คนต่างด้าวในประเทศไทย


คนต่างด้าวในประเทศไทย

ในสังคมปัจจุบันคงเป็นภาพที่คุ้นตาในการที่จะมีคนต่างด้าวจากทั้งประเทศซเพื่อนบ้าน และประเทศในตะวันตก เข้ามาทำงานในประเทศไทยกันอย่างล้นหลาม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเรื่องที่มีความจำเป็นต้องคำนึงถึงอย่างมากในเวลานี้ คือเรื่องของสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าว เพราะสิทธิมนุษยชนนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะคุ้มครองแต่เพียงคนที่มีสัญชาติของประเทศไทยเท่านั้น แต่ต้องคุ้มครองคนจากชาติอื่นด้วยในฐานะที่ เขามีสถานะเป็นมนุษย์นั่นเอง และต้องพิจารณาต่อมาว่าในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการละเมิดสิทธิมนุษชนของชาวต่างชาติ หรือคนต่างด้าวในประเทศไทยบ้างหรือไม่

ประเด็นที่น่าพิจารณาและพบว่าเป็นปัญหามากในประเทศไทยนั้นคือเรื่องของแรงงานต่างด้าว ซึ่งในปัจจุบันพบมากในประเทศไทย สืบเนื่องมาจากค่าแรงที่ถูกกว่าแรงงานชาวไทย และ ความต้องการในตลาดแรงงานซึ่งขยายตัวมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่พบในประเทศไทยนั้น มีทั้งที่เข้าเมืองมาอย่างถูกกฎหมาย และ ผิดกฎหมาย ซึ่งการเข้าเมืองมาอย่างผอดกฎหมายของแรงงานต่างด้าวนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองในเรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะรัฐไม่อาจเข้าไปให้ความคุ้มครองได้อย่างทั่วถึงเนื่องจากการที่เขาเหล่านั้นเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย ดังนั้นคนต่างด้าวกลุ่มนี้จะพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆในประเทศไทย ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาของการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่น นางแจ๋วชาวพม่าหนีเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย มาทำงานกับนายแว่นเป็นคนรับใช้ ปรากฏว่าระหว่างทำงานางแจ๋วถูกใช้เยี่ยงทาสผิดมนุษยมนา ครั้นจะหนีนายแว่นก็ขู่ว่าจะแจ้งตำรวจว่าตนเป็นคนต่างด้าว จนทำให้นางแจ๋วหวาดกลัวและต้องถูกกดขี่ต่อไป จะเห็นได้ว่า การเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายนั้นส่งผลกระทบต่อตัวผู้หลบหนีเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของจิตใจ และ ในแง่ของสิทธิมนุษยชน

หากมองต่อมาถึงฟากฝั่งของแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองมาโดยถูกกฎหมายมีการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ นั้น ปัจจุบันกฎหมายไทยได้มีการกำหนดข้อจำกัดในการทำงานของแรงงานต่างด้าวไว้อย่างมากมาย อาทิเช่น การถูกจำกัดให้ทำงานเฉพาะที่ขออนุญาตเข้ามา มิเช่นนั้นจะมีโทษปรับเป็นต้น ซึ่งการที่กระทรวงแรงงานจำต้องออกกฎระเบียบกระทรวงให้แรงงานต่างด้าวปฏิบัติตามนั้นเพื่อให้เกิดความง่ายดายต่อการควบคุมและกำกับดูแลแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีต้องมาพิจารณาต่อว่า การกระทำดังกล่าวขัดกับหลัก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ23 ที่บัญญัติว่า “ทุกคนมีสิทธิในการทำงาน ในการ เลือกงานโดยอิสระ ในเงื่อนไขที่ยุติธรรมและเอื้ออำนวยต่อการทำงาน” ในประเด็นนี้เห็นว่าไม่ขัดต่อหลักการดังกล่าว แม้ว่าชาวต่างชาติจะโดนจำกัดสิทธิในการทำงานในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่การจำกัดสิทธินั้นข้าพเจ้ามองว่าเป็นเงื่อนไขที่ตั้งขึ้นมาอย่างยุติธรรม ทั้งต่อตัวแรงงานต่างด้าวเอง และต่อตัวประชาชนชาวไทย และประเทศชาติด้วย เพราะจะเป็นการง่ายต่อประเทศไทยในการควบคุมแรงงานภายในประเทศ ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะฉะนั้นการที่ประเทศไทยตั้งเงื่อนไขขึ้นมาให้ปฏิบัติตาม โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะกลั่นแกล้งให้แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยทำงานไปได้ด้วยความยากลำบาก จึงเป็นการยุติธรรมแล้ว

สำหรับเรื่องของแรงงานต่างด้าวนี้ ประเด็นที่จำต้องแก้ไขอย่างแท้จริงคือเรื่องของแรงงานต่างด้าวที่หนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เพราะนอกจากรัฐจะไม่สามารถทราบได้เลยว่าแรงงานส่วนนี้เข้ามาทำอะไรในประเทศไทย ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆตามมาได้อีกด้วย

อ้างอิง

การคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย : http://www.l3nr.org/posts/466795 สืบค้นเมื่อวันที่ 18/5/57

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคนต่างด้าว : http://www.mol.go.th/academician/basic_alien สืบค้นเมื่อวันที่ 18/5/57

การคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าว : http://oneclick.law.go.kr/CSM/CcfMain.laf?csmSeq=597&ccfNo=1&cciNo=2 สืบค้นเมื่อวันที่ 18/5/57

หมายเลขบันทึก: 568700เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท