ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี

เคยกล่าวมาในบทความก่อนหน้านี้แล้วเล็กน้อย ถึงประเด็นในเรื่องของการถูกจำกัดสิทธิในการเข้ารับบริการสาธารณะของคนไร้สัญชาติซึ่งเป็นปัญหาในเรื่องของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ถูกละเลย เพราะเหตุแห่งความไร้สัญชาติของเขาเหล่านั้น ซึ่งในบทความนี้จะขอหยิบยกประเด็นในส่วนของการบริการสาธารณะสุขขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งโดยละเอียด

สิทธิมนุษยชนด้านสาธาณสุข” หมายถึง การที่บุคคลมีสิทธิได้รับบริการสาธารณะสุข ที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียม โดยที่ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับ การดูแลในด้านนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อเป็นการคุ้มครองให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการได้รับสิทธิด้าน สาธารณะสุขซึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 51 บัญญัติว่า

“บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์”

อันเป็นการประกันสิทธิมนุษยชนข้อนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริงในเรื่องนี้

แม้ประเทศไทยจะมีข้อความคิดในการประกันสิทธิมนุษยชนในเรื่องนี้ไว้แล้วก็ตาม แต่ในข้อเท็จจริงนั้นกลับพบปัญหาต่างๆมากมายอันทำให้การบริการสาธารณะสุขอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงเป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ โดยปัญหาที่พบมีดังนี้

1.ปัญหาการให้บริกาสาธารณะสุขที่ไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลซึ่งไม่มีบุคลากรทางการแพทย์ หรือเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยในการทำการรักษา

2.ความเหลื่อมล้ำในเรื่องของมาตรฐานของการบริการสาธารณะสุข ในเขตเมืองกับเขตชนบท ซึ่งพบว่าในต่างจังหวัดนั้น มีมาตรฐานที่ต่ำกว่าในเขตเมือง

3.คุณภาพของยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่ดีพอที่จะรักษา คนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ

4.การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเป็นสำคัญ หรือการเน้นรักษาสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยมากกว่าการส่งเสริมให้ประชาฃนมีสุขภาพที่ดีในระยะยาวด้วยตนเอง

5.หลักประกันสุขภาพสำหรับ คนที่มีรายได้น้อย ผู้ถูกเลิกจ้าง หรือ ผู้ด้อยโอกาส ยังไม่คลอบคลุมและทั่วถึงเท่าที่ควร

ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักมาจากการขาดแคนบุคลากร และ งบประมาณ และนโยบายภาครัฐที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางการแก่ปัญหาเป็นต้น โดยแนวทางการแก้ปัญหานั้น เบื้องต้นคือ 1.ต้องจัดให้มีการบริการสาธารณะสุขอย่างทั่วถึง และคลอบคลุมคนทุกกลุ่ม 2.จัดให้การบริการสาธารณะสุขมีมาตรฐานมากขึ้นกว่าปัจจุบัน 3.ปรับปรุงคุณภาพของยาและเวชภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน 4.ส่งเสริมการพัฒนาบคคลากรทางการแพทย์ให้มีแนวคิดที่มีจิตสาธารณะมากขึ้น และ เพิ่มปริมาณบุคลากรเข้าสู่ระบบสาธารณะสุข

ที่กล่าวมาทั้งหมดคือทั้งปัญหาและวิธีการแก้ไขเบื้องต้น เพื่อคุ้มครองสิทธิในการได้รับบริการสาะรณะสุขของประชาชน ให้มีความเท่าเทียมกัน ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นเพียงแค่การพูดถึงในแง่มุมของประชาชนชาวไทยเท่านั้น ซึ่งแม้ว่าจะเป็นบุคคลที่รัฐให้ความคุ้มครองอย่างเต็มที่ในเรื่องนี้ก็ยังประสบปัญหาในการรับบริการสาธารณะสุขอยู่ แล้วหากพิจารณาถึงเรื่องสิทธิในการรับบริการสาะรณะสุขของเหล่าบุคคลที่ไร้สัญชาตินั้น ยิ่งแล้วใหญ่เพราะ ปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องการตีความมาตรา 51ของรัฐธรรมนูญว่าตำว่าบุคคลในมาตรา51นั้น รวมถึงบุคคลซึ่งไร้สัญชาติด้วยหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติ การได้รับบริการสาธารณะสุขของคนไร้สัญชาตินั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก และไม่ทั่วถึง ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องการการคำนึงถึง ไม่แพ้ปัญหาเรื่องการรับบริการสาธารณะสุขของคนในประเทศเลยทีเดียว

อ้างอิง

สิทธิมนุษยชนด้านการสาธารณสุข : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/hu... สืบค้นเมื่อ 16/5/57

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 : http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Consti... สืบค้นเมื่อวันที่ 16/5/57

ปัญหาสุขภาพคนไทยและระบบบริการสุขภาพ : http://www.hisro.or.th/main/?name=knowledge&file=r... สืบค้นเมื่อ 16/5/57

หมายเลขบันทึก: 568698เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท