HR-LLB-TU-2556-TPC-​คนต่างด้าวในประเทศไทย


คนต่างด้าวในประเทศไทย

คนหนึ่งคนเมื่อเกิดหรือ อยู่อาศัยในรัฐใด ย่อมต้องมีสถานะบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมายภายในของรัฐนั้น แนวคิดนี้ต้องยอมรับกันว่าเป็นแนวคิดที่เป็น “มนุษย์นิยม” นั่นก็คือการมองเห็นความสำคัญของตัวมนุษย์ที่เท่ากันกับความสำคัญของประเทศชาติ  ซึ่งก็จะทำให้เกิดประเด็น “ปัญหาเรื่องสถานะบุคคล” เพราะการมีสถานะบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะทำให้ประชากรสามารถดำรงชีวิตอยู่ในประเทศได้อย่างไม่ต้องกังวลกับเรื่องใดๆ เพราะจะได้รับสิทธิจากประเทศที่ตนอาศัยอยู่ และก็มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อประเทศที่ตนได้อาศัยอยู่ด้วย ซึ่งนั่นก็เป็นการต่างตอบแทนที่ดี  โดยสถานะบุคคลนั้นมีหลากหลาย ยกตัวอย่าง เช่น การเป็นคนสัญชาติของประเทศนั้น หรือการเป็นคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยถาวรในประเทศนั้น หรือ เป็นต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราวในประเทศนั้น [1]

กรณีศึกษาคนต่างด้าวในไทย "ดวงตา หม่องภา"

ดวงตา นักศึกษาไร้สัญชาติ อายุ 21 ปี บุตรสาวของแรงงานต่างด้าวซึ่งผ่านการพิสูจน์สัญชาติพม่า เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2555 ตามบันทึกความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า (MOU) จึงได้ทดลองที่จะขอเอกสารดังกล่าวจะสถานทูตพม่า เพื่อสร้างจุดเกาะเกี่ยวในทางทะเบียนกับประเทศพม่า ซึ่งผู้วิจัยเองเข้าใจว่ากระบวนการกว่าจะได้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลที่มีถ้อยคำลักษณะดังกล่าว ก็น่าจะหมายถึงได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติในเบื้องต้นแล้วว่าเป็นคนชาติพม่านั่นเอง ซึ่งการที่เธอไม่ได้ตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติพม่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2556 นั้น เป็นเพราะ “มติคณะรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวกำหนดให้ ผู้ที่อายุเกินกว่า 15 ปี เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติในสถานะของแรงงานต่างด้าวที่ต้องมีนายจ้าง ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงสถานะของดวงตา ที่เป็นนักเรียนนักศึกษามิใช่แรงงาน” ประกอบกับการที่ดวงตามีข้อเท็จจริงเป็นผู้ติดตามแรงงานต่างด้าวด้วยก็ตาม “แต่มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ก็กำหนดให้ผู้ที่จะเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติในสถานะผู้ติดตามได้นั้นจะต้องอายุไม่เกิน 15 ปี” จึงอาจเรียกได้ว่ามติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่ครอบคลุมการจัดการสิทธิในสัญชาติของผู้ที่มีข้อเท็จจริงอย่างดวงตา  ซึ่งระหว่างการติดต่อสถานทูตพม่าโดยดวงตา เจ้าของปัญหาที่เข้าใจปัญหาของตนเองและสามารถสื่อสารภาษาพม่าได้นั้น เป็นการเดินเข้าไปอย่างประชาชนธรรมดาเพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่สถานทูตพม่าซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นปกติประจำวัน โดยที่เราไม่ได้นัดหมายไว้แต่อย่างใด ทำให้เราทราบข้อเท็จจริงในลักษณะดังนี้

  1. เจ้าหน้าที่ยืนยันว่าสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย เคยออกเอกสารที่มีข้อความลักษณะดังกล่าวจริง โดยพิจารณาออกเอกสารดังกล่าวล่าสุดเมื่อช่วงเดือนมกราคม 2556
  2. เอกสารดังกล่าวสถานทูตพม่าจะออกให้กับ บุตรของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ซึ่งเป็นนักเรียนนักศึกษาในประเทศไทยที่ไม่ได้มีหนังสือเดินทางชั่วคราวอย่างบิดามารดา เช่นเดียวกับกรณีของดวงตา (ส่วนนี้ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่า ทางสถานทูตไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเรื่องของอายุของผู้ที่จะขอเอกสารว่าจะต้องต่ำกว่า 15 ปีอย่างที่ผู้วิจัยกังวลในคราวแรก เพราะเจ้าหน้าที่ชี้แจงว่า “เอกสารฉบับนี้ก็ออกให้กับคนอย่างดวงตา” แต่ประเด็นปัญหากลับอยู่ในข้อถัดไป)
  3. อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ขณะนี้สถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ระงับการออกเอกสารดังกล่าวไว้ชั่วคราว เพราะมีปัญหาและเหตุขัดข้อง และเมื่อดวงตาขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ว่าควรทำอย่างไรเพราะเธอมีอยู่ในสถานะนักเรียนนักศึกษาที่ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติรอบนี้ได ก็ได้รับคำแนะนำว่า “รอการเปิดให้ขอเอกสารดังกล่าวอีกครั้ง” [2]

โดยในประเทศไทยนั้นได้มีกฎหมายรับรองเสรีภาพในการประกอบอาชีพไว้ ดังนี้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 43 บัญญัติไว้ว่า…บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม  การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน [3]

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 23 กล่าวว่า

1. บุคคลมีสิทธิที่จะทำงาน ที่จะเลือกงานอย่างเสรี ที่จะมีสภาวะการทำงานที่ยุติธรรมและพอใจ และที่จะได้รับความคุ้มครองจากการว่างงาน
2. บุคคลมีสิทธิในการรับค่าตอบแทนเท่ากันสำหรับการทำงานที่เท่ากัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติใด ๆ
3. บุคคลผู้ทำงานมีสิทธิในรายได้ซึ่งยุติธรรม และเอื้อประโยชน์เพื่อเป็นประกันสำหรับตน เองและครอบครัวให้การดำรงชีวิตมีค่าควรแก่ศักดิ์ศรีของมนุษย์ และถ้าจำเป็นก็ชอบที่จะได้รับความคุ้มครองทางสังคมอื่น ๆ เพิ่มเติม
4. บุคคลมีสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมกับสภาพแรงงานเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของตน [4]

ดังที่ได้รวมรวมข้อมูลข้างต้นมานั้น จะเห็นได้ว่าทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญได้ให้สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ แต่รัฐธรรมนูญก็ยังมีเงื่อนไขอยู่ในมาตรา43วรรค2 การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน  และก็ยังมีการจำกัดการประกอบอาชีพของคนต่างด้าว ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดในอาชีพและวีชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 [5] ซึ่งได้กำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำถึง39อาชีพ ดวงตา หม่องภา ซึ่งเป็นคนต่างด้าวในประเทศไทยจึงต้องจำกัดการประกอบอาชีพบางประเภท ซึ่งดวงตาเป็นคนเรียนเก่ง สามารถพูดได้ถึง4ภาษา ก็อาจไม่ได้ใช้ความรู้ความสามารถที่มีในการประกอบอาชีพที่ตนต้องการ

อ้างอิง

[1]  ตนชายขอบ. คนต่างด้าวในประเทศไทย, (2547, 12 กรกฎาคม). เข้าถึงได้จาก : http://www.hadf1985.org/index.php?option=com_conte... (วันที่สืบค้นข้อมูล : 17 พฤษภาคม 2557).

[2] พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์. ดวงตา หม่องภา นักศึกษาไร้สัญชาติ บุตรคนสัญชาติพม่า : กับการทดลองขอเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลจากสถานทูตพม่า, (2556, 23 กุมภาพันธ์).  เข้าถึงได้จาก : http://www.gotoknow.org/posts/554611 (วันที่สืบค้นข้อมูล : 17 พฤษภาคม 2557).

[3] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 43.  เข้าถึงได้จาก : http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%A... (วันที่สืบค้นข้อมูล : 17 พฤษภาคม 2557).

[4] ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน.  เข้าถึงได้จาก : http://www.lexilogos.com/declaration/thai.htm (วันที่สืบค้นข้อมูล : 17 พฤษภาคม 2557).

[5] กระทรวงแรงงาน. อาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ.  เข้าถึงได้จาก : http://www.mol.go.th/employee/occupation%20_prohib... (วันที่สืบค้นข้อมูล : 17 พฤษภาคม 2557).

หมายเลขบันทึก: 568391เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 00:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 00:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท