ศาลสิทธิมนุษยชน


ประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรป จึงได้มีการจัดตั้งองค์กรและหน่วยงานต่างๆเข้ามาดูแลและปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนของด้านกระบวนการยุติธรรม ก็ได้มีหน่วยงานต่างๆ ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นICJหรือศาลโลก รวมถึง ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปด้วย ที่มาของศาลดังกล่าวเช่นสหภาพยุโรปนั้นได้มีการร่วมกันจัดทำอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ECHR) ขึ้น ต่อมาปี ค.ศ. 1951 ซึ่งประเทศอังกฤษได้ให้สัตยาบันและตราพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1998 ขึ้นบังคับใช้เป็นกฎหมายภายในเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าวและถือเป็นการรวมอนุสัญญาแห่งยุโรปในเรื่องสิทธิมนุษยชนและกฎหมายอังกฤษเข้าด้วยกัน อีกประการหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรปอย่างชัดเจน คือ การจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปขึ้น (European Court of Human Rights-ECtHR)ขึ้น

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European of Human Rights-ECtHR)ตั้งอยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก(Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส ตามหลักการในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ปี 1950 (The European Convention on Human Rights) เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาของประเทศสมาชิก ซึ่งอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุสัญญาที่สำคัญที่สุด ที่สภายุโรป (The Council of Europe) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับหลักการของอนุสัญญาฯ การนำคดีขึ้นสู่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป จะสามารถทำได้โดยรัฐบาลคู่กรณีหรือบุคคลธรรมดาเพื่อฟ้องร้องรัฐบาลของรัฐภาคีทั้ง 47 ประเทศหากเกิดการละเมิดในสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันต่อรัฐคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล และแนวทางการพิจารณาคดียึดถือตามคำพิพากษาที่ได้พิพากษาไปแล้วเป็นหลัก (Case law)

ผู้พิพากษาในศาลสิทธิมนุษยชน ประกอบไปด้วยผู้พิพากษาจากแต่ละภาคีจำนวนเท่ากันกับจำนวนรัฐภาคีอนุสัญญาฯ มีทั้งสิ้น47 คน โดยมาจากการเลือกตั้งโดยคณะรัฐมนตรียุโรป มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 9 ปี สำหรับองค์คณะในการนั่งพิจารณานั้น ประกอบด้วยผู้พิพากษา 7 คน ส่วนที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วยผู้พิพากษา 17 คน นอกจากนี้รัฐภาคีอาจจะเสนอรายนาม ผู้พิพากษาที่มีสัญชาติอื่นในนามของตนก็ได้

บุคคลที่สามารถฟ้องคดีได้ คือปัจเจกชนทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติของรัฐสมาชิก NGO (non-governmental organization) อันมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 

1.มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในรัฐสมาชิกแห่งอนุสัญญา

2.ถูกละเมิดสิทธิที่ได้รับการรับรองตามอนุสัญญาโดยตรงจากรัฐที่ถูกฟ้องร้อง

รัฐสมาชิก ผู้ที่ตกเป็นจำเลยคือรัฐสมาชิกเท่านั้น เงื่อนไขเกี่ยวกับคดีคือ

1.ต้องมีการดำเนินคดีต่อศาลภายในรัฐนั้นๆจนเสร็จสิ้นแล้วคือคดีถึงที่สุดในศาลสูงสุดแล้ว รวมถึงการฟ้องศาลรัฐธรรมนูญของรัฐนั้นด้วย

2.โจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปใน 6 เดือนนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดในศาลภายใน

3.โดยในการฟ้องคดีต่อศาลภายในข้างต้นจะต้องมีการกล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกรัฐนั้นๆละเมิดสิทธมนุษยชนที่ได้รับรองไว้ในอนุสัญญามาตราใด

4.นอกจากอนุสัญญานี้ยังสามารถอาศัย UDHR, Charter of Fundamental Rights เป็นฐานแห่งสิทธิได้

กล่าวได้ว่าถ้าไม่ได้เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญานี้ ก็จะไม่สามารถขึ้นศาลนี้ได้ แต่เมื่อเป็นภาคีแล้ว ก็ไม่ใช่ทุกข้อในอนุสัญญาและในพิธีสารจะผูกพันรัฐนั้นทุกข้อ บางรัฐอาจทำพิธีสารเลือกรับได้ คือเลือกรับเฉพาะอนุสัญญาหรือจะรับท้ังอนุสัญญาและพิธีสาร ทั้งนี้ เมื่อรับเท่าใดก็จะผูกพับรัฐเท่านั้น ในส่วนที่ไม่ได้รับก็จะฟ้องหรือถูกฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้

การตัดสิน
ศาลจะต้องทำการตัดสินด้วยการลงคะแนนเสียงข้างมากผู้พิพากษาใดมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีจะมีเอกสิทธิในการเพิ่มเติมความคิดเห็นของตนลงไปต่างหากจากคำพิพากษาหรือรวมกันก็ได้ รวมทั้งการแสดงความเห็นขัดแย้งหรือขัดแย้งเพียงเล็กน้อยลงไปด้วยแต่ถึงแม้ว่าคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปจะ “ไม่มีผลเหนือศาลภายใน” หรือ “ไม่มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลภายใน” ก็ตาม แต่ผลกระทบของคำพิพากษาที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำให้ประเทศสมาชิกได้ปรับกฎหมายภายในของตนให้สอดคล้องกับอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ซึ่งคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนั้น ได้เป็นที่ยอมรับว่ามีความชัดเจนแน่นอน และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติตามได้ไม่เฉพาะเพียงแต่ในประเทศในภูมิภาคยุโรปเท่านั้น คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UN Human Rights Committee) ก็ได้นำแนวคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปไปปรับใช้ในการพิจารณาถึงพันธกรณีของรัฐภาคีองค์การสหประชาชาติ ในกรณีที่มีการร้องเรียนโดยรัฐหรือเอกชนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนโดยรัฐใดรัฐหนึ่งหรือไม่ด้วย
เมื่อมองภาพโดยรวมแล้ว ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนับเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จแห่งกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนก็ทำงานได้ผลในการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน คำพิพากษาของศาลได้ซึมแทรกเข้าสู่ระบบกฎหมายของประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก ก่อให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายต่างๆ อันยังประโยชน์แก่คนหรือกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบในสังคม รวมทั้งเป็นตัวอย่างบรรทัดฐานในการใช้ตีความสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ ขององค์การต่างๆ ในองค์การสหประชาชาติหรือองค์การในระดับภูมิภาคอื่นๆ

กล่าวโดยสรุปนับว่าศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปมีบทบาทในการเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนให้เข้มแข็งขึ้น มีการปกป้องคุ้มครองสิทธิของบุคคลธรรมดาที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ถือเป็นความสำเร็จไปอีกก้าวหนึ่งของกฎหมายในภาคพื้นยุโรปที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์อันพึงจะได้รับ อีกทั้งยังเป็นบรรทัดฐานให้ภูมิภาคอื่นได้อีกด้วย

http://library.nhrc.or.th/Dictionary/search_dic.ph...

http://www.l3nr.org/posts/466240

หมายเลขบันทึก: 568792เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท