ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ[1]

ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหาร หรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต

อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ให้คำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง[2]

ผู้หนีภัยความตาย คือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม ภัยโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบ ส่วนภัยความตาย โดยอ้อม ผมแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ

ภัยความตายทางกายภาพ ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย เช่น เมื่อรู้ข่าวว่ามีกองทหารกำลังจะเข้ามาที่หมู่บ้านและมีข้อมูลว่า หากทหารเข้ามาในหมู่บ้านแล้วจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นเสียชีวิต ได้ จึง หนีออกมาก่อนที่ทหารจะมาถึง หรือ กรณีการหนีจากการบังคับเกณฑ์แรงงาน ซึ่งอันที่จริง การเกณฑ์แรงงานไม่ได้เป็นภัยความตายโดยตรง คือ ถ้าถูกยอมให้เกณฑ์แรงงานไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะไม่ถูกฆ่าตาย แต่ถ้าหากปฏิเสธไม่ยอมทำงาน ก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ หรือ หากถูกบังคับให้ทำงานแล้วหลบหนีออกมาก็มีข้อมูลว่าคนเหล่านี้จะถูกฆ่าตายได้ เช่นเดียวกับกรณีการถูกบังคับเก็บภาษี หรือการข่มขืน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ นี่เป็นตัวอย่างของภัยความตายทางกายภาพที่เห็นได้ชัด

ภัยความตายอีกประเภทหนึ่งคือภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน เป็นต้น[3]

ในส่วนของความแตกต่างระหว่างผู้ลี้ภัย กับผู้หนีภัยความตายนั้น อาจกล่าวได้ว่า มีความแตกต่างเพียงประเทศนั้นๆ ได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย พ.ศ.2494 หรือไม่ หากมิได้ลงนาม ก็จะเรียกบุคคลที่อพยพมาอยู่อาศัยในประเทศดังกล่าวว่า ผู้หนีภัยความตาย ซึ่งผู้ลี้ภัย กับผู้หนีภัยความตาย จะได้รับความคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกัน

ผู้ลี้ภัย จะได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครบถ้วน ตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัยพ.ศ.2494 ในทางกลับกัน ผู้หนีภัยความตาย หาได้รับความคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างครบถ้วนไม่ จึงถือเป็นปัญหาของผู้หนีภัยความตายที่ไม่อาจได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร

ในส่วนของตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อันเกี่ยวกับปัญหาผลกระทบที่มาจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน คือผู้ลี้ภัย ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายในซีเรีย ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน แสดงให้เห็นถึงปัญหาของการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และปัญหาจากผลการทบดังกล่าวนั้นได้เป็นอย่างดี

ปัญหาความวุ่นวายในซีเรีย มีประเด็นปัญหามาจากการเมือง ที่ผู้ชุมนุมต้องการขับไล่รัฐบาล และได้ทวีความรุนแรงไปสู่การใช้กำลังต่อสู้ และสลายการชุมนุม พัฒนาไปสู่การมีกองกำลังติดอาวุธ และเกิดการต่อสู้ปะทะกันระหว่าง ประชาชนผู้ชุมนุม ทหาร กับรัฐบาล ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศ และสร้างความสูญเสียทั้งต่อ ประชาชน ทหาร และเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นอย่างมาก ประชาชนที่รับได้รับผลกระทบ และกังวลถึงความปลอดภัยในชีวิตของตน ก็ได้พากันลี้ภัยไปยังประเทศใกล้เคียง ซึ่งกรณีเช่นนี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง[4]

นอกจากนี้ ปัญหาดังกล่าว ยังส่งผลกระทบต่อประเทศใกล้เคียง ที่ได้ให้ที่อยู่อาศัยพักพิงแก่ผู้ลี้ภัย และปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย พ.ศ.2494 ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงประเทศ เลบานอน ที่มีผู้ลี้ภัยจากซีเรียมากกว่า 1 ล้านคน ส่งผลให้ประเทศเลบานอน ได้รับผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่ามาก ทั้งเสบียงอาหารที่ต้องจัดสรรให้แก่ผู้ลี้ภัย น้ำประปา ไฟฟ้า สาธารนูปโภคต่างๆ[5]

ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มิได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย พ.ศ.2494 ผู้ซึ่งอพยพลี้ภัยเข้ามา จะถูกเรียกว่า ผู้หนีภัยความตาย ซึ่งจะไม่ได้รับความคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนครบถ้วน เท่าเทียมกับกลุ่มประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคี ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย พ.ศ.2494

เช่นกรณีปัญหาที่ประเทศไทยรับผู้หนีภัยความตายนับแสนคนจากประเทศพม่า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้หนีภัยความตายที่อยู่ในศูนย์พักพิง และที่อยู่นอกศูนย์พักพิง อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่จะจัดการกับประเด็นที่สำคัญนี้ ผลที่ตามมา คือ ทำให้ผู้หนีภัยความตามไม่มีสถานบุคคลในประเทศไทย และมีความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การศึกษา พยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสถานะบุคคลตามกฎหมายของผู้หนีภัยความตาย และพยายามให้เหตุผลในความจำเป็นที่จะต้องยอมรับสถานะบุคคลของผู้หนีภัยความตายในรูปของมาตรการทางกฎหมาย โดยพื้นฐานในหลักสิทธิมนุษยชนสากล, กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในประเทศแสดงให้เห็นว่าผู้หนีภัยความตายมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานจากประเทศไทย การไร้สถานะบุคคลถูกพิจารณาว่าเป็นสาเหตุของอุปสรรคในการได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพ[6]

[1] http://kittayaporn28.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-2/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2-5/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99-human-right/

[2] https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee

[3] http://salweennews.org/home/?p=986

[4] http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2

[5] http://www.manager.co.th/around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000037728

[6] http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1202546000622

หมายเลขบันทึก: 568628เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท