HR-LLB-TU-2556-TPC-คนต่างด้าวในประเทศไทย


คนต่างด้าวในประเทศไทย

[1] คนต่างด้าว(Aliens) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง ชาวต่างประเทศที่มีถิ่นฐานอยู่อีกประเทศหนึ่ง ส่วนตามตามพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 คนต่างด้าว หมายถึง ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย จึงพอสรุปได้ว่า คนต่างด้าวเป็นถ้อยคำว่าใช้กันทั่วไปเป็นคนไทยรวมๆ ที่ใช้เรียกบุคคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย ดังนั้นคำว่าคนต่างด้าวจึงน่าจะหมายรวมถึง:

1.คนไร้สัญชาติ (Nationaliltyless Persons) หมายถึง บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยและ ไม่ปรากฎต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐไทยว่ามีสัญชาติรัฐอื่น กล่าวคือ เป็นบุคคลที่ไม่มีสัญชาติของรัฐใดเลย ภายหลังจากการพิจารณากฎหมายว่าด้วยสัญชาติของรัฐที่มีจุดเกาะเกี่ยวโดยแท้จริง(Genuine Link) กับบุคคลนั้นแล้ว ไม่สามารถที่จะกล่าวอ้างหรือเรียกร้องสิทธิใดๆ จากรัฐได้ เว้นแต่ว่ารัฐนั้นจะยอมรับที่จะให้ “สิทธิอาศัย”

2. คนไร้รัฐ (Stateless Person) หมายถึง บุคคลที่ไม่มีข้อเท็จจริงอันทำให้ได้รับสัญชาติของรัฐใดเลยและในขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับอนุญาตให้มีสิทธิอาศัยในรัฐใดเลยเช่นกัน อันทำให้บุคคลเหล่านี้ไม่อาจตั้งบ้านเรือนถิ่นฐานได้โดยชอบด้วยกฎหมายในที่ใดๆ ในโลกใบนี้ และเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายสำหรับรัฐทุกรัฐ กล่าวคือเป็น”คนต่างด้าว” (Aliens) สำหรับทุกรัฐที่ไม่มีรัฐเจ้าของสัญชาติ (State of Nationality) และไม่มีรัฐเจ้าของภูมิลำเนา(State of Domicile)

3. ชนกลุ่มน้อยที่เป็นคนต่างด้าวหมายถึง คนต่างด้าวที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอนุญาตโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำระเบียนประวัติและบัตรประจำตัวไว้

โดยสถิติคนต่างด้าวในประเทศไทย [2] รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ได้เสนอรายงานว่าคนต่างด้าวในประเทศไทยสามารถแยกออกได้เป็นหลายกลุ่มหลายประเภททับซ้อนกันอยู่ โดยการแบ่งกลุ่มต่อไปนี้ 5 กลุ่มก็ยังคงมีความทับซ้อนกันอยู่ เพราะวิธีการจัดเก็บที่มีอยู่ในแต่ละหน่วยราชการ ไม่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้เด็ดขาด

1) คนต่างด้าวที่เดินทางเข้าประเทศไทยและอยู่ชั่วคราว

- 1.1 นักท่องเที่ยว

- 1.2 แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกกฎหมายและมีใบอนุญาต

- 1.3 คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวด้วยเหตุผลอื่นๆ เช่น อยู่กับครอบครัวคนไทย เรียนหนังสือ หรือด้วยเหตุผลทางการทูต เป็นต้น

2) คนต่างด้าวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย

3) คนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย

4) จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ไม่มีสัญชาติไทยรวมทั้งประเทศ

5) คนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง

ในปัจจุบันเราสามารถพบแรงงานต่างด้าวได้โดยทั่วไปในประเทศไทย โดยพบว่าในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมได้มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานมากมาย ซึ่งในกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวนั้นผู้ประกอบการก็จำเป็นต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วย อีกทั้งยังต้องดำเนินการให้คนต่างด้าวที่เป็นแรงงานของตนได้ขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายด้วย นอกจากนี้สิทธิขั้นพื้นฐานของคนต่างด้าวก็ยังคงมีอยู่ด้วยหลักสิทธิมนุษยชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะสิทธิในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ สิทธิทางการแพทย์ รวมถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานของเด็กต่างด้าว คนต่างด้าวจะต้องได้รับการดูแลโดยไม่แบ่งแยกด้วย.

อ้างอิง

[1] สิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของคนต่างด้าว ที่นายจ้างคนไทยควรต้องรู้ http://therama.info/?p=173

[2] คนต่างด้าวในประเทศไทยคือใครบ้าง? http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=75&d_id=75

หมายเลขบันทึก: 568790เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 23:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท