ศาลสิทธิมนุษยชน


สิทธิมนุษยชน (Human Right)[1] หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

เมื่อกล่าวถึงกระบวนการในคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแล้ว มีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

1.กระบวนคุ้มครองหรือกระบวนการยุติธรรมภายในศาล

2. กระบวนคุ้มครองหรือกระบวนการยุติธรรมภายนอกศาล

กระบวนการยุติธรรมในศาล เป็นการอำนวยความยุติธรรมผ่านทางศาล เช่น ศาลระหว่างประเทศ หรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นต้น ศาลสิทธิมนุษยชนถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมด้านสิทธิมนุษยชนภายในศาล มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกาเป็นต้น ซึ่งในที่นี้ข้าพเจ้าขอกล่าวถึงศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปในฐานะที่อาจเป็นต้นแบบของศาลสิทธิมนุษยชนอาเซียน

ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงศาลที่มีความสำคัญและมีความโดดเด่นมากทางด้านสิทธิมนุษยชน คือ ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป

ในอดีตที่ผ่านมาอย่างที่เข้าใจกันดีว่ามนุษย์เรายังไม่คำนึงและเห็นความสำคัญของเรื่องสิทธิเ สรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการละเมิดสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ให้เห็นอยู่ทุกยุคทุกสมัยไม่ว่าจะด้วยเหตุการณ์นองเลือดจากสงครามโลกหรือเหตุการณ์อื่นๆในประวัติศาสตร์อีกมากมาย ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงจนอาจะเรียกได้ว่า ไร้มนุษยธรรมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหากเราสังเกตและศึกษาประวัติศาสตร์ทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างละเอียดเเล้วนั้น จะพบว่าทั้งการเริ่มต้น การพัฒนา หรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิทธิมนุษยชนล้วนเกิดขึ้นในทวีปยุโรปเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงได้มีแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรและหน่วยงานต่างๆเข้ามาดูแลและปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนของด้านกระบวนการยุติธรรม ก็ได้มีหน่วยงานต่างๆขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น ICJ หรือศาลโลก ทั้งนี้รวมถึง "ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป" ด้วย[2]

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป[3] (The European of Human Rights - ECHR) ตั้งอยู่ที่เมือง Strasbourg ประเทศฝรั่งเศส ถูกจัดตั้งขึ้นโดย สภายุโรป (The Council of Europe) ซึ่่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศ

สิทธิมนุษยฃนยุโรปก่อตั้งขึ้นตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป 1950 (European Convention on Human Rights 1950) ข้อที่ 19 ซึ่งมีเนื้อความดังนี้

ARTICLE 19 Establishment of the Court

To ensure the observance of the engagements undertaken by the High Contracting Parties in the Convention and the Protocols thereto, there shall be set up a European Court of Human Rights, hereinafter referred to as "the Court". It shall function on a permanent basis.

และประเทศสมาชิกทั้ง 47 ประเทศยอมรับเเละลงนามในอนุสัญญาที่สำคัญที่สุด คือ อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms)

คำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนั้น ได้เป็นที่ยอมรับว่ามีความชัดเจนแน่นอน และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติตามได้ไม่เฉพาะเพียงแต่ในประเทศในภูมิภาคยุโรปเท่านั้น คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Committee) ก็ได้นำแนวคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปไปปรับใช้ในการพิจารณาถึงพันธกรณีของรัฐภาคีองค์การสหประชาชาติด้วยเช่นกัน

ซึ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้เห็นตัวอย่างของระบบที่ดีจากศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมา เเละ มีความพยายามในการจัดตั้งองค์กรที่จะเข้ามาทำหน้าที่ทางด้านสิทธิมนุษยชนเช่นกัน นั่นก็คือ องค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights หรือ AICHR) ในกฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือกฎบัตรอาเซียน[4] ข้อ 14 กำหนดว่า

องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน

1. โดยสอดคล้องกับความมุ่งประสงค์และหลักการของกฎบัตรอาเซียนเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ให้อาเซียนจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนขึ้น

2. องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนนี้ต้องดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ซึ่งจะกําหนดโดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน

ซึ่งหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นก็คือ AICHR นั่นเอง แต่เนื่องจาก AICHR เป็นองค์กรที่เพิ่งมีการจัดตั้งขึ้นจึงยังมีอำนาจต่างๆไม่ชัดเจนนัก ไม่สามารถบังคับให้ทำตาม หรือนั่งพิจารณาคดีได้เหมือนศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ส่วนหน้าที่หลักของ AICHR จะเน้นไปทางด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียนมากกว่าการทำหน้าที่เป็นศาล หรือผู้ดำเนินกระบวนการยุติธรรมดังเช่นศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป รวมทั้งไม่มีอำนาจรับเรื่องร้องเรียนต่างๆเพื่อไปตัดสินแต่จะเป็นการรับไปเพื่อส่งต่อหรือประสานงานแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันได้มีการเห็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชนมากขึ้นสังเกตุได้จากการที่มีการตั้งองค์กร ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยการจัดตั้ง AICHRซึ่งได้ต้นแบบมาจากาลสิทธิมนุษยชนยุโรป แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินงานต่างๆได้ดังเช่นศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งประเทศสมาชิกและรัฐบาลของประเทศสมาชิกต่างๆ ต้องมีการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาองค์กรดังกล่าวให้เป็นหนึ่งในองค์กรที่สามารถทำหน้าที่เพื่อช่วยเหลือเยี่ยวยาปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของสังคมอาเซียนไปสู่สังคมโลกต่อไป


[1] สิทธิมนุษยชน http://kittayaporn28.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-2/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2-5/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99-human-right/

[2]บทความรู้จักมั้ยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป. แหล่งที่มา :http://www.l3nr.org/posts/465646

[3] ศาลยุโรป http://www.l3nr.org/posts/535865?locale=en

[4] กฎบัตรสมาคมแห่ง ประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.แหล่งที่มา :http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/asean/files/Charter_TH+EN.pdf

หมายเลขบันทึก: 568623เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท