กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาพหุภาคี กล่าวคือ เป็นสนธิสัญญาที่มีรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไปเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งกระบวนการในการทำสนธิสัญญามีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การเจรจา การให้ความยินยอมของรัฐเพื่อผู้พันตามสนธิสัญญาโดยการลงนาม การให้สัตยาบัน การภาคยานุวัติ และบางรัฐอาจตั้งข้อสงวน หรือตีความสนธิสัญญา และเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำสัญญาครบถ้วนแล้ว ภาคีก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่อไป การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าว

พันธกรณีระหว่างประเทศเดี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของไทย[1]ในปัจจุบันไทยเป็นภาคีในสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติถือเป็นสนธิสัญญาหลักจำนวน 7 ฉบับได้แก่

  1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)
  2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Woman - CEDAW)
  3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covernant on Civil and Political Rights - ICCPR)
  4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covernant on Economics, Social and Cultural Rights - ICESCR)
  5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD)
  6. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT)
  7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

ซึ่งอนุสัญญาที่ข้าพเจ้าสนใจคือ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Woman - CEDAW) โดยจากการพิจารณาถึงเหตุการในปัจจุบันแล้ว สามารถพบได้ว่ามีการกระทำที่ขัดต่ออนุสัญญาดังกล่าว เช่น การที่ประเทศไทยขอสงวนไม่ผูกพันตามอนุสัญญาเดิมอนุสัญญาข้อ 11 [2]ว่าด้วยเรื่องการขอโอกาสเข้าทำงานของสตรี ทำให้เห็นได้ว่าหลายๆบริษัท ได้มีการสงวนตำแหน่งบริหาร ให้เป็นของผู้สมัครเพศชาย ถึงแม้จะไม่ได้ระบุเพศในการรับเลือกไว้แต่ตามปกติประเพณีถึงแม้เพศหญิงจะมีความรู้ความสามารถมากกว่า แต่ก็ไม่มีแม้โอกาสที่จะขอเสนอตัวเข้ารับสมัครงานเช่นเดียวกับเพศชายไม่ ดังนั้นจึงเป็นการกระทำที่ขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ


[1] พันธกรณีระหว่างประเทศเดี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของไทย http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/print_content.php...

[2] อนุสัญญาข้อ 11 ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ http://www.gender.go.th/plan/5anusanya.html

หมายเลขบันทึก: 568632เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 02:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 02:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท