ความชอบธรรม : ทฤษฎีทั่วไป และความชอบธรรมในรัฐไทย ตอนที่ 6


2. ความชอบธรรมทางการเมือง หมายถึงอะไร (ต่อ)

ในสารานุกรมออนไลน์ Wikipediaได้อธิบายถึงความหมายของความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy political) (2009) ว่าหมายถึง การให้การยอมรับของประชาชนต่อระบอบการปกครองที่มีสิทธิอำนาจ ( authority) ปกครองพวกตนและหากกล่าวถึงในบริบทเรื่องกฎหมายควรแยกแยะว่าความชอบธรรม (legitimacy) ออกจากความถูกต้องตามกฎหมาย (legality) เนื่องจากมีนัยต่างกัน กล่าวคือการกระทำบางอย่างเป็นการกระทาที่มองว่าถูกต้องตามกฎหมาย แต่อาจปราศจากซึ่งความชอบ ธรรมตามมุมมองของคนบางคนในสังคม ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการผ่าน ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ฉบับเหมาเข่ง เป็นต้น

ในขณะที่การกระทาบางอย่างเป็นการกระทาที่คนบางคนในสังคมอาจมองว่ามีความชอบธรรม แต่ไม่ถูกต้องตามตัวบทกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น แม่ที่มีฐานะยากจน แต่จำเป็นต้องขโมยนม เพื่อเอาไปให้ลูกกิน เป็นต้น ซึ่งคนบางคนในสังคมอาจมองได้ว่ามีความชอบธรรมในการช่วยชีวิตคนหรือลูกน้อยไปให้หิว แต่เป็นการกระทาที่ขัดกับกฎหมายเนื่องจากมีการหยิบเก็บของของคนอื่นมาเป็นของตนเอง

อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ หากจะตัดสินเรื่องความชอบธรรมต้องยึดกฎหมายเป็นหลักการสำคัญไว้ก่อน ถ้ากฎหมายใดขาดความเหมาะสมกับสังคมขณะนั้นจากการถูกติติง วิพากษ์วิจารณ์ ก็สมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข ตราบใดที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขควรยึดหลักกฎหมายนั้นไว้ก่อน อย่าเพิ่งนาเอากระแสความรู้สึกของสังคมมาเป็นตัวชี้วัดความชอบธรรม ด้วยเพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบกติกาเดียวกัน

Guo (2003) อธิบายถึงองค์ประกอบสองส่วนของความชอบธรรมทางการเมือง ซึ่งได้แก่ ส่วนแรก การอ้างเหตุผลถึงที่มา (original justification) ของสิทธิอำนาจในการปกครอง และส่วนที่สอง การอ้างเหตุผลถึงเรื่องผลประโยชน์ (utilitarian justification) ของประชาชนที่ผู้ปกครองดำเนินการให้เกิดขึ้นตามความต้องการของประชาชน ทั้งนี้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ความชอบธรรมทางการเมืองของผู้ปกครองให้เกิดขึ้นในสายตาและการรับรู้ของคนในสังคม อันนามาซึ่งการให้การยอมรับในตัวผู้ปกครองและการดารงไว้ซึ่งความมีเสถียรภาพของผู้ปกครอง กล่าวโดยสรุปคือผู้ปกครองที่ต้องการอยู่ในอานาจอย่างยาวนาน ต้องอธิบายต่อสังคมให้เกิดการยอมรับในที่มาของผู้ปกครองและยอมรับในประสิทธิภาพของการปกครองของตน

Guo ศึกษาประวัติศาสตร์ชาติจีนตั้งแต่ครั้งสมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน เขาได้นาเสนอตัวแบบเชิงเปรียบเทียบให้เห็นถึงองค์ประกอบของการสร้างความชอบธรรมทางการปกครองหรือความชอบธรรมทางการเมือง เพื่อรักษาสถานภาพแห่งการปกครองในยุคสมัยของตนให้ดารงอยู่อย่างมั่นคงยาวนาน ดังนี้

ในสมัยบรรพกาลที่จีนปกครองด้วยองค์จักรพรรดิในราชวงศ์ต่าง ๆ องค์ประกอบส่วนแรกของการเสริมสร้างความชอบธรรมแห่งการปกครองว่าด้วยที่มาของผู้ปกครอง (original justification) ได้แก่ ปัจจัยความเชื่อของสังคมว่าผู้ปกครองเป็นผู้ซึ่งได้รับอาณัติจากสรวงสวรรค์ เป็นผู้ที่มีความรอบรู้และมีคุณความดี และปัจจัยการมีกฎเกณฑ์ของครอบครัว แบบแผนของวงศ์ตระกูล ขนบธรรมเนียมของชุมชน และจารีตประเพณีของสังคม ปัจจัยเหล่านี้นาไปสู่การยอมรับในผู้ปกครองโดยคนคนเดียวได้ (อันนี้คล้ายกับผู้นำแบบจารีตประเพณีและทางอาณาบารมีของ Max Weber)

องค์ประกอบส่วนที่สองของการเสริมสร้างความชอบธรรมแห่งการปกครองว่าด้วยการทาคุณประโยชน์ของผู้ปกครองแก่ประชาชน (utilitarian justification) ได้แก่ ปัจจัยผลประโยชน์และสวัสดิการที่ประชาชนได้รับจากการปกครอง และปัจจัยการกระจายผลประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน

สำหรับจีนนับตั้งแต่การสถาปนาระบอบสังคมนิยมในสมัยเหมาเจ๋อตุงจวบจนถึงปัจจุบัน การปกครองในระบอบนี้ถูกมองว่าการเมืองการปกครองภายในประเทศยังไม่เปิดกว้างเท่ากับระบอบประชาธิปไตย Guo ตั้งคำถามว่า เหตุใดประชาชนชาวจีนยังคงให้การยอมรับในการปกครองของรัฐบาลจีนมาอย่างสืบเนื่องยาวนาน Guo ให้เหตุผลว่าเกิดจากกระบวนการในการเสริมสร้างความชอบธรรมทางการเมือง 2 ส่วน ซึ่งได้แก่ original justification และ utilitarian justification ดังนี้

องค์ประกอบส่วนแรกของการเสริมสร้างความชอบธรรมแห่งการปกครองว่าด้วยที่มาของผู้ปกครอง (original justification) ได้แก่ ปัจจัยการทาให้ประชาชนยอมรับในตัวผู้นาผ่านภาพทฤษฎีความเป็นตัวแทน 3 ประการของผู้นำ (การใช้อำนาจเพื่อประชาชน การเชื่อมความรู้สึกของผู้นาไปยังประชาชน และการมุ่งสร้างสวัสดิการให้กับประชาชน) ปัจจัยการทาให้ประชาชนยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้นา และปัจจัยการทาให้ประชาชนยอมรับในรัฐธรรมนูญ และหลักแห่งกฎหมาย

องค์ประกอบส่วนที่สองของการเสริมสร้างความชอบธรรมแห่งการปกครองว่าด้วยการทำคุณประโยชน์ของผู้ปกครองแก่ประชาชน (utilitarian justification) ได้แก่ ปัจจัยการนาเอาหลักการภาวะแห่งความทันสมัย (modernization) มาปรับใช้ในการบริหารประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และปัจจัยการดาเนินนโยบายที่เน้นกระจายผลประโยชน์ไปสู่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและการสร้างสวัสดิการให้กับประชาชน

เดี๋ยวมีต่อนะครับ 

หมายเลขบันทึก: 569117เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2014 07:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2014 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)


ขอบคุณความรู้ดีดีนี้ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท