กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย : บุคคลไร้สัญชาติ


                             

อ้างอิงรูปภาพจาก http://www.bangkokbiznews.com/

    สืบเนื่องจากการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 นั้นมีประชาชนเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวไปไม่น้อย อีกทั้งยังส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ ความอดอยาก การทรมานและใช้แรงงานนักโทษจากสงครามเยี่ยงทาส จนไปถึงการฆ่าล้างเผาพันธ์ ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดสงครามขึ้นอีกรอบภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นมาเพื่อเป็นองค์การกลางที่จะคอยควบคุม และดำเนินกิจกรรมในการป้องกัน และต่อต้านมิให้เกิดสงครามที่นำไปสู่โศกนาฎกรรมดังกล่าวขึ้นอีก

     ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (1) (อังกฤษ:Universal Declaration of Human Rightsหรือ UDHR) คือการประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) โดยประเทศไทยออกเสียงสนับสนุน

(2)กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่พัฒนามาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนหลัก ๆ มีทั้งสิ้น 9 ฉบับได้แก่

  (1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)

  (2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR)

  (3) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women-CEDAW)

  (4)อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(Convention on the Rights of the Child-CRC)

  (5) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD)

  (6) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment- CAT)

  (7) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ(Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

  (8) อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (Convention on the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - CED)

  (9) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว (Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Member of their Families MWC)

     ปัจจุบันประเทศไทยเข้าเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศหลักเหล่านี้แล้วทั้งสิ้น 7 ฉบับ คือ(1)-(7)

     จะขอกล่าวถึง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กับปัญหาในสังคมไทย ซึ่งมีหลักการที่ว่า บุคคลทั้งปวงมีสิทธิต่างๆที่เท่าเทียมกัน และไม่อาจเพิกถอน

     พิจารณาปัญหาของบุคคลที่มีบัตรเป็นเลข 0 (3)(บัตรสีชมพูเป็นบัตรที่ออกให้กับผู้พลัดถิ่นไทยสัญชาติพม่าซึ่งได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ได้ชั่วคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๑๙ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๓ กำหนดสถานะให้ผู้ที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ไม่ได้เกิดในประเทศไทย) เป็นผู้เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว) และบุตรที่เกิดในประเทศไทยระหว่างวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๑๕ – ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ให้ได้รับสัญชาติไทย 

                           

อ้างอิงรูปภาพจาก : http://www2.ipsr.mahidol.ac.th/ConferenceVII/Download/Poster/2011-Poster-06.pdf

     เห็นได้จากตารางดังกล่าวมีกลุ่มคนที่มีบัตรประจำตัวเป็นเลข 0 ที่อยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก บุคคลเหล่านี้จะถูกจำกัดสิทธิต่างๆในประเทศไทย ซึ่งปัญหาที่หลักที่จะยกขึ้นมาคือเรื่องที่บุคคลเหล่านี้ถูกจำกัดพื้นที่ให้อยู่ กล่าวคือไม่มีสิทธิเดินทางไปนอกสถานที่ที่กำหนดไว้ให้ เวลาจะเดินทางไปไหนก็ต้องขออนุญาติ หากไม่ขออนุญาติจะถูกปรับตามกฎหมาย จึงมีปัญหาว่าการจำกัดสิทธิของคนเหล่านี้ขัดกับ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือไม่ ? ซึ่งหากพิจารณาถึงหลักการของกติกาดังกล่าวแล้ว ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่ามันขัดกัน เพราะหากจำกัดสิทธิการเดินทางของเค้าแบบนี้แล้วหากเกิดว่าเค้ามีความจำเป็นจะต้องเดินทางออกนอกพื้นที่ที่กำหนดไว้นั้นอย่างเร่งด่วน เค้าก็ต้องเสียค่าปรับอย่างนั้นหรือ หากเรื่องเร่งด่วนดังกล่าวมันเป็นเรื่องที่สำคัญ เช่น ต้องไปโรงพยาบาลที่อยู่นอกเขตนั้น หรือการที่ต้องไปศึกษาเล่าเรียนและหากในเขตนั้นไม่มีโรงเรียนต้องไปเรียนเขตอื่น ยังงี้เท่ากับว่าเด็กคนนั้นไม่มีสิทธิในการศึกษาเล่าเรียนซึ่งแน่นอนว่าต้องขัดกับจุดประสงค์ของกติกาดังกล่าว

     แต่ในอีกมุมนึง หากกล่าวถึงบุคคลที่จงใจหลบหนีเข้ามาแบบผิดกฎหมาย อาทิเช่น บุคคลลักลอบเข้าเมืองเขาเข้ามาแบบผิดกฎหมาย โดยหลักเค้าไม่มีสิทธิในประเทศไทยอยู่แล้ว แบบนี้การไปจำกัดสิทธิของเค้ามันผิดกฎหมายหรือไม่ ? ซึ่งกรณีนี้ข้าพเจ้าคิดว่าหากเป็นบุคคลที่เค้าจงใจแอบลักลอบเข้ามาการกระทำแบบนี้มันผิดกฎหมายอยู่แล้ว ดังนั้นการที่เค้าอ้างหลักสิทธิมนุษยชนมาปกป้องตัวเองนั้นย่อมไม่สามารถทำได้ เพราะการกระทำของเค้ามันผิดกฎหมาย หากเรายินยอมให้มีการอ้างหลักสิทธิมนุษยชนแก่คนเหล่านี้ ต่อไปก็จะเกิดปัยหาคนลักลอบเข้าเมืองมากยิ่งขึ้น เพราะเค้าถือว่าเค้าเข้ามาแล้วก็มีสิทธิเหมือนหรือใกล้เคียงกับคนในชาติเพราะมีหลักสิทธิมนุษยชนคอยคุ้มครองไม่ให้รัฐเจ้าของออกกฎควบคุมพวกเค้า ส่วนในกรณีของกลุ่มคนหนีภัยความตายนั้นเนื่องจากเค้าได้รับการกระทำที่โหดร้ายรุนแรงเค้าจึงต้องหนีมายังประเทศเราเพื่อเอาชีวิตรอด หรือเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นข้าพเจ้าเห็นว่าอาจจะอ้างหลักสิทธิมนุษยชนในเรื่องที่ถูกจำกัดได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพราะการที่เค้าลักลอบเข้าเมืองมานั้นมันเป็นเรื่องคอขาดบาดตายเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย ไม่ใช่การจงใจลักลอบเข้ามา


   ณัฐณิชา วัฒนสุข


อ้างอิง 

(1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เข้าถึงได้จาก :

http://www.sereechai.com/news/index.php/2013-05-01... (วันที่ค้นข้อมูล : 14 เมษายน 2557)

(2) ตราสารระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี เข้าถึงได้จาก :

http://www.mfa.go.th/humanrights/human-rights-conv...

(วันที่ค้นข้อมูล : 14 เมษายน 2557)

(3) บัตรสีชมพูของบุคคลไร้สัญชาติ เข้าถึงได้จาก :

http://www.humanrights.ago.go.th/index.php?option=com_smf&Itemid=2&topic=6279.0&consult=4&ref=7920

(วันที่ค้นข้อมูล : 14 เมษายน 2557)

หมายเลขบันทึก: 568643เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 02:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท