ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

ศักดิ์ศรี คือ การยอมรับของบุคคลในสังคมในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ที่ได้รับการยอมรับของสังคมมนุษย์และเรื่องดังกล่าวต้องเป็นเรื่องดีงามเท่า นั้นเรื่องไม่ดี ไม่ให้รวมเรื่องศักดิ์ศรี แม้ว่าพฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้น หรือต้องการกระทำนั้นๆ อาจจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ได้ถือว่าเป็นเรื่องดีงาม สมควรยกย่องและต้องถือปฏิบัติเพื่อเป็นมติขององค์การ การยอมรับขององค์กรต่างๆ นั้นด้วยก็ได้ สิทธิเสรีภาพหรืออำนาจและหน้าที่ก็ถือเป็นศักดิ์ศรีด้วยเช่นกัน มนุษย์ คือ บุคคลทั่วไป ไม่เลือกว่าจะเป็นชนชาติใด เผ่า ศาสนา ผิวสี ภาษา และอื่นๆ ที่มีสภาพเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนของสังคมตลอดจนองค์กร / องค์การ ที่อาศัยมติเป็นข้อปฏิบัติไปตามประสงค์ขององค์การ องค์การก็ให้ถือเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity)หมาย ถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครอง และได้รับความยุติธรรมจากรัฐ

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550

มาตรา 4 “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ”
มาตรา 26 “ การใช้อำนาจ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและ
เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ “
มาตรา 28 “ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่า ที่ไม่ละเมิดสิทธิ และ
เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน”

หากพิจารณาถึงคนเข้าเมืองนั้น คนเข้าเมืองตามกฎหมายไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น3กรณีคือ คนเข้าเมืองโดยข้อเท็จจริงคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย และคนสัญชาติไทยที่ไม่มีเอกสารแสดงสิทธิในสัญชาติไทย ถ้าคนเข้าเมืองโดยข้อเท็จจริงเข้าเมืองมาไม่ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้า เมือง ก็จะกลายเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ส่วนคนต่าวด้าวที่เกิดในประเทศไทย กับคนสัญชาติไทยที่ไม่มีเอกสารแสดงสิทธิในสัญชาติไทยก็จะถูกสันนิษฐานไว้ ก่อนว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย เว้นแต่ว่าจะไปขออนุญาตเข้าเมืองหรือพิสูจน์สัญชาติไทยได้ แล้วแต่กรณี

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่าคนเข้าเมืองผิดกฎหมายก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน เราต้องการจะคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา เราควรจะรับรองสิทธิ เสรีภาพให้เขา เพื่อให้เขาดำรงชีวิตอยู่ได้โดยมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อยู่ในตัว

หมายเลขบันทึก: 568706เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท