คนต่างด้าวในประเทศไทย


                     โดยหลักกฎหมายทั่วไปที่นานาอารยประเทศยอมรับ สำหรับรัฐหนึ่งๆ คำว่า “คนต่างด้าว (Alien)” หมายความว่า “คนที่ไม่มีสัญชาติของรัฐ” แต่ด้วยที่บุคคลหนึ่งๆ อาจมีจุดเกาะเกี่ยวที่แท้จริงกับหลายรัฐในขณะเดียวกัน โดยพิจารณาจากความมั่นคงของรัฐในแต่ละสถานการณ์ รัฐหนึ่งๆ จึงอาจยอมรับความเป็นคนชาติของบุคคลในสถานการณ์หนึ่ง แต่ปฏิเสธความเป็นคนชาติในอีกสถานการณ์หนึ่ง             

                     ในประเทศไทยของเรานั้น มีชาวต่างชาติหรือที่เราเรียกว่าต่างด้าวเข้ามาทั้งถูกและผิดกฏหมายเป็นจำนวนมากพอสมควรเลย ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นก็มักจะประสบกับปัญหาหลายๆอย่าง โดยสิทธิมนุษยชนเองก็เป็นหนึ่งในปัญหาดังกล่าว เนื่องจากการที่พวกเขามาอาศัยอยู่ในรัฐอื่นทำให้เขาอาจไม่รู้กฏหมายและภาาษทำให้เสียเปรียบและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้โดยง่าย เช่นในกรณของคุณ สาธิต เซกัล ที่ได้กล่าวถึงในบทความก่อนนี้

                      โดยกรณีคนต่างด้าวของประเทศไทยนั้นมีมาแต่สมัยโบราณแล้ว ตั้งแต่สมัยอยุธยามีคนต่างชาติมากมายเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย รวมถึงเข้ารับราชการไทยได้ยศตำแหน่งมากมาย เช่น เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในสมัยอยุธยา รวมทั้งการใช้หน่วยทหารอาสาหลายๆชาติในสมัยนั้น และเมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เองก็ยังมีคนต่างด้าวเข้ามาจำนวนมาก รวมถึงชาวจีนที่เข้ามา การคอรัปชั่น ในรัฐบาลราชวงศ์ชิง และการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศจีน ประกอบกับการเก็บภาษีที่เอาเปรียบ ทำให้ชายชาวจีนจำนวนมากมุ่งสู่สยามเพื่อหางานและส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวในประเทศจีน ขณะนั้นชาวจีนจำนวนมากต้องจำยอมขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีเพาะปลูกของทางการ

                     ในรัชสมัยปลายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ประเทศไทยต้องระวังผลกระทบจากการที่ฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และอังกฤษได้มลายูเป็นอาณานิคม ในขณะเดียวกัน ชาวจีนจากมณฑลยูนนานก็เริ่มไหลเข้าสู่ประเทศไทย กลุ่มชาวไทยชาตินิยมจากทุกระดับจึงได้เกิดความคิดต่อต้านชาวจีนขึ้น หลายร้อยปีก่อนหน้านี้ ชาวจีนกุมเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ไว้ และยังได้รับอำนาจผูกขาดการค้าและรวมถึงการเป็นนายอากรเก็บภาษีซึ่งเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วย ในขณะนั้นอิทธิพลทางการค้าของชาติตะวันตกก็สูงขึ้น ทำให้พ่อค้าขาวจีนหันไปขายฝิ่นและเป็นนายอากรมากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าของโรงสีและพ่อค้าข้าวคนกลางชาวจีนยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสยามในปีซึ่งกินเวลาเกือบ 10 ปี หลังปี พ.ศ. 2448 ด้วย

                     การให้สินบนขุนนาง กลุ่มอันธพาลอั้งยี่ และการเก็บภาษีอย่างกดขี่ ทั้งหมดนี้จุดประกายให้คนไทยเกลียดชังคนจีนมากขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราการอพยพเข้าประเทศไทยก็มากขึ้น ในพ.ศ. 2453 เกือบร้อยละ 10 ของประชากรไทยเป็นชาวจีน ซึ่งผู้อพยพใหม่เหล่านี้มากันทั้งครอบครัวและปฏิเสธที่จะอยู่ในชุมชนและสังคมเดียวกับคนไทย ซึ่งต่างกับผู้อพยพยุคแรกที่มักแต่งงานกับคนไทย ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้นำการปฏิวัติประเทศจีน ได้เผยแพร่ความคิดให้ชาวจีนในประเทศไทยมีความคิดชาตินิยมจีนให้มากขึ้นเพื่อต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ ชุมชนชาวจีนจะสนับสนุนการตั้งโรงเรียนเพื่อลูกหลานจีนโดยเฉพาะโดยไม่เรียนรวมกับเด็กไทย ในปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงให้ชาวต่างชาติในประเทศไทยจดทะเบียนเป็นคนต่างด้าว เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวจีนจำนวนมากต้องเลือกว่าจะเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์หรือจะยอมเป็นคนต่างด้าว

                    ดังนั้นจะเห็นว่าคนต่างด้านั้นมีอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานมากแล้ว และก็ใช่ว่าจะสร้างปัญหาอย่างเดียวเท่านันคนไทยมักมองคนต่างด้าวในแง่ลบ แต่คนต่างด้าวเหล่านี้ก็เป็นบุคลากรสำคัญที่ช่วยสร้างชาติจนได้มีชาติไทยเช่นทุกวันนี้ แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่มีปัญหา เช่นกรณีอั้งยี่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเองส่วนหนึ่งนั้นก็มาจากความเกลียดชังที่มาจากชาวไทยเองด้วย เพราะในสมัยนั้นเรื่องสิทธิมนุษยชนยังไม่แพร่หลาย แต่ปัจจุบันเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและเราทุกคนควรคำนึงถึงสิทธิของมนุษย์ทุกคนให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย 

                  แต่อย่างไรก็ดีไทยก็ยังมีการจำกัดอาชีพแรงงานต่างด้่าวอยู่ ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. ๒๕๒๒

                  ซึ่งมีการจำกัดการทำงาน38ชนิดไม่ให้คนต่างด้าวทำ ซึ่งกฏหมายฉบับนี้ผมคิดวาควรจะมีการแก้ไขในอนาคตเพื่อให้เหมาะกับสภาพในปัจจุบันที่ไทยกำลังจะก้าวเข้าอาเซียนด้วย

อ้างอิง

1.http://www.oknation.net/blog/NVC/2011/02/26/entry-... พระราชกฤษฎีกา กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. ๒๕๒๒

2.http://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)

3.http://th.wikipedia.org/wiki/ไทยเชื้อสายจีน

หมายเลขบันทึก: 568711เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท