ศาลสิทธิมนุษยชน


ศาลสิทธิมนุษยชน

ปัจจุบันปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนพบได้ทั่วไปทุก พื้นที่ ดังนั้นเมื่อเกิดข้อพิพาทกันขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีนั้นเพื่อให้เกิดสงบเรียบ ร้อยในสังคม ซึ่งขั้นตอนในการระงับข้อพิพาทนั้นอาจจะตกลงยอมความกันเองได้ หากว่าตกลงกันไม่ได้จึงมีความเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อเป็นที่ ยุติปัญหานั้น

ปัญหาการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของสิทธิมนุษยชนซึ่งทางสหภาพยุโรปนั้นก็ได้มีการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปขึ้น (European Court of Human Rights-ECtHR) ซึ่งศาล สิทธิมนุษยชนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมในศาลแม้ว่าในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในการรวมตัวกันของอาเซียนที่ยังไม่ได้มีการจัดตั้งศาลสิทธิ มนุษยชนเช่นสหภาพยุโรป แต่อาเซียนนั้นมีหน่วยงานคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นกัน ซึ่งก็คือ องค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน หรือที่เรียกว่า AICHR ในที่นี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงศาลสิทธิมนุษยชนดังนี้

สถานที่ตั้งและเขตอำนาจศาล
ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European of Human Rights-ECtHR) ตั้งอยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก(Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส ตามหลักการในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ปี 1950 (The European Convention on Human Rights) เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาของประเทศสมาชิก ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับหลักการของอนุสัญญาฯซึ่งจะมีอำนาจพิจารณาคดีที่ เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รัฐสมาชิกไปทำละเมิดสิทธิของผู้อื่น

ผู้พิพากษาและองค์คณะ
ผู้พิพากษาศาลสิทธิมนุษยชนประกอบไปด้วยผู้พิพากษาจากแต่ละภาคีจำนวนเท่ากัน กับจำนวนรัฐภาคีอนุสัญญาฯ มีทั้งสิ้น47 คน โดยมาจากการเลือกตั้งโดยคณะรัฐมนตรียุโรป มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 9 ปี สำหรับองค์คณะในการนั่งพิจารณานั้น ประกอบด้วยผู้พิพากษา 7 คน ส่วนที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วยผู้พิพากษา 17 คน นอกจากนี้รัฐภาคีอาจจะเสนอรายนาม ผู้พิพากษาที่มีสัญชาติอื่นในนามของตนก็ได้

คู่ความในคดี
สำหรับคู่ความในศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้น ฝ่ายโจทก์คือ ปัจเจกชนบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล หรือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติของรัฐสมาชิก เพียงแต่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในรัฐสมาชิกแห่งอนุสัญญาหากถูกละเมิด สิทธิมนุษยชนก็สามารถเป็นโจทก์ก็ได้ ส่วนฝ่ายจำเลยก็คือรัฐสมาชิก ถ้าไม่มีเป็นสมาชิกก็ไม่สามารถถูกฟ้องได้ นอกจากนี้ รัฐสมาชิกก็สามารถฟ้องรัฐสมาชิกได้เช่นกัน

การตัดสิน (Judgments)

ศาลจะต้องทำการตัดสินด้วยการลงคะแนนเสียงข้างมากผู้พิพากษาใดมีส่วนร่วมใน การพิจารณาคดีจะมีเอกสิทธิในการเพิ่มเติมความคิดเห็นของตนลงไปต่างหากจากคำ พิพากษาหรือรวมกันก็ได้ รวมทั้งการแสดงความเห็นขัดแย้งหรือขัดแย้งเพียงเล็กน้อยลงไปด้วย
ถึงแม้ว่าคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปจะ “ไม่มีผลเหนือศาลภายใน” หรือ “ไม่มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลภายใน” ก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันต่อรัฐคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล และแนวทางการพิจารณาคดียึดถือตามคำพิพากษาที่ได้พิพากษาไปแล้วเป็นหลัก(Case law) กล่าวคือ ทำให้รัฐคู่กรณีและประเทศสมาชิกได้ปรับกฎหมายภายในของตนให้สอดคล้องกับอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ซึ่งคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนั้น ได้เป็นที่ยอมรับว่ามีความชัดเจนแน่นอน และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติตามได้ไม่เฉพาะเพียงแต่ในประเทศในภูมิภาคยุโรป เท่านั้น คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UN Human Rights Committee) ก็ได้นำแนวคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปไปปรับใช้ในการพิจารณาถึง พันธกรณีของรัฐภาคีองค์การสหประชาชาติ ในกรณีที่มีการร้องเรียนโดยรัฐหรือเอกชนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนโดยรัฐใดรัฐ หนึ่งหรือไม่ด้วย

ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนับว่าเป็นความสำเร็จแห่งกลไกการคุ้มครองสิทธิ มนุษยชนในระดับภูมิภาคซึ่งแสดงให้เห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลให้ ก่อให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายต่างๆ อันยังประโยชน์แก่คนหรือกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบในสังคม รวมทั้งเป็นตัวอย่างบรรทัดฐานในการใช้ตีความสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ ขององค์การต่างๆ ในองค์การสหประชาชาติหรือองค์การในระดับภูมิภาคอื่นๆ

อ้างอิง

1.รู้จักไหมศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป.ที่มา http://www.l3nr.org/posts/46556.สืบค้นเมื่อ 17 พ.ค. 57

2.ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป VS เคท มิดเดิลตัน.ที่มา http://www.l3nr.org/posts/466240.สืบค้นเมื่อ 17 พ.ค. 57

หมายเลขบันทึก: 568708เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท