non HR หรือ Line Manager มากขึ้น

HR Function

- HR Function ต้องเปลี่ยน คนไม่ใช่ HR หรือ HR ต้องเข้าใจมากขึ้น

HR

- HR ยุคใหม่ต้องไม่ติดความคิดเดิม ๆ

- Blue Ocean คือความคิดสร้างสรรค์

- Asset แต่ก่อนเป็น Financial Asset อย่างเดียว

- HR ไม่ใช่ทำเรื่อง Performance เพรียว ๆ ต้องมองสังคมด้วย ต้อง Trust และ มี Social Trust

- ก่อนปลูกคนในองค์กรต้องมี HR และ Recruitment (ปลูก เก็บเกี่ยว Execution

- คุณลักษณะทุนมนุษย์ที่เหมาะสม จริยธรรม คุณธรรม

- ต้องเรียนรู้ทำงานแบบเครือข่าย

- เมื่อมี 8K’s แล้วค่อยกระเด้งไป 5K’s ทำอย่างไรคิดนอกกรอบ มีไอเดียใหม่ ๆ

- กฟผ.ยุคใหม่ต้องคิดอะไรที่แตกต่าง ถ้ามีลูกค้าอย่าไปเน้นลูกค้าเดิมให้หาลูกค้าใหม่ ๆ ด้วย อาจเน้นการทำธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ไฟฟ้า

8K’s 5K’s

- มีโอกาสเพิ่มมาตรฐาน คุณภาพ Benchmarking

การเก็บเกี่ยว

- ไม่ใช่เครื่องจักร ทำอะไรต้องมีความพอใจ

Intangible ควรประกอบด้วย

- การทำงานอย่างมีความสุข (Happiness)

- ยกย่องคนทุกระดับ (Respect)

- ให้คนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity)

- มองไกลและยั่งยืน (Sustainable)

การทำงานเน้นความยั่งยืนคือพฤติกรรมของเรา ทำให้คนใฝ่รู้มากขึ้น ต้องหา Solution แก้ปัญหาให้ได้

สุดท้าย

ให้ Non – HR ในห้องนี้บ้าคลั่งความสำเร็จให้มากขึ้น การเอาชนะอุปสรรค สิ่งที่เสนอในวันนี้ไปติดที่ High บ้าง บางครั้ง Bureaucracy แข็งเกินไปเพราะมีงบประมาณประจำปี แต่มีงบกลางน้อยมากเลย

Value Creation เริ่มจากศูนย์แต่มีความคิดแตกต่างจากคนอื่น ต้องเปลี่ยนจากความหลากหลายไปสู่มูลค่าเพิ่ม

Workshop

นนี้ ต้องตื่นแต่เช้า 5.30 น. เพื่อไปร่วมกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เราร่วมกับ อ. ดร. จิระ และเพื่อนๆ พี่ๆ ที่นัดกันเวลา 6 โมงเช้า เพื่อเดินออกกำลังกาย จากหน้าร้านอาหารบ้านเอราวัณ ลงเขามาถึงปากทางขึ้นบ้านเอราวัณ แล้วก็เดินกลับ ใช้เวลาประมาณ 45 นาที หลายคนพร้อม หลายคนไม่พร้อม (ไม่มีชุดกีฬา) แต่มีสปิริตไปร่วมเดินออกกำลังกายกัน กิจกรรมภาคเช้ามืด สำเร็จลงด้วยดี ไม่มีใครเป็นลม สุขภาพดีทุกคน

ภาคเช้า เราได้เริ่มจาก Learning Forum & Practice ในหัวข้อ “เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ” “Art and Feeling Presentation” โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำหลายอย่างมาก ทั้งที่ทำได้ และไม่อยากทำ (แต่ก็ต้องทำ)

โดยเริ่มจากการทบทวนตั้งแต่ในวัยเด็กว่าอยากเป็นการ์ตูนอะไร เพื่อค้นหาความคิดในวัยเด็ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มของตัวต้น

จากนั้น ให้มีการฝึกคิดจินตนาการจากสิ่งที่ไม่เป็นจริง เพื่อดูว่าเห็นภาพแล้วคิดถึงอะไร

และมีกิจกรรมที่ต้องแสดงตามที่อาจารย์บอก (โดยไม่ทราบล่วงหน้า) ซึ่งกิจกรรมนี้ เป็นการทำให้ทราบว่า คน (ผู้ใหญ่) มีการใช้สมองซีกซ้าย (Expert mind) มากกว่าสมองซีกขวา (Beginning mind) ซึ่ง Expert mind มักจะมีในผู้ใหญ่ ที่จะคิด (หรือถอยหลัง 1 ก้าว) ก่อนที่จะ Action เพราะต้องรักษาภาพลักษณ์เสมอ และ Beginning mind มักจะทำได้ทันทีโดยไม่ต้องคิด ทำได้ทันทีตามที่สมองสั่งการ ในการทำกิจกรรมนี้ จะเป็นการดึงเอาศิลปิน (จากสมองซีกขวา) ออกมาใช้งาน [กิจกรรมนี้ ใช้เวลานานไปหน่อย เพราะให้ทำทุกคน ทำให้มีอาการเบื่อเกิดขึ้นในเพื่อนๆ หลายๆ คน]

โดยสรุป “Art and Feeling Presentation” จะทำให้ทราบถึงว่า เราต้องมี Creativity เพื่อทำให้การ Presentation ของเราสำเร็จ คนจำได้ ซึ่งจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ Verbal คำพูด (7%) Sound เสียง (38%) และ Action ท่าทาง (55%)

Content and Presenter เป็นสิ่งที่ทำให้การสื่อสารได้สำเร็จ

Content ทำให้เกิด Involvement แต่จะทำ Content ให้น่าสนใจได้นั้น ต้องอยู่ที่ Presenter ซึ่งต้องมี “Art and Feeling Presentation”

สำหรับในช่วงบ่าย มีผู้ทรงความรู้มาร่วมใน Panel Discussion ในหัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ. โดย คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม (ชคส.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดำเนินการอภิปราย โดย ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ (ชคส.) ได้ให้แนวคิดว่า สิ่งที่เรา (EGAT) ทำ จะต้องดีกว่ามาตรฐาน และเรื่อง CSR ต้องเริ่มจากภายในสู่ภายนอก โดยในแนวคิดของ ชคส. CSR ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1)CSR สังคมไกล – สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ในภาพรวม

2) CSR ในองค์กร – CSR in Process ในกระบวนการหลัก, วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคม. พนักงานมีส่วนร่วม และจิตอาสา กฟผ.

3) CSR สังคมใกล้ – พัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยรอบหน่วยงาน

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ (ปราชญ์ชาวบ้าน) ได้ให้ความเห็นว่า “ต้องสร้างให้ชุมชนอยากรู้ ชุมชนนถึงจะอยากทำ”

โครงการที่จะช่วยชาวบ้าน จะต้องเป็นโครงการที่เห็นผลเร็ว ชาวบ้านจึงจะให้ความร่วมมือ จากนั้นจึงค่อยสอนหรือให้มีโครงการที่ใช้เวลาระยะยาวขึ้น จึงจะได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน

ปัจจุบัน เทคโนโลยีก้าวหน้ามาก ควรใช้เทคโนโลยีสื่อสาร และ Social Media/Social Network ในการเชื่อมโยงชาวบ้าน (ผุ้นำชุมขน ไม่เรียกประชุมแล้ว แต่ใช้ทีศัพท์มือถือ/Facebook ในการส่งข้อมูลถึงชาวบ้าน ดังนั้น ควรให้ผู้นำชุมชนช่วยกระจากข้อมูล และต้องสร้างสังคมชุมชนให้เป็นสังคมชุมชนแห่งการเรียนรู้

และที่สำคัญ โจทย์ที่จะไปคุยกับชาวบ้านต้องเป็นโจทย์ใหม่ๆ เรื่องใหม่ๆ รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ ควรให้ชาวบ้านช่วยคิด

และ กฟผ. ต้องทำในเรื่องที่เราถนัด เช่น กฟผ. ต้องผลิตไฟฟ้า ไม่ใช่ไปปลูกป่า และต้อง PR ให้มากขึ้น

มีคำถามเกี่ยวกับ การทำ CSR ของ กฟผ. และ งานชุมชนของครูบาสุทธินันท์ ซึ่ง ชคส. ตอบในเชิงว่า คงจะต้องลอกเลียนแบบของครูบาสุทธินันท์ แต่ในความคิดของเรา เราเห็นว่า การทำ CSR ของ กฟผ. ไม่ใช่การลอกเลียนแบบของชุมชนใดชุมชนหนึ่ง แต่น่าจะเป็นการพิจารณารายชุมชน เพราะว่า แต่ละชุมชนเป็น Unique มีความต้องการ มี Characteristic ไม่เหมือนกัน ดังนั้น โครงการที่เป็นที่ต้องการของชุมชน ไม่ควรยัดเยียด หรือเห็นว่าสำเร็จจากชุมชนหนึ่ง แล้วนำไปให้กับอีกชุมชนหนึ่งด้วย

การทำ PR ของ กฟผ. ไม่ค่อยเป็นมืออาชีพ ต้องปรับปรุง ต้องทำในหลายๆช่องทาง และในปัจจุบัน เทคโนโลยีสือสารมามากมาก กฟผ. ควรใช้ให้เป็นทุกๆอย่าง เพื่อติดต่อกับทุกคน ทุกลุ่มอายุ ทุกกลุ่มอาชีพ นอกจากนี้ กฟผ. ควรเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ 1 ช่อง และ สถานีวิทยุ 1 ช่อง เพื่อเป็นช่องทางประจำของ กฟผ. ม่ต้องไปซื้อเวลาของ TV หรือวิทยุ ช่องต่างๆ

การบ้านคุณพิสณห์

บรรยายเรื่อง HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

  • สิ่งที่อยากให้ผู้เรียนรู้พัฒนาคือ Change / Paradigm Shift / Mindset
  • สรุป Quotation
  • Microsoft เริ่มต้นโดยเน้นระบบปฏิบัติการบน PC Computer ต่อมาคนใช้ PC น้อยลง Satya Nadella ทำเรื่อง Cloud Computing เข้ามาช่วงสถานการณ์เปลี่ยนแปลง
  • Science กับ Social Science ต้องผสมกัน ต้องทำให้ Turn Intangible เป็น Tangible
  • การแข่งขันขึ้นอยู่กับ Quality
  • การจะจะเป็น Non HR ที่เก่งเรื่องคน ต้องมีปรัชญาเรื่องคน ถ้ามีทรัพยากรธรรมชาติมากกว่ามนุษย์จะไม่ลงทุนเรื่องคน
  • Potential ของมนุษย์อยู่ภายใน ต้องเน้นการกระตุ้นให้แสดงหรือดึงเอาศักยภาพออกมา
  • การมองทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่องค์กร ต้องเข้าใจทั้ง Macro และ Micro Human Capital
  • ทุกสิ่งต้องเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน
  • Non HR ต้องทำ 3 อย่าง คือ ต้องปลูก ต้องพัฒนา และต้องเก็บเกี่ยว
  • HR Department ต้องปรับให้บทบาท HR ไปสู่ Non HR หรือ Line Manager มากขึ้น HR ยุคใหม่ต้องไม่ติดความคิดเดิม ๆ
  • Blue Ocean คือความคิดสร้างสรรค์
  • กฟผ.ยุคใหม่ต้องคิดอะไรที่แตกต่าง ถ้ามีลูกค้าอย่าไปเน้นลูกค้าเดิมให้หาลูกค้าใหม่ ๆ ด้วย อาจเน้นการทำธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ไฟฟ้า

Intangible ควรประกอบด้วย

- การทำงานอย่างมีความสุข (Happiness)

- ยกย่องคนทุกระดับ (Respect)

- ให้คนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity)

- มองไกลและยั่งยืน (Sustainable)

การทำงานเน้นความยั่งยืนคือพฤติกรรมของเรา ทำให้คนใฝ่รู้มากขึ้น และต้องหา Solution เพื่อแก้ปัญหาให้ได้ไม่ใช่นำเสนอแต่ปัญหา ให้ Non – HR ในห้องนี้ไคว่คว้าความสำเร็จให้มากขึ้น พยายามเอาชนะอุปสรรค 

การบ้านคุณพิสณห์

Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์รรธนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

นายยุทธการ มากพันธุ์ ตัวแทนชุมชน

นายคเชนทร์ พูนจันทร์ SCG

กาญจนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 320 กม. มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ อยู่ใกล้กรุงเทพฯประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมง แต่ต้องใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมงถ้าจะไปสังขละบุรีซึ่งเป็นอำเภอที่ไกลที่สุดของจังหวัด สถานที่เรียนรู้ เช่น สะพานแม่น้ำแคว ที่ญี่ปุ่น พยายามข้ามไปอินเดีย ทุกปีมีกิจกรรมของเรา สุสานพันธมิตรที่เขาช่องไก่ ไทรโยค สุสานพันธมิตรในเมือง หลวงพ่ออุตตะมะ บ้านอีต่อง (เหนืออำเภอทองผาภูมิ ขอบชายแดนทางด้านนั้น)

รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 มีความสัมพันธ์กับเมืองกาญจน์เพราะ ร.3 ได้ยกทัพมารอรับศึกกับกองทัพพม่าที่เมืองกาญจน์และสร้างกำแพงเมืองที่จวนผู้ว่าฯ

จังหวัดมียุทธศาสตร์3 ยุทธศาสตร์คือ เชิงอนุลักษณ์ เกษตรอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เชิงอนุรักษ์ มีภูมิประเทศที่น่าสนใจมาก มีน้ำแควน้อย แควใหญ่ มีพระบรมราชาอนุสาวรีย์ ตำบลดอนเจดีย์อำเภอพนมทวน โดยสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ สามารถเป็นแหล่งรายได้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดมากมาย การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จะเป็นแบบยั่งยืน รายได้จากการท่องเที่ยวในแต่ละปีค่อนข้างสูง

ยุทธศาสตรที่ 2 เกษตรอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์เกษตรอุตสาหกรรม เนื่องจากพื้นที่ 2 ใน 3 เป็นเขตอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร ของแควใหญ่ แควน้อย โดยมีเขื่อนท่าม่วงทดน้ำเข้าสู่ระบบชลประทานที่ได้มีการก่อสร้างไว้เป็นอย่างดี นับเป็นเขตเศรษฐกิจที่ดีมาก ๆ เขื่อนวชิราลงกรณ์และเขื่อนศรีนครินทร์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้โซนที่ 2 มีคุณภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่เกษตรอุตสาหกรรม

สรุปการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี จากสภาพภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะมิติของพื้นที่อนุรักษ์ อย่าใช้ผิดที่ผิดทางเน้นการอนุรักษ์และรักษาคุณภาพอย่าให้เสียหาย

นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

การท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมประชาชนในพื้นที่

บทบาทการท่องเที่ยวของเขื่อนศรีนครินทร์เป็นอย่างไร มีความน่าสนใจอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร เช่นโครงการชีววิถีเป็นโครงการที่ดีมากให้ความรู้กับชุมชน เป็นโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้คนทำงานต่อเนื่อง เป็นแหล่งที่ศึกษาดูงานคนมาดูงาน

การตกปลาเป็นอีกแพ็คเกจที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไปขาย สนามตกปลาเป็นอีกสนามหนึ่งที่แข่งขันตกปลา โครงการปล่อยปลาเป็นอีกโครงการที่สร้างความสัมพันธ์กับประชาชน

โครงการจัดงานคืนรักคนสันเขื่อน เนื่องจากที่ผ่านมามีความเสียหายเกิดขึ้นมาก จัดงานเพื่อสงบข่าวลือตรงนั้น เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ของคนในพื้นที่ การสร้างความมั่นใจในเรื่องความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์ เช่น ข่าวเขื่อนแตกมีผลกระทบต่อชาวบ้านหลายคนไม่อยากกลับมาที่ อ.ศรีสวัสดิ์ ในการสร้างความมั่นใจ ควรทำพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดแสดงแบบทันสมัยเพื่อดึงความสนใจของผู้เข้าชม

ปัญหา ประชาชนระดับล่างกว่า 60% ไม่มีความรู้ กฟผ.อาจเข้าไปช่วยสร้างมาตรฐานได้ และช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เมื่อการพัฒนาสำเร็จจะเกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายด้วยกัน ประชาชนจะได้รับความปลอดภัยมากขึ้น ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาให้การบริการมีมาตรฐาน นักท่องเที่ยวได้รับการบริการที่มีคุณภาพ ภาครัฐจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น

กฟผ.ไม่มีบุคลากรเฉพาะมาทำงานด้านนี้ ช่องว่างระหว่าง กฟผ.กับประชาชนจึงกว้าง เพราะประชาชนมองว่าเจ้าหน้าที่ กฟผ. มีเงินเดือนสูง มีสวัสดิการที่ดี องค์กรน่าจะสร้างเครือข่ายที่ดีแต่ทำไมไม่ทำ

นายปณต สังข์สมบูรณ์

พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

ในบทบาทพนักงานพลังงานจังหวัดเป็นส่วนภูมิภาค เป็นตัวแทนของกระทรวงฯ ในการประสานงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ภารกิจหลัก ๆ แบ่งเป็นธุรกิจไฟฟ้า พลังงานทดแทน สนง.พลังงานแก้ปัญหาในพื้นที่

จังหวัดกาญจนบุรีมีการปลุกอ้อยมาก สามารถนำส่วนเกินหรือส่วนเหลือมาผลิตเป็นพลังงานได้ แต่มีปัญหาคือโรงไฟฟ้าในโรงงานน้ำตาล ใช้เทคโนโลยีไม่ได้มาตรฐานจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นกลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีที่ประชาชนเอามาเป็นประเด็นในการคัดค้าน

นอกจากอ้อย ยังมีการปลูกมันสำปะหลังจำนวนมาก สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ 10-20MW หากตั้งราคารับซื้อมันที่ กก.ละ 50 สตางค์ ก็จะทำให้สามารถขยายการปลูกมันสำปะหลังเพื่อพลังงานเพิ่มมากขึ้น

นายยุทธการ มากพันธุ์

บทบาท กฟผ. ด้านดี คือจะเป็น Hero ตอนไฟดับ แต่อีกบทบาทด้านลบเมื่อมีการขึ้นค่าไฟ และเมื่อจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ พลังงานน้ำ ซึ่งเป็นผลกระทบทางลบต่อประชาชน

ทำไม กฟผ.ไม่สร้างเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า อย่ามองในแง่ผู้ผลิตขนาดใหญ่ ลองดูเครือข่ายพลังงานขนาดเล็ก เพราะเครือข่าย 1 ล้าน ครัวเรือนจะได้พลังงานมหาศาล นี่เป็นแนวความคิดถ้าเป็นไปได้น่าจะมีการลงมือทำว่ามีปัญหาทางเทคนิคที่ติดขัดตรงไหนแก้ไขอย่างไร แนวทางนี้จะทำให้เกิดแนวร่วมเพราะทุกคนต่างร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของผู้ผลิตไฟฟ้า

นายคเชนทร์ พูนจันทร์

ตัวแทนจาก SCG

การสร้างทุนทางเครือข่ายเป็นการลงทุนระยะยาวและวัดผลได้ยาก การลงทุนไม่ได้ใช้แต่เงิน ใช้ทั้งคนและจิตใจที่ทุ่มเท ต้องใช้เวลาที่ทำให้ประชาชนยอมรับ เชื่อมั่นและศรัทธา ต้องทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ความรับผิดชอบต่อสังคม SCG ยึดมั่นมาตลอดว่าอยู่ในชุมชนต้องดูแลรายได้ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต้องบริหารให้อยู่ด้วยกันได้ตลอดไป ต้องสร้างรายได้ให้ชุมชน สร้างงานให้ชุมชน พัฒนาชุมชน ไม่ว่าสาธารณประโยชน์ หรือการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม

SCG มีการจ้างบริษัทภายนอกมาทำการสำรวจว่าชุมชนมีความเห็นกับ SCG อย่างไร เพื่อจะได้สามารถตอบโจทย์กับชุมชนได้ เมื่อสำรวจเสร็จจะมาวิเคราะห์ วางแผนแล้วลงมือปฏิบัติ ไม่ใช่สำรวจแล้วไม่ทำอะไร มีคระทำงานที่คอยติดตามว่าชุมชนคิดอย่างไร มีคณะกรรมการชุมชน นอกจากนี้ SCG ยังกำหนดให้ 1 Manager รับผิดชอบ 1 Community ผู้จัดการทุกคนจึงต้องมีหน้าที่ต้องทำ Activity ร่วมกับชุมชน

การเข้าไปหาชุมชน SCG เอาชุมชนเป็นที่ตั้ง ฟังเสียงชุมชน แต่ต้องพยายามสื่อว่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทุกเรื่อง สิ่งที่ทำแล้วเกิดประโยชน์ เป็นสาธารณประโยชน์ SCG จะสนับสนุน การสนับสนุนจะไม่ทำในลักษณะการสร้างให้หรือมอบให้ ต้องสร้างจากความต้องการที่ชุมชนได้จริง และชุมชนต้องดูแลรักษาประโยชน์ได้

การทำงานกับชุมชนต้องแบบเชิงรุก ไม่รอให้เกิดปัญหา ออกไปพบกับชุมชน กิจกรรมมีการเผยแพร่ให้ชุมชนรับทราบ แต่ไม่ประชาสัมพันธ์เกินความจริง

การบ้านคุณพิสณห์

เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ “Art and Feeling Presentation”

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

เป็นการเรียนรู้ในการดึงศักยภาพในการนำเสนอ จินตนาการและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้ตั้งตัว

เริ่มจากการทบทวนว่าวัยเด็กเราชอบการ์ตูนอะไร เพื่อค้นหาความคิดในวัยเด็ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มของตัว จากนั้นมีการฝึกคิดจินตนาการจากสิ่งที่ไม่เป็นจริง เพื่อสื่อให้คนอื่นเห็นภาพและเข้าใจในจินตนาการของเรา

มีกิจกรรมที่ต้องแสดงตามที่อาจารย์บอก ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ เป็นการทำให้ทราบว่าเรามีการใช้สมองซีกซ้าย (Expert mind) มากกว่าสมองซีกขวา (Beginning mind) ซึ่ง Expert mind มักจะมีในผู้ใหญ่ ที่จะคิด (หรือถอยหลัง 1 ก้าว) ก่อนที่จะ Action เพราะต้องรักษาภาพลักษณ์เสมอ และ Beginning mind มักจะทำได้ทันทีโดยไม่ต้องคิด ทำได้ทันทีตามที่สมองสั่งการ ในการทำกิจกรรมนี้ จะเป็นการดึงเอาศิลปิน (จากสมองซีกขวา) ออกมาใช้งาน

โดยสรุป “Art and Feeling Presentation” จะทำให้ทราบถึงว่า เราต้องมี Creativity เพื่อทำให้การ Presentation ของเราสำเร็จ คนจำได้ ซึ่งจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ Verbal คำพูด (7%) Sound เสียง (38%) และ Action ท่าทาง (55%)

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม (ชคส.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้าน

ชคส. ได้ให้แนวคิดว่า สิ่งที่ กฟผ. ทำ จะต้องดีกว่ามาตรฐาน และเรื่อง CSR ต้องเริ่มจากภายในสู่ภายนอก โดยในแนวคิดของ ชคส. CSR ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม CSR สังคมไกล – สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ในภาพรวม / CSR ในองค์กร CSR in Process ในกระบวนการหลัก, วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคม. พนักงานมีส่วนร่วม และจิตอาสา กฟผ. / CSR สังคมใกล้ – พัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยรอบหน่วยงาน

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ให้ความเห็นว่า “ต้องสร้างให้ชุมชนอยากรู้ ชุมชนนถึงจะอยากทำ” โครงการที่จะช่วยประชาชนในครั้งแรกๆ จะต้องเป็นโครงการที่เห็นผลเร็ว ประชาชนจึงจะให้ความร่วมมือ จากนั้นจึงค่อยสอนหรือให้มีโครงการที่ใช้เวลาระยะยาวขึ้น จึงจะได้รับความร่วมมือที่ดี

เทคโนโลยีในทุกวันนี้ก้าวหน้ามาก ควรมีการใช้เทคโนโลยีสื่อสาร และ Social Media/Social Network ในการเชื่อมโยงกับประชาชน เช่น ผู้นำชุมชน ไม่ต้องเรียกประชุมบ่อยๆ แต่สื่อสารกันโดยใช้โทศัพท์มือถือ / Facebook ควรให้ผู้นำชุมชนช่วยกระจากข้อมูล และต้องสร้างสังคมชุมชนให้เป็นสังคมชุมชนแห่งการเรียนรู้ และที่สำคัญเรื่องที่จะไปพูดคุยกับประชาชนต้องเป็นเรื่องใหม่ๆ ให้ประชาชนช่วยคิด

แต่ละชุมชนเป็น Unique มีความต้องการ มี Characteristic ไม่เหมือนกัน ดังนั้น โครงการต้องที่เป็นความต้องการของชุมชน ไม่ยัดเยียด หรือเห็นว่าสำเร็จจากชุมชนหนึ่ง แล้วนำไปให้กับอีกชุมชนหนึ่ง การทำ PR ของ กฟผ. ยังไม่เป็นมืออาชีพ ต้องปรับปรุง ต้องทำในหลายๆช่องทาง และในปัจจุบัน เทคโนโลยีสือสารมีมากมาก กฟผ. ต้องใช้ให้เป็นในทุกทางโดยเลือกว่าทางไหนเหมาะกับแบบไหน เพื่อติดต่อกับประชาชนทุกคน ทุกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ

การคิดหัวข้องาน CSR ให้กับชุมชนต้องพิจารณาถึงองค์ความรู้ของชุมชนความพร้อมของชุมชน วิถีชีวิตของชุมชน ผลกระทบต่อชุมชนก่อนและหลังการดำเนินกิจการ

หลักของข้อเสนอแนะ

  • ควรเป็นหัวข้อและเป็นโครงการที่เพิ่มทักษะ เพิ่มความรู้ในการประกอบวิชาชีพให้กับคนในชุมชน เช่น เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ การใช้ภูมิความรู้ในท้องถิ่นและชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ควรทำโครงการให้ชุมชนเป็นผู้เรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองเน้นเรียนได้
  • ควรส่งเสริมให้ชุมชนทำโครงการที่พึ่งพาตนเองได้ ทำได้จริงและวัดผลได้จริง
  • ก่อนที่จะนำเสนอโครงการให้ชุมชนพิจารณา ต้องศึกษาและเข้าถึงนิสัยใจคอของประชาชนในชุมชน พื้นฐานทางสังคมด้วย
  • ต้องให้คนในชุมชนรู้จักหน้าที่ของตนเอง รู้จักพัฒนาตนเอง ครอบครับสังคม ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เพื่อสังคมที่ดีในอนาคต
  • ข้อเสนอแนะของ ครูบา ฯ กฟผ.มีโครงการ กิจกรรม CSR จำนวนมากที่ประสบความสำเร็จแต่ไม่ขยายผล และไม่ค่อยทำการประชาสัมพันธ์ให้สังคมทราบ การทำกิจกรรม CSRต้องมีแผนงานอย่างต่อเนื่องและต้องต่อยอดไปเรื่อยๆ 

การบ้านคุณพิสณห์

ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการองค์กร การพัฒนาทุนมนุษย์และพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้

โดย นายแพทย์จักรพงศ์ ไพบูลย์

แพทย์หญิงใจทิพย์ ไพบูลย์

ณ กิฟฟารีน สกายไลน์ แลบบอราทอรี่ แอนด์ เฮลท์แคร์ จำกัด

วันที่ 30 เมษายน 2557

การขายตรงเป็นการตลาดที่ล้ำซึ้ง สามารถคัดคนกลาง มุ่งตรงไปหาผู้บริโภค

สิ่งที่ต้องเรียนรู้คือ Management System อยากให้รู้จักการ Management , Creativity และ Innovation ด้วย

บริษัทกิฟฟารีนก่อตั้งมากว่า 18 ปี ปัจจุบันมียอดขายรวมปีละ 5,000 ล้านบาท

หัวใจของกิฟฟารีน

  • 1.โรงงานผลิตเครื่องสำอางได้ มาตรฐาน ISO 9001 : 2000 ควบคุมโดยคณะแพทย์ เภสัชกร รวมทั้ง มีการค้นคว้าวิจัยร่วมกับ บริษัท DSM (ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) เพื่อการยอมรับในระดับสากล
  • 2.โรงงานผลิตอาหาร ใช้มาตรฐาน GMP ,HACCP , Halal ควบคุมโดยนักวิทยาศาสตร์อาหาร ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย
  • 3.ห้องปฏิบัติการกลาง (Central Lab)เพื่อตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยจะตรวจสอบทุกขั้นตอน ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

กิฟฟารีนชื่อมาจากน้องกิฟกับฟ้า (ลูกของหมอนลินี)

ก่อนทำกิฟฟารีนคุณหมอนลินีได้ร่วมก่อตั้งบริษัทสุพรีเดร์ม ต่อมาจึงได้แยกออกมาก่อตั้งบริษัทกิฟฟารินกิฟฟารีนเป็นบริษัทขายตรงแบบสหกรณ์ มาจากแนวคิดที่ว่าสินค้าโดยทั่วไปต้องเสียค่าการตลาดในการวางขายสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ ประมาณ 50-60% ดังนั้นจึงคิดรูปแบบแบบสหกรณ์ แบ่ง 5% ให้สมาชิกตามเงินปันผลของยอดซื้อ โดยรวมแล้ว 40-50% จะคืนให้สมาชิก ปัจจุบันได้ขยายตลาดออกไปที่พม่า ลาว เวียดนาม

แนวความคิดของกิฟฟารีน คือต้องอยู่ด้วยความดี ความถูกต้อง และทำให้ทุกคนมีความสุข ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 6,000,000 รหัส

การบริหารจัดการคนของกิฟฟารีน มีการส่งเสริมให้ทำกิจกรรมคุณภาพต่างๆ เช่น QCC, KAIZEN ซึ่งพนักงานกิฟฟารีนก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี มีส่วนร่วม มีใจ ในการทำงาน นอกจากนี้กิฟฟารีนยังดูแลพนักงานเหมือนคนในครอบครัว ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ทำให้มีความผูกพันกับองต์กร ช่วยกันดูแล ร่วมมือ ร่วมใจในการทำงาน และใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ส่งผลถึงประโยชน์ของบริษัทโดยรวมที่ดีขึ้น

การบ้านคุณพิสณห์

ช่วงเช้า

ประสบการของผู้นำ กฟผ กับการบริหารวิกฤติและความเสี่ยง

วันที่ 29 เมษายนย 2557

คุณสมบัติศานติจารี

กฟผ มีการบริหารความเสี่ยงมีการทำแผนปฏิบัติการป้องกันไว้ทุกระดับ ลงไปถึงระดับปฏิบัติการ และมีการซ้อมแผนเป็นประจำทุกปี แผนจะมีแบบที่กฎหมายกำหนด และแผนที่ผู้บริหาร ให้ดำเนินการเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงต่อองค์กรณ์โดยเฉพาะ เช่น กรณี ไฟฟ้าดับในวงกว้างหรือกรณีแหล่งก๊าซไม่พร้อมจ่ายช่วงเกิดวิกฤติ ผู้นำและการสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ภาวะวิกฤตจะต้องสื่อสารไปทุกระดับและเมื่อภาวะวิกฤติจบลง ต้องมีแผนฟื้นฟู เพื่อแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากภาวะวิกฤติและให้การดำเนินงานเข้าสู่ภาวะปกติเร็วที่สุดและรายงานให้สังคมทราบ ปัจจุบันมีการทำแผนการตลาดเพื่อสังคม CSR เป็นเรื่องการทำความดีให้สังคม เพื่อให้สังคมเกิดความไว้วางใจและเชื่อมั่นในความดีของบริษัทและเมื่อเกิดปัญหากับบริษัท

คุณไกรสีห์กรรณสูต

เกิดภาวะวิกฤติในองค์กร เรื่องการแปรรูป กฟผ มีพนักงานประท้วงและต่อต้านการแปรรูป ซึ่งวิสัยทัศ ผวก ในช่วงนั้นคือการจัดการภาวะวิกฤติเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกโดยมีแผนบริหารจัดการโดยควบคุมให้สถานะการไม่ให้ขยายตัว ตั้งคณะทำงานประสานความเข้าใจในองค์กรตั้งคณะทำงานหาข้อเท็จจริงและเมื่อหาข้อมูลได้ว่าสาเหตุที่พนักงานไม่เห็นด้วยกับการแปรรูป มาจากสาเหตุต่างๆ เช่น กลัวความไม่มั่นคงในอาชีพ กลัวนักการเมืองหารผลประโยชน์กับกฟผ กลัวขายสมบัติของชาติ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงด้านอื่น เช่น ด้านการเมือง นโยบายรัฐการปรับค่า Ft ซึ่งจะกระทบด้านการเงิน กฟผ เป็นองค์กรใหญ่ นโยบายมีผลกระทบต่อประชาชนสูง สังคมจะจ้องมองมากผู้บรหาร จะต้องมี ทั้งด้านเทคนิค hard skillด้านสังคมsoft skill

ช่วงบ่าย

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

โดย อ. ภัสวรรณ จิลลานนท์

บุคลิกภาพของบุคคล แบ่งเป็น

1) 38% = Sound (น้ำเสียง)

2) 7% = Word (คำพูด)

3) 55% = Look (รูปลักษณ์ภายนอก)

- Image คือภาพลักษณ์ภายนอก ซึ่งประกอบด้วย การแต่งกาย และเครื่องใช้ตาง ๆ ที่แสดงถึง รสนิยมที่ดี ทั้งเสื้อผ้า หน้า ผม ตั้งแต่ศีรษะ จรดปลายเท้า รวมทั้งท่วงท่า กริยานั่ง ยืน เดิน นั่ง รับไหว้ เป็นต้น

-สิ่งที่ต้องคำนึงถึงประกอบด้วย

  • 1)การแต่งตัว
  • 2)มาด ผู้ชายมาดดีเมื่อใส่สูท หากมีกระดุม 2 เม็ด ติดกระดุมเม็ดบน ปล่อยเม็ดล่าง หากมีกระดุม 3 เม็ด ติดกระดุมเม็ดบน หรือเม็ดกลาง ปล่อยเม็ดล่าง
  • 3)อารมณ์ดี
  • 4)กาลเทศะ
  • 5)พูดจาดี

-องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิก

  • 1)สีสัน- สีขาว = ความสมบูรณ์ สีเทา = ความเป็นทางการ สีม่วงแดง = ผู้สูงศักดิ์ โรแมนติก ศักดิ์สิทธิ์
  • 1)ผิวสองสี ไม่ควรใส่สี คล้ำๆ สีกรมท่า สีดำปนเขียวขี้ม้าหม่นๆ
  • 2)เส้นสาย การเลือกเสื้อที่มีเส้นสาย สามารถอำพรางรูปร่างได้ การใส่กางเกงยีนส์ใส่ยาก เพราะมีเส้นนำสายตาหลายตำแหน่งจึงต้องเลือกให้เหมาะกับรูปร่างตนเอง

-มารยาทบนโต๊ะอาหาร

  • 1)อย่าพูดขณะรับประทานอาหาร
  • 2)มีทิชชู่ติดตัวเสมอ
  • 3)การนั่งบนโต๊ะอาหาร ไม่มีการแจกนามบัตร
  • 4)นั่งตามชื่อที่ตั้งไว้บนโต๊ะ
  • 5)แก้วใบใหญ่ คือแก้วน้ำดื่ม ไว้ใกล้ตัวเรามากที่สุด
  • 6)วิธีจับแก้วไวน์ใช้ 3 นิ้ว
  • 7)การหยิบ ช้อน ส้อม มีด หยิบจากที่อยู่ด้านนอกก่อน

การบ้านคุณพิสณห์

บทความเรื่อง Well-paid young Seattle techie prefers giving to riches

จาก the Seattle Times, published March 12, 2014 by Jerry Large

Jessan Hutchison-Quillian อายุ 27 ปี แต่ประสบความสำเร็จกับการทำงานใน Google นับว่าเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ไม่เพียงแต่เรียนรู้ที่จะอยู่กับระบบทุนนิยมเท่านั้น แต่ยังเรียนรู้ที่จะอยู่และเกื้อกูลกับสังคมรอบข้างด้วยการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือ รู้จักการพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ที่จะไม่ยอมให้ระบอบทุนิยมเข้าครอบงำ

เขามีหลักการ และ ปรัชญาชีวิตของตนว่า "No amount of money can buy your health or security. It’s better to make a community with people who can help you in hard times”

เขาค้นพบว่าเงินและความร่ำรวยมิใช่คำตอบสุดท้ายของความสุขในชีวิต เขาจึงแบ่งปันและเกื้อกูลโอกาสแก่สังคมและคนที่ขาดโอกาส ด้วยการบริจาคเงินจำนวนมากเกือบครึ่งหนึ่งของที่หามาได้ ด้วยความหวังที่จะสร้างให้เกิดมิติใหม่แก่สังคมที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน และเพื่อสิ่งที่ดีกว่าในอนาคต เพราะเราจะไม่มีวันพบความสุขที่แท้จริงและยั่งยืนได้ ตราบใดที่สังคมรอบข้างเรายังจมอยู่ในความทุกข์

การบ้านคุณพิสณห์

สรุป Joko Widodo

ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทยเป็นตัวอย่างของทุนทางวัฒนธรรมของไทย เป็นประเพณีที่มีมาหลายร้อยปีและทั่วโลกรู้จักประเพณีนี้ของไทย ปัจจุบันคนไทยตื่นตัวกับสถานการณ์ทางการเมืองด้วยเกรงว่าว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศและสังคม

ข้าราชการที่ดีคือต้องทำงานรับใช้ประชาชนไม่รับใช้นักการเมืองหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะข้าราชการต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเองและพรรคพวก

Joko Widodo คือนักการเมืองรุ่นใหม่ของอินโดนีเซีย มีโอกาสที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในอนาคตอันใกล้ มีจุดเด่นหลายด้าน เช่น เป็นคนติดดินและเป็นกันเองกับประชาชนไม่แสวงหาผลประโยชน์จากอำนาจที่มี คิดและพัฒนาอยู่ตลอด มีผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชน และได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนจากพรรคการเมืองให้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย เป็นคนที่คิดและทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมและห้ามมิให้พรรคพวกและเครือญาติเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากการที่ตนเองมีอำนาจ

เป็นผู้เริ่มดำเนินนโยบายขยายรถไฟฟ้าใต้ดินในเมือง Jakata ได้สำเร็จ รวมทั้งนโยบายด้านการแพทย์และระบบสาธารณสุขที่ดีแก่ชาวเมืองด้วย เป็นคนที่ปราศจากธุรกิจการเมือง มองผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นหลัก

การปฏิรูปทางการเมืองในอินโดนีเซียหลังยุคประธานาธิบดีซูฮาร์โต้ทำให้ได้นักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีความรู้ มีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม เข้ามาบริหารและทำงานให้กับประเทศ มองผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก 

การบ้านคุณกุลพล

11 มิ.ย. 57 ภาคเช้า

ดูงาน ณ บริษัทไทยซัมมิทออโตพาร์ท

ประธานบริษัท ดร.สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มีบุคลากรประมาณ 25,000 คน รายได้ปีละ 160,000 ล้านบาท ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับบริษัทรถยนต์และรถจักรยานยนต์และผลิตรถกอล์ฟ

ดร.ฉัตรแก้ว หาดระวัง (Director of Manufacturing Thai Summit Group) ได้แนะนำเกี่ยวกับบริษัท นโยบาย การบบริหารและกระบวนการผลิต การ Training ของบริษัทโดยบริษัทเน้นเรื่อง Safety First

ภาคบ่าย

ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล พูดถึงกฟผ.ตั้งแต่สมัยสร้างเขื่อนภูมิพลและพัฒนาการของไฟฟ้า และรายได้ของไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าอย่างเดียวแต่จากการประหยัดการใช้ไฟฟ้าก็ได้

การบ้านคุณศานิต ด่านสมสถิต

สรุปการบรรยายโดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล วันที่ 11 มิถุนายน 2557

การผสมผสานความคิดแนว Creative Thinking และ System Thinking ประกอบกับการสร้างความสมดุลทางความคิดด้วยความพอดีถือเป็นแบบอย่างของการดำรงชีวิตทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว

มุมมองต่างๆของการตัดสินใจ จะอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ที่จะได้รับแค่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมีคุณธรรม จริยธรรมด้วย เพอสร้างสรรค์ความสุขให้กับชีวิตได้อย่างยั่งยืน

สมบูรณ์ ดำรงสุสกุล

วันที่ 11มิถุนายน 2557  การศึกษาดูงาน บริษัท ไทยซัมมิท ออโตโมทีฟ จำกัด

ดร.ฉัตรแก้ว ได้บรรยายแนวทางการบริหารงานบริษัทฯ ให้ทราบวิสัยทัศน์ ปรัชญาและค่านิยม

ของบริษัทฯ ซึ่งเป็นแนวทางการสร้างความยั่งยืนให้กับบริษัท การนำเทคโนโลยี่หุ่นยนต์ เข้าไปทดแทนแรงงานคน เพื่อเพิ่ม productivity

หัวข้อ กฟผ. ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยในมุมมองของข้าพเจ้า โดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล

ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นคนสุพรรณบุรี เกิดมาบ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่ก่อนที่บ้านฐานะร่ำรวย มีทำร้านถ่ายรูป ต่อมาที่บ้านล้มละลาย ก็เลยหาบขนมขาย ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีเงินเดินสาย ถ้าอยากดูทีวีก็จะไปดูที่ตลาด  ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านคนมีเงิน ทีวีเครื่องแรกที่เข้ามาที่ตลาดเป็นโรงสี เคยไป เขื่อนยันฮีแล้วไปดูทีวี ที่ร้านอาหารของเขื่อน

มุมมองทางด้านเขื่อน : ในแง่มุมของเขื่อนมีทั้งบวกและลบมีการทำข่าวเขื่อนได้เห็นสารพัดข่าว เคยไปตระเวนที่เขื่อนปากมูล ได้คุยกับคนหลายตำบล หลายหมู่บ้าน ดูพื้นที่นา การทำข่าวของดร.สมเกียรติช่วยให้เห็นมุมมองมากขึ้น

วิกฤติการไฟฟ้าฝ่ายผลิต : ช่วงที่ กฟผ.เกิดวิกฤตหนัก รัฐบาลจะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ช่วงนั้นเป็นเรื่องฮือฮามากตอนนั้น ดร.สมเกียรติย้ายมาผลิตรายการโลกยามเช้า ทุกรัฐวิสาหกิจที่ไปเยือนถือว่าใช้ได้เลย เช่น สหภาพแรงงาน และคิดว่าอีก 10ปีข้างหน้า การผลิตไฟฟ้าจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเท่ากับ 100ปีที่ผ่านมา

ช่วงเย็น ทำงานกลุ่ม จัดทำเอกสารนำเสนอผลงานกลุ่ม

วันที่ 12มิถุนายน 2557  นำเสนอผลงานกลุ่ม ผลงานวิจัยฯและข้อเสนอโครงการเชิงนวตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ. สู่อนาคต

โดยกลุ่ม 4 ทำงานวิจัยเรื่อง การสำรวจทัศนคติผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.ที่มีต่อโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ และ โครงการเชิงนวัตกรรมการสื่อสารภายในองค์การ เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

หัวข้อ กฟผ. กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) โดย อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์  และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.จีระ : บอกว่า Capability กับ Acceptability อาจไม่ไปด้วยกัน คนในห้องนี้ต้องเรียนรู้จากความล้มเหลว และความเจ็บปวด ด้วย

อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์  : ก่อนอื่นต้องเริ่มก่อนว่าเราต้องการองค์กรแบบไหน  โลกวันนี้เปลี่ยนไปจากเดิมเยอะในบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ความรู้ต่าง ๆ ไม่อยู่กับที่ องค์กรไม่ควรใช้ความรู้แบบดั้งเดิม ปัญหาเวลานี้ใช้วิธีการแก้แบบเดิม ๆ ไม่ได้แล้ว ในชีวิตเห็นการเปลี่ยนแปลง ของประเทศจากยุคเกษตรมาสู่ยุคอุตสาหกรรมและยุคดิจิตอล  ดังนั้นจึงควรมีองค์กรที่ปรับตัวและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แนะนำให้

1. เป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้

2. ฟังลูกน้องบ้าง

3. เปิดโอกาสให้เขาแสดง

คุณสุทธิเดชสุทธิสมณ์ แนะนำให้ใช้Five Disciplineเป็นผู้ฟังบ้าง ยอมรับบ้าง  LOA – Learning Organization Awareness ต้องให้พนักงานเรียนด้วยกัน คิดและวิเคราะห์ร่วมกัน เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำเร็จได้ต้องมีผู้นำ

1. ต้องประกาศเจตนารมณ์

2. ต้องมีทรัพยากรที่พร้อม

3. พนักงานต้องมีจิตใจร่วมกันเรียนรู้ขับเคลื่อนองค์กร

4. มีเวทีให้มาแสดง

วันที่ 13 มิถุนายน 2557 หัวข้อ กลยุทธ์การสร้างและบริหารภาพลักษณ์ขององค์กรของ กฟผ.

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ภาพลักษณ์ หรือยี่ห้อ หรือตราสินค้า เวลาทำอะไรก็ตามจะมีเวลา 3ชนิด

1. Good Time – ภาพลักษณ์ที่ดีควรเป็น Good leader

2. Bad Time – ภาพลักษณ์ที่ดีคือให้มีคน Trust เยอะ ๆ เช่นตอนเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ เราจะสร้างให้คนยังสามารถเชื่อถือได้อย่างไร

3. Normal Time – ภาพลักษณ์ที่ดีคือมีแฟนที่มี Royalty หมายถึงไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่ไปไหน

เวลาทำ Brand จะเกิดปรากฎการณ์ดังนี้  Experience ลูกค้าประจำ และExpectation การสร้างความคาดหวังสูง การสร้างตรา หรืออัตลักษณ์การสร้างภาพลักษณ์ หลายคนเสียค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์มาก สร้างภาพลักษณ์  เมื่อ Experience แตกออกมาคือความไว้วางใจหรือเรียกว่า Trusted Brand 

Trusted Brand = Credit (พึ่งได้) + Reliability (วางใจได้) + Intimacy (ความใกล้ชิด) หารด้วยSelf Interest (ผลประโยชน์ส่วนตัว)

PEST (สิ่งรบกวน) แผนดี ๆ จะถูกสิ่งแวดล้อมรบกวน

P= Politicเปรียบเสมือน Climate ประเด็นคือต้องรู้เกมส์ที่เล่น

E= Economic เปรียบเสมือนผืนน้ำ

S=Social คนที่ทำบุญตลอด เช่น เลี้ยงข้าวเด็กตลอด ทำบุญตลอด

T= Technology ไทยเป็นผู้เสพ ไม่ใช่ผู้สร้าง

นายสมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

วันที่ 11 มิถุนายน 2557 ณ ศูนย์ฝึกอบรม บางปะกง

กฟผ...ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยในมุมมองของข้าพเจ้า

โดย ดร.สมเกียรติอ่อนวิมล

วันที่ 12 มิถุนายน 2557 ณ ศูนย์ฝึกอบรม บางปะกง

กฟผ.กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

โดย อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์, คุณสุทธิเดชสุทธิสมณ์, ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 13 มิถุนายน 2557

กลยุทธ์การสร้างและบริหารภาพลักษณ์องค์กรของ กฟผ.

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

สรุปการเรียนรู้วันที่ 11 มิถุนายน 2557

(เช้า)

“ศึกษาดูงาน บริษัท ไทยซัมมิท โอโตโมทีฟ”

โดย ดร.ฉัตรแก้ว

ฟังบรรยายและเยี่ยมชมกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และจักรยานยนต์

-การเจริญเติบโตและพัฒนาการของบริษัทฯ

-การปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยใช้ Robot

-การขยายสาขาการผลิตทั้งในและต่างประเทศ

-การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R & D)

การบริหารจัดการบริษัท (TSCIC)

-เน้นการทำงานเป็นทีม

-เน้นการดูแลความสมดุลย์ของผู้เกี่ยวข้อง

-เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

-เน้นการคิดสร้างสรรค์ของผู้นำ

-เน้นความซื่อสัตย์กับลูกค้า / ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

(บ่าย)

“กฟผ. ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยในมุมมองของข้าพเจ้า”

โดย ดร.สมเกียรติอ่อนวิมล

เรื่องเล่าในอดีตเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับ กฟผ. และนำสารคดีที่ทำเกี่ยวกับต้นน้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะต้นน้ำปิงและการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลเพื่อกักเก็บน้ำ เปรียบเทียบผลกระทบต่าง ๆ ทั้งทางบวกและลบ

รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน สังคม ก่อนก่อสร้างเขื่อนและหลังก่อสร้างเขื่อนฯ นำมาอธิบายให้ความเห็น

พื้นฐานการประชาสัมพันธ์ ควรให้ข้อมูลทั้งความรู้และข้อเท็จจริง ต่อชุมชนและสื่อมวลชน

ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันผู้สื่อข่าวไม่ค่อยอ่าน ไม่ค่อยหาความรู้ มีหน้าที่เป็นเพียงนักรายงานข่าว..

ให้ข้อคิด เกี่ยวกับการอ่าน และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง.....

วันที่12 มิถุนายน 2557

(ช่วงเช้า)

การนำเสนอผลงานกลุ่ม “ผลงานวิจัยฯ และข้อเสนอโครงการเชิงนวัตกรรม เพื่อการพัฒนา กฟผ.สู่อนาคต”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์

        อ.กิตติ ชยางคกุล

   อ.จีระเดช ดิสกะประกายคุณภาวนา อังคณานุวัฒน์

 

กลุ่มแรก  ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสัดส่วนการผลิตของ กฟผ.

กลุ่มที่สอง  การพัฒนาการสื่อสารภายใน EGAT Group

กลุ่มที่สาม  ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความร่วมมือของชุมชน

กลุ่มที่สี่  ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.ที่มีต่อโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่

กลุ่มที่ห้า  การสำรวจความพึงพอใจต่อการได้รับค่าทดแทนที่ดินจาก กฟผ.

กลุ่มที่หก  แรงจูงใจในการปฏิบัติงานต่อโครงการโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ กรณี รฟ.หงสา สปป.ลาว

กลุ่มที่เจ็ด  กรณีศึกษาโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่

(ช่วงบ่าย)

“กฟผ. กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้”

โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมณ์

อ.ธรรมารักษ์การพิศิษฎ์

อ.สุทธิเดชสุทธิสมณ์

มนุษย์เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ จึงควรให้ความสำคัญกับการเป็นมนุษย์ เปิดโอกาสให้ได้แสดงออก

องค์ประกอบองค์กรแห่งการเรียนรู้

- ผู้นำแห่งการเรียนรู้

- วัฒนธรรมองค์กร / การแบ่งปันความรู้

- เครื่องมือสนับสนุนเพียงพอ

ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน องค์กรอยู่ด้วยคน (จึงมี Feeling)

KM ไม่ใฃ่องค์กร KM เป็นอดีตที่ผ่านมาแล้วจึงต้องนำมาปรับใฃ้ร่วมกับอนาคต “We Own the Future”

ความรู้ ความชำนาญมีอยู่ในตนเอง ดังนั้นรู้อะไรควรรู้ให้จริง

อุปสรรคของการเรียนรู้ (ความคิดสร้างสรรค์) คือการลงโทษ ควรดำเนินการในเชิง Positive มากกว่า

วิธีการหนึ่งของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ การประชุม อบรม ดูงานทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้กิดการเรียนรู้ร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

เป้าหมายขององค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ การนำความรู้ใหม่ ๆ มาผสมผสานกับความรู้เดิมที่มีอยู่.

 

วันที่13 มิถุนายน 2577

(ช่วงเช้า)

“กลยุทธ์การสร้างและบริหารภาพลักษณ์องค์กรของ กฟผ.”

โดย ศ.ภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

Brand คือ เอกลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาใด Good Time Bad Time หรือ Normal Time

Brand เกิดจาก Experience บวกกับ Expectation จากผู้มีส่วนได้เสีย

-General Public

-Government

-Media

-Finance Public

-NGO

-Peers

-Internal Public

ซึ่ง Trust Brand เท่ากับCredit x Reliability x Intimacy หารด้วย Self Interested

ตัวแทนของภาพลักษณ์ ได้แก่ ชื่อ โลโก้ มาสคอต สโลแกน และภาพลักษณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย

Step ในการสร้าง Corporate Image

- Awareness รับรู้ว่ามีอยู่ในโลก

- Interesting น่าสนใจ

- Designอยาก เกี่ยวข้องด้วย / อยากรู้จัก / อยากสัมผัส

- Action รู้จักจริง

- Satisfaction พอใจ / ประทับใจ

วันที่ 11 มิถุนายน 2557

ช่วงเช้า ดูงาน ณ บริษัท ไทยซัมมิทออโตพาร์ท

ดร.ฉัตรแก้ว หาดระวัง Director of Manufacturing Thai Summit Group บรรยายสรุป เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ในด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับบริษัทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ และผลิตรถกอล์ฟ ซึ่งหัวใจของความสำเร็จ การเจริญเติบโต และสามารถแข่งขันได้ ต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนา ค้นคิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ต้องทำให้ลูกค้าเชื่อถือ เชื่อมั่น และคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า

ได้มีโอกาสเข้าชมโรงงานอย่างใกล้ชิด ได้เห็นกระบวนการผลิต ที่ทันสมัยมีการใช้หุ่นยนต์ร่วมด้วย รับทราบถึงการมีนวัตกรรมใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิตทำให้ลดเวลา และจำนวนคนลงเกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมาก

ประโยชน์ที่ได้รับจากการไปดูงานครั้งนี้ ทำให้เกิดแนวคิดในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานมีการ คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งปัจจุบัน กฟผ. และหน่วยงานก็ให้ความสำคัญส่งเสริมในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว เห็นได้จากให้มีการเสนอโครงการวิจัยด้านต่างๆ จัดงานมหกรรมวันคุณภาพ กฟผ. เป็นประจำทุกปี เพื่อให้มีการนำเสนอผลงาน QC KAIZEN ค้นคิดสิ่งประดิษฐ์ ฯลฯ

ช่วงบ่าย กฟผ.ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยในมุมมองของข้าพเจ้า

วิทยากร ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล

ได้เล่าถึงชีวประวัติตั้งแต่เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี สมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ จนโตขึ้นเมื่อมีไฟฟ้าเข้าถึงความเจริญ และสะดวกสบายก็ตามมา ในส่วนของประวัติการศึกษาและการทำงานก็น่าสนใจ ทำให้รู้ถึงอุดมการณ์ ความมุ่งมั่นในการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ บุกเบิกรูปแบบใหม่ของข่าว และสารคดีที่ทันสมัย น่าติดตาม ทำให้คนไทยหันมาติดตามดูข่าวด้วยความชอบมากขึ้น

ความเป็นมืออาชีพสะท้อนจากผลงานที่ทำ ตัวอย่างเช่น สารคดีแม่น้ำเจ้าพระยา และ เรื่องเขื่อน ที่นำเสนอในหลากหลายมุมมอง มีที่มาที่ไปครบถ้วน ไม่ด่วนสรุป หรือยัดเยียดความคิดของตน เปิดโอกาสผู้ชมได้ใช้วิจารณญาณ

ซึ่งในมุมมองเรื่องเขื่อนมีทั้งด้านบวก และด้านลบ ตามทัศนะของท่านเห็นประโยชน์ของการมีไฟฟ้า เน้นการประหยัดพลังงาน ไม่ เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ เสนอแนะว่าควรเน้นให้รณรงค์สื่อสาร ให้ความรู้ประชาชนในการตระหนักถึงการช่วยกันใช้พลังงานอย่างประหยัดแทนการสร้างเขื่อน

ปัจจุบันท่านดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ประหยัด พอเพียง อยู่กับธรรมชาติที่สงบช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ โดยใช้ประสบการณ์การ เป็นนักข่าว นักอ่าน นักวิคราะห์ นักวิจารณ์ ฯลฯ ดังนั้นคำแนะนำ และมุมมองของท่านที่มีต่อกฟผ. จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก ซึ่ง กฟผ. ควรนำมาพิจารณาปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีกับสังคม และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อไป

วันที่ 12 มิถุนายน 2557

ช่วงเช้า การนำเสนอผลงานกลุ่ม ผลงานวิจัย และข้อเสนอโครงการเชิงนวัตกรรม

วิทยากร อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

ได้รับฟังการนำเสนอผลงานของเพื่อนผู้บริหารทั้ง 7 กลุ่ม ซึ่งโครงงานวิจัย และโครงการเชิงนวัตกรรมล้วนน่าสนใจทั้งสิ้น ข้อจำกัดของทุกกลุ่ม คือ เรื่องเวลาที่ค่อนข้างน้อยทำให้ มีข้อจำกัดด้านการวบรวมข้อมูล และไม่สามารถลงลึกได้

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อได้ข้อ Comment จากอาจารย์กิตติ ศ.ดร.จีระ และ อพบ. ทำให้ช่วยเพิ่มความรู้ และความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับ คือได้เห็นถึงบุคลิกภาพ ศักยภาพของผู้บริหาร กฟผ. ใน การคิดวิเคราะห์ การนำเสนอ และความร่วมมือร่วมใจกันของทุกกลุ่ม ทั้งนี้จะคุ้มค่า และเป็นประโยชน์อย่างมากหากจะนำไปปรับปรุงพัฒนาเพื่อทำให้เป็นรูปธรรมต่อไป

ช่วงบ่าย กฟผ.กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

วิทยากร อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์

หลักการแนวคิดใหม่ในการจัดองค์กร ต้องนำมนุยษ์มาเป็นศูนย์กลาง เชื่อในความเป็นมนุษย์ของคนอื่น หรือเรียกว่า Respect เชื่อว่ามนุษย์ ทุกคนมีศักยภาพในการพัฒนาตัวของเขาเอง เรียกว่าให้ Empowerment

โลกสมัยใหม่เป็นการคิดเชิงระบบ คือการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในปัจจัยทุกอย่าง เป็นการมองแบบ Dynamic

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำเป็นต้องมีวิทยากรกระบวนการมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นทีม เป็น Team Learning แลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ละคน แล้วส่งเสริมความคิดเห็นด้วยกัน มี case มาแชร์กันให้เกิดการ Share Vision

วิทยากร ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Learn-Share-Care สำคัญที่สุด ต้องยอมรับความแตกต่างซึ่งกัน และกัน

KM คือ การเก็บข้อมูลความรู้ในองค์กร เรียกว่า Explicit ต้องเอาความรู้ใหม่ไปผสมกับการเรียนรู้ในอนาคตใช้ประโยชน์จาก KM ให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดการใฝ่รู้

วิทยากร คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

เล่าประสบการณ์แนวทางการสร้าง กฟภ.ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ และทั่วถึงทุกระดับทั้งองค์กร มีเป้าหมายชัดเจน มีงบประมาณรองรับรวมทั้งมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมีผลงานเป็นที่ประจักษ์บางส่วนแล้วก่อนเกษียณอายุ

ประโยชน์ที่ได้รับทำให้ได้เห็นตัวอย่างการดำเนินการจริง ที่ประสบผลสำเร็จ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่นเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการทำ KM และ LO ในหน่วยงาน

วันที่ 13 มิถุนายน 2557

หัวข้อ กลยุทธการสร้าง และบริหารภาพลักษณ์องค์กรของ กฟผ.

วิทยากร ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญเกียรติ

เวลาทำอะไรก็ตามจะมีเวลา 3 ชนิด

1.Good Time-ภาพลักษณ์ที่ดีควรเป็น Good Leader อยากให้มีคน Follow เยอะๆ

2.Bad Time-ภาพลักษณ์ที่ดี คือ ให้มีคน Trust เยอะ ๆ เช่น ตอนเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ เราจะสร้างให้คนสามารถเชื่อถือเราได้อย่างไร

3.Normal Time-ภาพลักษณ์ที่ดี คือ มีแฟนที่มี Royalty หมายถึง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่ไปไหน

โดยเฉลี่ย Good Time และ Bad Time จะ 60%

Value chain คือ คุณค่า หรือมูลค่า หมายถึง มีกิจกรรมต่อเนื่องเป็นระบบที่เป็นห่วงโซ่อย่าให้ขาดตอน

Trust Brand = Credit (พึ่งได้) +Reliability (วางใจได้)+Intimacy(ความใกล้ชิด) /Self Interest(ผลประโยชน์ส่วนตัว)

-Credit= มีผลงานในอนาคต

-Reliabillity= มี Brake ข้างใน

-Intimacy= มีความใกล้ชิด ได้สัมผัสลูกค้า

Fan/Stakeholder คือ ผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย

1.General Public-มุมมองคนทั่วไปที่กล่าวถึง กฟผ. ลูกค้าคนพูดคนสุดท้าย คือมวลชน

2.Government- ทำหน้าที่ค้ำประกันเงินกู้ และกำหนดนโยบาย

3.Media- เป็นเครื่องขยายเสียง

4.Finance Public

5.NGOs

6.Peers- คู่แข่งจากรัฐวิสาหกิจด้วยกัน

7.International Public

ตัวแทนภาพลักษณ์ 5 ประการ

1.ชื่อ 2.ตราสัญลักษณ์ 3.Mascot 4.Slogan 5.Inmage ภาพลักษณ์ หรือ Identity

ประโยชน์ที่ได้รับ ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่กว้างขวาง ชัดเจน เข้าใจง่าย การสร้าง และบริหารภาพลักษณ์ของ กฟผ. นับวันจะเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากยิ่งขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมมือกันสร้างให้มี นอกจากที่ดีอยู่แล้วในด้านความโปร่งใส และซื่อสัตย์แล้ว ยังควรเพิ่มภาพลักษณ์ของการเป็นมืออาชีพ และรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมด้วย

วันที่ 12 มิถุนายน 2557

เสนอเรื่องวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม

เรื่องที่ 1 สัดส่วนในการผลิตไฟฟ้า

เรื่องที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร Egat Group

เรื่องที่ 3 ความร่วมมือของชุมชนในการสร้างโรงไฟฟ้า

เรื่องที่ 4 ทัศนคติผู้ปฏิบัติงานในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

เรื่องที่ 5 การศึกษาความพึงพอใจของชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างสายส่ง

เรื่องที่ 6 การส่งคนไปทำงานต่างประเทศด้วยความสมัครใจ

เรื่องที่ 7 ยุทธศาสตร์การสร้างความยอมรับต่อโรงไฟฟ้ากระบี่

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

ส่วนมากองค์กรจะมีแต่ Knowledge แต่ไม่มี Learning Culture จึงไม่เป็น Learning Organization

ทฤษฎีเพื่อการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ของ ดร.จีระ

4 L’S

- Learning Methodology

- Learning Environment

- Learning Opportunities

- Learning Communities

วันที่ 13 มิถุนายน 2557

การสร้างแบรนด์

เกี่ยวกับลูกค้า

- General Public

- Government

- Media

- Finance

- NGO

- PEERS

- Internal

ตัวแทนภาพลักษณ์

- ชื่อ

- Logo

- Mascot

- Slogan

- Image

Corporate Image

- Awareness

- Interesting

- Desire

- Action

- Satisfaction

การบ้านจากคุณกุลพล สังข์ทอง กลุ่ม 6

Angela Markel เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนีที่มาจากเยอรมนีตะวันออก

เป็นคนเรียบง่าย พูดน้อย เยือกเย็น ไม่โอ้อวด สุภาพ พ่อเป็นนักบวชศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ และแม่เป็นครู จบดอกเตอร์ด้านฟิสิกส์ที่เยอรมนีตะวันออก และย้ายมาอาศัยที่เยอรมนีตะวันตก เริ่มเข้าสู่การเมืองพรรค CDU จนได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคในปี 2000

ผลงานที่ผ่านมา สามารถโน้มน้าวให้กลุ่มประเทศ G8 ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นตัวขึ้นมาได้ โดย GDP เติบโตถึง 3% การส่งออกสูงที่สุดในโลก ตัวเลขคนว่างงานต่ำสุดในรอบ 5 ปี เคล็ดลับความสำเร็จคือ มองปัญหาอย่างระมัดระวัง

การแก้ไขปัญหาและความเป็นผู้นำ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ สุขุม เยือกเย็น รอบคอบ อดทน มุ่งมั่น มีวินัย กล้าตัดสินใจ รวมทั้งมีความสามารถในการเจรจาต่อรอง

จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ได้รับรู้ถึงการที่จะเป็นผู้บริหารจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง และปัญหาที่ท้าทายในหลายรูปแบบ จึงเป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องภาวะผู้นำ และการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาในวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ 

ประสิทธิ์ เลาหวิรภาพ

วันพุธที่ 11 มิถุนายน 2557 09:00 – 11:30

ดูงานที่ บริษัท ไทยซัมมิท ออโตโมทีฟ

บริษัทฯ มีบุคลากรประมาณ 25,000 คน รายได้ปีละ 160,000 ล้านบาท ประธานบริษัทคือ ดร.สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับบริษัทรถยนต์และรถจักรยานยนต์และผลิตรถกอล์ฟ ดร.ฉัตรแก้ว หาดระวัง (Director of Manufacturing Thai Summit Group) ได้แนะนำเกี่ยวกับบริษัท นโยบาย การบบริหารและกระบวนการผลิต การอบรม โดยบริษัทให้ความสำคัญเรื่องความปหลอดภัยในการทำงาน และได้บรรยายแนวทางการบริหารงาน ให้ทราบวิสัยทัศน์ ปรัชญาและค่านิยมของบริษัทฯ ซึ่งเป็นแนวทางการสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน การนำเทคโนโลยี่หุ่นยนต์ เข้าไปทดแทนแรงงานคน เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิต

วันพุธที่ 11 มิถุนายน 255713:30 – 16:30

กฟผ ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยในมุมมองของข้าพเจ้า

วิทยากร: ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล

สมัยก่อนที่บ้านไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง ต้องใช้ไฟแสงสว่างจากตะเกียง จากนั้นเริ่มมีการสร้างเขื่อนภูมิพล (ยันฮี) ดร.สมเกียรติมีความใกล้ชิดกับ กฟผ เนื่องจากได้ทำงานร่วมกันในการประกาศข่าวร่วมกับคุณฤดีมาศก์

Joseph Stiglitz เขียนหนังสือเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และได้ชมสารคดีเรื่องต้นนน้ำเจ้าพระยา

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน 2557 14:00 – 16:30

กฟผ กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

วิทยากร: อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

คุณสุทธิเดช สิทธิสมณ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปัญหาในปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้วีการแก้แบบเดิมๆได้ องค์กรจึงต้องพัฒนาตามให้ทัน ความสามารถในการปรับตัวและสร้างสรรเป็นสิ่งจำเป็น เดิมความรู้อยู่ที่ยอดปิรามิดคือผู้มีอำนาจหรือข้าราชการเป็นศูนย์กลาง แต่ปัจจุบันต้องมองที่คนหรือผู้ปฏิบัติเป็นศูนย์กลางแทน โดยคิดอย่างมีระบบ มีกรอบการคิด และเชื่อมโยง

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 2557 08:30 – 11:30

กลยุทธ์การสร้างและบริหารภาพลักษณ์ขององค์กรของ กฟผ

วิทยากร: ศาสตรภิชานไกรฤทธ์ บุญเกียรติ

การดำเนินการใดๆ ก็ตามจะมีเวลา 3 ชนิด

  • §Good Time
  • §Bad Time
  • §Normal Time

โดยเฉลี่ย Good Time และ Bad Time จะมีสัดส่วนอยู่ที่ 60%

Value Chain หมายถึงคุณค่า มูลค่า มีการทำอย่างต่อเนื่องเป็นระบบห่วงโซ่

Fan/Stakeholder หมายถึงผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย

  • §General Public
  • §Government
  • §Media
  • §Finance Public
  • §NGOs
  • §Peers
  • §International Public

การบริหารภาพลักษณ์ของ กฟผ นับวันจะเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากยิ่งขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมมือกันสร้างให้มี อีกทั้งควรเพิ่มภาพลักษณ์ของการเป็นมืออาชีพ และรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมด้วย

อัจฉรี เด่นสิริมงคล

สรุปประเด็นกฟผ. วันที่11 มิย.57

11 มิ.ย. 57 ภาคเช้า

ดูงาน ณ บริษัทไทยซัมมิทออโตพาร์ท

ดร.ฉัตรแก้ว หาดระวัง (Director of Manufacturing Thai Summit Group) ได้แนะนำเกี่ยวกับบริษัท นโยบาย การบบริหารและกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ แต่ละPlant ซึ่งมีการออกแบบModel ตามคำสั่งซื้อของลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การ Training ของบริษัทโดยบริษัทเน้นเรื่อง Safety First มีห้องฝึกอบรม และให้มีการพัฒนางานต้นแบบ เป้นการปฏิบัติจริง หลังฝึกอบรม ทั้งนี้บริษัท มีบุคลากรประมาณ 25,000 คน

นอกจากนี้บริษัทเน้นการทำนวัตกรรม มีการออกแบบโรงงาน ในลักษณะออโตเมทีพ มีหุ่นยนต์เข้าช่วยผลิตเป็นส่วนใหญ่ จึงมีประสิทธิภาพ ลดเวลา และงานได้มาตรฐาน

บริษัท มีการพาพนักงานไปดูงานนวัตกรรมต่างประเทศ สร้างทีมงานให้อยู่ร่วมกันในบรรยากาศ เกิดความสนิทสนมสามัคคี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนางาน

11 มิ.ย. 57 ภาคบ่าย

หัวข้อ กฟผ.ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยในมุมมองของข้าพเจ้า

ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล พูดถึงกฟผ.ตั้งแต่สมัยสร้างเขื่อนภูมิพลและพัฒนาการของไฟฟ้า โดยเล่าว่า เป็นคนสุพรรณ เกิดมาตั้งแต่ที่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้

ในแง่มุมของเขื่อนมีทั้งบวกและลบมีการทำข่าวเขื่อนได้เห็นสารพัดข่าวเขื่อน เคยไปตระเวนที่เขื่อนปากมูล ได้คุยกับหลายตำบลหมู่บ้าน ดูพื้นที่นา ที่น้ำ พบว่าประตูน้ำถ้าปล่อยทั้ง 8 ประตูน้ำจะเข้านาไม่ได้เชื่อว่าปลาจะตาย และบางครั้งจะเจอผู้ชุมนุมประท้วงที่มาจากลาวก็มี

ช่วงที่ กฟผ.เกิดวิกฤตหนัก และรัฐบาลจะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ช่วงนั้นเป็นเรื่องฮือฮามากตอนนั้นดร.สมเกียรติย้ายมาผลิตรายการโลกยามเช้า วันเสาร์จะคิดงานที่ได้ทำเองบ้าง คิดโลกหนังสือยามเช้า ทุกวัน

อาจารย์ ยกตัวอย่างหนังสือJoseph Stiglitzมีตัวอย่าง ที่รัสเซียว่าถ้าไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐที่คอรัปชั่นจะตอดเล็ก ตอดน้อยไปเรื่อย ๆ จึงควรมีวิธีการหางานเชื่อมโยงทำ

เรื่อง NGOs ระยะสั้นก็ยังเป็นปัญหาอยู่ อาจารย์แนะนำให้บริหารจัดการ NGOs หรือชุมชน โดยการประชาสัมพันธ์ ต้อง Involve ชุมชน ต้องให้ความรู้ ให้ความคิด ไม่มีทัศนะเชิงลบกับ NGOs แต่ต้องให้ประชาชนและชุมชนเข้าใจ ตัวอย่างเช่นแม่เมาะ ชุมชนต้องรับรู้เรื่องราว ต้องเคลียร์ ต้องโปร่งใสให้ความรู้สื่อมวลชนอย่างชัดเจน และแท้จริง เป็นการสื่อสารของประชาสัมพันธ์ ซึ่งชุมชนต้องอยู่ร่วมกันด้วยเหตุผล ตัวอย่างที่เหมืองแทนทาลัมภูเก็ต เขาไม่ทันได้อธิบายชุมชนให้เข้าใจเป็นบทเรียนที่ต้อง Inform ตลอด ข้อมูลความจริงต้องจริงใจ เช่น พลังงานนิวเคลียร์กำลังเปิดแห่งแรก ควรมีจรรยาบรรณ และการประชาสัมพันธ์ในกรอบ การผลิตหลอดสี Warm Light เป็นลวดทองแดง ปรับส่องประกายเป็นแสง

สรุปได้เรียนรู้มุมมอง ของผู้มีประสบการณ์หลายด้าน ต่อ กฟผ. ในแง่ของสื่อมวลชน

กฟผ. ยังต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมกับสื่อมวลชนให้ตรงจุดและเชิงรุก

สรุปประเด็น

วันที่ 12 มิถุนายน 2557 ช่วงเช้า ถึงบ่าย

การนำเสนอเรื่องวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม

การนำเสนอผลงานกลุ่ม “ผลงานวิจัยฯ และข้อเสนอโครงการเชิงนวัตกรรม เพื่อการพัฒนา กฟผ.สู่อนาคต” โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ อ.กิตติ ชยางคกุล อ.จีระเดช ดิสกะประกาย คุณภาวนา อังคณานุวัฒน์

กลุ่มแรก ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสัดส่วนการผลิตของ กฟผ.

กลุ่มที่สอง การพัฒนาการสื่อสารภายใน EGAT Group

กลุ่มที่สาม ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความร่วมมือของชุมชน

กลุ่มที่สี่ ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.ที่มีต่อโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่

กลุ่มที่ห้า การสำรวจความพึงพอใจต่อการได้รับค่าทดแทนที่ดินจาก กฟผ.

กลุ่มที่หก แรงจูงใจในการปฏิบัติงานต่อโครงการโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ กรณี

รฟ.หงสา สปป.ลาว

กลุ่มที่เจ็ด ยุทธศาสตร์กรณีศึกษาโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่

สรุป ได้รับฟังงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนางานของกฟผ. ที่เป็นแก่นในหลายๆด้าน เป็นงานวิจัย ที่ก่อให้เกิด 3V ทั้ง Value added , Value Creation , Value diversity นอกจากนี้ ยังได้ประโยชน์จากโครงการเชิงนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติ หรือ ต่อยอดได้ ในอนาคต

วันที่ 12 มิถุนายน 2557 ช่วงบ่ายแก่ๆ

กฟผ.กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้โดย อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปประด็น ได้รับความรู้ว่า Capability กับ Acceptability อาจไม่ไปด้วยกัน คนในห้องนี้ต้องเรียนรู้จากความล้มเหลว และความเจ็บปวด ด้วยในบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ความรู้ต่าง ๆ ไม่อยู่กับที่ องค์กรไม่ควรใช้ความรู้แบบดั้งเดิม

ปัญหาเวลานี้ใช้วิธีการแก้แบบเดิม ๆ ไม่ได้แล้ว ในชีวิตเห็นการเปลี่ยนแปลง ของประเทศจากยุคเกษตรมาสู่ยุคอุตสาหกรรมและยุคดิจิตอล เราจะเห็นว่าปัจจุบันอีก 10 ปีข้างหน้า 5,000 ล้านคน พลเมืองโลกจะเชื่อมโยงด้วยข้อมูลข่าวสาร และจะเห็นอะไรที่แปลกกว่านี้ ดังนั้นองค์กรที่ใช้ความรู้แบบดั้งเดิมจะตามไม่ทัน ดังนั้นจึงควรมีองค์กรที่ปรับตัวและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา

คนที่ สร้างความพอใจต่อลูกค้า Innovate ได้เร็วกว่าคนนั้นชนะ เราจำเป็นต้องมีองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ต้องสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เข้ามา

สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้

1. ต้องพัฒนาศักยภาพทุกคน ต้องมีทัศนคติว่ามนุษย์คือศูนย์กลาง เคารพความคิดเห็นของคนในองค์กรอย่างเต็มที่

2. ความคิดอย่างเป็นระบบ เรื่องนี้สำคัญมาก สังคมไทยทุกวันนี้เป็นปัญหามาก ประชาธิปไตยไม่ใช่ความถูกต้องทั้งหมด ถ้ากรอบความคิด วิธีคิดไม่ถูกต้อง ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการเปรียบกรอบคิดในเชิงระบบ การสร้างองค์กรการเรียนรู้จะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีการสร้างความคิดเป็นระบบเกิดขึ้น ถ้าเอามนุษย์เป็นตัวตั้งแล้วสร้างความคิดในเชิงระบบนั้นจะสำคัญยิ่ง

การไม่เปลี่ยนกรอบคิด หรือเรียกว่า Paradigm คือ Attitude ในการมองโลก เรียกว่า Snap shot การมองโลกแบบแยกส่วนเป็นชิ้น ๆ วิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ วิธีคิดแบบนี้เหมาะกับโลกยุคอุตสาหกรรม เป็นการชำแหละเป็นชิ้น ๆ แล้วมองว่าปัญหาอยู่ตรงไหนแล้วแก้ตรงนั้น มองเป็น Snap shot เป็นลักษณะการใช้อำนาจไปแก้ปัญหา มองเห็นอะไรไม่ชอบใจก็แก้ตรงนั้น

โลกสมัยใหม่ เป็นการคิดเชิงระบบ คือการมองแบบเชิงธรรมมะ คือการเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันในปัจจัยทุกอย่าง เป็นการมองแบบ Dynamic สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ในการมองแบบพลวัตมาก

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรของเรา จำเป็นต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในองค์กรสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวย

จัดให้มีวิทยากรกระบวนการมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นทีม เป็น Team Learning ด้วยกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ละคน แล้วส่งเสริมความคิดเห็นด้วยกัน

หัวใจสำคัญคือเรื่อง Culture ต้องเปลี่ยนวิธีคิดจากการถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นและกำกับเปลี่ยนเป็นการ Empowerment และเมื่อเปลี่ยนกรอบคิดได้ต้องทำตัวเป็น Facilitator ได้ มีระบบ Formal และ Informal

ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องสามารถ Facilitate กระบวนการเปลี่ยนแปลงได้ ให้ทัศนคติเกิดการสนทนากัน ต้องอำนวยความสะดวกให้พูด และให้เกิดการสนทนาที่ดี ไม่ชี้ถูกผิด ดังนั้นการเรียนรู้เป็นกลุ่มจึงสำคัญ ต้องเรียนรู้ในลักษณะอำนวยได้การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเป็นวิชาการ แต่ให้เป็นจิตวิญญาณของการเรียนรู้ควรเรียนแบบ Team Learning และมี Case มาแชร์กันให้เกิด Share Vision กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยกัน

ต้องสร้างความเป็น Ownership ของ Project อะไรที่จำเป็น สร้างพลังให้แก่องค์กร

1. เป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้

2. ฟังลูกน้อง

3. Reward บ้าง เปิดโอกาสให้เขาแสดง

ความรู้มีไว้ใช้ ไม่ใช่มีไว้เก็บ ต้องมีเป้าหมายองค์กร อยากได้กำไรต้องสร้างให้ลูกค้าพอใจต้องเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทันสมัย

สรุปประเด็น วันที่13มิถุนายน 2557

กลยุทธ์การสร้างและบริหารภาพลักษณ์ขององค์กรของกฟผ.

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ต้องสร้างภาพลักษณ์ และเมื่อสร้างได้แล้วจะบริหารให้เกิดประโยชน์อย่างไร

โดยพิจารณา Value Chain (กระบวนการห่วงโซ่แห่งคุณค่า)กิจกรรมต่อเนื่องเป็นระบบ ที่เป็นโซ่อย่าให้ขาดตอน เป็นห้วงการผลิตหรือ Input ถ้าจับต้องได้จะเรียกว่า Stock กฟผ. จะต้องสร้าง Trusted Brandเมื่อ Experience แตกออกมาคือความไว้วางใจหรือเรียกว่า Trusted Brand

Trusted Brand =Credit (พึ่งได้) + Reliability (วางใจได้) + Intimacy (ความใกล้ชิด)

Self Interest (ผลประโยชน์ส่วนตัว)

ตัวแทนภาพลักษณ์5 ประการ

1. ชื่อ เช่น EGAT หมายความว่าอย่างไร

2. ตราสัญลักษณ์ (Logo)ใช้แทนชื่อ สัญลักษณ์ที่ดีที่สุดคือ

3. Mascot สัตว์นำโชค อย่างเช่นฟุตบอลบราซิล ใช้สัญลักษณ์ตัวกินมด

4. Slogan คำขวัญ เช่น กฟผ. บอกว่า “กฟผ.คืนความสุขสู่สังคมไทย” จะทำอย่างไร

5. Image ภาพลักษณ์ หรือ Identity

Trusted Brand =Credit (พึ่งได้) + Reliability (วางใจได้) + Intimacy (ความใกล้ชิด)

Self Interest (ผลประโยชน์ส่วนตัว)

PEST (สิ่งรบกวน)แผนดี ๆ จะถูกสิ่งแวดล้อมรบกวน

P= Politicเปรียบเสมือน Climate ประเด็นคือต้องรู้เกมส์ที่เล่นเป็น Power game เป็นการจัดสรรอำนาจ Smart Phone ที่จะเช็คราคาผลผลิตเป็นเท่าไหร่สามารถเช็คได้

ไทยเป็น Second World เป็นสังคมอยู่ตรงกลาง ระหว่าง First World and Third World

E= Economic เปรียบเสมือนผืนน้ำ

S=Social เป็นพหุวัฒนธรรม คือ Social ดีจะเสมือนคนที่ทำบุญตลอด เช่น เลี้ยงข้าวเด็กตลอด ทำบุญตลอด แต่ก่อนเป็น Cheap laborไม่ช้าก็จะเป็น Professional

T= Technology ไทยเป็นผู้เสพ ไม่ใช่ผู้สร้าง

สรุปสิ่งสำคัญคือ เรื่อง Image กับ Trust ต้องแยกให้ออกระหว่าง Reality กับ Virtual

อัจฉรี เด่นสิริมงคล

การบ้านพิเศษ 10 ( กลุ่มที่ 1)

อ่านหนังสือ Angela Merkel : A Chancellorship Forged in Crisis Hardcover เขียนโดย

Alan Crawford และ Tony Czuczka

กลุ่มได้เรียนรู้งานเขียนเชิงวิจัยเกี่ยวกับ บทบาทของผู้นำที่น่าสนใจในเรื่อง การจัดการกับภาวะวิกฤคของยุโรป ตัวอย่างการตัดสินใจแก้วิกฤต เช่น วิกฤตการเงินประเทศกรีก นโยบายเศรษฐกิจ การคลัง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของโลก ซึ่งแบ่งออกเป็น 12 บท ดังนี้

1.Exodus (Merkel Journey)

2.Revaluation ( Five Minutues to Midnigth )

3.Genesis ( Eastern Roots)

4.Numbers (Germany’s Subprime Scandal)

5.Job ( Greece as Euro’s Nemesis )

6.Lamentations ( Safe European Home? )

7.Joshua ( Merkel’s Contemporaries)

8.Judges ( German Model )

9.Kings ( Merkel’s Contemporaries )

10.Apostles ( How She Works)

11.Proverbs ( Where To? )

12.Chronicles

ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเรื่องราวของ Chancellor Angela Merkel มีดังนี้

Angela Merkel เกิด 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 ณ เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของเยอรมนี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งสู่รัฐสภาเยอรมันจากรัฐเมคเลนบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น เป็นประธานพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (CDU) ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2543 และเป็นประธานกลุ่มพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน-สหภาพสังคมคริสเตียนในรัฐสภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึง พ.ศ. 2548 นอกจากนั้นนางแมร์เคิลยังเป็นผู้นำรัฐบาลผสมกับพรรคสหภาพสังคมคริสเตียน (CSU) และพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังภายจากการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

ในปี พ.ศ. 2550 Angela Merkel ยังดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรียุโรปและประธานกลุ่มประเทศจีแปด นอกจากนั้นนางดำเนินบทบาทในการเจรจาสนธิสัญญาลิสบอนและปฏิญญาเบอร์ลินอีกด้วย ด้านนโยบายภายในประเทศ เรื่องของการปฏิรูปเรื่องการดูแลสุขภาพและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานในอนาคตนับเป็นเรื่องใหญ่ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนาง

Angela Merkel เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศเยอรมนี นางได้รับการเลือกจากนิตยสาร Forbes ให้เป็นสตรีที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2550 นางแมร์เคิลยังเป็นสตรีคนที่สองในการเป็นประธานกลุ่มประเทศจีแปดต่อจากนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2551 นางแมร์เคิลได้รับรางวัลชาร์เลอมาญ (Charlemagne) "สำหรับการทำงานเพื่อปฏิรูปสหภาพยุโรป" จากประธานาธิบดีนีกอลา ซาร์กอซีแห่งฝรั่งเศส

Angela Merkel เกิดที่เมืองฮัมบูร์ก และได้ศึกษาทางด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิจ หลังจบการศึกษา แมร์เคิลที่สถาบันวิทยาศาสตร์เยอรมนี และได้ลาออกในปี พ.ศ. 2533 เพื่อเข้ามาเล่นการเมือง จนกระทั่งในปลายทศวรรษ 80s ที่เธอเริ่มหันมาสนใจการเมืองบ้าง โดยเธอได้สมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม Democratic Renewal ต่อต้านรัฐบาลเยอรมนีตะวันออก

หลังจากกำแพงเบอร์ลินล่มสลาย เมอร์เคิ่ลย้ายมาอาศัยอยู่ในเยอรมันตะวันตก และเริ่มเข้าสู่การเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิกพรรคสหภาพคริสเตียนประชาธิปไตย (CDU) เป็นที่รู้กันดีว่า เฮลมุท โคห์ล นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สนับสนุนเธอเป็นพิเศษ เพราะต้องการฐานเสียงจากเยอรมันตะวันออก เธอได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงครอบครัวและผู้หญิง และกระทรวงสิ่งแวดล้อม เป็นรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในยุคนั้น

ก้าวกระโดดทางการเมืองของ Angela Merkel มาถึงในปี 2542 เมื่อพรรค CDU ต้องเผชิญกับข้อครหารับเงินสนับสนุนพรรคอย่างผิดกฏหมาย ทำให้ชื่อเสียงของนายกรัฐมนตรีโคห์ล, ว่าที่ผู้นำพรรคคนต่อไปอย่าง โวล์ฟกัง ชอยเบิล และนักการเมืองคนอื่นๆ ในพรรคย่ำแย่ไปตามๆ กัน แมร์เคิ่ลจึงกลายเป็นตัวเลือกของสมาชิกพรรคส่วนใหญ่ที่จะฉุดภาพลักษณ์ของพรรคให้ดีขึ้น เธอได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคในปี 2541

แน่นอนว่ามีแรงต้านจากนักการเมืองในพรรคไม่น้อย โดยเฉพาะนักการเมืองผู้ชาย แต่จะว่าไปแล้ว แมร์เคิ่ลเจอแรงต้านมาโดยตลอดในหลายๆ ด้าน เช่น เรื่องสถานภาพครอบครัวของเธอ พรรค CDU ซึ่งเป็นพรรคค่อนข้างเคร่งศาสนาคริสต์นิกายแคธอลิก ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องครอบครัวมาก แต่แมร์เคิ่ลนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ เป็นแม่ม่ายหย่าสามี และไม่มีลูก แต่ต่อมาแต่งงานใหม่

กลุ่ม euro zone และเงินยูโรกำลังจะล่มสลาย สหภาพยุโรป (European Union) เป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังจะตกเข้าสู่วังวน แห่งการล่มสลายของธนาคาร การผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ นี่คือหายนะทางการเงินครั้งใหญ่ที่จะทำให้การล้มละลายของ Lehman Brothers เมื่อปี 2008 กลายเป็นเรื่องเด็กๆ ไปเลย ความเสี่ยงที่กรีซอาจจะต้องออกไปจากกลุ่ม euro zone หลังการเลือกตั้งวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา ภาคการ ธนาคารสเปนที่กำลังเกิดปัญหาหนี้เสียขนาดหนัก และการไหลข้ามไปมาของเงินทุนภายในยุโรปที่กำลังเริ่มเกิดปัญหา ต่างเป็นตัวเร่งไปสู่การแตกสลายของ euro zone ทั้งสิ้น และครั้งนี้อาจไม่มีใครสามารถต้านทานเอาไว้ได้อีก เมื่อปี 2008 ธนาคารกลางและผู้นำประเทศยุโรปได้จับมือกันป้องกันเศรษฐกิจให้รอดพ้นจาก ตกต่ำเอาไว้ได้ แต่ในครั้งนี้ผู้นำยุโรป กลับเอาแต่ทะเลาะกันเอง ส่วนธนาคารกลางต่างๆ ของยุโรปแม้อยากจะช่วย แต่ก็หมดกระสุนที่จะใช้ได้

ความผิดเริ่มที่กรีซ แต่ซ้ำเติมโดยเยอรมนี ขณะนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผู้นำ ประเทศยุโรป ว่าจะเอาอย่างไรกันแน่กับเงินยูโร อย่างไรก็ตาม หากผู้นำยุโรปสามารถจับมือกันคิดหาหนทางแก้ปัญหาได้สำเร็จ ก็ใช่จะสามารถรับประกันเศรษฐกิจโลกได้ แต่ประเด็นอยู่ที่หากผู้นำยุโรปแก้ปัญหาไม่ได้ต่างหาก เมื่อนั้นแหละรับประกันได้ว่าเศรษฐกิจโลกจะต้องเละแน่ๆ และไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า ชะตากรรมของเศรษฐกิจ โลกจะอยู่หรือจะไป ขึ้นอยู่กับผู้หญิงเพียงคนเดียว คือ Angela Merkel นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมนี เพราะผู้นำหลายประเทศทั่วโลกก็ดูเหมือนจะล้มเหลวกันโดยถ้วนทั่ว จากการไม่ยอมลงมือทำอะไรเลย ตั้งแต่อินเดีย ที่การปฏิรูปชะงักงันไปแล้ว ไปจนถึงสหรัฐฯ ที่การทะเลาะเบาะแว้งระหว่าง 2 พรรค หลัก ทำให้ทุกอย่างกลายเป็นอัมพาต และกำลังจะทำให้การฟื้นตัวที่อ่อนแออยู่แล้วของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องเจอภัยสองเด้ง คือการขึ้นภาษี พร้อมๆ ไปกับการต้องลดการใช้จ่ายงบประมาณภายในสิ้นปีนี้ ส่วนในยุโรปเอง นักลงทุนไม่ได้ห่วงรัฐบาลที่แสนจะประหยัด มัธยัสถ์ของ Merkel แต่ปัญหาคือ นักลงทุนกำลังสูญเสียความเชื่อมั่นในประเทศยุโรปอื่นๆ ที่ไม่ได้ปฏิรูปโครงสร้าง เศรษฐกิจอย่าง เข้มงวดเหมือนกับเยอรมนีเมื่อ 10 ปีก่อน และยังบริหารเศรษฐกิจได้ดีไม่เท่าเยอรมนี แต่ถ้าหาก euro zone และเงินยูโรล่มสลาย เยอรมนีเองนั่นแหละที่จะได้รับผลกระทบหนัก การที่ธนาคารในเยอรมนีเองถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นเพียง ตัวอย่างจิ๊บๆ ของผลกระทบที่เยอรมนีจะได้รับ ถ้าหากยูโรล่มสลาย และจะไม่โทษเยอรมนีก็ไม่ได้ เพราะแม้ว่ารัฐบาลกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน จะทำผิดพลาดก็จริง แต่บรรดาประเทศ ลูกหนี้ในยุโรปเหล่านี้ถูกซ้ำเติมด้วยความผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่า ของบรรดาประเทศเจ้าหนี้ในยุโรปเอง ซึ่งรวมถึงเยอรมนีด้วย ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งการเน้น มาตรการประหยัดรัดเข็มขัดที่ตึงเกินไป แผนการช่วยเหลือแบบครึ่งๆ กลางๆ แผนแล้วแผนเล่าที่ไปไม่สุด สักแผนเดียว รวมไปถึงการไม่ยอมกำหนดแผนการที่ชัดเจนสำหรับการรวมตัวกันทางการคลังและการธนาคารของยุโรป ทั้งๆ ที่แผนการดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง หาก ต้องการรักษาเงินยูโรสกุลเดียวให้อยู่ รอดต่อไปได้อย่างตลอดรอดฝั่ง ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่ทำให้ยูโรกำลัง เดินเข้าใกล้การล่มสลายเข้าไปทุกที และเยอรมนีซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดทิศทางเดินของยุโรปที่ผิดพลาดในช่วงที่ผ่านมา ก็ไม่อาจหนีความรับผิดชอบนี้ได้พ้นทั่วโลกกำลังมีความเห็นว่า Merkel ควรต้องทำอะไรบ้าง หากเธอต้องการปกปักรักษาเงินยูโรสกุลเดียวจริงอย่างที่พูด เริ่มแรกเธอต้องเปลี่ยนจากการเน้นนโยบายประหยัดรัดเข็มขัด ไปเป็น การเน้นกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเธอต้องเดินหน้าสานต่อระบบเงินสกุลเดียวให้เสร็จสมบูรณ์ ด้วยการเดินหน้ารวมการธนาคารของยุโรปให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งได้แก่การมีระบบประกัน เงินฝากระบบเดียวทั่วยุโรป มาตรฐานการตรวจสอบธนาคาร และการมีมาตรการร่วมกันในการเพิ่มทุนหรือแก้ปัญหาธนาคารที่กำลังประสบปัญหา รวมถึงการออกตราสารหนี้ที่ยุโรปจะรับผิดชอบ ร่วมกัน (debt mutualisation) เพื่อเป็นการสร้างสินทรัพย์ที่ปลอดภัยร่วมกันของยุโรป และช่วยให้ประเทศยุโรปอื่นๆ มีช่องให้หายใจและค่อยๆ ลดปัญหาวิกฤติหนี้ของตัวเองลงได้ เศรษฐกิจ นอกจากนี้ Merkel ยังเชื่อว่าถ้าหากเกิดอะไรขึ้นกับเงินยูโรจริง เยอรมนีจะว่องไวพอที่จะลุกขึ้นสกัดปัญหาได้ทันท่วงที

อย่างไรก็ตาม หากลงมือทำในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอาจทำให้ Merkel ต้องเสี่ยงต่อการสูญเสียคะแนนนิยมในเยอรมนี แต่ผลดีที่เกิดขึ้นก็อาจพอชดเชยคะแนนเสียงที่เสียไปได้ เพราะหากเยอรมนี ให้ความชัดเจนว่า จะยังคงร่วมหัวจมท้ายกับการรวมยุโรปต่อไป ก็จะเปิดช่องให้ ECB สามารถทำอะไรได้มากขึ้น อย่างเช่นการเข้าช้อนซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือการเข้าหนุนหลังธนาคารที่กำลัง มีปัญหา และเมื่อความกลัวยุโรปจะล่มสลายค่อยๆ หมดไป ความ เชื่อมั่นของนักลงทุนก็จะกลับคืนมา

สรุป วิกฤตต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกองค์กร ดังนั้น เป้นหน้าที่ของผู้นำ ซึ่งต้องมีบทบาทที่โดนเด่น สามารถแก้ไขปัญหา หรือวกฤตที่ซับซ้อนได้อย่างรัดกุม และตรงประเด็นกับปัญหา มีความกล้าหาญ จริงจัง นำการเปลี่ยนแปลงให้บรรลุเป้าหมาย วิกฤติและปัญหาที่ซับซ้อนมีความยากลำบากในการตัดสินใจ ภาวะความเป็นผู้นำที่ต้องมี ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ รอบคอบ อดทน มุ่งมั่น กล้าตัดสินใจ รวมถึง การ Empower ให้มีการนำพา ทรัพยากรทั้งหลายทั้งปวง มาAction ให้เกิดผลและให้เกิดคุณค่า ทั้ง 3 ด้าน

ผู้บริหารกฟผ. ต้องตระหนักถึงภารกิจของผู้นำ ทั้งภารกิจหลัก และต้องมีการวางแผนตั้งรับวิกฤต หากเผชิญกับวิกกฤตการณ์ต่างๆ ที่มีอาจมีผลมาจากปัจจัยภายในองค์กรเองและจากปัจจัยภายนอก โดยต้องมองภาพ Macro ดังนั้น เรื่องราวของ Angela Merkel จึงเป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องภาวะผู้นำ และการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในภาวะวิกฤตของยุโรปซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกด้วย 

11 มิถุนายน 57

ประเด็นการเรียนรู้ : กฟผ...ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย ในมุมมองของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล

ณ ศูนย์ฝึกอบรม บางปะกง

เจอต้นฉบับนักสร้างสรรค์ ต้นแบบการทำข่าวให้น่าสนใจตัวจริง ท่าน เล่าเรื่องไฟตะเกียง แบบเก่า ทำให้นึกถึง บรรยากาศบ้านๆแบบคนไทย สมัยเก่า คุยให้ฟังเรื่องประวัติการทำข่าวกับ ITV โดยเฉพาะ เรื่องเขื่อนปากมูล แสดงถึงตัวอย่างการทำข่าวแบบเจาะลึกข้อมูล

ได้คุยให้ฟังเรื่องหนังสือ GLOBALIZATION and its discontent by JOS EPH STIGLITZ เรื่องการแปรรูป รัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวกับการที่นักการเมือง โกงประเทศแบบไม้เดียวจบ ไม่ต้องทยอยโกง

ได้ชม ดูวีดีโอ เรื่องลำน้ำปิง การทำเขื่อน ภูมิพล ล่องแก่งแม่น้ำปิง มิ่งขวัญไทย

ได้ชม บ้านที่ท่าน ปลูกเองมีพื้นที่ 200 ตรว. ประมาณ ตรวละ 4000 บาท ไม่มีรั้ว อยู่แบบไม่ใช้ไฟ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และท่านรับเชิญไปบรรยาย แบบไม่เน้นค่าตอบแทน แต่ขอให้จัดรถมารับก็พอ

ท่านชื่นชมองค์กร กฟผ เห็นด้วยที่ ไม่ได้แปรรูป และให้ความเห้นว่าการส่งเสริมการประหยัดไฟไม่เป็นผลเสียของ กฟผ. แต่อยากให้ไปคิดเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนที่มีประโยชน์ แต่ทำไมน้ำยัง แล้ง และเกิดน้ำท่วม ประเด็นน่าจะมา คุยกันว่า ควรสร้างแบบไหนที่ไหน สมดุลธรรมชาติไม่เสีย เห็นว่ารัฐบาลควรไฟฟ้าให้เป็นเรื่องความมั่นคงไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจ ควรให้ กฟผ. ดูแลไม่ต้องให้เอกชนทำ

พูดถึงแนวโน้มการทำธุรกิจไฟฟ้าในอนาคตเช่น AT&T ขายไฟแบบไม่ต้องเดินสาย โดยให้ประเด็นที่ถูกมองว่าผู้ผลิตไฟฟ้าหลัก คงตามไม่ทัน บริษัทฯที่เริ่มบุกตลาดขายไฟฟ้าแนวใหม่ next 10 years รูปแบบการขายไฟจะเท่ากับ 100 ปีที่ผ่านมา อนาคตจะมีการพัฒนาขายไฟหากินพลังงาน ผ่านมือถือ คือเน้นการควบคุมเชิง สมาร์ทโฮม คุมการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเลคทรอนิคส์ ต่างๆ เช่น ใช้กลยุทธ์.ติดตั้งโซล่าเซลให้ทุกบ้าน ฟรี ให้ใช้ในบ้านไฟที่เหลือ ขายให้การไฟฟ้า ราคาถูกกว่าปกติ ถ้าใครลดการใช้ไฟจะตอบแทนให้ การขายไฟผ่าน App. เช่น software /ประหยัดพลังงาน / แฟสชไลท์

ให้ข้อคิดเรื่องการต่อต้านการสร้างไฟฟ้า ควรบริหารจัดการชุมชน อย่างไร ต้อง involve ประชาชนเป็นพวกและเข้าใจ โปร่งใสตั้งแต่ตัน ใหั้ความรู้นักข่าวอย่างชัดเจนแท้จริง พวก NGO ใช้ความจริงเข้าต่อสู้ ไม่ควรเลี้ยงดูปูเสื่อ NGO เพราะส่วนใหญ่ เป็นเรื่องศักดิ์ศรี ควรทำ ความเข้าใจ ตั้งแต่แรกจริงใจ ต้องใช้เวลา อธิบาย no clue กฟผ. ถูกโยงกับประชาชน เลยเกรงใจ ไม่กล้าฟังธงโผงผาง เลยทำให้ เกิดปัญหา เป็นเชิงอนุรักษ์นิยมไม่ควรตกเป็นเครื่องมือ ไม่ควรขืนใจ NGO เช่นเดียวกับเรื่อง นิวเคลียส ที่สร้าง แล้ว อบต อบจ ได้เงินกลายเป็นเรื่อง อิทธิพลท้องถิ่น การวาง spot tv แพงมากไป ควรทำรายการให้คนติดแล้ว โฆษณา ผ่าน spot เล็กๆ คิด ค้น อ่าน กับสถานการณ์ที่เราอาจไม่เคยเจอ ให้เวลาคิดอ่าน ทำให้มีข้อมูลในการวิเคราะห์ได้ถูกทาง

ประเด็นการเรียนรู้ : เยี่ยมชม บริษัท ไทยซัมมิทโอโตพาร์ทอินดัสทรี จำกัด

by Dr. Chatkaew Hart-rawung Director of Thai summit Group

เป็นโรงงานทีเน้น ด้าน Innovation Management /Skill / technology นับเป็นอุตสาหกรรม ยานยนต์ที่กือว่าดีที่สุด ทำ Part ส่งโรงงานต่าง รวมรถกอล์ฟ ลูกค้าหลัก กลุ่มยานยนต์ / อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น Sumsang เป็นตันน้ำลำหรับ อุตสาหกรรม ต่อเนื่อง เช่น Part ไฟฟ้า การตบแต่งรก ยาง เบาะ

เนื่องจากคนงานหายากขึ้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบ Autonation สามารถ ตอบโจทย์ลูกค้าการ reject part เช่น จุดเชื่อม ระยะต้องเท้ากับ Satisfaction สิ่งค้ญสุดสำหรับ ลูกค้า ขบวนการคิคแบบ ควบคุมขบวณการและต้นทุนให้ลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจ

มีการสร้างนวัตกรรม มี ทั้ง Internal and External knowledge ซึ่งถือเป็นเรื่อง ยากเพราะคนเก็บความรู้ ต้องใช้ Job Rotation ช่วย แชร์ได้ Internal พยยายามปรับปรุงขบวนการผลิตให้ดีขึ้น โคยสร้าง Model Image ผ่าน computer Process analysis by simulation ไว้ตอบลูกค้า ใช้วิเคราะห์ ต้นทุน ใช้เครื่องจักร ได้ดีมากขึ้น

การบริหารคนพยายาม.ให้ทุกคนปีความสุข ม็รายได้ happy work Body Heart society relex

ม็การมาพัฒนาแชร์ในองค์กร Engineering Day Key success/ 5s /suggestion activity /Qcc activity / energy saving six-sigma / TPM, TQM / customer award/quality system/(ISo 9001:2008/ Qs9000)

การพัฒนาร่วมกับผู้ผลิต เพื่อให้ลูกค้ายอมรับและสั่งของเรา และต้องดีขึ้นเรื่อยๆ ต้องบริหารเชิงรุก ต้องพัฒนาคบ ให้คิดให้เป็น มีศิลปะ ไม่ใช่จำ อย่างเดียว System Thinking หยุดคิดคือหยุดพัฒนา

12 มิถุนายน 57

ประเด็นการเรียนรู้ : Learning Organization โดย อ.สุทธิเดช สุทธิสมณ์ ธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์

ปัญหาปัจจุบันใช้วิธีแก้แบบเดิมๆ ไม่ได้ องค์กรจึงต้อง มีการปรับตัว และสร้างสรรค์. เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ต้องเป็นองค์ กรแห่งการ.เรียนรู้

ต้องเอา People เป็น Center ต้องม็ Leader ทุกระดับ respect ทุกคนว่าใช้ ศักยภาพเต็มที่ของแต่ละคน ที่จะพัฒนา ตัวเองอย่างเต็มที่ เน้น Empowerment เน้นการสร้างการมีส่วนร่วม และการทำงานเป็นทีม

พัฒนาโดยการบรรยายพัฒนาได้แด่ 10 % ต้องมีกรอบคิดเชิงระบบ System Thinking เช่นเดียวกับการตีกอฟล์ ต้องดูวิธีจับกิฟ การยืนที่ถูกต้องก่อนไปตี และจำเป็นต้องมียู้นำ วิทยากร กระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู๋

ต้องมีผู้นำแห่งการเรียนรู้ ฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู๋ ฟังเปิดโอกาสให้พูดและแสดง ต้องมีเครื่องมือเช่น IT ข้อมูล Knowledge เป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน

ต้องเปลี่ยน นิสัย ใช้ Culture ช่วย facilitate เพราะไม่ใช่เรื่องผิด ถูก ไม่ควรวิจารณ์ ค้าพูดของกันละกัน

Persona1 Mastery รู้จริง เรียนรู้ภายในองค์กรอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีระบบให้รางวัล และไม่ลงโทษที่เป็นการคิดสร้างสรรค์ หรือลูกน้องทำสิ่งใหม่ๆต้องถือเป็นการเรียนรู้ ข้อบ่งชี้ ต้องประกาศ เจตนารมณ์ / ต้องมีใจร่วม /มีเวที /เครื่องมือ พร้อม

ควรสร้างแนวร่วมในแนวราบแบบ Informal เช่นมีการจัดกลุ่มๆละ 80 คน ในระดับแผนก ลงไป สร้างผู้นำการเชื่อมโยง และทำกับระดับผู้ บริหารด้วย ทำให้เกิดการแชร์และเชื่อมโยงในแนวราบ สร้างเครือข่ายการทำงานในองค์กรมีการแบ่งปันขับเคลื่อนองค์กรไป

ควรกระจายโอกาสให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ กฟผ.จะต้อง Run ด้ายความคิดใหม่ๆ ปัญหาของ KM ต้องเอาไปผสม ความรู้ใหม่ๆ ให้พัฒนาเเรื่องความใฝ่รู้ แสวงหา กลายเป็น Learning Organization คือวัฒนธรรมการเรียนรู๋ เช่น ให้มีการ เรียนภาษาอังกฤษ ในเวลา ทำงาน มีการให้รางวัล เช่น ไปหัวหิน รับรองมีคนสมัคร เยอะ เลย

ต้องเข้าใจ KM ความรู้มีไว้ใช้บรรลุเป้าหมายขององค์กรทำให้ลูกค้าพอใจ ไม่ใช่แค่ เรื่องกำไร 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท