005: การแก้ปัญหาการฉีดยาแก้ปวดเข้ากล้ามเนื้อร่วมกับแผนกสูติ-นรีเวชฯ


เป็นความร่วมมือกันของ CLT สูติ-นรีเวชฯ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
ต่อเนื่องมาจากบันทึก 003 เรื่องฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ จากงานวิจัยของคุณสุนทรี และคณะ (หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชฯ) ได้สำรวจผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ในปี 2547 พบมีผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอด 44%  ได้รับยาแก้ปวดโดยการฉีดทางกล้ามเนื้อ (ศรีนครินทร์เวชสาร 2006 ; vol 21 No 1.)  บางครั้งยังพบปัญหาซ้ำซ้อนระหว่างคำสั่งการรักษาของวิสัญญีแพทย์และสูติแพทย์  จึงได้มีการประชุมร่วมกันของ Clinical Lead Team (CLT)  สูติ-นรีเวชฯ และ pain service team ของวิสัญญีฯ   โดยนำคำสั่งของแพทย์ที่เกี่ยวข้องมาศึกษาข้อมูล ผลสรุปที่ได้คือ มีการจัดทำคำสั่งการรักษาที่ใช้ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย โดยเป็นคำสั่งสำเร็จในรูป ใช้การพิมพ์แทนการเขียนด้วยมือ พยาบาลจึงอ่านเข้าใจง่าย แพทย์ทุกฝ่ายมีความสะดวกเพราะเพียงแค่ใส่วันที่....และเซ็นชื่อ....ก็เรียบร้อย [ยกเว้นจะสั่งยาเป็นกรณีพิเศษซึ่งจะต้องเขียนเพิ่มเติมเอง]  การปรับปรุงนี้มีส่วนช่วยลดจำนวนกระดาษคำสั่งจากเดิมเคยใช้ 2 ชุด [3 copy/ชุด] เป็นใช้แค่ 1 ชุด และที่สำคัญได้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมจากฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อเป็นฉีดทางหลอดเลือดดำแท รวมทั้งมีคำสั่งการให้ยาแก้ปวดชนิดรับประทาน (เมื่อผู้ป่วยเริ่มทานได้) เร็วขึ้น โดยสั่งยาให้ทานตามเวลาแทนการให้ยาแบบเดิมคือให้เมื่อผู้ป่วยขอ (ปวดมากแล้วจึงกล้าขอ)   ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาแก้ปวดหลังผ่าตัดในขนาดที่เหมาะสมและเร็วขึ้นกว่าเดิม และท้ายสุดคือ การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดมีคุณภาพที่ดีขึ้น จากการติดตามหลังการใช้งาน พบว่าส่วนใหญ่พอใจในคำสั่งแบบใหม่ ทั้งหมดนี้ก็เป็นการแก้ปัญหาการฉีดยาแก้ปวดเข้ากล้ามเนื้อโดยความร่วมมือกันระหว่างสูติแพทย์และวิสัญญีแพทย์นั่นเอง
คำสำคัญ (Tags): #ความปวด#pain
หมายเลขบันทึก: 56964เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เยี่ยมเลยครับ
  • แบบนี้ครับ ที่อ่านง่าย
  • ขอบคุณมากครับ

การเขียนบันทึกของผมมีการพัฒนาขึ้นบ้างเล็กน้อย สังเกตได้จากบันทึก 001ที่เรียบเรียบ (ยาวเล็กน้อย) มาถึงบันทึก 005 เริ่มรู้จักเพิ่มเติมสีสัน และรู้จักวิธี link ไปยังบันทึกอื่น ตั้งใจจะพัฒนาไปอีก(อย่างช้าๆเพราะแพ้ไวรัส) ขอบคุณมากที่คอยให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท