ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


                แม้ว่าจะเป็นผู้เข้าเมืองผิดกฏหมายแต่อย่างไรก็ดี กลุ่มคนเหล่านี้ก็ใช่ว่าจะไม่ควรได้รับการคุ้มครองใดๆเลย เพราะแม้จะเป็นผู้เข้าเมืองผิดกฏหมาย แต่คนเหล่านี้ก็ยังเป็นมนุษย์ และควรได้รับการปฏิบัติเช่นมนุษย์ทุกๆคน ที่ได้รับการคุ้มครองจากสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เราควรเข้าใจและลองมองดูเสียใหม่

                  โดยในรัฐมนูญฉบับปัจจุบันของประเทศเยอรมัน ที่เรียกว่า Grundgesetz ซึ่งได้ร่างขึ้นมาหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองที่มีการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กันจนไม่เหลือสิ้นดีนั้น ทำให้ปัจจุบันรัฐมนูญฉบับนี้ได้ให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ Human Dignity ไว้สูงมาก และเป็นสิ่งที่ไม่อาจละเมิดได้เลย โดยถึงกับบัญญัติไว้ในมาตราแรกของรัฐมนูญถึงเรื่องนี้ไว้เลยที่เดียว 

                Article 1 [Human dignity]

(1) Human dignity shall be inviolable. To respect and protect it shall be the duty of all state authority.

(2) The German people therefore acknowledge inviolable and inalienable human rights as the basis of every community, of peace and of justice in the world.

(3) The following basic rights shall bind the legislature, the executive, and the judiciary as directly applicable law.

                 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่อย่างไรก็ดีในประเทศไทยก็ยังมีการละเมิดสิทธินี้อยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของชาวโรหิงญา ที่ล่องเรือมา ไม่มีรัฐรับรองไม่มีอะไรเลย นำไปสู่การถูกใช้เป็นทาส ถูกกักขังล่ามโซ่ โดยถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างมาก เนื่องด้วยการที่พวกเขาเข้าเมืองแบบผิดกฏหมายนี่เอง ดังนั้นที่จึงเป็นสิ่งที่เราควรคำนึงถึงให้มากขึ้นอย่างประเทศเยอรมันที่ได้มีบทเรียนที่สำคัญจากประวัติศาสตร์อันเลวร้ายของตน จนนำไปสู้ความเคารพในสิ่งนี้อย่างเช่นปัจจุบัน

                 รวมถึงกรณีที่น่าสนใจคือกรณีของน้องนิค หรือ นายนิวัฒน์ จันทร์คำ

                 น้องนิค หรือนายนิวัฒน์ จันทร์คำ เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2538 ที่ประเทศเมียนมาร์ โดยน้องนิคไม่มีหนังสือรับรองการเกิด หรือมีชื่อในทะเบียนประวัติใดๆ น้องนิคจึงเป็นบุคคลผู้ไร้รัฐโดยสิ้นเชิง น้องนิคเข้ามาในประเทศไทยเมื่ออายุประมาณ3-4ขวบซึ่งมาอาศัยอยู่กับป้าที่จังหวัดตรัง โดยมารดาของน้องนิคเป็นคนไทยลื้อไร้รัฐไร้สัญชาติ ในเวลาที่เดินทางเข้าประเทศไทย บิดามารดาและน้องนิคไม่มีหนังสือเดินทางหรือได้รับการตรวจลงตราใดๆทั้งสิ้น ทั้งสามคนจึงเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ดีต้องถือว่าน้องนิคไม่มีความผิดฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย เพราะในขณะที่เข้าเมืองมานั้น น้องนิคมีอายุเพียง 3-4 ขวบ จึงขาดเจตนาที่จะเข้าเมืองผิดกฎหมายน้องนิคได้อาศัยอยู่กับคุณป้า เมื่อถึงวัยที่ต้องได้รับการศึกษา น้องนิคก็ยังไม่มีเอกสารรับรองสถานะบุคคลใดๆ คุณป้าของน้องนิคเกรงว่า น้องจะไม่ได้รับการศึกษา จึงได้ใช้เอกสารของบุตรชายตนเพื่อให้น้องนิคเข้าเรียนในชื่อของบุตรชายตน

                  ซึ่งแท้จริงแล้ว สิทธิในการศึกษานั้นเป็นสิทธิมนุษย์ขั้นพื้นฐานตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 26 ที่วางหลักไว้ว่า

(1) บุคคลมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะเป็นสิ่งที่ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า อย่างน้อยที่สุดในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน ขั้นประถมศึกษาให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ขั้นเทคนิคและขั้นประกอบอาชีพเป็นการศึกษาที่จะต้องจัดมีขึ้นโดยทั่วๆ ไป และขั้นสูงเป็นขั้นที่จะเปิดให้ทุกคนเท่ากันตามความสามารถ

(2) การศึกษาจะมุ่งไปในทางพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่และเพื่อเสริมพลังเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นมูลฐานให้แข็งแกร่ง ทั้งจะมุ่งเสริมความเข้าใจ ขันติ และมิตรภาพในระหว่างประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา และจะมุ่งขยายกิจกรรมของสหประชาชาติเพื่อการธำรงสันติภาพ

                    ดังนั้นกรณีนี้จึงไม่ควรเกิดขึ้นเลย และประเทศไทยควรจะตระหนักถึงเรื่องนี้ให้มากขึ้นอย่างที่ประเทศเยอรมันได้ทำ อย่างที่ผมได้เขียนไปในขั้นต้น

อ้างอิง

1.Grundgesetz http://www.iuscomp.org/gla/statutes/GG.htm#1

2.ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

หมายเลขบันทึก: 568716เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท