ศักดิศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


สิทธิมนุษยชนหมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม ศักดิ์ศรี คือ การยอมรับของบุคคลในสังคม แม้ว่าพฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้น หรือต้องการกระทำนั้นๆอาจจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ได้ ถือว่าเป็นเรื่องดีงาม สมควรยกย่อง และต้องถือปฏิบัติ จะเป็นองค์กร มติขององค์กร การยอมรับขององค์กรต่างๆนั้นด้วยก็ได้ สิทธิเสรีภาพ หรือ อำนาจและหน้าที่ก็ถือเป็นศักดิ์ศรีด้วยเช่นกัน มนุษย์ คือ บุคคลทั่วไปไม่เลือกว่าจะเป็นชนชาติใด เผ่า ศาสนา ผิวสี ภาษา และอื่นๆที่มีสภาพเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนของสังคม ตลอดจนองค์กร, องค์การ ที่อาศัยมติเป็นข้อปฏิบัติไปตามประสงค์ขององค์กร, องค์การก็ให้ถือเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550

  • มาตรา 4 “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง”
  • มาตรา 26 “การใช้อำนาจ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
  • มาตรา 28 “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน”

ดังนั้นการได้รับการปฏิบัติต่ออย่างเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิทธิมนุษยชนประเภทหนึ่งที่ไม่ว่าบุคคลคนนั้นจะเป็นคนของรัฐใดหรือแม้เป็นบุคคลที่ไร้รัฐไร้สัญชาติหรือเป็นคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก็ต้องได้รับการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุที่ว่าเขาเหล่านั้นเป็นมนุษย์

กรณีของน้องนิก นิวัฒน์ จันทร์คำ ที่ประสบปัญหาไร้รัฐ ไร้สัญชาติ โดยน้องนิกนั้น เกิดในประเทศเมียนมาร์ มารดาเป็นคนสัญชาติเมียนมาร์ น้องนิกเข้ามาประเทศไทย ตั้งแต่อายุประมาณ 3-4 ขวบ ไม่เคยได้รับการสำรวจทางทะเบียนราษฎรของรัฐไทย จึงไม่มีเอกสารรับรองตัวบุคคลใดที่ออกโดยรัฐไทย ไม่อาจมีเลขประจำตัวประชาชนโดยกฎหมายไทย มีเพียงแต่เลขประจำตัวนักเรียนของโรงเรียนแม่สายประสิทธิศาสตร์ ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่ว่าน้องไม่ได้รับการรับรองให้เป็นคนสัญชาติไทย จึงถูกถือว่าเป็นคนต่างด้าวโดยผลของกฎหมายมาตรา 57 แห่งพ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และถือเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ด้วย

ดังนั้นแม้น้องนิกจะไม่ได้เป็นคนสัญชาติไทย เพราะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐไทย แต่สิทธิในการได้รับการศึกษานั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนพึงได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าคนๆนั้นจะเป็นคนสัญชาติใด เพราะ ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อข้อ 26(1)กล่าวไว้ว่าทุกคนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน

ดังนั้นแม้น้องนิคจะเป็นคนไร้รัฐและไร้สัญชาติ แต่น้องนิคก็ยังมีสิทธิได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ เนื่องจากสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิมนุษยชนที่มนุษย์ทุกคนย่อมได้รับ

http://www.ongkarn-leio.org/knonwlege.php

หมายเลขบันทึก: 568791เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท