ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


     

อ้างอิงรูปภาพจาก : http://sanooklifes.blogspot.com/2013/11/7.html

     สิทธิในการมีสุขภาพดีคือ สิทธิที่บุคคลพึงจะได้รับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ดี เพราะการมีสุขภาพที่ดีย่อมส่งผลให้มนุษย์สามารถดำเนินกิจกรรมในสังคม ใช้ชีวิต และการทำมาหากินเพื่อยกระดับตนเองให้ดียิ่งขึ้น หากปราศจากสุขภาพที่ดีแล้วนั้นการดำเนินกิจกรรมต่างๆหรือการใช้ชีวิตของบุคคลนั้นก็ต้องสะดุดหยุดลง ดังนี้เห็นว่าสิทธิในการมีสุขภาพดีนั้นเป็นสิทธิที่สำคัญมากที่มนุษย์ทุกคนพึงมี

    พิจารณานิยามของสิทธิในการมีสุขภาพดีจาก พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 (1)

     มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

“บริการสาธารณสุข” หมายความวา บริการดานการแพทยและสาธารณสุขซึ่งใหโดยตรงแกบุคคล

เพื่อการสรางเสริมสุขภาพ การปองกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟนฟูสมรรถภาพ ที่จําเปนตอสุขภาพและการดํารงชีวิต ทั้งนี้ ใหรวมถึงการบริการการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลือกตามกฎหมายวาดวยการประกอบโรคศิลปะ

     มาตรา ๕(วรรค1) บุคคลทุกคนมีสิทธิไดรับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กําหนดโดยพระราชบัญญัตินี้

     ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี (2) ใครคือผู้ทรงสิทธิตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพฯ บัญญัติขึ้นเพื่อขยายความของสิทธิในสุขภาพอนามัยตามมาตรา 51 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เมื่อมาตรา 51 ต้องอาศัยการตีความโดยพิจารณา มาตรา 4 แห่ง รัฐธรรมนูญฯ 2550 ประกอบ ทำให้ได้ความว่า ผู้ทรงสิทธิตามมาตรา 51 ควรจะเป็น "มนุษย์ทุกคน" มากกว่า "ชนชาวไทย" ดังนั้น พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพฯ 2545 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีลำดับรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ จึงต้องตีความผู้ทรงสิทธิโดยพิจารณาจากมาตรา 4 แห่ง รัฐธรรมนูญประกอบด้วย ดังนั้นจึงเห็นว่าผู้ทรงสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้จึงเป็น "มนุษย์ทุกคน" เช่นเดียวกัน

      กรณีปัญหาในเรื่องสิทธิในการมีสุขภาพดีนั้น ส่วนใหญ่ความด้อยโอกาสที่จะได้รับสุขภาพที่ดีนั้นมักเกิดตามบริเวณชายแดนของประเทศ ดังนี้ขอกล่าวถึงเด็กและเยาวชนที่ข้ามชาติและประสบปัญหาความด้อยโอกาสเพราะมีปัญหาสุขภาพจนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ อาทิเช่นกรณีของของน้องอาป่า เด็กชายอายุราว 18 ปี เกิดที่ตำบลแม่ยาว จังหวัดเชียงรายจากบิดาและมารดาชาวอาข่าที่อพยพมาจากพม่าเป็นบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ พ.ศ. 2542 เขาและครอบครัวได้รับการสำรวจและจัดทำ ทะเบียนประวัติชุมชนพื้นที่สูงตามแผนแม่บทฉบับที่ 2 หลังจากนั้น พ.ศ. 2543 พวกเข้าได้รับสิทธิอาศัยชั่วคราวตามกฎหมายไทยเรื่องคนเข้าเมือง และได้รับการบันทึกใน ทร 13 สถานะคนมีสิทธิอาศัยชั่วคราว พวกเข้ามีเลขบัตรประชาชนไทย 13 หลักขึ้นต้นด้วยเลข 6 เนื่องจากเขาเกิดในไทยจึงมีสิทธิขอร้องสัญชาติไทยต่อ รมต กระทรวงมหาดไทย แต่ปัจจุบันนายอาป่ายังไม่อาจยื่นเรื่องขอสิทธิในสัญชาติไทย เพราะการร้องขอทำหนังสือรับรองการเกิดต่ออำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ยังไม่ประสบความสำเร็จต่อมาน้องอาป่าประสบอุบัติเหคุขาหักทั้งสองข้างต้องดามเหล็ก เดินได้ไม่สะดวก และขาอาจจะไม่สามารถใช้ทำงานได้เหมือนเดิม ในกรณีนี้น้องอาป่าเป็นผู้ทรงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล แต่หากน้ออาป่าได้รับสัญชาติไทยเค้าจะได้รับสิทธิในการรักษาที่ดีกว่านี้ กล่าวคือเขาจะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยตรง ดังนี้หากมีการดำเนินการให้น้องได้รับสัญชาติไทย น้องก็จะได้รับสิทธิในการรับการรักษาที่ดีกว่าเดิมและอาจจะสามารถใช้ขาในการทำงานได้ตามปกติ

      ปัญหาต่อมาคือน้องถูกฟ้องต่อศาลยุติธรรมในความผิดที่ขับรถประมาท ซึ่งน้องยืนยันว่าตนไม่ผิด และต้องการต่อสู้คดี ทั้งๆที่น้องมีโอกาสชนะคดีน้อยมาก เนื่องจากน้องค่อนข้างยากจนและยิ่งไปกว่านั้นคือน้องไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย แต่ปัญหานี้ได้มีมูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิ ศ.คนึง ฤาไชย และโครงการบางกอกคลินิคที่เข้ามาให้ความดูแลและให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย

     จากกรณีของน้องอาป่านั้นทำให้เราได้เห็นว่า สิทธิในการได้ความยุติธรรมจากกระบวนการยุติธรรมของบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลนั้น ความเป็นไปได้ในการต่อสู้คดีหรือการนำคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะชนะน้อยมากเพราะพวกเขาเหล่านั้นยังมีปัญหาในเรื่องของทุนทรัพย์หรือความรู้ทางกฎหมาย ซึ่งหากน้องอาป่าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิดังที่กล่าวไปข้างต้น หรือเป็นบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลคนอื่นที่ไม่มีเงินหรือความรู้ด้านกฎหมายเพียงพอก็คงมีสิทธิชนะคดีน้อยมาก เพราะการจะดำเนินกระบวนการยุติธรรมนั้นไม่เพียงว่าคุณถูกแล้วคุณจะชนะ ยังมีขั้นตอนต่างๆซึ่งหากมิได้รับการศึกษาด้านกฎหมายมาก็คงมิสามารถกระทำการนั้นได้

     โดยสรุปแล้วสิทธิในการได้รับสุขภาพที่ดีนั้น สำหรับมนุษย์แล้วเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ยิ่งเป็นมนุษย์หรือบุคคลที่ไม่ได้รับการคุ้มครองในเรื่องนี้อย่างเพียงพอแล้ว การที่เขามีปัญหาสุขภาพมันส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเขา รวมถึงกระทบไปยังครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดูบุคคลนั้น ดังนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าสิทธิในการได้รับสุขภาพที่ดีนั้นควรมีพัฒนาต่อยอดให้มีการจัดการ ให้มนุษย์ทุกคนกล่าวคือมิใช่เพียงแต่บุคคลสัญชาติไทย ได้รับสิทธินี้อย่างเต็มที่ เพียงพอที่จะให้เขาสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ สิทธิดังกล่าวนี้ไม่ควรถูกจำกัดโดยกฎหมาย หรือความเป็นคนไร้สัญชาติ


ณัฐณิชา วัฒนสุข


อ้างอิง

(1)พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เข้าถึงได้จาก :

http://www.moph.go.th/ops/minister_06/Office2/30%2... (วันที่ค้นข้อมูล : 15 เมษายน 2557)

(2)ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดีตามพรบ หลักประกันสุขภาพ เข้าถึงได้จาก :

http://www.l3nr.org/posts/535559. (วันที่ค้นข้อมูล : 15 เมษายน 2557)

หมายเลขบันทึก: 568647เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 03:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท