ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


                     อ้างอิงรูปภาพจาก http://www.mrunavy.net

      ในสังคมปัจจุบันนั้นมีการพูดถึงเรื่องของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อยู่อย่างแพร่หลาย ในกรณีที่มีการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลใด้บุคคลหนึ่ง บุคคลที่ถูกละเมิดก็จะถูกตัดสินโดยคนในสังคม ซึ่งนับเป็นการลงโทษทางสังคมที่ใช้ได้ผลดีมากในเรื่องนี้ แต่หากจะให้กล่าวถึงว่าศักดิ์สรีความเป็นมนุษย์คืออะไร? นิยามของมันเป็นอย่างไร ? ดังนี้จึงจะขอกล่าวถึงความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

     ศักดิ์ศรี (1) คือ การยอมรับของบุคคลในสังคมในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ที่ได้รับการยอมรับของสังคมมนุษย์และเรื่องดังกล่าวต้องเป็นเรื่องดีงามเท่านั้นเรื่องไม่ดี ไม่ให้รวมเรื่องศักดิ์ศรี แม้ว่าพฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้น หรือต้องการกระทำนั้นๆ อาจจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ได้ถือว่าเป็นเรื่องดีงาม สมควรยกย่องและต้องถือปฏิบัติเพื่อเป็นมติขององค์การ การยอมรับขององค์กรต่างๆ นั้นด้วยก็ได้ สิทธิเสรีภาพหรืออำนาจและหน้าที่ก็ถือเป็นศักดิ์ศรีด้วยเช่นกัน

     มนุษย์ คือ บุคคลทั่วไป ไม่เลือกว่าจะเป็นชนชาติใด เผ่า ศาสนา ผิวสี ภาษา และอื่นๆ ที่มีสภาพเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนของสังคมตลอดจนองค์กร / องค์การ ที่อาศัยมติเป็นข้อปฏิบัติไปตามประสงค์ขององค์การ
องค์การก็ให้ถือเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นคำว่าสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในรัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน
     ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550

มาตรา 4 “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ”
มาตรา 26 “ การใช้อำนาจ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและ
เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ “
มาตรา 28 “ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และ
เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน “

     การนิยามและจำแนกบุคคลตามกฎหมายคนเข้าเมืองนั้น จำแนกออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันกล่าวคือ 1) คนเข้าเมืองโดยข้อเท็จจริง 2) คนต่างด้าวที่เกิดในไทย 3) คนสัญชาติไทยที่ไม่มีเอกสารแสดงสิทธิ ซึ่งบุคคลที่เข้าเมืองมาโดยข้อเท็จจริงแต่ผิดกฎหมายคนเข้าเมือง ก็เป็นบุคคลเข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือคนสัญชาติไทยที่ไม่สามารถหาเอกสารแสดงสิทธิของตนได้ ก็จะถูกสันนิษฐานไว้ว่าเป็นคนเข้าเมืองมาผิดกฎหมาย

     การเข้าเมืองผิดกฎหมาย กับ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น จริงอยู่ที่ว่าการที่เขาเข้าเมืองมาแบบผิดกฎหมายคนเข้าเมืองแล้ว เขาจะถูกเรียกว่าเป็นบุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือคนต่างด้าว แต่เหตุผลเหล่านี้ไม่ใช่เหตุผลที่จะมาจำกัดหรือลดทอนศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในตัวของเขา การที่พวกเขาทำผิดกฎหมายที่ตั้งเอาไว้ ไม่ใช่ว่าพวกเขาจะต้องถูกลดความเป็นมนุษย์ลงไป ดังนี้ในเมื่อเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง เขาจึงไม่ควรถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ควรได้รับการปฏิบัตืเฉกเช่นกับเป็นมนุษย์คนหนึ่ง

     กรณีศึกษาปัญหาของน้องนิค จากข้อเท็จจริง (2) น้องนิคกำเนิดที่ประเทศเมียนมาร์ มารดาเป็นคนไทยลื้อ ส่วนบิดาไม่มีข้อเท็จจริงระบุไว้ ซึ่งก่อนน้องนิคเกิดนั้นบิดามารดาได้หลบหนีการต่อสู้จากประเทศพม่าเข้ามาในประเทศ และออกไปประเทศพม่าอีกรอบแล้วก็ได้ให้กำเนิดน้องนิค และในปี 2542 บิดามารดาก็ได้พาน้องนิคกลับมาประเทศไทยอีกครั้งโดยไม่มีเอกสารแสดงตน มารดาพาน้องไปฝากไว้กับป้าจันทร์ ซึ่งน้องไม่ได้ดำเนินการเพื่อรับการสำรวจและมีบัตรประชาชนแต่อย่างใด ขณะที่น้องศึกษที่มัธยม 1 น้องได้เคยกรอกข้อมูลในแบบสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ขณะน้องมัธยม 3 ก็ได้ไปติดตามความคืบหน้าซึ่งทางอำเภอสิเกา (อำเภอที่กรอกแบบสำรวจ) บอกว่าไม่สามารถทำบัตรให้ได้ เพราะอำเภอสิเกาไม่มีชนกลุ่มน้อย น้องนิคจึงยังอยู่ในสถานะคนไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร มีข้อเท็จจริงปรากฎว่ามารดาของน้องนิคมีชื่อในทะเบียนราษฎรเมียนมาร์ และถือบัตรประจำตัวประชาชนเมียนมาร์

     ดังนี้เมื่อน้องเป็นผู้มีสถานะเป็นบุคคลไร้สถานะทางทะเบียนซึ่งส่งผลให้น้อง ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆตามสิทธิที่พึงมีได้เลย เนื่องจากน้องไม่มีเอกสารประจำตัวใดใดเลย ไม่มีเลขประจำตัว 13 หลัก และอีกปัญหาก็คือน้องไม่สามารถกลับไปประเทศพม่าได้เพราะว่าน้องเติบโดและเรียนมาที่ประเทศไทยมาทั้งชีวิตจึงต้องการศึกษาต่อให้จบ มิเช่นนั้นที่เล่เรียนมาทั้งหมดก็จะสูญเปล่า ซึ่งหากพิจารณาแล้วน้องจะสามารถเรียนได้อย่างไรหากน้องยังคงเป็นบุคคลไร้สถานะทางทะเบียนอยู่แบบนี้

     หากฟังได้ว่าน้องเกิดนอกประเทศ และเข้าเมืองผิดกฎหมาย อีกทั้งพ่อแม่ไม่ใช่คนสัญชาติไทย ซึ่งน้องไม่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศ ซึ่งนั่นจะส่งผลให้น้องไม่มีสิทธิใดใดเลยหรือ? จากที่เรากล่าวเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาแล้วข้างต้น ที่กล่าวไว้ว่าคำว่าสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในรัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อน้องนิคไม่ได้รับสิทธิและเสรีภาพเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งควรจะได้รับจากสังคมที่เขาอยู่ก็ถือเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา การที่เขาเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ก็ได้เล่าเรียนที่ประเทศไทยมาตั้งแต่ไหนแต่ไร เราควรพิจารณาถึงกรณีของน้องเขาว่าถ้าหากเราให้สถานะคนในรัฐให้แก่เขาให้เขาสามารถเล่าเรียน และศึกษาหาความรู้ ให้สิทธิสุขภาพที่ดีแก่เขา ซึ่งมันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เขาควรจะได้รับ น่าจะเป็นการดีกว่าที่จะปล่อยให้น้องอยู่ในประเทศโดยไร้สถานะ ราวกับว่าเขาไม่มีตัวตนซึ่งมันละเมิดศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของเขา


ณัฐณิชา วัฒนสุข


อ้างอิง

(1)ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เข้าถึงได้จาก :

http://www.ongkarn-leio.org/knonwlege.php

(วันที่ค้นข้อมูล : 18 เมษายน 2557)

(2)สรุปข้อเท็จจริง กรณีเด็กชายนิวัฒน์ จันทร์คำ (น้องนิค)เข้าถึงได้จาก :

เอกสารประกอบการสอนวิชาสิทธิมนุษยชน(สรุปโดยนางสาวพวงรัตน์)

(วันที่ค้นข้อมูล : 18 เมษายน 2557)

หมายเลขบันทึก: 568652เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 04:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท