ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติคือครอบครัวที่มีสมาชิกข้ามชาติจากประเทศหนึ่งมายังอีกประเทศหนึ่งและสร้าง ครอบครัวขึ้นและต่อมาอาจมีบุตรทำให้ครอบครัวนี้เกี่ยวข้องกับหลายประเทศซึ่ง อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆได้

การข้ามพรมแดนในสมัยนี้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าอดีต ดังนั้นครอบครัวข้ามชาติจึงเป็นปรากฎการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายใน ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พบว่าครอบครัวข้ามชาติในพื้นที่ ระหว่างชายแดนของสองประเทศจะมีความซับซ้อนยิ่งกว่าพื้นที่อื่นๆ

จากกรณีครอบครัวเจดีย์ทองโดยนายอาทิตย์ เจดีย์ทองที่เป็นคนไทย และนางสาวแพทริเซีย ชาวมาเลเซีย ได้พบรักกันขณะทำงานในไต้หวัน ต่อมาสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง จึงเดินทางกลับประเทศไทย สำหรับนายอาทิตย์นั้นไม่มีปัญหาอะไรเนื่องจากเป็นคนไทย แต่นางสาวแพทริเซียเป็นคนมาเลเซียจึงต้องผ่านการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางจากด่านตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งเธอสามารถอยู่ในไทยได้จนถึงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2556

แต่ปรากฏว่านางสาวแพทริเซียอาศัยอยู่ในไทยเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ จึงเป็นการอยู่ในประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย แต่เธอกลับไปร้องขอเพื่อรับการสำรวจในสถานะของบุคคลที่ไม่มีสถานะบุคคลตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร หรือเป็นการแสดงตัวว่าเป็น “คนไร้รัฐ” ทั้งที่เธอมีรัฐมาเลเซียเป็นรัฐเจ้าของตัวบุคคลอยู่ โดยปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องจากเธอไม่รู้กฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้นคืออาจเป็นกรณีที่ฝ่ายปกครองละเมิดสิทธิที่เธอมีอยู่แล้วไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนี้เธอจึงได้รับการบันทึกในทะเบียนประวัติประเภท ท.ร.38 ซึ่งเป็นทะเบียนราษฎรสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน โดยจะมีเลข 13 หลักเหมือนเลขประจำตัวประชาชน แต่จะขึ้นต้นด้วยเลข 0 แทน ซึ่งจะเป็นหลักฐานว่าเธอเป็นคนไร้สัญชาติ จึงทำให้เธอไม่ได้รับสิทธิต่างๆเท่าที่ควรจะได้รับ

นางสาวแพทริเซียและนายอาทิตย์ได้ตกลงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และได้มีบุตรด้วยกัน 3 คน ทั้ง 3 ได้รับสัญชาติไทย เนื่องจากเกิดที่ประเทศไทยและบิดาก็มีสัญชาติไทยเช่นกัน

หลังจากนั้นครอบครัวเจดีย์ทองก็มี บุตรจำนวน 3 คน ซึ่ง บุตรทุกคนก็ล้วนได้รับสัญชาติไทยมาจากการเกิด โดยที่บิดาเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย มีสิทธิหน้าที่รับรองในทะเบียนราษฎรอย่างสมบูรณ์ จากรณีดังกล่าว จึงถือได้ว่า เป็นปัญหา คนไร้สัญชาติ ตัวอย่างหนึ่งซึ่ง นางสาวแพทริเซีย แม้ว่าจะมีสถานะสัญชาติเป็นมาเลเซียได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายมาเลเซียแต่ เมื่ออาศัยในไทยก็กลายเป็นปัญหาไม่มีสัญชาติไทย ทำให้ขาดสิทธิพื้นฐานต่างๆที่ควรจะได้[1]

[1]http://www.gotoknow.org/posts/566779

หมายเลขบันทึก: 568635เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 02:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 02:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท