ประสบการณ์การเป็นศึกษานิเทศก์ของผม (ตอนที่ 1)


ในที่สุดผมก็พบความจริงว่า การเป็นตัวเราเองนั่นแหละดีที่สุด โดยอาศัยแบบอย่างที่ดีของแต่ละคนที่เราชื่นชอบในหลายๆแบบ มาปรับใช้ในแต่ละสถานการณ์อย่างเป็นธรรมชาติ ที่ตรงกับจริตอย่างเป็นตัวของตัวเอง
       ผมเป็นครูโรงเรียนมัธยมศึกษาอยู่ต่างจังหวัด ตั้งแต่ พ.ศ.2514  ไม่เคยได้สัมผัสใกล้ชิดกับศึกษานิเทศก์มาก่อน  จน พ.ศ.2524 ซึ่งผมเพิ่งจบปริญญาโทใหม่ๆ  ดร.อาคม  จันทสุนทร  หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์  กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 (ในตอนนั้น) ได้มานิเทศที่โรงเรียน  ผมเห็นบุคลิกภาพ  การวางตน  ท่วงทำนองการพูด  และการแสดงออกของท่านดูเป็นผู้ที่มีความรู้สูง  แต่ท่านกลับอ่อนน้อมถ่อมตน  พูดอะไรดูง่ายต่อการปฎิบัติ และน่าเชื่อถือไปหมด  ผมเกิดศรัทธาและชื่นชมท่านอย่างมากในวันนั้น   และเริ่มมีความใฝ่ฝันว่า  
                      สักวันผมต้องเป็นอย่างท่านให้ได้
     หลังจากนั้นไม่นานในปีเดียวกัน  ผมก็สมัครมาเป็นศึกษานิเทศก์ที่หน่วยศึกษานิเทศก์  กรมสามัญศึกษา  เขตการศึกษา 8 (จ.เชียงใหม่) 
ดร.สมจิตร  สร้อยสุริยา  (หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์) ตรวจสอบประวัติผมอยู่นาน  จึงรับเอาไว้  และการเข้ามาเป็นศึกษานิเทศก์สมัยนั้น  ต้องผ่านการอบรมเข้ม 1 เดือนเต็ม และทดสอบการปฎิบัติงานจริงต่อเนื่องอีก จึงได้เป็นศึกษานิเทศก์เต็มตัว
        ขณะที่ปฎิบัติงานนิเทศ ผมจะพยายามลอกเลียนแบบบุคคลิก พฤติกรรมของ
ดร.อาคม โดยตลอด  คล้ายกับคนที่พยายามเป็นเงาเสียงนักร้องที่ตนชอบ  แต่จะเลียนแบบอย่างไรก็ได้ไม่เต็มร้อย ท่านเองก็คงไม่รู้ตัวว่าผมกำลังแอบเลียนแบบท่าน(คงเหมือน benchmarking ในปัจจุบันนั่นแหละ)   
         จนถึง พ.ศ. 2546  มีงานพระราชทานเพลิงศพท่าน ซึ่งตอนนั้นผมได้เป็นหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษาแล้ว  ผมจึงเขียนหนังสือให้ท่านเล่มหนึ่งชื่อ
เพชร แจกในงานนี้  และความลับในใจผมที่เก็บไว้อยู่นาน  ก็ได้ถูกเปิดเผยออกมาในหนังสือเล่มนี้   ผมไม่รู้เหมือนกันว่าท่านจะได้รับรู้หรือไม่
          ขอเล่าเรื่องการเลียนแบบของ ดร.อาคมต่อ...  ในที่สุดผมก็พบความจริงว่า  การเป็นตัวเราเองนั่นแหละดีที่สุด  โดยอาศัยแบบอย่างที่ดีของแต่ละคนที่เราชื่นชอบในหลายๆแบบ  มาปรับใช้ในแต่ละสถานการณ์อย่างเป็นธรรมชาติ  ที่ตรงกับจริตอย่างเป็นตัวของตัวเอง  แล้วค่อยๆพัฒนาไป  ถึงจะไม่ดีไม่เก่งเหมือนดาราก็ไม่เป็นไร  เพราะเราก็คือเรา 
     
สักวันเราอาจได้เป็นดาราในหัวใจคนอื่นในแบบของเราก็ได้...
      
หมายเลขบันทึก: 56959เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • เรียน อ.ธเนศ
  • อ.ธเนศ เป็น ศน.ที่ดิฉันปลื้มและชื่นชอบตั้งแต่ครั้งแรกที่เคยรู้จัก ที่สามพรานไงคะ คงเหมือนกับที่อาจารย์ปลื้ม ดร.อาคม ทำนองนั้นค่ะ
  • เห็นด้วยกับการเอาเยี่ยงค่ะ เพราะดีกว่าการเอาอย่าง เพราะการเลียนแบบ อ.ธเนศ นั้นยากยิ่ง ก็อาจารย์มีประสบการณ์สูงมาก และมีมุมมองความคิดที่ลึกซึ้งค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับประสบการณ์และข้อคิดสอนใจที่ล้ำค่าค่ะ

สวัสดีค่ะ อาธเนศ จิ๊บเป็นลูกสาวพ่ออาคมค่ะ วันนี้คิดถึงพ่อนึกอยากหาชื่อพ่อในเน็ตค่ะ ก็เลยมีโอกาสได้เห็น blog นี้ อ่านไปก็ตื้นตันค่ะ วันนี้พอดีกับที่จิ๊บได้อ่านหนังสือ KM ที่อาเขียนส่งมาให้แม่ เล่มเล็กๆ อ่่านจนจบ ด้านหลังเห็นอาเขียนถึงว่าทำไมอาออกจากราชการ ยิ่งนึกถึงพ่อใหญ่เลยค่ะ จิ๊บว่า อาคงไม่ต้องเรียนแบบพ่อตรงไหนเลย แต่เหมือนกับว่าอาคล้ายพ่ออยู่แล้วนะคะ เพราะพ่อสอนพวกเรา(อย่างที่ไม่ต้องใช้คำพูด) ด้วยแนวทางของชีวิตที่พอเพียง เหมือนอย่างที่อาทิ้งท้ายเอาไว้ค่ะ

จื๊บ...อาภูมิใจแทนหนูที่มีโอกาสได้เป็นลูกของคุณพ่อ แล้วสืบทอดสิ่งที่ดีงามไปถึง ลูก หลาน เพื่อนร่วมงานให้มากๆนะ สังคมไทยจะได้น่าอยู่ขึ้น

สวัสดีค่ะ อาจารย์ธเนศ หลังจากหนูหาข้อมูลในการเป็นศึกษานิเทศก์ หนูก็มาพบบล๊อกของอาจารย์ อาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยได้ไหมคะ

ว่าศึกษานิเทศก์ มีลักษณะอย่างไง มีแนวทางการการพัฒนาอาชีพให้สูงขึ้นไหม

เพราะว่าหนูพึ่งบรรจุเป็นครูผู้สอนได้สามเดือนแต่หนูอยากจะเปลี่ยนตำแหน่งงานใหม่ หนูอยากจะเป็นศึกษานิเทศก์ อาจารย์มีความคิดเห็นว่าอย่างไงบ้างคะ อาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยนะคะว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร ขอบคุณคะ

โอกาสก้าวหน้าเช่นเดียวกับครู เป็นครูดีแล้วครับขอให้ตั้งใจสอน พัฒนาตนเองไป เมื่อมีประสบการณ์สูงขึ้นจึงค่อยคิด อย่าเพิ่งคิดตอนนี้เลยครับ

จะเป็นศึกษานิเทศก์ได้อย่างไร

มีเกณฑ์อย่างไร

ต้องจบอะไรมาบ้าง

ค้นในเน็ตไม่เจอเลยค่ะ

อยากเป็นศึกษานิเทศก์ เพิ่งเรียนจบมา

ได้ยินว่าต้องรับราชการครูไม่ต่ำกว่า 10 ปี

แล้วก็ต้องจบ ป.โท วิจัย หรือ นวัตกรรม ใช่ป่ะค่ะ

ขอความกรุณาช่วยชี้แนะด้วยค่ะ

ดูที่มาตรฐานด้านคุณสมบัติและความรู้ ของคุรุสภา เท่าที่พอจำได้(ผมเกษียณแล้ว) ต้องเรียนจบไม่ต่ำกว่า ป.โท เป็นครูมาหลายปี(อาจ 10 ปีอย่างที่บอก) มีประสบการณ์ และต้องสอบ ตามที่ สพท.ประกาศรับสมัคร

จบ ตรี วทบ.(เคมี) กำลังจะต่อโท บริหารการศึกษาค่ะ ไม่ทราบว่าเรียนจบแล้วสามารถทำงานอะไรได้ค่ะ

คืออยากทำงานในส่วนของการศึกษา อย่างเช่น นักวิชาการศึกษา ศก. คุณสมบัติต้องมีอะไรบ้าง ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู ไม่มีประสบการณ์ จะเปลี่ยนสายงานแต่ไม่รู้จะต้องทำยังไงต่อ ช่วยอธิบายด้วยคะ

หนูกำลังจะเรียนต่อโทหลักสูตรและการนิเทศ เพราะคิดว่าอนาคตอยากสอบศึกษานิเทศก์ ด้วยความที่เห็นอัธยาศัยของแต่ละท่านอยากเป็นบ้าง แต่เพื่อนบอกว่างานหนักกว่าครูเยอะ หนูไม่มีข้อมูลการเป็นศึกษานิเทศก์เลย หาข้อมูลในเน็ตไม่มีเลย ถ้าอาจารย์จะแสดงความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของหนูจักขอบคุณมากค่ะ

อ่านวารสารวิทยาจารย์ของคุรุสภาสิครับ ผมเป็นคอลัมน์ประจำเขียนหัวข้อ"คุยเฟื่องเรื่องนิเทศการศึกษา"มาทุกฉบับหลายปีแล้ว

ดาวน์โหลดข้อสอบศึกษานิเทศก์ฟรีได้ที่ http://xn--12cab9fje2hdgg6ab3e3az9nqfxc.blogspot.com/

เส้นทางการเป็น ศึกษานิเทศก์ จะต้องทำยังไงบ้างคะ ตอนนี้หนูเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง
จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขา ภาษาอังกฤษค่ะ
ช่วยแนะนำด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ธเนศตอนนี้หนูมีความเครียดเรื่องเปลี่ยนสายงานมาก ว่าจะเลือกอะไร หรือไปทางไหนตอนนี้หนูอาบุ34ปี อยู่ในตำแหน่งครูมา10ปีเข้าปีที่11 กำลังจะได้คศ.3 เรียนจบ ป.โท สายการสอนภาษาอังกฤษ ตอนนี้จะมีสอบศึกษานิเทศก์ซึ่งอนาคตหนูต้องการทำเชี่ยวชาญต่อ แจ่ตอนนี้คือลังเลมาก ว่าในการทำเชี่ยวชาญสายอาชีพไหนที่จะพาเราไปไกลกว่ากัน ระหว่างสายครูกับสายศน. ซึ่งในใจลึกๆรักอาชีพครูชอบำานักเรียนไปแข่งขันชอบเทรนเด็กและชอบหาอะไรใหม่ๆเพื่อมาแก้ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษให้ได้

โปรดชี้แนะด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ธเนศตอนนี้หนูมีความเครียดเรื่องเปลี่ยนสายงานมาก ว่าจะเลือกอะไร หรือไปทางไหนตอนนี้หนูอาบุ34ปี อยู่ในตำแหน่งครูมา10ปีเข้าปีที่11 กำลังจะได้คศ.3 เรียนจบ ป.โท สายการสอนภาษาอังกฤษ ตอนนี้จะมีสอบศึกษานิเทศก์ซึ่งอนาคตหนูต้องการทำเชี่ยวชาญต่อ แจ่ตอนนี้คือลังเลมาก ว่าในการทำเชี่ยวชาญสายอาชีพไหนที่จะพาเราไปไกลกว่ากัน ระหว่างสายครูกับสายศน. ซึ่งในใจลึกๆรักอาชีพครูชอบำานักเรียนไปแข่งขันชอบเทรนเด็กและชอบหาอะไรใหม่ๆเพื่อมาแก้ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษให้ได้

โปรดชี้แนะด้วยค่ะ

ผมเกษียณมา 11 ปีแล้ว อะไรใหม่ๆในวงการ ศน.ผมไม่ค่อยรู้หรอกครับ แต่ถ้าจะถามจากประสบการณ์ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ ผมยังมั่นใจว่า จุดชี้ขาดการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จอยู่ที่ครูเก่ง ครูดี มีจิตวิญญาณความเป็นครู เป็น “ครูอาชีพ” ไม่ใช่ เพียงแค่ “อาชีพครู” ดังที่ท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เคยกล่าวไว้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท