การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ

สิทธิในชีวิตนับว่าเป็นสิทธิประการหนึ่งที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสิทธมนุษยชนอื่นๆเพราะหากมนุษย์ไม่มีสิทธิในชีวิตเสียแล้ว สิทธิอื่นๆก็ไม่อาจได้รับความคุ้มครองไปด้วยเนื่องมาจาก อาจจะโดนพรากเอาไปเมื่อใดก็ได้จากการถูกละเมิดสิทธิในชีวิตนั่นเอง ในบทความนี้จึงขอมุ่งเน้นในการพิจารณาถึงสิทธิในการมีชีวิตและยกกรณีศึกษาของชาวโรฮิงญาที่เคยได้กล่าวอ้างไปในครั้งก่อนขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง เพราะชาวโรฮิงญานั้นนับว่าเป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งที่โดนละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก จนถึงขั้นที่สหประชาชาติเคยกล่าวว่า บุคคลกลุ่มนี้เป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกละเมิดสิทธิมากที่สุดกลุ่มหนึ่งเลยทีเดียว

พิจารณาว่าสิทธิในชีวตนั้นคืออะไร ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ3 บัญญัติว่า 

"ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล"

ชี้ให้เห็นว่าสิทธิในการมีชีวิตนั้นคือ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิตอยู่ อย่างอิสระ และไม่มีใครสามารถพรากเอาไปได้ เพราะเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มานับตั้งแต่เกิด และสามารถกำหนดวิถีทางเดินให้แก่ชีวิตของตนเองได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย จากอำนาจทั้งหลายที่จะมาพรากเอาสิทธิเหล่านี้ไป ดังนี้จะเห็นได้ว่าสิทธิในการมีชีวิตอยู่นั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเพราะอย่างที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นว่าหากมนุษย์ไม่มีสิทธิในการมีชีวิตอยู่เสียแล้ว สิทธิอื่นๆย่อมไม่อาจได้รับความคุ้มครองไปด้วยเนื่องมาจากว่า อาจจะถูกพรากไปได้ตลอดเวลาจากการถูกพรากสิทธิในการมีชีวิตอยู่ไปนั่นเอง เปรียบอสมือนกับตึกสูงที่มีรากฐานไม่มั่นคง แม้ว่าเราจะดูแลยอดตึกให้มีความแข็งแรงอย่างไร หากรากฐานเกิดพังทลายลงมา ยอดตึกที่แข็งแรงก็ย่อมถล่มลงมาด้วยเป็นธรรมดา

วิเคราะห์ กรณีศึกษาของชาวโรฮิงญา ชาวโรฮิงญานั้นเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่เข้าไปอาศัยอยู่ในประเทศพม่า นับตั้งแต่สมัยที่พม่ายังคงเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฦษ โดยเป็นกลุ่มบุคคลที่นับถือศาสนาอิสลาม และ มีเชื่อสายที่แตกต่างกับชาวพม่า ครั้นเมื่อประเทศพม่าได้รับเอกราชจากประเทศอังกฦษ ชาวโรฮิงญาก็ยังคงอาศัยอยู่ในประเทศพม่าต่อไป และในเวลาต่อมา รัฐบาลพม่าเห็นว่าคนกลุ่มนี้ เป็นคนที่อพยพมา และอยู่ในประเทศพม่าอย่างผิดกฎหมาย ไม่ใช่ชาวพม่าและไม่มีสิทธิได้รับสัญชาติพม่า ทั้งที่ในทางข้อเท็จจริงแล้วนั้นชาวโรฮิงญาได้อยู่ในประเทศพม่าจนมีความกลมกลืนทางวัฒนธรรมไปแล้ว หรืออาจมองได้ว่าพวกเขาในปัจจุบันก็คือชาวพม่านั่นแหละ เพียงแต่มีความแตกต่างทาง เชื้อสาย และ ศาสนาเท่านั้น ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ในประเทศหนึ่งจะมีคนจากหลายชาติพันธ์มาตั้งรกราก แต่น่าเสียดาวที่ประเทศพม่ามิำด้มองเช่นนั้น แต่กลับรู้สึกต่อต้านอย่างสุดโต่ง และใช้มาตรการในการกดดันชาวโรฮิงญาต่างๆนาๆ ซึ่งล้วนแล้วเป็นการกดขี้สิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

ชาวโรฮิงญาในประเทศพม่านั้น ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย อาทิเช่น สิทธิในการใช้ชีวิตทั่วไป อย่างการเดินทางไปไหนมาไหน เพราะการที่จะออกจากหมู่บ้านได้นั้น จะต้องทำการจ่ายค่าธรรมเนียมในการออกจากหมู่บ้าน หรือในเรื่องของสิทฌิในการเลือกที่อยํ่ ชาวโรฮิงญาไม่มีสิทธิในการเลือกที่อยู่ใดๆ เพราะอาจโดนงังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่ได้ตลอดเวลา และไม่สามารถมีที่ดินเป็นของตนเองได้ นอกจากนี้ยังถูกขัดขวางสิทธิในการเข้ารับบริการสาธารณะสุขอีกด้วย การแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั้นไม่อาจทำได้ เนื่ งจากทางการพม่าไม่อนุญาติ จะเห็นว่าชาวโรฮิงญาในประเทศพม่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานมากมาย จนอาจกล่าวได้ว่าถูกละเมิดสิทธิในการ มีชีวิตอยู่เลยก็ได้ เพราะแม้รัฐบาลพม่าจะไม่ได้กระทำการพรากเอาชีวิตของบุคคลเหล่านี้ไปตามใจชอบ แต่การใช้ชีวิตอยู่ในสถานะเช่นนี้ทำให้บุคคลกลุ่มนี้เสมือนตายทั้งเป็น และไม่มีอิสระภาพในการที่จะกำหนดทางเดินในการใช้ชีวิตของตนเองอย่างอิสระเลย้ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมชาวโรฮิงญาจำนวนมากถึงต้องหลบหนีออกมาจากประเทศพม่า เนื่องจากการใช้ชีวิตอยู่ในประเทศพม่าและถูกกดขี่มากมายขนาดนี้ นับว่าเป็นการดำรงชีวิตที่ยากแค้นยิ่งนักสำหรับชาวโรฮิงญา

จากกรณีศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศพม่านั้นเป็นการกระทำที่ร้ายแรง และ ไร้จริยธรรมเป็นอย่างยิ่งและควรได้รับการแก้ไขที่ต้นเหตุคือประเทศพม่า อันเป็นถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงของชาวโรฮิงญา โดยการให้ความช่วยหลือด้านสิทธิมสุษยชนแก่ชาวโรฮิงญาในประเทศพม่าอย่างเป็นรูปธรรม มิใช่การจัดการเมื่อ บุคคลเหล่านี้หนีออกมาจากประเทศพม่าแล้ว เพราะนอกจากจะสร้างปัญหาตามมาอย่างมากมาวแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอีกด้วย

อ้างอิง

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน : http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/bo... สืบค้นเมื่อวันที่ 17/5/57

สิทธิมนุษยชนของชาวโรฮิงญา : http://www.l3nr.org/posts/535430 สืบค้นเมื่อวันที่ 17/5/57

โรฮิงญา "สิทธิมนุษยชน" คือ...? : https://m.facebook.com/notes/madu-madu/%E0%B9%82%E... สืบค้นเมื่อวันที่ 17/5/57

สิทธิในชีวิตและร่างกาย : http://www.baanjomyut.com/library/freedom/page03.html สืบค้นเมื่อวันที่ 17/5/57

หมายเลขบันทึก: 568699เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท