หนึ่งในร้อยวิธีที่จะทำให้กองทุนเข้มแข็ง


เทคนิคการสร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกองทุน
โครงการประกวดกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ทางเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสมุทรปราการซึ่งเป็นงานระดับจังหวัดได้จัดขึ้นนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้กองทุนได้แข่งขันเพื่อปรับปรุงการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบมีศักยภาพ และมีความเข้มแข็งสามารถบริหารกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งต้องดำเนินงานให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๕ ธันวาคม นี้
วัตถุประสงค์ของการจัดประกวดคือ
๑.    เพื่อกระตุ้นเร่งเร้าให้กองทุนหมู่บ้านได้มีการแข่งขันกันปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนให้มีความพร้อมและเป็นไปตามนโยบายของรัฐเพิ่มมากขึ้น
๒.   เพื่อคัดเลือกกองทุนที่มีผลงานดีเด่นให้เป็นแบบอย่างและประกาศเกียรติคุณ ยกย่องเป็นกำลังใจในการทำความดียิ่งขึ้น
๓.   เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินการของกองทุนให้แพร่หลาย
การประกวดแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอและระดับตำบล
หลักเกณฑ์การตัดสินให้คะแนนประกวดกองทุน
๑.      ด้านโครงสร้างหน้าที่ทั้งในเรื่องของที่ทำการกองทุน กฎระเบียบ สมาชิก แผนงานรวมถึงการแบ่งหน้าที่คณะกรรมการ
๒.   ด้านการบริหารจัดการ ดูในเรื่องคณะกรรมการการอนุมัติเงินกู้ การประชุมของคณะกรรมการและสามัญรวมถึงการทำเอกสารหลักฐาน
๓.   ด้านการมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์ของเครือข่ายกองทุนดูในเรื่องการมีส่วนร่วม ทั้งการจัดเวทีและความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งความสัมพันธ์กับชุมชนอื่น
๔.   ด้านผลการดำเนินการ จะดูในเรืองของการมีอาชีพของสมาชิกการรวมกลุ่มอาชีพ ความรับผิดชอบความตรงต่อเวลาในการส่งคืนเงินกู้ของสมาชิก การจัดสรรผลประโยชน์
๕.    ด้านการติดตามประเมินผลเป็นเรื่องของการติดตามสมาชิกคอยให้ความช่วยเหลือ
หลักเกณฑ์ต่างๆนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญมากสำหรับการบริหารงานกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพแต่จะทำให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากกว่านี้ได้โดยให้แต่ละกองทุนประเมินตนเองด้วยเกณฑ์ของกองทุนตนเอง เพราะจุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละกองทุนไม่เท่ากันใช้การจัดการความรู้ ในกระบวนของการสร้างตัวชี้วัดให้เป็นของกองทุนเพราะหากยังใช้หลักเกณฑ์กลางมาประเมินก็จะเหมือนกับการจัดรูปแบบให้เหมือนๆกัน(ขอเปรียบเทียบกับระบบการศึกษาปัจจุบันคือจะเป็นเหมือนกันหมดไม่มีความหลากหลาย เน้นจำไม่เน้นคิด) ก็ทำให้กองทุนดำเนินการแบบขอไปทีแค่ผ่านก็พอไม่เห็นต้องทำมาก ได้มาก็เท่านั้น
สำหรับตำบลในคลองบางปลากดได้มีกองทุนเข้าร่วมประกวดเพียง ๒กองทุนคือหมูที่ ๓ และ ๑๒ ซึ่งมีจุดเด่นในการบริหารจัดการแตกต่างกันจุดที่น่าสังเกตคือทำไมมีแค่ ๒กองทุนเองที่เข้าร่วมประกวดทั้งๆที่ตำบลในคลองมีถึง ๑๓ หมู่บ้านแล้วหมู่ที่เคยได้รางวัลแล้วทำไมไม่เข้าร่วมประกวดด้วย(เป็นคำถามที่นักวิจัยสงสัยเป็นอย่างมา) จึงได้ถามทางคณะกรรมการกองทุนก็ได้คำตอบว่า เปิดโอกาสให้กับกองทุนที่ยังไม่เคยได้รางวัลถ้าอย่างนั้นแสดงว่ากองทุนที่เคยได้รางวัลดีมากจนกระทั่งไม่ต้องปรับปรุงอะไรอีกแล้วซึ่งในความจริงแล้วก็ไม่ใช่
แสดงว่าการจัดประกวดครั้งนี้ก็จะไม่ได้ถูกเปรียบเทียบมากนักเพราะไม่มีคนเก่งหรือคนที่ได้รับรางวัลไปแล้วเปรียบเทียบหรืออีกสาเหตุที่ลองคิดเล่นๆคือกลัวว่าจะไม่ได้รางวัลอีกจะทำให้เสียหน้าจึงไม่ส่งเขาประกวดหากเป็นกรณีนี้เกิดขึ้นวัตถุประสงค์ทั้งหลายที่เขียนมาก็คงไม่มีความหมายเท่าไรนัก
หมายเลขบันทึก: 5688เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2005 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2018 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
จริง ๆ แล้วกองทุนที่เคยได้รับรางวัลแล้วน่าจะเข้าร่วมอีกนะคะ เพราะจะได้ปรับปรุงในส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องและ ถือเป็นการประเมินกองทุนด้วยว่าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ...

ที่จริงควรเป็นเช่นนั้น แต่ความคิดของคนเปลี่ยนยาก โดยเฉพาะคนส่วนน้อยที่มีพลังแปลกๆหนุนหลังอยู่ ที่เมื่อพูดขึ้นมาก็สามารถสะกดคนฟังให้คล้อยตามได้ เป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งว่า จะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้มาเป็นคนทำงานสร้างสรรค์ให้ได้

อาจใช้ปัจจัย5ด้านเป็นแนวทางในการค้นหาความสามารถของคณะกรรมการที่จะพัฒนาให้กลุ่มบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
โดยเริ่มต้นที่เป้าหมายของแต่ละกองทุน
กรรมการต้องช่วยกันกำหนดเป้าหมายและประเมินตัวเองว่า     ถ้าจะบรรลุเป้าหมาย กรรมการต้องมีความสามารถในเรื่องใดบ้าง อย่างไร? น่าสนใจมาก
ลองเริ่มจากกองทุนที่เสนอตัวในปีที่แล้ว และในปีนี้จำนวน2กองทุนก็ได้
การจัดการความรู้เน้นที่การพัฒนาความสามารถของคนทำงาน

ต้องหาคนทำงานตัวจริงให้ได้เพื่อนำมาเข้ากระบวนการ คนไม่ทำงานดีแต่พูด เอาไว้ทำอย่างอื่นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท