ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


ศักดิ์ศรี คือ การยอมรับของบุคคลในสังคมในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ที่ได้รับการยอมรับของสังคมมนุษย์และเรื่องดังกล่าวต้องเป็นเรื่องดีงามเท่านั้นเรื่องไม่ดี ไม่ให้รวมเรื่องศักดิ์ศรี แม้ว่าพฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้น หรือต้องการกระทำนั้นๆ อาจจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ได้ถือว่าเป็นเรื่องดีงาม สมควรยกย่องและต้องถือปฏิบัติเพื่อเป็นมติขององค์การ การยอมรับขององค์กรต่างๆ นั้นด้วยก็ได้ สิทธิเสรีภาพหรืออำนาจและหน้าที่ก็ถือเป็นศักดิ์ศรีด้วยเช่นกัน

มนุษย์ คือ บุคคลทั่วไป ไม่เลือกว่าจะเป็นชนชาติใด เผ่า ศาสนา ผิวสี ภาษา และอื่นๆ ที่มีสภาพเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนของสังคมตลอดจนองค์กร / องค์การ ที่อาศัยมติเป็นข้อปฏิบัติไปตามประสงค์ขององค์การ
องค์การก็ให้ถือเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นคำว่าสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในรัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน 

ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550
มาตรา 4 “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ”
มาตรา 26 “ การใช้อำนาจ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและ เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ “
มาตรา 28 “ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และ เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน “

กรณีศึกษาน้องนิกหรือนายนิวัฒน์จันทร์คำ น้องนิกเล่าให้เราฟังหลังจากพินิจดูเอกสารของน้องนิก น้องสาว และคนในบ้าน ถึงการเดินทางจากใต้ขึ้นเหนือ เพราะด้วยเอกสารแสดงตัวตนของน้องนิกและน้องสาวไม่น่าจะรอดพ้นสายตาตำรวจที่ขึ้นตรวจบนรถทัวร์ที่วิ่งผ่านมาหลายจังหวัด น้องเล่าว่า ที่เขาตัดสินใจเดินทางและย้ายโรงเรียนจากจังหวัดตรัง มาอยู่ที่แม่สาย เพราะเขาคิดแล้วว่าขืนอยู่ที่ตรังไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องสถานะของตัวเองและน้อง เลยปรึกษาป้าที่อาศัยอยู่ด้วยที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เพื่อขอย้ายมาอยู่กับป้าอีกคนที่แม่สาย จังหวัดเชียงราย การเดินทางของสองพี่น้องเดินทางมากันเพียงสองคน ใช้บัตรนักเรียนที่ทางโรงเรียนเดิมออกให้ และใบระเบียบแสดงผลการเรียน เป็นใบเบิกทางในการเดินทางครั้งนี้ และไม่โดนตำรวจจับ เพราะสถานะของน้องนิกและน้องสาว คือ คนไร้รัฐไร้สัญชาต เมื่อถามถึงพ่อแม่ของน้องทั้งสองคน น้ำเสียงที่เข้มแข็ง กลับสั่นเครือ จนต้องหยุดวงสนทนาไปชั่วขณะ พ่อ แม่ และน้องนิค เดินทางมาพร้อมป้าจันทร์และลุงสุข จันทร์คำ ซึ่งเดินทางล่องเรือจากสิบสองปันนา เข้ามาประเทศไทยทางอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และเดินทางต่อไปที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ยึดอาชีพแรงงานรับจ้างที่บ่อเลี้ยงกุ้ง ในพื้นที่นั้นตามคำชักชวนของเพื่อนๆที่เข้ามาก่อนหน้า พ่อกับแม่เลิกกันตอนน้องสายพร(น้องสาว) อยู่ในท้องแม่ น้องนิกรู้แค่เพียงว่าพ่อชื่ออะไร แต่ไม่เคยรู้จักนามสกุลพ่อเลยจนวันนี้ ส่วนแม่ก็รู้แค่เพียงชื่อเรียกขานแต่ไม่รู้อะไรมากกว่านั้น เพราะหลังจากที่แม่กับพ่อเลิกรากันแม่ก็หายไป ขาดการติดต่อกับน้องนิกตั้งแต่บัดนั้น แต่ก็ยังมีติดต่อกับป้าบ้างแต่ก็นานๆครั้ง น้องนิกเลยไม่มีโอกาสได้เห็นช่วงที่แม่ท้องและคลอดน้องสายพร ส่วนน้องนิกอาศัยอยู่กับลุงสุขและป้าจันทร์ (พี่สาวแม่) ที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และเข้าเรียนที่นั้นตั้งแต่อนุบาล ถึง มัธยมศึกษาปีที่๕ เวลาผ่านไปสามถึงสี่ปี ไม่แน่ชัด น้องนิกได้เจอกับแม่อีกครั้ง ครั้งนี้แม่มาพร้อมน้องสายพร ที่รู้แค่เพียงว่าเด็กน้อยผู้นี้คือน้องสาวของน้องนิก หลังจากแม่กลับไปก็ไม่กลับมาอีกเลย ทิ้งน้องและตัวเองไว้ให้ป้าเลี้ยงและไม่ติดต่อมาอีกเลยจนถึงทุกวันนี้ เอกสารที่แสดงตัวตนของน้องหรือเอกสารอื่นๆก็ไม่มีติดตัวน้องมาเลยในวันที่แม่พาน้องมา น้องมาแต่ตัวจนทุกวันนี้น้องก็มีแต่ตัวไม่มีเอกสารใด ๆ นอกจากบัตรนักเรียนที่โรงเรียนบ้านป่าเหมือด อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ออกให้หลังจากที่ย้ายโรงเรียนบ้านหัวหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรังมาเท่านั้น ภาระหนักหลังจากการจากไปแบบมีชีวิตอยู่ของแม่ตกอยู่ที่ลุงและป้า ที่ต้องเลี้ยงดูหลานส่งเสียให้ได้เล่าเรียน ยามเจ็บป่วยก็ช่วยกันรักษา ช่วงชีวิตวัยเรียนมีประเด็นที่ทำให้เราได้คิด...ตัวน้องนิกเองได้ผ่านระบบการศึกษาตั้งแต่สมัยป.๑ ก่อนย้ายมาก็เรียนอยู่ในระดับมัธยมปลาย มันน่าจะมีการสำรวจและบัตรเลข ๐ ให้แก่เด็กในโรงเรียนตั้งแต่น้องเรียนระดับประถมแล้วแต่นี้น้องไม่มีเอกสารการสำรวจใดเลยจากทางโรงเรียน จบชั้นประถมจากโรงเรียนบ้านหัวหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนสิเกาผดุงวิทย์ น้องนิคได้เขียนแบบสำรวจคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (แบบ๘๙ ) ประมาณ ๕ ครั้ง ผ่านทางโรงเรียน หลังขั้นตอนการเขียนคำร้องแบบสำรวจคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ครูแจ้งให้ไปติดต่อที่อำเภอเพื่อขอขึ้นทะเบียนคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย แต่ทางอำเภอสิเกาไม่รับคำร้องและไม่รับทำเอกสารให้ ด้วยเหตุผลที่ว่า “อำเภอสิเกาไม่มีชนกลุ่มน้อย ให้กลับไปทำที่แม่สาย”

อย่างไรก็ตามแม้น้องนิกจะมิใช่คนสัญชาติไทยหรือคนเข้าเมือโดยถูกกฎหมาย แต่ก็ต้องได้รับสิทธิในการศึกษา เพราะสิทธิในการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนจะได้รับ และขจัดการเลือกปฏิบัติ ต้องได้รับอย่างเท่าเทียม ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นด้วย

กรณ์เชษฐ์ โชติวราธนศักดิ์
18 พฤษภาคม 2557

  1. ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
    http://www.ongkarn-leio.org/knonwlege.php (18 พฤษภาคม 2557)
  2. กรณีคำร้องนายนิวัฒน์ จันทร์คำ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
    https://th-th.facebook.com/notes/ann-sukharat/
    (18 พฤษภาคม 2557)

หมายเลขบันทึก: 568398เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท