ศาลสิทธิมนุษยชน


ในอดีตที่ผ่านมาอย่างที่เข้าใจกันดีว่ามนุษย์เรายังไม่คำนึงและเห็นความสำคัญของเรื่องสิทธิเ สรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการละเมิดสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ให้เห็นอยู่ทุกยุคทุกสมัยไม่ว่าจะด้วยเหตุการณ์นองเลือดจากสงครามโลกหรือเหตุการณ์อื่นๆในประวัติศาสตร์อีกมากมาย ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงจนอาจะเรียกได้ว่า ไร้มนุษยธรรมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหากเราสังเกตและศึกษาประวัติศาสตร์ทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างละเอียดเเล้วนั้น จะพบว่าทั้งการเริ่มต้น การพัฒนา หรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิทธิมนุษยชนล้วนเกิดขึ้นในทวีปยุโรปเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงได้มีแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรและหน่วยงานต่างๆเข้ามาดูแลและปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนของด้านกระบวนการยุติธรรม ก็ได้มีหน่วยงานต่างๆขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น ICJ หรือศาลโลก ทั้งนี้รวมถึง "ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป" ด้วย[1]

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป[2]เป็นองค์กรตุลาการขององค์การสภาแห่งยุโรป (Council of Europe) จัดตั้งขึ้นภายใต้อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐาน(ECHR) ซึ่งมีผลบังคับใช้ใน ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502)ศาลนี้ตั้งอยู่ที่เมืองสตราสบูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส(อนึ่งมักมีผู้เข้าใจสับสนคำว่า “สภาแห่งยุโรป Council of Europe” กับคำว่า “European Council ที่เป็นองค์กรของสหภาพยุโรป (European Union) ซึ่งเป็นคนละองค์กร)

ศาลฯ มีหน้าที่ในการตีความข้อกฎหมายและพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนตามอนุสัญญา ECHR โดยอำนาจในการรับคำฟ้องจากรัฐ บุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ในเขตอำนาจศาลว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐภาคีสมาชิก ECH เดิม คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Human Rights Commission) มีหน้าที่ในการไต่สวนมูลฟ้องและยื่นคำฟ้องต่อศาลแทนบุคคลต่อมาพิธีสารฉบับที่ 11 ซึ่งมีผลบังคับใช้ใน ค.ศ. 1998(พ.ศ. 2541)ได้ยุบคณะกรรมาธิการฯ ลง และให้อำนาจไต่สวนมูลฟ้องอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลฯ

ศาลฯ ประกอบด้วยผู้พิพากษาเท่ากับจำนวนรัฐภาคีสมาชิกอนุสัญญา ECHR ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยที่ประชุมสมาชิกรัฐสภายุโรป (Parliamentary Assembly) ประเทศละหนึ่งคน ผู้พิพากษาจะปฏิบัติหน้าที่ตามความรู้ความสามารถของตนอย่างอิสระไม่ขึ้นอยู่กับรัฐ หรือสัญชาติ ในการดำเนินคดีจำนวนผู้พิพากษาขององค์คณะจะขึ้นอยู่กับประเภทของคดี เช่น ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมีผู้พิพากษาหนึ่งคน ในชั้นพิจารณาคดีจะมีจำนวนผู้พิพากษาในองค์คณะต่างกัน เช่น จำนวนสามคน เจ็ดคน หรือ สิบเจ็ดคน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายและความสำคัญของคดีคำพิพากษาของศาลฯ ผูกพันรัฐภาคีให้ต้องปฏิบัติตามโดยรัฐจะต้องชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่พบว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่คำพิพากษาจะไม่มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลภายในรัฐภาคี และไม่มีผลเปลี่ยนแปลงกฎหมายของรัฐภาคี

คณะกรรมการรัฐมนตรี(Committee of Ministers) มีหน้าที่สอดส่องและบังคับให้รัฐปฏิบัติตามคำพิพากษา คำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมีส่วนสำคัญในการสร้างบรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศให้ชัดเจนขึ้น

ซึ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้เห็นตัวอย่างของระบบที่ดีจากศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมา เเละมีความพยายามในการจัดตั้งองค์กรที่จะเข้ามาทำหน้าที่ทางด้านสิทธิมนุษยชนเช่นกัน นั่นก็คือ องค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights หรือ AICHR) ในกฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือกฎบัตรอาเซียน ข้อ 14 กำหนดว่า

“องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน

1. โดยสอดคล้องกับความมุ่งประสงค์และหลักการของกฎบัตรอาเซียนเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ให้อาเซียนจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนขึ้น

2. องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนนี้ต้องดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ซึ่งจะกําหนดโดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน” [3]

ซึ่งหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นก็คือ AICHR นั่นเอง แต่เนื่องจาก AICHR เป็นองค์กรที่เพิ่งมีการจัดตั้งขึ้นจึงยังมีอำนาจต่างๆไม่ชัดเจนนัก ไม่สามารถบังคับให้ทำตาม หรือนั่งพิจารณาคดีได้เหมือนศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ส่วนหน้าที่หลักของ AICHR จะเน้นไปทางด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียนมากกว่าการทำหน้าที่เป็นศาล หรือผู้ดำเนินกระบวนการยุติธรรมดังเช่นศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป รวมทั้งไม่มีอำนาจรับเรื่องร้องเรียนต่างๆเพื่อไปตัดสินแต่จะเป็นการรับไปเพื่อส่งต่อหรือประสานงานแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

จากที่ศึกษษมาความสำเร็จของศาลสิทธิมนุษยชนในยุโรป จึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความต้องการในการพัฒนาและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จึงมีความร่วมมือกัน ในการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights หรือ AICHR)ถึงแม้ว่าปัจจุบัน AICHR จะมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากกว่าการเป็นอำนาจศาล จะยังไม่อาจทำให้สิทธิมนุษยชนได้รบการคุ้มครองอย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ถือได้ว่าเป็นความพยายามหนึ่งที่จะทำให้สิทธิมนุษยชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง


[1] http://www.l3nr.org/posts/465646

[2] http://library.nhrc.or.th/Dictionary/search_dic.php?Search=E&page=2

[3] http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/asean/files/Charter_TH+EN.pdf

หมายเลขบันทึก: 568627เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท