ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติ

ปัญหาครอบครัวข้ามชาตินั้นเป็นปัญหาที่ดำเนินตามมากับปัญหาคนข้ามชาติ หรือคนไร้รัฐนั่นเอง เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะต้องสร้างครอบครัวเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ของตน ซึ่งครอบครัวเป็นเครื่องเชื่อมโยงอันก่อให้เกิดสถานนะทางสังคม จากพ่อแม่สู่ลูก หรือ จากสามีสู่ภรรยา ซึ่งเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ตามกฎหมายนั่นเอง อย่างเช่นบุตรย่อมมีสิทธิได้รับสัญชาติของบิดาหรือมารดาของตน ผ่านทางการสืบสายโลหิต เป็นต้นซึ่งปัญหาของครอบครัวข้ามชาติเกิดจากการที่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งในครอบครัวเป็นคนไร้รัฐ หรือคนไร้สัญชาตินั่นเองซึ่งทำให้ทั้งบุคคลเหล่านี้ และคนที่มีความสัมพันธ์กับคนไร้รัฐอาจจะเสียสิทธิบางประการ เพราะการไม่ได้รับรองสิทธิจากทางการสืบเนื่องจากเรื่องสถานะคนไร้รัฐนั่นเอง

ในบทความนี้จะขอยกปัญหาของครอบครัวเจดีย์ทองซึ่งประสบปัญหาของการเป็นครอบครัวข้ามชาติ ซึ่งในทางข้อเท็จจริงแล้ว เป็นเรื่องที่เกิดจากความผิดพลาดของหลายภาคส่วนทั้งตัวบุคคล และ หน่วยงานราชการด้วย ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวข้ามชาติขึ้นโดยไม่จำเป็น ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า นางแพทริเซีย ชาวมาเลเซีย พบรักกับนายอาทิตย์ชาวไทย ปรากฏว่าต่อมานางแพทริเซีย เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายด้วยหนังสือเดินทางประเทศมาเลเซียเพื่อที่จะมาอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับนายอาทิตย์ เมื่อเวลาผ่านไปเนื่องจากว่าการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยของนางแพทริเซียนั้น มีเวลาที่จำกัดดังนั้น นางแพทริเซียจะต้องเดินทางออกนอกประเทศ หรือขอต่ออายุหนังสือเดินทางภายในเวลาที่กำหนด แต่นางแพทริเซียต้องการที่จะอยู่ในประเทศไทยตอลดไปและไม่ประสงค์จะเดินทางกลับไปที่ประเทศมาเลเซียอีกจึงใช้วิธีการ แจ้งต่อทางการของประเทศไทยว่าตนเป็นคนไร้รัฐ และ ทำงานเป็นแม่บ้านในบ้านของนายอาทิตย์ ทั้งที่แท้จริงแล้วตนเป็นคนสัญชาติมาเลเซีย ซึ่งเป็นความผิดพลาดในการทำให้เกิดสถานะคนไร้รัฐขึ้นอย่างไม่จำเป็น

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในแง่ของครอบครัวคือการที่ นางสาวแพทริเซีย และ นายอาทิตย์มีบุครด้วยกันสามคน ซึ่งได้ทำการแจ้งเกิดถูกต้องในประเทศไทย โดยในเรื่องของการได้รับสัญชาตินั้นสามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้ สำหรับการได้รับสัญชาติจากการสืบสายโลหิต เด็กทั้งสามมีสิทธิได้รับทั้งสัญชาติไทยและมาเลเซีย จากบิดาและมารดาที่เป็นคนไทยและคนมาเลเซีย ในเรื่องของสัญชาติไทยนั้นเมื่อนายอาทิตย์จดทะเบียนรับรองบุตรตามวิธีการของกฎหมายของประเทศไทย บุตรทั้งสามย่อมมีสิทธิได้รับสัญชาติไทยในทันที ส่วนปัญหาในเรื่องนี้คือการได้รับสัญชาติมาเลเซีย ซึ่งเด็กทั้งสามเสียสิทธิไป และไม่ได้รับการแจ้งชื่อลงในทะเบียนราษของทางการรมาเลเซีย เนื่องจากว่าทางการไทยรับรองว่านางแพทริเซ๊ยเป็นคนไร้สัญชาติ ดังนี้เมื่อเด็กเกิดในประเทศไทย จึงเป็นบุตรของบุคคลซึ่งไร้สัญชาตินั่นเอง ทำให้บุตรทั้งสามเสียสิทธิประโยชน์ในฐานะคนสัญชาติมาเลเซียไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งเป็นเรื่องทีควรได้รับการแก้ไขต่อไป นอกจากนี้บุตรทั้งสามสามารถได้รับสัญชาติไทยได้โดยอาศัยจุดเกาะเกี่ยวทางดินแดนได้

ซึ่งนอกจากปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นกับเด็กทั้งสามในการได้รับสัญชาติแล้ว ยังมีปัญหาว่าเมื่อนางแพทริเซียถูกกำหนดให้เป็นคนไร้รัฐ เฃ่นนี้ย่อมเป็นเหมือนการพรากเอาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของนางแพทริเซียของทางการมาเลเซ๊ยไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อ้างอิง

กฎหมายไทยย่อมมีผลกำหนดความเป็นไปได้ที่บิดานอกสมรสจะรับรองบุตรนอกสมรสที่เกิดจากมารดาสัญชาติมาเลเซ๊ยให้เป็นบุครที่ชอบด้วยกฎหมาย : http://www.l3nr.org/posts/535406 สืบค้นเมื่อ 17/5/57

วมงานเขียน อ.แหววในเรื่องสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว : https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%... สืบค้นเมื่อ 17/5/57

หมายเลขบันทึก: 568696เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท