กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

กฎหมายระหว่างประเทศนั้นนับว่าเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากต่อ พัฒนาการทางด้านสิทธิมนุษยชน เป็นอย่างมาก เพราะเปรียบเสมือนหลักสากลที่ประเทศต่างๆให้การยอมรับ และ เป็นหลักเกณฑ์ที่ผ่านกระบวนการการคิดอย่างตกผลึก จึงเป็นสิ่งที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับบทความนี้จะพิจารณาในประเด็นที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศเข้ามามาบทบาทกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสังคมไทยอย่างไร และปัจจุบันในทางปฏิบัติมาการกระทำอันเป็นการขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่อย่างไร

สำหรับกฎหมายระหว่างประเทศที่จะนำมาพิจารณาในบทความนี้คือ “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก” ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้เป็นอนุสัญญาทีได้รับความเห็นชอบมากที่สุดในปัจจุบันจากประเทศต่างๆทั่วโลก และแน่นอนประเทศไทยก็เป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย อนุสัญญาฉบับนี้มีหลักสำคัญอยู่สองประการคือ มองว่า สิทธิของเด็กเป็นสิทธิที่มีติดตัวมานับแต่เด็กเกิดไม่ใช่สิทธิที่รัฐให้หรือผู้ใดให้ ดังนั้นไม่อาจถูกตัดทอนได้ สอง ในการดำเนินการต่างๆเกี่ยวกับเด็กต้องคำนึงถึงสิทธิของเด็ก และที่สำคัญต้องยึดถือหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยแนวทางในการตีความมีอยู่สี่ประการด้วยกันคือ 1.ห้ามเลือกปฏิบัติกับเด็ก เพื่อให้เด็กทุกคนมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน 2.การกระทำทั้งหลายต้องคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ 3.สิทธิในการมีชีวิต และ พัฒนาด้านจิตใจอารมณ์สังคม 4.สิทธิในการแสดงความคิดของเด็ก และให้ความสำคัญกับความคิดนั้น

จะเห็นได้ว่าอนุสัญญาฉบับนี้มุ่งเน้นที่จะรักษาสิทธิของเด็กซึ่งอาจถูกมองข้ามด้วยวุฒฒิภาวะที่ยังน้อย และความสามารถในการพึ่งพาตนเองซึ่งยังมีไม่มาก อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะมีการออกกฎหมายฉบับดังกล่าวออกมาแล้วก็ตามการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเด็กยังคงเป็นเรื่องที่สามารถพบเห็นได้อยู่ โดยมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุมากมายด้วยกัน และเป็นปัญหาที่สะสมมานานเป็นเวลาหลายปีจนมีความยากต่อการแก้ไขในทางปฏิบัติ

จากการรายงานของสถาบันสวัสดิการและพัฒนาเด็กพบว่ามีปัญหาสำคัญดังต่อไปนี้

1.เด็กถูกทอดทิ้ง 2.ปัญหาเด็กถูกทารุณ 3.ปัญหาเด็กเร่อน 4.เด็กขาดโอกาสทางการศึกษา 5.เด็กในชุมชนแออัด 6.เด็กที่ติดโรคเอดส์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะขยายความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นไปอีกหากไม่มีการยับยั้งแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ในแง่ของการละเมิดสิทธืมนุษยชน ซึ่งเกิดกับเด็กประเภทต่างๆแตกต่างกันออกไปดังนี้

1.การถูกละเมิด และ อันเนื่องมาจากการที่เด็กต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่นเด็กพิการต่างๆที่ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าเด็กธรรมดา หรือ เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เด็กที่บิดามารดาต้องโทษจำคุกเป็นต้น ซึ่งเด็กเหล่านี้ยังไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอในกลายๆกรณี อันเนื่องมาจาก ไม่มีหลักประกันที่กลไกของรัฐ และยังขาดนโยบายส่งเสริมพัฒนาที่ชัดเจน

2.การละเมิดทั้งร่างกายและจิตใจ ตือถารที่เด็กถูกปล่อยปะละเลย ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าทีควร ทำให้เด็กอยู่ในภาวะเสี่ยง และทำให้พัฒนาการในด้านต่างๆเป็นไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร

3.เด็กถูกละเมิดจากการถูกกระทำ คือกรณีที่เด็กโดนทารุณกรรม หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือเป็นแรงงานเด็กที่โดนทารุณกรรม ทำให้เด็กกลุ่มนี้อยู่ในภาวะเสี่ยง

4.ไม่ได้รับสิทธิในการเข้ารับบริการฟื้นฟู คือเด็กที่มีสภาพเป็นเด็กที่อยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยง และเป็นเด็กมีปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยา

5.การให้ความเป็นธรรมแก่เด็กในการกระทำความผิดอาญา เนื่องจากว่าเด็ฏบางคนเป็นเด็กที่อยู๋ในสภาแวดล้อมที่มีควาทมเสี่ยงทำให้พัฒนาการทางด้านศีลธรรมเป็นไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร

จากทั้งปัญหาที่เกิดมากแก่เด็กในปัจจุบัน และ กระณีของการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นมากในสังคมไทยชี้ให้เก็นว่าประเทศไทย ในฐานะภาคีสมาชิดของอนุสัญญาสิทธิเด็ก ควรจะให้ความสำคัญกับปัญหากังกล่าวให้มากเนื่องจากเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เด็กฉลาดชาติเจริญ เพราะฉะนั้นการที่จะแก้ปัญหาที่ใหญ่กว่าได้ควรแก่ที่ต้นเหตุคือการพัฒนาเด็กให้โตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องเริ่มจากการ ขจัดการละเมิดสิทธิมนุษยชนเหล่านี้และเข้าเยียวยาอย่างถูกต้องเสียก่อน

อ้างอิง

ว่าด้วยการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิเด็ก : http://www.l3nr.org/posts/367096 สืบค้นเมื่อ 16/5/57

การละเมิดสิทธิมนุษยชนเด็กและเยาวชน : http://www.oknation.net/blog/Peaceful1906/2009/01/... สืบค้นเมื่อ 16/5/57

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก : http://www.unicef.org/thailand/tha/overview_5954.html สืบค้นเมื่อ 16/5/57

หมายเลขบันทึก: 568689เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท