การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


อ้างอิงรูปภาพจาก : http://www.l3nr.org/posts/513843

      หากจะกล่าวถึงสิทธิในชีวิตแล้วได้มีการรับรองสิทธิในชีวิตของมนุษย์ไว้ใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2491 ข้อ 3 ที่บอกว่า “บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิต ,ในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย”

      สิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายภายในของไทยก็คุ้มครองบุคคลทุกคนในประเทศไทย ตามการตีความใน มาตรา 4 "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง"ดังนั้นเมื่อผู้ใดเป็นมนุษย์ย่อมได้รับความคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกายได้แก่ มาตรา 31 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

      กรณีศึกษาในเรื่องของการละเมิดสิทธิในชีวิตนั้น จะขอยกตัวอย่างกลุ่มคนชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นบุคคลที่อพยพไปในประเทศต่างๆเพื่อแสวงหาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งหากได้ศึกษาจากกรณีน้องฮามิด หรือ นายฮามิด ชาวโรฮิงญาที่ยังมิได้รับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎ

     ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้คือ นายฮามิด (1) อายุประมาณ 25 ปี เป็นคนโรฮิงญาจากรัฐอาระกันในเมียรม่าร์ อาศัยอยู่ในจังหวัดสงขลา และยังมิได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลยบนโลก จึงกลายเป็นคนไร้รัฐโดยสิ้นเชิงกล่าวคือไร้ทั้งรัฐและไร้ทั้งสัญชาติ ตลอดจนกลายเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายของทุกรัฐ เนื่องจากฮามิดนั้นเป็นคนโรฮิงญาดังนั้นจึงต้องอพยพหนีไปประเทศอื่นโดยได้อพยพโดยการนั่งเรือจากรัฐอาระกันมาประเทศไทย ซึ่งเป็นระยะเวลานานส่งผลให้ฮามิดนั้น ขาลีบเล็ก อ่อนแรง เดินไม่ได้

      เนื่องจากฮามิดมิได้รับการรับสถานะบุคคลของประเทศไทย ดังนี้เขาจึงไม่มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพในกองทุนเพื่อบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล ทั้งทั้งที่ในตามความเป็นจริงแล้วเขาเป็นบุคคลที่มีปัญหาด้สนสถานะบุคคล ซึ่งหากพิจารณาแล้วแม้เขาจะมิใช่คนสัญชาติไทยนั้น แต่จากการรับรองของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 3 นั้นเขาควรจะได้รับสิทธิในการดำรงชีวิต และสิทธิในร่างกาย เพราะหากเขาไม่ได้รับการรักษในอาการป่วยของเขา นายฮามิดจะไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ เพียงแต่เป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติก็ส่งผลให้เขาใช้ชีวิตอย่างลำบากมากพออยู่แล้ว นี่ยังมีเรื่องสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอ นับได้ว่าเป็นเรื่องที่เขาควรได้รับความคุ้มครองสิทธิในชีวิตของเขาตามที่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ให้การรับรองไว้


ณัฐณิชา วัฒนสุข


อ้างอิง

(1)กรณีศึกษาเรื่องน้องฮามิด เข้าถึงได้จาก :

http://drive.google.com/file/d/0BzawtIMOMfMTSHJEUjZBYnRnR1U/edit?usp=sharimg (วันที่ค้นข้อมูล : 15 เมษายน 2557)

หมายเลขบันทึก: 568649เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 03:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท