ศาลสิทธิมนุษยชน


สหภาพยุโรปนั้นได้มีการร่วมกันจัดทำอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ECHR) ขึ้น ต่อมาปี ค.ศ. 1951 ซึ่งประเทศอังกฤษได้ให้สัตยาบันและตราพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1998 ขึ้นบังคับใช้เป็นกฎหมายภายในเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าวและถือเป็นการรวมอนุสัญญาแห่งยุโรปในเรื่องสิทธิมนุษยชนและกฎหมายอังกฤษเข้าด้วยกัน อีกประการหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรปอย่างชัดเจน คือ การจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปขึ้น (European Court of Human Rights-ECtHR)ขึ้น

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European of Human Rights-ECtHR) ตั้งอยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก(Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส ตามหลักการในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ปี 1950 (The European Convention on Human Rights) เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาของประเทศสมาชิก ซึ่งอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุสัญญาที่สำคัญที่สุด ที่สภายุโรป (The Council of Europe) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับหลักการของอนุสัญญาฯ การนำคดีขึ้นสู่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป จะสามารถทำได้โดยรัฐบาลคู่กรณีหรือบุคคลธรรมดาเพื่อฟ้องร้องรัฐบาลของรัฐภาคีทั้ง 47 ประเทศหากเกิดการละเมิดในสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันต่อรัฐคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล และแนวทางการพิจารณาคดียึดถือตามคำพิพากษาที่ได้พิพากษาไปแล้วเป็นหลัก (Case law)

ผู้พิพากษาและองค์คณะ
ผู้พิพากษาศาลสิทธิมนุษยชนประกอบไปด้วยผู้พิพากษาจากแต่ละภาคีจำนวนเท่ากันกับจำนวนรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ตามมาตรา 38 แห่งอนุสัญญา โดยรัฐภาคีอาจจะเสนอรายนาม ผู้พิพากษาที่มีสัญชาติอื่นในนามของตนก็ได้

กระบวนการพิจารณาคดีในศาล
รัฐภาคีสมาชิกแห่งอนุสัญญาหรือปัจเจกชนใดที่ได้มีการร้องเรียนว่าตนเป็นผู้เสียหายจากการละเมิดอนุสัญญาอาจจะเสนอคดีขึ้นสู่ศาลได้โดยตรงที่เมืองสตราส์บูร์ก โดยร้องเรียนว่ามีการฝ่าฝืนการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐภาคี ในสิทธิใดสิทธิหนึ่งที่ได้รับการประกันในอนุสัญญาส่วนการบอกกล่าวเชิงแนะนำของผู้ร้องเรียนและแบบฟอร์มสำหรับการเขียนคำร้องนั้นสามารถขอดูได้ที่หน่วยงานทะเบียน(Registry)ได้
กระบวนการก่อนการนำคดีขึ้นสู่ศาลสิทธิมนุษยชนใหม่นี้มีความยุ่งยากและมีความเป็นสาธารณะ อันจะสังเกตได้จากการพิจารณาคดี (Hearings) ที่จะต้องอยู่ในหลักการและเผยแพร่ต่อสาธารณชน ยกเว้นการตัดสินขององค์คณะหรือองค์คณะใหญ่หรือคณะใหญ่หรือการอธิบายถึงบริบทที่เกี่ยวข้องที่ได้รับการยกเว้นให้รับฟังได้ สิ่งที่หน่วยทะเบียนของศาลได้ทำการบันทึกไว้ของคู่กรณีจะได้รับการพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย
ผู้ร้องเรียนที่เป็นปัจเจกชนอาจจะเสนอคำร้องของตนด้วยตนเองก็ได้ โดยสภาแห่งยุโรปได้ริเริ่มก่อตั้งโครงการให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่บรรดาผู้ร้องเรียนที่ไม่มีความรู้เพียงพอด้วย ส่วนภาษาที่ใช้ในศาลก็คือภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ผู้ร้องเรียนสามารถจะร่างคำร้องเป็นภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการของรัฐภาคีก็ได้

การตัดสิน 
ศาลจะต้องทำการตัดสินด้วยการลงคะแนนเสียงข้างมากผู้พิพากษาใดมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีจะมีเอกสิทธิในการเพิ่มเติมความคิดเห็นของตนลงไปต่างหากจากคำพิพากษาหรือรวมกันก็ได้ รวมทั้งการแสดงความเห็นขัดแย้งหรือขัดแย้งเพียงเล็กน้อยลงไปด้วยแต่ถึงแม้ว่าคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปจะ “ไม่มีผลเหนือศาลภายใน” หรือ “ไม่มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลภายใน” ก็ตาม แต่ผลกระทบของคำพิพากษาที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำให้ประเทศสมาชิกได้ปรับกฎหมายภายในของตนให้สอดคล้องกับอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ซึ่งคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนั้น ได้เป็นที่ยอมรับว่ามีความชัดเจนแน่นอน และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติตามได้ไม่เฉพาะเพียงแต่ในประเทศในภูมิภาคยุโรปเท่านั้น คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UN Human Rights Committee) ก็ได้นำแนวคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปไปปรับใช้ในการพิจารณาถึงพันธกรณีของรัฐภาคีองค์การสหประชาชาติ ในกรณีที่มีการร้องเรียนโดยรัฐหรือเอกชนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนโดยรัฐใดรัฐหนึ่งหรือไม่ด้วย
เมื่อมองภาพโดยรวมแล้ว ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนับเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จแห่งกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนก็ทำงานได้ผลในการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน คำพิพากษาของศาลได้ซึมแทรกเข้าสู่ระบบกฎหมายของประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก ก่อให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายต่างๆ อันยังประโยชน์แก่คนหรือกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบในสังคม รวมทั้งเป็นตัวอย่างบรรทัดฐานในการใช้ตีความสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ ขององค์การต่างๆ ในองค์การสหประชาชาติหรือองค์การในระดับภูมิภาคอื่นๆ

กล่าวโดยสรุปนับว่าศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปมีบทบาทในการเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนให้เข้มแข็งขึ้น มีการปกป้องคุ้มครองสิทธิของบุคคลธรรมดาที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ถือเป็นความสำเร็จไปอีกก้าวหนึ่งของกฎหมายในภาคพื้นยุโรปที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์อันพึงจะได้รับ อีกทั้งยังเป็นบรรทัดฐานให้ภูมิภาคอื่นได้อีกด้วย

กรณ์เชษฐ์ โชติวราธนศักดิ์
18 พ.ค. 57

  1. ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป VS เคท มิดเดิลตัน.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : 
    http://www.l3nr.org/posts/466240 สืบค้นเมื่อ 18 พ.ค. 57
  2. ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
     http://library.nhrc.or.th/Dictionary/search_dic.ph... สืบค้นวันที่18 พ.ค. 57
หมายเลขบันทึก: 568402เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 01:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 01:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท