ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติ

         การสมรสข้ามชาติ หมายถึง สัมพันธภาพทางสมรสระหว่างชายและหญิงที่มีสัญชาติต่างกัน เพื่อให้การสมรสข้ามชาติได้รับการรับรองตามกฎหมาย จะต้องปฏิบัติตามองค์ประกอบเงื่อนไขข้อกำหนด แห่งการสมรส โดยการทำการสมรสจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องเป็นไปภายใต้กฎหมายสัญชาติของคู่สมรสแต่ละฝ่าย ในขณะที่พิธีการต่างๆแห่งการสมรสนั้น จะต้องเป็นไปภายใต้กฎหมายของประเทศที่มีการทำการสมรสหรือภายใต้กฎหมายสัญชาติของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ครอบครัวข้ามชาติที่พบในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว

        รูปแบบแรก ครอบครัวที่เกิดจากการแต่งงานข้ามชาติระหว่างชาวบ้านคนไทยอีสานกับชาวบ้านคนลาว พบครอบครัวข้ามชาติแบบนี้อยู่ถึงร้อยละ 76

         รูปแบบที่สอง ครอบครัวผู้ลี้ภัยชาวลาวที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยช่วงลาวแตกระหว่าง พ.ศ.2517-2519

        รูปแบบที่สาม ครอบครัวแรงงานข้ามชาติสัญชา

ติลาว ที่อพยพหนีปัญหาความยากจนภายในประเทศมาทำมาหากินในหมู่บ้านฝั่งไทย

ปริมาณของครอบครัวข้ามชาติ

        พบว่าในแต่ละหมู่บ้านชายแดนฝั่งไทยที่ตั้งอยู่ชิดติดแม่น้ำโขง มักมีครอบครัวข้ามชาติทั้งสามประเภทอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเฉลี่ยประมาณ 10-20 ครอบครัวต่อหมู่บ้าน แต่บางหมู่บ้านมีมากกว่า 60 ครอบครัว

ลักษณะปัญหาสถานะบุคคลของสมาชิกในครอบครัวข้ามชาติทุกประเภท

        ลักษณะแรก เป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทย มีหลักฐานแสดงตนเป็นแรงงานต่างด้าว ท.ร. 38/1เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นลาวอพยพที่ไม่มีบัตรลาวอพยพ หรือจากพ่อแม่ที่เป็นแรงงานต่างด้าว พ่อแม่ไม่ได้แจ้งการเกิดของบุตรไว้ในระบบทะเบียนราษฎร์ของประเทศลาวบุคคลกลุ่มนี้ไม่เคยหรือไม่ต้องการหรือไม่มีเงินเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติลาวของตน

         ลักษณะที่สอง เป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทยถือบัตรแรงงานต่างด้าว แต่มีบุพการีคนใดคนหนึ่งถือสัญชาติไทย เนื่องจากไม่มีหลักฐานไปยืนยันเพราะพ่อหรือแม่ไม่ได้แจ้งเกิดไว้ในระบบทะเบียนราษฎรของไทย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงบุคคลประเภทนี้ต้องมีสัญชาติไทยตามหลักการสืบสายโลหิตจากบุพการีคนหนึ่งที่มีสัญชาติไทย อาจเพราะประสบกับความยุ่งยากในการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติไทย คนกลุ่มนี้จึงไม่ได้รับสัญชาติไทยและตกอยู่ในข่ายคนไร้รัฐ-ไร้สัญชาติ

       ลักษณะที่สาม เป็นบุคคลที่เกิดในประเทศ

ลาวจากพ่อแม่ที่เป็นคนสัญชาติไทย ถึงแม้โดยข้อเท็จจริงแล้วบุคคลดังกล่าวมีสัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิต แต่เนื่องจากบิดาหรือมารดาไม่ได้แจ้งเกิดไว้ในระบบทะเบียนราษฎรไทย หรือระบบทะเบียนราษฎรของลาว บุคคลนี้จึงตกอยู่ในสถานะบุคคลไร้รัฐและไร้สัญชาติ ที่อาจถือบัตรแรงงานต่างด้าว (ท.ร. 38/1) แต่ถ้าหากได้ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติและมีหลักฐานยืนยันชัดเจนก็ต้องมีสิทธิ์ใช้สัญชาติไทย

       ลักษณะที่สี่ เป็นบุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนเป็นลาวอพยพ เพราะมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านที่ศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2517 และได้รับการจดทะเบียนเป็นลาวอพยพโดยกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2534 หรือเป็นบุคคลที่มีพ่อและแม่ถือบัตรคนลาวอพยพ คนกลุ่มนี้อาจถือบัตรลาวอพยพตามพ่อแม่ แต่บางคนอาจมี ท.ร.38/1 แต่ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 บุคคลที่เป็นบุตรของคนลาวที่มีบัตรลาวอพยพและเกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2535 มีสัญชาติไทยแล้วโดยผลของกฎหมายตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 หากแต่การใช้สิทธิในสัญชาติไทยจะเริ่มต้นเมื่อไปร้องขอลงรายการสัญชาติไทย โดยแสดงหลักฐานแสดงการเกิดชัดเจนละน่าเชื่อถือได้ ต่อนายอำเภอซึ่งทำหน้าที่นายทะเบียนราษฎรของท้องที่ที่บุคคลมีชื่อปรากฏอยู่

       ลักษณะที่ห้า เป็นบุคคลที่เป็นคู่สมรสของคนไทยอีสาน อพยพมาอยู่อาศัยในหมู่บ้านอย่างถาวรในระยะเวลานาน ไม่เคยกลับไปพิสูจน์สัญชาติลาว ได้สถานะเป็นแรงงานต่างด้าว ไม่มีสิทธิ์ในการขอสัญชาติไทยเพราะไม่มีหลักฐานแสดงจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทย เนื่องจากไม่ได้รับการจดทะเบียนสมรสกับสามี/ภรรยาคนไทย

       ลักษณะที่หก เป็นบุคคลที่มีบุพการีเป็นคนลาวเกิดที่ประเทศลาว อพยพมาอาศัยในหมู่บ้านฝั่งไทยกับพ่อหรือแม่ตั้งแต่เด็กเพราะพ่อหรือแม่มาแต่งงานกับคนไทย แต่บุพการีไม่ได้แจ้งเกิดในระบบทะเบียนราษฎรของลาว จึงไม่มีสถานะบุคคลทั้งในประเทศไทยและประเทศลาว

        ปัญหาครอบครัวข้ามชาติเป็นปัญหาที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันในเรื่องสัญชาติของบุคคลหรือเด็กที่เกิดมาทำให้พวกเขาเสียสิทธิหรือโอกาสที่จะได้รับบริการหรือสิทธิประโยชน์ต่างๆจากรัฐรวมไปถึงการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนเหล่านี้เป็นอย่างมาก

ครอบครัวข้ามชาติตรงพื้นที่ระหว่างชายแดนไทย-ลาว โดย รศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ แหล่งที่มา: http://www.gotoknow.org/posts/269020[19พฤษภาคม 2557]

การสมรสข้ามชาติคืออะไร แหล่งที่มา: http://oneclick.law.go.kr/CSM/OvCnpRetrieveP.laf?c...[19พฤษภาคม 2557]

หมายเลขบันทึก: 568705เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท