HR-LLB-TU-2556-TPC-​กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


     ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน Universal Declaration of Human Rights เกิดขึ้นเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่สอง โดยการร่วมมือกันของประเทศสมาชิกสหประชาชาติเพื่อร่วมกันป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ได้เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกไม่ให้เกิดขึ้นอีก ทั้งในเรื่องของการพรากชีวิตหรือการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ความอดอยากของประชากร การทรมานนักโทษสงคราม และการข่มเหงบังคับใช้แรงงาน หลังจากเหตุการณ์ที่เรียกได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมของสังคมโลกครั้งนั้น ประเทศสมาชิกสหประชาชาติก็ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้จนได้ยกร่างและผลักดันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีการสนับสนุน ยอมรับและใช้โดยทั่วกัน ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ.2491 ซึ่งประเทศไทยก็เข้าร่วมด้วย ได้มีการลงคะแนนเสียงสนับสนุนปฏิญญาฉบับนี้ โดยที่ไม่มีประเทศใดคัดค้านเลย โดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดหลักการทั่วไปและมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน ไม่มีผลผูกพันในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศ

ปฏิญญาสากลฯฉบับนี้นับเป็นเอกสารที่ใช้ในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกของโลก และก็ได้กลายมาเป็นพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศต่างๆมากมาย

[1] เนื้อหาโดยสรุปของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ทั้ง 30 ข้อ สรุปได้ดังนี้

ข้อ 1-3 เป็นเกณฑ์กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเบื้องต้นที่สำคัญ 3 ประการคือ สิทธิในการดำรงชีวิต (right to life) สิทธิที่จะมีเสรีภาพ (right to liberty) และสิทธิที่จะมีความมั่นคงแห่งตัวตน (right to security of person) ขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เมื่อเกิดมาพึงได้รับโดยเท่าเทียมกันและไม่มีการเลือกปฏิบัติทางเพศ เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา

ข้อ 4-12 ได้กล่าวถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (civil and political rights)

ข้อ 22-27 ได้กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (economics, social and cultural rights) ได้พึงได้รับการยอมรับ ซึ่งสิทธิทั้งสองด้านได้มีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกำหนดรายละเอียดและการคุ้มครองไว้

ข้อ 28-30 กล่าวถึงทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อระเบียบสังคมและประชาชนระหว่างประเทศที่มีการรับรองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐาน กล่าวคือ อยู่ภายใต้กฎหมายที่รับรองสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น

สำหรับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่มีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นแม่แบบนั้นได้แก่[2]

  1. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 (แม่แบบ)
  2. กฎบัตรสหประชาชาติ ค.ศ. 1945
  3. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ค.ศ. 1958
  4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966
  5. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. 1966
  6. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบค.ศ. 1979
  7. อนุสัญญาด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989

กฎหมายความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้แก่

  1. พ.ร.บ.การปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาอาญา พ.ศ. 2527
  2. พ.ร.บ.กำหนดวิธีปฏิบัติแก่บุคคลอื่นซึ่งเผยแพร่ข่าวอันเป็นการทำให้เสียสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่มีสนธิสัญญาทางไมตรีกับประเทศไทยในภาวะสงคราม พ.ศ. 2488
  3. พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535
  4. พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ. 2543
  5. พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2533
  6. พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี พ.ศ. 2543
  7. พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2541
  8. พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศ พ.ศ. 2543
  9. พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2543
  10. พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2527
  11. พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย พ.ศ. 2522

อ้างอิง

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน http://www.mfa.go.th/humanrights/human-rights-obligation/udhr

[1] รายงานการประชุมของคณะกรรมการฉลองครบรอบ 50 ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติhttp://www.moph.go.th/ops.lad.case3.html

[2] รวบรวมกฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน http://www.l3nr.org/posts/465148

หมายเลขบันทึก: 568701เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท