ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


สิทธิมนุษยชน (Human Right)หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ[1]

กฎหมายภายในของไทยได้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในรูปแบบต่างๆ เริ่มต้นจากการที่ประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และหลังจากนั้นประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับด้วยกัน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Froms of Discrimination against Women) เป็นต้น[2]

โรฮิงยา ( การจัดกาคนหนีภัยความตาย )[3]

เนื่องจากรัฐบาลทหารพม่ามีความชิงชังต่อโรฮิงยาที่เป็นทหารรับจ้างของอังกฤษต่อสู้กับพม่าจนตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เมื่อรัฐบาลพม่าได้รับอิสรภาพ จึงได้ดําเนินการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยต่างๆในประเทศอย่างหนัก จากความสําคัญของปัญหาดังกล่าวสามารถสรุปสาเหตุการอพยพของชาวโรฮิงยาได้ดังนี้๑. มุสลิมโรฮิงยาหรือชนกลุ่มน้อยอารกันเป็นกลุ่มที่ถูกทารุณกรรม ถูกขับไล่จากถิ่นที่อยู่และถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ตลอดจนถูกจํากัดสิทธิในด้านต่างๆ อาทิ การบังคับเวนคืนที่ดิน การเก็บภาษีในอัตราพิเศษเทียบเท่าชาวต่างชาติ การกําหนดบริเวณที่อยู่อาศัยและที่ทํากิน การห้ามเดินทางออกนอกบริเวณที่รัฐกําหนด การเกณฑ์แรงงานไปใช้โดยไม่ให้ค่าจ้าง ถูกห้ามสร้างสุเหร่าหรือมัสยิดใหม่ ที่มีอยู่เดิมจะถูกทําลาย โรงเรียนสอนศาสนาถูกสั่งปิด ขัดขวางการเข้าถึงสาธารณสุข ที่พักอาศัยและอาหารไม่เพียงพอ ถูกยึดทรัพย์สิน และมีข้อจํากัดด้านการสมรส๒. รัฐบาลพม่าไม่ยอมรับชาวโรฮิงยาเป็นประชาชนชาวพม่าโดยให้เหตุผลว่าประเทศพม่าเป็นเมืองพุทธแต่ชาวโรฮิงยาเป็นคนอิสลาม และชาวโรฮิงยาส่วนใหญ่ไม่ยอมใช้ภาษาพม่าในการสื่อสาร๓. รัฐบาลทหารพม่าออกกฎหมายว่าด้วยความเป็นพลเมืองของพม่าในปี พ.ศ.๒๕๒๕ ซึ่งกําหนดว่าหากกลุ่มใดมีความเกี่ยวข้องกับขบวนการชนกลุ่มน้อยจะถูกตัดขาดจากการเป็นพลเมืองและต้องหลบหนีอพยพออกนอกประเทศ ส่วนใหญ่หลบหนีไปบังกลาเทศ ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และไทย บางส่วนที่ตกค้างอาศัยอยู่ตามค่ายผู้อพยพลี้ภัยตามแนวชายแดน ทําให้ชาวโรฮิงยากลายเป็นบุคคลไม่มีสัญชาติและเป็นผู้อพยพ๔. ประเทศพม่าและบังกลาเทศมีข้อพิพาทกรณีที่รัฐบาลพม่าสร้างท่อก๊าซในรัฐอาระกัน โดยบังกลาเทศคิดว่าการสร้างท่อก๊าซดังกล่าว เป็นการบีบให้ชาวโรฮิงยาไม่มีที่อยู่อาศัยและต้องอพยพเข้าไปในประเทศบังกลาเทศ๕. มีการปล่อยข่าวให้ผู้อพยพในเมืองค๊อกซ์บาซาร์ ประเทศบังกลาเทศ ว่าสามารถทํางานในไทยได้ และทางการมาเลเซียจะให้ที่ทํากิน จึงทําให้มีการลักลอบเข้าประเทศดังกล่าวมากขึ้น เพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า

สภาพปัจจุบันของโรฮิงยาในประเทศไทย ชาวโรฮิงยาลักลอบเข้าเมืองทางทะเล ด้านจังหวัดระนอง และ พังงา ซึ่งร้อยละ ๘๐ เป็นชาวโรฮิงยาที่มีภูมิลําเนาอยู่ในรัฐจิตตะกอง บังกลาเทศ และบางส่วนหลบหนีออกจากศูนย์อพยพที่เมืองค๊อกซ์บาซาร์ ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ ๒๐ เป็นชาวพม่ามุสลิม เชื้อสายโรฮิงยาจาก จังหวัดมองดอ รัฐอารกัน ชาวโรฮิงยาทั้งสองกลุ่มลักลอบมาขึ้นบกที่ จังหวัดระนอง โดยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ หลังจากนั้นเกิดการลักลอบเดินทางมาตามเส้นทางดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณจะทวีคูณขึ้นในทุกปี

กลุ่มมุสลิมโรฮิงยาที่หลบหนีเข้าประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้๑. กล่มโรฮิงยาที่เข้าร่ วมกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในบังกลาเทศ (RSO) ในการต่อสู้เพื่อเอกราชจากรัฐบาลทหารพม่า กลุ่มนี้จะผ่านการฝึกและมีประสบการณ์ด้านการใช้อาวุธและความรุนแรง

๒. กล่มโรฮิงยาที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมุสลิม หัวรุนแรง เป็นกลุ่มที่หนีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากแค้น และต้องการหา ชีวิตที่ดีกว่า

ผลกระทบต่อประเทศไทย

การที่ชาวโรฮิงยาหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และได้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อไทยในด้านต่างๆ ดังนี้๑. ด้านสังคมจิตวิทยา หากมีการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ชาวมุสลิมโรฮิงยา กลุ่มดังกล่าวจะต้องมีปัญหาเนื่องจากประเทศต้นทาง (ประเทศพม่า) จะไม่ยอมรับว่าเป็นบุคคลสัญชาติพม่าทําให้ต้องตกค้างเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายอยู่ในประเทศไทย โดยบุตรหลานของกลุ่มเหล่านี้จะเป็นเด็กไร้สัญชาติ ก่อให้เกิดปัญหาและภาระด้านสังคม ฯลฯ แก่ประเทศไทยมากขึ้น ๒. ด้านความมั่นคง ๒.๑ ชาวมุสลิมโรฮิงยา ที่ลักลอบเข้ามาพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน ส่วนหนึ่งจะมีพฤติการณ์ไปร่วมกับกลุ่มผิดกฎหมาย เข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติหลายรูปแบบ อาทิ การค้ามนุษย์ ปลอมแปลงหนังสือเดินทาง การค้าสิ่งผิดกฎหมาย ยาเสพติด อาวุธสงคราม ฯลฯ ตลอดจนการตั้งตัวเป็นผู้มีอิทธิพลเรียกเก็บค่าคุ้มครองจากผู้ลักลอบเข้าเมืองฯ ๒.๒ เกิดขบวนการนําพาชาวมุสลิมโรฮิงยาจากพม่าเข้าไทย และขบวนการนําพาชาวมุสลิมโรฮิงยาจากไทยไปมาเลเซีย หรือกลุ่มประเทศมุสลิม ๒.๓ มีการจัดตั้งกลุ่ม Burmese Rohingya Association in Thailand (BRAT) เคลื่อนไหวในไทย เพื่อเรียกร้องสิทธิขอสถานะอยู่ในประเทศไทยซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า ๓. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากแรงงานในภาคอุตสาหกรรม หรือเกษตรกรรมบางประเภท เช่น การประมง กิจการต่อเนื่องจากการประมง การเกษตร แรงงานไทยทั้งในและนอกพื้นที่ไม่ยอมทํางานประเภทดังกล่าว ทําให้ผู้ประกอบการต้องใช้แรงงานต่างด้าว ประกอบกับแรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานราคาถูก ทํางานคุ้มค่ามากกว่าแรงงานไทย จึงเป็นแรงผลักดันให้มีการใช้แรงงานต่างด้าวเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่จํานวนคนไทยว่างงานมีเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนจะส่งผลกระทบต่ออัตราค่าแรงพื้นฐาน ๔. ปัญหาด้านสาธารณสุข ชาวโรฮิงยาที่หลบหนีเข้ามาใช้แรงงานในประเทศไทย อาจเป็นพาหะนําพาโรคติดต่อร้ายแรงมาสู่คนไทย เช่น โรคมาเลเรีย โรคเท้าช้าง๕. ปัญหาโรฮิงยาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เป็นปัญหาที่มีมานานใน ๑ ปี ที่ผ่านมาองค์กรนานาชาติโดยเฉพาะ UNHCR เพิ่งให้ความสนใจและโจมตีประเทศไทยว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในขั้นตอนการดําเนินการจับกุมและผลักดันกลับประเทศต่อกลุ่มคนเหล่านี้อันสืบเนื่องมาจากการเสนอข่าวของสํานักข่าวต่างชาติ ที่เสนอภาพด้านลบต่อการทํางานของเจ้าหน้าที่ทางการไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกองทัพและประเทศ ดังนั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา

แนวทางการแก้ไขปัญหา

๑. รัฐบาลต้องกําหนดนโยบาย มาตรการและแนวทางปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาโรฮิงยาอย่างเป็นระบบ ตลอดจนดําเนินการต่อ ผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายอย่างเคร่งครัดและเด็ดขาด โดยมีกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในเป็นหน่วยรับผิดชอบ หลักในการดําเนินการแก้ไข ๒ หารือ/ประชุมกับประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ พม่า บังกลาเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ UNHCR เพื่อร่วมหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา๓ นําประเด็นโรฮิงยาเข้ าเสนอในการประชุม ASEAN SUMMIT ครั้งที่ ๑๔ เพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน๑.๔ กรณีที่มีข้อเรียกร้องให้จัดตั้งศูนย์พักพิง หรือศูนย์ผู้ลี้ภัยให้ แก่ชาวโรฮิงยา ทางการไทยควรยืนยันจุดยืนที่เห็นพ้องร่วมกับ UNHCR ว่าสถานภาพของชาวโรฮิงยา คือ ผู้อพยพ เพื่อเหตุผลด้านเศรษฐกิจไม่เข้าข่ายผู้ลี้ภัย และอาจยอมรับให้พักพิงได้ชั่วคราวในระยะสั้นด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรมเพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศที่สามเท่านั้น๔. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเคร่งครัดในการปฏิบัติงานตามกฎหมายและหลักมนุษยธรรมตามความเหมาะสม ๕. เร่งปราบปรามเจ้าหน้าที่ และผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายและค้ามนุษย์อย่างจริงจังและเด็ดขาด

ปัญหาประการต่อมาที่จะยกมาพูดถึงในที่นี้คือ ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ กล่าวคือ ปัญหานี้เกิดจากการที่มีชาวต่างชาติบางส่วนที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายก็ได้สร้างปัญหาต่อความมั่นคงของสังคมโดยรวมและประเทศชาติ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโรคระบาด เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศไทยปลายทางรับแรงงานต่างชาติเหล่านี้เข้ามาทำงานจึงพยายามควบคุมแรงงานดังกล่าวให้มีจำนวนจำกัด เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2547 คือให้นายจ้างนำแรงงานที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายมาจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้เข้าสู้ระบบการจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติให้ช่วยกดดันประเทศมหาอำนาจหรือประเทศที่ร่ำรวยกว่าประเทศไทยให้ช่วยรับแรงงานเหล่านี้เข้าไปอยู่ในประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ยังผลให้ประเทศไทยต้องรับภาระดูแลชาวต่างชาติดังกล่าวมากขึ้นทุกปี และยังต้องนำงบประมาณของประเทศอีกจำนวนมากมาดูแลแรงงาน

ปัญหาต่อมาคือ ปัญหาการละเมิดสตรี ซึ่งการละเมิดสิทธิสตรีในสังคมไทยโดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมซึ่งสามารถแยกออกได้ 2 ประเด็น ได้แก่ การกระทำรุนแรงทางกายภาพ เช่น สามีทำร้ายร่างกายภรรยา สามีบังคับขืนใจทางเพศภรรยา เป็นต้น หรือแรงงานหญิงถูกเลือกปฏิบัติจากนายจ้าง เช่น ถูกเอาเปรียบในเรื่องของค่าจ้างและการเลื่อนตำแหน่ง แรงงานหญิงที่เป็นแรงงานข้ามชาติถูกกดขี่ ไม่ได้รับสวัสดิการต่างๆ เป็นต้น

ปัญหาที่เกิดกับสตรีในสังคมไทยส่วนใหญ่สะท้อนเห็นถึงสภาพและความคิดของคนในสังคมไทยที่ยังคงมีความคิดว่าผู้ชายเป็นใหญ่ ซึ่งครอบงำสังคมไทยมาโดยตลอด แม้ว่าในปัจจุบันสภาปัญหาอาจดูเหมือนรุนแรงน้อยลง และมีโครงสร้างทางกฎหมายยอมรับในความเท่าเทียมกันของหญิงและชายเป็นหลักการพื้นฐานทางสังคม ตลอดจนมีการเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในองค์กรทางการเมืองระดับต่างๆมากขึ้นก็ตาม แต่ปัญหาและความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อสตรีก็ยังปรากฏให้เห็นมาโดยตลอด

เหล่านี้นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยต้องรับภาระดูแลชาวต่างชาติเหล่านี้ ยังส่งผลให้อัตราประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู้ปัญหาชุมชนแออัดเพิ่มมากขึ้นในเขตเมืองหลวงและเขตอุตสาหกรรมตามพื้นที่ต่างๆ

ปัญหาสุดท้ายที่เห็นได้ในประเทศไทยที่มีความเชื่อมโยงต่อสังคมโลก คือ ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเด็กและเยาวชน กล่าวคือ ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาเป็นเวลานานปละมีแนวโน้มขยายความรุนแรงกว้างขวางขึ้น การละเมิดสิทธิเด็กจะเกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น การที่เด็กไม่ได้รับบริการขึ้นพื้นฐานต่างๆจากรัฐอย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา เรื่องสาธารณูปโภค การที่เด็กถูกปล่อยปละละเลยขาดการดูแลเอาใจใส่ รวมไปถึงการทำร้ายร่างกายและจิตใตเด็กอีกด้วย ซึ่งปัญหาดังกล่าวควรต้องมีการประสานงานร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อเพื่อออกมาตรการที่ชัดเจน รวมไปถึงให้มีการเผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเข้าถึงสิทธิต่างๆอย่างทั่วถึง

[1] http://kittayaporn28.wordpress.com/

[2] https://sites.google.com/site/30318hayatee/6-payha-siththi-mnusy-chn-ni-prathes-laea-naewthang-kaekhi-payha-laea-phathna

[3] file:///C:/Users/i5N43S/Downloads/rhohingya.pdf

หมายเลขบันทึก: 568630เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท