มนุษย์ที่ข้ามชาติ


มนุษย์ที่ข้ามชาติ

ปัญหาที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลมในปัจจุบันคือปัญหา “คนไร้รัฐ” หรือ การที่บุคคลไม่ได้ถือสัญชาติของรัฐใดเลยนั่นเอง ซึ่งโดยปรกติแล้วนั้นรัฐจะเป็นผู้ให้ความคุ้มครองแก่ประชากรในรัฐของตนในเบื้องต้น ซึ่งความเป็นประชากรนี้สามารถแสดงออกได้ทางสัญชาตินั่นเอง ดังนั้นการที่บุคคลไม่มีสัญชาติ หรือเป็นคนไร้รัฐ ทำให้ไม่มีรัฐใดในโลกที่จะมีหน้าที่เข้ามาให้ความคุ้มครองแก่บุคคลเหล่านี้

อย่างที่ได้กล่าวในเบื้องต้นว่า รัฐเป็นผู้ให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแก่บุคคล และการที่บุคคลไม่มีสัญชาติรัฐย่อมไม่มีหน้าที่เข้ามาคุ้มครอง ดั้งนั้นความคุ้มครองในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของ สิทธิพลเมือง หรือกล่าวคือบุคคลเหล่านี้จะเสียสิทธิในการเข้ารับบริการ สาธารณะ หรือการได้รับการบริการจากสังคมไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งที่ในบางกรณีก็เป็นการที่บุคคล อาศัยอยู่ในประเทศนั้นมาเป็นเวลานาน หรือเกิดและโตในประเทศนั้น แต่เพียงเพราะความไม่มีสัญชาติทำให้สิทธิของพวกเขาไม่ได้รับความคุ้มครอง

ตัวอย่างเช่นกรณีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 หมวด 3ว่าด้วย สิทธิและ เสรีภาพของชนชาวไทย ในมาตรา51 ที่บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์”

จะเห็นได้ว่า แม้ว่ามาตรา51จะใช้คำว่า”บุคคล”ก็ตาม แต่มาตรา51นี้อยู่ในหมวดที่3 ในเรื่องว่าด้วย สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ดังนี้จึงมีปัญหาในการตีความว่า มาตรา51นี้มุ่งคุ้มครองถึงบุคคลทุกคนที่ยอมรับว่ามีสภาพบุคคลหรือว่ามุ่งคุ้มครอง แต่ประชาชนชาวไทยเท่านั้น ซึ่งกรณีนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้คนไร้รัฐอาจไม่ได้รับความคุ้มครองในสิทธิที่จะได้รับบริการ สาธารณะสุขอย่างเพียงพอ และ ได้มาตรฐาน ตามที่รัฐธรรมนุญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ให้การคุ้มครองไว้

ท่านอาจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เคยได้เสนอแนวทางแก้ไขเยียวยาในเบื้องต้นไว้ในบทความฉบับหนึ่ง โดยประกอบด้วยวิธีแก้ปัญหาสามประการด้วยกันนั่นคือ 1.ต้องยอมรับถึงสภาพบุคคลของคนไร้รัฐเสียก่อน หรือเป็นการยอมรับถึงการมีตัวตนอยู่ในฐานะบุคคลของคนกลุ่มนี้ 2.ต้องเปิดโอกาสให้คนไร้รัฐได้มีสิทธิในการประกอบอาชีพได้เนื่องจากในปัจจุบันเมื่อคนไร้รัฐไปสมัครงานก็มักจะถูกปฏิเสธด้วยเหตุว่าเป็นคนไม่มีสัญชาติและนายจ้างก็เกรงกลัวต่อการกระทำความผิด 3.ต้องมีการจัดทำทะเบียนคนไร้รัฐ เพื่อที่จะได้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาในทางข้อเท็จจริง และเพื่อทราบปริมาณคนไร้รัฐในประเทศไทย

อ้างอิง

ความหมายของสิทธิมนุษยชน:

https://sites.google.com/site/may00may00may/siththi-mnusy-chn/reuxng-thi1khwam-hmay-khxng-siththi-mnusy-chn สืบค้นเมื่อ 16/5/57

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย : http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538976878&Ntype=25 สืบค้นเมื่อ 16/5/57

ความเป็นคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติในประเทศไทย : http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=278&d_id=277 สืบค้นเมื่อ 16/5/2557

หมายเลขบันทึก: 568695เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท