กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

หากกล่าวถึง กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย ข้าพเจ้าของพูดในส่วนของประมวลกฎหมายอาญาในส่วนของ โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย กังที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้

ประมวลกฎหมายอาญา

                                                                     หมวด ๓

                                                 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย

                                                                     ส่วนที่ ๑

                                                                       โทษ

มาตรา ๑๘ โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้

(๑) ประหารชีวิต

(๒) จำคุก

(๓) กักขัง

(๔) ปรับ

(๕) ริบทรัพย์สิน

โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิตมิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี

ในกรณีผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปี

มาตรา ๑๙ ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย

หลักเกณฑ์และวิธีการประหารชีวิต ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1]

ความคิดเห็นของผู้เขียนต่อโทษประหารชีวิต

หากพิจารณาถึงสิทธิมนุษยชนแล้วนั้น มนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิในชีวิตร่างกายของตน เพราะบุคคลที่จะต้องรับโทษนั้นคือ นักโทษผู้ถูกศาลตัดสินว่าเป็นผู้กระทำความผิดจริง ผ่านการตัดสินมาจากกระบวนการยุติธรรมแล้ว เขาจึงต้องรับโทษ แต่อย่างไรก็ตามบุคคลเหล่านี้ แม้จะเป็นนักโทษผู้กระทำความผิดก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่รัฐ ศาล หรือแม้แต่โจทย์ในคดีดังกล่าวต้องคำนึงก็คือ พวกเขาเหล่านี้เป็นมนุษย์ เป็นบุคคลที่มีสิทธิ ในสิทธิมนุษยชนตาม กฎหมาย ในการที่จะได้รับการเคารพสิทธิในร่างกาย

ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงมองว่าโทษการประหารชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง

ควรยกเลิกโทษประหารชีวิตหรือไม่

ก่อนอื่นเราจะต้องพิจารณา

แนวความคิดฝ่ายสนับสนุนให้ใช้โทษประหารชีวิต[2]
1) การประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่แก้แค้นทดแทน อันสาสมกับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา และการกระทำที่ร้ายแรงถึงทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต อันเป็นสาเหตุอุกฉกรรจ์ โดยถือหลักที่ว่า เมื่อฆ่าผู้อื่นตาย ผู้ฆ่าควรถูกฆ่าให้ตายตกไปตามกันจึงจะสาสมเป็นการตอบแทนให้แก่ผู้ตายและญาติครอบครัวของผู้ตาย

2) ทำให้เกิดการยุติธรรมในสังคม และเป็นการถูกต้องชอบธรรม

3) ทำให้เกิดการเกรงกลัวมิให้เอาเยียงอย่าง

4) เป็นการป้องกันสังคมให้ปลอดภัยด้วยการกำจัดอาชญากรโดยเด็ดขาด เป็นการลดอาชญากรรมที่ได้ผลแน่นอน

5) การมีโทษประหารชีวิตทำให้ผู้กระทำผิดร้ายแรง ยอมรับสารภาพเมื่อถูกจับกุมและสอบสวนดำเนินคดี ซึ่งเป็นผลดีแก่รูปคดีและการพิจารณาของศาล เพราะการรับสารภาพจะเป็นเหตุบรรเทาโทษ ฉะนั้นโทษประหารชีวิตจึงมีส่วนเอื้ออำนวยในการสืบหาข้อเท็จจริงแห่งคดี

6) การมีโทษประหารชีวิตจะทำให้ผู้กระทำผิดยับยั้งในการกระทำรุนแรงแก่ผู้อื่นถึงชีวิต เพราะหากทำให้ผู้อื่นตายตนเองก็จะถูกประหารด้วย

7) โทษประหารชีวิตจำเป็นต้องมีอยู่ในกฎหมายอาญา และการที่จะลงโทษประหารแก่ผู้กระทำผิดคนใดนั้น ศาลย่อมต้องพิจารณาถึงลักษณะความรุนแรง และประเภทแห่งการกระทำผิดประกอบกันไปเสมอโดยรอบคอบ

8) การลงโทษประหาร เป็นการช่วยบรรเทาและผ่อนภาระแก่รัฐในการที่จะต้องควบคุมนักโทษเด็ดขาดคดีอุกฉกรรจ์

เป็นเวลานานหลายสิบปีอันเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของรัฐซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ควรนำเงินดังกล่าวไปใช้พัฒนาประเทศที่จำเป็นจะมีประโยชน์แก่ส่วนร่วมมากกว่า

นอกจากนี้ยังเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมดูแลนักโทษเด็ดขาดเหล่านี้ เพราะนักโทษคดีอุกฉกรรจ์เหล่านี้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ 20 ปี ส่วนใหญ่ก็จะคิดคบหลบหนีแหกคุกตลอดเวลา จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังและเสี่ยงตายมากตลอดเวลา ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเครียดมาก

9) การลงโทษประหารเป็นการยับยั้ง การกระทำและลดอาชญากรรมอย่างเด็ดขาดโดยสิ้นเชิง คือเป็นการตัดตัวก่อเหตุให้หมดไป

เสียงของสหประชาชาติ


ที่มาของภาพ : http://sevenstars61.exteen.com/20080618/entry

"การยกเลิกโทประหารชีวิตโดยสิ้นเชิงช่วยเพิ่มพูนศักดิ์ศรีความเป็นความมนุษย์และพัฒนาการสิทธิมนุษย์ชน...มาตราการทั้งปวงในอันที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิตถือเป็นความก้าวหน้าในการใช้สิทะแห่งชีวิต"

ข้อคัดค้านโทษประหารชีวิต [2]

1. ไม่มีมนุษย์หรือคนกลุ่มใดที่สามารถอ้างสิทธิทำร้ายผู้อื่นหรือคร่าชีวิตผู้อื่นถึงตาย ไม่ว่าด้วยเหตุใด

ชีวิตเป็นสิทธิพื้นฐานของทุกคน และเป็นสิทธิที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ขณะเดียวกันความยุติธรรมไม่ใช่เครื่องชั่งหรือวัดความเท่าเทียมว่า หนึ่งชีวิตที่เสียไปนั้นต้องได้รับการชดใช้ด้วยอีกชีวิตหนึ่ง ความเข้าใจที่ว่าชีวิตต้องแลกคืนด้วยชีวิตนั้นเป็นความเข้าใจผิด เพราะว่าการประหารชีวิตเป็นการทำลายชีวิตอย่างโหดร้าย ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์และอาจประหารผิดคนได้

2. บางครั้งผู้บริสุทธิ์ถูกประหารชีวิตและไม่มีหนทางชดใช้

ทางนิติวิทยาศาสตร์เผยให้เห็นว่า มีการตัดสินลงโทษประหารผิดคนมากขึ้น มีหลายกรณีที่ผู้ต้องโทษและถูกประหารชีวิตนั้น กระทำผิดข้อหาฆาตกรรมจริง แต่มีเหตุแวดล้อมที่ระบุชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นไม่ควรต้องโทษถึงขั้นประหารชีวิต ความผิดพลาดอันเป็นธรรมชาติขิองมนุษย์ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้หากคนที่ได้รับโทณประหารชีวิตนั้นเสียชีวิตไปแล้วมีคนบริสุทธิ์เสียชีวิตไปแล้วกี่ราย? อาจจะ 7-10% ซึ่งอันที่จริงไม่ควรเกิดขึ้นเลยแม้แต่รายเดียว

3. ข้อโต้แย้งที่ว่าการประหารชีวิตเป็นมาตราการปรามอาญากรรมร้ายแรงได้นั้นเป้นข้อสันนิษฐานที่ขาดพื้นฐานรับรอง

ความเปลี่ยนแปลงของสถิติอาชญากรรมเป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางสังคมที่ซับซ้อน ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่อัตตราฆาตกรรมลดลงก็มี ปละความแปลงในระยะยาวเป็นไปได้ว่าอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้

4. เชื่อกันว่าโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นที่สร้างความพอใจให้กับครอบครัวของเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย ที่ต้องการให้อาชญากร จบชีวิตด้วยการชำระหนี้เลือด

การให้ผู้กระทำความผิดนั้นต้องตายตกไปตามกันนั้นไม่ถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชนและไม่ควรนำมาใช้คำนวนกันแบบเลขคณิต

5. ทุกคนต้องได้รับความยุติธรรมความเท่าเทียมกัน

แต่ในความเป็นจริงไม่มีความเท่าเทียมกันในการตัดสินลงโทษประหารชีวิต จะเห็นได้ว่าคนจน คนไม่มีความรู้และชนขั้นล่างสุดของสังคม มีโอกาสที่จะต้องโทษนี้ได้มากที่สุด จึงเห็นได้ว่าคนที่รวยกว่า คนที่มีการศึกษามากกว่า หรือมีฐานทางสังคมดีกว่า มักจะรอดจากโทษประหารชีวิตเสมอ

ที่มาของภาพ : http://sevenstars61.exteen.com/20080618/entry

ความคิดเห็นของผู้เขียนต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีหลายประเทศยกเลิกโทษดังกล่าวเเล้ว แต่ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมิได้ทำการยกเลิกโทษประหารชีวิต อันจะเป็นได้จาก ประมวลกฏหมายอาญา ข้างต้น และตัวอย่างดังต่อไปนี้

                                                         ลักษณะ ๑๐

                                        ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย

                                                          หมวด ๑

                                                  ความผิดต่อชีวิต

มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี

มาตรา ๒๘๙ ผู้ใด

(๑) ฆ่าบุพการี

(๒) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่

(๓) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว

(๔) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

(๕) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย

(๖) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ

(๗) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้

ต้องระวางโทษประหารชีวิต

จากการศึกษาข้อมูล การอ่านข่าวในโซเชียวต่างๆนั้น จะเห็นได้ว่ามีบุคคลจำนวนไม่น้อยเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคดีฆ่าข่มขืน ว่าควรให้มีโทษประหารชีวิต จะเห็นได้ว่าในขณะที่บัคคลบงกลุ่ม พยายามผลักดันให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต  แต่ก็มีบุุคลอีกกลุ่ม ที่มองว่าบางความผิดควรมีการสนับสนุนให้มีโทษประหารชีวิต  จะเป็นได้ว่าความคิดเห็นตรงกันข้ามกันอย่างชัดเจน  ดังนั้นแม้ข้าพเจ้าจะมองว่าโทษประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตาม และมีผลวิจัยออกมาแล้วว่าการยกเลิก มิได้ทำให้มีการก่อความผิดเพิ่มขึ้น แต่ข้าพเจ้ากลับมองว่า การยกเลิกนั้น ยังไม่เหมาะสมที่จะยกเลิกในเวลานี้ ควรมีการปลูกฝังความคิดในเรื่องของสิทธิมนุษยชน และความเข้าใจอื่นๆของปวงชนชาวไทย ให้มีความเข้าใจ  และเคารพในสิทธิมนูษยชนของมนุษย์แต่ละคนมากกว่านี้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายอาญา (ที่ได้กล่าวถึงทั้งหมดข้างต้น

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                           ข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล

อ้างอิง :

[1]"ประมวลกฎหมายอาญา.”(ออนไลน์).http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=... 19 พฤษภาคม2557)

[2] “การยกเลิกโทษประหารในประเทศไทย ควรรึไม่?." (ออนไลน์).http://sevenstars61.exteen.com/20080618/entry

(สืบค้นวันที่ 19 พฤษภาคม 2557)

[3]"ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน." (ออนไลน์).http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

(สืบค้นวันที่ 19 พฤษภาคม 2557)

หมายเลขบันทึก: 568710เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท